ระบบติดตามและประเมินผลโครงการ ( M&E Thailand )

directions_run

โครงการบูรณาการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะเขต 6 อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 กองทุนสุขภาพตำบลในอำเภอพนมสารคามมีแผนการดำเนินการทุกกองทุน
ตัวชี้วัด : ร้อยละ 80 ของกองทุนสุขภาพตำบลในอำเภอพนมสารคามที่มีแผนสุขภาพจำแนกตามประเด็นปัญหาของพื้นที่ 5 ประเด็นหลักตามพื้นที่
1.00

 

2 แผนงาน/โครงการภายใต้กองทุนสุขภาพตำบลมีคุณภาพดี
ตัวชี้วัด : ร้อยละของโครงการในกองทุนสุขภาพตำบลมีคุณภาพในระดับดี
20.00 50.00

 

3 คณะกรรมการกองทุนสุขภาพตำบลในอำเภอพนมสารคามใช้ระบบติดตามประเมินผลออนไลน์
ตัวชี้วัด : ร้อยละ 80 ของกองทุนสุขภาพตำบลในอำเภอพนมสารคามที่ใช้ระบบการติดตามประเมินผลออนไลน์
10.00 80.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 0
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
ปฐมวัย (0-5 ปี) -
วัยเรียน (6-12 ปี) -
วัยรุ่น (13-15 ปี) -
เยาวชน (15-20 ปี) -
วัยทำงาน -
ผู้สูงอายุ (60 ปีขึ้นไป) -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
ผู้พิการ -
ผู้หญิง -
มุสลิม -
พระภิกษุ -
ชาติพันธุ์ -
ผู้ต้องขัง -
หลากหลายทางเพศ (LGBTIQ) -
กลุ่มด้อยโอกาส (คนไร้บ้าน, เด็กเร่ร่อน, เด็กกำพร้า, เด็กในสถานพินิจ ฯลฯ) -
แรงงานข้ามชาติ -
อื่น ๆ -

บทคัดย่อ*

โครงการติดตามประเมินผลในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อติดตามและประเมินผลโครงการบูรณาการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะเขต 6 โดยใช้กระบวนการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ (HIA) ในอำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่งประยุกต์กรอบการดำเนินโครงการควบคู่กับแนวทางการสร้างเสริมงานสุขภาวะตามแนวคิด Ottawa charter มาเป็นกรอบประเด็น ขอบเขตตัวชี้วัดและเกณฑ์ที่ใช้ในการประเมิน กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย (1) ข้อมูลหลักฐานเชิงเอกสารและฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับกองทุนสุขภาพตำบล (2) คณะทำงานในโครงการบูรณาการฯ ได้แก่ ผู้ประสานงานระดับประเทศ/ระดับเขต ทีมพี่เลี้ยงระดับจังหวัด ทีมพี่เลี้ยงระดับอำเภอ จำนวน 12 คน และ (3) คณะทำงานในพื้นที่ คือ คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอพนมสารคาม (พชอ.) คณะกรรมการกองทุนสุขภาพตำบล และผู้จัดโครงการสร้างเสริมสุขภาวะ จำนวน 41 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสัมภาษณ์ ประเด็นในการสนทนากลุ่มและแบบบันทึกข้อมูล เก็บข้อมูลตาม 6 ขั้นตอนของ HIA ระหว่างเมษายนถึงตุลาคม พ.ศ. 2563 ตรวจสอบข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการตรวจสอบสามเส้า (Data triangulation) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) และการวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive statistics)
ผลการประเมินสรุปได้ว่า (1) ผลการดำเนินงานเป็นไปตามผลผลิตของโครงการบูรณาการฯที่กำหนดในเรื่องความครอบคลุมของประเด็นในการส่งเสริมสุขภาวะและคุณภาพของแผนงาน/โครงการในกองทุนสุขภาพตำบล แต่ไม่พบการใช้ระบบติดตามประเมินผลออนไลน์ในการทำงานของคณะกรรมการกองทุนสุขภาพตำบล (2) ผลการดำเนินงานตามกรอบ Ottawa charter พบว่า ด้านการพัฒนาศักยภาพบุคคล มีการพัฒนาศักยภาพทีมพี่เลี้ยงในเรื่องการจัดทำโครงการและระบบฐานข้อมูล แต่ไม่พบการพัฒนาศักยภาพของคณะกรรมการกองทุนฯและกลุ่มผู้จัดโครงการ ด้านการปรับสิ่งแวดล้อม พบว่า มีการเข้าถึงระบบสนับสนุน โดยมีการสอนการใช้ระบบการพัฒนาแผนงาน/โครงการผ่านการปฏิบัติงานจริง (Learning by doing) จากผู้ประสานงานเขต ส่วนการให้คำปรึกษาส่วนใหญ่เป็นการขอรับคำปรึกษาระหว่างทีมพี่เลี้ยงกับผู้ประสานงานเขตโดยตรง ด้านการทำงานเชิงระบบ พบว่า คณะกรรมการกองทุนสุขภาพตำบลดำเนินการในรูปแบบเดิมโดยมีแนวโน้มในการใช้ประโยชน์จากฐานข้อมูลระบบการพัฒนาแผนงาน/โครงการในการจัดทำโครงการให้มีคุณภาพ ด้วยการกำหนดรายละเอียดข้อมูลสุขภาพในพื้นที่ กำหนดตัวชี้วัด เลือกวิธีดำเนินงานและการประเมินผลที่สอดคล้องกัน ด้านความเข้มแข็งของชุมชนและการพัฒนานโยบายสาธารณะ ไม่พบการเปลี่ยนแปลงเชิงรูปธรรมที่เกิดจากการดำเนินโครงการแต่มีแนวโน้มถึงการใช้ข้อมูลสถานการณ์ในพื้นที่เชื่อมโยงกับการทำงานของ พชอ. จากการใช้ข้อมูลสุขภาพในพื้นที่ซึ่งอยู่ในฐานข้อมูลมาเป็นข้อมูลนำเข้าสำคัญเพื่อกำหนดเป้าหมายการดำเนินงานของ พชอ. นอกจากนี้การประเมินผลโครงการด้วยกระบวนการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพถือว่าเป็นแนวทางที่เสริมพลังและแสดงคุณค่าของการดำเนินโครงการได้เป็นอย่างดี ข้อเสนอแนะต่อการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาวะในพื้นที่ คือ (1) การปรับเปลี่ยนการดำเนินงานของโครงการบูรณาการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะเขต 6 คือ การกำหนดคุณสมบัติของผู้ประสานงานเขตและทีมพี่เลี้ยงระดับต่างๆให้ชัดเจน การสร้างกลไกเชื่อมโยงระหว่างทีมพี่เลี้ยงกองทุนและคณะกรรมการกองทุนฯ การปรับกลไกและช่วงเวลาในการดำเนินงานให้เหมาะสมกับการดำเนินงานของกองทุน การเชื่อมโยงฐานข้อมูลและสร้างความเข้าใจในการใช้ประโยชน์จากฐานข้อมูลการพัฒนาโครงการ การพัฒนากลไกการสื่อสารระหว่างผู้ใช้ระบบและผู้พัฒนาระบบสนับสนุน และ (2) การพัฒนางานสุขภาวะในระดับพื้นที่ คือ คณะกรรมการพชอ. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควรร่วมมือกันในการพัฒนาฐานข้อมูลสุขภาพให้มีความถูกต้องและครอบคลุมประเด็นสำคัญในพื้นที่อำเภอ ผ่านกลไกระบบสนับสนุนของโครงการบูรณาการฯ

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh