ระบบติดตามและประเมินผลโครงการ ( M&E Thailand )

directions_run

การประเมินผลกระทบทางสุขภาพ โครงการบูรณาการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะ และพัฒนากลไกสุขภาวะระดับพื้นที่ กรณีศึกษา อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่

แบบประเมินด้วยขั้นตอน HIA

บทคัดย่อ/บทนำ

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลกระทบทางสุขภาพ โครงการบูรณาการขับเคลื่อนงานสร้างเสริม สุขภาวะ และพัฒนากลไกสุขภาวะระดับพื้นที่ กรณีศึกษา อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ ประยุกต์ใช้ขั้นตอนการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ 4 ขั้นตอน คือ 1.การกลั่นกรองนโยบาย แผนงาน โครงการหรือกิจกรรม (Screening) 2.การกำหนดขอบเขต (Scoping) 3.การประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ และ 4.การทบทวนร่างรายงานการศึกษาและวิเคราะห์ผลกระทบด้านสุขภาพ (Review) เก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อประเมินผลการดำเนินการ จำนวน 15 คน ประกอบด้วยผู้รับผิดชอบงานกองทุนหลักประกันสุขภาพในอำเภอคลองท่อม ได้แก่ รพ.สต. สสอ.คลองท่อม และองค์กรปกครองส่วนท่องถิ่น ทั้งหมดมีความเต็มใจ และสมัครใจเข้าร่วมโครงการ เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง เป็นแนวทางการประชุมกลุ่ม และสังเกตอย่างมีส่วนร่วม ตรวจสอบคุณภาพของข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยใช้กฎสามเส้า (Triangulation) และวิเคราะห์เชิงคุณภาพโดยใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content analysis) และเชิงปริมาณโดยใช้การวิเคราะห์เชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ

            ผลการศึกษา พบว่า กลไกพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายในระดับกลุ่มพื้นที่เพื่อการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาพ อำเภอคลองท่อมมีการดำเนินการการวางแผน และดำเนินการขับเคลื่อนประเด็นในการพัฒนาคุณภาพชีวิต (พชอ.) ประกอบด้วย 1.อุบัติเหตุทางการจราจร 2.โรคติดต่อ (โรคไข้เลือดออก โรคโคโรน่าไวรัส 2019) 3.อาหารริมบาทวิถีปลอดภัย 4.ปัญหาขยะ แต่แผนของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตยังไม่มีการบูรณาการร่วมกับประเด็นของกองทุนในประเด็น อุบัติเหตุทางการจราจร และปัญหาขยะ ขณะที่สัดส่วนของโครงการปัจจัยเสี่ยงเหล้า บุหรี่ ยาเสพติด อาหาร กิจกรรมทางกาย พบว่าทั้ง 9 กองทุนสุขภาพตำบล เรื่องอาหาร จำนวน 3 แผนงาน/โครงการ ร้อยละ 33.33 เรื่องกิจกรรมทางกาย จำนวน 2 แผนงาน/โครงการ ร้อยละ 22.22 แผนงาน/โครงการ เรื่องบุหรี่ จำนวน 2 แผนงาน/โครงการ ร้อยละ 22.22 แผนงาน/โครงการ เรื่องยาเสพติด จำนวน 1 แผนงาน/โครงการ ร้อยละ 11.11 แผนงาน/โครงการ และเรื่องการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ไม่พบแผนงาน/โครงการ ทั้งนี้ การพัฒนาคณะทำงาน ทีมงาน พี่เลี้ยง ระดับต่าง ๆ และดำเนินงานร่วมกับ พชอ. ในอนาคต ยังไม่ชัดเจนและยังเป็นข้อจำกัดของการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะ และพัฒนากลไกสุขภาวะระดับพื้นที่

            ดังนั้น การดำเนินการเพื่อมุ่งเน้นการขับเคลื่อนการสร้างเสริมสุขภาวะ เป็นเรื่องที่ท้าทายของชุมชนอำเภอคลองท่อมซึ่งจะต้องความสามารถในการบริหารจัดการ การวางแผน ร่วมคิด ร่วมทำ ให้การจัดทำแผนมีความครอบคลุมสามารถแก้ปัญหาตามความต้องการของประชาชนได้อย่างเป็นองค์รวม มีกลไกบูรณาการระหว่างรัฐ ท้องถิ่น ประชาชนในระดับท้องถิ่น ประชาชนสามารถพึ่งตนเองได้ต่อไป

คำสำคัญ

การประเมินผลกระทบทางสุขภาพ,โครงการ,สุขภาวะ

บทนำ

จากข้อมูลของสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ระบุสถานะของประเทศไทยในช่วง 5 ทศวรรษที่ผ่านมาว่า การพัฒนาเศรษฐกิจไทยประสบความสำเร็จในระดับที่น่าพอใจทั้งในด้านการขยายตัวทางเศรษฐกิจ เสถียรภาพ ทางเศรษฐกิจ และการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างการผลิต อย่างไรก็ตามในช่วง 8 ปีที่ผ่านมา ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคม (แผนฯ) 10 และ 3 ปีแรกของแผนฯ 11 เศรษฐกิจชะลอตัวลงและเริ่มแสดงให้เห็นข้อจำกัดของการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ซึ่งทำให้เศรษฐกิจไทยมีความเสี่ยงที่จะตกอยู่ในฐานะประเทศรายได้ปานกลางอย่างถาวรมากขึ้น ด้านสังคมนั้น คนไทยมีความมั่นคงทางสังคมมากขึ้น แต่ยังมีปัญหาทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพของประชากรในทุกช่วงวัย โครงสร้างประชากรเปลี่ยนแปลงเข้าสู่การเป็นสังคมสูงวัย ครัวเรือนโดยเฉลี่ยมีขนาดลดลงและมีรูปแบบหลากหลาย ชุมชนมีความเข้มแข็งสามารถแก้ปัญหาและสนองตอบความต้องการของชุมชนด้วยตนเองได้ดีขึ้น แต่สัดส่วนของชุมชนที่เข้มแข็งยังมีอยู่ไม่มากนัก รวมทั้งแนวคิดการพัฒนาจากภาครัฐยังเป็นลักษณะจากบนลงล่าง โดยมองชุมชนเป็นผู้ถูกพัฒนา สถานการณ์ความยากจนมีแนวโน้มลดลงแต่ยังคงมีความเหลื่อมล้ำของการกระจายรายได้และความเหลื่อมล้ำระหว่างกลุ่มคน นำไปสู่ความไม่เท่ากันของทุนที่มีในการพัฒนาศักยภาพคนและปัญหาความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพและสาธารณสุข คนไทยจึงยังปัญหาเชิงคุณภาพทั้งด้านสุขภาพ การเรียนรู้ และคุณธรรมจริยธรรม (ลดาวัลย์ ค้าภา, 2559; แผนปฏิรูปประเทศ, 2561)
            ลักษณะดังกล่าวนับว่าเป็นภาพรวมของสังคมไทยที่ยังต้องการการพัฒนาในทุกมิติ โดยเฉพาะจังหวัดกระบี่ ซึ่งเป็นจังหวัดที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง โครงสร้างเศรษฐกิจขึ้นอยู่กับการท่องเที่ยวและ เกษตรกรรม ผลิตภัณฑ์มวลรวม (GPP) 87,524 ล้านบาท เป็นอันดับ 2 ของกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน อันดับ 5 ของภาคใต้ และ อันดับ 29 ของประเทศ ในปี 2562 นักท่องเที่ยวเยี่ยมเยือน 6.838 ล้านคน เป็นชาวต่างชาติ ร้อยละ 62.13 รายได้การท่องเที่ยว 119,419 ล้านบาทเป็นอันดับ 4 ของประเทศ ผลิตภัณฑ์มวลรวมเฉลี่ย 234,436 บาท ต่อ คน ต่อปี เป็นอันดับ 3 ของกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน และของภาคใต้ เป็นอันดับ 14 ของประเทศ (จังหวัดกระบี่, 2563) แต่ในขณะที่ข้อมูลด้านสุขภาพของประชาชนกระบี่ยังพบว่าเป็นปัญหาที่สำคัญ จากข้อมูลของสำนักสาธารณสุขจังหวัดกระบี่ ระบุว่า จำนวนและอัตราป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หัวใจขาดเลือด หลอดเลือดสมอง และมะเร็ง ยังอยู่ในอัตราที่น่าเป็นห่วง ทั้งนี้ อำเภอคลองท่อม เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดกระบี่ ที่ได้รับเลือกให้เป็นพื้นที่นำร่องในการติดตามประเมินผลการดำเนินงานของกองทุนสุขภาพร่วมกับอำเภอคีรีวง จังหวัดสุราษฎร์ธานี จากเกณฑ์การพิจารณาตามความเข้มแข็งของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิต สถานการณ์ของโรค และปัจจัยกำหนดพฤติกรรมเสี่ยงทางสุขภาพ ซึ่งจากรายงานสรุปผลการดำเนินงานประจำปีของเครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอคลองท่อม พบสาเหตุการตาย 5 อันดับโรคของอำเภอคลองท่อมเป็นโรคไม่ติดต่อในปี 2563 พบว่า ระบบหัวใจและหลอดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง โรคมะเร็ง ไตวายเรื้อรังและติดเชื้อในกระแสเลือด ดังนั้น ควรจะหาแนวทางการป้องกันเพื่อลดอัตราผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตดังกล่าว โดยแนวทางที่เหมาะสมควรเป็นการพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน เพื่อส่งเสริมให้ชุมชน/ท้องถิ่นมีความเข้มแข็งจัดการตนเองได้
สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) และกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ให้ดำเนินโครงการบูรณาการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะ ระดับพื้นที่โดยกลไกคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) และกลไกกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ เพื่อการพัฒนาศักยภาพกลไกในการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะในระดับพื้นที่ ด้วยการใช้ระบบติดตามประเมินผลเพื่อการปรับปรุงทบทวนแผนและโครงการต่างๆ ในพื้นที่เขตของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติในแต่ละเขต ทั้งนี้ สปสช. ได้ให้การสนับสนุนท้องถิ่นในการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับพื้นที่หรือท้องถิ่นเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการ สถานบริการ หน่วยงานสาธารณสุข หน่วยงานอื่น องค์กรหรือกลุ่มประชาชน เพื่อให้บุคคลสามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมตามความพร้อม ความเหมาะสม และความต้องการของประชาชนในท้องถิ่น สำหรับการดำเนินงานของ สปสช.เขต 11 มีการขับเคลื่อนกองทุนหลักประกันสุขภาพ และสนับสนุนให้ดำเนินงานโครงการเพื่อขับเคลื่อนด้านสุขภาวะในพื้นที่ โดยจังหวัดกระบี่ได้รับการคัดเลือกร่วมกันกับสถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นพื้นที่นำร่องการพัฒนาข้อมูลสถานการณ์สุขภาพของอำเภอคลองท่อม โดยมุ่งเน้นประเด็นที่เป็นปัจจัยของการเกิดโรคไม่ติดต่อ คือกิจกรรมทางกายอาหาร การจัดการปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพจากสุรา ยาสูบ ยาเสพติด และเกิดการดำเนินงานโครงการที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล นำสู่ข้อเสนอในการพัฒนาโครงการต่อไป
            ผลจากการดำเนินงานในครั้งนี้ จะช่วยส่งเสริมให้ชุมชน/ท้องถิ่นมีความเข้มแข็ง สามารถจัดการตนเองได้นั้นมีการดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องภายใต้การความรับผิดชอบและการสนับสนุนของทั้งสปสช. สธ. และ สสส. รวมทั้งเป็นการสนับสนุนการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะ และพัฒนากลไกสุขภาวะระดับพื้นที่ ให้เกิดประโยชน์จากการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาพ และสามารถนำไปจัดทำเป็นข้อเสนอแนะเชิงนโยบายที่เหมาะสม เกิดนโยบายสาธารณะทั้งระดับชาติ ระดับพื้นที่ ระดับหน่วยงาน ได้ต่อไป

หมายเหตุ
  • บทคัดย่อ/บทนำ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

แบบประเมิน HIA

1. การกลั่นกรองโครงการ

check_circle

ขั้นตอนที่ 1 การกลั่นกรองข้อเสนอของโครงการ (Screening) และขั้นตอนที่ 2 การกำหนดขอบเขต (Scoping)

1.1 วัตถุประสงค์

1) เพื่อให้ทราบผลและบอกถึงงานที่รับผิดชอบ
check_circle
2) เพื่อให้เห็นแนวโน้ม เพื่อเตือนภัย
3) เพื่อเปลี่ยนพฤติกรรม และเข้าใจกระบวนการ
4) เพื่อลำดับความสำคัญ แปลง ปรับกลยุทธ์ สู่การปฎิบัติ
5) เพื่อเป็นเครื่องมือในการจัดการ ช่วยการควบคุม
6) เพื่อจัดสรรทรัพยากร
7) เพื่อการเรียนรู้ และรู้ขีดความสามารถ
check_circle
8) เพื่อเปรียบเทียบ ปรับปรุงและพัฒนา
check_circle
9) เพื่อช่วยเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กร
10) เพื่อให้รางวัล เพื่อจูงใจ
11) อื่นๆ (ระบุรายละเอียด)

 

1.2 วิธีการ (ระบุรายละเอียดทำอะไร กับใคร กี่คน ผลสรุป)

1) ประชุมทีมประเมิน

 

2) ประชุมร่วมกับโครงการ

 

3) ประชุมร่วมกับโครงการและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
check_circle

ดำเนินการประชุมคณะทำงานโครงการฯ เพื่อทบทวน เอกสารที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการโครงการเพื่อศึกษาสถานการณ์สุขภาพปัจจุบันของอำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ และปัจจัยเอื้อ/อุปสรรค คน สภาพแวดล้อม กลไก/กระบวนการ/ระบบ ร่วมกับนักวิชาการที่เกี่ยวข้องเพื่อร่วมกำหนดขอบเขตของการประเมินตามปัจจัยกำหนดสุขภาพ

4) อื่นๆ (ระบุรายละเอียด)

 

1.3 เครื่องมือ

1) เครื่องมือที่ใช้ในขั้นตอนการกลั่นกรอง (ระบุรายละเอียดเครื่องมือ เช่น แนวคำถามในการประชุมกลุ่ม)
check_circle

เครื่องมือที่ใช้ในการสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่ม ประกอบด้วย แบบฟอร์มการดำเนินการติดตามโครงการ และแบบประเมินคุณค่าของโครงการ จาก สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส.) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (โครงการบูรณาการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะ เขต 11 | ระบบติดตามโครงการ สนส., n.d.) เป็นแนวทางในการกลั่นกรองข้อเสนอของโครงการ สถานการณ์ปัจจุบันพร้อมรับฟังข้อคิดเห็นจากการประชุมกลุ่มเกี่ยวกับการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะ และพัฒนากลไกสุขภาวะระดับพื้นที่และพัฒนาแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง เพื่อศึกษาสถานการณ์ของการดำเนินการที่เกิดขึ้นจริงตามสภาพของพื้นที่

1.4 ผลที่ได้

1) ผลที่ได้ในขั้นตอนการกลั่นกรอง
check_circle

อำเภอคลองท่อม เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดกระบี่ประกอบด้วย 7 ตำบล 68 หมู่บ้าน มีกองทุนสุขภาพตำบลจำนวน 9 กองทุน ประกอบด้วย กองทุนสุขภาพ อบต.คลองท่อมใต้ กองทุนสุขภาพอบต.คลองท่อมเหนือ กองทุนสุขภาพเทศบาลตำบลคลองพนพัฒนา กองทุนสุขภาพเทศบาลตำบลทรายขาว กองทุนสุขภาพ อบต.พรุดินนา กองทุนสุขภาพ อบต.เพหลา กองทุนสุขภาพอบต.ห้วยน้ำขาว กองทุนสุขภาพเทศบาลตำบลคลองท่อมใต้ และกองทุนสุขภาพเทศบาลตำบลคลองพน ประชากรกลุ่มอายุที่สำคัญ ประชากรอายุ 0-5 ปี 7,633  คน ประชากรกลุ่มวัยเรียนและวัยรุ่น 24,906 คน ประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไป 28,908 คน ประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป 7,715  คน (11.15) สาเหตุการตาย 5 อันดับ ปี 2562 พบว่า ระบบหัวใจและหลอดเลือด จำนวน 38 คน อัตราต่อพันประชากร 0.55 โรคหลอดเลือดสมอง จำนวน 25 อัตราต่อพันประชากร 0.42 โรคมะเร็ง จำนวน 15 คน อัตราต่อพันประชากร 0.22 ไตวายเรื้อรัง จำนวน 6 คน อัตราต่อพันประชากร 0.09 ติดเชื้อในกระแสเลือด จำนวน 4 คน อัตราต่อพันประชากร 0.05 (รายงานประจำปีเครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอคลองท่อม,2562)

2. การกำหนดขอบเขต

check_circle

ดำเนินการประชุมคณะทำงานโครงการฯ ก่อนดำเนินการประเมิน เพื่อทบทวน เอกสารที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการโครงการเพื่อศึกษาสถานการณ์สุขภาพปัจจุบันของอำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ และปัจจัยเอื้อ/อุปสรรค คน สภาพแวดล้อม กลไก/กระบวนการ/ระบบ

1) วิธีการในการกำหนดขอบเขต
check_circle

ประชุมคณะทำงานโครงการฯ การดำเนินการประเมิน และสัมภาษณ์เชิงลึกผู้เกี่ยวข้อง

2) ผู้เข้าร่วมกำหนดขอบเขต
check_circle

ผู้รับผิดชอบงานกองทุนหลักประกันสุขภาพในอำเภอคลองท่อม ทั้ง รพ.สต. สสอ.คลองท่อม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  จำนวน 15 คน

3) เครื่องมือที่ใช้
check_circle

เครื่องมือที่ใช้ในการสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่ม ประกอบด้วย แบบฟอร์มการดำเนินการติดตามโครงการ จาก สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส.) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (โครงการบูรณาการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะ เขต 11 | ระบบติดตามโครงการ สนส., n.d.) เป็นแนวทางในการกลั่นกรองข้อเสนอของโครงการ สถานการณ์ปัจจุบันพร้อมรับฟังข้อคิดเห็นจากการประชุมกลุ่มเกี่ยวกับการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะ และพัฒนากลไกสุขภาวะระดับพื้นที่และพัฒนาแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง เพื่อศึกษาสถานการณ์ของการดำเนินการที่เกิดขึ้นจริงตามสภาพของพื้นที่

4) กรอบแนวคิด

1) ใช้กรอบ Ottawa charter
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดเครื่องมือกลุ่มผู้ให้ข้อมูล
2) ใช้กรอบ ปัจจัยกำหนดสุขภาพ
check_circle
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดเครื่องมือกลุ่มผู้ให้ข้อมูล
1. การพัฒนาคณะทำงาน ทีมงาน พี่เลี้ยง ระดับต่าง ๆ ถึงความเข้าใจรายละเอียดโครงการบูรณาการ
  1. ความเข้าใจรายละเอียดโครงการบูรณาการ
  1. แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง
  1. ผู้รับผิดชอบงานกองทุนหลักประกันสุขภาพในอำเภอคลองท่อม ทั้ง รพ.สต. สสอ.คลองท่อม องค์กรปกครองส่วนท่องถิ่น รพ.คลองท่อม จำนวน 15 คน
2. การพัฒนาศักยภาพกลุ่มพี่เลี้ยง คณะกรรมการกองทุน ผู้ขอรับทุน ประกอบด้วย 1.ความรู้ ความสามารถ สมรรถนะของพี่เลี้ยง 2.หลักสูตร คู่มือและ 3.เว็บไซต์
  1. ศักยภาพกลุ่มพี่เลี้ยง คณะกรรมการกองทุน ผู้ขอรับทุน ประกอบด้วย 1.ความรู้ ความสามารถ สมรรถนะของพี่เลี้ยง 2.หลักสูตร คู่มือและ 3.เวปไซค์
  1. แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง
  1. ผู้รับผิดชอบงานกองทุนหลักประกันสุขภาพในอำเภอคลองท่อม ทั้ง รพ.สต. สสอ.คลองท่อม องค์กรปกครองส่วนท่องถิ่น รพ.คลองท่อม จำนวน 15 คน
3.กระบวนการ/วิธีการทำงานของทีมประสานงานเขต/จังหวัด/อำเภอ/ตำบล
  1. กระบวนการ/วิธีการทำงานของทีมประสานงานเขต/จังหวัด/อำเภอ/ตำบล
  1. แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง
  1. ผู้รับผิดชอบงานกองทุนหลักประกันสุขภาพในอำเภอคลองท่อม ทั้ง รพ.สต. สสอ.คลองท่อม รพ.คลองท่อม องค์กรปกครองส่วนท่องถิ่น จำนวน 15 คน
4. การประสานงานกับคณะกรรมการ พชอ.
  1. การประสานงานกับคณะกรรมการ พชอ.
  1. แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง
  1. ผู้รับผิดชอบงานกองทุนหลักประกันสุขภาพในอำเภอคลองท่อม ทั้ง รพ.สต. สสอ.คลองท่อม รพ.คลองท่อม องค์กรปกครองส่วนท่องถิ่น จำนวน 15 คน
5. ผลผลิตการเกิดแผนงาน 5 เรื่องในกองทุน
  1. แผนงาน 5 เรื่องในกองทุน
  1. แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง
  2. เว็บไซต์ ของระบบติดตามและประเมินผลโครงการ
  1. ผู้รับผิดชอบงานกองทุนหลักประกันสุขภาพในอำเภอคลองท่อม ทั้ง รพ.สต. สสอ.คลองท่อม รพ.คลองท่อม องค์กรปกครองส่วนท่องถิ่น จำนวน 15 คน
6. ผลผลิตการเกิดโครงการ ตามแผน
  1. โครงการ ตามแผน 5 เรื่อง
  1. แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง
  2. เว็บไซต์ ของระบบติดตามและประเมินผลโครงการ
  1. ผู้รับผิดชอบงานกองทุนหลักประกันสุขภาพในอำเภอคลองท่อม ทั้ง รพ.สต. สสอ.คลองท่อม รพ.คลองท่อม องค์กรปกครองส่วนท่องถิ่น จำนวน 15 คน
7. ผลผลิตเกิดการติดตามประเมินผล
  1. ระบบการติดตามประเมินผล
  1. แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง
  2. เว็บไซต์ ของระบบติดตามและประเมินผลโครงการ
  1. ผู้รับผิดชอบงานกองทุนหลักประกันสุขภาพในอำเภอคลองท่อม ทั้ง รพ.สต. สสอ.คลองท่อม รพ.คลองท่อม องค์กรปกครองส่วนท่องถิ่น จำนวน 15 คน
3) ใช้กรอบ Balance Score Card
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดเครื่องมือกลุ่มผู้ให้ข้อมูล
4) ใช้กรอบ CIPP
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดเครื่องมือกลุ่มผู้ให้ข้อมูล
5) อื่นๆ
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดเครื่องมือกลุ่มผู้ให้ข้อมูล

3. ลงมือประเมิน

check_circle

ดำเนินการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) และ อภิปรายกลุ่มย่อย (Group Discussion) จากการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะ และพัฒนากลไกสุขภาวะระดับพื้นที่ตามสถานการณ์ของการดำเนินการที่เกิดขึ้นจริงตามสภาพของพื้นที่ ในกลุ่มผู้รับผิดชอบโครงการ ตัวแทนกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากการดำเนินโครงการจำนวน ประกอบด้วย คณะกรรมการระบบสุขภาพอำเภอ และตัวแทนผู้ได้รับผลกระทบ เพื่อค้นหาปัจจัยที่ทำให้โครงการบรรลุไม่บรรลุเป้าหมาย ประกอบด้วย ปัจจัยด้านคน สภาพแวดล้อม และกลไกการดำเนินการขั้นตอนกระบวนการที่ส่งผลต่อความสำเร็จของโครงการผลที่เกิดขึ้นทั้งที่ตั้งใจ และไม่ตั้งใจจากผลผลิต ผลลัพธ์และผลกระทบ ที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงผลลัพธ์ ผลกระทบ ต่อสุขภาวะกาย จิต สังคม ปัญญา

1) กระบวนการเก็บข้อมูลโดยการมีส่วนร่วม (ระบุรายละเอียด)
check_circle

ดำเนินการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) และ อภิปรายกลุ่มย่อย (Group Discussion) จากการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะ และพัฒนากลไกสุขภาวะระดับพื้นที่ตามสถานการณ์ของการดำเนินการที่เกิดขึ้นจริงตามสภาพของพื้นที่

2) กระบวนการวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูล (ระบุรายละเอียด)
check_circle

การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive statistics) ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content analysis)

3) ผู้มีส่วนร่วมในการประเมิน (ระบุรายละเอียด)
check_circle

ผู้รับผิดชอบงานกองทุนหลักประกันสุขภาพในอำเภอคลองท่อม ทั้ง รพ.สต. สสอ.คลองท่อม รพ.คลองท่อม องค์กรปกครองส่วนท่องถิ่น

4) ผลการประเมิน (เรียงตามตัวชี้วัดที่กำหนดในขั้นตอน scoping)
check_circle

มิติการประเมิน ผลกระทบ ข้อเสนอแนะ บวก+ (ข้อมูลหลักฐานเชิงประจักษ์จากการประเมิน) ลบ + (ข้อมูลหลักฐานเชิงประจักษ์จากการประเมิน)
1. การพัฒนาคณะทำงาน ทีมงาน พี่เลี้ยง ระดับต่าง ๆ -ความเข้าใจรายละเอียดโครงการบูรณาการ ความเข้าใจรายละเอียดโครงการบูรณาการไม่ชัดเจน การคีย์ข้อมูล ทั้งขั้นตอนและกระบวนการ ทำได้เพียงบางประเด็น
2. การพัฒนาศักยภาพกลุ่มพี่่เลี้ยง คณะกรรมการกองทุน ผู้ขอรับทุน 2.1 ความรู้ ความสามารถ สมรรถนะของพี่เลี้ยง ร้อยละ 100 ของผู้เข้ารับการอบรม พบว่า กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความสามารถหรือมีสมรรถนะในการทำแผนงาน โครงการ ระบบติดตามประเมินผลระดับปานกลาง
2.2 หลักสูตร คู่มือ ได้ใช้หลักเกณฑ์การดำเนินงานจากคู่มือของกองทุนเป็นหลักแต่ในคู่มือเป็นเฉพาะระเบียบ แต่ไม่ได้มีการลงรายละเอียดการปฏิบัติ จึงเป็นข้อจำกัดในการปฏิบัติ เนื่องจากไม่แน่ใจในข้อห้ามหรือข้อปฏิบัติว่าจะทำได้หรือไม่
2.3 ผู้ดำเนินโครงการใช้เว็บไซต์ของ สปสช. เป็นหลัก ส่วนเว็บไซต์ของสถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ยังไม่ได้ดำเนินการ เพราะผู้ปฏิบัติเข้าใจว่าการลงข้อมูลในครั้งก่อนหน้านี้ เป็นแค่เพียงการทดลองใช้
3.กระบวนการ/วิธีการทำงานของทีมประสานงานเขต/จังหวัด/อำเภอ/ตำบล และการประสานงานกับคณะกรรมการ พชอ. อำเภอคลองท่อมมีการวางแผน และดำเนินการขับเคลื่อนประเด็นในการพัฒนาคุณภาพชีวิต (พชอ.) ประกอบด้วย 1) อุบัติเหตุทางการจราจร
2)โรคติดต่อ (โรคไข้เลือดออก โรคโคโรน่าไวรัส 2019)
3) อาหารริมบาทวิถีปลอดภัย
4) ปัญหาขยะ
5) ทีมประสานงานและพี่เลี้ยงพัฒนาศักยภาพกรรมการกองทุน ผู้รับผิดชอบกองทุน และผู้เสนอโครงการ เรื่องการทำแผน การทำโครงการ และการติดตามประเมินผล -ดำเนินการชี้แจง อธิบายขั้นตอน กระบวนการดำเนินงาน ทีมพี่เลี้ยงชี้แจง 1 ครั้ง ประมาณ เดือนธันวาคม 2562 ุ 6) ทีมประสานงานเขตประชุมทำความเข้าใจและความร่วมมือกับ พชอ. -ผู้อบรมสามารถทำได้เบื้องต้นแต่ยังเข้าใจข้อมูลบางส่วน
7) ทีมประสานงาน และทีมพี่เลี้ยงหนุนเสริมการจัดทำแผน การพัฒนาโครงการ และการติดตามประเมินผล -หนุนเสริมการจัดทำแผน การพัฒนาโครงการ และการติดตามประเมินผลไม่ชัดเจน
8) สรุปงานและดำเนินงานต่อไปร่วมกับ พชอ -สรุปงานและดำเนินงานต่อไปร่วมกับ พชอ.ไม่ชัดเจน

ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดผลการประเมินหมายเหตุ
1. 1. การพัฒนาคณะทำงาน ทีมงาน พี่เลี้ยง ระดับต่าง ๆ ถึงความเข้าใจรายละเอียดโครงการบูรณาการ (2) ใช้กรอบ ปัจจัยกำหนดสุขภาพ) ความเข้าใจรายละเอียดโครงการบูรณาการ

ความเข้าใจรายละเอียดโครงการบูรณาการไม่ชัดเจน การคีย์ข้อมูล ทั้งขั้นตอนและกระบวนการทำทำได้เพียงบางประเด็น

 

2. 2. การพัฒนาศักยภาพกลุ่มพี่เลี้ยง คณะกรรมการกองทุน ผู้ขอรับทุน ประกอบด้วย 1.ความรู้ ความสามารถ สมรรถนะของพี่เลี้ยง 2.หลักสูตร คู่มือและ 3.เว็บไซต์ (2) ใช้กรอบ ปัจจัยกำหนดสุขภาพ) ศักยภาพกลุ่มพี่เลี้ยง คณะกรรมการกองทุน ผู้ขอรับทุน ประกอบด้วย 1.ความรู้ ความสามารถ สมรรถนะของพี่เลี้ยง 2.หลักสูตร คู่มือและ 3.เวปไซค์

ความรู้ พบว่า ร้อยละ 100 ของผู้เข้ารับการอบรม ของกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความสามารถหรือมีสมรรถนะในการทำแผนงาน โครงการ ระบบติดตามประเมินผลระดับปานกลาง
หลักสูตร คู่มือ พบว่า ผู้เข้ารับการอบรม ได้ใช้หลักเกณฑ์การดำเนินงานจากคู่มือของกองทุนเป็นหลักแต่ในคู่มือเป็นเฉพาะระเบียบ แต่ไม่ได้มีการลงรายละเอียดการปฏิบัติ จึงเป็นข้อจำกัดในการปฏิบัติ เนื่องจากไม่แน่ใจในข้อห้ามหรือข้อปฏิบัติว่าจะทำได้หรือไม่ เว็บไซต์ พบว่า ผู้เข้ารับการอบรม ใช้เว็บของ สปสช. เป็นหลัก เวปไซค์ที่ของสถาบันนโยบาย มอ.ยังไม่ได้ดำเนินการ เพราะผู้ปฏิบัติเข้าใจว่าการลงข้อมูลในครั้งก่อนหน้านี้ เป็นแค่เพียงการทดลองใช้

 

3. 3.กระบวนการ/วิธีการทำงานของทีมประสานงานเขต/จังหวัด/อำเภอ/ตำบล (2) ใช้กรอบ ปัจจัยกำหนดสุขภาพ) กระบวนการ/วิธีการทำงานของทีมประสานงานเขต/จังหวัด/อำเภอ/ตำบล

อำเภอคลองท่อมมีการวางแผน และดำเนินการขับเคลื่อนประเด็นในการพัฒนาคุณภาพชีวิต (พชอ.) ประกอบด้วย 1.อุบัติเหตุทางการจราจร
2.โรคติดต่อ (โรคไข้เลือดออก โรคโคโรน่าไวรัส 2019)
3.อาหารริมบาทวิถีปลอดภัย
4.ปัญหาขยะ

 

4. 4. การประสานงานกับคณะกรรมการ พชอ. (2) ใช้กรอบ ปัจจัยกำหนดสุขภาพ) การประสานงานกับคณะกรรมการ พชอ.

ดำเนินการชี้แจง อธิบายขั้นตอน กระบวนการดำเนินงาน ทีมพี่เลี้ยงชี้แจง 1 ครั้ง ประมาณ เดือนธันวาคม 2562

 

5. 5. ผลผลิตการเกิดแผนงาน 5 เรื่องในกองทุน (2) ใช้กรอบ ปัจจัยกำหนดสุขภาพ) แผนงาน 5 เรื่องในกองทุน

ผู้อบรมสามารถทำได้เบื้องต้นแต่ยังเข้าใจข้อมูลบางส่วน

 

6. 6. ผลผลิตการเกิดโครงการ ตามแผน (2) ใช้กรอบ ปัจจัยกำหนดสุขภาพ) โครงการ ตามแผน 5 เรื่อง

หนุนเสริมการจัดทำแผน การพัฒนาโครงการ และการติดตามประเมินผลไม่ชัดเจน

 

7. 7. ผลผลิตเกิดการติดตามประเมินผล (2) ใช้กรอบ ปัจจัยกำหนดสุขภาพ) ระบบการติดตามประเมินผล

สรุปงานและดำเนินงานต่อไปร่วมกับ พชอไม่ชัดเจน

 

5) อื่นๆ
check_circle

 

4. ทบทวนรายงานการประเมินว่าถูกต้องหรือไม่?

check_circle

ดำเนินการรายงานการผลประเมินแก่ผู้เกี่ยวข้อง ผ่านช่องระบบเว็บไซต์เพื่อรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ และรายงานสรุปผลการดำเนินงานให้กับพื้นที่เป้าหมาย

1) กระบวนการในการทบทวนรายงาน
check_circle

1.ช่องทางเวปไซค์ของระบบการติดตามประเมินผล

2.ประชุมผ่านระบบ Zoom เพื่อรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ ร่วมกัน

3.ดำเนินการจัดทำรายงานสรุปส่งยังผู้เกี่ยวข้องเพื่อให้ข้อคิดเห็น และปรับปรุง ก่อนสรุปรายงานฉบับสมบูรณ์ส่งให้ผู้เกี่ยวข้องอีกครั้ง

2) ผู้มีส่วนร่วมในการทบทวนรายงาน
check_circle

ผลการประเมินผลกระทบทางสุขภาพโครงการบูรณาการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะ และพัฒนากลไกสุขภาวะระดับพื้นที่ พบว่า อำเภอคลองท่อมมีการดำเนินการการวางแผน และดำเนินการขับเคลื่อนประเด็นในการพัฒนาคุณภาพชีวิต (พชอ.) ประกอบด้วย1.อุบัติเหตุทางการจราจร 2.โรคติดต่อ (โรคไข้เลือดออก โรคโคโรน่าไวรัส 2019) 3.อาหารริมบาทวิถีปลอดภัย 4.ปัญหาขยะ แต่แผนของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตยังไม่มีการบูรณาการร่วมกับประเด็นของกองทุนในประเด็น อุบัติเหตุทางการจราจร และปัญหาขยะ ขณะที่แผนงานโครงการปัจจัยเสี่ยง เหล้า บุหรี่ ยาเสพติด อาหาร กิจกรรมทางกาย จำนวน 3 แผนงาน/โครงการใน 3 องค์การปกครองท้องถิ่น และสัดส่วนของโครงการปัจจัยเสี่ยงเหล้า บุหรี่ ยาเสพติด อาหาร กิจกรรมทางกาย พบว่าทั้ง 9 กองทุนสุขภาพตำบลไม่พบแผนงาน/โครงการ เรื่องการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ แผนงาน/โครงการ เรื่องกิจกรรมทางกาย จำนวน 2 แผนงาน/โครงการ ร้อยละ 22.22 แผนงาน/โครงการ เรื่องบุหรี่ จำนวน 2 แผนงาน/โครงการ ร้อยละ 22.22 แผนงาน/โครงการ เรื่องยาเสพติด จำนวน 1 แผนงาน/โครงการ ร้อยละ 11.11 แผนงาน/โครงการ เรื่องอาหาร จำนวน 3 แผนงาน/โครงการ ร้อยละ 33.33

3) ผลการทบทวนร่างรายงาน

 

4) สรุปผลการประเมินสำคัญที่นำเข้าเวทีการทบทวน
check_circle
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดสรุปผลการประเมินหมายเหตุ
1. 1. การพัฒนาคณะทำงาน ทีมงาน พี่เลี้ยง ระดับต่าง ๆ ถึงความเข้าใจรายละเอียดโครงการบูรณาการ (2) ใช้กรอบ ปัจจัยกำหนดสุขภาพ) ความเข้าใจรายละเอียดโครงการบูรณาการ

ผลกระทบทางลบ

ความเข้าใจรายละเอียดโครงการบูรณาการไม่ชัดเจน การคีย์ข้อมูล ทั้งขั้นตอนและกระบวนการทำทำได้เพียงบางประเด็น

บวก+ลบ - (ข้อมูลหลักฐานเชิงประจักษ์จากการประเมิน)

2. 2. การพัฒนาศักยภาพกลุ่มพี่เลี้ยง คณะกรรมการกองทุน ผู้ขอรับทุน ประกอบด้วย 1.ความรู้ ความสามารถ สมรรถนะของพี่เลี้ยง 2.หลักสูตร คู่มือและ 3.เว็บไซต์ (2) ใช้กรอบ ปัจจัยกำหนดสุขภาพ) ศักยภาพกลุ่มพี่เลี้ยง คณะกรรมการกองทุน ผู้ขอรับทุน ประกอบด้วย 1.ความรู้ ความสามารถ สมรรถนะของพี่เลี้ยง 2.หลักสูตร คู่มือและ 3.เวปไซค์

ผลกระทบเชิงลบ ร้อยละ 100 ของผู้เข้ารับการอบรม พบว่า กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความสามารถหรือมีสมรรถนะในการทำแผนงาน โครงการ ระบบติดตามประเมินผลระดับปานกลาง ได้ใช้หลักเกณฑ์การดำเนินงานจากคู่มือของกองทุนเป็นหลักแต่ในคู่มือเป็นเฉพาะระเบียบ แต่ไม่ได้มีการลงรายละเอียดการปฏิบัติ จึงเป็นข้อจำกัดในการปฏิบัติ เนื่องจากไม่แน่ใจในข้อห้ามหรือข้อปฏิบัติว่าจะทำได้หรือไม่ ใช้เว็บไซต์ของ สปสช. เป็นหลัก

ผลกระทบเชิงบวก เว็บไซต์ที่ของสถาบันนโยบายสาธารณะ ม.อ.ยังไม่ได้ดำเนินการ เพราะผู้ปฏิบัติเข้าใจว่าการลงข้อมูลในครั้งก่อนหน้านี้ เป็นแค่เพียงการทดลองใช้

 

3. 3.กระบวนการ/วิธีการทำงานของทีมประสานงานเขต/จังหวัด/อำเภอ/ตำบล (2) ใช้กรอบ ปัจจัยกำหนดสุขภาพ) กระบวนการ/วิธีการทำงานของทีมประสานงานเขต/จังหวัด/อำเภอ/ตำบล

ผลกระทบบวก
อำเภอคลองท่อมมีการวางแผน และดำเนินการขับเคลื่อนประเด็นในการพัฒนาคุณภาพชีวิต (พชอ.) ประกอบด้วย 1.อุบัติเหตุทางการจราจร
2.โรคติดต่อ (โรคไข้เลือดออก โรคโคโรน่าไวรัส 2019)
3.อาหารริมบาทวิถีปลอดภัย
4.ปัญหาขยะ

 

4. 4. การประสานงานกับคณะกรรมการ พชอ. (2) ใช้กรอบ ปัจจัยกำหนดสุขภาพ) การประสานงานกับคณะกรรมการ พชอ.

ผลกระทบทางลบ

ดำเนินการชี้แจง อธิบายขั้นตอน กระบวนการดำเนินงาน ทีมพี่เลี้ยงชี้แจง 1 ครั้ง ประมาณ เดือนธันวาคม 2562

 

5. 5. ผลผลิตการเกิดแผนงาน 5 เรื่องในกองทุน (2) ใช้กรอบ ปัจจัยกำหนดสุขภาพ) แผนงาน 5 เรื่องในกองทุน

ผลกระทบทางลบ

ผู้อบรมสามารถทำได้เบื้องต้นแต่ยังเข้าใจข้อมูลบางส่วน

แผนงานโครงการปัจจัยเสี่ยง เหล้า บุหรี่ ยาเสพติด อาหาร กิจกรรมทางกาย จำนวน 3 แผนงาน/โครงการใน 3 องค์การปกครองท้องถิ่น และสัดส่วนของโครงการปัจจัยเสี่ยงเหล้า บุหรี่ ยาเสพติด อาหาร กิจกรรมทางกาย พบว่าทั้ง 9 กองทุนสุขภาพตำบลไม่พบแผนงาน/โครงการ เรื่องการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ แผนงาน/โครงการ เรื่องกิจกรรมทางกาย จำนวน 2 แผนงาน/โครงการ ร้อยละ 22.22 แผนงาน/โครงการ เรื่องบุหรี่ จำนวน 2 แผนงาน/โครงการ ร้อยละ 22.22 แผนงาน/โครงการ เรื่องยาเสพติด จำนวน 1 แผนงาน/โครงการ ร้อยละ 11.11 แผนงาน/โครงการ เรื่องอาหาร จำนวน 3 แผนงาน/โครงการ ร้อยละ 33.33

 

6. 6. ผลผลิตการเกิดโครงการ ตามแผน (2) ใช้กรอบ ปัจจัยกำหนดสุขภาพ) โครงการ ตามแผน 5 เรื่อง

ผลกระทบทางลบ

หนุนเสริมการจัดทำแผน การพัฒนาโครงการ และการติดตามประเมินผลไม่ชัดเจน

แผนงานโครงการปัจจัยเสี่ยง เหล้า บุหรี่ ยาเสพติด อาหาร กิจกรรมทางกาย จำนวน 3 แผนงาน/โครงการใน 3 องค์การปกครองท้องถิ่น และสัดส่วนของโครงการปัจจัยเสี่ยงเหล้า บุหรี่ ยาเสพติด อาหาร กิจกรรมทางกาย พบว่าทั้ง 9 กองทุนสุขภาพตำบลไม่พบแผนงาน/โครงการ เรื่องการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ แผนงาน/โครงการ เรื่องกิจกรรมทางกาย จำนวน 2 แผนงาน/โครงการ ร้อยละ 22.22 แผนงาน/โครงการ เรื่องบุหรี่ จำนวน 2 แผนงาน/โครงการ ร้อยละ 22.22 แผนงาน/โครงการ เรื่องยาเสพติด จำนวน 1 แผนงาน/โครงการ ร้อยละ 11.11 แผนงาน/โครงการ เรื่องอาหาร จำนวน 3 แผนงาน/โครงการ ร้อยละ 33.33

 

7. 7. ผลผลิตเกิดการติดตามประเมินผล (2) ใช้กรอบ ปัจจัยกำหนดสุขภาพ) ระบบการติดตามประเมินผล

ผลกระทบทางลบ

สรุปงานและดำเนินงานต่อไปร่วมกับ พชอไม่ชัดเจน

 

5) อื่นๆ

 

5. การปรับปรุงทบทวนโครงการ

check_circle

การดำเนินการแผนงาน และโครงการของภาคประชาชนมีข้อจำกัดเรื่องการเขียน และการพัฒนาโครงการ รวมถึงเมื่อมีการดำเนินงาน เงินงบประมาณที่ใช้ในการปฏิบัติไม่สามารถเบิกจ่ายได้ เนื่องจากความผิดพลาดเรื่องเอกสารหรือหลักฐานต่างๆ ทำให้หน่วยงานองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นและ รพ.สต. ต้องทำงานร่วมกัน และเป็นผู้เขียนโครงการ โดยนำมาจากความต้องการของประชาชนว่าต้องการพัฒนาในเรื่องอะไร จึงนำมาเขียนเป็นโครงการและดำเนินงานตามระบบการเบิกจ่ายตามหลักเกณฑ์ของ สปสช. ซึ่งมีทั้ง ข้อดีคือ ผิดพลาดเรื่องหลักฐานการเบิกจ่ายจะมีน้อย และข้อเสีย คือ เป็นโครงการที่ไม่สร้างสรรค์กิจกรรมใหม่ๆ ได้ ส่วนมากจากเป็นลักษณะกิจกรรมที่เป็นการอบรม เนื่องจากง่ายต่อการจัดทำหลักฐานการเบิก เป็นข้อเสียที่ทำให้ไม่สามารถเกิดโครงการ/กิจกรรมที่สร้างสรรค์เป็นนวัตกรรมใหม่ได้ เนื่องจากมีข้อจำกัดเรื่องการหลักฐานการใช้จ่ายงบประมาณ

1) ข้อเสนอเพื่อการทบทวนโครงการ

 

2) อื่นๆ

 

6. ได้มีการปรับปรุงทบทวนโครงการตามข้อ 5 หรือไม่?

check_circle

ผลการประเมินกระทบทางสุขภาพถูกนำเสนอผ่านผู้เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย คณะกรรมการระบบสุขภาพอำเภอ และตัวแทนผู้ได้รับผลกระทบ และรายงานผลผ่านระบบออนไลน์ที่ผู้เกี่ยวข้องสามารถเข้าถึงข้อมูลได้

1) กลไกในการติดตามการปรับปรุงโครงการตามข้อเสนอแนะ
check_circle

ประชุมคณะกรรมการระบบสุขภาพอำเภอ และผู้เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งเวปไซค์ของระบบการติดตามประเมินผล

2) วิธีการติดตาม การปรับปรุงโครงการตามข้อเสนอแนะ

 

3) อื่นๆ

 

สรุป

อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ

การพัฒนาศักยภาพกลุ่มพี่เลี้ยง คณะกรรมการกองทุน ผู้ขอรับทุน มีองค์ประกอบสำคัญ ได้แก่ (1) ความรู้ ความสามารถ สมรรถนะของพี่เลี้ยง (2) หลักสูตร คู่มือของกองทุนหลักประกันสุขภาพ และ (3) เว็บไซต์ของกองทุนหลักประกันสุขภาพ และเว็บไซต์ของสถาบันนโยบายสาธารณะ องค์ประกอบดังกล่าว เป็นส่วนสำคัญของกระบวนการ ทั้งวิธีการทำงานให้เกิดความเป็นทีมในทุกระดับ และเกิดความเข้าใจถึงผลผลิตจากการเกิดแผนงาน และโครงการ ในกองทุนให้สอดคล้องกับการพัฒนาระบบสุขภาพอำเภอ และการกระจายงบประมาณซึ่งระบบสุขภาพระดับอำเภอเป็นยุทธศาสตร์ในการนำนโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า และกองทุนสุขภาพ ไปสู่ผลลัพธ์ด้านการใช้บริการและผลประโยชน์ต่อประชาชนในรูปแบบที่เอื้อประโยชน์ต่อคนจน (pro-poor) (Tangcharoensathien et al., 2018) ซึ่งต้องได้รับความเห็นชอบร่วมกับของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิต เป็นตัวบ่งชี้ให้เกิดการพัฒนาสถานการณ์ระบบสุขภาพชุมชนดีขึ้นไปในทิศทางเดียวกัน อย่างไรก็ดี การดำเนินงานของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ ต้องสอดคล้องกับปัญหาในพื้นที่และบริบท “ร่วมคิด ร่วมแก้ไข และร่วมกับผลงาน” การได้ประชุมร่วมกันของคณะกรรมการก็ยังน้อยครั้งซึ่งทำให้การได้ร่วมคิด ร่วมวางแผน ติดตามความก้าวหน้า และชี้แจงให้รับทราบถึงบทบาทหน้าที่ที่ถูกกำหนด ยังไม่ชัดเจน ดังนั้นการปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ของบุคคล (Role Performance) เป็นบทบาทของสถานภาพที่แสดงออกจริง (Actual Role) การที่บุคคลใดจะปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ที่ได้ดีเพียงใดนั้น ขึ้นอยู่กับระดับของการยอมรับบทบาทนั้นๆของบุคคลที่ได้ครองตำแหน่งนั้นอยู่ ทั้งนี้เกี่ยวข้องกับหลายปัจจัย ทั้งเรื่องของความเชื่อ ค่านิยม การอบรม กำลังใจ มูลเหตุจูงใจ ข้อผูกพัน ความพอใจในสิทธิหน้าที่ของจิตใจ และร่างกายของแต่ละบุคคล (นิสากร กรุงไกรเพชร และคณะ, 2559) ขณะเดียวกันการดำเนินการเพื่อมุ่งเน้นการขับเคลื่อนการสร้างเสริมสุขภาวะ เป็นเรื่องที่ท้าทายของชุมชนอำเภอคลองท่อมซึ่งจะต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของประชาชนและภาคประชาสังคม การใช้หลักฐานเชิงประจักษ์และความเป็นผู้นำที่มีจริยธรรมช่วยจัดการกับความกดดันและข้อขัดแย้ง และช่วยปกป้องประโยชน์ของสมาชิกในสิทธิประกันสุขภาพแห่งชาติเป็นอย่างดี (Tangcharoensathien et al., 2018) ทำให้การจัดทำแผนมีความครอบคลุมสามารถแก้ปัญหาตามความต้องการของประชาชนได้อย่างเป็นองค์รวมทั้งด้านสุขภาพ ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน โดยกองทุนสุขภาพเป็นแหล่งสนับสนุนทุกกลุ่มวัยได้รับการดูแลทำให้เกิดการมีส่วนร่วมอย่างมีกฎ กติกา ประชาชนถือปฏิบัติเกิดการเรียนรู้รักสามัคคี นำความสุขสงบมาสู่คนในชุมชน เกิดกลไกการคุ้มครองสิทธิของประชาชนในชุมชน และในขณะเดียวกันก็เกิดพลังขับเคลื่อนในพื้นที่ มีกลไกบูรณาการระหว่างรัฐ ท้องถิ่น ประชาชนในระดับท้องถิ่น ประชาชนสามารถพึ่งตนเองได้


ข้อเสนอแนะการดำเนินการแผนงานและโครงการเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้น ควรจะมีการพัฒนาปัจจัยการพัฒนาใน 4 ด้าน (4 M) ได้แก่
1. Man: ควรจัดให้มีชุดอนุกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิต ที่บูรณาการประเด็นร่วมของการขับเคลื่อนระบบสุขภาพอำเภอ และพัฒนาศักยภาพ ทั้งความรู้และทักษะการจัดทำโครงการที่มีคุณภาพ และพิจารณาคัดเลือก/แต่งตั้งผู้รับผิดชอบหลักสำหรับโครงการในแต่พื้นที่ 2. Material: พัฒนาระบบสนับสนุนการเข้าถึงชุดข้อมูล เช่น ระเบียบการใช้งบประมาณ วิธีการเขียนโครงการ เป็นต้น 3. Money: ปรับระเบียบ/หลักการให้ประชาชนทุกกลุ่มสามารถเข้าถึงงบประมาณได้ และมีขั้นตอนการพิจารณางบประมาณที่สามารถตรวจสอบโดยสาธารณะได้ 4. Management: ให้มีคณะกรรมการจากทุกภาคส่วน เข้าร่วมในการติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่อง

เอกสารอ้างอิง

โครงการบูรณาการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะ เขต 11 | ระบบติดตามโครงการ สนส. (n.d.). สืบค้น 26 กรกฏาคม 2563, จาก http://hsmi2.psu.ac.th/project/391/evalform

นิสากร กรุงไกรเพชร, อริสรา ฤทธิ์งาม, และ ชรัญญากร วิริยะ. (2559). รูปแบบการขับเคลื่อนชุมชนสุขภาวะที่ท่ามะนาว. The Journal of Faculty of Nursing Burapha University, 24(3), 34–46.

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ . (2563). โปรแกรมบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่. สืบค้น 4 สิงหาคม 2563, จากhttps://obt.nhso.go.th/obt/projectsummaryreport?zonecode=11&provincecode=8100&districtcode=8104&budgetyear=2020

Tangcharoensathien, V., Witthayapipopsakul, W., Panichkriangkrai, W., Patcharanarumol, W., & Mills, A. (2018). Health systems development in Thailand: A solid platform for successful implementation of universal health coverage. The Lancet, 391(10126), 1205–1223. https://doi.org/10.1016/S0140-6736(18)30198-3

เอกสารประกอบโครงการ