ระบบติดตามและประเมินผลโครงการ ( M&E Thailand )

directions_run

โครงการบูรณาการกลไกสุขภาพชุมชน เขต 11 อ.คีรีรัฐนิคม จ.สุราษฎร์ธานี

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 0
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
ปฐมวัย (0-5 ปี) -
วัยเรียน (6-12 ปี) -
วัยรุ่น (13-15 ปี) -
เยาวชน (15-20 ปี) -
วัยทำงาน -
ผู้สูงอายุ (60 ปีขึ้นไป) -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
ผู้พิการ -
ผู้หญิง -
มุสลิม -
พระภิกษุ -
ชาติพันธุ์ -
ผู้ต้องขัง -
หลากหลายทางเพศ (LGBTIQ) -
กลุ่มด้อยโอกาส (คนไร้บ้าน, เด็กเร่ร่อน, เด็กกำพร้า, เด็กในสถานพินิจ ฯลฯ) -
แรงงานข้ามชาติ -
อื่น ๆ -

บทคัดย่อ*

การศึกษานี้เป็นการวิจัยประเมินผลเพื่อเสริมพลังอำนาจ วัตถุประสงค์เพื่อประเมินสมรรถนะการจัดการผ่านกลไกระบบพี่เลี้ยงและเพื่อประเมินผลการบูรณาการกลไกสุขภาพชุมชน เขต 11 จังหวัดสุราษฎร์ธานี ผู้ศึกษาใช้กรอบแนวคิดปัจจัยกำหนดสุขภาพ (SDH) โดยการประยุกต์เครื่องมือการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ (HIA) เพื่อศึกษา 1) กลไกการดําเนินงานสร้างเสริมสุขภาวะในพื้นที่ในการบูรณาการขับเคลื่อนการสร้างเสริมสุขภาวะในกองทุนหลักประกันสุขภาพ 2) กระบวนการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ ในการประเมินโครงการบูรณาการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะและพัฒนากลไกสุขภาวะระดับพื้นที่ และ 3)ประเมินด้านประสิทธิผลในการพัฒนาโครงการ การรายงานผลเว็ปไซด์และคู่มือการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับพื้นที่ โดยผู้ศึกษาได้เก็บข้อมูล 1) ผู้ประสานงานระดับเขต 2) ผู้ประสานงานจังหวัด 3) พี่เลี้ยงกองทุน 4) พชอ. 5) พชต. 6) ผู้รับผิดชอบกองทุน และ 7) ผู้รับผิดชอบโครงการ การศึกษาครั้งนี้ผู้ศึกษาได้ใช้ การสังเกตแบบมีส่วน ร่วมกับการสนทนากลุ่ม การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง ร่วมกับ การอภิปรายกลุ่ม, การสัมภาษณ์เชิงลึก และเวทีประชุมแลกเปลี่ยน ผลการศึกษาพบว่า 1) กลไกการดําเนินงานสร้างเสริมสุขภาวะในพื้นที่ในการบูรณาการขับเคลื่อนการสร้างเสริมสุขภาวะในกองทุนหลักประกันสุขภาพประสบความสำเร็จ ทั้งนี้ (1) “คน” เป็นผู้ที่มีศักยภาพ ความสามารถ มีทักษะในการประสานงาน และการดำเนินงานโดยเฉพาะพี่เลี้ยงกองทุน (2) “กลไกระบบ” เกิดการบูรณาการทำงานร่วมกัน ทั้ง พชอ. พชต. ผู้รับผิดชอบกองทุน และผู้รับผิดชอบโครงการ รวมถึงกลไกลสนับสนุนจาก สปสช. เป็นต้น (3) “สภาพแวดล้อม” คือ ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ แม้ว่าพื้นที่คีรีรัฐนิคม ยังไม่มีการใช้ประโยชน์จากเว็บไซต์และคู่มือในการดำเนินการขับเคลื่อนกองทุน แต่ผู้ที่เกี่ยวข้องมองเห็นประโยชน์ของข้อมูลในระบบซึ่งคาดว่าจะค้นหาแนวทางในการใช้ประโยชน์ต่อไป 2) กระบวนการประเมินผลกระทบทางสุขภาพเพื่อการประเมินโครงการบูรณาการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะและพัฒนากลไกสุขภาวะระดับพื้นที่ ซึ่งการประยุกต์ใช้การประเมินผลกระทบทางสุขภาพ (HIA) เป็นเครื่องมือมีส่วนสำคัญที่สร้างการเสริมพลังทางอำนาจของการทำงานร่วมกันของทุกๆฝ่าย และมุ่งให้การดำเนินการของกองทุนฯสำเร็จประโยชน์กับชุมชนมากที่สุด โดยเฉพาะขั้นตอน Public Scoping และ Public Review และ 3) ประเมินด้านประสิทธิผลการพัฒนาโครงการและการรายงานผลเว็ปไซต์และคู่มือการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับพื้นที่ จะเห็นได้ว่าการพัฒนาโครงการและรายงานผลเว็บไซต์และเครื่องมือยังไม่มีการใช้ประโยชน์แต่อย่างใด เนื่องจากความซ้ำซ้อนกับเว็บไซต์ของกองทุนสปสช.และการมีจำนวนบุคลากรที่จำกัดส่งผลต่อภาระงานที่มากขึ้น อย่างไรก็ตามควรมีการพัฒนาศักยภาพและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของผู้รับผิดชอบโครงการในการรายงานผลผ่านระบบเว็บไซต์ ควรสร้างความเข้าใจและตระหนักแก่คณะกรรมการกองทุนสุขภาพในการทำโครงการที่ใช้ข้อมูลจากเว็บไซต์และคู่มือเพื่อเปิดโอกาสกับโครงการที่สอดรับกับปัญหาสุขภาพและคุณภาพชีวิต รวมทั้งความต้องการของชุมชนอย่างแท้จริง

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh