ระบบติดตามและประเมินผลโครงการ ( M&E Thailand )

directions_run

โครงการบูรณาการกลไกสุขภาพชุมชน เขต 12 อำเภอละงู จังหวัดสตูล

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อเพิ่มการจัดทำแผนสุขภาพของกองทุนสุขภาพ
ตัวชี้วัด : ร้อยละของกองทุนสุขภาพตำบลอำเภอละงูที่มีแผนสุขภาพตำบลตามประเด็นปัญหาของพื้นที่
15.00 80.00

 

2 เพื่อเพิ่มคุณภาพโครงการที่ดีได้รับการสนับสนุนจากกองทุนสุขภาพตำบลนำร่องในอำเภอละงู
ตัวชี้วัด : ร้อยละของโครงการที่ดีได้รับการสนับสนุนจากกองทุนสุขภาพตำบลนำร่อง
30.00 90.00

 

3 เพื่อเพิ่มการใช้ระบบติดตามประเมินผลโครงการของกองทุนสุขภาพตำบล
ตัวชี้วัด : ร้อยละของกองทุนที่มีการใช้ระบบติดตามประเมินผลโครงการของกองทุนสุขภาพตำบล
10.00 80.00

 

4 เพื่อให้เกิดการบูรณาการแผน 5 ประเด็นสำคัญใน พชอ.
ตัวชี้วัด : พชอ.เกิดการบูรณาการแผน 5 ประเด็นสำคัญ
20.00 100.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 180
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
ปฐมวัย (0-5 ปี) -
วัยเรียน (6-12 ปี) -
วัยรุ่น (13-15 ปี) -
เยาวชน (15-20 ปี) -
วัยทำงาน -
ผู้สูงอายุ (60 ปีขึ้นไป) -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
ผู้พิการ -
ผู้หญิง -
มุสลิม -
พระภิกษุ -
ชาติพันธุ์ -
ผู้ต้องขัง -
หลากหลายทางเพศ (LGBTIQ) -
กลุ่มด้อยโอกาส (คนไร้บ้าน, เด็กเร่ร่อน, เด็กกำพร้า, เด็กในสถานพินิจ ฯลฯ) -
แรงงานข้ามชาติ -
อื่น ๆ -
คณะกรรมการ พชอ. 20
คณะกรรมการกองทุน 100
หน่วยงานรับทุน องค์กรรับทุน 50
เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานกองทุนนำร่อง 10

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) รวบรวมโครงการ/แผนงานที่เกี่ยวข้องกับโครงการบูรณาการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะและพัฒนากลไกสุขภาวะ 2) ประเมินติดตามโครงการบูรณาการ ฯ ด้วยเครื่องมือ HIA และ 3) เสนอแนะแนวทางการดำเนินงานเพื่อปรับปรุงพัฒนาโครงการบูรณาการ ฯ ตามกรอบ Ottawa Charter 5 ด้าน ได้แก่ ศักยภาพคน สภาพแวดล้อม ระบบกลไก บูรณาการเสริมสร้างความเข้มเข็ง และการพัฒนานโยบายสาธารณะ โดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างและแบบสอบถาม โดยดำเนินการกับกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ทีมวิชาการ ทีมผู้ประสานงาน ทีมพี่เลี้ยง คณะกรรมการกองทุน ผู้รับผิดชอบโครงการ และผู้เสนอโครงการ ผลการดำเนินงานพบว่า ด้านผลผลิต (Output) บรรลุผลในส่วนของกิจกรรมการดำเนินงานของทีมทำงาน/พี่เลี้ยงในพื้นที่เป้าหมาย (7ข้อตามกรอบโครงการบูรณาการ) และเกิดแผนงานครบ 5 ด้าน แนวโน้ม 3 ปี เป็นโครงการต่อเนื่อง มีการใช้ระบบติดตามประเมินผลออนไลน์ในกองทุน สามารถดูรายละเอียดโครงการผ่านระบบออนไลน์ได้ และมีการติดตามโครงการบางส่วนที่ปรากฏในระบบ รายละเอียดการเขียนข้อเสนอโครงการมากกว่าร้อยละ 90 ครบทุกประเด็นและสอดคล้องกันระหว่างประเด็นปัญหา วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด แต่ไม่มีการประเมินคุณค่าโครงการ ด้านผลลัพธ์ (outcome) พบว่า ไม่บรรลุผล กล่าวคือ พชอ. ยังไม่ได้แผนบูรณาการจำแนกตามประเด็นจากแผนของแต่ละกองทุน ยังไม่มีการดำเนินโครงการระดับอำเภอมีการบูรณาการร่วมกัน และ พชอ. ยังไม่มีฐานข้อมูลสถานการณ์และแผนงานระดับตำบลและอำเภอ และด้านผลกระทบ (Impact) พบว่าสถานการณ์ระบบสุขภาพชุมชนดีขึ้นเกิดการขยายผล ตื่นตัว และเปลี่ยนแปลงแนวคิด ข้อเสนอแนะ ได้แก่ 1) ถอดบทเรียน การจัดการความรู้จากผู้นำพี้เลี้ยงที่มีบทบาทสูงไปยังกลุ่มพี่เลี้ยงที่เข้ามาใหม่ ๆ เป็นประจำ และทำให้เกิดแนวปฏิบัติที่ดีในการพัฒนาศักยภาพคน 2) เสริมโครงการพัฒนาศักยภาพพี่เลี้ยงรุ่นใหม่ให้มีความรู้ความเข้าใจในระดับใกล้เคียงกันเพื่อร่วมผลักดันการเกิดโครงการที่มีประสิทธิภาพ 3) การใช้ประโยชน์ระบบประเมินผลออนไลน์เพื่อจัดเก็บข้อมูลในระบบ แต่ไม่ได้มีการสังเคราะห์ วิเคราะห์เพื่อนำไปต่อยอดในการพัฒนาโครงการใหม่ ๆ และไม่ได้นำไปใช้ประโยชน์อื่น ๆ 4) ทบทวนระบบและกลไกที่เป็นส่วนเชื่อมต่อระหว่างตำบลสู่ระดับอำเภอ เนื่องจากปัจจุบันการเชื่อมโยงระหว่างตำบลสู่อำเภอยังไม่เกิดขึ้น จึงทำให้ไม่เกิดการบูรณาแผนในระดับอำเภอ 5) สร้างกลไกให้หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องในระดับอำเภอได้นำข้อมูลและโครงการที่เกิดขึ้นในระดับตำบล ทำให้เกิดแผนงานจากระดับล่างสู่ระดับบน และส่งต่อไปยังระดับจังหวัด 6) สร้างโมเดลตัวอย่างการจัดทำแผนจากระดับล่างสู่ระดับบน เป็นต้นแบบเฉพาะใน 1 ตำบลเพื่อให้เห็นรูปแบบการวางระบบและกลไกจากระดับล่างสู่ระดับบน เพื่อนำไปขยายผลต่อไป 7) ควรขับเคลื่อนแผนงานจากโครงการย่อยสู่โครงการใหญ่ และวางเป้าหมาย กำหนดตัวชี้วัดเพื่อตอบเป้าหมายเดียวกัน และ 8) ควรมีการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ในระดับอำเภอ

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh