ระบบติดตามและประเมินผลโครงการ ( M&E Thailand )

directions_run

โครงการบูรณาการกลไกสุขภาพชุมชน อำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท เขต 3 (โครงการประเมิน)

แบบประเมินด้วยขั้นตอน HIA

บทคัดย่อ/บทนำ

บทคัดย่อ

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อพัฒนากลไกการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาวะในพื้นที่ ในการทำแผน พัฒนาโครงการ และติดตาม ประเมินผลโครงการโดยดำเนินการร่วมกันของเครือข่ายสสส. สปสช. และ สธ. (2) เพื่อดำเนินการนำร่องพื้นที่ต้นแบบการบูรณาการขับเคลื่อนการสร้างเสริมสุขภาวะในกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ โดยดำเนินการร่วมกับกลไกในพื้นที่ ที่มาจากเครือข่าย สสส. สปสช. สธ. และกองทุนฯ ในการพัฒนาศักยภาพของโครงการที่จะได้รับการสนับสนุนจากกองทุน ฯ และบูรณาการการทำงานร่วมกับคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.)

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) การประชุมทีมระดับเขตในการจัดทำแผนกองทุน และพัฒนาข้อเสนอโครงการ และการใช้โปรแกรมonline (2) การประชุมทีมระดับเขต เพื่อติดตามและประเมินผลโครงการ ระยะที่ 1 (3) การประชุมทีมระดับพื้นที่ เพื่อการพัฒนาและจัดทำข้อเสนอโครงการกองทุน (4) การประชุมทีมระดับพื้นที่ เพื่อติดตามแผนฯ ครั้งที่ 1 (5) การประชุมติดตามสนับสนุนการดำเนินงานเพื่อวางแผนและติดตามโครงการกองทุน (6) การประชุมทีมระดับเขต เพื่อติดตามและประเมินผลโครงการ ระยะที่ 2 (7) การประชุมทีมระดับพื้นที่ เพื่อการพัฒนาและจัดทำข้อเสนอโครงการกองทุนใน อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

คำสำคัญ

 

บทนำ

การเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์ของประเทศไทย ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ.2560-2564 ได้มุ่งเน้นให้เกิดการพัฒนาคุณภาพคนในแต่ละช่วงวัย สืบเนื่องจากตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาทุนมนุษย์ของประเทศไทยยังมีปัญหาในด้านคุณภาพคน โดยผลลัพธ์ทางการศึกษาของเด็กวัยเรียนค่อนข้างต่ำ การพัฒนาความรู้และทักษะของแรงงานไม่ตรงกับตลาดงาน ในขณะที่คนไทยจำนวนไม่น้อยยังไม่สามารถคัดกรองและเลือกรับวัฒนธรรมได้อย่างเหมาะสม ซึ่งส่งผลต่อวิกฤตค่านิยม ทัศนคติ และพฤติกรรม ในการดำเนินชีวิต แนวทางการพัฒนาที่สำคัญตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 เพื่อนำไปสู่การเสริมสร้างสุขภาวะที่ดี จึงกำหนดให้การ “ลดปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาพและให้ทุกภาคส่วนคำนึงถึงผลกระทบต่อสุขภาพ อาทิ ส่งเสริมให้มีกิจกรรมทางสุขภาพและโภชนาการที่เหมาะสมกับวัย ปรับปรุงมาตรการทางกฎหมายและภาษีในการควบคุมผลิตภัณฑ์ที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ” เป็นหนึ่งในแนวทางการพัฒนาที่สำคัญเพื่อเตรียมพร้อมด้านกำลังคนและการเสริมสร้างศักยภาพของประชากรในทุกช่วงวัยให้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทางสุขภาพและการลดปัจจัยเสี่ยงด้านสภาพแวดล้อมที่ส่งผลต่อสุขภาพ

แผนการปฏิรูปประเทศกำหนดมิติการปฏิรูปด้านสังคมที่สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ.2561-2580) ในการเป็นคนในศตวรรษที่ 21 ที่สมบูรณ์ และการสร้างโอกาสความเสมอภาคในสังคมไว้อย่างชัดเจนโดยการปฏิรูปโอกาสการพัฒนาสังคม ส่งเสริมให้ชุมชนท้องถิ่นมีความเข้มแข็งสามารถจัดการตนเองและทำงานร่วมกับภาคส่วนต่างๆ ได้ เกิดเป็นชุมชนเข้มแข็งและมีการขับเคลื่อนสังคมด้วยจิตสาธารณะ กิจกรรมสำคัญประการหนึ่งคือ การส่งเสริมสนับสนุนการจัดการความรู้การจัดกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพของประชาชนและภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน เพื่อส่งเสริมให้ชุมชนท้องถิ่นมีความเข้มแข็งและสามารถจัดการตนเองได้นั้น มีการดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องภายใต้การความรับผิดชอบและการสนับสนุนของ (1) สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ที่ให้การสนับสนุนท้องถิ่นในการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับพื้นที่หรือท้องถิ่นเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการ สถานบริการ หน่วยงานสาธารณสุข หน่วยงานอื่น องค์กรหรือกลุ่มประชาชน เพื่อให้บุคคลสามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมตามความพร้อม ความเหมาะสม และความต้องการของประชาชนในท้องถิ่น (2) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ดำเนินการให้ประชาชนสุขภาพดีเจ้าหน้าที่มีความสุขระบบสุขภาพยั่งยืนโดยมีกลไกในพื้นที่ในการสร้างเสริมสุขภาพประชาชนในระดับตำบลผ่านโรงพยาบาลสร้างเสริมสุขภาพตำบลที่มีกระจายอยู่ทั่วไปในทุกตำบล และมีกลไกคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอําเภอ (พชอ.) ในทุกอำเภอทั่วประเทศ เพื่อการแก้ปัญหาระดับพื้นที่ อย่างน้อย 2 ประเด็น โดยใช้เกณฑ์ตามบริบทพื้นที่และคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับเขต (พชข.) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) มีเป้าหมายในการดำเนินงานให้ทุกคนมีอายุยืนยาวขึ้นอย่างมีสุขภาวะ มีการดำเนินงานใน 15 แผนงานหลัก ประกอบด้วย 1) แผนควบคุมยาสูบ 2) แผนควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และสิ่งเสพติด 3) แผนการจัดการความปลอดภัยและปัจจัยเสี่ยงทางสังคม 4) แผนควบคุมปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ 5) แผนสุขภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะ 6)แผนสุขภาวะชุมชน 7) แผนสุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัว 8) แผนสร้างเสริมสุขภาวะในองค์กร 9) แผนส่งเสริมกิจกรรมทางกาย 10) แผนระบบสื่อและวิถีสุขภาวะทางปัญญา 11) แผนสร้างสรรค์โอกาสและนวัตกรรมสุขภาวะ 12) แผนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพผ่านระบบบริการสุขภาพ 13) แผนพัฒนาระบบและกลไกสนับสนุนเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ 14) แผนอาหารเพื่อสุขภาวะ และ 15) แผนสร้างเสริมความเข้าใจสุขภาวะ

การดำเนินการพัฒนาความร่วมมือของกลไกที่มีอยู่ในระบบสุขภาพชุมชน ทั้งของกระทรวงสาธารณสุข ในส่วนกลไกคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับตำบล (รพ.สต.) กลไกกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ของ สปสช. และกลไกสุขภาพภายใต้การดำเนินงานของ สสส. ในการดำเนินงานในพื้นที่ให้ครอบคลุม 77 จังหวัด รวมทั้งท้องถิ่นที่รับการถ่ายโอน รพ.สต. 51 แห่ง โดยใช้ฐานทุนเดิมของกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ ที่มีอยู่ในทุกตำบล ร่วมกับกลไกต่างๆ ในทุกพื้นที่ที่ทำงานใกล้ชิดกับประชาชน จะช่วยเพิ่มจำนวนพี่เลี้ยง ขยายพื้นที่การประสานการทำงานร่วมกัน เพิ่มศักยภาพของโครงการการดำเนินงานในระบบสุขภาพชุมชน ส่งผลให้คุณภาพชีวิตของประชาชนดีขึ้นอย่างทั่วถึง และครอบคลุม ภายใต้การใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า

หมายเหตุ
  • บทคัดย่อ/บทนำ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

แบบประเมิน HIA

1. การกลั่นกรองโครงการ

check_circle

เป็นขั้นตอนแรกของการคัดเลือกโครงการว่า เข้าข่ายต้องทำการประเมินหรือไม่ โดยพิจารณาจากความรุนแรงของผลกระทบ จำนวนประชากรที่ได้รับผลกระทบ ข้อมูลผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น โดยการทบทวนข้อมูลที่มีอยู่และเอกสารที่เกี่ยวข้อง เมื่อพิจารณาแล้วว่าโครงการเข้าข่ายต้องทำการประเมิน จึงดำเนินกิจกรรมที่จำเป็นต่อการประเมินผลต่อไป ได้แก่ การจัดตั้งทีมงาน ซึ่งควรประกอบด้วยกลุ่มบุคคลที่มีความเชี่ยวชาญในหลากหลายสาขา ที่มีความรู้และเกี่ยวข้องกับโครงการ หรือกิจกรรมที่จะดำเนินการ

1.1 วัตถุประสงค์

1) เพื่อให้ทราบผลและบอกถึงงานที่รับผิดชอบ
check_circle
2) เพื่อให้เห็นแนวโน้ม เพื่อเตือนภัย
3) เพื่อเปลี่ยนพฤติกรรม และเข้าใจกระบวนการ
4) เพื่อลำดับความสำคัญ แปลง ปรับกลยุทธ์ สู่การปฎิบัติ
5) เพื่อเป็นเครื่องมือในการจัดการ ช่วยการควบคุม
check_circle
6) เพื่อจัดสรรทรัพยากร
7) เพื่อการเรียนรู้ และรู้ขีดความสามารถ
check_circle
8) เพื่อเปรียบเทียบ ปรับปรุงและพัฒนา
check_circle
9) เพื่อช่วยเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กร
10) เพื่อให้รางวัล เพื่อจูงใจ
11) อื่นๆ (ระบุรายละเอียด)

 

1.2 วิธีการ (ระบุรายละเอียดทำอะไร กับใคร กี่คน ผลสรุป)

1) ประชุมทีมประเมิน
check_circle

ประชุมทีมผู้ประเมิน 5 คน เพื่อออกแบบและทบทวนข้อมูลเบื้องต้น ได้แก่ ข้อมูลของนโยบายหรือโครงการ ข้อมูลพื้นฐานทั่วไปของพื้นที่ และข้อมูลผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการดำเนินกิจกรรมโครงการที่ใกล้เคียงกัน เพื่อเป็นข้อมูลในการพิจารณาถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการ

2) ประชุมร่วมกับโครงการ
check_circle

ประชุมทีมแกนนำระดับเขต 10 คน ทีมระดับพื้นที่ 5 คน และทีมผู้ประเมิน 4 คน รวมทั้งสิ้น 19 คน เพื่อศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับโครงการ เช่น วัตถุประสงค์ วิธีการ เครื่องมือ ผู้เข้าร่วม ฯลฯ

3) ประชุมร่วมกับโครงการและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
check_circle

ประชุมร่วมกับคณะทำงานโครงการและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อร่วมกันสร้างทีมประเมิน, พิจารณาผลกระทบจากกิจกรรมโครงการที่มีต่อปัจจัยกำหนดสุขภาพ และผู้ที่อาจได้รับผลกระทบต่อสุขภาพ ในเบื้องต้นพิจารณาผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น โดยมีผู้ให้ข้อมูลสำคัญที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

  1. ผู้แทนจากเจ้าของโครงการ (ระดับเขต, ระดับจังหวัด และระดับพื้นที่)
  2. ผู้แทนของกลุ่มประชาชนที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบต่อสุขภาพ
  3. บุคลากรจากหน่วยงานสนับสนุนด้านวิชาการ ได้แก่ สสอ.สรรคบุรี, ทต.ห้วยกรด, สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติฯ
  4. ผู้แทนจากหน่วยงานและภาคส่วนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ อสม., นายอำเภอ, นักวิชาการสาธารณสุข, เจ้าหน้าที่กองทุนฯ ทต.ห้วยกรด
4) อื่นๆ (ระบุรายละเอียด)

 

1.3 เครื่องมือ

1) เครื่องมือที่ใช้ในขั้นตอนการกลั่นกรอง (ระบุรายละเอียดเครื่องมือ เช่น แนวคำถามในการประชุมกลุ่ม)
check_circle

แนวคำถามในการประชุมกลุ่ม ได้แก่

  1. ข้อมูลของโครงการ ได้แก่ วัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการ, รายละเอียดของโครงการ, ข้อมูลการเกิดผลกระทบในกิจกรรม/โครงการ
  2. ข้อมูลพื้นฐานทั่วไปของพื้นที่
  3. กิจกรรมของโครงการ
  4. อื่นๆ เช่น ปัจจัยกำหนดสุขภาพ, สิ่งคุกคามสุขภาพ, ผู้ที่อาจได้รับผลกระทบ, ลักษณะของผลกระทบ (ผลกระทบเชิงบวก/ผลกระทบเชิงลบ)

1.4 ผลที่ได้

1) ผลที่ได้ในขั้นตอนการกลั่นกรอง
check_circle

ข้อมูลผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการดำเนินนโยบาย โครงการ หรือกิจกรรม รวมถึงประโยชน์ที่จะได้รับจากกระบวนการประเมินผล เสนอต่อผู้มีอำนาจตัดสินใจในเชิงนโยบาย เพื่อตัดสินใจว่าโครงการนี้ต้องทำการประเมินผล หรือไม่

2. การกำหนดขอบเขต

check_circle

เป็นการกำหนดขอบเขตทั้งในเชิงพื้นที่ กลุ่มประชากรเป้าหมาย ระยะเวลา และการบ่งชี้ผลกระทบต่อสุขภาพต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ในการกำหนดขอบเขต ดังนี้

  1. เพื่อกำหนดประเด็นที่จะศึกษา ตามข้อมูล หลักฐาน และข้อห่วงใยต่างๆ ของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องหรือผู้มีส่วนได้เสีย ดังนี้

  2. เพื่อกำหนดพื้นที่กลุ่มประชากร ระยะเวลาในการศึกษา

  3. เพื่อกำหนดวิธีการในการเก็บรวบรวมข้อมูลและวิธีการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ

1) วิธีการในการกำหนดขอบเขต
check_circle
  1. กำหนดประเด็นที่จะศึกษา ตามข้อมูล หลักฐาน และข้อห่วงใยต่างๆ ของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องหรือผู้มีส่วนได้เสีย ดังนี้ 1.1 กองทุนตำบลมีแผนจำแนกตามประเด็นปัญหา 1.2 โครงการที่ของบประมาณจากกองทุนตำบลเป็นโครงการที่มีคุณภาพ 1.3 กองทุนตำบลมีการติดตามประเมินผลผ่านระบบ Online

  2. กำหนดพื้นที่กลุ่มประชากร ระยะเวลาในการศึกษา

  3. กำหนดวิธีการในการเก็บรวบรวมข้อมูลและวิธีการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ

2) ผู้เข้าร่วมกำหนดขอบเขต
check_circle
  1. ทีมระดับเขต
  2. ทีมระดับจังหวัด
  3. ทีมระดับพื้นที่ (โครงการ)
  4. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
  5. สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติฯ
  6. สำนักงานสาธารณสุขอำเภอสรรคบุรี, พชอ.
  7. อสม.
  8. จนท.กองทุน เทศบาลตำบลห้วยกรด
  9. ทีมประเมิน
3) เครื่องมือที่ใช้
check_circle

แนวทางการสัมภาษณ์ และแบบบันทึกการสังเกต เพื่อทบทวนรายละเอียดของข้อมูลที่ต้องพิจารณาในการกำหนดขอบเขตการศึกษา ได้แก่ 1. ประเด็นที่จะทำการศึกษา 2. กลุ่มประชากรศึกษา 3. พื้นที่ศึกษา 4. ระยะเวลาในการศึกษา 5. วิธีการและเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล 6. วิธีการและเครื่องมือในการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ

4) กรอบแนวคิด

1) ใช้กรอบ Ottawa charter
check_circle
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดเครื่องมือกลุ่มผู้ให้ข้อมูล
2) ใช้กรอบ ปัจจัยกำหนดสุขภาพ
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดเครื่องมือกลุ่มผู้ให้ข้อมูล
3) ใช้กรอบ Balance Score Card
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดเครื่องมือกลุ่มผู้ให้ข้อมูล
4) ใช้กรอบ CIPP
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดเครื่องมือกลุ่มผู้ให้ข้อมูล
5) อื่นๆ
check_circle
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดเครื่องมือกลุ่มผู้ให้ข้อมูล
1. การสร้างความรู้ ความเข้าใจ จัดการความรู้และนวัตกรรม และการสื่อสาร
  1. สร้างการสื่อสารในช่องทางต่าง ๆ ที่หลากหลายรูปแบบ ที่สอดคล้องกับวัยและวิถีการทำงานของกลุ่มอาชีพต่าง ๆ เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ และรณรงค์เรื่องกิจกรรมทางกาย และการลดพฤติกรรมเนือยนิ่งของคนในชุมชน เช่น การจัดนิทรรศการ เสียงตามสายในโรงเรียน ชุมชน โบสถ์ มัสยิด
  2. พัฒนาหลักสูตรในพื้นที่ และกิจกรรมเสริมหลักสูตร ที่สอดแทรกเนื้อหา วิธีการสอนที่เน้นการมีกิจกรรมทางกาย เช่น เกษตรในโรงเรียน กิจกรรมปลูกป่า เดินสำรวจสมุนไพร กีฬาและการละเล่นไทย
  1. ประเด็นการสัมภาษณ์ กระบวนการดำเนินงาน กิจกรรม เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจ กรจัดการความรู้ และนวัตกรรมการสื่อสาร
  1. ทีมระดับพื้นที่ (โครงการ)
  2. จนท.กองทุน เทศบาลตำบลห้วยกรด
  3. อสม.
  4. สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติฯ
2. การพัฒนาขีดความ สามารถเครือข่าย
  1. พัฒนาความรู้ ความเข้าใจเครือข่ายผู้สูงอายุในการเป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้เรื่องกิจกรรมทางกาย ให้ศูนย์เด็กเล็ก/โรงเรียน รู้จักการละเล่นไทย/ ภูมิปัญญาท้องถิ่น เช่น การทำว่าว เล่านิทาน
  2. สร้างเครือข่าย องค์กร หน่วยงานต้นแบบให้มีความสามารถในการขับเคลื่อนงานกิจกรรมทางกาย
  1. แบบบันทึกการสังเกต (แบบมีส่วนร่วม) ในการจัดกิจกรรมและการลงพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้
  1. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
  2. จนท.กองทุน เทศบาลตำบลห้วยกรด
  3. สำนักงานสาธารณสุขอำเภอสรรคบุรี
  4. ทีมระดับพื้นที่ (โครงการ)
3. การสร้างพื้นที่สุขภาวะทั้งพื้นที่ที่เป็นบ้าน โรงเรียน สถานที่ทำงาน ศาสนสถาน พื้นที่สาธารณะ และชุมชน
  1. จัดกิจกรรมที่เอื้อให้พ่อ-แม่ ลูก และผู้สูงวัยได้ทำกิจกรรมร่วมกัน เช่น เดินปั่นสำรวจแหล่งวัฒนาธรรม แหล่งสมุนไพร
  2. จัดกิจกรรมส่งเสริมการเคลื่อนไหวให้กับคนในชุมชน ศูนย์เด็กเล็ก โรงเรียนกลุ่มผู้สูงอายุ โดยใช้การละเล่นไทย เช่น ตี่จับ/ กระโดดเชือก/ มวยไทย; และกีฬาไทย เช่น การเซิ้ง ร็องแง็ง รำมวยไทย ตะกร้อลอดห่วง
  1. ประเด็นการสัมภาษณ์ และแบบบันทึกการสังเกต
  1. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
  2. สำนักงานสาธารณสุขอำเภอสรรคบุรี
  3. ทีมระดับจังหวัด
  4. ทีมระดับพื้นที่ (โครงการ)
  5. จนท.กองทุน เทศบาลตำบลห้วยกรด
  6. สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติฯ
  7. อสม.
4. การขับเคลื่อนกระบวนการนโยบายสาธารณะในพื้นที่เพื่อเพิ่มการมีกิจกรรมทางกาย
  1. ผลักดันนโยบายสนับสนุนผู้สูงอายุเป็นจิตอาสาเป็นวิทยากรในสถานศึกษาต่าง ๆ
  1. ประเด็นการสัมภาษณ์ การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ/ข้อตกลงร่วมในพื้นที่
  1. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
  2. ทีมระดับพื้นที่ (โครงการ)
  3. จนท.กองทุน เทศบาลตำบลห้วยกรด
  4. สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติฯ
  5. สำนักงานสาธารณสุขอำเภอสรรคบุรี
5. การสร้างกลไกความร่วมมือขององค์กร หน่วยงาน เครือ ข่ายผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อการเพิ่มกิจกรรมทางกายของคนในชุมชน
  1. พัฒนาศักยภาพคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น/พื้นที่ให้มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องกิจกรรมทางกาย
  2. สร้างความร่วมมือกับองค์กร หน่วยงานในการสนับสนุนสิ่งอำนวยความสะดวก เช่น แสงสว่างในการมีกิจกรรมทางกายของคนในชุมชนยามค่ำคืน
  1. ประเด็นการสัมภาษณ์ ด้านกลไกความร่วมมือขององค์กร หน่วยงาน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
  1. ทีมระดับเขต
  2. ทีมระดับจังหวัด
  3. ทีมระดับพื้นที่ (โครงการ)
  4. จนท.กองทุน เทศบาลตำบลห้วยกรด
  5. สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติฯ
  6. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
  7. สำนักงานสาธารณสุขอำเภอสรรคบุรี
6. พัฒนากลไกการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาวะในพื้นที่ในการทำแผน พัฒนาโครงการ และติดตาม ประเมินผลโครงการโดยดำเนินการร่วมกันของเครือข่าย สสส. สปสช. และสธ.
  1. ทีมระดับเขต สามารถสนับสนุนการจัดทำแผน การพัฒนาข้อเสนอโครงการ และการใช้ระบบติดตามและประเมินผลโครงการ
  1. แนวทางการสัมภาษณ์ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาข้อเสนอโครงการ และการใช้ระบบติดตามและประเมินผลโครงการ
  1. ทีมระดับเขต
  2. ทีมระดับจังหวัด
  3. ทีมระดับพื้นที่ (โครงการ)
  4. จนท.กองทุน เทศบาลตำบลห้วยกรด
7. ดำเนินการนำร่องพื้นที่ต้นแบบการบูรณาการขับเคลื่อนการสร้างเสริมสุขภาวะในกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ โดยดำเนินการร่วมกับกลไกในพื้นที่ ที่มาจากเครือข่าย สสส. สปสช. และ สธ. และกองทุน ฯ ในการพัฒนาศักยภาพของโครงการที่จะได้รับการสนับสนุนจากกองทุนฯ
  1. ทีมระดับพื้นที่ สามารถสนับสนุนผู้เสนอโครงการในการจัดทำแผน การพัฒนาข้อเสนอโครงการ และการติดตามโครงการ ทั้งในขั้นตอนการจัดทำแผนกองทุนตำบลฯ พัฒนาโครงการและการติดตาม
  1. แนวทางการสัมภาษณ์ ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการจัดทำแผนกองทุนตำบลฯ พัฒนาโครงการและการติดตาม
  1. ทีมระดับจังหวัด
  2. ทีมระดับพื้นที่ (โครงการ)
  3. จนท.กองทุน เทศบาลตำบลห้วยกรด
  4. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
  5. สำนักงานสาธารณสุขอำเภอสรรคบุรี
  6. สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติฯ
8. บูรณาการการทำงานร่วมกับคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.)
  1. การติดตามสนับสนุนการดำเนินงานโครงการในพื้นที่ อย่างน้อย 3 ครั้งต่อ พชอ.
  1. แนวทางการสัมภาษณ์ แนวทางการบูรณาการทำงานร่วมกับ พชอ.
  2. การเข้าร่วมสังเกตการ ในการประชุม พชอ.
  1. ทีมระดับจังหวัด
  2. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
  3. สำนักงานสาธารณสุขอำเภอสรรคบุรี
  4. พชอ.สรรคบุรี
  5. สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติฯ

3. ลงมือประเมิน

check_circle

ดำเนินการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ ที่จะเกิดขึ้นทั้งทางบวกและทางลบ โดยผู้ประเมินได้ระบุและอธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับผลกระทบต่อสุขภาพ และแสดงให้เห็นถึงโอกาสและความรุนแรงผลกระทบต่อสุขภาพที่คาดว่าจะเกิดขึ้น เพื่อนำไปสู่การจัดทำข้อเสนอในการแก้ไขปัญหา

1) กระบวนการเก็บข้อมูลโดยการมีส่วนร่วม (ระบุรายละเอียด)
check_circle

รวบรวมข้อมูลตามขอบเขตการศึกษา 2 ส่วน ดังนี้

  1. ข้อมูลปฐมภูมิ ผู้ประเมิน เก็บรวบรวมข้อมูลเพิ่มเติม โดยใช้เครื่องมือที่สร้างขึ้น ได้แก่ แนวทางการสัมภาษณ์ (สัมภาษณ์เชิงลึก, สนทนากลุ่ม) แบบบันทึกการสังเกต

  2. ข้อมูลทุติยภูมิ ผู้ประเมินรวบรวมข้อมูลเพิ่มเติมจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ข้อมูลสถิติการเจ็บป่วย ข้อมูลสถานะสุขภาพ เป็นต้น

2) กระบวนการวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูล (ระบุรายละเอียด)
check_circle

ผู้ประเมินดำเนินการวิเคราะห์และแจกแจงลักษณะของผลการประเมิน (ผลกระทบต่อสุขภาพ) ว่า
1. เกิดจากกิจกรรมใดบ้าง และในกิจกรรมนั้นมีสิ่งคุกคามต่อสุขภาพอะไรเกิดขึ้น สิ่งคุกคามเหล่านั้นทำให้ปัจจัยกำหนดสุขภาพใดบ้างเปลี่ยนแปลงไปบ้าง
2. กลุ่มเสี่ยงที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบนั้นคือใคร และผลกระทบที่เกิดขึ้นนั้นมีขนาดและความรุนแรงของผลกระทบในแต่ละประเด็นเป็นอย่างไร
3. ความถี่ของผลกระทบที่จะเกิดขึ้นเป็นอย่างไร (อุบัติการณ์/อัตราชุก)
4. ระยะเวลาที่ได้รับผลกระทบ (ระยะสั้นระยะปานกลาง ระยะยาว)
5. พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากโครงการหรือกิจกรรม

3) ผู้มีส่วนร่วมในการประเมิน (ระบุรายละเอียด)
check_circle
  1. ทีมระดับเขต
  2. ทีมระดับจังหวัด
  3. ทีมระดับพื้นที่ (โครงการ)
  4. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
  5. สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติฯ
  6. สำนักงานสาธารณสุขอำเภอสรรคบุรี, พชอ.
  7. อสม.
  8. จนท.กองทุน เทศบาลตำบลห้วยกรด
  9. ทีมประเมิน
4) ผลการประเมิน (เรียงตามตัวชี้วัดที่กำหนดในขั้นตอน scoping)
check_circle
  1. พัฒนากลไกการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาวะในพื้นที่ในการทำแผน พัฒนาโครงการ และติดตาม ประเมินผลโครงการโดยดำเนินการร่วมกันของเครือข่าย สสส. สปสช. และสธ. โดยผลการประเมินพบว่า

    1.1 มีกลไกและกระบวนการในการสร้างทีมวิชาการ ทั้งทีมพี่เลี้ยงระดับเขต ระดับจังหวัด และระดับพื้นที่
    1.2 มีการพัฒนาหลักสูตรการทำแผนการพัฒนาโครงการ และการติดตามประเมินผล 1.3 มีการสร้างทีมประสานงานระดับเขต มีการพัฒนาศักยภาพพี่เลี้ยงระดับจังหวัด และระดับพื้นที่

  2. ดำเนินการนำร่องพื้นที่ต้นแบบการบูรณาการขับเคลื่อนการสร้างเสริมสุขภาวะในกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ โดยดำเนินการร่วมกับกลไกในพื้นที่ ที่มาจากเครือข่าย สสส. สปสช. และ สธ. และกองทุน ฯ ในการพัฒนาศักยภาพของโครงการที่จะได้รับการสนับสนุนจากกองทุนฯ
    2.1 ทีมประสานงานเขต ประชุมทำความเข้าใจ และความร่วมมือกับ พชอ. เพื่อบูรณาการขับเคลื่อนการสร้างเสริมสุขภาวะในกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่

  3. บูรณาการการทำงานร่วมกับคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) พบว่า

    3.1 มีการดำเนินการและประชุมร่วมกับ พชอ.สรรคบุรี และนำกรอบประเด็นในการขับเคลื่อนงานมาบูรณาการกับกิจกรรมโครงการของกองทุน

ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดผลการประเมินหมายเหตุ
1. 1. การสร้างความรู้ ความเข้าใจ จัดการความรู้และนวัตกรรม และการสื่อสาร (5) อื่นๆ) สร้างการสื่อสารในช่องทางต่าง ๆ ที่หลากหลายรูปแบบ ที่สอดคล้องกับวัยและวิถีการทำงานของกลุ่มอาชีพต่าง ๆ เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ และรณรงค์เรื่องกิจกรรมทางกาย และการลดพฤติกรรมเนือยนิ่งของคนในชุมชน เช่น การจัดนิทรรศการ เสียงตามสายในโรงเรียน ชุมชน โบสถ์ มัสยิด

สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติฯ และ ทต.ห้วยกรด มีการสื่อสารให้ชุมชนทราบถึงการดำเนินกิจกรรมในโครงการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อมด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย

  1. แอพพลิเคชั่นไลน์กลุ่ม, หอกระจายข่าว, ป้ายหน้า ทต./สถานีอนามัยฯ)
  2. ปากต่อปาก อสม., พระ, จนท.สถานีอนามัยฯ
2. 1. การสร้างความรู้ ความเข้าใจ จัดการความรู้และนวัตกรรม และการสื่อสาร (5) อื่นๆ) พัฒนาหลักสูตรในพื้นที่ และกิจกรรมเสริมหลักสูตร ที่สอดแทรกเนื้อหา วิธีการสอนที่เน้นการมีกิจกรรมทางกาย เช่น เกษตรในโรงเรียน กิจกรรมปลูกป่า เดินสำรวจสมุนไพร กีฬาและการละเล่นไทย

อสม. ร่วมกับบุคลาการด้านสุขภาพ ในการสนับสนุนการดูแลผู้สูงอายุข้อเข่าเสื่อม โดยการใช้การแพทย์พื้นบ้านในการจัดโปรแกรมสุขภาพ ได้แก่ การนวด อบ ประคบสมุนไพร การจัดให้มีสถานที่บริเวณสถานีอนามัยฯ ในการบำบัดและทำกายภาพ เช่น ลานหิน, เดินกะลา เป็นต้น

 

3. 2. การพัฒนาขีดความ สามารถเครือข่าย (5) อื่นๆ) พัฒนาความรู้ ความเข้าใจเครือข่ายผู้สูงอายุในการเป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้เรื่องกิจกรรมทางกาย ให้ศูนย์เด็กเล็ก/โรงเรียน รู้จักการละเล่นไทย/ ภูมิปัญญาท้องถิ่น เช่น การทำว่าว เล่านิทาน

ผู้สูงอายุในพื้นที่ ร่วมกับสถานีอนามัย, รพ.สรรคบุรี ดำเนินการถ่ายทอดภูมิปัญญาด้านการแพทย์แผนไทยในการบำบัดโรคข้อเข่าเสื่อม โดยมีการจัดทำนวัตกรรมในการดูแลสุขภาพให้กับผู้สูงอายุ เช่น ถุงนวดสมุนไพร, สมุนไพรพอกเข่า สมุนไพรตามธาตุเจ้าเรือนในการบรรเทาอาการปวดเมื่อย เป็นต้น

 

4. 2. การพัฒนาขีดความ สามารถเครือข่าย (5) อื่นๆ) สร้างเครือข่าย องค์กร หน่วยงานต้นแบบให้มีความสามารถในการขับเคลื่อนงานกิจกรรมทางกาย

สถานีอนามัย ร่วมกับ รพ.สรรคบุรี บูรณาการการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นกับการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ โดยยกระดับให้ สถานีอนามัยฯ เป็นต้นแบบการเรียนรู้แบบบูรณาการประเด็นการขับเคลื่อนงานเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ

 

5. 3. การสร้างพื้นที่สุขภาวะทั้งพื้นที่ที่เป็นบ้าน โรงเรียน สถานที่ทำงาน ศาสนสถาน พื้นที่สาธารณะ และชุมชน (5) อื่นๆ) จัดกิจกรรมที่เอื้อให้พ่อ-แม่ ลูก และผู้สูงวัยได้ทำกิจกรรมร่วมกัน เช่น เดินปั่นสำรวจแหล่งวัฒนาธรรม แหล่งสมุนไพร

มีการขยายพื้นที่การปลูกสมุนไพรพื้นบ้าน โดยมีกติการชุมชนที่ส่งเสริมให้ทุกบ้านปลูกสมุนไพรบ้านละ 3 ชนิด และมี อสม.เป็นผู้คอยสนับสนุน และ ทต.ห้วยกรด ช่วยส่งเสริมการขยายพันธุ์และพื้นที่สาธารณะในการปลูก

  1. ลงพื้นที่เยี่ยมบ้านร่วมกับ สถานีอนามัยฯ และทีม อสม.
6. 3. การสร้างพื้นที่สุขภาวะทั้งพื้นที่ที่เป็นบ้าน โรงเรียน สถานที่ทำงาน ศาสนสถาน พื้นที่สาธารณะ และชุมชน (5) อื่นๆ) จัดกิจกรรมส่งเสริมการเคลื่อนไหวให้กับคนในชุมชน ศูนย์เด็กเล็ก โรงเรียนกลุ่มผู้สูงอายุ โดยใช้การละเล่นไทย เช่น ตี่จับ/ กระโดดเชือก/ มวยไทย; และกีฬาไทย เช่น การเซิ้ง ร็องแง็ง รำมวยไทย ตะกร้อลอดห่วง

มีการสนับสนุนการอบรมการนวด อบ ประคบสมุนไพร เพื่อบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อ ควบคู่ไปกับการจัดกิจกรรมการออกกำลังกาย ยืดเหยียดกล้ามเนื้อ

  1. กลุ่มงานแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก (สถานีอนามัยฯ)
  2. นวัตกรรมการสร้างเสริมสุขภาพด้วยภูมิปัญญา (หน้าสถานีอนามัยฯ)
7. 4. การขับเคลื่อนกระบวนการนโยบายสาธารณะในพื้นที่เพื่อเพิ่มการมีกิจกรรมทางกาย (5) อื่นๆ) ผลักดันนโยบายสนับสนุนผู้สูงอายุเป็นจิตอาสาเป็นวิทยากรในสถานศึกษาต่าง ๆ

ผู้สูงอายุร่วมเป็นวิทยากรชุมชนในการเป็นถ่ายทอดองค์ความรู้ในการดูแลสุขภาพด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น และร่วมเป็นจิตอาสาในการจัดทำหลักสูตรท้องถิ่นให้กับสถานศึกษา

  1. หลักสูตร โรงเรียน อสม.
  2. วิทยากร หลักสูตรท้องถิ่น
8. 5. การสร้างกลไกความร่วมมือขององค์กร หน่วยงาน เครือ ข่ายผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อการเพิ่มกิจกรรมทางกายของคนในชุมชน (5) อื่นๆ) พัฒนาศักยภาพคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น/พื้นที่ให้มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องกิจกรรมทางกาย

เกิดการพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น ให้มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องกิจกรรมทางกาย

  1. เกิดแผนงานโครงการสนับสนุนศูนย์ฯ เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ ปีงบประมาณ 2563 ในฐานข้อมูล สปสช. รวม 38 โครงการ (พื้นที่ ทต.ห้วยกรด 8 โครงการ)
  2. เกิดแผนงานโครงการ ในระบบติดตามและประเมินผล ด้านกิจกรรมทางกาย ภาพรวม อ.สรรคบุรี ทุกพื้นที่ (8 กองทุน)
9. 5. การสร้างกลไกความร่วมมือขององค์กร หน่วยงาน เครือ ข่ายผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อการเพิ่มกิจกรรมทางกายของคนในชุมชน (5) อื่นๆ) สร้างความร่วมมือกับองค์กร หน่วยงานในการสนับสนุนสิ่งอำนวยความสะดวก เช่น แสงสว่างในการมีกิจกรรมทางกายของคนในชุมชนยามค่ำคืน

อปท. สนับสนุนงบประมาณและวัสดุอุปกรณ์อำนวยความสะดวก ในการพัฒนาพื้นที่เพื่อรองรับการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการสร้างเสริมสุขภาพทุกกลุ่มวัย

  1. ศูนย์สมุนไพรธรรมชาติ
  2. กลุ่มงานแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
10. 6. พัฒนากลไกการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาวะในพื้นที่ในการทำแผน พัฒนาโครงการ และติดตาม ประเมินผลโครงการโดยดำเนินการร่วมกันของเครือข่าย สสส. สปสช. และสธ. (5) อื่นๆ) ทีมระดับเขต สามารถสนับสนุนการจัดทำแผน การพัฒนาข้อเสนอโครงการ และการใช้ระบบติดตามและประเมินผลโครงการ

มีการสนับสนุนการดำเนินงานในพื้นที่ เรื่องการจัดทำแผน การพัฒนาโครงการ และติดตามโครงการ /เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เชิงปฏิบัติการ สนับสนุนการดำเนินงานในพื้นที่ (ทั้งระดับเขต และระดับพื้นที่)

โครงการกองทุนฯ มีแผนจำแนกตามประเด็น 7 ประเด็น (แผนงาน) รวม 20 โครงการ (ปรากฎในระบบ Online 15 โครงการ คิดเป็น 75%)

  1. แผนงานอาหารและโภชนาการ (2 โครงการ)
  2. แผนงานกิจกรรมทางกาย (8 โครงการ)
  3. แผนงานการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบล (2 โครงการ)
  4. แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟูในสถานการณ์โควิด-19 (1 โครงการ)
  5. แผนงานโรคเรื้อรัง (4 โครงการ)
  6. แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด (1 โครงการ)
  7. แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง (2 โครงการ)
11. 7. ดำเนินการนำร่องพื้นที่ต้นแบบการบูรณาการขับเคลื่อนการสร้างเสริมสุขภาวะในกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ โดยดำเนินการร่วมกับกลไกในพื้นที่ ที่มาจากเครือข่าย สสส. สปสช. และ สธ. และกองทุน ฯ ในการพัฒนาศักยภาพของโครงการที่จะได้รับการสนับสนุนจากกองทุนฯ (5) อื่นๆ) ทีมระดับพื้นที่ สามารถสนับสนุนผู้เสนอโครงการในการจัดทำแผน การพัฒนาข้อเสนอโครงการ และการติดตามโครงการ ทั้งในขั้นตอนการจัดทำแผนกองทุนตำบลฯ พัฒนาโครงการและการติดตาม

เกิดการบูรณาการขับเคลื่อนการสร้างเสริมสุขภาพร่วมกับกลไกในพื้นที่ พร้อมทั้งมีการแผนบูรณาการจำแนกตามประเด็นจากแผนของแต่ละกองทุน

เกิดการบูรณาการขับเคลื่อนการสร้างเสริมสุขภาวะ จำนวน 11 โครงการ (งบประมาณกองทุนฯ ปี 2563 รวม 5,796,968,15 บาท; ปรากฏในฐานข้อมูล สปสช. 257 โครงการ เทียบกับระบบ Online คิดเป็น 4.28%)

  1. กองทุน ต.แพรกศรีราชา : โครงการผู้สูงอายุชุมชนที่ 5,
    โครงการพัฒนาวัดส่งเสริมสุขภาพ, โครงการตระหนักถึงพิษภัยมะเร็งปากมดลูก/ เต้านม/ลำไส้ใหญ่, โครงการป้องกันและควบคุมโรคมือ
    เท้า ปาก ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดมหาธาตุ, โครงการคัดกรองโรค อ้วน อ้วนลงพุง เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หลอดเลือดสมองและหัวใจ เชิงรุก
  2. กองทุน ต.ดงคอน :
    โครงการควบคุมลูกน้ำและยุงลายเพื่อป้องกันโรคไข้เลือดออก
  3. กองทุน ต.บางขุด : โครงการต่อยอดเฝ้าระวังทางทันตสุภาพในผู้สูงอายุ
  4. กองทุน ต.ดอนกำ : โครงการออกกำลังกาย
  5. กองทุน ต.เที่ยงแท้ : โครงการให้บริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกหญิงอายุ 30-60 ปี ปี 2563
  6. กองทุน ต.ห้วยกรดพัฒนา : โครงการควบคุมเฝ้าระวังป้องกันโรคโควิด 19 โดย อสม.
  7. กองทุน ต.ห้วยกรด :
    โครงการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อมด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย ปี 2563
  8. กองทุน ต.สรรคบุรี (โพงาม) : โครงการการออกกำลังกาย
12. 8. บูรณาการการทำงานร่วมกับคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) (5) อื่นๆ) การติดตามสนับสนุนการดำเนินงานโครงการในพื้นที่ อย่างน้อย 3 ครั้งต่อ พชอ.
  1. มีการสนับสนุนการดำเนินงานโครงการในพื้นที่ร่วมกับ พชอ. โดย อ.สรรคบุรี มีการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ ร่วมกับ 8 ตำบลในพื้นที่ (9 กองทุน) ใน 5 ประเด็น ได้แก่ เมืองสมุนไพร, การส่งเสริมการออกกำลังกาย, ผู้สูงอายุ, งานคุ้มครองผู้บริโภค และไข้เลือดออก
  2. พชอ.ได้แผนบูรณาการจำแนกตามประเด็นจากแผนของแต่ละกองทุน
  3. การดำเนินโครงการระดับอำเภอมีการบูรณาการร่วมกัน
  4. พชอ.มีฐานข้อมูลสถานการณ์และแผนงานระดับตำบลและอำเภอ
  1. มีคำสั่งแต่งต้ังคณะกรรมการ พชอ.
  2. มีแผนการขับเคลื่อนตามประเด็นปัญหาในการพัฒนาคุณภาพชีวิติระดับอำเภอ
  3. มีการประชุมคณะกรรมการ และประเมินผลตามประเด็น UCCARE
  4. มีแนวทางในการดำเนินการแก้ไขปัญหา
5) อื่นๆ
check_circle
  1. การปรับปรุงและพัฒนาวิธีดำเนินงาน ให้ตอบสนองกับความต้องการที่เปลี่ยนแปลง
  2. ความถูกต้อง ความเชื่อถือได้ของข้อมูล จำเป็นต้องมีตัวช่วยในการตรวจสอบ ควบคู่ไปกับการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานสนับสนุนและหน่วยปฏิบัติการแบบบูรณาการ
  3. การลดระยะเวลาในการทำงาน และเพิ่มประสิทธิภาพของงานที่ทำ
  4. มีการวางแผนที่ดี และติดตามประเมินผลอย่างสม่ำเสมอ
  5. สร้างวัฒนธรรม “กัลยาณมิตร” เพื่อสร้างสภาวะแวดล้อมให้เอื้อต่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
  6. ระบบสารสนเทศและการสื่อสารที่สะดวกรวดเร็ว จะเป็นการกระตุ้น จูงใจให้อยากปฏิบัติงานและแลกเปลี่ยนเรียนรู้
  7. แรงปรารถนาและความพึงพอใจของผู้ปฏิบัติงาน (ในเรื่องเดียวกัน) ทำให้มีความยินดีในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และเกิดเป็นวัฒนธรรมการจัดการความรู้

4. ทบทวนรายงานการประเมินว่าถูกต้องหรือไม่?

check_circle

เป็นการทบทวนร่างรายงานการประเมินและขอรับข้อเสนอแนะว่า ควรทำอย่างไรให้การดำเนินนโยบายหรือโครงการเกิดผลดีต่อสุขภาพมากที่สุด และลดผลกระทบทางลบให้น้อยที่สุด ภายใต้บริบทที่เป็นไปได้และข้อจำกัดต่าง ๆ ทั้งนี้ การทบทวนร่างรายงานการประเมิน ควรพิจารณาจากข้อมูลที่ทีมผู้ประเมินได้ดำเนินการอย่างครอบคลุม รวมถึงข้อกังวลของชุมชน ข้อมูลจากการทบทวนเอกสาร หรือหลักฐานทางวิชาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

1) กระบวนการในการทบทวนรายงาน
check_circle

ดำเนินการ 3 ขั้นตอน พร้อมนำใช้เว็บไซต์ระบบติดตามและประเมินผลโครงการ ดังนี้

  1. จัดทำร่างรายงานและข้อเสนอแนะ โดยกำหนดเป็นข้อเสนอแนะทั่วไป และมาตรการดำเนินการในพื้นที่
    1.1 กลไกการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาวะในพื้นที่ในการทำแผน พัฒนาโครงการ และติดตาม ประเมินผลโครงการ
    1.2 การนำร่องพื้นที่ต้นแบบการบูรณาการขับเคลื่อนการสร้างเสริมสุขภาวะในกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ โดยดำเนินการร่วมกับกลไกในพื้นที่
    1.3 การบูรณาการการทำงานร่วมกับคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.)
    1.4 การดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาวะในพื้นที่ในการทำแผน พัฒนาโครงการ เช่น
    • มาตรการป้องกันและลดผลกระทบต่อสุขภาพ
    • มาตรการในการสร้างเสริมสุขภาพ
    • มาตรการในการเพิ่มประโยชน์ที่ได้รับต่อสุขภาพของประชาชน (แผนงาน/กิจกรรม, ผู้สูงอายุ ผู้ดูแลผู้สูงอายุ)
  2. รวบรวมข้อมูลหลักฐานจากการประเมินและข้อเสนอแนะ เพื่อจัดทำเป็นร่างรายงานการประเมินผล
  3. ประชุมเพื่อรับฟังความเห็นและข้อเสนอแนะเพิ่มเติม
2) ผู้มีส่วนร่วมในการทบทวนรายงาน
check_circle
  1. ทีมระดับเขต
  2. ทีมระดับจังหวัด
  3. ทีมระดับพื้นที่ (โครงการ)
  4. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
  5. สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติฯ
  6. สำนักงานสาธารณสุขอำเภอสรรคบุรี, พชอ.
  7. อสม.
  8. จนท.กองทุน เทศบาลตำบลห้วยกรด
  9. ทีมประเมิน
3) ผลการทบทวนร่างรายงาน
check_circle

ดำเนินการทบทวนร่างรายงานผลการประเมิน ตามขอบเขตที่ได้กำหนดและเรียบเรียงสรุปไว้ ดังนี้

1.1 กลไกการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาวะในพื้นที่ในการทำแผน พัฒนาโครงการ และติดตาม ประเมินผลโครงการ
1.2 การนำร่องพื้นที่ต้นแบบการบูรณาการขับเคลื่อนการสร้างเสริมสุขภาวะในกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ โดยดำเนินการร่วมกับกลไกในพื้นที่
1.3 การบูรณาการการทำงานร่วมกับคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.)
1.4 การดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาวะในพื้นที่ในการทำแผน พัฒนาโครงการ เช่น

  • มาตรการป้องกันและลดผลกระทบต่อสุขภาพ
  • มาตรการในการสร้างเสริมสุขภาพ
  • มาตรการในการเพิ่มประโยชน์ที่ได้รับต่อสุขภาพของประชาชน (แผนงาน/กิจกรรม, ผู้สูงอายุ ผู้ดูแลผู้สูงอายุ)
4) สรุปผลการประเมินสำคัญที่นำเข้าเวทีการทบทวน
check_circle
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดสรุปผลการประเมินหมายเหตุ
1. 1. การสร้างความรู้ ความเข้าใจ จัดการความรู้และนวัตกรรม และการสื่อสาร (5) อื่นๆ) สร้างการสื่อสารในช่องทางต่าง ๆ ที่หลากหลายรูปแบบ ที่สอดคล้องกับวัยและวิถีการทำงานของกลุ่มอาชีพต่าง ๆ เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ และรณรงค์เรื่องกิจกรรมทางกาย และการลดพฤติกรรมเนือยนิ่งของคนในชุมชน เช่น การจัดนิทรรศการ เสียงตามสายในโรงเรียน ชุมชน โบสถ์ มัสยิด

สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติฯ และ ทต.ห้วยกรด มีการสื่อสารให้ชุมชนทราบถึงการดำเนินกิจกรรมในโครงการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อมด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย

  1. แอพพลิเคชั่นไลน์กลุ่ม, หอกระจายข่าว, ป้ายหน้า ทต./สถานีอนามัยฯ)
  2. ปากต่อปาก อสม., พระ, จนท.สถานีอนามัยฯ
2. 1. การสร้างความรู้ ความเข้าใจ จัดการความรู้และนวัตกรรม และการสื่อสาร (5) อื่นๆ) พัฒนาหลักสูตรในพื้นที่ และกิจกรรมเสริมหลักสูตร ที่สอดแทรกเนื้อหา วิธีการสอนที่เน้นการมีกิจกรรมทางกาย เช่น เกษตรในโรงเรียน กิจกรรมปลูกป่า เดินสำรวจสมุนไพร กีฬาและการละเล่นไทย

อสม. ร่วมกับบุคลาการด้านสุขภาพ ในการสนับสนุนการดูแลผู้สูงอายุข้อเข่าเสื่อม โดยการใช้การแพทย์พื้นบ้านในการจัดโปรแกรมสุขภาพ ได้แก่ การนวด อบ ประคบสมุนไพร การจัดให้มีสถานที่บริเวณสถานีอนามัยฯ ในการบำบัดและทำกายภาพ เช่น ลานหิน, เดินกะลา เป็นต้น

 

3. 2. การพัฒนาขีดความ สามารถเครือข่าย (5) อื่นๆ) พัฒนาความรู้ ความเข้าใจเครือข่ายผู้สูงอายุในการเป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้เรื่องกิจกรรมทางกาย ให้ศูนย์เด็กเล็ก/โรงเรียน รู้จักการละเล่นไทย/ ภูมิปัญญาท้องถิ่น เช่น การทำว่าว เล่านิทาน

ผู้สูงอายุในพื้นที่ ร่วมกับสถานีอนามัย, รพ.สรรคบุรี ดำเนินการถ่ายทอดภูมิปัญญาด้านการแพทย์แผนไทยในการบำบัดโรคข้อเข่าเสื่อม โดยมีการจัดทำนวัตกรรมในการดูแลสุขภาพให้กับผู้สูงอายุ เช่น ถุงนวดสมุนไพร, การพอกเข่า สมุนไพรตามธาตุเจ้าเรือนกับการบรรเทาอาการปวดเมื่อย เป็นต้น

 

4. 2. การพัฒนาขีดความ สามารถเครือข่าย (5) อื่นๆ) สร้างเครือข่าย องค์กร หน่วยงานต้นแบบให้มีความสามารถในการขับเคลื่อนงานกิจกรรมทางกาย

สถานีอนามัย ร่วมกับ รพ.สรรคบุรี บูรณาการการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นกับการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ โดยยกระดับให้ สถานีอนามัยฯ เป็นต้นแบบการเรียนรู้แบบบูรณาการประเด็นการขับเคลื่อนงานเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ

 

5. 3. การสร้างพื้นที่สุขภาวะทั้งพื้นที่ที่เป็นบ้าน โรงเรียน สถานที่ทำงาน ศาสนสถาน พื้นที่สาธารณะ และชุมชน (5) อื่นๆ) จัดกิจกรรมที่เอื้อให้พ่อ-แม่ ลูก และผู้สูงวัยได้ทำกิจกรรมร่วมกัน เช่น เดินปั่นสำรวจแหล่งวัฒนาธรรม แหล่งสมุนไพร

มีการขยายพื้นที่การปลูกสมุนไพรพื้นบ้าน โดยมีกติการชุมชนที่ส่งเสริมให้ทุกบ้านปลูกสมุนไพรบ้านละ 3 ชนิด และมี อสม.เป็นผู้คอยสนับสนุน และ ทต.ห้วยกรด ช่วยส่งเสริมการขยายพันธุ์และพื้นที่สาธารณะในการปลูก

  1. ลงพื้นที่เยี่ยมบ้านร่วมกับ สถานีอนามัยฯ และทีม อสม.
6. 3. การสร้างพื้นที่สุขภาวะทั้งพื้นที่ที่เป็นบ้าน โรงเรียน สถานที่ทำงาน ศาสนสถาน พื้นที่สาธารณะ และชุมชน (5) อื่นๆ) จัดกิจกรรมส่งเสริมการเคลื่อนไหวให้กับคนในชุมชน ศูนย์เด็กเล็ก โรงเรียนกลุ่มผู้สูงอายุ โดยใช้การละเล่นไทย เช่น ตี่จับ/ กระโดดเชือก/ มวยไทย; และกีฬาไทย เช่น การเซิ้ง ร็องแง็ง รำมวยไทย ตะกร้อลอดห่วง

มีการสนับสนุนการอบรมการนวด อบ ประคบสมุนไพร เพื่อบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อ ควบคู่ไปกับการจัดกิจกรรมการออกกำลังกาย ยืดเหยียดกล้ามเนื้อ

  1. กลุ่มงานแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก (สถานีอนามัยฯ)
  2. นวัตกรรมการสร้างเสริมสุขภาพด้วยภูมิปัญญา (หน้าสถานีอนามัยฯ)
7. 4. การขับเคลื่อนกระบวนการนโยบายสาธารณะในพื้นที่เพื่อเพิ่มการมีกิจกรรมทางกาย (5) อื่นๆ) ผลักดันนโยบายสนับสนุนผู้สูงอายุเป็นจิตอาสาเป็นวิทยากรในสถานศึกษาต่าง ๆ

ผู้สูงอายุร่วมเป็นวิทยากรชุมชนในการเป็นถ่ายทอดองค์ความรู้ในการดูแลสุขภาพด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น และร่วมเป็นจิตอาสาในการจัดทำหลักสูตรท้องถิ่นให้กับสถานศึกษา

  1. หลักสูตร โรงเรียน อสม.
  2. วิทยากร หลักสูตรท้องถิ่น
8. 5. การสร้างกลไกความร่วมมือขององค์กร หน่วยงาน เครือ ข่ายผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อการเพิ่มกิจกรรมทางกายของคนในชุมชน (5) อื่นๆ) พัฒนาศักยภาพคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น/พื้นที่ให้มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องกิจกรรมทางกาย

เกิดการพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น ให้มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องกิจกรรมทางกาย

  1. เกิดแผนงานโครงการสนับสนุนศูนย์ฯ เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ ปีงบประมาณ 2563 ในฐานข้อมูล สปสช. รวม 38 โครงการ (พื้นที่ ทต.ห้วยกรด 8 โครงการ)
  2. เกิดแผนงานโครงการ ในระบบติดตามและประเมินผล ด้านกิจกรรมทางกาย ภาพรวม อ.สรรคบุรี ทุกพื้นที่ (8 กองทุน)
9. 5. การสร้างกลไกความร่วมมือขององค์กร หน่วยงาน เครือ ข่ายผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อการเพิ่มกิจกรรมทางกายของคนในชุมชน (5) อื่นๆ) สร้างความร่วมมือกับองค์กร หน่วยงานในการสนับสนุนสิ่งอำนวยความสะดวก เช่น แสงสว่างในการมีกิจกรรมทางกายของคนในชุมชนยามค่ำคืน

อปท. สนับสนุนงบประมาณและวัสดุอุปกรณ์อำนวยความสะดวก ในการพัฒนาพื้นที่เพื่อรองรับการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการสร้างเสริมสุขภาพทุกกลุ่มวัย

  1. ศูนย์สมุนไพรธรรมชาติ
  2. กลุ่มงานแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
10. 6. พัฒนากลไกการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาวะในพื้นที่ในการทำแผน พัฒนาโครงการ และติดตาม ประเมินผลโครงการโดยดำเนินการร่วมกันของเครือข่าย สสส. สปสช. และสธ. (5) อื่นๆ) ทีมระดับเขต สามารถสนับสนุนการจัดทำแผน การพัฒนาข้อเสนอโครงการ และการใช้ระบบติดตามและประเมินผลโครงการ

มีการสนับสนุนการดำเนินงานในพื้นที่ เรื่องการจัดทำแผน การพัฒนาโครงการ และติดตามโครงการ /เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เชิงปฏิบัติการ สนับสนุนการดำเนินงานในพื้นที่ (ทั้งระดับเขต และระดับพื้นที่)

โครงการกองทุนฯ มีแผนจำแนกตามประเด็น 7 ประเด็น (แผนงาน) รวม 20 โครงการ (ปรากฎในระบบ Online 15 โครงการ คิดเป็น 75%)

  1. แผนงานอาหารและโภชนาการ (2 โครงการ)
  2. แผนงานกิจกรรมทางกาย (8 โครงการ)
  3. แผนงานการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบล (2 โครงการ)
  4. แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟูในสถานการณ์โควิด-19 (1 โครงการ)
  5. แผนงานโรคเรื้อรัง (4 โครงการ)
  6. แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด (1 โครงการ)
  7. แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง (2 โครงการ)
11. 7. ดำเนินการนำร่องพื้นที่ต้นแบบการบูรณาการขับเคลื่อนการสร้างเสริมสุขภาวะในกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ โดยดำเนินการร่วมกับกลไกในพื้นที่ ที่มาจากเครือข่าย สสส. สปสช. และ สธ. และกองทุน ฯ ในการพัฒนาศักยภาพของโครงการที่จะได้รับการสนับสนุนจากกองทุนฯ (5) อื่นๆ) ทีมระดับพื้นที่ สามารถสนับสนุนผู้เสนอโครงการในการจัดทำแผน การพัฒนาข้อเสนอโครงการ และการติดตามโครงการ ทั้งในขั้นตอนการจัดทำแผนกองทุนตำบลฯ พัฒนาโครงการและการติดตาม

เกิดการบูรณาการขับเคลื่อนการสร้างเสริมสุขภาพร่วมกับกลไกในพื้นที่ พร้อมทั้งมีการแผนบูรณาการจำแนกตามประเด็นจากแผนของแต่ละกองทุน

เกิดการบูรณาการขับเคลื่อนการสร้างเสริมสุขภาวะ จำนวน 11 โครงการ (งบประมาณกองทุนฯ ปี 2563 รวม 5,796,968,15 บาท; ปรากฏในฐานข้อมูล สปสช. 257 โครงการ เทียบกับระบบ Online คิดเป็น 4.28%)

  1. กองทุน ต.แพรกศรีราชา : โครงการผู้สูงอายุชุมชนที่ 5,
    โครงการพัฒนาวัดส่งเสริมสุขภาพ, โครงการตระหนักถึงพิษภัยมะเร็งปากมดลูก/ เต้านม/ลำไส้ใหญ่, โครงการป้องกันและควบคุมโรคมือ
    เท้า ปาก ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดมหาธาตุ, โครงการคัดกรองโรค อ้วน อ้วนลงพุง เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หลอดเลือดสมองและหัวใจ เชิงรุก
  2. กองทุน ต.ดงคอน :
    โครงการควบคุมลูกน้ำและยุงลายเพื่อป้องกันโรคไข้เลือดออก
  3. กองทุน ต.บางขุด : โครงการต่อยอดเฝ้าระวังทางทันตสุภาพในผู้สูงอายุ
  4. กองทุน ต.ดอนกำ : โครงการออกกำลังกาย
  5. กองทุน ต.เที่ยงแท้ : โครงการให้บริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกหญิงอายุ 30-60 ปี ปี 2563
  6. กองทุน ต.ห้วยกรดพัฒนา : โครงการควบคุมเฝ้าระวังป้องกันโรคโควิด 19 โดย อสม.
  7. กองทุน ต.ห้วยกรด :
    โครงการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อมด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย ปี 2563
  8. กองทุน ต.สรรคบุรี (โพงาม) : โครงการการออกกำลังกาย
12. 8. บูรณาการการทำงานร่วมกับคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) (5) อื่นๆ) การติดตามสนับสนุนการดำเนินงานโครงการในพื้นที่ อย่างน้อย 3 ครั้งต่อ พชอ.
  1. มีการสนับสนุนการดำเนินงานโครงการในพื้นที่ร่วมกับ พชอ. โดย อ.สรรคบุรี มีการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ ร่วมกับ 8 ตำบลในพื้นที่ (9 กองทุน) ใน 5 ประเด็น ได้แก่ เมืองสมุนไพร, การส่งเสริมการออกกำลังกาย, ผู้สูงอายุ, งานคุ้มครองผู้บริโภค และไข้เลือดออก
  2. พชอ.ได้แผนบูรณาการจำแนกตามประเด็นจากแผนของแต่ละกองทุน
  3. การดำเนินโครงการระดับอำเภอมีการบูรณาการร่วมกัน
  4. พชอ.มีฐานข้อมูลสถานการณ์และแผนงานระดับตำบลและอำเภอ
  1. มีคำสั่งแต่งต้ังคณะกรรมการ พชอ.
  2. มีแผนการขับเคลื่อนตามประเด็นปัญหาในการพัฒนาคุณภาพชีวิติระดับอำเภอ
  3. มีการประชุมคณะกรรมการ และประเมินผลตามประเด็น UCCARE
  4. มีแนวทางในการดำเนินการแก้ไขปัญหา
5) อื่นๆ

 

5. การปรับปรุงทบทวนโครงการ

check_circle

 

1) ข้อเสนอเพื่อการทบทวนโครงการ

 

2) อื่นๆ

 

6. ได้มีการปรับปรุงทบทวนโครงการตามข้อ 5 หรือไม่?

 

1) กลไกในการติดตามการปรับปรุงโครงการตามข้อเสนอแนะ

 

2) วิธีการติดตาม การปรับปรุงโครงการตามข้อเสนอแนะ

 

3) อื่นๆ

 

สรุป

อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ

 

เอกสารอ้างอิง

 

เอกสารประกอบโครงการ