ระบบติดตามและประเมินผลโครงการ ( M&E Thailand )

directions_run

โครงการบูรณาการกลไกสุขภาพชุมชน เขต 11 อ.คีรีรัฐนิคม จ.สุราษฎร์ธานี

แบบประเมินด้วยขั้นตอน HIA

บทคัดย่อ/บทนำ

บทคัดย่อ

การศึกษานี้เป็นการวิจัยประเมินผลเพื่อเสริมพลังอำนาจ วัตถุประสงค์เพื่อประเมินสมรรถนะการจัดการผ่านกลไกระบบพี่เลี้ยงและเพื่อประเมินผลการบูรณาการกลไกสุขภาพชุมชน เขต 11 จังหวัดสุราษฎร์ธานี ผู้ศึกษาใช้กรอบแนวคิดปัจจัยกำหนดสุขภาพ (SDH) โดยการประยุกต์เครื่องมือการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ (HIA) เพื่อศึกษา 1) กลไกการดําเนินงานสร้างเสริมสุขภาวะในพื้นที่ในการบูรณาการขับเคลื่อนการสร้างเสริมสุขภาวะในกองทุนหลักประกันสุขภาพ 2) กระบวนการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ ในการประเมินโครงการบูรณาการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะและพัฒนากลไกสุขภาวะระดับพื้นที่ และ 3)ประเมินด้านประสิทธิผลในการพัฒนาโครงการ การรายงานผลเว็ปไซด์และคู่มือการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับพื้นที่ โดยผู้ศึกษาได้เก็บข้อมูล 1) ผู้ประสานงานระดับเขต 2) ผู้ประสานงานจังหวัด 3) พี่เลี้ยงกองทุน 4) พชอ. 5) พชต. 6) ผู้รับผิดชอบกองทุน และ 7) ผู้รับผิดชอบโครงการ การศึกษาครั้งนี้ผู้ศึกษาได้ใช้ การสังเกตแบบมีส่วน ร่วมกับการสนทนากลุ่ม การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง ร่วมกับ การอภิปรายกลุ่ม, การสัมภาษณ์เชิงลึก และเวทีประชุมแลกเปลี่ยน ผลการศึกษาพบว่า 1) กลไกการดําเนินงานสร้างเสริมสุขภาวะในพื้นที่ในการบูรณาการขับเคลื่อนการสร้างเสริมสุขภาวะในกองทุนหลักประกันสุขภาพประสบความสำเร็จ ทั้งนี้ (1) “คน” เป็นผู้ที่มีศักยภาพ ความสามารถ มีทักษะในการประสานงาน และการดำเนินงานโดยเฉพาะพี่เลี้ยงกองทุน (2) “กลไกระบบ” เกิดการบูรณาการทำงานร่วมกัน ทั้ง พชอ. พชต. ผู้รับผิดชอบกองทุน และผู้รับผิดชอบโครงการ รวมถึงกลไกลสนับสนุนจาก สปสช. เป็นต้น (3) “สภาพแวดล้อม” คือ ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ แม้ว่าพื้นที่คีรีรัฐนิคม ยังไม่มีการใช้ประโยชน์จากเว็บไซต์และคู่มือในการดำเนินการขับเคลื่อนกองทุน แต่ผู้ที่เกี่ยวข้องมองเห็นประโยชน์ของข้อมูลในระบบซึ่งคาดว่าจะค้นหาแนวทางในการใช้ประโยชน์ต่อไป 2) กระบวนการประเมินผลกระทบทางสุขภาพเพื่อการประเมินโครงการบูรณาการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะและพัฒนากลไกสุขภาวะระดับพื้นที่ ซึ่งการประยุกต์ใช้การประเมินผลกระทบทางสุขภาพ (HIA) เป็นเครื่องมือมีส่วนสำคัญที่สร้างการเสริมพลังทางอำนาจของการทำงานร่วมกันของทุกๆฝ่าย และมุ่งให้การดำเนินการของกองทุนฯสำเร็จประโยชน์กับชุมชนมากที่สุด โดยเฉพาะขั้นตอน Public Scoping และ Public Review และ 3) ประเมินด้านประสิทธิผลการพัฒนาโครงการและการรายงานผลเว็ปไซต์และคู่มือการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับพื้นที่ จะเห็นได้ว่าการพัฒนาโครงการและรายงานผลเว็บไซต์และเครื่องมือยังไม่มีการใช้ประโยชน์แต่อย่างใด เนื่องจากความซ้ำซ้อนกับเว็บไซต์ของกองทุนสปสช.และการมีจำนวนบุคลากรที่จำกัดส่งผลต่อภาระงานที่มากขึ้น อย่างไรก็ตามควรมีการพัฒนาศักยภาพและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของผู้รับผิดชอบโครงการในการรายงานผลผ่านระบบเว็บไซต์ ควรสร้างความเข้าใจและตระหนักแก่คณะกรรมการกองทุนสุขภาพในการทำโครงการที่ใช้ข้อมูลจากเว็บไซต์และคู่มือเพื่อเปิดโอกาสกับโครงการที่สอดรับกับปัญหาสุขภาพและคุณภาพชีวิต รวมทั้งความต้องการของชุมชนอย่างแท้จริง

คำสำคัญ

กระบวนการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ, บูรณาการกลไกสุขภาวะ, คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.), คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับตำบล (พชต.), การเสริมพลัง

บทนำ

จากการปฏิรูปประเทศไทยด้านสาธารณสุข ได้กำหนดนโยบายทิศทาง เป้าหมาย ยุทธศาสตร์ที่จะพัฒนาสู่ความเป็นเลิศ 4 ด้าน หนึ่งในนั้น คือ การส่งเสริมสุขภาพและความป้องกันโรคเป็นเลิศ (Prevention&Promotion Excellence) มีการวางแผนในระยะยาวด้านนี้ ประกอบด้วย 4 แผนงาน ได้แก่ 1) แผนพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไทยทุกกลุ่มวัย 2) แผนการป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพ 3) แผนความปลอดภัยด้านอาหารและลดปัจจัยเสี่ยงต่อโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง และ 4) แผนการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม เพื่อมุ่งหวังให้ประชาชนตระหนักในการสร้างเสริมสุขภาพของตนเอง และมีการปรับพัฒนาระบบสุขภาพ “สร้างนำซ่อม”รวมถึง การเปิดพื้นที่ให้ทุกภาคส่วนในสังคมเข้าร่วมกระบวนการพัฒนาระบบสุขภาพเชิงนโยบายสาธารณะเพื่อก่อให้เกิดการพัฒนาระบบสุขภาพแบบมีส่วนร่วม (Participatory Healthy Public Policy : PHPP) ตามพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติพ.ศ. 2550 และมอบหมายให้ทุกเขตสุขภาพนำนโยบายสู่การปฏิบัติตามบริบทของพื้นที่ที่มีสถานการณ์ปัญหาสุขภาพที่แตกต่างกัน พื้นที่เขตสุขภาพที่11 ประกอบด้วย 7 จังหวัดภาคใต้ตอนบน ได้แก่ จังหวัดกระบี่ พังงา ภูเก็ต ระนอง ชุมพร  สุราษฎร์ธานี และ นครศรีธรรมราช ซึ่งมีการขยายตัวของสังคมเมืองเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และสภาพปัญหาสุขภาพรวมถึงปัจจัยต่าง ๆ ที่กระทบกับสุขภาพเป็นไปอย่างซับซ้อนกว่าในอดีตที่ผ่านมา โดยเฉพาะพฤติกรรมสุขภาพที่เปลี่ยนไปและการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ตลอดจนปัญหาสุขภาพอันอาจเกิดจากสิ่งแวดล้อมและกระแสของการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีที่ทันสมัย รวดเร็ว ทำให้คุณภาพชีวิตและสุขภาพประชาชนทุกกลุ่มวัยต้องเผชิญหน้ากับความเสื่อมถอยของสุขภาพกาย ใจ สังคม จึงจำเป็นต้องสร้างความตระหนักในพันธะรับผิดชอบต่อสังคมร่วมกันด้วยการเสริมสร้างพลังการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่างๆ รวมถึงครอบครัว ชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และองค์กรหลักภาคการศึกษา สังคม สวัสดิการและเศรษฐกิจ (Empowermentand Participation) รวมถึงผู้ประกอบการ ในการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคเป็นเลิศ (Prevention&Promotion Excellence)
อำเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้ใช้หลักการของการดำเนินการพัฒนาความร่วมมือของกลไกที่มีอยู่ในระบบสุขภาพชุมชน ทั้งของสาธารณสุข ทั้งกลไกคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับตำบล ด้วยกลไกกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ของสปสช. และกลไกสุขภาพภายใต้การดำเนินงานของสสส. เพื่อการดำเนินงานในพื้นที่ให้ครอบคลุมทั้ง 9 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยใช้ฐานทุนเดิมของกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับตำบล กองทุนท้องถิ่น ร่วมกับกลไกต่างๆในทุกพื้นที่ที่ทำงานใกล้ชิดกับประชาชน เพื่อช่วยเพิ่มจำนวนกองทุนท้องถิ่นและขยายพื้นที่การประสานการทำงานร่วมกัน เพิ่มศักยภาพของโครงการการดำเนินงานในระบบสุขภาพชุมชน ส่งผลให้คุณภาพชีวิตของประชาชนดีขึ้นอย่างทั่วถึง และครอบคลุม ภายใต้การใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า
นอกจากนี้อำเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีการประเมินกลไกการดําเนินงานสร้างเสริมสุขภาวะในประเด็นเชิงพื้นที่เฉพาะ คือ การจัดการขยะ เบาหวาน ความดัน โลหิตสูง ซึ่งประเด็นเหล่านี้มีสอดคล้องกับบริบทอำเภอได้ โดยพชต.แต่อย่างไรก็ตาม การดำเนินโครงการต่างๆ ล้วนมีผลกระทบต่อสุขภาพ สังคม และสิ่งแวดล้อมในระดับที่แตกต่างกันออกไป โดยพื้นที่อำเภอคีรีรัฐนิคม ได้กำหนดประเด็นเชิงพื้นที่เฉพาะ คือ การจัดการขยะ โรคเบาหวาน โรคความดัน โลหิตสูง ซึ่งประเด็นเหล่านี้มีเป็นประเด็นที่พื้นที่มีความต้องการเฉพาะเพราะสอดคล้องกับบริบทอำเภอคีรีรัฐนิคม แต่อย่างไรก็ตามการขับเคลื่อนการทำงานเชิงพื้นที่เฉพาะคือ การขับเคลื่อนของกองทุนฯภายใต้ระดับตำบล (พชต.) เช่น 1) เทศบาลตำบลท่าขนอน มีการขับเคลื่อนประเด็นพืชผักปลอดภัย 2) องค์การบริหารส่วนตำบลท่าขนอน มีการขับเคลื่อนประเด็นผู้สูงอายุ 3) องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านยาง มีการขับเคลื่อนประเด็นการคุ้มครองผู้บริโภค และ 4) องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านทำเนียบ มีการขับเคลื่อนประเด็นผู้ป่วยจิตเวช (การดูแลผู้ป่วยจิตเวช) ดังนั้นจะเห็นได้ว่าโครงการการบูรณาการขับเคลื่อนการสร้างเสริมสุขภาวะในกองทุนหลักประกันสุขภาพ ระดับพื้นที่เขตสุขภาพที่ 11 นำไปสู่เกิดการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของพื้นที่ต่อไปโดยเฉพาะการให้ความสำคัญเชิงพื้นที่ที่สำคัญมาก กลไกการติดตามสนับสนุนและประเมินผล เป็นกลไกสำคัญที่ช่วยให้การดำเนินโครงการสามารถดำเนินไปสู่จุดหมาย นอกจากเป็นกระบวนการที่ช่วยบริหารจัดการโครงการให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลแล้ว ยังเป็นการช่วยวิเคราะห์ สังเคราะห์คุณค่าต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการเพื่อการขยายผล และเพื่อการพัฒนาต่อไป (พงค์เทพ สุธีรวุฒิ และคณะ, 2557) ในปี 2562-2563 สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส. ม.อ.) จัดทำโครงการเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาวะระดับพื้นที่เพิ่มมากขึ้น โดยสานพลังการทำงานร่วมกันของ สสส. สปสช. และ สธ. ดำเนินงานภายใต้โครงการบูรณาการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะ และพัฒนากลไกสุขภาวะระดับพื้นที่ เป้าหมาย คือ 1) การพัฒนาศักยภาพทีมกลไกร่วมของสสส. สปสช. และสธ. ในการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะในระดับพื้นที่ และ 2) การดำเนินงานพื้นที่ต้นแบบสร้างเสริมสุขภาวะในกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ (กุลทัต หงส์ชยางกูร และคณะ, 2562) โครงการดังกล่าวเป็นการเสริมพลังการทำงานร่วมกันของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ช่วยลดความซ้ำซ้อนของการทำงาน สามารถขยายขอบเขตพื้นที่การทำงานได้กว้างขึ้นภายใต้งบประมาณที่จำกัดอันจะนำไปสู่ความครอบคลุมการพัฒนาศักยภาพของประชาชนในพื้นที่จนกลายเป็นทุนทรัพยากรมนุษย์ในการสร้างสังคม สุขภาวะ และระบบสุขภาพชุมชนที่เข้มแข็งในอนาคต ซึ่งคณะทำงานของโครงการบูรณาการฯ วางแผนให้มีการติดตามและประเมินผลโครงการในช่วงระหว่างการดำเนินโครงการ โดยมีเป้าหมายเพื่อช่วยตรวจสอบว่าโครงการได้ถูกดำเนินการเป็นไปตามแผนของโครงการหรือไม่ อย่างไร (Implementation Evaluation) และเป็นการตรวจสอบความก้าวหน้าของโครงการว่า โครงการได้ถูกดำเนินการไปอย่างได้ผลดีหรือไม่ เพียงใด (Progress Evaluation) ทั้งนี้เพื่อปรับปรุงการดำเนินโครงการให้บรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้ โดยงานสร้างเสริมสุขภาพในระดับพื้นที่เพื่อศึกษากระบวนการทำงาน ติดตามและประเมินผลการทำงาน ระหว่างการดำเนินโครงการบูรณาการฯ ซึ่งประยุกต์ใช้กรอบแนวคิดเชิงระบบ กรอบแนวคิดปัจจัยกำหนดสุขภาพ และการประเมินผลด้วยกรอบคิด Health Impact Assessment (HIA) ตามแนวทางของสถาบันนโยบายสาธารณะ มุ่งหวังให้กระบวนการศึกษา และการประเมินผลช่วยพัฒนาคุณภาพโครงการเพื่อส่งเสริมสุขภาพของประชาชนที่เกิดจากการมีส่วนร่วมของหน่วยงานหลายภาคส่วน

หมายเหตุ
  • บทคัดย่อ/บทนำ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

แบบประเมิน HIA

1. การกลั่นกรองโครงการ

check_circle

วิธีการกลั่นกรองเริ่มตั้งแต่การศึกษาโครงการบูรณาการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะและพัฒนากลไกสุขภาวะระดับพื้นที่เขตสุขภาพที่ 11 ศึกษากองทุนสุขภาพตำบลทั้งจากรายงานกองทุน เอกสาร ศึกษาเวปไซด์การบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับพื้นที่ (www. https://localfund.happynetwork.org/) และกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นและพื้นที่ของสปสช. (https://obt.nhso.go.th/obt/home) เข้าร่วมประชุมชี้แจงโครงการ อภิปรายกลุ่มย่อย และสัมภาษณ์เชิงลึกผู้รับผิดชอบโครงการ พิจารณาผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย (stakeholders) ต่อโครงการทุกระดับ  ต่อจากนั้นทำการสังเคราะห์สรุปข้อมูลนำเสนอต่อเวทีการกลั่นกรองโครงการโดยสาธารณะเพื่อพิจาณาถึงความจำเป็นในการศึกษาผลการดำเนินโครงการ

1.1 วัตถุประสงค์

1) เพื่อให้ทราบผลและบอกถึงงานที่รับผิดชอบ
2) เพื่อให้เห็นแนวโน้ม เพื่อเตือนภัย
3) เพื่อเปลี่ยนพฤติกรรม และเข้าใจกระบวนการ
4) เพื่อลำดับความสำคัญ แปลง ปรับกลยุทธ์ สู่การปฎิบัติ
5) เพื่อเป็นเครื่องมือในการจัดการ ช่วยการควบคุม
6) เพื่อจัดสรรทรัพยากร
7) เพื่อการเรียนรู้ และรู้ขีดความสามารถ
8) เพื่อเปรียบเทียบ ปรับปรุงและพัฒนา
9) เพื่อช่วยเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กร
10) เพื่อให้รางวัล เพื่อจูงใจ
11) อื่นๆ (ระบุรายละเอียด)
check_circle

1) เพื่อให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับโครงการได้พิจารณากลั่นกรองโครงการ ว่าโครงการนี้มีความจำเป็นที่จะต้องในการประเมินผลกระทบจากโครงการหรือไม่ 2)เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องรับทราบคุณค่าและประโยชน์ที่ได้รับจากโครงการประเมิน

1.2 วิธีการ (ระบุรายละเอียดทำอะไร กับใคร กี่คน ผลสรุป)

1) ประชุมทีมประเมิน
check_circle

ประชุมทีมประเมินหลัก จำนวน 3 ครั้ง ประกอบด้วย 1) ดร.พิเชตวุฒิ นิลละออ คณะศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ มอ. 2) ดร.คชาพล นิ่มเดช สนง.สาธารณะสุขจังหวัดสุราษฎร์ธานี 3) ดร.ศิริพร เพ็งจันทร์ คณะศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ มอ.
สรุปผลการประชุม : 1) เกิดแผนปฏิบัติงาน 2) ผู้ประเมินมีความเข้าใจในจุดประสงค์และกิจกรรมสำคัญของโครงการที่จะประเมิน 3) มีการแบ่งภาระหน้าที่รับผิดชอบของทีมประเมิน

2) ประชุมร่วมกับโครงการ
check_circle

ทีมประเมินประชุมร่วมกับผู้รับผิดชอบ จำนวน 3 ครั้ง ผ่านระบบ Zoom
สรุปผลการประชุม : 1) รับทราบข้อมูลรายละเอียดโครงการและกิจกรรมสำคัญของโครงการ 2) แลกเปลี่ยนแนวคิดและสรุปแผนการดำเนินการร่วมกัน 3) รายงานความก้าวหน้าในการประเมินผลโครงการ

3) ประชุมร่วมกับโครงการและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
check_circle

ทีมประเมินประชุมร่วมกับผู้รับผิดชอบ จำนวน 4 ครั้ง โดยมีผู้เข้าร่วมประกอบด้วย 1) ผู้ประสานงานระดับเขตจำนวน 2 ท่าน (เชาวลิต ลิปน้อย ผู้รับผิดชอบกองทุน สปสช.เขต 11 /ทวีวัฒน์ เครือสาย นายกสมาคมประชาสังคมชุมพร) 2) ผู้ประสานงานระดับจังหวัด 5 คน 3) ผู้ประสานงานของอำเภอคีรีรัฐนิคม (สุริยา น้ำขาว ผู้ช่วยสาธารณสุขอำเภอคีรีรัฐนิคม) 4) ผู้รับผิดชอบกองทุนจำนวน 9 กองทุน 5) ผู้รับผิดชอบโครงการ สรุปผลการประชุม : 1) ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายรับทราบข้อมูลรายละเอียดโครงการและกิจกรรมสำคัญของโครงการ 2) แลกเปลี่ยนแนวคิดและสรุปแผนการดำเนินการร่วมกัน 3) แลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการดำเนินโครงการในพื้นที่โดยใช้งบกองทุนหลักประกันสุขภาพ 4) ร่วมกันกลั่นกรองและได้ข้อสรุปถึงความจำเป็นในการประเมินผลกระทบของโครงการบูรณาการกลไกฯ

4) อื่นๆ (ระบุรายละเอียด)
check_circle

1) ศึกษากองทุนสุขภาพตำบลทั้งจากรายงานกองทุน เอกสาร 2) ศึกษาเวปไซด์การบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับพื้นที่ (www. https://localfund.happynetwork.org/) และกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นและพื้นที่ของสปสช. (https://obt.nhso.go.th/obt/home) 3) เข้าร่วมประชุมชี้แจงโครงการ อภิปรายกลุ่มย่อย และ 4) สัมภาษณ์เชิงลึกผู้รับผิดชอบโครงการ ต่อจากนั้นทำการสังเคราะห์สรุปข้อมูลนำเสนอต่อเวทีการกลั่นกรองโครงการโดยสาธารณะเพื่อพิจาณาถึงความจำเป็นในการศึกษาผลการดำเนินโครงการ

1.3 เครื่องมือ

1) เครื่องมือที่ใช้ในขั้นตอนการกลั่นกรอง (ระบุรายละเอียดเครื่องมือ เช่น แนวคำถามในการประชุมกลุ่ม)

 

1.4 ผลที่ได้

1) ผลที่ได้ในขั้นตอนการกลั่นกรอง
check_circle

ได้ข้อสรุปร่วมกันถึงความจำเป็นและผลที่ได้รับในการประเมินผลกระทบของโครงการบูรณาการกลไกฯ

2. การกำหนดขอบเขต

check_circle

ผู้วิจัยได้จัดเวทีเพื่อร่วมกันกำหนดขอบเขตการศึกษา และวิธีการประเมินผลโครงการ โดยเชิญผู้แทนผู้ส่วนได้เสียทั้งในส่วนผู้รับผิดชอบโครงการทุกระดับ พี่เลี้ยงอำเภอคีรีรัฐนิคม ผู้เสนอโครงการ ผู้รับผิดชอบกองทุนสุขภาพฯทั้งเทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบล คณะกรรมการพชอ. เข้าร่วมการประชุม

1) วิธีการในการกำหนดขอบเขต
check_circle

จัดเวทีเพื่อร่วมกันกำหนดขอบเขตการศึกษา และวิธีการประเมินผลโครงการ ร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในโครงการทุกระดับ ได้แก่ ผู้ประสานงานเขต ผู้ประสานงานจังหวัด พี่เลี้ยงอำเภอคีรีรัฐนิคม และผู้เสนอโครงการ ผู้รับผิดชอบกองทุนฯ และ คณะกรรมการ พชอ. โดยมีการจัดประชุม 2 ครั้ง ณ โรงแรมนิภากาเด้น และ สนส.มอ.

2) ผู้เข้าร่วมกำหนดขอบเขต
check_circle

ผู้รับผิดชอบโครงการทุกระดับ พี่เลี้ยงอำเภอคีรีรัฐนิคม ผู้เสนอโครงการ ผู้รับผิดชอบกองทุนสุขภาพฯทั้งเทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบล คณะกรรมการพชอ.

3) เครื่องมือที่ใช้
check_circle

1) แบบสัมภาษณ์ 2) เวทีประชาคม 3) การประชุมกลุ่มย่อย

4) กรอบแนวคิด

1) ใช้กรอบ Ottawa charter
check_circle
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดเครื่องมือกลุ่มผู้ให้ข้อมูล
2) ใช้กรอบ ปัจจัยกำหนดสุขภาพ
check_circle
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดเครื่องมือกลุ่มผู้ให้ข้อมูล
คน
  1. ศักยภาพของทีมประสานงานระดับเขตและพี่เลี้ยงกองทุนฯ
  2. ศักยภาพของผู้รับผิดชอบกองทุนฯ และผู้รับผิดชอบโครงการ
  1. แบบสัมภาษณ์
  1. ผู้ประสานงานระดับเขต
  2. ผู้ประสานงานจังหวัด
  3. พี่เลี้ยงกองทุน
  4. พชอ.
  5. ผู้รับผิดชอบกองทุน
  6. ผู้รับผิดชอบโครงการ
กลไก
  1. การบูรณาการกลไกบริหารจัดการและการดำเนินงานโครงการสร้างเสริมสุขภาวะ
  1. แบบสัมภาษณ์
  1. ผู้ประสานงานระดับเขต
  2. ผู้ประสานงานจังหวัด
  3. พี่เลี้ยงกองทุน
  4. พชอ.
  5. ผู้รับผิดชอบกองทุน
  6. ผู้รับผิดชอบโครงการ
สภาพแวดล้อม
  1. ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
  2. วิธีการขับเคลื่อนนโยบาย
  1. การตรวจสอบจากฐานข้อมูลจาก เวปไซด์และคู่มือการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับพื้นที่ (www. https://localfund.happynetwork.org/)
  2. แบบสัมภาษณ์
  1. ผู้ประสานระดับเขต
  2. ผู้ประสานงานจังหวัด
  3. พี่เลี้ยงกองทุน
3) ใช้กรอบ Balance Score Card
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดเครื่องมือกลุ่มผู้ให้ข้อมูล
4) ใช้กรอบ CIPP
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดเครื่องมือกลุ่มผู้ให้ข้อมูล
5) อื่นๆ
check_circle
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดเครื่องมือกลุ่มผู้ให้ข้อมูล

3. ลงมือประเมิน

check_circle

ผู้วิจัยประยุกต์ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) ในการประเมินตัวชี้วัดสำคัญของการดำเนินโครงการ ได้แก่ 1) กลไกการดําเนินงานสร้างเสริมสุขภาวะในพื้นที่ตำบลคีรีรัฐนิคม 2) ประเมินเวปไซด์และคู่มือการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับพื้นที่ด้านประสิทธิผลในการพัฒนาโครงการ

1) กระบวนการเก็บข้อมูลโดยการมีส่วนร่วม (ระบุรายละเอียด)
check_circle

เก็บข้อมูลโดยใช้วิธี การสัมภาษณ์เชิงลึก การอภิปรายกลุ่ม การสังเกตแบบมีส่วนร่วม/การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม การศึกษาจากเอกสารรายงานการประชุม ประเมินการรายงานผลทางเวปไซด์ ลงเก็บข้อมูลในพื้นที่ทั้งในส่วนสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ องค์การบริหารส่วนตำบล เทศบาล และสปสช. กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้แทนจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของกองทุนฯ นอกจากนี้ผู้วิจัยได้ใช้วิธีเชิงปริมาณ (Quantitative research) ในการเปรียบเทียบงบประมาณคงเหลือ (ค้างท่อ) ก่อนและหลังการดำเนินโครงการ (ปี 2562 เทียบกับ ปี 2563)

2) กระบวนการวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูล (ระบุรายละเอียด)
check_circle

1) เชิงคุณภาพ : ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) 2) เชิงปริมาณ : ใช้สถิติเปรียบเทียบ โดยใช้โปรแกรม SPSS

3) ผู้มีส่วนร่วมในการประเมิน (ระบุรายละเอียด)
check_circle

ผู้มีส่วนร่วมในการประเมินประกอบด้วย 1) ผู้ประสานงานระดับเขตจำนวน 2 ท่าน (เชาวลิต ลิปน้อย ผู้รับผิดชอบกองทุน สปสช.เขต 11 /ทวีวัฒน์ เครือสาย นายกสมาคมประชาสังคมชุมพร) 2) ผู้ประสานงานของอำเภอคีรีรัฐนิคม (สุริยา น้ำขาว ผู้ช่วยสาธารณสุขอำเภอคีรีรัฐนิคม) 4) ผู้รับผิดชอบกองทุนจำนวน 9 กองทุน 5) ตัวแทนผู้รับผิดชอบโครงการ สรุปผลการประชุม : 1) ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายรับทราบข้อมูลรายละเอียดโครงการและกิจกรรมสำคัญของโครงการ 2) แลกเปลี่ยนแนวคิดและสรุปแผนการดำเนินการร่วมกัน 3) แลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการดำเนินโครงการในพื้นที่โดยใช้งบกองทุนหลักประกันสุขภาพ 4) ร่วมกันกลั่นกรองและได้ข้อสรุปถึงความจำเป็นในการประเมินผลกระทบของโครงการบูรณาการกลไกฯ

4) ผลการประเมิน (เรียงตามตัวชี้วัดที่กำหนดในขั้นตอน scoping)
check_circle
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดผลการประเมินหมายเหตุ
1. คน (2) ใช้กรอบ ปัจจัยกำหนดสุขภาพ) ศักยภาพของทีมประสานงานระดับเขตและพี่เลี้ยงกองทุนฯ

ผลการประเมินพบว่าทีมประสานงานระดับเขตและพี่เลี้ยงกองทุนฯ มีความรู้และศักยภาพในการจัดทำแผนงาน โครงการ และการติดตามประเมินผลเป็นอย่างดี อย่างไรก็ตามศักยภาพดังกล่าว อาจไม่ได้เกิดจากการพัฒนาศักยภาพของโครงการบูรณาการกลไกฯ ทั้งนี้เนื่องจากทีมพี่เลี้ยงยังไม่ได้ใช้คู่มือและ website ในการจัดทำแผนงานโครงการ และการติดตามประเมินผลโครงการ เป็นเรื่องที่พี่เลี้ยงมีประสบการณ์และสามารถดำเนินการได้อยู่แล้ว ในส่วนของ Website ที่สร้างขึ้น ก็มีบุคลากรค่อนข้างจำกัด ผู้รับผิดชอบต้องดำเนินการในระบบของ สปสช. ก่อน ทั้งนี้เนื่องจากเกี่ยวข้องกับระบบเบิกจ่ายงบประมาณ อีกทั้งยังพบว่าผู้เกี่ยวข้องทั้งในระดับเขตและพี้เลี้ยงกองทุนฯ ยังไม่เห็นความสำคัญของ website มองว่า website ไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาเรื่องคุณภาพของแผนงานโครงการ

 

2. คน (2) ใช้กรอบ ปัจจัยกำหนดสุขภาพ) ศักยภาพของผู้รับผิดชอบกองทุนฯ และผู้รับผิดชอบโครงการ

ผลการประเมินพบว่า ในพื้นที่อำเภอคีรีรัฐนิคม มีการดำเนินงานประเมินกองทุนฯ และจำแนกกองทุนฯ ออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่ A B C และมีการจัดเวทีพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบกองทุนฯ และพี่เลี้ยงกองทุนฯ 3 ครั้งๆ ละ 3 กองทุนฯ โดยแต่ละครั้งจะจัดให้มีกองทุนฯ แต่ละระดับร่วมอยู่ในเวทีเดียวกันเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ก่อให้เกิดการเรียนรู้ประสบการณ์ระหว่างกองทุนฯ และสามารถเชื่อมโยงเป็นเครือข่าย

 

3. กลไก (2) ใช้กรอบ ปัจจัยกำหนดสุขภาพ) การบูรณาการกลไกบริหารจัดการและการดำเนินงานโครงการสร้างเสริมสุขภาวะ
  1. กลไกบูรณาการดําเนินงานสร้างเสริมสุขภาวะในพื้นที่ตำบลคีรีรัฐนิคม   โครงสร้างกลไกบูรณาการการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาวะอำเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นกลไกที่เกิดจากการบูรณาการขององค์กรที่ทำภารกิจสร้างเสริมสุขภาวะในพื้นที่ ได้แก่ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) โดย สำนักงานหลักประกันสุขภาพ เขต 11 สุราษาฎร์ธานี กระทรวงสาธารณะสุข โดย คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) และ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กับ กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ ในเขตอำเภอคีรีรัฐนิคม จำนวน 9 กองทุน ดังรายละเอียดต่อไปนี้   ทีมผู้ประสานงานระดับสุขภาพที่ 11 ทีมประสานงานระดับเขตประกอบด้วยผู้รับผิดชอบหลักระดับเขต และตัวแทนพี่เลี้ยงจากจังหวัดในเขต 11 มีบทบาทหน้าที่หลัก 2 ประการ ได้แก่ 1) ร่วมกับสถาบันนโยบายสาธารณะ ม.อ. ในการพัฒนาศักยภาพทีมระดับพื้นที่ให้สามารถเป็นพี่เลี้ยง coaching การจัดทําแผน พัฒนาข้อเสนอโครงการสร้างเสริมสุขภาวะและติดตามประเมินผลโครงการของกองทุน ฯ ให้มีคุณภาพ สอดคล้องกับนโยบายการสร้างเสริมสุขภาพของประเทศไทย ตามบริบทของพื้นที่ 2) ติดตาม ประเมินผล ให้คําปรึกษา แนะนําการทํางานของทีมระดับพื้นที่เป็นระยะ ๆ อย่างต่อเนื่องจนสิ้นสุดการดําเนินโครงการ   คณะทำงานสร้างเสริมสุขภาวะระดับจังหวัดสุราษฎร์ธานี คณะทำงานสร้างเสริมสุขภาวะระดับจังหวัด มีจำนวน 5 คน ประกอบด้วย 1) ตัวแทนจากหน่วยงานสาธารณะสุข 2) ตัวแทนจากท้องถิ่น 3) ตัวแทนปลัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 4) ตัวแทนจากศูนย์ประสานงานการพัฒนาสังคมจังหวัดสุราษฎร์ธานี และ 5) ตัวแทนจากศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภคจังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยคณะทำงานระดับจังหวัด มีหน้าที่ได้แก่ 1) พัฒนาศักยภาพคณะกรรมการกองทุนฯ ในการจัดทําแผน วิเคราะห์ ข้อเสนอโครงการสร้างเสริมสุขภาวะ และติดตาม ประเมินผลโครงการของกองทุนฯ ให้มีคุณภาพ สอดคล้องกับนโยบายการสร้างเสริมสุขภาพของประเทศไทย ตามบริบทของพื้นที่ และ 2) พัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ ในการพัฒนาข้อเสนอโครงการสร้างเสริมสุขภาวะ และติดตามประเมินผลโครงการให้มีคุณภาพ สอดคล้องกับนโยบายการสร้างเสริมสุขภาพของประเทศไทย ตามบริบทของพื้นที่ 3) ติดตาม ประเมินผล ให้คําปรึกษา แนะนําการดําเนินงานของโครงการในพื้นที่เป็นระยะ และต่อเนื่องโดยทํางานประสานกับทีมระดับเขต จนสิ้นสุดการดําเนินโครงการ
      คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) คีรีรัฐนิคม คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) เป็นกลไกที่ถูกกำหนดขึ้นเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตในภาพรวมระดับอำเภอ โดยมีนายอำเภอเป็นประธาน และมีสาธารณสุขอำเภอเป็นเลขานุการ โดยตำแหน่ง สำหรับ พชอ. คีรีรัฐนิคม ภายใต้โครงการบูรณาการฯ พชอ. มีบทบาทหน้าที่ในการเชื่อมประสานระหว่างคณะทำงานสร้างเสริมสุขภาวะระดับจังหวัด กับกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่
      คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับตำบล (พชต.) เป็นกลไกที่คล้ายกับ พชอ. ถูกกำหนดขึ้นเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตในภาพรวมระดับตำบล โดยมีกำนัน หรือนายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่เป็นประธาน และมี ผอ.รพ.สต. ในพื้นที่เป็นเลขานุการ สำหรับ พชต. ในเขต อำเภอคีรีรัฐนิคม มีจำนวน 8 พชต. ได้แก่ 1) พชต.บ้านยาง 2) พชต.น้ำหัก 3) พชต.กะเปา 4) พชต.ท่าขนอน 5) พชต.ท่ากระดาน 6) พชต.ย่านยาว 7) พชต.ถ้ำสิงขร และ 8) พชต.บ้านทำเนียบ มีบทบาทหน้าที่ในการเชื่อมประสานระหว่าง พชอ. กับกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ มีหน้าที่นำประเด็นจาก พชอ. มาขับเคลื่อนในระดับตำบล และผลักดันโครงการที่เข้าหลักเกณฑ์สู่กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่     กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ กองทุนฯ เกิดจากความร่วมมือระหว่าง สปสช. และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยมีนายกขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นประธาน และมีปลัดขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นเป็นเลขานุการ สำหรับ พชต. ในเขตอำเภอคีรีรัฐนิคม มีจำนวน 9 กองทุนฯ ประกอบด้วย 1) กองทุนฯ บ้านยาง 2) กองทุนฯ น้ำหัก  3) กองทุนฯ กะเปา 4) กองทุนฯ ท่าขนอน 5) กองทุนฯ ท่ากระดาน 6) กองทุนฯ ย่านยาว 7) กองทุนฯ ถ้ำสิงขร 8) กองทุนฯ และ 9) กองทุนเทศบาลตำบลท่าขนอน โดยกองทุนฯ มีบทบาทหน้าที่ในการพิจารณาโครงการจากผู้รับผิดชอบโครงการในเขตพื้นที่ของตน   ผู้รับผิดชอบโครงการ หมายถึง ผู้เขียนโครงการเสนอเพื่อขอรับงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่   คณะกรรมการกลั่นกรองโครงการ มีบทบาทในการพิจารณาโครงการก่อนเข้าสู่คณะกรรมการกองทุนฯ และมีบทบาทพัฒนาคุณภาพโครงการให้ถูกต้องตามระเบียบกองทุนฯ นอกจากนี้คณะกรรมการกลั่นกรองยังทำหน้าที่ Empowerment ผู้รับผิดชอบโครงการ และพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ   คณะกรรมการติดตามประเมินผลโครงการ มีบทบาทในการพิจารณาติดตามหนุนเสริมโครงการที่ได้รับอนุมัติแล้ว เพื่อให้สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์โครงการ และคอยสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับโครงการ เพื่อให้สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
      หน่วยจัดการสร้างเสริมสุขภาพจังหวัดสุราษฎร์ธานี (Node จังหวัด) มีบทบาทในการพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ ให้มีความรู้และประสบการณ์ในการขับเคลื่อนโครงการสร้างเสริมสุขภาพในพื้นที่ เป็นการเตรียมความพร้อมให้กับประชาชนก่อนเขียนโครงการของบประมาณจากกองทุนฯ
      ผลการประเมินกลไกบูรณาการพื้นที่ พชอ.คีรีรัฐนิคม พบว่า ยังมีช่องว่างในการประสานงานระหว่างผู้ประสานงานเขตกับพี่เลี้ยงพื้นที่ ส่งผลกระทบต่อการดำเนินการกิจกรรมสำคัญ เช่น เรื่องการใช้ประโยชน์จากคู่มือ การใช้ประโยชน์จาก website เป็นต้น นอกจากนี้ยังพบว่าในระดับนโยบายของหน่วยงานในระดับเขต 11 ยังไม่ค่อยเข้าใจกระบวนการดำเนินงานของกลไกที่จัดตั้งขึ้น มองว่าเป็นเรื่องซ้ำซ้อนกับระบบเก่าที่ทำอยู่แล้ว ทีมประเมินร่วมกับผู้ประสานงานเขต เห็นพ้องต้องกันว่าควรมีการสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนเห็นประโยชน์และความสำคัญของกลไกดังกล่าว   จุดเด่นของกลไก พื้นที่คีรีรัฐนิคม ได้แก่ คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับตำบล (พชต.) ที่มีบทบาทสำคัญในการเชื่อมประสานการทำงานระหว่าง พชอ. กับ กองทุนฯ ได้เป็นอย่างดี เนื่องจากมีผู้นำที่มาจากทั้งท้องที่และท้องถิ่น ได้แก่ ผู้บริหารท้องถิ่น และ กำนัน จึงเป็นช่องทางสำคัญที่ทำให้สามารถนำประเด็นที่เป็นประเด็นของ พชอ. ลงมาขับเคลื่อนในระดับท้องถิ่นได้เป็นอย่างดี   นอกจากนี้ยังมี กลไกคณะกรรมการกลั่นกรองโครงการ ที่ถูกจัดตั้งให้มีในทุกกองทุนฯ ของอำเภอคีรีรัฐนิคม มีบทบาทในการพิจารณาโครงการก่อนเข้าสู่คณะกรรมการกองทุนฯ และมีบทบาทพัฒนาคุณภาพโครงการให้ถูกต้องตามระเบียบกองทุนฯ ทำหน้าที่ Empowerment ผู้รับผิดชอบโครงการ และพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ กลไกนี้สามารถช่วยแก้ไขปัญหาคุณภาพของโครงการก่อนเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการกองทุนฯ เป็นการลดภาระของคณะกรรมการกองทุนฯ และช่วยพัฒนาศักยภาพของผู้รับผิดชอบกองทุนฯ ได้เป็นอย่างดี   กลไกสำคัญอีกกลไกที่มีในทุกกองทุน ได้แก่ คณะกรรมการติดตามประเมินผลโครงการ มีบทบาทในการพิจารณาติดตามหนุนเสริมโครงการที่ได้รับอนุมัติแล้ว เพื่อให้สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์โครงการ และคอยสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับโครงการ เพื่อให้สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ กลไกดังกล่าวถูกจัดตั้งขึ้นเพื่อแก้ปัญหาประสิทธิภาพในการขับเคลื่อนโครงการเพื่อการบรรลุผลลัพธ์ของโครงการ

 

4. สภาพแวดล้อม (2) ใช้กรอบ ปัจจัยกำหนดสุขภาพ) ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ

1) เวปไซด์การบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับพื้นที่ เวปไซด์การบริการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ( https://localfund.happynetwork.org) ได้ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อช่วยในการพัฒนาโครงการและติดตามผล โดยเมนูที่สำคัญประกอบด้วย รายละเอียดของทุนของผู้ใช้งาน โครงการ การเขียนโครงการ แผนงานกองทุน แผนที่กองทุน ห้องประชุมออนไลน์ คู่มือแบบฟอร์มกองทุน การส่งรายงานพี่เลี้ยงโรงการบูรณาการขับเคลื่อนสร้างเสริมสุขภาวะ 12 เขต แผนงาน-โครงการเด่น และรายงานสรุปสถานการณ์ จำแนกตามแผนงาน

2) คู่มือกองทุนตำบล โปรแกรมได้รวบรวมคู่มือที่จำเป็นในการดำเนินงานกองทุนตำบลพร้อมตัวอย่างประกอบซึ่งมีประโยชน์มากทั้งต่อผู้เริ่มต้นเข้ามารับผิดชอบโครงการ และผู้ที่เคยมีประสบการณ์ในการบริหารกองทุนตำบลให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ตัวอย่างคู่มือ ได้แก่ คู่มือการดำเนินงานพื้นที่ต้นแบบและศูนย์เด็กเล็กและNCD คู่มือปฏิบัติงานกองทุนหลักประกันสุขภาพ คู่มือการใช้แอพลิเคชั่น Zoom คู่มือการใช้งานเว็บไซต์กองทุนสุขภาพตำบล ปี61 เป็นต้น ตลอดจนรวบรวมแบบฟอร์ม และเอกสารต่างๆ

3) โปรแกรมเอื้อต่อการเขียนโครงการเพื่อขอสนับสนุนทุน   โปรแกรมมีเมนูเขียนโครงการเพื่อขอรับทุนมีรายละเอียดแบบฟอร์มการขอรับทุนให้ผู้ใช้งานกรอก ประกอบด้วยชื่อโครงการ/กิจกรรม 2.ความสอดคล้องกับแผนงาน (มีให้เลือก 17 แผนงาน) 3.สถานการณ์พร้อมแสดงตัวอย่างสถานการณ์ในทุกแผนงาน 4.วัตถุปะสงค์และตัวชี้วัด 5.กลุ่มเป้าหมาย 6.ระยะเวลาดำเนินการ 7.วิธีดำเนินการงบประมาณ 8.ผลที่คาดหวัง เมื่อทำการบันทึกโครงการเรียบร้อยแล้ว สามารถส่งเสนอกองทุนในแต่ละที่ได้โดยตรงทางระบบ online

4) โปรแกรมเอื้อต่อการติดตามและประเมินผล ทุกโครงการที่ได้ลงข้อมูลในระบบทำให้สามารถเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในแต่ละโครงการ นอกจากนี้การรายงานผลสามารถรายงานผลการดำเนินการจำแนกตามแผน ประจำปี สรุปงบประมาณ และผลการดำเนินงานในแต่ละแผนงานหรือตัววัดได้ ทั้งในภาพรวมของประเทศ เขตสุขภาพ จังหวัด อำเภอ และกองทุนได้ อย่างไรก็ตามจากรายงานโปรแกรมแสดงให้เห็นว่ามีการใช้มากในเขตสุขภาพที่ 12 ในขณะที่เขตสุขภาพอื่นๆมีการลงรายละเอียดข้อมูลโครงการน้อย และบางโครงการเป็นเพียงการกรอกข้อมูลเพื่อทดสอบระบบ สอดคล้องกับการใช้งานของผู้รับผิดชอบโครงการกองทุนในอำเภอคีรีรัฐ ซึ่งไม่มีการกรอกข้อมูลการดำเนินโครงการลงในระบบเนื่องจากโดยให้ข้อคิดเห็นว่าการใช้งานโปรแกรมมีความซับซ้อน ตัวอย่างสถานการณ์แสดงเพียงตัวอย่างสถาการณ์แต่ขาดขนาดของข้อมูลในประเทศ หรือระดับภาค ขาดรายละเอียดตัวชี้วัดและแม่แบบการดำเนินโครงการในแบบฟอร์ม โปรแกรมนี้ทำให้ภาระงานที่เพิ่มขึ้นเพราะต้องกรอกข้อมูลอย่างละเอียด และยังคงต้องกรอกข้อมูลลงโปรแกรมของ สปสช. มีผลต่อการได้รับเงินสนับสนุนโครงการ

 

5. สภาพแวดล้อม (2) ใช้กรอบ ปัจจัยกำหนดสุขภาพ) วิธีการขับเคลื่อนนโยบาย

ผลการประเมิน พบว่า นโยบายในระดับเขต 11 ยังไม่ค่อยเอื้อต่อการขับเคลื่อนงานของกลไกบูรณาการ ผู้มีอำนาจในระดับนโยบายยังไม่ค่อยเข้าใจกระบวนการดำเนินงานของกลไกที่จัดตั้งขึ้น มองว่าเป็นเรื่องซ้ำซ้อนกับกลไกที่มีอยู่แล้ว ทีมประเมินร่วมกับผู้ประสานงานเขต เห็นพ้องต้องกันว่าควรมีการสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนเห็นประโยชน์และความสำคัญของกลไกบูรณาการ

 

5) อื่นๆ
check_circle

ข้อเสนอแนะ

  1. ควรมีการบูรณาการระหว่างโปรแกรมบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพ ( https://localfund.happynetwork.org) กับโปแกรมของสปสช. (https://www.nhso.go.th/)เนื่องจากทั้งสองโปรแกรมมีข้อดีและสามารถช่วยในการเขียนโครงการ ประเมินผล และรายงานผล เพื่อลดความซับซ้อนของการกรอกข้อมูลเอื้อต่อผู้ปฏิบัติงาน

  2. การส่งเสริมการใช้โดยนโยบายสั่งการ (Top down) และมีกลยุทธผู้ใช้เห็นความสำคัญและคุณค่าของโปรแกรม

  3. ปจจัยความสำเร็จของคีรีรัฐนิคมอื่นๆ ได้แก่

-โครงการทำให้เกิดการบูรณาการแผนงานทุกระดับในทั้งเชิงนโยบายและการปฏิบัติงาน
-ผู้มีส่วนได้เสีย (Stakeholders) เข้าใจโครงการและขอบเขตการประเมิน มีจุดหมายเดียวกัน -โครงการเกิดจากการร่วมพิจารณา และสะท้อนปัญหาจากพื้นที่ (Bottom Up) -อนุกรรมการกลั่นกรองฯ และ อนุกรรมการติดตามประเมินผล มีส่วนสำคัญในการพัฒนาโครงการ ทำให้โครงการมีคุณภาพ
-ผู้รับผิดชอบโครงการมีพัฒนาการที่ดีขึ้นในการจัดทำโครงการ -มีการบูรณาการแผนงานของ พชอ. และ พชต. กับ แผนงานของกองทุนฯ -ผู้ประสานงานระดับอำเภอมีศักยภาพในการประสานงานและเสริมพลัง


4. ควรมีการพัฒนาเครื่องมือเพื่อประเมินคุณภาพโครงการ

5.การกำหนดมิติสุขภาพเป็นเหนึ่งในตัวชี้วีดความสำเร็จของโครงการ

6.รูปแบบการประเมินโดยใช้ HIA มีส่วนสำคัญในการให้เกิดการเข้าใจร่วมกันในการดำเนินโครงการบูรณาการ การพัฒนาโครงการ ข้อเสนอแนะเป็นหลักฐานสำคัญที่สะท้อนความคิดเห็นและผลการประเมินจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย

4. ทบทวนรายงานการประเมินว่าถูกต้องหรือไม่?

check_circle

ผลการประเมินอย่างละเอียดตามขั้นตอนที่ 1-3 นำเสนอผู้มีส่วนได้เสียเพื่อพิจารณาความถูกต้องก่อนการประชุมอย่างน้อย 1 สัปดาห์ จากนั้นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้าร่วมทบทวนรายงานผลการศึกษาร่วมกันโดยมีผู้รับผิดชอบโครงการเข้าร่วมการทบทวนร่างรายงานผลการประเมิน ลงมติสรุปผลการประเมินและข้อคิดเห็นในการพัฒนาโครงการต่อไป

1) กระบวนการในการทบทวนรายงาน
check_circle

1.จัดเวที่ทบทวนรายงานรายงานในประเด็นความถูกต้องและความคลอบคลุมของรายงาน
2.ร่วมระดมความคิดเห็นและข้อเสนอแนะการพัฒนาโครงการบูรณาการกลไก

2) ผู้มีส่วนร่วมในการทบทวนรายงาน
check_circle

ผู้ประสานงานระดับเขต ผู้ประสานงานจังหวัด พี่เลี้ยงกองทุน พชอ. ผู้รับผิดชอบกองทุน ผู้รับผิดชอบโครงการ

3) ผลการทบทวนร่างรายงาน

 

4) สรุปผลการประเมินสำคัญที่นำเข้าเวทีการทบทวน
check_circle
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดสรุปผลการประเมินหมายเหตุ
1. คน (2) ใช้กรอบ ปัจจัยกำหนดสุขภาพ) ศักยภาพของทีมประสานงานระดับเขตและพี่เลี้ยงกองทุนฯ

 

 

2. คน (2) ใช้กรอบ ปัจจัยกำหนดสุขภาพ) ศักยภาพของผู้รับผิดชอบกองทุนฯ และผู้รับผิดชอบโครงการ

 

 

3. กลไก (2) ใช้กรอบ ปัจจัยกำหนดสุขภาพ) การบูรณาการกลไกบริหารจัดการและการดำเนินงานโครงการสร้างเสริมสุขภาวะ

 

 

4. สภาพแวดล้อม (2) ใช้กรอบ ปัจจัยกำหนดสุขภาพ) ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ

1) เวปไซด์การบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับพื้นที่
เวปไซด์การบริการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ( https://localfund.happynetwork.org) ได้ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อช่วยในการพัฒนาโครงการและติดตามผล โดยเมนูที่สำคัญประกอบด้วย รายละเอียดของทุนของผู้ใช้งาน โครงการ การเขียนโครงการ แผนงานกองทุน แผนที่กองทุน ห้องประชุมออนไลน์ คู่มือแบบฟอร์มกองทุน การส่งรายงานพี่เลี้ยงโรงการบูรณาการขับเคลื่อนสร้างเสริมสุขภาวะ 12 เขต แผนงาน-โครงการเด่น และรายงานสรุปสถานการณ์ จำแนกตามแผนงาน

2) คู่มือกองทุนตำบล
โปรแกรมได้รวบรวมคู่มือที่จำเป็นในการดำเนินงานกองทุนตำบลพร้อมตัวอย่างประกอบซึ่งมีประโยชน์มากทั้งต่อผู้เริ่มต้นเข้ามารับผิดชอบโครงการ และผู้ที่เคยมีประสบการณ์ในการบริหารกองทุนตำบลให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ตัวอย่างคู่มือ ได้แก่ คู่มือการดำเนินงานพื้นที่ต้นแบบและศูนย์เด็กเล็กและNCD คู่มือปฏิบัติงานกองทุนหลักประกันสุขภาพ คู่มือการใช้แอพลิเคชั่น Zoom คู่มือการใช้งานเว็บไซต์กองทุนสุขภาพตำบล ปี61 เป็นต้น ตลอดจนรวบรวมแบบฟอร์ม และเอกสารต่างๆ

3) โปรแกรมเอื้อต่อการเขียนโครงการเพื่อขอสนับสนุนทุน
โปรแกรมมีเมนูเขียนโครงการเพื่อขอรับทุนมีรายละเอียดแบบฟอร์มการขอรับทุนให้ผู้ใช้งานกรอก ประกอบด้วยชื่อโครงการ/กิจกรรม 2.ความสอดคล้องกับแผนงาน (มีให้เลือก 17 แผนงาน) 3.สถานการณ์พร้อมแสดงตัวอย่างสถานการณ์ในทุกแผนงาน 4.วัตถุปะสงค์และตัวชี้วัด 5.กลุ่มเป้าหมาย 6.ระยะเวลาดำเนินการ 7.วิธีดำเนินการงบประมาณ 8.ผลที่คาดหวัง เมื่อทำการบันทึกโครงการเรียบร้อยแล้ว สามารถส่งเสนอกองทุนในแต่ละที่ได้โดยตรงทางระบบ online

4) โปรแกรมเอื้อต่อการติดตามและประเมินผล ทุกโครงการที่ได้ลงข้อมูลในระบบทำให้สามารถเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในแต่ละโครงการ นอกจากนี้การรายงานผลสามารถรายงานผลการดำเนินการจำแนกตามแผน ประจำปี สรุปงบประมาณ และผลการดำเนินงานในแต่ละแผนงานหรือตัววัดได้ ทั้งในภาพรวมของประเทศ เขตสุขภาพ จังหวัด อำเภอ และกองทุนได้


  ........ อย่างไรก็ตามจากรายงานโปรแกรมแสดงให้เห็นว่ามีการใช้มากในเขตสุขภาพที่ 12 ในขณะที่เขตสุขภาพอื่นๆมีการลงรายละเอียดข้อมูลโครงการน้อย และบางโครงการเป็นเพียงการกรอกข้อมูลเพื่อทดสอบระบบ สอดคล้องกับการใช้งานของผู้รับผิดชอบโครงการกองทุนในอำเภอคีรีรัฐ ซึ่งไม่มีการกรอกข้อมูลการดำเนินโครงการลงในระบบเนื่องจากโดยให้ข้อคิดเห็นว่าการใช้งานโปรแกรมมีความซับซ้อน ตัวอย่างสถานการณ์แสดงเพียงตัวอย่างสถาการณ์แต่ขาดขนาดของข้อมูลในประเทศ หรือระดับภาค ขาดรายละเอียดตัวชี้วัดและแม่แบบการดำเนินโครงการในแบบฟอร์ม โปรแกรมนี้ทำให้ภาระงานที่เพิ่มขึ้นเพราะต้องกรอกข้อมูลอย่างละเอียด และยังคงต้องกรอกข้อมูลลงโปรแกรมของ สปสช. มีผลต่อการได้รับเงินสนับสนุนโครงการ

 

5. สภาพแวดล้อม (2) ใช้กรอบ ปัจจัยกำหนดสุขภาพ) วิธีการขับเคลื่อนนโยบาย

 

 

5) อื่นๆ
check_circle

ข้อเสนอแนะ

1.ควรมีการบูรณาการระหว่างโปรแกรมบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพ ( https://localfund.happynetwork.org) กับโปแกรมของสปสช. (https://www.nhso.go.th/)เนื่องจากทั้งสองโปรแกรมมีข้อดีและสามารถช่วยในการเขียนโครงการ ประเมินผล และรายงานผล เพื่อลดความซับซ้อนของการกรอกข้อมูลเอื้อต่อผู้ปฏิบัติงาน

2.การส่งเสริมการใช้โดยนโยบายสั่งการ (Top down) และมีกลยุทธผู้ใช้เห็นความสำคัญและคุณค่าของโปรแกรม

3.ปัจจัยความสำเร็จของคีรีรัฐนิคมอื่นๆ ได้แก่

-โครงการทำให้เกิดการบูรณาการแผนงานทุกระดับในทั้งเชิงนโยบายและการปฏิบัติงาน -ผู้มีส่วนได้เสีย (Stakeholders) เข้าใจโครงการและขอบเขตการประเมิน มีจุดหมายเดียวกัน -โครงการเกิดจากการร่วมพิจารณา และสะท้อนปัญหาจากพื้นที่ (Bottom Up) -อนุกรรมการกลั่นกรองฯ และ อนุกรรมการติดตามประเมินผล มีส่วนสำคัญในการพัฒนาโครงการ ทำให้โครงการมีคุณภาพ -ผู้รับผิดชอบโครงการมีพัฒนาการที่ดีขึ้นในการจัดทำโครงการ -มีการบูรณาการแผนงานของ พชอ. และ พชต. กับ แผนงานของกองทุนฯ -ผู้ประสานงานระดับอำเภอมีศักยภาพในการประสานงานและเสริมพลัง


4. ควรมีการพัฒนาเครื่องมือเพื่อประเมินคุณภาพโครงการ

5.การกำหนดมิติสุขภาพเป็นเหนึ่งในตัวชี้วีดความสำเร็จของโครงการ

6.รูปแบบการประเมินโดยใช้ HIA มีส่วนสำคัญในการให้เกิดการเข้าใจร่วมกันในการดำเนินโครงการบูรณาการ การพัฒนาโครงการ ข้อเสนอแนะเป็นหลักฐานสำคัญที่สะท้อนความคิดเห็นและผลการประเมินจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย

5. การปรับปรุงทบทวนโครงการ

check_circle

 

1) ข้อเสนอเพื่อการทบทวนโครงการ
check_circle

 

2) อื่นๆ

 

6. ได้มีการปรับปรุงทบทวนโครงการตามข้อ 5 หรือไม่?

check_circle

 

1) กลไกในการติดตามการปรับปรุงโครงการตามข้อเสนอแนะ

 

2) วิธีการติดตาม การปรับปรุงโครงการตามข้อเสนอแนะ

 

3) อื่นๆ

 

สรุป

อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ

กลไกการดําเนินงานสร้างเสริมสุขภาวะด้วยกระบวนการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ (HIA) ภายใต้กรอบแนวคิดปัจจัยกำหนดสุขภาพ (SDH) มีผลต่อการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะและพัฒนากลไกสุขภาวะระดับพื้นที่ อำเภอคีรีรัฐนิคม ประสบความสำเร็จ ด้วยปัจจัยความสำเร็จ ดังนี้

1) ปัจจัยที่หนึ่ง ปัจจัยของ “คน”
จากการพัฒนาศักยภาพของทีมประสานงานระดับเขตและพี่เลี้ยงกองทุนฯ องค์ประกอบของความสำเร็จของโครงการฯ เนื่องจาก (1) องค์ความรู้และความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ของตนเอง (2) ความสามารถและทักษะในการประสานงาน (3) ศักยภาพในการจัดทำแผนงาน โครงการ และการติดตามประเมินผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการกองทุนเป็นอย่างดี (4) การทราบถึงบทบาทหน้าที่ที่ถูกกำหนดที่มีความชัดเจน ซึ่งเป็นปัจจัยนำเข้าที่สำคัญต่อกลไกบูรณาการโครงการฯ ดังนั้นปัจจัยเรื่องของคนโดยเฉพาะศักยภาพ และทักษะความสามารถ ส่งผลต่อการปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ของบุคคล (Role Performance) เป็นบทบาทของสถานภาพที่แสดงออกจริง (Actual Role) การที่บุคคลใดจะปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ที่ได้ดีเพียงใดนั้น ขึ้นอยู่กับระดับของการยอมรับบทบาทนั้นๆของบุคคลที่ได้ครองตำแหน่งนั้นอยู่ ทั้งนี้เกี่ยวข้องกับหลายปัจจัย ทั้งเรื่องของความเชื่อ ค่านิยม การอบรม กำลังใจ มูลเหตุจูงใจ ข้อผูกพัน ความพอใจในสิทธิหน้าที่ของจิตใจ และร่างกายของแต่ละบุคคล (นิสากร กรุงไกรเพชร และคณะ, 2560) ขณะเดียวกันการดำเนินการเพื่อมุ่งเน้นการขับเคลื่อนการสร้างเสริมสุขภาวะทุกประเด็นเป็นเรื่องที่ท้าทายของพื้นที่อำเภอคีรีรัฐนิคม ซึ่งจะต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วนในพื้นที่เพื่อการขับเคลื่อนประเด็นเฉพาะของแต่ละพื้นที่ เช่น 1) เทศบาลตำบลท่าขนอน มีการขับเคลื่อนประเด็นพืชผักปลอดภัย 2) องค์การบริหารส่วนตำบลท่าขนอน มีการขับเคลื่อนประเด็นผู้สูงอายุ 3) องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านยาง มีการขับเคลื่อนประเด็นการคุ้มครองผู้บริโภค และ 4) องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านทำเนียบ มีการขับเคลื่อนประเด็นผู้ป่วยจิตเวช (การดูแลผู้ป่วยจิตเวช) ให้สามารถขยายประเด็นการทำงานให้ครอบคลุมมากขึ้น (สุริยา น้ำขาว (การสัมภาษณ์),2563)รวมไปถึงผลการดำเนินการกองทุนต่างๆมีการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์และความเป็นผู้นำที่มีจริยธรรมช่วยจัดการกับความกดดันและข้อขัดแย้ง และช่วยปกป้องประโยชน์ของสมาชิกในสิทธิประกันสุขภาพแห่งชาติเป็นอย่างดี ซึ่งทำให้การจัดทำแผนมีความครอบคลุมสามารถแก้ปัญหาตามความต้องการของพื้นที่ได้อย่างเป็นองค์รวมทั้งด้านสุขภาพ ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน โดยกองทุนสุขภาพเป็นแหล่งสนับสนุนทุกกลุ่มวัยได้รับการดูแลทำให้เกิดการมีส่วนร่วมอย่างมีกฎ กติกา ประชาชนถือปฏิบัติเกิดการเรียนรู้รักสามัคคี นำความสุขสงบมาสู่คนในชุมชน เกิดกลไกการคุ้มครองสิทธิของประชาชนในชุมชน และในขณะเดียวกันก็เกิดพลังขับเคลื่อนในพื้นที่ มีกลไกบูรณาการระหว่างรัฐ ท้องถิ่น ประชาชนในระดับท้องถิ่น ประชาชนสามารถพึ่งตนเองได้

2) ปัจจัยที่สอง ปัจจัยของ “กลไก”
กลไกบูรณาการดําเนินงานสร้างเสริมสุขภาวะในพื้นที่อำเภอคีรีรัฐนิคม โครงสร้างกลไกบูรณาการการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาวะอำเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นกลไกที่เกิดจากการบูรณาการขององค์กรที่ทำภารกิจสร้างเสริมสุขภาวะเกิดการพัฒนาศักยภาพทีมระดับพื้นที่ให้สามารถเป็นพี่เลี้ยง coaching การจัดทําแผน พัฒนาข้อเสนอโครงการสร้างเสริมสุขภาวะและติดตามประเมินผลโครงการของกองทุน ฯ ให้มีคุณภาพ เกิดการลดช่องว่างในการประสานงานระหว่างผู้ประสานงานเขตกับพี่เลี้ยงพื้นที่ทำให้เกิดการทำงานบูรณาการได้อย่างเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ส่งผลกระทบต่อการดำเนินการกิจกรรมสำคัญ เช่น เรื่องการใช้ประโยชน์จากคู่มือ การใช้ประโยชน์จากเว็บไซต์ เป็นต้น นอกจากนี้ยังพบว่าในระดับนโยบายของหน่วยงานในระดับเขต 11 ยังไม่ค่อยเข้าใจกระบวนการดำเนินงานของกลไกที่จัดตั้งขึ้น มองว่าเป็นเรื่องซ้ำซ้อนกับระบบเก่าที่ทำอยู่แล้ว ทีมประเมินร่วมกับผู้ประสานงานเขต เห็นพ้องต้องกันว่าควรมีการสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนเห็นประโยชน์และความสำคัญของกลไกดังกล่าว ซึ่งปัจจัยที่นำไปสู่ความสำเร็จที่สำคัญ คือ “กลไกพชต.” ของพื้นที่คีรีรัฐนิคม คือ การที่พชต. มีบทบาทสำคัญในการเชื่อมประสานการทำงานระหว่าง พชอ. กับ กองทุนฯ ได้เป็นอย่างดี เนื่องจากมีผู้นำที่มาจากทั้งท้องที่และท้องถิ่น ได้แก่ ผู้บริหารท้องถิ่น และ กำนัน ซึ่งนับเป็นช่องทางสำคัญที่ทำให้สามารถนำประเด็นที่เป็นประเด็นของ พชอ. ลงมาขับเคลื่อนในระดับท้องถิ่นได้เป็นอย่างดี สอดคล้องกับ วาสนา ลุนสำโรง (2555) บทบาทของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการเข้าร่วมและให้ความเห็นในเวที Public Scoping และ Public Review ให้ข้อมูลสอดคล้องกับข้อเท็จจริง ถึงความพร้อมในการให้บริการ ศักยภาพ และความพร้อมในการรองรับ ของ อปท. หรือการให้ข้อมูลเฉพาะของพื้นที่ เช่น ปัญหาที่มีอยู่เดิม และอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการติดตามเฝ้าระวังผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน ซึ่งแต่ละกองทุนของอำเภอคีรีรัฐนิคม มีรองนายก ปลัดเทศบาล ฯลฯ เป็นผู้ผลักดันการดำเนินโครงการภายใต้กองทุนฯเกือบทั้งสิ้น นอกจากนี้ยังมี “กลไกคณะกรรมการกลั่นกรองโครงการ” ที่ถูกจัดตั้งให้มีในทุกกองทุนฯของอำเภอคีรีรัฐนิคม มีบทบาทในการพิจารณาโครงการก่อนเข้าสู่คณะกรรมการกองทุนฯ และมีบทบาทพัฒนาคุณภาพโครงการให้ถูกต้องตามระเบียบกองทุนฯ ซึ่งถือว่าทำหน้าที่ในการ “เสริมพลังอำนาจ” (Empowerment) ต่อผู้รับผิดชอบโครงการ พร้อมทั้งพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ ซึ่งกลไกนี้สามารถช่วยแก้ไขปัญหาคุณภาพของโครงการก่อนเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการกองทุนฯ เป็นการลดภาระของคณะกรรมการกองทุนฯ และช่วยพัฒนาศักยภาพของผู้รับผิดชอบกองทุนฯ ได้เป็นอย่างดี กลไกสำคัญอีกกลไกที่มีในทุกกองทุน คือ “กลไกคณะกรรมการติดตามประเมินผลโครงการ” มีบทบาทในการพิจารณาติดตามหนุนเสริมโครงการที่ได้รับอนุมัติแล้ว เพื่อให้สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับ จักรวาล สุขไมตรี (2561) พบว่า การวางวัตถุประสงค์โครงการ และคอยสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับโครงการ เพื่อให้สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ กลไกดังกล่าวถูกจัดตั้งขึ้นเพื่อแก้ปัญหาประสิทธิภาพในการขับเคลื่อนโครงการเพื่อการบรรลุผลลัพธ์ของโครงการ เมื่อการประสานงาน เป็นการสร้างความร่วมมือกันในการปฏิบัติหน้าที่ของบุคลากรในองค์การ บุคลากรระหว่างหน่วยงาน โดยมีสัมพันธภาพที่ดีต่อกันในการทำงานร่วมกันมีการสื่อสาร ตระหนักในบทบาทหน้าที่ ความรับผิดชอบ สัมพันธภาพที่ดีต่อกัน เพื่อให้เป้าหมายขององค์การบรรลุตามที่กำหนดไว้สำเร็จได้

3) ปัจจัยที่ 3 ปัจจัย “สภาพแวดล้อม”
เมื่อการดำเนินโครงการกลไกบูรณาฯสามารถสำเร็จและนำไปสู่การขับเคลื่อนเชิงนโยบาย สิ่งสำคัญที่โครงการนำมาใช้ คือ 1) เว็บไซต์การบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับพื้นที่ เว็บไซต์การบริการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ( https://localfund.happynetwork.org) 2) คู่มือกองทุนตำบล 3) โปรแกรมเอื้อต่อการเขียนโครงการเพื่อขอสนับสนุนทุน และ 4) โปรแกรมเอื้อต่อการติดตามและประเมินผล อย่างไรก็ตามจากรายงานโปรแกรมแสดงให้เห็นว่ามีการใช้มากในเขตสุขภาพที่ 12 ในขณะที่เขตสุขภาพอื่นๆมีการลงรายละเอียดข้อมูลโครงการน้อย และบางโครงการเป็นเพียงการกรอกข้อมูลเพื่อทดสอบระบบ สอดคล้องกับการใช้งานของผู้รับผิดชอบโครงการกองทุนในอำเภอคีรีรัฐ ซึ่งไม่มีการกรอกข้อมูลการดำเนินโครงการลงในระบบเนื่องจากโดยให้ข้อคิดเห็นว่าการใช้งานโปรแกรมมีความซับซ้อน โปรแกรมนี้ยังทำให้ภาระงานที่เพิ่มขึ้นเพราะต้องกรอกข้อมูลอย่างละเอียด และยังคงต้องกรอกข้อมูลลงโปรแกรมของ สปสช. มีผลต่อการได้รับเงินสนับสนุนโครงการ ซึ่งขัดแย้งกับ กรมอนามัย (2554) การขับเคลื่อนเชิงนโยบายที่สำคัญอย่างหนึ่ง คือ การจัดเก็บ รวบรวม จัดหมวดหมู่ และวิเคราะห์ข้อมูลโรคที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม (Environmental related disease) สิ่งคุกคามด้านสิ่งแวดล้อม(Environmental Hazards) และการสัมผัสด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Exposures) และกระจายข้อมูลให้ผู้เกี่ยวข้องในการดำเนินการอย่างทันท่วงที สิ่งที่สามารถผลักดันให้การนำเว็บไซต์และคู่มือมาใช้ในการขับเคลื่อนและผลักดันเรื่องสุขภาวะของคนไทย โดยเฉพาะพื้นที่อำเภอคีรีรัฐนิคมต้องดำเนินการโดย

4) คุณค่าประโยชน์ของการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ (HIA) ต่อการประยุกต์ภายใต้โครงการบูรณาการกลไกฯ การประยุกต์ใช้การประเมินผลกระทบทางสุขภาพ (HIA) ในพื้นที่อำเภอคีรีรัฐนิคม จะเห็นได้ว่า HIA เป็นเสมือนเครื่องมือคุ้มครองสุขภาพของประชาชน โดยมีความเชื่อมโยงสิ่งแวดล้อมและสุขภาพเฉพาะพื้นที่ เกิดการคาดการณ์ผลกระทบต่อสมาชิกในชุมชนทุกคน หรือเฉพาะกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เน้นการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสียโดยเฉพาะภาคประชาชนเพื่อสร้างความตระหนักรู้ต่อสุขภาพ ก่อให้เกิดการขับเคลื่อนเชิงกลยุทธ์ในการดำเนินงานโดยอาศัยการกระจายอำนาจลงสู่ท้องถิ่นและเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน เอนก เหล่าธรรมทัศน์ (2557) ซึ่งการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน ด้วยการมองว่ารัฐต้องทำงานร่วมกับประชาชน (Work with) ซึ่งท้าทายกรอบเดิมที่รัฐมักจะอ้างว่าทำงานเพื่อประชาชน (Work for) รวมไปถึงตอบสนองความต้องการของพื้นที่ได้เร็วกว่าและมากกว่า จากที่ไม่ต้องผ่านหลายขั้นตอน และผู้ตัดสินใจกับผู้รับผลจากการตัดสินใจมีลักษณะร่วมกัน นับเป็นคุณค่าแท้ (Real Value) ประโยชน์ที่สำคัญมากต่อสถานการณ์ปัญหาของสุขภาพของคนไทยในปัจจุบัน ในขณะเดียวกันยังสามารถต่อยอดทางความคิดหรือขยายผลทางความรู้ที่เป็นคุณค่าแฝง (Hidden Value) ได้แก่ 1) เกิดการถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่นักศึกษาที่กำลังศึกษาการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนเพื่อส่งผลต่อการขยายความคิดเรื่องการประเมินผลกระทบทางสุขภาพมาเชื่อมโยงกับการประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม (EIA) 2) การขยายผลในการนำเครื่องมือ (HIA) และการนำเอากรอบแนวคิดปัจจัยกำหนดทางสุขภาพไปปรับใช้กับการประเมินผลโครงการอื่นๆทั้งที่เกี่ยวข้องกับประเด็นสุขภาพ หรือ โครงการอื่นๆโดยทั่วๆไป 3) การนำผลการประเมินในเรื่องของกลไกของกรอบแนวคิดปัจจัยกำหนดสุขภาพ กระบวนการประเมินผลของเครื่องมือ HIA การนำการใช้ประโยชน์ของเว็บไซต์ หรือ คู่มือของกองทุนฯก่อให้เกิดการเสริมศักยภาพของโครงการบูรณาการกลไกครอบคลุมทุกมิติโดยเฉพาะประสิทธิผลของกลไกเหล่านี้ และ 4) ความต่อเนื่องของการประยุกต์ใช้เครื่องมือ HIA ต่อยอดในโครงการที่สำคัญที่เกี่ยวข้องกับประเด็นสุขภาวะของประชาชนทั้งนี้เพราะเครื่องมือ HIA สร้างมูลค่าของการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียอย่างแท้จริง ซึ่งคุณค่าเหล่านี้สามารถแสดงได้จากการสดงความสัมพันธ์ของกลไกการบูรณาการโครงการภายใต้เครื่องมือ HIA ดังรูปภาพที่ 7


รูปที่ 7 : การประยุกต์ใช้ HIA และ SDH ภายใต้โครงการบูรณาการกลไกฯ

5) บทบาทของนักประเมินต่อการส่งเสริมกลไกบูรณาการโครงการฯด้วยรูปแบบ “การเสริมพลังอำนาจ”
บทบาทของการเป็นนักประเมินจะมุ่งเน้นการพิจารณาและวัดคุณค่าของกิจการใดๆตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ซึ่งค้นพบว่า การประเมิโดยการใช้กลไกบูรณาการขับเคลื่อนการทำงานของกองทุนสุขภาพ เพื่อกำหนดคุณค่าและความสำเร็จของโครงการด้วยการอาศัยกรอบแนวคิดของปัจจัยกำหนดสุขภาพ (SDH) และนำเอา HIA มาใช้สำหรับการประเมิน พบว่า การประเมินนั้นต้องอยู่บนพื้นฐานของหลักการและเหตุผล และนำข้อมูลที่ได้มานั้นทำการสรุปผลโครงการอันจะเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินโครงการนั้น ๆ ซึ่งการประเมินผลอาจจะดำเนินการในช่วงระหว่างดำเนินการ หรือเมื่อโครงการเสร็จสิ้นแล้วก็ได้ เพื่อตัดสินคุณค่าหรือคุณภาพของโครงการ หรือการพิจรณาและลงความเห็นว่ากิจกรรม กระบวนการต่าง ๆ ในโครงการโดยรวมดีหรือไม่ มีคุณภาพเพียงพอหรือไม่และจะนำไปใช้กับโครงการอื่น ๆ อย่างไร (พิกุล ทิตยกุล, 2552) ซึ่งการดำเนินการของทีมประเมินประกอบขึ้นจากประสบการณ์ของผู้ประเมินที่เน้นการพัฒนาศักยภาพ พัฒนาขีดความสามารถ (Empower) ของคนที่รับผิดชอบโครงการ และเน้นการพัฒนากระบวนการพัฒนาสังคม รวมไปถึงคุณค่าที่เกิดขึ้นทั้งภายในและภายนอกที่ส่งผลต่อความสำเร็จของโครงการ ซึ่ง คือ การประเมินแบบเสริมพลังอำนาจ เป็นสิ่งสำคัญมากต่อการส่งเสริมศักยภาพของผู้ถูกประเมิน สภาพแวดล้อม กลไกระบบ ผู้มีส่วนได้เสียต่างๆ สอดคล้องกับ อมาวสี อัมพันธ์ศิริรัตน์ (2560) พบว่า การประเมินแบบเสริมพลังอำนาจ มีเป้าหมายเพื่อช่วยให้โครงการ/แผนงาน มีโอกาสบรรลุผลสำเร็จ โดยการพัฒนาศักยภาพของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ให้สามารถวางแผนการลงมือปฏิบัติ และประเมินโครงการด้วยตัวเขาเอง ทั้งนี้เพื่อให้เกิดการปรับปรุงและพัฒนางานให้มีคุณภาพอย่างต่อเนื่อง เรียกว่าเป็นการประเมินตนเอง และการสะท้อนกลับอยู่ตลอดเวลา และพัฒนาไปสู่การตัดสินใจด้วยตนเอง และเกิดความรู้สึกเป็นเจ้าของโครงการ อีกทั้งผู้ประเมินเปลี่ยนบทบาทจากการประเมินแบบเดิมเป็นผู้เชี่ยวชาญมาเป็นผู้เอื้ออำนวยความสะดวก เป็นที่ปรึกษา ชี้แนะ และเป็นเพื่อนที่สำคัญไปพร้อมกันด้วย ดังนั้นเป้าหมายของการประเมินแบบเสริมพลังอำนาจ คือ การพัฒนาความสำเร็จของโครงการ ไปพร้อมกับ “การประเมินตนเอง และการสะท้อนกลับ” (Self Evaluation and Reflection) อยู่ตลอดเวลา ซึ่งผู้มีส่วนร่วมทั้งหมดหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่ายรวมทั้งลูกค้า ผู้รับบริการหรืผู้รับประโยชน์ จะต้องทำการประมินด้วยตนเอง หรือประมินงานโครงการ แผนงานของตัวเอง โดยที่ผู้ประเมินเป็นผู้อำนวยความสะดวก ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับศักยภาพ สมรรถนะ ทักษะ หรือความสามารถภายในของทีมงานในระดับต่าง ๆ ของแผนงานเองว่าเป็นอย่างไร ด้วยเหตุนี้การประเมินแนวใหม่ในรูปแบบการประเมิน “แบบเสริมพลังอำนาจ” นี้จึงเป็น “กิจกรรมแห่งความร่วมมือร่วมใจของหลาย ๆ ฝ่าย" (Collaborative Activity) ไม่ใช่เป็นเรื่องของใครเพียงคนใดคนหนึ่ง หรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเท่านั้น” (Fetterman, 2001) จากความสำคัญของการประเมินแบบเสริมพลังอำนาจส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพอย่างมีระบบ และต่อเนื่องและสามาถนำไปประยุกต์ใช้กับการดำเนินโครงการและวิจัยในประเด็นต่าง ๆ ทั้งด้านสาธารณสุขและการศึกษ เพื่อให้เกิดความยั่งยืนของกระบวนการแก้ปัญหาในทุกๆด้าน เห็นได้จากการดําเนินงานสร้างเสริมสุขภาวะด้วยการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ (HIA) ภายใต้กรอบแนวคิดปัจจัยกำหนดสุขภาพ (SDH) มีผลต่อการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะและพัฒนากลไกสุขภาวะระดับพื้นที่ อำเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี ดังกล่าวนี้ ข้อเสนอแนะต่อการนำไปใช้ต่อไป การประเมินแบบเสริมพลังโดยเฉพาะผู้ประเมินกับผู้รับผิดชอบโครงการระดับกองทุนเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเกิดการพัฒนางานของตนเองอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นหากผู้บริหารองค์กรนำแนวคิดการประมินแบบเสริมพลังอำนาจมาใช้ในโครงการต่าง ๆให้กลายเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมและวิถีชีวิตในโครงการ จะส่งผลให้เกิดวงจรพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่องในองค์กร อย่างไรก็ตามการนำแนวคิดการประเมินแบบเสริมพลังมาประยุกต์ใช้กรอบแนวคิดปัจจัยกำหนดสุขภาพภายใต้การประยุกต์เครื่องมือ HIA ในงานสาธารณสุข หากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในชุมชนรู้สึกเป็นเจ้าของชุมชนแล้ว จะทำให้เขาอยากพัฒนาตนเอง พัฒนางาน และแสวงหาวิธีการเพื่อบรรลุความสำเร็จของโครงการต่าง ๆ ดังนั้นสิ่งที่สามารถดำเนินการส่งผลสำเร็จต่อโครงการกลไกบูรณาการต่อไปในอนาคต ควรดำเนินการต่อไปนี้ 1) การประเมินกลไกบูรณาการในปีนี้เป็นพื้นที่ต้นแบบซึ่งทำให้เห็นผลของการประเมินเพียงองค์กร ในรูปแบบเดียวเท่านั้น แต่การดำเนินการโครงการต่อเนื่องในปีหน่้าควรมีพื้นที่เปรียบเทียบเพียงเห็นความแตกต่างของการนำกลไกบูรณาการไปใช้ในโครงการ
2) การมีเครื่องมือ HIA เพื่อช่วยในการประเมินผลกระทบยังมีข้อจำกัด ดังนั้นควรมีการพัฒนาเครื่องมือการประเมินคุณภาพโครงการในรูปแบบอื่นๆด้วย 3) องค์ประกอบของผู้มีส่วนได้เสียในการมีส่วนร่วมในการ training ของโครงการ ควรมีความครอบคุลมและมีความหลากหลาย
4) การให้ความสำคัญกับการเสริมสร้างศักยภาพกองทุน ในประเด็นของการประสานการทำงานระหว่างคณะกรรมการต่างๆ และการเชืื่อมโยงกับ พชอ. เป็นต้น 5) การเพิ่มช่องทางการสื่อสารระหว่างผู้รับผิดชอบแต่ละระดับ และผู้รับผิดชอบโครงการในระดับต่างๆ เช่น เวทีการอบรม เวทีการแลกเปลี่ยน เวทีการเรียนรู้ เป็นต้น 6) การจัดการความรู้ (Knowledge Management) โดยการมีพื้นที่หรือกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ปัญหาและรูปแบบการจัดการปัญหา ระหว่างทีมที่ประสบความสำเร็จ ในด้านการดำเนินการกลไกบูรณาการ ต่างๆ 7) การให้การปลุกฝังการทำงานเชิงการทำงานกลไกลบูรณาการด้วยการขับเคลื่อนเชิงระบบ แทนการผลักดันการทำงานที่ผู้รับผิดชอบรายโครงการ หรือ รายกองทุน เช่น keys man เนื่องจากบุคลากรเหล่านี้มีการเปลี่ยนแปลง โยกย้ายการทำงานบ่อยครั้ง ส่งผลต่อความต่อเนื่องของการทำงาน
8) ควรมีการประมวลและรวบรวมปัจจัยความสำเร็จของโครงการ และจุดอ่อนจุดแข็งของโครงการเพื่อเป็นแนวทางการทำงานในครั้งต่อๆไป 9) การเพิ่มศักยภาพของกลุ่มภาคีเครือข่ายในการเขียนโครงการและการใช้ website ของโครงการเพื่อให้ครอบคลุมและนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างแท้จริง

เอกสารอ้างอิง

กำพล เศรษฐสุข. (2560). การประยุกต์ใช้การประเมินผลกระทบทางสุขภาพเพื่อประเมินธรรมนูญสุขภาพตำบล: กรณีศึกษา ตำบลชะแล้ อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา. วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการระบบสุขภาพ สงขลา : มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. กำพล เศรษฐสุข และ พงค์เทพ สุธีรวุฒ. (2561). รูปแบบการประยุกต์ใช้การประเมินผลกระทบทางสุขภาพเพื่อประเมินธรรมนูญสุขภาพตำบล กรณีศึกษา ตำบลชะแล้ อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา. วารสาร AL-NUR บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาฟาฎอนี. ปีที่ 13 ฉบับที่ 24 (มกราคม-มิถุนายน 2561) หน้า 65-78. กุลทัต หงส์ชยางกูร และคณะ. (2562). โครงการบูรณาการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะ และพัฒนากลไกสุขภาวะระดับพื้นที่. สงขลา; สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สจรส. ม.อ.)
คณะทำงานโครงการการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ กรณีศึกษา โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ อำเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี. (2562). การประเมินผลกระทบทางสุขภาพ กรณีศึกษา โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ อำเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี. [ออนไลน์] เข้าถึงได้ http://hsmi2.psu.ac.th/food/project/finalreport/187. (กันยายน, 12,2563) จักรวาล สุขไมตรี (2561). เทคนิคการประสานงานในองค์การ Techniques in Organization Coordination. วารสารวิชาการแพรวากาฬสินธุ์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์. ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม – สิงหาคม) 2561. หน้า 263-276. นิสากร กรุงไกรเพชร และคณะ. (2560). สมรรถนะการสร้างเสริมสุขภาพของพยาบาลวิชาชีพ ภาคตะวันออก. วารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. ปีที่ 25 ฉบับที่ 3 (2017): กรกฎาคม - กันยายน 2560. หน้า 30-40ใ พงค์เทพ สุธีรวุฒิ และคณะ. (2557). การติดตาม สนับสนุนและประเมินผลโครงการ. สงขลา: สถาบันการจัดการ ระบบสุขภาพมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. พิกุล ทิตยกุล. (2552). การประเมินโครงการโรงเรียนวิถีพุทธของโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 31 อำเภอ แม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาการบริหารศึกษา, มหาวิทยาลัย เชียงใหม่. เพ็ญ สุขมาก. (2554). รูปแบบการประเมินผลกระทบทางสุขภาพสาหรับเทศบาลตาบล ในลุ่มน้ำ ทะเลสาบสงขลา. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตการจัดการสิ่งแวดล้อม.มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ระบบบริหารกองทุนสุขภาพตำบล. (2563). แลกเปลี่ยนรู้กองทุนสุขภาพท้องถิ่น จ.พัทลุง. [ออนไลน์] เข้าถึงได้ https://localfund.happynetwork.org/.(กันยายน, 12,2563) วาสนา ลุนสำโรง. (2555). บทบาทของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. เอกสารประกอบการนำเสนอกองประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ กรมอนามัย. สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ. (มปป). หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพที่เกิดจากนโยบายสาธารณะ ฉบับที่ 2 พ.ศ.2559. อารยา สิงห์สวัสดิ์. (2552). HIA เครื่องมือใหม่ใส่ใจสุขภาพ. [ออนไลน์] เข้าถึงได้ https://www.thaihealth.or.th/Content/21968-HIA%20%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B9%83%E0%B8%AA%E0%B9%88%E0%B9%83%E0%B8%88%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%82%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E.html. (กันยายน, 12,2563) อุไรวรรณ อินทร์ม่วง, ยรรยงค์ อินทร์ม่วง และภาณี ฤทธิ์มาก . (2552). การประเมินผลกระทบต่อสุขภาพของชุมชน ตำบลท่าพระ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. KKU Res J. 2011; 16(6): p. 716-729
อมาวสี อัมพันธ์ศิริรัตน์ (2560). การประเมินแบบเสริมพลัง: แนวคิดและการประยุกต์ใช้ Empowerment Evaluation: Principles and Application. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้. ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2560. หน้า 280 – 291. สุริยา น้ำขาว. (2563). ตำแหน่ง ผู้ช่วยสาธารณสุขอำเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี (การสัมภาษณ์). ชวลิตร ลิปน้อย. (2563). ตำแหน่ง ผู้รับผิดชอบกองทุนสปสช. 11 (การสัมภาษณ์). ทวีวัตร เครือสาย. (2563). ตำแหน่ง นายกสมาคมประชาสังคมชุมพร (การสัมภาษณ์). Fetterman, D. M. (1997). Empowerment Evaluation and Accreditation in Higher Education. In Evaluation for the 21st Century: A Handbook. Editors by Chelimsky, E and Shadish, W.R. Sage Publication, Inc: p.381-396. Fetterman, D. M. (2001). Foundations of Empowerment Evaluation. California: Sage Publication, Inc. Fetterman, D. M. & Wandersman, A. (2005). Empowerment Evaluation: Principle in Practice. New York: Guilfoed.

เอกสารประกอบโครงการ