โครงการประเมินผล โครงการเทศกาลอุตรดิตถ์ติดยิ้ม ปี 62 “ลุกขึ้นมา Live in Uttaradit”
ระดมความคิดกับแกนนำและผู้ที่มีส่วนร่วมหลักในการดำเนินการจัดโครงการฯ
กระบวนการในการพัฒนาและการติดตั้งพื้นที่กิจกรรมการเรียนรู้สร้างสรรค์
1. หาเครือข่ายพื้นที่การเรียนรู้สร้างสรรค์ โดยเริ่มจากการหาบุคคล (Key person) ที่จะเข้ามาร่วมกิจกรรมพื้นที่สร้างสรรค์ เช่น คุณเดี่ยว จาก ฅ บ้านนอก คุณอัฑฒพงศ์ จาก บ้านตะวันยิ้ม ครูแจง จาก แมลงปอปีกแก้ว เป็นต้น
2. ร่วมกันพัฒนาศักยภาพ โดย
2.1 เรียนรู้ ความหมายและแนวคิดพื้นที่สร้างสรรค์
2.2 ศึกษาดูงาน การจัดกิจกรรมของพื้นที่เครือข่ายทั้งในและต่างประเทศ เช่น กรุงเทพฯ เพชรบุรี เมืองปีนังประเทศมาเลเซีย ญี่ปุ่น เป็นต้น
3. สนับสนุนให้ Key person ทำงานกับเครือข่ายเยาวชน และกลุ่ม/องค์กรต่างๆในพื้นที่/ชุมชน โดยมีงบประมาณสนับสนุนในการดำเนินกิจกรรมจาก สสย.
4. จัดเทศกาลพื้นที่สร้างสรรค์ในพื้นที่รูปธรรมของแต่ละกลุ่ม/องค์กร และจัดเทศกาลพื้นที่สร้างสรรค์ในระดับจังหวัดร่วมกัน
แนวทางในการพัฒนาและขยายพื้นที่กิจกรรมการเรียนรู้สร้างสรรค์
1. พัฒนาสถานีอุตรดิตถ์ติดยิ้มให้เป็นศูนย์การเรียนรู้สร้างสรรค์ของจังหวัดอุตรดิตถ์ พัฒนาให้เกิดโปรแกรมเรียนรู้ทั้งในระดับย่อย และระดับใหญ่ ระดับย่อยเป็นการจัดกิจกรรมเป็นระยะๆ กับกลุ่มคนที่ไม่ใหญ่ สามารถลงรายละเอียดของกิจกรรมได้มากได้แก่ การจัดกิจกรรมสื่อสารประเด็น งานศิลปะ งานฝีมือ เกษตรกรรมธรรมชาติ เป็นต้น
2. ขยายพื้นที่รูปธรรม/พื้นที่หลัก โดย พยายามหาพื้นที่ใหม่เพื่อทำกิจกรรมสร้างสรรค์ให้มากขึ้น และหาKey person ใหม่ๆ ให้เพิ่มมากขึ้น
3. พัฒนาอาสาสมัคร และขยายเครือข่ายเยาวชนอาสา โดยจัดโปรแกรมพัฒนาศักยภาพอาสาสมัคร เช่น จัดค่ายเยาวชน
4. พัฒนาโปรแกรมติดยิ้มออนทัวร์ โดยจัดโปรแกรมทัวร์พื้นที่รูปธรรม ที่ทางเครือข่ายหนุนเสริม/พัฒนาศักยภาพ
ทำการติดตามและประเมินผลในการดำเนินงานครั้งที่ 2 จากการพัฒนาและขยายพื้นที่กิจกรรมการเรียนรู้สร้างสรรค์
ผลผลิต
- มีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลาย จากหลายกลุ่ม/องค์กร จากภาครัฐและเอกชน
- คนที่เข้าร่วมกิจกรรมทั้งในระดับกลุ่มย่อย (พื้นที่รูปธรรม) และการจัดเทศกาลพื้นที่สร้างสรรค์ในระดับจังหวัดมีความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิดพื้นที่สร้างสรรค์มากขึ้น
- การจัดกิจกรรมเป็นความร่วมมือระหว่างภาครัฐ เอกชน และประชาชน
- สามารถส่งผลให้เกิดนโยบายในระดับจังหวัด ในการสร้างพื้นที่สร้างสรรค์ให้แก่เยาวชน ครอบครัว และชุมชน (ได้รับงบประมาณสนับสนุนจาก พมจ. อบจ. วัฒนธรรมจังหวัดอุตรดิตถ์
ผลลัพธ์
- เกิดกลุ่มคน เครือข่าย และอาสาสมัคร มาร่วมกันขับเคลื่อนกิจกรรมในพื้นที่ และการจัดเทศกาลพื้นที่สร้างสรรค์
- เยาวชน และคนในชุมชน - เกิดความภาคภูมิใจในการทำงานพื้นที่สร้างสรรค์
- มีทักษะในการคิด และออกแบบกิจกรรมเรียนรู้สร้างสรรค์
- มีภาวะผู้นำในการทำกิจกรรมสร้างสรรค์
ทำการติดตามและประเมินผลในการดำเนินงานครั้งที่ 1 จากการพัฒนาและขยายพื้นที่กิจกรรมการเรียนรู้สร้างสรรค์
- จัดสร้างพื้นที่ใน จ.อุตรดิตถ์เป็นเมืองแห่งการสร้างสรรค์ เมืองแห่งการเรียนรู้ มีพื้นที่ให้เด็ก เยาวชน ครอบครัว ชุมชน สามารถเข้าไปทำกิจกรรมได้อย่างอิสระ
- จัดพื้นที่ให้เด็ก เยาวชน มีศักยภาพ มีทักษะในการแสดงออก แสดงความสามารถ เป็น “พลเมืองนักสร้างสรรค์” มีทักษะผู้นำ ทักษะสร้างสรรค์ การทำงานร่วมกับผู้อื่น
- มีการขับเคลื่อนพื้นที่สร้างสรรค์ การเรียนรู้ในระดับจังหวัด ที่สามารถกระจายลงสู่ระดับอำเภอ และชุมชนได้อย่างต่อเนื่อง
- จัดสร้างพื้นที่สถานีอุตรดิตถ์ติดยิ้ม ให้เป็นปหล่งเรียนรู้ เป็นศูนย์รวมกิจกรรมสร้างสรรค์ เป็นที่พบปะ สังสรรค์ของเยาวชน ครอบครัว และชุมชน
มีการจัดกิจกรรมต่างๆ ดังนี้
- กิจกรรม “ลุกขึ้นมา Live”
เชิญชวนกลุ่มเครือข่ายหรือชมรมที่รวมตัวกันทำกิจกรรมสร้างสรรค์ในพื้นที่จังหวัดอุตรดิตถ์ นำกิจกรรมที่แต่ละกลุ่มได้ดำเนินงานกันอยู่แล้วมาร่วมแสดงพลังในการลุกขึ้นมาทำกิจกรรมสร้างสรรค์ สร้างกระแสให้คนในพื้นที่ตื่นตัวและสนใจในการสร้างเสริมสุขภาพ
- เวิร์คช็อป ArtsLive เปิดห้องเรียนรู้ให้เยาวชนและคนที่สนใจได้ร่วมกิจกรรมสร้างสรรค์การเรียนรู้จากวิถีชีวิตและศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น โดยเชิญชวนนักกิจกรรมการเรียนรู้ ศิลปิน และผู้เชี่ยวชาญ ทั้งในและนอกพื้นที่จังหวัดอุตรดิตถ์ เปิดห้องเวิร์คช็อป ArtsLive เน้นการเรียนรู้เพื่อสร้างสรรค์ผลงานศิลปะจากสิ่งที่มีอยู่รอบตัวในวิถีชีวิตและชุมชน
- เวทีการแสดงสร้างสรรค์ นำเสนอการแสดงสร้างสรรค์ทั้งในรูปแบบการแสดงศิลปวัฒนธรรม และการแสดงสมัยใหม่ อาทิ การแสดงดนตรี ละครเวที หุ่นนิทาน การแสดงความสามารถพิเศษ ฯลฯ รวมทั้งสื่อมหรสพสร้างสรรค์ต่างๆ จากศิลปินและคณะการแสดงทั้งมืออาชีพและมือสมัครเล่น การแสดงของเยาวชน ฯลฯ โดยมีทั้งคณะการแสดงในพื้นที่ ศิลปินรับเชิญจากทั่วประเทศ การแสดงจากศิลปินต่างประเทศ (ญี่ปุ่น มาเลเซีย) และการแสดงที่สร้างสรรค์ร่วมกันระหว่างศิลปินต่างประเทศและคนไทย ซึ่งจะมีการแสดงวันละ 20 ชุดขึ้นไป เพื่อเป็นพื้นที่ให้คนรุ่นใหม่ได้เห็นรูปแบบการแสดงและการสื่อสารสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างสรรค์ ตลอดจนเปิดโอกาสให้นักแสดงรุ่นใหม่ได้มีพื้นที่ในการนำเสนอผลงาน
- ลานกิจกรรมสร้างสรรค์ รวบรวมกิจกรรมการเรียนรู้ วิถีชีวิต ศิลปวัฒนธรรมสร้างสรรค์ในหลากหลายรูปแบบและเนื้อหา ทั้งกิจกรรมจากภาคีพื้นที่สร้างสรรค์ สถานศึกษา ชุมชน หน่วยงานในพื้นที่ และกิจกรรมสร้างสรรค์จากทั่วประเทศมาร่วมสร้างสีสัน โดยมีรูปแบบและเนื้อหาที่หลากหลาย อาทิ สื่อสร้างสรรค์ ลานศิลปะ เกมส์ นิทรรศการ อาหาร งานดีไอวาย ตลาดผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์ ฯลฯ โดยแบ่งเป็นลานกิจกรรมย่อยตามเนื้อหาและรูปแบบกิจกรรม
- กิจกรรม ติดยิ้มออนทัวร์ (เยี่ยมห้องเรียนมีชีวิต วิถีชุมชนสร้างสรรค์)
เชิญชวนและรับสมัครผู้ที่มีความสนใจลงพื้นที่ร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ในพื้นที่จริง กับภาคีเครือข่ายอุตรดิตถ์ติดยิ้ม ที่กระจายตัวอยู่รอบเมืองอุตรดิตถ์ โดยมีรูปแบบทักษะและประเด็นเนื้อหาที่หลากหลายตามภารกิจของแต่ละพื้นที่เรียนรู้ ซึ่งได้เปิดเป็นพื้นที่การเรียนรู้สาธารณะผ่านกิจกรรมทักษะชีวิตสร้างสรรค์ โดยใช้ต้นทุนทางทรัพยากรและวิถีชุมชน
- โปรแกรม เจแปนดีจัง Live in Uttaradit
ได้รับความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายพื้นที่นี้ดีจัง เชิญคณะอาจารย์จากมหาวิทยาลัยและคณะศิลปินจากประเทศญี่ปุ่นมาร่วมจัดกิจกรรมเรียนรู้สร้างสรรค์ให้กับเด็กและเยาวชนในพื้นที่จังหวัดอุตรดิตถ์ โดยรูปแบบการดำเนินงานเป็นการจัดกิจกรรมพัฒนาทักษะการคิดสร้างสรรค์ เพื่อสร้างผลงานการแสดงสร้างสรรค์ของเด็กและเยาวชนร่วมกับศิลปิน

ทำความเข้าใจในรูปแบบและรายละเอียดของการดำเนินโครงการ โดยได้ทำการประเมินผลตนเองร่วมกับผู้ประเมินโครงการจัดกิจกรรมที่ผ่านมา อีกทั้งยังมีส่วนร่วมในการวางแผนกิจกรรมที่จะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคต โดยเฉพาะเรื่องของการพัฒนาและติดตั้งพื้นที่กิจกรรมการเรียนรู้สร้างสรรค์ของจังหวัดอุตรดิตถ์ที่ผ่านมาและการขยายพื้นที่ต่อไปในอนาคต
- ต้องการให้จังหวัดอุตรดิตถ์เป็นเมืองแห่งการสร้างสรรค์ เมืองแห่งการเรียนรู้ มีพื้นที่ให้เด็ก เยาวชน ครอบครัว ชุมชน สามารถเข้าไปทำกิจกรรมได้อย่างอิสระ
- เด็ก เยาวชน มีศักยภาพ มีทักษะ มีพื้นที่ในการแสดงออก แสดงความสามารถ เป็น “พลเมืองนักสร้างสรรค์” มีทักษะผู้นำ ทักษะสร้างสรรค์ การทำงานร่วมกับผู้อื่น
- มีนโยบายสาธารณะที่มุ่งเน้นการขับเคลื่อนพื้นที่สร้างสรรค์ การเรียนรู้ในระดับจังหวัด ที่สามารถกระจายลงสู่ระดับอำเภอ และชุมชนอย่างต่อเนื่อง
- สถานีอุตรดิตถ์ติดยิ้ม ต้องการให้เป็น Hub การเรียนรู้ เป็นศูนย์รวมกิจกรรมสร้างสรรค์ เป็นที่ศึกษาดูงาน มีการจัดกิจกรรมย่อยๆ จากเครือข่ายต่างๆ อย่างต่อเนื่อง ต้องการให้สถานีอุตรดิตถ์ติดยิ้มเป็นที่พบปะ สังสรรค์ของเยาวชน ครอบครัว และชุมชน มาทำกิจกรรมสร้างสรรค์ร่วมกัน พร้อมทั้งขยายเครือข่ายในการทำกิจกรรมลักษณะนี้ไปยังสถานที่อื่นๆ ให้มากขึ้น

ทำความเข้าใจถึงรูปแบบ ขั้นตอนรวมถึงกรอบของการติดตามประเมินผลโครงการในครั้งนี้ ร่วมกับผู้รับผิดชอบโครงการและผู้ประสานงานโครงการ รวมถึงแนวทางในการดำเนินโครงการในครั้งนี้อีกด้วย
ได้รูปแบบและขั้นตอนในการติดตามประเมินผลโครงการ รวมทั้งกรอบแนวคิดในการติดตามโครงการในครั้งนี้

มีการชี้แจงทำความเข้าใจถึงกรอบเนื้องานหน้าที่ของนักติดตามและประเมินผลโครงการเพื่อให้เกิดความเข้าใจตรงกัน ร่วมกับแกนนำชุมชน
จากการประชุมกับผู้รับผิดชอบโครงการจำนวน 15 คน ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี โดยหลังจากที่ได้พูดคุยทำความเข้าใจเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ได้มีการนัดหมายเพื่อวางกรอบการทำงานต่อไป
ทำความเข้าใจถึงรูปแบบ ขั้นตอนรวมถึงกรอบของการติดตามประเมินผลโครงการในครั้งนี้ ร่วมกับผู้รับผิดชอบโครงการและผู้ประสานงานโครงการ
ได้รูปแบบและขั้นตอนในการติดตามประเมินผลโครงการ รวมทั้งกรอบแนวคิดในการติดตามโครงการในครั้งนี้ แต่ด้วยปัญหาของผู้รับผิดชอบโครงการที่มีงานรับผิดชอบในงานหลักประจำ คนรับผิดชอบโครงการจึงได้ทำเรื่องขอขยายเวลา ซึ่งได้รับการอนุมัติในการขยายเวลาดำเนินการโครงการ ทำไมผู้ติดตามและประเมินผลตัดสินใจที่จะขอเปลี่ยนแปลงงานในครั้งนี้เนื่องจากไม่เข้ากรอบเวลาของการทำงานที่ได้ถูกกำหนดไว้

มีการชี้แจงทำความเข้าใจถึงกรอบเนื้องานหน้าที่ของนักติดตามและประเมินผลโครงการเพื่อให้เกิดความเข้าใจตรงกัน ร่วมกับแกนนำผู้รับผิดชอบโครงการฯ
จากการประชุมกับผู้รับผิดชอบโครงการจำนวน 5 คน ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี โดยหลังจากที่ได้พูดคุยทำความเข้าใจเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ได้มีการนัดหมายเพื่อวางกรอบการทำงานต่อไป

มีการชี้แจงทำความเข้าใจถึงกรอบเนื้องานหน้าที่ของนักติดตามและประเมินผลโครงการเพื่อให้เกิดความเข้าใจตรงกัน ร่วมกับแกนนำชุมชน
จากการร่วมประชุมกับแกนนำชุมชน จำนวน 7 คน ซึ่งหลังจากการชี้แจงทำความเข้าใจถึงกรอบเนื้องานหน้าที่ของนักติดตามและการประเมินผลโครงการเป็นที่เรียบร้อยแล้วนั้น แกนนำในพื้นที่มีความไม่สะดวกใจในการให้ความร่วมมือ ทำให้ผู้ประเมินผลทำการมองหาโครงการเป้าหมายใหม่