ระบบติดตามและประเมินผลโครงการ ( M&E Thailand )

directions_run

โครงการบูรณาการกลไกสุขภาพชุมชน อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ เขต1

แบบประเมินด้วยขั้นตอน HIA

บทคัดย่อ/บทนำ

บทคัดย่อ

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนากลไกการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาวะในพื้นที่ในการทำแผนพัฒนาโครงการ และติดตามประเมินผลโครงการโดยดำเนินการร่วมกันของเครือข่าย สสส. สปสช. สธ. และเพื่อดำเนินการนำร่องพื้นที่ต้นแบบการบูรณาการขับเคลื่อนการสร้างเสริมสุขภาวะในกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่นหรือพื้นที่ โดยดำเนินการร่วมกับกลไกในพื้นที่ ที่มาจากเครือข่าย สสส. สปสช. สธ และกองทุน ฯ ในการพัฒนาศักยภาพของโครงการที่จะได้รับการสนับสนุนจากกองทุน ฯ และบูรณาการการทำงานร่วมกับคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) ใช้ กรอบขั้นตอน HIA และปัจจัยกำหนดสุขภาพกำหนดขอบเขตแนวทางการศึกษา ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ 1. ปัจจัยบุคคล พี่เลี้ยงเขต1 ได้พัฒนาคู่มือ coaching และวิธีการฝึกอบรม ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของทีมระดับพื้นที่ ซึ่งเป็น นวัตกรรมกระบวนการ coaching 2. สภาพแวดล้อม ความสัมพันธ์เดิมลักษณะพี่น้อง ได้พัฒนาให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีต่อการพัฒนา กปท. ทั้ง 10 กองทุน ให้สามารถบันทึกข้อมูลในระบบติดตามและประเมินผลโครงการ สอดคล้องกับแผนของ สสส. สปสช. และ สธ. 5 แผน ได้แก่ เหล้า บุหรี่ สารเสพติด อาหารและโภชนาการ กิจกรรมทางกาย และการบริหารจัดการกองทุนระดับตำบล และแผนงานอื่น ๆ ได้แก่ ป้องกัน แก้ไขปัญหาและฟื้นฟูในสถานการณ์โควิด-19 โรคเรื้อรัง อุบัติเหตุ อนามัยแม่และเด็ก เด็กเยาวชน ครอบครัว ผู้สูงอายุ สิ่งแวดล้อม เผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด กลุ่มประชากรทั่วไปที่มีความเสี่ยง และคนพิการ 3. กลไก ระบบ กระบวนการ กลไกที่มีทุกระดับยังไม่สามารถทำหน้าที่ตามบทบาทได้เต็มที่ และยังไม่มีการบูรณาการทำงานร่วมกันอย่างแท้จริง กระบวนการเรียนรู้ เกิดนวัตกรรมกระบวนการ coaching ของพี่เลี้ยงเขต 1 การมีส่วนร่วมของกลไกทุกระดับมีส่วนร่วมระดับ การรับรู้ ตัดสินใจ ปฏิบัติการ ส่วนการติดตามประเมินผลเกิดขึ้นในพี่เลี้ยงระดับเขต และจังหวัด

คำสำคัญ

HIA ปัจจัยสุขภาพ

บทนำ

สถานการณ์ มีการพัฒนากลไกการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาวะในพื้นที่ในการทำแผนพัฒนาโครงการและติดตามประเมินผลโครงการโดยดำเนินการร่วมกันของเครือข่ายสสส. สปสช. และสธ. และดำเนินการนำร่องพื้นที่ต้นแบบการบูรณาการขับเคลื่อนการสร้างเสริมสุขภาวะในกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่โดยดำเนินการร่วมกับกลไกในพื้นที่ที่มาจากเครือข่าย สสส. สปสช. สธ. และกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลในการพัฒนาศักยภาพของโครงการที่จะได้รับการสนับสนุนจากกองทุนและบูรณาการการทำงานร่วมกับคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ(พชอ.) ความจำเป็นที่ต้องมีการติดตามประเมินผล เพื่อเสริมสร้างพลัง เกิดความร่วมมือ พัฒนาและปรับปรุงโครงการ เป็นประโยชน์ต่อการทำงานของกลไกเครือข่ายและพื้นที่

หมายเหตุ
  • บทคัดย่อ/บทนำ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

แบบประเมิน HIA

1. การกลั่นกรองโครงการ

check_circle

ทีมประเมินได้กำหนดการกลั่นกรองโครงการ 3 ระยะ คือ
ระยะก่อนดำเนินการ เพื่อสร้างความเข้าใจร่วมของทีมประเมินผล และจัดทำข้อมูลที่เกี่ยวข้องให้ครบถ้วน และเพื่อสร้างความร่วมมือระหว่างทีมประเมผลกับ Stakeholder ในการคัดเลือกกลุ่มเป้าหมาย และการวางแผนดำเนินการกลั่นกรอง
ระยะระหว่างดำเนินการ เพื่อสร้างความเข้าใจและการตัดสินใจร่วมในการประเมินผลโครงการ และจัดเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ Input, Process โดยใช้กรอบการวิเคราะห์ คือ ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จตามปัจจัยกำหนดสุขภาพ ได้แก่ 1. ปัจเจกบุคคล (ความรู้/ความเข้าใจ, การพัฒนา, ความสามารถ) 2. สิ่งแวดล้อม (วิถีชีวิต, วัฒนธรรม, สังคม, เศรษฐกิจ ฯลฯ) 3. กลไก ระบบ กระบวนการ (กลไกสนับสนุน, กระบวนการเรียนรู้, กระบวนการมีส่วนร่วม)
ระยะหลังดำเนินการ เพื่อทบทวนผลการตัดสินใจประเมิน และวางแผนการประเมินผล

1.1 วัตถุประสงค์

1) เพื่อให้ทราบผลและบอกถึงงานที่รับผิดชอบ
check_circle
2) เพื่อให้เห็นแนวโน้ม เพื่อเตือนภัย
check_circle
3) เพื่อเปลี่ยนพฤติกรรม และเข้าใจกระบวนการ
check_circle
4) เพื่อลำดับความสำคัญ แปลง ปรับกลยุทธ์ สู่การปฎิบัติ
check_circle
5) เพื่อเป็นเครื่องมือในการจัดการ ช่วยการควบคุม
check_circle
6) เพื่อจัดสรรทรัพยากร
check_circle
7) เพื่อการเรียนรู้ และรู้ขีดความสามารถ
check_circle
8) เพื่อเปรียบเทียบ ปรับปรุงและพัฒนา
9) เพื่อช่วยเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กร
10) เพื่อให้รางวัล เพื่อจูงใจ
11) อื่นๆ (ระบุรายละเอียด)

 

1.2 วิธีการ (ระบุรายละเอียดทำอะไร กับใคร กี่คน ผลสรุป)

1) ประชุมทีมประเมิน
check_circle

เพื่อสร้างความเข้าใจร่วมของทีมประเมินผล และจัดทำข้อมูลที่เกี่ยวข้องให้ครบถ้วน สร้างความเข้าใจและการตัดสินใจร่วมในการประเมินผลโครงการ การจัดเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ Input, Process โดยใช้กรอบการวิเคราะห์ คือ ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จตามปัจจัยกำหนดสุขภาพ ได้แก่ 1. ปัจเจกบุคคล (ความรู้/ความเข้าใจ, การพัฒนา, ความสามารถ) 2. สิ่งแวดล้อม (วิถีชีวิต, วัฒนธรรม, สังคม, เศรษฐกิจ ฯลฯ) 3. กลไก ระบบ กระบวนการ (กลไกสนับสนุน, กระบวนการเรียนรู้, กระบวนการมีส่วนร่วม) และระยะหลังดำเนินการ เพื่อทบทวนผลการตัดสินใจประเมิน และวางแผนการประเมินผล
ผูเข้าร่วม ทีมประเมิน จำนวน 5 คน
ผลสรุป คือ ทีมประเมินผลมีความเข้าใจร่วมกันทุกคน ได้ข้อมูลโครงการ และข้อมูลรายชื่อกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบล ในพื้นที่อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ จำนวน 10 กองทุน

2) ประชุมร่วมกับโครงการ
check_circle

ประสานงานกับพี่เลี้ยงเขต 1 ผ่านกลุ่มไลน์ จำนวน 2 คน (สุวิทย์, ไพรัตน์) เพื่อสร้างความร่วมมือระหว่างทีมประเมินผลกับ Stakeholder ในการคัดเลือกกลุ่มเป้าหมาย และการวางแผนดำเนินการกลั่นกรอง

ผลสรุป คือ เกิดความร่วมมือระหว่างทีมประเมินผล และพี่เลี้ยงเขต 1 คัดเลือกกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ พี่เลี้ยงจังหวัด และคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบล 10 กองทุน รวมทั้งเกิดการตัดสินใจร่วมกันของ พี่เลี้ยงเขต 1 พี่เลี้ยงระดับจังหวัด และทีมติดตามประเมินผล ในการติดตามและประเมินผล

3) ประชุมร่วมกับโครงการและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
check_circle

ไม่มี

4) อื่นๆ (ระบุรายละเอียด)
check_circle

 

1.3 เครื่องมือ

1) เครื่องมือที่ใช้ในขั้นตอนการกลั่นกรอง (ระบุรายละเอียดเครื่องมือ เช่น แนวคำถามในการประชุมกลุ่ม)
check_circle
  1. เอกสารโครงการ
  2. หัวข้อประชุม ได้แก่ กรอบการติดตามประเมินผลตามขั้นตอน HIA ทุกขั้นตามที่ได้ออกแบบไว้

1.4 ผลที่ได้

1) ผลที่ได้ในขั้นตอนการกลั่นกรอง
check_circle
  1. ทีมประเมินผลมีความเข้าใจร่วมกันทุกคน และได้ข้อมูลโครงการ และข้อมูลรายชื่อกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบล พื้นที่อำเภอร้องกวาง เกิดความร่วมมือระหว่างทีมประเมินผล และพี่เลี้ยงเขต 1 คัดเลือกกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ พี่เลี้ยงจังหวัด และคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบล 10 กองทุน
  2. เกิดการตัดสินใจร่วมกันของ พี่เลี้ยงเขต 1 พี่เลี้ยงระดับจังหวัด และทีมติดตามประเมินผล ในการติดตามและประเมินผล
  3. ทีมประเมินผลเชื่อมั่นในการตัดสินใจประเมินผล และมีแผนการประเมินผล

2. การกำหนดขอบเขต

check_circle

ดำเนินการโดยทีมติดตามประเมินผล ศึกษา และทบทวนวรรณกรรม กระบวนการติดตามประเมินผล ปรับใช้ HIA 6 ขั้นตอน ปัจจัยกำหนดสุขภาพ และได้นำเสนอต่อ พี่เลี้ยงเขต 1 พี่เลี้ยงระดับจังหวัด และพี่เลี้ยงระดับอำเภอ ด้วยการจัดประชุมกลุ่มย่อย เห็นชอบร่วมกัน โดยมีการออกแบบเนื้อหา ตัวชี้วัด วิธีการประเมิน เครื่องมือที่ใช้

1) วิธีการในการกำหนดขอบเขต
check_circle
  1. จัดประชุมทีมประเมินผล
  2. นำเสนอต่อพี่เลี้ยงเขต 1 พี่เลี้ยงระดับจังหวัด และพี่เลี้ยงระดับอำเภอ ในเวทีพัฒนาศักยภาพของเขต 1
2) ผู้เข้าร่วมกำหนดขอบเขต
check_circle
  • ทีมติดตามและประเมินผล
  • พี่เลี้ยงเขต 1
  • พี่เลี้ยงระดับจังหวัด และพี่เลี้ยงระดับอำเภอ
3) เครื่องมือที่ใช้
check_circle
  • หัวข้อประชุมทีมประเมินผล
  • กรอบการกำหนดขอบเขตการติดตามประเมินผล

4) กรอบแนวคิด

1) ใช้กรอบ Ottawa charter
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดเครื่องมือกลุ่มผู้ให้ข้อมูล
2) ใช้กรอบ ปัจจัยกำหนดสุขภาพ
check_circle
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดเครื่องมือกลุ่มผู้ให้ข้อมูล
1. ปัจจัยบุคคล
  1. ทักษะ และความสามารถของพี่เลี้ยงเขต 1 พี่เลี้ยงระดับจังหวัด พี่เลี้ยงระดับอำเภอ และคณะกรรมการกองทุนสุขภาพตำบล
  1. แบบสัมภาษณ์ แบบคำถามในการสนทนากลุ่มย่อย แบบตรวจสอบเอกสารรายงาน
  1. พี่เลี้ยงเขต 1 พี่เลี้ยงระดับจังหวัด พี่เลี้ยงระดับอำเภอ และคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบล 10 ตำบล
2. สภาพแวดล้อม
  1. วัฒนธรรม ความสัมพันธ์ในการทำงานของทีมพี่เลี้ยงเขต 1 พี่เลี้ยงระดับจังหวัด พี่เลี้ยงระดับอำเภอ และคณะกรรมการ กปท. 10 กองทุน
  1. แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถามในการสนทนากลุ่มย่อย
  1. พี่เลี้ยงเขต 1 พี่เลี้ยงระดับจังหวัด พี่เลี้ยงระดับอำเภอ และคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบล 10 ตำบล
3. กลไก ระบบ กระบวนการ
  1. โครงสร้าง รายชื่อ และบทบาท หน้าที่ของพี่เลี้ยงเขต1 พี่เลี้ยงจังหวัด พี่เลี้ยงอำเภอ และคณะกรรมการ กปท. 10 กองทุน
  2. กระบวนการเรียนรู้ และกระบวนการมีส่วนร่วม ของพี่เลี้ยงเขต 1 พี่เลี้ยงจังหวัด พี่เลี้ยงอำเภอ และคณะกรรมการ กปท. 10 กองทุน
  1. คำถามในการสนทนากลุ่ม
  1. พี่เลี้ยงเขต 1 พี่เลี้ยงระดับจังหวัด พี่เลี้ยงระดับอำเภอ และคณะกรรมการกองทุนสุขภาพตำบล
3) ใช้กรอบ Balance Score Card
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดเครื่องมือกลุ่มผู้ให้ข้อมูล
4) ใช้กรอบ CIPP
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดเครื่องมือกลุ่มผู้ให้ข้อมูล
5) อื่นๆ
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดเครื่องมือกลุ่มผู้ให้ข้อมูล

3. ลงมือประเมิน

check_circle

เก็บข้อมูลแบบมีส่วนร่วมโดยใช้เครื่องมือที่ออกแบบ ได้แก่ ประเด็นชวนคุยกับทีมพี่เลี้ยง คณะกรรมการกองทุน และ Stakeholder  ตารางสรุปจำนวนแผนงานและโครงการ  ตารางสรุปรูปแบบการมีส่วนร่วม ตารางสรุปโครงการและกิจกรรมที่แต่ละกองทุนดำเนินงาน ซึ่งได้รับการเห็นชอบจากพี่เลี้ยงเขตและการประสานกับพี่เลี้ยงจังหวัด/พื้นที่ พี่เลี้ยงอำเภอ

1) กระบวนการเก็บข้อมูลโดยการมีส่วนร่วม (ระบุรายละเอียด)
check_circle

ขอไฟล์ข้อมูลเอกสารผ่านระบบไลน์ สังเกตการณ์การจัดกิจกรรมการอบรมพัฒนาศักยภาพการบันทึกข้อมูลผ่านระบบติดตามประเมินผล ระดับเขต 2 ครั้ง ระดับพื้นที่ 1 ครั้ง สัมภาษณ์ พี่เลี้ยงเขต 1 พี่เลี้ยงจังหวัด/อำเภอ ประชุมกลุ่มย่อยเพื่อระดมข้อมูลจากทีมปฏิบัติในพื้นที่ จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดการกองทุนสุขภาพตำบล 10 กองทุน ในพื้นที่ 1 ครั้ง

2) กระบวนการวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูล (ระบุรายละเอียด)
check_circle

นำข้อมูลที่ได้มาจัดจำแนกหมวดหมู่ตามกรอบศึกษา วิเคราะห์ และสังเคราะห์ตามประเด็นการประเมิน ปัจจัยบุคคล สภาพแวดล้อม กลไกระบบ กระบวนการ

3) ผู้มีส่วนร่วมในการประเมิน (ระบุรายละเอียด)
check_circle

พี่เลี้ยงเขต1 พี่เลี้ยงจังหวัด ทีมปฏิบัติการลงข้อมูลพื้นที่  10 กองทุนตำบล

4) ผลการประเมิน (เรียงตามตัวชี้วัดที่กำหนดในขั้นตอน scoping)
check_circle
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดผลการประเมินหมายเหตุ
1. 1. ปัจจัยบุคคล (2) ใช้กรอบ ปัจจัยกำหนดสุขภาพ) ทักษะ และความสามารถของพี่เลี้ยงเขต 1 พี่เลี้ยงระดับจังหวัด พี่เลี้ยงระดับอำเภอ และคณะกรรมการกองทุนสุขภาพตำบล

พี่เลี้ยงเขต1 ได้พัฒนาคู่มือ coaching และวิธีการฝึกอบรม ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของทีมระดับพื้นที่ ซึ่งเป็น นวัตกรรมกระบวนการ coaching

เพชรรุ่ง, สุวิทย์

2. 2. สภาพแวดล้อม (2) ใช้กรอบ ปัจจัยกำหนดสุขภาพ) วัฒนธรรม ความสัมพันธ์ในการทำงานของทีมพี่เลี้ยงเขต 1 พี่เลี้ยงระดับจังหวัด พี่เลี้ยงระดับอำเภอ และคณะกรรมการ กปท. 10 กองทุน

ความสัมพันธ์เดิมลักษณะพี่น้อง ได้พัฒนาให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีต่อการพัฒนา กปท. ทั้ง 10 กองทุน ให้สามารถบันทึกข้อมูลในระบบติดตามและประเมินผลโครงการ สอดคล้องกับแผนของ สสส. สปสช. และ สธ. 5 แผน ได้แก่ เหล้า บุหรี่ สารเสพติด อาหารและโภชนาการ กิจกรรมทางกาย และการบริหารจัดการกองทุนระดับตำบล และแผนงานอื่น ๆ ได้แก่ ป้องกัน แก้ไขปัญหาและฟื้นฟูในสถานการณ์โควิด-19 โรคเรื้อรัง อุบัติเหตุ อนามัยแม่และเด็ก เด็กเยาวชน ครอบครัว ผู้สูงอายุ สิ่งแวดล้อม เผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด กลุ่มประชากรทั่วไปที่มีความเสี่ยง และคนพิการ

 

3. 3. กลไก ระบบ กระบวนการ (2) ใช้กรอบ ปัจจัยกำหนดสุขภาพ) โครงสร้าง รายชื่อ และบทบาท หน้าที่ของพี่เลี้ยงเขต1 พี่เลี้ยงจังหวัด พี่เลี้ยงอำเภอ และคณะกรรมการ กปท. 10 กองทุน

กลไกที่มีทุกระดับยังไม่สามารถทำหน้าที่ตามบทบาทได้เต็มที่ และยังไม่มีการบูรณาการทำงานร่วมกันอย่างแท้จริง

  • กลไกระดับเขต คือ คณะกรรมการ กขป.เขต1 ได้มอบหมายให้ตัวแทนทำหน้าที่รับผิดชอบโครงการฯ อย่างเป็นทางการ ส่งผลให้สามารถดำเนินงานได้อย่างเต็มที่ ในขณะที่ สปสช. เขต 1 คนรับผิดชอบอย่างเป็นทางการ ต่อมาเปลี่ยนผู้บริหาร เปลี่ยนนโยบาย ทำให้คนรับผิดชอบไม่สามารถทำหน้าที่ได้ - กลไก สสจ.ไม่ได้มอบหมายคนรับผิดชอบโดยตรง ทำให้ไม่มีการสั่งการถึง สสอ.
  • อปท. เข้าร่วมดำเนินโครงการในฐานะกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับคัดเลือกจากผู้ประสานงานเขตแบบไม่เป็นทางการ และเป็นทางการ
4. 3. กลไก ระบบ กระบวนการ (2) ใช้กรอบ ปัจจัยกำหนดสุขภาพ) กระบวนการเรียนรู้ และกระบวนการมีส่วนร่วม ของพี่เลี้ยงเขต 1 พี่เลี้ยงจังหวัด พี่เลี้ยงอำเภอ และคณะกรรมการ กปท. 10 กองทุน
  • กระบวนการเรียนรู้ เกิดนวัตกรรมกระบวนการ coaching ของพี่เลี้ยงเขต 1
  • การมีส่วนร่วม กลไกทุกระดับมีส่วนร่วมระดับ การรับรู้ ตัดสินใจ ปฏิบัติการ ส่วนการติดตามประเมินผลเกิดขึ้นในพี่เลี้ยงระดับเขต และจังหวัด

 

5) อื่นๆ
check_circle

 

4. ทบทวนรายงานการประเมินว่าถูกต้องหรือไม่?

check_circle

 

1) กระบวนการในการทบทวนรายงาน
check_circle

 

2) ผู้มีส่วนร่วมในการทบทวนรายงาน
check_circle

ไม่ได้จัดเวทีทบทวนร่างรายงาน

3) ผลการทบทวนร่างรายงาน

 

4) สรุปผลการประเมินสำคัญที่นำเข้าเวทีการทบทวน
check_circle
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดสรุปผลการประเมินหมายเหตุ
1. 1. ปัจจัยบุคคล (2) ใช้กรอบ ปัจจัยกำหนดสุขภาพ) ทักษะ และความสามารถของพี่เลี้ยงเขต 1 พี่เลี้ยงระดับจังหวัด พี่เลี้ยงระดับอำเภอ และคณะกรรมการกองทุนสุขภาพตำบล

พี่เลี้ยงเขต1 ได้พัฒนาคู่มือ coaching และวิธีการฝึกอบรม ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของทีมระดับพื้นที่ ซึ่งเป็น นวัตกรรมกระบวนการ coaching

เพชรรุ่ง, สุวิทย์

2. 2. สภาพแวดล้อม (2) ใช้กรอบ ปัจจัยกำหนดสุขภาพ) วัฒนธรรม ความสัมพันธ์ในการทำงานของทีมพี่เลี้ยงเขต 1 พี่เลี้ยงระดับจังหวัด พี่เลี้ยงระดับอำเภอ และคณะกรรมการ กปท. 10 กองทุน

ความสัมพันธ์เดิมลักษณะพี่น้อง ได้พัฒนาให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีต่อการพัฒนา กปท. ทั้ง 10 กองทุน ให้สามารถบันทึกข้อมูลในระบบติดตามและประเมินผลโครงการ สอดคล้องกับแผนของ สสส. สปสช. และ สธ. 5 แผน ได้แก่ เหล้า บุหรี่ สารเสพติด อาหารและโภชนาการ กิจกรรมทางกาย และการบริหารจัดการกองทุนระดับตำบล และแผนงานอื่น ๆ ได้แก่ ป้องกัน แก้ไขปัญหาและฟื้นฟูในสถานการณ์โควิด-19 โรคเรื้อรัง อุบัติเหตุ อนามัยแม่และเด็ก เด็กเยาวชน ครอบครัว ผู้สูงอายุ สิ่งแวดล้อม เผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด กลุ่มประชากรทั่วไปที่มีความเสี่ยง และคนพิการ

 

3. 3. กลไก ระบบ กระบวนการ (2) ใช้กรอบ ปัจจัยกำหนดสุขภาพ) โครงสร้าง รายชื่อ และบทบาท หน้าที่ของพี่เลี้ยงเขต1 พี่เลี้ยงจังหวัด พี่เลี้ยงอำเภอ และคณะกรรมการ กปท. 10 กองทุน

กลไกที่มีทุกระดับยังไม่สามารถทำหน้าที่ตามบทบาทได้เต็มที่ และยังไม่มีการบูรณาการทำงานร่วมกันอย่างแท้จริง

  • กลไกระดับเขต คือ คณะกรรมการ กขป.เขต1 ได้มอบหมายให้ตัวแทนทำหน้าที่รับผิดชอบโครงการฯ อย่างเป็นทางการ ส่งผลให้สามารถดำเนินงานได้อย่างเต็มที่ ในขณะที่ สปสช. เขต 1 คนรับผิดชอบอย่างเป็นทางการ ต่อมาเปลี่ยนผู้บริหาร เปลี่ยนนโยบาย ทำให้คนรับผิดชอบไม่สามารถทำหน้าที่ได้ - กลไก สสจ.ไม่ได้มอบหมายคนรับผิดชอบโดยตรง ทำให้ไม่มีการสั่งการถึง สสอ.
  • อปท. เข้าร่วมดำเนินโครงการในฐานะกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับคัดเลือกจากผู้ประสานงานเขตแบบไม่เป็นทางการ และเป็นทางการ
4. 3. กลไก ระบบ กระบวนการ (2) ใช้กรอบ ปัจจัยกำหนดสุขภาพ) กระบวนการเรียนรู้ และกระบวนการมีส่วนร่วม ของพี่เลี้ยงเขต 1 พี่เลี้ยงจังหวัด พี่เลี้ยงอำเภอ และคณะกรรมการ กปท. 10 กองทุน
  • กระบวนการเรียนรู้ เกิดนวัตกรรมกระบวนการ coaching ของพี่เลี้ยงเขต 1
  • การมีส่วนร่วม กลไกทุกระดับมีส่วนร่วมระดับ การรับรู้ ตัดสินใจ ปฏิบัติการ ส่วนการติดตามประเมินผลเกิดขึ้นในพี่เลี้ยงระดับเขต และจังหวัด

 

5) อื่นๆ
check_circle

 

5. การปรับปรุงทบทวนโครงการ

check_circle

นำเสนอต่อตัวแทนโครงการ ผ่านกลุ่มไลน์ และยืนยันตรวจสอบโดยคุณเพชรรุ่งเมื่อวันที่ 13 กันยายายน 2563 โรงแรมอมารี ดอนเมือง

1) ข้อเสนอเพื่อการทบทวนโครงการ
check_circle
  1. การตั้งคณะกรรมการร่วมที่มาจากหน่วยงานภายใต้กลไกระดับต่าง ๆ เพื่อรองรับการขับเคลื่อนให้โครงการสำเร็จเกิดความต่อเนื่อง
  2. เพิ่มสัดส่วนงบประมาณสำหรับคนทำงานระดับพื้นที่มากขึ้น ในส่วนของผู้ปฏิบัติการลงบันทึกข้อมูลในระบบ
  3. มีเกณฑ์การคัดเลือกคน/พื้นที่ควบคู่กัน
  4. สจรส. สปสช. สธ. อปท ทำข้อตกลงร่วมกัน พัฒนาพื้นที่รูปธรรมขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะ และพัฒนากลไกสุขภาวะระดับพื้นที่อย่างต่อเนื่อง
  5. ส่งเสริมให้ชุมชนร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมรับผล
  6. ควรมี เจ้าหน้าที่ ประจำ อปท.รับผิดชอบโดยตรง
  7. ควรจัดให้มีเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันของทุกกองทุนอย่างต่อเนื่อง
  8. แผนของ กปท.ควรมาจากปัญหาของชุมชน
  9. ควรส่งเสริมและสนับสนุนให้คณะกรรมการในกลไกที่เกี่ยวข้อง “เอาภาระร่วม” ไม่แบ่งแยก
2) อื่นๆ
check_circle

 

6. ได้มีการปรับปรุงทบทวนโครงการตามข้อ 5 หรือไม่?

check_circle

อยู่ระหว่างดำเนินโครงการ

1) กลไกในการติดตามการปรับปรุงโครงการตามข้อเสนอแนะ
check_circle

 

2) วิธีการติดตาม การปรับปรุงโครงการตามข้อเสนอแนะ
check_circle

 

3) อื่นๆ

 

สรุป

อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ

การติดตามและประเมินผลโครงการบูรณาการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะ และพัฒนากลไกสุขภาพระดับพื้นที่ อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ สามารถสรุป อภิปรายและข้อเสนอแนะดังนี้ 1. ปัจจัยบุคคล - ความรู้ ความเข้าใจ ทักษะ ความสามารถ พบว่า บุคลากรของ รพสต. และ อปท. มีความรู้และเข้าใจ ทักษะ และความสามารถในการทำแผน การพัฒนาโครงการ การติดตามประเมินผล ส่วน กสต.ที่เป็นตัวแทนภาคส่วนอื่นมีน้อย จากการสังเกตการเข้าร่วมฝึกอบรมไม่พบตัวแทนภาคส่วนอื่น เข้าร่วม
2. สภาพแวดล้อม (วิถีชีวิต วัฒนธรรม สังคม เศรษฐกิจ ฯลฯ) พบว่า เกิดความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันของทีมพี่เลี้ยงเขต ทีมพี่เลี้ยงจังหวัด ทีมพี่เลี้ยงอำเภอ และ กสต.ทุกกองทุน ทำให้เกิดความร่วมมือในการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง ลักษณะ “เพื่อช่วยเพื่อน” และ“พี่ช่วยน้อง”
3. กลไก ระบบ กระบวนการ - กลไกสนับสนุน มีพี่เลี้ยงระดับเขต เป็นกลไกหลักในการพัฒนาศักยภาพ และช่วยเหลือทีมพี่เลี้ยงระดับจังหวัดและอำเภอ ในขณะที่พี่เลี้ยงระดับอำเภอได้ทำหน้าที่หนุนเสริม กสต. ด้วยรูปแบบที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ
- กระบวนการเรียนรู้ มีการจัดกระบวนการเรียนรู้ให้กับทีมพี่เลี้ยงระดับจังหวัด และ กสต. อย่างต่อเนื่อง ด้วยการจัดฝึกอบรมร่วม จัดประชุมกลุ่มย่อย และแบบตัวต่อตัว นอกจากนี้ยังมีกลุ่มไลน์สำหรับเรียนรู้ร่วมกัน และการติดตามผลการดำเนินงาน - กระบวนการมีส่วนร่วม เกิดการเรียนรู้ระหว่างทีมพี่เลี้ยง เขต/จังหวัด/อำเภอ แบบพี่/เพื่อน ข้อเสนอแนะ 1. การตั้งคณะกรรมการร่วมที่มาจากหน่วยงานภายใต้กลไกระดับต่าง ๆ เพื่อรองรับการขับเคลื่อนให้โครงการสำเร็จเกิดความต่อเนื่อง
2. เพิ่มสัดส่วนงบประมาณสำหรับคนทำงานระดับพื้นที่มากขึ้น ในส่วนของผู้ปฏิบัติการลงบันทึกข้อมูลในระบบ
3. มีเกณฑ์การคัดเลือกคน/พื้นที่ควบคู่กัน 4. สจรส. สปสช. สธ. อปท ทำข้อตกลงร่วมกัน พัฒนาพื้นที่รูปธรรมขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะ และพัฒนากลไกสุขภาวะระดับพื้นที่อย่างต่อเนื่อง 5. ส่งเสริมให้ชุมชนร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมรับผล
6. ควรมี เจ้าหน้าที่ ประจำ อปท.รับผิดชอบโดยตรง 7. ควรจัดให้มีเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันของทุกกองทุนอย่างต่อเนื่อง 8. แผนของ กปท.ควรมาจากปัญหาของชุมชน
9. ควรส่งเสริมและสนับสนุนให้คณะกรรมการในกลไกที่เกี่ยวข้อง “เอาภาระร่วม” ไม่แบ่งแยก

เอกสารอ้างอิง

กำพล เศรษฐสุข. (2560). การประยุกต์ใช้การประเมินผลกระทบทางสุขภาพเพื่อประเมินธรรมนูญสุขภาพตำบล: กรณีศึกษา ตำบลชะแล้ อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา. วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการระบบสุขภาพ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภก.พงศ์เทพ สุธีรวุฒิ. (2563). ระบบการติดตามประเมินผลการดำเนินงานโครงการสร้างเสริมสุขภาพ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. อรทัย อาจอ่ำ. (มปพ.). การประเมินผลเพื่อสร้างเสริมพลังอำนาจ: ทางออกที่ท้าทาย. สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล. กรุงเทพ. อรุณี เวียงแสง และคณะ. (2548). การติดตามประเมินผลแบบมีส่วนร่วม. โครงการเสริมสร้างการเรียนรู้เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (สรพ.). กรุงเทพ. อริศรา เล็กสรรเสริญ. (2556). แนวคิดและแนวทงการประเมินโครงการ: กรณีศึกษาการประเมินโครงการสร้างเสริมสุขภาวะในองค์กรระดับพื้นที่. บริษัท พี.เอ. ลีฟวิ่ง จำกัด. กรุงเทพ.

เอกสารประกอบโครงการ