ระบบติดตามและประเมินผลโครงการ ( M&E Thailand )

แบบประเมินด้วยขั้นตอน HIA

บทคัดย่อ/บทนำ

บทคัดย่อ

การติดตามและประเมินผลโครงการบูรณาการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะและพัฒนากลไกสุขภาวะระดับพื้นที่ เขตสุขภาพที่ 10 โดยมีวัตถุประสงค์เเพื่อติดตามและประเมินผลโครงการบูรณาการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะระดับพื้นที่ เขต 10 จังหวัดอุบลราชธานี และเพื่อศึกษากลไกการดำเนินงานของคณะทำงานในโครงการบูรณาการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะและพัฒนากลไกสุขภาวะระดับพื้นที่อำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิจากโปรแกรมในระบบออนไลน์ ข้อมูลจากแผน โครงการ เอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง การสังเกตแบบมีส่วนร่วม การสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม โดยประยุกต์ใช้ขั้นตอนการประเมินผลกระทบสุขภาพ (HIA) ประกอบด้วย การกลั่นกรอง (Screening) การกำหนดขอบเขต (Scoping) การประเมินผลกระทบ (Appraisal) และการจัดทำรายงานและข้อเสนอแนะ (Reporting and Recommentations) โดยใช้แนวทางการพิจารณาปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จตามกรอบปัจจัยกำหนดสุขภาพ ได้แก่ ปัจเจกบุคคล สภาพแวดล้อม และระบบและกลไก วิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูล ด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการประเมินพบว่า ทีมงานผู้ประสานงานเขต 10 มีการดำเนินงานเพื่อบูรณาการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะ มีการพัฒนาศักยภาพคนทั้งในระดับเขต และระดับพื้นที่ แต่ยังขาดการพัฒนาศักยภาพของคณะกรรมการกองทุนสุขภาพตำบล มีระบบ กลไก ในการทำให้เกิดแผนงาน โครงการ ที่มีคุณภาพ หากแต่ขาดฐานข้อมูลพื้นฐานที่จำเป็นและสำคัญเพื่อใช้ในการวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหาของกลุ่มเป้าหมาย และมีสภาพแวดล้อม คือมีการหนุนเสริมด้วยระบบโปรแกรมออนไลน์ หากแต่มีความซับซ้อนของการใช้งานในระดับพื้นที่และเป็นการเพิ่มภาระให้กับผู้ปฏิบัติงาน ควรมีการผนวกรวมร่วมกับระบบของ สปสช.

คำสำคัญ

การประเมินผลกระทบสุขภาพ HIA โครงการบูรณาการขับเคลื่อนงานสุขภาวะ ปทุมราชวงศา อำนาจเจริญ

บทนำ

โครงการบูรณาการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะและพัฒนากลไกสุขภาวะระดับพื้นที่ (77 จังหวัด) แบ่งออกเป็น 12 เขตสุขภาพ เพื่อออกแบบกระบวนการทำงานเพื่อพัฒนาศักยภาพของทีมผู้ประสานงานระดับเขต และสร้างทีมนักติดตามและประเมินผลโครงการบูรณาการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะในระดับพื้นที่ เพื่อให้เกิดการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพ สอดคล้องตรงตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการให้เกิดการบูรณาการการทำงานเพื่อสุขภาวะที่ดีของคนไทย โครงการบูรณาการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะ และพัฒนากลไกสุขภาวะระดับพื้นที่ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนากลไกการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาวะในพื้นที่ในการทำแผน พัฒนาโครงการ และติดตาม ประเมินผลโครงการโดยดำเนินการร่วมกันของเครือข่ายสสส. สปสช. และสธ. (2) ดำเนินการนำร่องพื้นที่ต้นแบบการบูรณาการขับเคลื่อนการสร้างเสริมสุขภาวะในกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ โดยดำเนินการร่วมกับกลไกในพื้นที่ ที่มาจากเครือข่ายสสส. สปสช.และสธ.และกองทุน ฯในการพัฒนาศักยภาพของโครงการที่จะได้รับการสนับสนุนจากกองทุน ฯ และบูรณาการการทำงานร่วมกับคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) มีแผนการดำเนินงานหลัก 2 แผนงาน ดังนี้คือ (1) การพัฒนาศักยภาพทีมกลไกร่วมในการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะในพื้นที่ เพื่อเพิ่มจำนวนกลไกสร้างเสริมสุขภาวะและพัฒนาศักยภาพให้มีความรู้ ความเข้าใจ และมีทักษะในการ coaching การจัดทำแผน การพัฒนาข้อเสนอโครงการ และการติดตามประเมินผลโครงการ แบ่งเป็น 2 ระดับ ได้แก่ ระดับเขต มีผู้รับผิดชอบหลักระดับเขตและตัวแทนพี่เลี้ยงจากจังหวัดในเขตจำนวน 12 เขตสุขภาพ และระดับพื้นที่ มีคณะกรรมการกองทุน และผู้รับผิดชอบโครงการ ทั้งนี้ได้จัดให้มีคลินิกให้คำปรึกษาการพัฒนาแผน โครงการ และการใช้ระบบพัฒนาโครงการและระบบติดตามประเมินผลโครงการออนไลน์ (2) ดำเนินการนำร่องพื้นที่ต้นแบบสร้างเสริมสุขภาวะในกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับพื้นที่ ทั้ง 76 จังหวัด โดยนำร่องจังหวัดละ 1 อำเภอ โดยพิจารณาเลือกอำเภอที่มีการดำเนินงานคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) ที่มีคุณภาพ
โครงการบูรณาการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะ เขต 10 อยู่ภายใต้โครงการบูรณาการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะ และพัฒนากลไกสุขภาวะระดับพื้นที่ (77 จังหวัด) โดยมีมูลนิธิประชาสังคมจังหวัดอุบลราชธานีเป็นผู้รับผิดชอบ ขอบเขตการดำเนินงานอยู่ในพื้นที่ 5 จังหวัด คือ อุบลราชธานี มุกดาหาร ยโสธร ศรีสะเกษ อำนาจเจริญ ระยะเวลาดำเนินโครงการ 5 สิงหาคม 2562 - 31 กรกฎาคม 2564 งวดสำหรับการทำรายงาน แบ่งเป็น 2 งวด ดังนี้คือ งวดที่ ช่วงระยะเวลา ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 2562 ถึงวันที่ 30 ก.ย. 2563 จำนวนเงิน 380,000.00 บาท และงวดที่ 2 ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2563 - วันที่ 30 เมษายน 2564 จำนวนเงิน 380,000.00 บาท วัตถุประสงค์ของโครงการบูรณาการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะ (1) เพื่อพัฒนากลไกการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาวะในพื้นที่ในการทำแผน พัฒนาโครงการ และติดตาม ประเมินผลโครงการโดยดำเนินการร่วมกันของเครือข่าย สสส. สปสช. และสธ. และ (2) เพื่อดำเนินการนำร่องพื้นที่ต้นแบบการบูรณาการขับเคลื่อนการสร้างเสริมสุขภาวะในกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ โดยดำเนินการร่วมกับกลไกในพื้นที่ ที่มาจากเครือข่าย สสส. สปสช.และสธ.และกองทุน ฯ ในการพัฒนาศักยภาพของโครงการที่จะได้รับการสนับสนุนจากกองทุน ฯ และบูรณาการการทำงานร่วมกับคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) ผลการดำเนินงานที่ผ่านมาก่อให้เกิดการพัฒนาแผนงานกองทุน และข้อเสนอโครงการผ่านโปรแกรมออนไลน์ มีแผนการบูรณาการในการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาวะประชาชนในพื้นที่ระหว่างกองทุนตำบล พชอ. และเกิดกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน การใช้งานของโปรแกรมออนไลน์ของกองทุนสุขภาพตำบล ยังคงเป็นของจำกัดที่ต้องได้รับการพัฒนา เพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์เพื่อให้ได้แผนงานของกองทุนครอบคลุมประเด็นสุขภาพ การติดตามประเมินผลอย่างเป็นระบบ เพื่อให้เกิดการบูรณาการสร้างเสริมสุขภาวะอย่างแท้จริง ฝ่ายติดตามและประเมินผล สสส. ซึ่งมีหน้าที่สนับสนุนการพัฒนาระบบติดตามและประเมินผลของสำนักงาน จึงจัดให้มีโครงการพัฒนาเครือข่ายนักประเมินผลงานสร้างเสริมสุขภาพ เพื่อพัฒนาศักยภาพด้านการติดตามและประเมินผลโครงการต่างๆในระดับพื้นที่ โดยวัตถุประสงค์ เพื่อเสริมศักยภาพภาคีเครือข่าย ในการกำกับ ติดตาม และประเมินผลโครงการสร้างเสริมสุขภาพสืบเนื่องมาจากการประชุมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาเครือข่ายนักติดตามประเมินผลงานสร้างเสริมสุขภาพ และจากการประชุมเชิงปฏิบัติการการประชุมประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาศักยภาพเครือข่ายนักติดตามและประเมินผล ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางเมื่อวันที่ 29 กุมภาพันธ์ - วันที่ 2 มีนาคม 2563 ณ โรงแรมอมารี ดอนเมือง จ.กรุงเทพฯ และจัดให้ทีมประเมินในแต่ละภูมิภาคได้ทดลองนำเครื่องมือที่ได้จากการประชุมเชิงปฏิบัติการดังกล่าวไปปฏิบัติในพื้นที่ ช่วงระยะเวลาระหว่างเดือนมีนาคม - เดือนกันยายน 2563 ทีมนักติดตามและประเมินผลประเมินโครงการบูรณาการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะ เขต 10 เลือกพื้นที่อำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญเป็นพื้นที่ศึกษา ภายใต้คำแนะนำและพิจารณาร่วมกันระหว่างทีมประเมินและทีมงานในพื้นที่ ประกอบกับในปี 2563 นี้ พชอ.ปทุมราชวงศาได้รับการคัดเลือกเป็น พชอ.ดีเด่นระดับเขตสุขภาพที่ 10

หมายเหตุ
  • บทคัดย่อ/บทนำ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

แบบประเมิน HIA

1. การกลั่นกรองโครงการ

1) ทีมประเมินได้ศึกษา วิเคราะห์โครงการบูรณาการฯ ถึงเป้าหมาย แผนงาน กิจกรรมต่างๆในโครงการ

2) กำหนดบทบาทหน้าที่ ทีมประเมินผล และร่วมกันร่างขอบเขต เนื้อหาในการประเมิน

3) นัดหมาย พูดคุยกับทีมผู้ประสานและพี่เลี้ยงจังหวัดในพื้นที่เขต 10

4) พูดคุย โน้มน้าวให้ทีมผู้ประสานและพี่เลี้ยงเห็นความสำคัญและเห็นประโยชน์จากการร่วมกันในการติดตามประเมินผลการดำเนินงาน

5) ทีมผู้ประสานและพี่เลี้ยง ให้ข้อเสนอแนะและแสดงความคิดเห็นในร่างกรอบการเก็บข้อมูล

6) นัดหมายการลงพื้นที่กรณีศึกษาที่อำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ

1.1 วัตถุประสงค์

1) เพื่อให้ทราบผลและบอกถึงงานที่รับผิดชอบ
2) เพื่อให้เห็นแนวโน้ม เพื่อเตือนภัย
check_circle
3) เพื่อเปลี่ยนพฤติกรรม และเข้าใจกระบวนการ
check_circle
4) เพื่อลำดับความสำคัญ แปลง ปรับกลยุทธ์ สู่การปฎิบัติ
5) เพื่อเป็นเครื่องมือในการจัดการ ช่วยการควบคุม
6) เพื่อจัดสรรทรัพยากร
7) เพื่อการเรียนรู้ และรู้ขีดความสามารถ
8) เพื่อเปรียบเทียบ ปรับปรุงและพัฒนา
check_circle
9) เพื่อช่วยเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กร
10) เพื่อให้รางวัล เพื่อจูงใจ
11) อื่นๆ (ระบุรายละเอียด)

 

1.2 วิธีการ (ระบุรายละเอียดทำอะไร กับใคร กี่คน ผลสรุป)

1) ประชุมทีมประเมิน
check_circle

(1) ทีมประเมินได้ศึกษา วิเคราะห์โครงการบูรณาการฯ ถึงเป้าหมาย แผนงาน กิจกรรมต่างๆในโครงการ

(2) กำหนดบทบาทหน้าที่ ทีมประเมินผล และรวมกันร่างขอบเขต เนื้อหาในการประเมิน ทีมประเมินจำนวน 5 ท่าน ผลสรุป ได้แผนงานการทำงาน รายงานการวิเคราะห์โครงการ

2) ประชุมร่วมกับโครงการ
check_circle

วันที่ 25 พฤษภาคม 2563 ชี้แจงวัตถุประสงค์ แนะนำทีมประเมิน และ นำกรอบการประเมิน ร่างหลักเกณฑ์ ขอบเขต เครื่องมือ การประเมิน พูดคุยหารือร่วมกันกับ ผู้ประสานงานและทีมพี่เลี้ยงจังหวัด เพื่อทำความเข้าใจของการประเมินผล และแนวทางการทำงานร่วมกัน

3) ประชุมร่วมกับโครงการและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง

 

4) อื่นๆ (ระบุรายละเอียด)
check_circle

 

1.3 เครื่องมือ

1) เครื่องมือที่ใช้ในขั้นตอนการกลั่นกรอง (ระบุรายละเอียดเครื่องมือ เช่น แนวคำถามในการประชุมกลุ่ม)
check_circle

ประชุม ประชุมผ่านโปรแกรม ZOOM สนทนากลุ่ม การสัมภาษณ์ แนวคำถามในการสัมภาษณ์ แบบบันทึก

1.4 ผลที่ได้

1) ผลที่ได้ในขั้นตอนการกลั่นกรอง
check_circle

แผนและแนวทางการทำงาน กำหนดการการลงพื้นที่

2. การกำหนดขอบเขต

check_circle

ทีมประเมินร่วมกันกำหนดขอบเขตการประเมิน ซึ่งเป็นการประเมิน "โครงการบูรณาการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะ เขต 10"

1) วิธีการในการกำหนดขอบเขต
check_circle

ประชุมวางแผนร่วมกันในทีมประเมิน เพื่อกำหนดขอบเขตเนื้อหาของการประเมิน โดยอิงตามวัตถุประสงค์ของโครงการบูรณาการขับเคลื่อนสร้างเสริมสุขภาวะ เขต 10 คือ

  1. เพื่อพัฒนากลไกการดำเนินงานการทำแผน พัฒนาโครงการ ติดตามประเมินผลโครงการ เสริมสร้างสุขภาวะในพื้นที่ โดยดำเนินงานร่วมกันของเครือข่าย สสส. สปสช. และ สธ.

2.เพื่อดำเนินการนำร่องพื้นที่ต้นแบบการบูรณาการขับเคลื่อนการสร้างเสริมสุขภาวะในกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ โดยดำเนินการร่วมกับกลไกในพื้นที่ ที่มาจากเครือข่าย สสส. สปสช.และสธ.และกองทุน ฯ ในการพัฒนาศักยภาพของโครงการที่จะได้รับการสนับสนุนจากกองทุน ฯ และบูรณาการการทำงานร่วมกับคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.)

เลือกกรอบแนวคิดในการประเมิน ใช้แนวคิดเชิงระบบ ประกอบกับปัจจัยกำหนดสุขภาพ และใช้กระบวนการ HIA ในขั้นตอนการติดตามประเมินผลโครงการบูรณาการขับเคลื่อนสุขภาพงานสร้างเสริมสุขภาวะ เขต 10

ขอบเขตของพื้นที่
เลือกศึกษา กระบวนการทำงานของโครงการบูรณาการฯ ที่ทำในพื้นที่ พชอ.ปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ

2) ผู้เข้าร่วมกำหนดขอบเขต

 

3) เครื่องมือที่ใช้

 

4) กรอบแนวคิด

1) ใช้กรอบ Ottawa charter
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดเครื่องมือกลุ่มผู้ให้ข้อมูล
2) ใช้กรอบ ปัจจัยกำหนดสุขภาพ
check_circle
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดเครื่องมือกลุ่มผู้ให้ข้อมูล
1. ศักยภาพคน
  1. พี่เลี้ยงระดับเขต(อ.ปทุมราชวงศา) ได้รับการพัฒนาศักยภาพ จำนวน 3 คน
  2. คณะกรรมการกองทุน(อ.ปทุมราชวงศา) มีความเข้าใจในการจัดทำแผนโดยวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหาในพื้นที่ จำนวน 80 คน
  3. ผู้รับผิดชอบในการจัดทำแผน โครงการของกองทุนสุขภาพตำบล ได้รับการพัฒนาศักยภาพ จำนวน 24 คน
  1. หลักสูตรอบรม
  2. แบบประเมินความเข้าใจ
  1. พี่เลี้ยงระดับเขต (อ.ปทุมราชวงศา)
  2. คณะกรรมการกองทุน(อ.ปทุมราชวงศา)
  3. ผู้รับผิดชอบในการจัดทำแผน โครงการของกองทุนสุขภาพตำบล
2. ระบบ กลไก
  1. มีแผนบูรณาการเฉพาะประเด็น จำนวน 3 ประเด็น (จากทั้งหมด 5 ประเด็นของ พชอ.)
  2. มีแผนงานที่ระบุในโปรแกรมที่ถูกต้องครบถ้วน จำนวน 8 แผน
  3. มีโครงการที่ระบุในโปรแกรมที่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัญหา จำนวน 8 โครงการ
  4. มีโครงการที่ได้รับการอนุมัติ ดำเนินการและรายงานกิจกรรมในโปรแกรม จำนวน 8 โครงการ
  1. แบบประเมินแบบ check list (ดูจากโปรแกรมออนไลน์)
  2. สัมภาษณ์
  3. สนทนากลุ่ม
  1. พี่เลี้ยงระดับเขต (อ.ปทุมราชวงศา)
  2. พี่เลี้ยงระดับจังหวัด
  3. ผู้รับผิดชอบในการจัดทำแผน โครงการของกองทุนสุขภาพตำบล
3. สภาพแวดล้อม
  1. มีการหนุนเสริมจากทีมส่วนกลาง(มอ.หาดใหญ่)
  1. แบบประเมินแบบ check list
  2. หลักสูตรอบรม
  3. คู่มือ
  1. ผู้ประสานงานเขต
  2. พี่เลี้ยงระดับจังหวัด
3) ใช้กรอบ Balance Score Card
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดเครื่องมือกลุ่มผู้ให้ข้อมูล
4) ใช้กรอบ CIPP
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดเครื่องมือกลุ่มผู้ให้ข้อมูล
5) อื่นๆ
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดเครื่องมือกลุ่มผู้ให้ข้อมูล

3. ลงมือประเมิน

check_circle

 

1) กระบวนการเก็บข้อมูลโดยการมีส่วนร่วม (ระบุรายละเอียด)
check_circle
  • เก็บข้อมูลครั้งที่ 1 ชี้แจงวัตถุประสงค์ แนะนำทีมประเมิน และ นำกรอบการประเมิน ร่างหลักเกณฑ์ ขอบเขต เครื่องมือ การประเมิน พูดคุยหารือร่วมกันกับ ผู้ประสานงานและทีมพี่เลี้ยงอำเภอ เพื่อทำความเข้าใจของการประเมินผล และแนวทางการทำงานร่วมกัน
    เครื่องมือ : สนทนากลุ่ม ,สัมภาษณ์ ,ข้อมูลทุติยภูมิหรือเอกสารที่เกี่ยวข้อง

  • เก็บข้อมูลครั้งที่ 2 วันที่ 14 สิงหาคม 2563 ลงพื้นที่สนทนากลุ่มกับ พี่เลี้ยงอำเภอ ทีมคณะทำงาน พชอ.บางส่วนและคณะกรรมการกองทุนสุขภาพชุมชน 3 กองทุนในพื้นที่ตำบลปทุมราชวงศา และลงพื้นที่ดูการดำเนินงานของกองทุนสุขภาพเทศบาลตำบลห้วย เครื่องมือ : สนทนากลุ่ม ,สัมภาษณ์ ,แบบสำรวจ,สังเกต,โปรแกรมออนไลน์

2) กระบวนการวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูล (ระบุรายละเอียด)
check_circle

ทีมประเมินรวบรวมข้อมูลที่ได้จากการสังเกต สัมภาษณ์ จัดกลุ่มหมวดหมู่ของข้อมูลและวิเคราะห์สังเคราะห์ข้อมูลตามกรอบแนวคิดของการศึกษา

3) ผู้มีส่วนร่วมในการประเมิน (ระบุรายละเอียด)
check_circle

ผู้ประสานเขต ,ประธาน/เลขา พชอ. ,พี่เลี้ยงอำเภอ ,สสจ./สสอ./สปสช.,ผู้รับผิดชอบกองทุนตำบล,ผู้เสนอโครงการกองทุนตำบล,ผู้บริหารกองทุนตำบล

4) ผลการประเมิน (เรียงตามตัวชี้วัดที่กำหนดในขั้นตอน scoping)
check_circle
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดผลการประเมินหมายเหตุ
1. 1. ศักยภาพคน (2) ใช้กรอบ ปัจจัยกำหนดสุขภาพ) พี่เลี้ยงระดับเขต(อ.ปทุมราชวงศา) ได้รับการพัฒนาศักยภาพ จำนวน 3 คน

พี่เลี้ยงระดับเขต จำนวน 3 คน เข้าร่วมการพัฒนาศักยภาพ โดยมีรายละเอียดผลการประเมินคือ 1. การสร้างทีมงานของทีมเขต 10 ใช้ทุนเดิมขององค์กรคือมูลนิธิประชาสังคมจ.อุบลราชธานี ที่มีเครือข่ายของทั้งนักวิชาการและองค์กรเอกชนที่มีอยู่ในทุกจังหวัดมาร่วมเป็นคณะทำงาน โดยให้ทีมเครือข่ายในแต่ละพื้นที่เป็นผู้ดำเนินงานในการติดตามหนุนเสริมในพื้นที่จังหวัดที่รับผิดชอบ 2.การพัฒนาหลักสูตร ใช้ตามกรอบที่ได้วางแผนร่วมกันจากทีมกลาง และทีมพี่เลี้ยงเขตนำมาปรับประยุกต์ใช้ให้สอดคล้องกับบริบทการทำงานของแต่ละพื้นที่

  1. การสร้างทีมเขต/ทีมพี่เลี้ยง โดยมีพี่เลี้ยง จังหวัดละ 1 คน (จังหวัดละ 1 อำเภอ ๆละ 10 กองทุน) ซึ่งในพื้นที่อำเภอ ทีมงานก็จะเป็นพชอ.และทีมผู้รับผิดชอบกองทุนสุขภาพตำบล

 

2. 1. ศักยภาพคน (2) ใช้กรอบ ปัจจัยกำหนดสุขภาพ) คณะกรรมการกองทุน(อ.ปทุมราชวงศา) มีความเข้าใจในการจัดทำแผนโดยวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหาในพื้นที่ จำนวน 80 คน

จำนวนคณะกรรมการกองทุนฯ เข้าร่วมประชุมในเวที 80 คน มีการจัดเวทีเพื่อสร้างความเข้าใจรับรู้ร่วมกัน

 

3. 1. ศักยภาพคน (2) ใช้กรอบ ปัจจัยกำหนดสุขภาพ) ผู้รับผิดชอบในการจัดทำแผน โครงการของกองทุนสุขภาพตำบล ได้รับการพัฒนาศักยภาพ จำนวน 24 คน

จำนวน 24 คน
ได้มาจากการสรรหาร่วมกัน โดยกำหนดให้กองทุนละ 3 คนจากพื้นที่กองทุน ฯ 8 แห่งของอำเภอปทุมราชวงศา โดยมีรายละเอียด ของการดำเนินพัฒนาศักยภาพ ดังนี้ 1. มีการพัฒนาศักยภาพทีมพื้นที่โดยการอบรม ทำความเข้าใจระบบออนไลน์และการเขียนโครงการ

  1. การหนุนเสริมพื้นที่ ได้มีการลงพื้นที่เพื่อทำความเข้าใจและอบรมการกรอกในระบบออนไลน์ 2 ครั้ง

 

4. 2. ระบบ กลไก (2) ใช้กรอบ ปัจจัยกำหนดสุขภาพ) มีแผนบูรณาการเฉพาะประเด็น จำนวน 3 ประเด็น (จากทั้งหมด 5 ประเด็นของ พชอ.)

มีแผนบูรณาการของประเด็นกองทุนสุขภาพตำบล สอดคล้องกับแผนของ พชอ. ตามเกณฑ์คือจำนวน 3 ประเด็นจากทั้งหมด 5 ประเด็นของ พชอ. และพบว่า (1). การสร้างความร่วมมือกับพชอ. ยังอยู่ในระดับของการให้ความร่วมมือ ประชุมร่วมแต่ยังไม่มีแผนการทำงานร่วมกัน (2). การสรุปงานและดำเนินงานร่วมกับพชอ. ผลปรากฏให้เห็นเป็นรูปธรรมยังไม่ชัดเจนเท่าที่ควร เนื่องมาอาจอยู่ระหว่างการดำเนินโครงการ ซึ่งยังไม่สิ้นสุดโครงการฯ

 

5. 2. ระบบ กลไก (2) ใช้กรอบ ปัจจัยกำหนดสุขภาพ) มีแผนงานที่ระบุในโปรแกรมที่ถูกต้องครบถ้วน จำนวน 8 แผน

มีแผนงานที่ระบุในโปรแกรมที่กรอกข้อมูลได้ถูกต้อง จำนวน 8 แผน (เป็นการขอความร่วมมือ ให้แต่ละกองทุนนำผลการดำเนินงานมากรอกในระบบโปรแกรม 1 กองทุนฯ 1 แผนงาน) พบว่า ทุกกองทุนให้ความร่วมมือในการเรียนรู้การใช้ระบบโปรแกรม แต่จากการตรวจสอบติดตามของทีมพี่เลี้ยงเขต พบว่า ยังขาดความสมบูรณ์ครบถ้วนของข้อมูล

อ.ปทุมราชวงศา มีการพัฒนาแผนในโปรแกรม จำนวน 16 แผนงาน(ปีงบประมาณ 2563)

6. 2. ระบบ กลไก (2) ใช้กรอบ ปัจจัยกำหนดสุขภาพ) มีโครงการที่ระบุในโปรแกรมที่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัญหา จำนวน 8 โครงการ

มีโครงการที่ระบุในโปรแกรมสอดคล้องกับสถานการณ์ปัญหา จำนวน 8 โครงการ แต่ทั้งนี้ ในแต่ละกองทุนฯ ขาดการนำข้อมูลในพื้นที่ มาใช้ในการกำหนดเป้าหมายร่วมเพื่อแก้ไขปัญหาจากสถานการณ์ปัญหา ยังคงนำเสนอโครงการที่เคยดำเนินงานจากปีก่อน

อ.ปทุมราชวงศา มีการพัฒนาโครงการในโปรแกรม จำนวน 13 โครงการ(ปีงบประมาณ 2563)

7. 2. ระบบ กลไก (2) ใช้กรอบ ปัจจัยกำหนดสุขภาพ) มีโครงการที่ได้รับการอนุมัติ ดำเนินการและรายงานกิจกรรมในโปรแกรม จำนวน 8 โครงการ

มีโครงการที่ได้รับอนุมัติ ดำเนินการและรายงานกิจกรรมในโปรแกรม จำนวน 8 โครงการ แต่ยังขาดความครบถ้วนในการบันทึกข้อมูล ทั้งนี้ทีมพี่เลี้ยงเขตได้ติดตามและขอความร่วมมือให้แต่ละกองทุนฯ ดำเนินการให้สมบูรณ์

อ.ปทุมราชวงศา มีการติดตามโครงการในโปรแกรม จำนวน 6 โครงการ(ปีงบประมาณ 2563)

8. 3. สภาพแวดล้อม (2) ใช้กรอบ ปัจจัยกำหนดสุขภาพ) มีการหนุนเสริมจากทีมส่วนกลาง(มอ.หาดใหญ่)

มีกระบวนการหนุนเสริมจากทีมกลาง เพื่อให้การทำงานของทีมพี่เลี้ยงเขต ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนี้ 1. พี่เลี้ยง (7 คน) ได้รับการพัฒนาศักยภาพผ่านการอบรมโดยทีมกลาง (มอ.หาดใหญ่) จำนวน 4 คน 2. มีการถ่ายทอดความรู้ในเวทีประชุมของทีมพี่เลี้ยง จำนวน 7 คน 3. มีคู่มือการใช้งานโปรแกรม

 

5) อื่นๆ
check_circle

การดำเนินกิจกรรมบางส่วนของทีมนักติดตามและประเมินผล

4. ทบทวนรายงานการประเมินว่าถูกต้องหรือไม่?

check_circle

จัดเวทีคืนข้อมูล แลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไข

1) กระบวนการในการทบทวนรายงาน
check_circle

จัดประชุมเชิงปฏิบัติการคืนข้อมูล วิเคราะห์ทางเลือก เสนอแนวทางการพัฒนา กับทีมพี่เลี้ยงเขต เมื่อววันที่ 15 ตุลาคม 2563 ณ มูลนิธิประชาสังคม จังหวัดอุบลราชธานี

2) ผู้มีส่วนร่วมในการทบทวนรายงาน
check_circle

ผู้ประสานงานเขต พี่เลี้ยงอำเภอ คณะกรรมการ พอช. คณะกรรมการกองทุนและตัวแทนผู้เสนอโครงการ

3) ผลการทบทวนร่างรายงาน

 

4) สรุปผลการประเมินสำคัญที่นำเข้าเวทีการทบทวน
check_circle
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดสรุปผลการประเมินหมายเหตุ
1. 1. ศักยภาพคน (2) ใช้กรอบ ปัจจัยกำหนดสุขภาพ) พี่เลี้ยงระดับเขต(อ.ปทุมราชวงศา) ได้รับการพัฒนาศักยภาพ จำนวน 3 คน

พี่เลี้ยงเขต (อ.ปทุมราชวงศา มี 3 คน) ได้แก่ สสอ./ผู้ช่วย/ปลัดเทศบาลตำบลปทุมราชวงศา
- ทุนเดิม : พี่เลี้ยง 3 คน(อ.ปทุมราชวงศา)มีความเข้าใจงานกองทุนสุขภาพตำบล คือ มีบทบาทเป็นพี่เลี้ยงกองทุนสุขภาพตำบลอำเภอ - การจัดเวทีสร้างความเข้าใจ ผลลัพธ์ คือ ความเข้าใจของพี่เลี้ยง  อยู่ในระดับปานกลางถึงมาก เช่น
1) พี่เลี้ยงสามารถแนะนำข้อมูลให้กับกองทุนได้ แต่ไม่สามารถบังคับ-สั่งการกองทุนให้ทำตามได้ 2) พี่เลี้ยงเห็นความสำคัญของโปรแกรม คือ เห็นตัวอย่าง เห็นประโยชน์จากการใช้โปรแกรม เช่น จะมีฐานข้อมูลออนไลน์สำหรับรายงานผู้บังคับบัญชา และสำหรับผู้มาศึกษาดูงาน เป็นต้น

 

2. 1. ศักยภาพคน (2) ใช้กรอบ ปัจจัยกำหนดสุขภาพ) คณะกรรมการกองทุน(อ.ปทุมราชวงศา) มีความเข้าใจในการจัดทำแผนโดยวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหาในพื้นที่ จำนวน 80 คน

คณะกรรมการกองทุน 80 คน (กองทุนละ 10 คน) เข้าร่วมเวทีประชุมเชิงปฏิบัติการอย่างพร้อมเพรียง

 

3. 1. ศักยภาพคน (2) ใช้กรอบ ปัจจัยกำหนดสุขภาพ) ผู้รับผิดชอบในการจัดทำแผน โครงการของกองทุนสุขภาพตำบล ได้รับการพัฒนาศักยภาพ จำนวน 24 คน
  • ผู้รับผิดชอบ/ผู้เสนอโครงการ กองทุนละ 3 คน (ปลัด/รพ.สต./ฯ)
  • 24 คน เข้าร่วมกิจกรรมต่อเนื่อง
  • ตัวแทน รพ.สต. มีความสนใจ พยามยามเรียนรู้การใช้โปรแกรมด้วยดี
  • ตัวแทน อปท. อาจให้ความสนใจกับการใช้โปรแกรมน้อย    *เจ้าหน้าที่ อปท.ไม่ใช่ผู้ขอโครงการจากกองทุน /กรณีเจ้าหน้าที่อปท.เห็นความสำคัญ จะมองว่ามีประโยชน์เพื่อพัฒนาศักยภาพกรรมการกองทุนและผู้เสนอโครงการให้ใช้โปแกรมได้ จะทำให้ระบบรายงานและติดตามงานของกองทุนดีขึ้น

 

4. 2. ระบบ กลไก (2) ใช้กรอบ ปัจจัยกำหนดสุขภาพ) มีแผนบูรณาการเฉพาะประเด็น จำนวน 3 ประเด็น (จากทั้งหมด 5 ประเด็นของ พชอ.)

 

 

5. 2. ระบบ กลไก (2) ใช้กรอบ ปัจจัยกำหนดสุขภาพ) มีแผนงานที่ระบุในโปรแกรมที่ถูกต้องครบถ้วน จำนวน 8 แผน

มี 20 แผนงาน (กรอกข้อมูลถูกต้อง/ข้อมูลอาจยังไม่ครบถ้วน)

 

6. 2. ระบบ กลไก (2) ใช้กรอบ ปัจจัยกำหนดสุขภาพ) มีโครงการที่ระบุในโปรแกรมที่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัญหา จำนวน 8 โครงการ

มี โครงการ (กรอกข้อมูลถูกต้อง/ข้อมูลอาจยังไม่ครบถ้วน)

 

7. 2. ระบบ กลไก (2) ใช้กรอบ ปัจจัยกำหนดสุขภาพ) มีโครงการที่ได้รับการอนุมัติ ดำเนินการและรายงานกิจกรรมในโปรแกรม จำนวน 8 โครงการ

มี 6 โครงการติดตามในโปรแกรม (ยังไม่ครบ 8 โครงการ และยังไม่มีการบันทึกรายงานผลการดำเนินงานในโปรแกรม) เนื่องจากช่วง

 

8. 3. สภาพแวดล้อม (2) ใช้กรอบ ปัจจัยกำหนดสุขภาพ) มีการหนุนเสริมจากทีมส่วนกลาง(มอ.หาดใหญ่)

 

 

5) อื่นๆ

 

5. การปรับปรุงทบทวนโครงการ

check_circle

ควรมีการจัดเวทีเวทีคืนข้อมูล แลกเปลี่ยนเรียนรู้ สรุปแนวทาง และ วางกลไกในการติดตามข้อเสนอ

1) ข้อเสนอเพื่อการทบทวนโครงการ 2) อื่นๆ ประสานพี่เลี้ยงอำเภอเสนอวาระ การประชุม พชอ.

1) ข้อเสนอเพื่อการทบทวนโครงการ
check_circle

ควรคำนึงถึงเรื่องของระยะเวลา สำหรับการติดตามและประเมินผลโครงการให้สอดคล้องกับรอบของการดำเนินการที่เกิดขึ้นจริงในพื้นที่

2) อื่นๆ

 

6. ได้มีการปรับปรุงทบทวนโครงการตามข้อ 5 หรือไม่?

check_circle

ข้อเสนอจากทีมพี่เลี้ยง (1) สร้างกลไกระดับอำเภอและตำบล (2) วิเคราะห์ข้อมูลปัญหา ผ่านเวทีพูดคุย/สนทนากลุ่ม
(3) นำใช้โปรแกรม

1) กลไกในการติดตามการปรับปรุงโครงการตามข้อเสนอแนะ
check_circle

ผู้ประสานงาน/พี่เลี้ยงเขต-จังหวัด ควรสรุปข้อมูลและสื่อสารความคืบหน้าของงาน/เวทีต่างๆนำเสนอผู้บริหารองค์กร/กองทุนในพื้นที่ (1) จัดทำเอกสารสรุปย่อการใช้งานโปรแกรม เพื่อให้เข้าใจและเข้าถึงได้ง่าย
(2) จัดทำเอกสารสรุปผลการจัดเวทีแต่ละครั้ง เพื่อส่งให้ผู้บริหารกองทุนทราบ (ทุกครั้ง)

ข้อเสนอจากทีมพี่เลี้ยง - เริ่มดำเนินการ/ทดลองจัดทำแผนงานของกองทุนสุขภาพตั้งแต่ระดับตำบลให้เกิดคุณภาพอย่างชัดเจนก่อน แล้วค่อยขยายไปสู่ระดับอำเภอ
ข้อจำกัด
- เน้นอิงกับกลไกพชอ. (ประสาน/การเอื้ออำนวยกับผู้รับชอบกองทุน/ผู้รับผิดชอบโครงการ) ทำให้ต้องรอความสะดวกของกลไกประสานงานในพื้นที่เป็นอันดับแรกด้วย อาจทำให้กิจกรรมบางส่วน ไม่สามารถทำได้ตามแผนที่กำหนด
ข้อเสนอจากทีมพี่เลี้ยง (1) สร้างกลไกระดับอำเภอและตำบล (2) วิเคราะห์ข้อมูลปัญหา ผ่านเวทีพูดคุย/สนทนากลุ่ม
(3) นำใช้โปรแกรม

2) วิธีการติดตาม การปรับปรุงโครงการตามข้อเสนอแนะ

 

3) อื่นๆ

 

สรุป

อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ

1 องค์ประกอบและคุณสมบัติของคณะทำงานโครงการบูรณาการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะ เขต 10 มีประสบการณ์การทำงานตั้งแต่ สมัชชาสุขภาพ ตั้งแต่ปี 2545 ทำให้มีเครือข่ายการทำงานที่เข้มแข็งและได้รับความร่วมมือจากเครือข่ายที่ทำงานด้านการบูรณาการขับเคลื่อนงานด้านสร้างเสริมสุขภาวะเป็นอย่างดีและราบรื่น 2 การแบ่งงานทีมผู้ประสานงานเขต เพื่อเป็นทีมพี่เลี้ยงติดตามหนุนเสริมแต่ละจังหวัด ได้แก่ 1. ดร.พิสมัย ศรีเนตร เป็นพี่เลี้ยงประจำจังหวัดอุบลราชธานี 2. นายวินัย วงศ์อาสา เป็นพี่เลี้ยงประจำจังหวัดศรีสะเกษ 3. นางสาวดวงมณี นารีนุช เป็นพี่เลี้ยงประจำจังหวัดมุกดาหาร 4. นายรพินทร์ ยืนยาว เป็นพี่เลี้ยงประจำจังหวัดอำนาจเจริญ และ 5. นายสงกา สามารถ เป็นพี่เลี้ยงประจำจังหวัดยโสธร


1) โครงการ กิจกรรมในกองทุนสุขภาพตำบล ส่วนใหญ่ เป็นโครงการที่ถูกนำเสนอขอรับการสนับสนุนจากหน่วยงาน องค์กรในพื้นที่ เช่น รพ.สต. ชมรมผู้สูงอายุ โรงเรียนฯ

2) การจัดทำโครงการจะถูกเขียนขึ้นมาจากการจัดสรรงบประมาณ ที่คณะกรรมการกองทุนสุขภาพตำบลได้พิจารณาอนุมัติแล้ว แต่ละหน่วยงานก็นำไปเขียนจัดปรับโดยอิงกับกรอบการใช้เงินของ สตง.เป็นหลัก

3) กองทุนสุขภาพตำบลใช้การติดตามประเมินผล ผ่านการทำรายงานและการลงพื้นที่เข้าร่วมในกิจกรรม แต่ไม่มีการใช้ระบบออนไลน์เนื่องจากคิดว่าไม่จำเป็นและมีความซับซ้อนการกรอกในระบบของสป.สช.

ข้อเสนอแนะ เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนการบูรณาการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะ การคัดเลือกทีมผู้ประสานงานที่มีประสบการณ์การทำงาน เช่นการทำงานของทีมผู้ประสานงานเขต 10 ที่ได้มูลนิธิประชาสังคม มาเป็นผู้ขับเคลื่อนให้เกิดการบูรณาการเนื่องจากมีเครือข่าย มีทุนเดิมตั้งแต่สมัชชาสุขภาพ ดังนั้น การคัดเลือกและกำหนดคุณสมบัติของทีมผู้ประสานงานเขตในการทำงานเชิงบูรณาการขับเคลื่อน จึงเป็นสิ่งที่สำคัญ อย่างไรก็ตาม การทำงานของทีมผู้ประสานงานเขต มีความท้าทายเนื่องมาจากคณะทำงานเป็นบุคคลภายนอกที่มิได้ให้คุณให้โทษในการทำงานเพื่อขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะในพื้นที่ จึงเป็นไปในลักษณะขอความร่วมมือ กลไกการทำงานของ พชอ. ควรเข้ามามีบทบาทในการสนับสนุนกระบวนการทำงานของทีมผู้ประสานงานเขต หากเป็นไปได้ สปสช. ควรเข้ามามีบทบาทในการทำงานร่วมกับ พชอ. เพราะ สปสช. สามารถให้คุณให้โทษกับคณะทำงานในพื้นที่
การกรอกข้อมูลในโปรแกรมออนไลน์ มีประโยชน์ หากสามารถจัดการเรื่องของความสอดคล้องของระยะเวลาการดำเนินงานจริงของพื้นที่ เพราะที่ผ่านมาในปี 2563 เป็นการกรอกข้อมูลย้อนกระบวนการ เนื่องจากกองทุนสุขภาพตำบลได้รับการจัดสรรงบประมาณแล้ว เนื่องจากระบบการกรอกข้อมูล การนำข้อมูลมาใช้ประโยชน์ในการบูรณาการเพื่อขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะในระดับพื้นที่อยู่ในช่วงการพัฒนาและปรับปรุง ทำให้ทีมผู้ประสานงานเขต และทีมพี่เลี้ยง ต้องเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง และการเข้าถึงข้อมูลของทีมกองทุนสุขภาพตำบล ยังอยู่ในวงจำกัด การเข้ามาเรียนรู้เพื่อใช้โปรแกรม ขาดความต่อเนื่องมีการเปลี่ยนตัวผู้เข้ามาประชุม และขาดระบบสร้างแรงจูงใจให้กองทุนสุขภาพตำบลเข้ามาใช้โปรแกรม หากเป็นไปได้ควรมีการผนวกรวมกับโปรแกรมของ สปสช.

เอกสารอ้างอิง

พงค์เทพ สุธีรวุฒิ. (2563). เอกสารประกอบการประชุมเชิงปฎิบัติการระบบติดตามประเมินผล การดำเนินงานโครงการสร้างเสริมสุขภาพ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ วันที่ 29 – 2 มีนาคม 2563. สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

http://hsmi2.psu.ac.th/project/390/finalreport

เอกสารประกอบโครงการ