ระบบติดตามและประเมินผลโครงการ ( M&E Thailand )

directions_run

โครงการบูรณาการกลไกสุขภาพชุมชน อำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก เขต 2

แบบประเมินด้วยขั้นตอน HIA

บทคัดย่อ/บทนำ

บทคัดย่อ

ทีมประเมินเขต 2 ได้เลือกพื้นที่ อำเภอเนินมะปรางเป็นพื้นที่ในการประเมินตามกรอบออตตาวาชาเตอร์ โดยการออกแบบ HIA ให้เข้าใจง่าย เข้าถึงบริบทและนำไปใช้ได้จริง บูรณาการร่วมกับการพัฒนาหลักสูตรการพัฒนาศักยภาพพี่เลี้ยงโครงการบูรณาการ เพื่อสร้างความตระหนักในคุณค่าของกระบวนการมีส่วนร่วม การใช้ข้อมูลในการทำแผนงานโครงการและประเมินผล การออกแบบกระบวนการประเมินครั้งนี้ให้ความสำคัญกับการ “เอาใจเขามาใส่ใจเรา” ด้วยท่าทีกัลยาณมิตร ทำให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันทั้งทีมประเมินและทีมพื้นที่ซึ่งได้เข้าใจกลไกสุขภาพระดับพื้นที่และการประเมินเสริมพลังโดยนำ HIA มาประยุกต์ใช้ โดยใช้เครื่องมือที่ยืดหยุ่นตามบริบทและสถาณการณ์ เช่น การสังเกต การสัมภาษณ์เชิงลึก การใช้กระบวนกลุ่มการแบบสุนทรียสนทนา การใช้บัตรคำออนไลน์ พบว่าทุกพื้นที่ได้รับผลกระทบการระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้การขับเคลื่อนของแผนงานโครงการล่าช้า มีผลต่อการกรอกข้อมูลเข้าสู่ระบบไม่ครบถ้วน หลังมาตรการผ่อนคลายทีมประเมินจึงได้บูรณาการกำหนดการลงพื้นที่ร่วมกันกับ สสจ. และองค์กรภาคีเครือข่ายเพื่อลงพื้นที่ ดำเนินการขั้นตอนกลั่นกรองโครงการและการกำหนดขอบเขตการประเมินร่วมกัน ร่วมพัฒนากิจกรรมตามแผนงานโครงการบูรณาการที่ยังอยู่ระหว่างดำเนินการ กระบวนการประเมินเป็นรูปแบบการสนทนากลุ่มย่อย และขอข้อมูลรายบุคคลนำมาวิเคราะห์ ร่างผลการประเมินตามข้อมูลที่ปรากฎและได้ลงพื้นที่เพื่อคืนข้อมูล ทบทวนร่างรายงานการประเมินร่วมกัน รวมถึงแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับปัญหา ข้อจำกัด แนวทางการพัฒนา จากการลงพื้นที่ครั้งนี้พบว่าการขึ้นรูปแผนโดยอิงจากฐานข้อมูลด้านสุขภาพเป็นหลัก ส่งผลให้ผู้รับผิดชอบในแต่ละประเด็นยังไม่ความครอบคลุมตามวัตถุประสงค์ของ พชอ. พบว่าการมีกลไก พชอ.ช่วยให้เกิดการบูรณาการระดับพื้นที่มีความตื่นตัวในการมีส่วนร่วมทั้งกลไกระดับหัวหน้าส่วนราชการ ระดับปฏิบัติการและจิตอาสาในพื้นที่ มีผลงานเชิงตัวชี้วัดชัดเจนขึ้นในประเด็นร่วมนั้น ๆ แนวทางการพัฒนาคือขยายและยกระดับประเด็นบนฐานข้อมูลสถานการณ์ของพื้นที่ กระจายผู้รับผิดชอบหลักให้ครอบคลุมคุณภาพชีวิตประชาชนมากขึ้น จากการคืนข้อมูลพบว่าบางกองทุนสามารถใช้เงินได้สอดคล้องตามวัตถุประสงค์ ลดจำนวนเงินค้างท่อสะสมได้ดีโดยมีปัจจัยสำคัญจากการบูรณาการภายในด้านระเบียบกองทุนกับระเบียบของท้องถิ่น ทั้งยังได้รับผลกระทบเชิงบวกจากการพัฒนาศักยภาพพี่เลี้ยงจากภาคีระดับเขต ข้อหารือด้านการพัฒนาระบบฐานข้อมูลสถานการณ์เชิงพื้นที่และเชิงประเด็นให้มีการพัฒนายกระดับเป็นระบบฐานข้อมูลกลางของพื้นที่เสนอให้มีนโยบายกลไกระบบฐานข้อมูลจากส่วนกลางช่วยเชื่อมโยงข้อมูลและประมวลผลให้เป็นภาพรวมทั้งระดับพื้นที่และระดับกระทรวง ทั้งนี้การพัฒนากลไกสุขภาพระดับพื้นที่ให้เกิดความเข้มแข็งสอดคล้องกับบริบทและสถานการณ์ของพื้นที่ต้องได้รับการสนับสนุนในมิติองค์รวมแบบนิเวศบูรณาการทั้งในแง่การพัฒนาศักยภาพคน กลไก และนโยบายที่เอื้อต่อการทำงานได้จริงรวมถึงการประเมินที่ยกระดับสุขภาวะทางปัญญาร่วมกันของทุกภาคส่วนในสังคม

คำสำคัญ

HIA, การขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะ, สนส., พชอ., ออตตาวาชาเตอร์, การติดตามประเมินผล, นิเวศบูรณาการ, เนินมะปราง, เสริมพลัง

บทนำ

ระบบสุขภาพชุมชน มีการดำเนินงานมาอย่างต่อเนื่อง ภายในการสนับสนุนของหน่วยงาน สปสช. สธ.และ สสส. โดยมีกลไกคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ(พชอ.) ดำเนินงานตามบริบทพื้นที่ นอกจากนี้ สสส ยังมีการสร้างกลไก ซึ่งเป็นการช่วยเสริมพลังและพัฒนาศักยภาพให้กับภาคี ในหลายๆรูปแบบ แต่ผลการดำเนินงานระบบสุขภาพชุมชน ที่สะท้อนจากภาพรวมของบทวิเคราะห์ ยังไม่ตอบโจทย์ต่อพื้นที่หรือท้องถิ่นเท่าที่ควร พบว่าสัดส่วนของชุมชนที่เข้มแข็งยังมีอยู่ไม่มาก ซึ่งอาจเกิดจากข้อจำกัดหลายๆอย่าง ในการบูรณาการการทำงานร่วมกันของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ขณะที่กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น ยังคงมีการดำเนินงานด้วยข้อจำกัด ทั้งในเรื่องการจัดทำแผนสุขภาพชุมชน หรือ เครื่องมือที่เป็นรูปธรรมที่สามารถนำสู่สาธารณะ ส่วนหนึ่งอาจเกิดจากความไม่เข้าใจในการจัดทำแผน การนำแผนสู่การปฏิบัติ ข้อจำกัดด้านการตีความระเบียบการใช้เงินกองทุน และการติดตามประเมินผล ทำให้ได้โครงการที่ยังไม่มีคุณภาพ ส่วนใหญ่จะเป็นโครงการที่มีกิจกรรมซ้ำๆ ตามที่ทำกันมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้ไม่ตอบโจทย์ในการเพิ่มคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ อีกทั้งยังไม่มีระบบติดตาม ประเมินผล การดำเนินงานของกองทุน ส่งผลให้ มีเงินคงเหลือสะสมเป็นจำนวนมากทั่วประเทศ ในปี พ.ศ.2560-2561 สจรส.มอ มีการดำเนินโครงการ ในการส่งเสริมให้คนไทยมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น และโครงการปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพจากสุรา ยาสูบ และยาเสพติด โดยมีกองทุนนำร่อง 270 กองทุน ซึ่งมีการดำเนินงานในกิจกกรมหลัก ประกอบไปด้วย การสร้างทีมพี่เลี้ยง เพื่อการหนุนเสริมผู้เสนอโครงการ การพัฒนาเครื่องมือ ในระบบออนไลน์ เพื่อการเรียนรู้ในการจัดทำแผนและพัฒนาโครงการ รวมถึงการติดตามประเมินผลโครงการด้วย และการประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาข้อเสนอโครงการ สำหรับผู้เสนอโครงการ ซึ่งผลการดำเนินงานในทั้ง 2โครงการนั้น สามาถทำให้เกิดการพัฒนาคน และได้แผนการดำเนินงานที่ดีขึ้น แต่การดำเนินงานดังกล่าวยังพบข้อจำกัดในเรื่องคุณภาพของแผนกองทุน และคุณภาพของโครงการ ซึ่งเกิดจากข้อจำกัดของจำนวนพี่เลี้ยง และเครือข่ายที่เข้าร่วมเฉพาะของ สปสช. เป็นผลให้ในปี 2562-2563 สจรส.ม.อ. เสนอโครงการเพื่อขับเคลื่อนการสร้างเสริมสุขภาวะสู่การดำเนินงานในระดับพื้นที่ให้เพิ่มมากขึ้น โดยการบูราณาการร่วมกันของ สสส. สปสช. และ สธ. ในโครงการบูรณาการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะ และพัฒนากลไกระดับพื้นที่ ซึ่งโครงการดังกล่าว เป็นการสร้างเสริมพลังการทำงานร่วมกันของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะส่งผลต่อระบบสุขภาพชุมชนที่เข้มแข็งในอนาคต อีกทั้งยังเป็นการพัฒนาศักยภาพกลไกพี่เลี้ยงในพื้นที่ จากโครงการของสจรส.ม.อ. ดังกล่าว จึงเป็นเหตุที่มาให้เกิดทีมผู้ประเมินแบบเสริมพลังในครั้งนี้ เนื่องจากการประเมินในรูปแบบเดิมที่ผ่าน เป็นการประเมินที่ยังไม่เสริมพลัง การประเมินในครั้งนี้จะมีการนำ หลักการของการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ (Health Impact Assessment ; HIA) เข้ามาใช้เป็นแนวทางในการประเมินด้วย การประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ (Health Impact Assessment ,HIA) เป็นกระบวนการ วิธีการ และเครื่องมือหลากหลาย ที่ใช้เพื่อคาดการณ์ถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากแผนงานหรือโครงการ ที่มีต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนและการกระจายของผลกระทบในกลุ่มประชากรและการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพจะกำหนดถึงกิจกรรมที่เหมาะสมในการจัดการผลกระทบเหล่านั้น เป็นกระบวนการตามพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550 มุ่งให้ทุกภาคส่วนเข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้อมูลผลกระทบต่างๆ ทั้งในเชิงบวกและลบ จากนโยบายสาธารณะ ยุทธศาสตร์ แผนงาน โครงการหรือกิจกรรมร่วมกัน อันจะนำไปสู่ความร่วมมือในการดำเนินงาน ร่วมสร้างทางเลือกในการพัฒนาจัดการพื้นที่ ร่วมกันตัดสินใจอย่างสมานฉันท์ ตลอดจนร่วมกันตรวจสอบ ประเมินผลในระยะยาวต่อไป การประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ (HIA) ประกอบไปด้วย 6 ขั้นตอน ได้แก่ 1. การกลั่นกรองการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพโดยสาธารณะ (Public Screening) 2. การกำหนดขอบเขตและแนวทางการประเมินผลกระทบด้นสุขภาพโดยสาธารณะ (Public Scoping) 3. การประเมินผลกระทบด้านสุขภาพและจัดทำร่างรายงานโดยสาธารณะ (Public Assessing and Reporting) 4. การทบทวนร่างรายงานการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพโดยสาธารณะ (Public Review) 5. การผลักดันเข้าสู่กระบวนการตัดสินใจโดยสาธารณะ (Public Influencing) 6. การติดตามและประเมินผลโดยสาธารณะ (Public Monitoring and Evaluation)

หมายเหตุ
  • บทคัดย่อ/บทนำ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

แบบประเมิน HIA

1. การกลั่นกรองโครงการ

check_circle

ทีมประเมินได้ดำเนินการกลั่นกรองและกำหนดขอบเขตการประเมินโครงการด้วยวิธีสาธารณะร่วมกับภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องจำนวน 2 ครั้ง ครั้งที่ 1 ร่วมกับ สปสช. สสจ. สช. กขป.เขต2 และครั้งที่ 2 ร่วมกับทีมขับเคลื่อนกลไกสุขภาพระดับพื้นที่ (พชอ.เนินมะปราง) เพื่อจัดทำการกลั่นกรองและกำหนดขอบเขตการประเมิน โดยคำนึงถึงข้อจำกัดของทีมเขตและทีมพื้นที่ ทั้งในแง่สถานะการณ์ระบาดโควิค19 ที่มีภารงานคลั่งค้างในระดับพื้นที่จำนวนมากรวมถึงการประเมินในโครงการต่างๆ ที่ต้องใช้กรอบระยะเวลาเดียวกันส่งผลให้ในช่วงแรกของการประสานงานเลือกพื้นที่ประเมินมีท่าทีที่สะท้อนความอึดอัดต่อการประเมิน ทีมประเมินและติดตามผลจึงได้ใช้กระบวนการในการทำความเข้าใจและชี้แจงโครงการรวมถึงรูปแบบของการประเมินแบบเสริมพลังด้วยท่าทีกัลยาณมิตรและการพัฒนาร่วมกัน ซึ่งมีความแตกต่างกับการประเมินในรูปแบบเดิมที่พื้นที่เคยรับการประเมิน ซึ่งพื้นที่สะท้อนว่าเป็นการประเมินที่เน้นตัวชี้วัด และจุดที่บกพร่องมากเกินไป เมื่อทำความเข้าใจตรงกันแล้ว ทีมประสานงานในระดับเขตและทีมพื้นที่จึงมีความยินดีที่จะเรียนรู้ไปด้วยกัน

1.1 วัตถุประสงค์

1) เพื่อให้ทราบผลและบอกถึงงานที่รับผิดชอบ
check_circle
2) เพื่อให้เห็นแนวโน้ม เพื่อเตือนภัย
check_circle
3) เพื่อเปลี่ยนพฤติกรรม และเข้าใจกระบวนการ
check_circle
4) เพื่อลำดับความสำคัญ แปลง ปรับกลยุทธ์ สู่การปฎิบัติ
check_circle
5) เพื่อเป็นเครื่องมือในการจัดการ ช่วยการควบคุม
check_circle
6) เพื่อจัดสรรทรัพยากร
check_circle
7) เพื่อการเรียนรู้ และรู้ขีดความสามารถ
check_circle
8) เพื่อเปรียบเทียบ ปรับปรุงและพัฒนา
check_circle
9) เพื่อช่วยเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กร
check_circle
10) เพื่อให้รางวัล เพื่อจูงใจ
11) อื่นๆ (ระบุรายละเอียด)
check_circle

1.เพื่อให้ทราบและเห็นประโยชน์ร่วมกัน

1.2 วิธีการ (ระบุรายละเอียดทำอะไร กับใคร กี่คน ผลสรุป)

1) ประชุมทีมประเมิน
check_circle
  1. ทำความเข้าใจภายในทีม และเสริมสร้างประสบการณ์และทัศนคติ

- ทำความเข้าใจในโครงการ เนื่องจากทีมประเมินและติดตามผล มาจากหลากหลายความเชี่ยวชาญ จึงได้มีการปรับความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับระบบสุขภาพทั้งในระดับนโยบาย ระดับเขต และระดับพื้นที่ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งระดับองค์ความรู้ เช่น กลไกสุขภาพระดับพื้นที่ ซึ่งก่อนหน้านี้บางท่านไม่ได้มีบริบทการใช้บริการระบบสุขภาพพื้นฐานในชุมชน ซึ่งใกล้ชิดกับวิถีชีวิตของประชาชนในชนบท กลุ่มเปราะบาง ผู้มีรายได้น้อย และกลุ่มเป้าหมายหลักตามกลไกหลักประกันสุขภาพ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระดับทัศนคติ และเกิดแรงบันดาลใจที่จะนำความเชี่ยวชาญในวิชาชีพไปใช้ให้เกิดประโยชน์กับประชาชนและสังคมมากยิ่งขึ้น

  1. การวางแผนการทำงาน
    โดยคำนึงถึงความยืดหยุ่นตามมาตรการผ่อนคลายของรัฐ ในช่วงโควิด19 โดยการบูรณาการ กำหนดการร่วมกับภาคีระดับเขต โดยมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องดังนี้

- บริบทและแผนการทำงานของ 1) สสส. 2) สปสช. 3) สธ. และ 4) สนส. - วิเคราะห์ข้อมูล และสรุปข้อมูลในขั้นตอนการกลั่นกรอง

2) ประชุมร่วมกับโครงการ
check_circle
  1. ประชุมรับทราบแนวทาง กรอบและหลักการของการประเมินโครงการ
  2. ประชุมเพื่อจัดทำแผนการดำเนินการประเมินโครงการ
  3. ประชุมรายงานความก้าวหน้าของการประเมินแผนงานโครงการ
  4. ประชุมสรุปผลการประเมิน แลกเปลี่ยนสรุปบทเรียน ทบทวนและต่อยอด
3) ประชุมร่วมกับโครงการและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
check_circle
  1. ประชุมร่วมกับผู้ให้ทุนสนับสนุนการดำเนินโครงการ (สสส. และ สนส.)
  2. ประชุมร่วมกับภาคีที่ร่วมขับเคลื่อนโครงการบูรณาการ (สปสช. สสจ. สช. กขป.เขต2) เพื่อจัดทำการกลั่นกรองและกำหนดขอบเขตการประเมิน ครั้งที่ 1 โดยมีผู้เข้าร่วม จำนวน 12 คน ในวันที่ 9 มิถุนายน 63 ณ สปสช.เขต 2 ซึงได้ผลดังนี้ ได้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับบริบทของพื้นที่ และข้อจำกัดในการเลือกพื้นที่ประเมินทั้งในแง่ภารงานของพื้นที่ที่สะสมและซ้ำซ้อน ระยะเวลาในการประเมินที่ใกล้เคียงกับโครงการอื่น งบประมาณของทีมประเมินที่มีอยู่จำกัด รวมถึงทัศนคติที่พื้นที่มีต่อการประเมินในรูปแบบเดิมหลังจากทำความเข้าใจรูปแบบการประเมินเครื่องมือที่เลือก HIA ประยุุกต์ใช้ในการประเมิน คุณค่าของการประเมิน จึงได้ข้อสรุปร่วมกับเป็นฉันทามติในประเด็นการเลือกพื้นที่ พชอ.เนินมะปราง โดยใช้รูปแบบที่ทีมประเมินได้ชี้แจง และได้บูรณาการกำหนดการการลงเยี่ยมเสริมพลังระดับพื้นที่ร่วมกับ สสจ.พิษณุโลก
  3. ประชุมเพื่อรับทราบข้อมูลและสื่อสารข้อมูลโครงการ พชอ.เนินมะปราง และกรรมการกองทุนส่งเสริมสุขภาพตำบลไทรย้อย เพื่อจัดทำการกลั่นกรองและกำหนดขอบเขตการประเมิน ครั้งที่ 2 ร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียระดับพื้นที่ จำนวน 50 คน จาก คณะกรรมการ พชอ. และผู้รับผิดชอบเชิงประเด็น อสม. และจิตอาสาในพื้นที่ ผลการดำเนินการจากกระบวนการมีส่วนร่วม ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีความเข้าใจในโครงการบูรณาการและบทบาทของตนเองต่อโครงการรวมถึงผลกระทบที่จะได้รับจากการประเมินและยังสะท้อนความคาดหวังต่อการประเมินในรูปแบบกัลยาณมิตรและการประเมินเพื่อการพัฒนา มีความเข้าใจการประยุกต์ใช้ HIA ในการประเมิน ในระดับพื้นฐานเข้าใจง่าย ซึ่งทีมประเมินได้พัฒนารูปแบบการสื่อสารให้เข้าถึงบริบทและการนำไปใช้จริง ทีมประเมินและติดตามผลได้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับแผนการดำเนินงาน กระบวนการขึ้นรูปของประเด็นการขับเคลื่อนในระดับพื้นที่ของ พชอ.เนินมะปราง ประกอบด้วย 1) ประเด็นอาหารปลอดภัย 2) ประเด็นอุบัติเหตุ และ 3) ประเด็นผู้สูงอายุ โดยใช้ฐานข้อมูลเชิงประเด็นจากภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง
4) อื่นๆ (ระบุรายละเอียด)
check_circle

ทบทวนเอกสารที่เกี่ยวข้อง เช่น แผนการขับเคลื่อน พชอ.เนินมะปราง และผลการกลั่นกรองและกำหนดขอบเขตการประเมิน ครั้งที่ 2

1.3 เครื่องมือ

1) เครื่องมือที่ใช้ในขั้นตอนการกลั่นกรอง (ระบุรายละเอียดเครื่องมือ เช่น แนวคำถามในการประชุมกลุ่ม)
check_circle

ทีมประเมินและติดตามผลได้ใช้เครื่องมือในขั้นตอนการกลั่นกรอง จำนวน 2 เครื่องมือ ดังนี้ 1. การสัมภาษณ์ สปสช. สสจ. สช. และพชอ. โดยมีแนวทางของสัมภาษณ์ เช่น ฉันทามติของการประเมิน ความคาดหวังของการประเมิน ทั้งในเชิงการประเมิน และเนื้อหา ขอบเขตการประเมิน 2. การสังเกตการณ์ ในการให้ข้อมูล และการนำเสนอข้อมูลของ สปสช. สสจ. สช. และพชอ. 3. บัตรคำ โดยมีแนวทางของข้อมูล คือ ฉันทามติของการประเมิน ขอบเขตการประเมิน ความคาดหวังของการประเมิน ทั้งในเชิงการประเมิน และเนื้อหา
4. กระบวนการกลุ่มแบบสุนทรียสนทนา ซึ่งถูกนำมาประยุกต์ใช้ทุกขั้นตอนของกระบวนการประเมิน ตั้งแต่ขั้นตอนการทำความเข้าใจในโครงการ การกลั่นกรองโครงการ การกำหนดขอบเขต การมีส่วนร่วมในการพัฒนาศักยภาพพี่เลี้ยงระดับเขต การทบทวนร่างรายงานร่วมกับพื้นที่เพื่อสนับสนุนแนวคิดการประเมินแบบเสริมพลัง

1.4 ผลที่ได้

1) ผลที่ได้ในขั้นตอนการกลั่นกรอง
check_circle

พื้นที่เห็นชอบกับร่วมกันกับการประเมินในรูปแบบ HIA โดยรับทราบในขอบเขตการประเมิน ได้แก่ เครื่องมือในการประเมิน ประเด็นในการประเมิน ตัวชี้วัด รวมถึงระยะเวลาในการประเมิน โดยมีความคาดหวังในประเมินคือ การประเมินแบบกัลยาณมิตร เสริมพลัง

2. การกำหนดขอบเขต

check_circle

ทีมประเมินและติดตามผลได้ดำเนินการจัดทำการกลั่นกรองพร้อมกับการกำหนดขอบเขตการประเมิน การประเมินโครงการนี้ มีขอบเขตใน 2 ลักษณะ คือ
1. ขอบเขตเชิงภารกิจ โดยใช้เครื่องมือการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ (HIA) ซึ่งมี 6 ขั้นตอน ได้แก่ การกลั่นกรอง การกำหนดขอบเขต การประเมิน การทบทวนรายงาน การตัดสินใจ และการติดตาม ประเมินผล เนื่องจาก ข้อจำกัดด้านเวลาของประเมินโครงการ ในขอบเขตเชิงภารกิจ จึงดำเนินการประเมินเพียง 4 ขั้นตอนแรก คือ การกลั่นกรอง การกำหนดขอบเขต การประเมิน การทบทวนรายงานการประเมิน 2. ขอบเขตเชิงโครงการ มีการกำหนดขอบเขตของการประเมินร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยมีการกำหนดปัจจัยของการประเมิน ได้แก่ กำหนดประเด็น ตัวชี้วัด ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย บริบทของพื้นที่ เครื่องมือในการประเมิน และภายในกรอบของเวลาที่กำหนด

1) วิธีการในการกำหนดขอบเขต
check_circle

ทีมประเมินและติดตามผลได้ดำเนินการจัดทำการกลั่นกรองพร้อมกับการกำหนดขอบเขตการประเมิน จำนวน 2 เครื่องมือ ดังนี้ 1. การสัมภาษณ์ สปสช. สสจ. สช. และพชอ. โดยมีแนวทางของสัมภาษณ์ เช่น ฉันทามติของการประเมิน ความคาดหวังของการประเมิน ทั้งในเชิงการประเมิน และเนื้อหา ขอบเขตการประเมิน 2. การสังเกตการณ์ ในการให้ข้อมูล และการนำเสนอข้อมูลของ สปสช. สสจ. สช. และพชอ. 3. บัตรคำ โดยมีแนวทางของข้อมูล คือ ฉันทามติของการประเมิน ขอบเขตการประเมิน ความคาดหวังของการประเมิน ทั้งในเชิงการประเมิน และเนื้อหา
4. กระบวนการกลุ่มแบบสุนทรียสนทนา ซึ่งถูกนำมาประยุกต์ใช้ทุกขั้นตอนของกระบวนการประเมิน ตั้งแต่ขั้นตอนการทำความเข้าใจในโครงการ การกลั่นกรองโครงการ การกำหนดขอบเขต การมีส่วนร่วมในการพัฒนาศักยภาพพี่เลี้ยงระดับเขต การทบทวนร่างรายงานร่วมกับพื้นที่เพื่อสนับสนุนแนวคิดการประเมินแบบเสริมพลัง

2) ผู้เข้าร่วมกำหนดขอบเขต
check_circle

ทีมประเมินและติดตามผลได้กำหนดผู้เข้าร่วมกำหนดขอบเขต จำนวน 2 กลุ่ม ดังนี้ กลุ่มที่ 1 คือ กลุ่มกลไกระดับเขตประกอบด้วย ผู้ประสานงานเขต สปสช.เขต 2 สช.(กขป.เขต 2) สสจ.(พชจ.) กลุ่มที่ 2 คือ กลุ่มกลไกสุขภาพระดับพื้นที่ พชอ.เนินมะปราง

3) เครื่องมือที่ใช้
check_circle
  1. การสัมภาษณ์ สปสช. สสจ. สช. และพชอ. โดยมีแนวทางของสัมภาษณ์ เช่น ฉันทามติของการประเมิน ความคาดหวังของการประเมิน ทั้งในเชิงการประเมิน และเนื้อหา ขอบเขตการประเมิน
  2. การสังเกตการณ์ ในการให้ข้อมูล และการนำเสนอข้อมูลของ สปสช. สสจ. สช. และพชอ.
  3. บัตรคำ โดยมีแนวทางของข้อมูล คือ ฉันทามติของการประเมิน ขอบเขตการประเมิน ความคาดหวังของการประเมิน ทั้งในเชิงการประเมิน และเนื้อหา
  4. กระบวนการกลุ่มแบบสุนทรียสนทนา ซึ่งถูกนำมาประยุกต์ใช้ทุกขั้นตอนของกระบวนการประเมิน ตั้งแต่ขั้นตอนการทำความเข้าใจในโครงการ การกลั่นกรองโครงการ การกำหนดขอบเขต การมีส่วนร่วมในการพัฒนาศักยภาพพี่เลี้ยงระดับเขต การทบทวนร่างรายงานร่วมกับพื้นที่เพื่อสนับสนุนแนวคิดการประเมินแบบเสริมพลัง

4) กรอบแนวคิด

1) ใช้กรอบ Ottawa charter
check_circle
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดเครื่องมือกลุ่มผู้ให้ข้อมูล
กองทุนตำบลมีแผนตามประเด็นปัญหาของพื้นที่
  1. ศักยภาพผู้ขับเคลื่อนระดับเขตและพื้นที่
  2. ฐานข้อมูลเชิงประเด็นของพื้นที่
  3. ระบบติดตามออน์ไลน์
  4. การมีส่วนร่วมของการทำแผน
  1. แบบประเมิน
  2. แบบสัมภาษณ์
  3. บัตรคำ
  4. กระบวนการกลุ่ม
  1. สสส.
  2. สนส.
  3. สปสช.
  4. สสจ.
  5. สช.
  6. กขป.เขต2
  7. พชอ.เนินมะปราง
  8. คณะกรรมการกองทุนสุขภาพตำบล
โครงการที่ของบจากกองทุนเป็นโครงการที่มีคุณภาพ
  1. ฐานข้อมูลสถานการณ์ของพื้นที่
  2. กระบวนการมีส่วนร่วม
  3. การได้รับการอนุมัติให้ดำเนินโครงการ
  1. วิเคราะห์ข้อมูลจากระบบ
  2. แบบสัมภาษณ์
  1. คณะกรรมการ พชอ.
  2. พี่เลี้ยงกองทุน
กองทุนตำบลมีระบบติดตามประเมินผลแบบ online
  1. ระบบติดตามออน์ไลน์
  2. ความพึงพอใจของผู้ใช้ระบบ
  1. ระบบติดตามออน์ไลน์
  2. แบบประเมินความพึงพอใจออนไลน์
  1. คณะกรรมการ พชอ.
  2. พี่เลี้ยงกองทุน
2) ใช้กรอบ ปัจจัยกำหนดสุขภาพ
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดเครื่องมือกลุ่มผู้ให้ข้อมูล
3) ใช้กรอบ Balance Score Card
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดเครื่องมือกลุ่มผู้ให้ข้อมูล
4) ใช้กรอบ CIPP
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดเครื่องมือกลุ่มผู้ให้ข้อมูล
5) อื่นๆ
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดเครื่องมือกลุ่มผู้ให้ข้อมูล

3. ลงมือประเมิน

check_circle

ทีมประเมินและติดตามได้ดำเนินการลงมือประเมินด้วยการสังเกตุกระบวนการมีส่วนร่วมในกิจกรรม สนทนากลุ่ม สัมภาษณ์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ได้แก่ พชอ. คณะกรรมการกองทุนสุขภาพตำบล การแสดงความเห็นผ่านบัตรคำ และ กระบวนการกลุ่มแบบสุนทรียสนทนา ซึ่งถูกนำมาประยุกต์ใช้ทุกขั้นตอนของกระบวนการประเมิน ตั้งแต่ขั้นตอนการทำความเข้าใจในโครงการ การกลั่นกรองโครงการ การกำหนดขอบเขต การมีส่วนร่วมในการพัฒนาศักยภาพพี่เลี้ยงระดับเขต การทบทวนร่างรายงานร่วมกับพื้นที่เพื่อสนับสนุนแนวคิดการประเมินแบบเสริมพลัง

1) กระบวนการเก็บข้อมูลโดยการมีส่วนร่วม (ระบุรายละเอียด)
check_circle

1.1 ประชุมทีมประเมินและติดตามเพื่อกำหนดขอบเขตการเก็บข้อมูล โดยการมีส่วนร่วม 1.2 ดำเนินการลงมือประเมินด้วยการสังเกตุกระบวนการมีส่วนร่วมในกิจกรรม
1.3 สัมภาษณ์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ได้แก่ พชอ. คณะกรรมการกองทุนสุขภาพตำบล
1.4 การแสดงความเห็นผ่านบัตรคำ
1.5 สนทนากลุ่มย่อยเชิงลึก 1.6 กระบวนการกลุ่มแบบสุนทรียสนทนา

2) กระบวนการวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูล (ระบุรายละเอียด)
check_circle

1.วิเคราะห์ข้อมูลจากระบบ เช่น แผนงาน โครงการ ตัวชี้วัด การเงิน ผลการดำเนินงาน โดยใช้ข้อมูลในระบบที่ผู้ใช้กรอกข้อมูล ได้แก่ระบบ https://localfund.happynetwork.org/ และ https://obt.nhso.go.th/obt/home 2.วิเคราะห์จากการลงพื้นที่ โดยการเข้าพบผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการจัดทำโครงการในพื้นที่เขต 2 ได้แก่ 1) ประชุมร่วมกับผู้ให้ทุนสนับสนุนการดำเนินโครงการ (สสส. และ สนส.) 2) ประชุมร่วมกับภาคีที่ร่วมขับเคลื่อนโครงการบูรณาการ (สปสช. สสจ. สช. กขป.เขต2) เพื่อจัดทำการกลั่นกรองและกำหนดขอบเขตการประเมิน ครั้งที่ 1 3) ประชุมเพื่อรับทราบข้อมูล พชอ.เนินมะปราง และ กรรมการกองทุนส่งเสริมสุขภาพตำบลไทรย้อย และเพื่อจัดทำการกลั่นกรองและกำหนดขอบเขตการประเมิน ครั้งที่ 2 4) การประเมินกิจกรรมของหลักสูตร Coaching ทีมระดับพื้นที่ พัฒนาทีมประเมินผลสุขภาวะตำบลแบบเสริมพลัง (ทีมกองทุนสุขภาพตำบลนำร่อง) เขต 2 3.วิเคราะห์จากเอกสารที่เกี่ยวข้อง เช่น เอกสารแผน โครงการ เอกสารที่เกี่ยวข้องของผู้รับผิดชอบหลักระดับเขต 4.วิเคราะห์จากการสัมภาษณ์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ได้แก่ ผู้แทนของผู้ดำเนินโครงการพัฒนาศักยภาพของ สปสช. ผู้ดำเนินโครงการบูรณาการ ผู้รับผิดชอบหลักระดับเขต ตัวแทนพี่เลี้ยงระดับพื้นที่ ที่มาจากตัวแทนทีมพี่เลี้ยงสังกัดกระทรวงสาธารณสุข (รพสต สสอ) ตัวแทน Coaching ทีม สปสช
5.วิเคราะห์จากการเข้าร่วมสังเกตการณ์ในการประชุมเชิงปฏิบัติการ Coaching ทีมระดับพื้นที่ ครั้งที่ 3 กิจกรรม การพัฒนาทีมประเมินผลสุขภาวะตำบลแบบเสริมพลัง (ทีมกองทุนสุขภาพตำบลนำร่อง) เขตพื้นที่ 2

3) ผู้มีส่วนร่วมในการประเมิน (ระบุรายละเอียด)
check_circle

ทีมประเมินติดตามและประเมินผลโครงการ และ พชอ. คณะกรรมการกองทุนสุขภาพตำบล

4) ผลการประเมิน (เรียงตามตัวชี้วัดที่กำหนดในขั้นตอน scoping)
check_circle
  1. ทีมประเมินได้ประชุมร่วมกับพื้นที่ และได้ฉันทามติในการเห็นชอบร่วมกันของการประเมิน
  2. ทีมประเมินได้กำหนดประเด็นในการประเมินและตัวชี้วัด ดังนี้
  3. กองทุนตำบลมีแผนตามประเด็นปัญหาของพื้นที่
    1.1 ศักยภาพผู้ขับเคลื่อนระดับเขตและพื้นที่ 1.2 ฐานข้อมูลเชิงประเด็นของพื้นที่ 1.3 ระบบติดตามออน์ไลน์ 1.4 การมีส่วนร่วมของการทำแผน
  4. โครงการที่ของบจากกองทุนเป็นโครงการที่มีคุณภาพ
    2.1 ฐานข้อมูลสถานการณ์ของพื้นที่ 2.2 กระบวนการมีส่วนร่วม 2.3 การได้รับการอนุมัติให้ดำเนินโครงการ
  5. กองทุนตำบลมีระบบติดตามประเมินผลแบบ online 3.1 ระบบติดตามออน์ไลน์ 3.2 ความพึงพอใจของผู้ใช้ระบบ
  6. ทีมประเมินเลือกพื้นที่ในการประเมิน คือ พชอ.เนินมะปราง
  7. เครืองที่ใช้ในการประเมิน ได้แก่ แบบประเมิน แบบสัมภาษณ์ บัตรคำ กระบวนการกลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลจากระบบ แบบสัมภาษณ์ ระบบติดตามออน์ไลน์ แบบประเมินความพึงพอใจออนไลน์
  8. ระยะเวลาในการประเมิน ช่วงเวลา 1 มิถุนายน ถึง 31 สิงหาคม พ.ศ.2563
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดผลการประเมินหมายเหตุ
1. กองทุนตำบลมีแผนตามประเด็นปัญหาของพื้นที่ (1) ใช้กรอบ Ottawa charter) ศักยภาพผู้ขับเคลื่อนระดับเขตและพื้นที่

มีการพัฒนาศักยภาพผู้ขับเคลื่อนระดับเขตและพื้นที่ อย่างตอเนื่อง เช่น ในระดับเขตพี่เลี้ยงกองทุนมีความรู้ ความเข้าใจ คุณค่า ความสำคัญของการนำฐานข้อมูลสถานการณ์มาใช้ในการจัดทำแผนงานโครงการมากขึ้น

ผู้รับการพัฒนาศักยภาพระดับเขตและพื้นที่ เป็นกลุ่มบุคคลที่ผ่านหลักสูตรการพัฒนาอื่นๆ ทีเกี่ยวข้อง

2. กองทุนตำบลมีแผนตามประเด็นปัญหาของพื้นที่ (1) ใช้กรอบ Ottawa charter) ฐานข้อมูลเชิงประเด็นของพื้นที่

ทีมประสานงานพี่เลี้ยงได้ดำเนินการจัดอบรมการกรอกข้อมูลในระบบ ซึ่งในปัจจุบันข้อมูลยังไม่ครบถ้วน จากการประสานงาน ณ วันที่ 9 กันยายน 2563 ได้ทราบว่าจะดำเนินการจัดฝึกอบรม ในวันที่ 15 กันยายน 2563

ณ เวลาปัจจุบันผู้ดำเนินโครงการอยู่ระหว่างการดำเนินการกรอกข้อมูลลงในระบบ

3. กองทุนตำบลมีแผนตามประเด็นปัญหาของพื้นที่ (1) ใช้กรอบ Ottawa charter) ระบบติดตามออน์ไลน์

ในปัจจุบันข้อมูลยังไม่ครบถ้วน จากการประสานงาน ณ วันที่ 9 กันยายน 2563 ได้ทราบว่าจะดำเนินการจัดฝึกอบรม ในวันที่ 15 กันยายน 2563

ณ เวลาปัจจุบันผู้ดำเนินโครงการอยู่ระหว่างการดำเนินการกรอกข้อมูลลงในระบบ

4. กองทุนตำบลมีแผนตามประเด็นปัญหาของพื้นที่ (1) ใช้กรอบ Ottawa charter) การมีส่วนร่วมของการทำแผน

ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้าร่วมครบทุกภาคส่วน ประกอบด้วย คณะกรรมการกองทุน ตัวแทนประเด็น ตัวแทน พชอ.

 

5. โครงการที่ของบจากกองทุนเป็นโครงการที่มีคุณภาพ (1) ใช้กรอบ Ottawa charter) ฐานข้อมูลสถานการณ์ของพื้นที่

ในปัจจุบันข้อมูลยังไม่ครบถ้วน ทีมประเมินจึงได้ทำการสัมภาษณ์เพิ่มเติมถึงข้อจำกัด พบว่า โคงการของทุกกองทุนได้ผ่านการอนุมัติ และจะดำเนินการกรอกข้อมูลในระบบ ในวันที่ 15 กันยายน 63

 

6. โครงการที่ของบจากกองทุนเป็นโครงการที่มีคุณภาพ (1) ใช้กรอบ Ottawa charter) กระบวนการมีส่วนร่วม

อยู่ในระหว่างพัฒนาข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน

 

7. โครงการที่ของบจากกองทุนเป็นโครงการที่มีคุณภาพ (1) ใช้กรอบ Ottawa charter) การได้รับการอนุมัติให้ดำเนินโครงการ

อยู่ในระหว่างพัฒนาข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน เนื่องจากการประเมินแนวโน้มและอยู่ในรูปแบบไปข้างหน้า

โครงการที่ได้รับการพิจารณาจากกองทุนอยู่ระหว่างดำเนินโครงการ ผลการประเมินจะประเมินได้แค่แนวโน้ม

8. กองทุนตำบลมีระบบติดตามประเมินผลแบบ online (1) ใช้กรอบ Ottawa charter) ระบบติดตามออน์ไลน์

มีเว็บไซต์ติดตามการประเมินผล

 

9. กองทุนตำบลมีระบบติดตามประเมินผลแบบ online (1) ใช้กรอบ Ottawa charter) ความพึงพอใจของผู้ใช้ระบบ

ข้อมูลในระบบยังไม่เป็นปัจจุบัน ระบบติดตามประเมินผล online อยู่ระหว่างการเรียนรู้ และพัฒนาระบบ

 

5) อื่นๆ
check_circle

ข้อค้นพบอื่นๆ เส้นทางการเรียนรู้นักประเมิน -ปรับมุมมองของผู้ประเมินต่อระบบสุขภาพ และกลไกสุขภาพระดับพื้นที่
-ได้นำความรู้ด้าน HIA มาพัฒนาศักยภาพทีม พชอ. ระดับเขต ประยุกต์ใช้ร่วมกับสุนทรียสนทนา และจิตตปัญญาเพื่อเสริมพลังระดับคุณค่าแก่ทีมพี่เลี้ยงและทีมพื้นที่ -ได้นำความรู้ด้าน HIA ไปประยุกต์ใช้ในการประเมินด้านอื่นๆ ในภารกิจที่รับผิดชอบ เช่น การตรวจประเมินความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ การประเมินด้านความปลอดภัยทางชีวภาพ -ได้เกิดกระบวนการเรียนรู้ แบบนิเวศบูรณาการ นิเวศบูรณาการ คุณค่า และความมั่นคงของชีวิตมนุษย์ คือแกนกลางความมั่นคงของรัฐทุกกลไกถูกออกแบบเพื่อปกป้องแกนกลางนี้
ห่วงโซ่ ของนิเวศบูรณาการ คือ การเกื้อกูลกันอย่างมีวุฒิภาวะของทุกกลไก สะท้อน สุขภาวะทางปัญญาและความเข้าใจคุณค่าของแกนกลาง การประเมินติดตามผล เป็นกระบวนการของการทบทวนสุขภาวะทางปัญญาร่วมกันของทกภาคส่วนในสังคม

4. ทบทวนรายงานการประเมินว่าถูกต้องหรือไม่?

check_circle

พบว่าการขึ้นรูปแผนโดยอิงจากฐานข้อมูลด้านสุขภาพเป็นหลัก พบว่าการมีกลไก พชอ.ช่วยให้เกิดการบูรณาการระดับพื้นที่มีความตื่นตัวในการมีส่วนร่วมทั้งกลไกระดับหัวหน้าส่วนราชการ ระดับปฏิบัติการและจิตอาสาในพื้นที่ มีผลงานเชิงตัวชี้วัดชัดเจนขึ้นในประเด็นร่วมนั้น ๆ แนวทางการพัฒนาคือขยายและยกระดับประเด็นบนฐานข้อมูลสถานการณ์ของพื้นที่ กระจายผู้รับผิดชอบหลักให้ครอบคลุมคุณภาพชีวิตประชาชนมากขึ้น พบว่าบางกองทุนสามารถใช้เงินได้สอดคล้องตามวัตถุประสงค์ ลดจำนวนเงินค้างท่อสะสมได้ดีโดยมีปัจจัยสำคัญจากการบูรณาการภายในด้านระเบียบกองทุนกับระเบียบของท้องถิ่น ทั้งยังได้รับผลกระทบเชิงบวกจากการพัฒนาศักยภาพพี่เลี้ยงจากภาคีระดับเขต ข้อหารือด้านการพัฒนาระบบฐานข้อมูลสถานการณ์เชิงพื้นที่และเชิงประเด็นให้มีการพัฒนายกระดับเป็นระบบฐานข้อมูลกลางของพื้นที่เสนอให้มีนโยบายกลไกระบบฐานข้อมูลจากส่วนกลางช่วยเชื่อมโยงข้อมูลและประมวลผลให้เป็นภาพรวมทั้งระดับพื้นที่และระดับกระทรวง ข้อหารือ ทักษะการวิเคราะห์และยกระดับข้อมูลและกระบวนการมีส่วนร่วม

1) กระบวนการในการทบทวนรายงาน
check_circle
  1. ทีมประเมินและติดตามผล ได้จัดทำร่างรายงาน และนัดหมายพื้นที่เพื่อคืนข้อมูล ร่วมทบทวนร่างรายงาน แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับข้อจำกัดและข้อเสนอแนะใน 4 ประเด็นหลัก คือ
  2. แผนงานโครงการ
  3. การใช้เงินกองทุน
  4. ระบบติดตามผลออนไลน์ และฐานข้อมูลระดับพื้นที่
  5. ผลสะท้อนรูปแบบและกระบวนการประเมิน
2) ผู้มีส่วนร่วมในการทบทวนรายงาน
check_circle

ทีมประเมินและติดตามผล ตัวแทน พชอ. ตัวแทนพื้นที่ และตัวแทนเชิงประเด็นตามแผน พชอ.

3) ผลการทบทวนร่างรายงาน
check_circle

ผลการทบทวนร่างรายงาน และการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับข้อจำกัดและข้อเสนอแนะใน 4 ประเด็นหลัก คือ
1. แผนงานโครงการ
- พบว่าการขึ้นรูปแผนโดยอิงจากฐานข้อมูลด้านสุขภาพเป็นหลัก ส่งผลให้ผู้รับผิดชอบหลักยังคงเป็นหน่วยงานสาธารณสุข ไม่คลอบคลุมภารกิจการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคณะกรรมการ พชอ. ซึ่งมีมิติที่เกี่ยวข้องหลากหลาย ต้องอาศัยกระบวนการมีส่วนร่วมให้คลอบคลุมทั้งผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและพัฒนาทักษะการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมการวิเคราะห์และยกระดับข้อมูลด้วยกระบวนการเสริมพลังทั้งผู้รับผิดชอบแและผู้ได้รับผลกระทบ - พบว่าการมีกลไก พชอ.ช่วยให้เกิดการบูรณาการระดับพื้นที่มีความตื่นตัวในการมีส่วนร่วมทั้งกลไกระดับหัวหน้าส่วนราชการ ระดับปฏิบัติการและจิตอาสาในพื้นที่ ทำให้มีผลงานเชิงตัวชี้วัดชัดเจนขึ้นในประเด็นร่วมนั้น ๆ
- แนวทางการพัฒนาคือขยายและยกระดับประเด็นบนฐานข้อมูลสถานการณ์ของพื้นที่ให้คลอบคลุม และกระจายผู้รับผิดชอบหลักให้ครอบคลุมคุณภาพชีวิตประชาชนมากขึ้น นอกจากนี้ พื้นที่ได้มีข้อเสนอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดอบรมพัฒนาศักยภาพ คณะกรรมการ พชอ.ให้ครอบคลุมทัศนคติ องค์ความรู้ การมีส่วนร่วม และความเป็นเจ้าของร่วมกันของความเป็น พชอ. 2. การใช้เงินกองทุน - พบว่าบางกองทุนสามารถใช้เงินได้สอดคล้องตามวัตถุประสงค์ ลดจำนวนเงินค้างท่อสะสมได้ดี ในขณะที่บางกองทุนยังมีข้อจำกัด โดยมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องคือ การบูรณาการภายใน ความเข้าใจด้านระเบียบกองทุนกับระเบียบของท้องถิ่น ด้านความเป็นเอกภาพในองค์กร นอกจากนี้ ในบางพื้นที่ที่มีการดำเนินงานได้ดี โดยได้รับผลกระทบเชิงบวกจากการพัฒนาศักยภาพพี่เลี้ยงจากภาคีระดับเขต
- แนวทางการพัฒนาคือฝึกทักษะด้านการบูรณาการระเบียบกองทุนกับระเบียบของท้องถิ่น และการตีความระเบียบกองทุน พร้อมตัวอย่างประกอบ ที่มีความสอดคล้องกันในทุกระดับ ทั้ง ระดับ สตง. นโยบายระดับเขต ระดับท้องถิ่น เพื่อให้มีความเข้าใจในทิศทางเดียวกัน 3. ระบบติดตามผลออนไลน์ และฐานข้อมูลระดับพื้นที่ - ข้อหารือด้านการพัฒนาระบบฐานข้อมูลสถานการณ์เชิงพื้นที่และเชิงประเด็นให้มีการพัฒนายกระดับเป็นระบบฐานข้อมูลกลางของพื้นที่เสนอให้มีนโยบายกลไกระบบฐานข้อมูลจากส่วนกลางช่วยเชื่อมโยงข้อมูลและประมวลผลให้เป็นภาพรวมทั้งระดับพื้นที่และระดับกระทรวง 4. ผลสะท้อนรูปแบบและกระบวนการประเมิน - ข้อหารือ ทักษะการวิเคราะห์และยกระดับข้อมูลและกระบวนการมีส่วนร่วม

4) สรุปผลการประเมินสำคัญที่นำเข้าเวทีการทบทวน
check_circle
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดสรุปผลการประเมินหมายเหตุ
1. กองทุนตำบลมีแผนตามประเด็นปัญหาของพื้นที่ (1) ใช้กรอบ Ottawa charter) ศักยภาพผู้ขับเคลื่อนระดับเขตและพื้นที่

มีการพัฒนาศักยภาพผู้ขับเคลื่อนระดับเขตและพื้นที่ อย่างตอเนื่อง เช่น ในระดับเขตพี่เลี้ยงกองทุนมีความรู้ ความเข้าใจ คุณค่า ความสำคัญของการนำฐานข้อมูลสถานการณ์มาใช้ในการจัดทำแผนงานโครงการมากขึ้น

ผู้รับการพัฒนาศักยภาพระดับเขตและพื้นที่ เป็นกลุ่มบุคคลที่ผ่านหลักสูตรการพัฒนาอื่นๆ ทีเกี่ยวข้อง

2. กองทุนตำบลมีแผนตามประเด็นปัญหาของพื้นที่ (1) ใช้กรอบ Ottawa charter) ฐานข้อมูลเชิงประเด็นของพื้นที่

ทีมประสานงานพี่เลี้ยงได้ดำเนินการจัดอบรมการกรอกข้อมูลในระบบ ซึ่งในปัจจุบันข้อมูลยังไม่ครบถ้วน จากการประสานงาน ณ วันที่ 9 กันยายน 2563 ได้ทราบว่าจะดำเนินการจัดฝึกอบรม ในวันที่ 15 กันยายน 2563

ณ เวลาปัจจุบันผู้ดำเนินโครงการอยู่ระหว่างการดำเนินการกรอกข้อมูลลงในระบบ

3. กองทุนตำบลมีแผนตามประเด็นปัญหาของพื้นที่ (1) ใช้กรอบ Ottawa charter) ระบบติดตามออน์ไลน์

ในปัจจุบันข้อมูลยังไม่ครบถ้วน จากการประสานงาน ณ วันที่ 9 กันยายน 2563 ได้ทราบว่าจะดำเนินการจัดฝึกอบรม ในวันที่ 15 กันยายน 2563

ณ เวลาปัจจุบันผู้ดำเนินโครงการอยู่ระหว่างการดำเนินการกรอกข้อมูลลงในระบบ

4. กองทุนตำบลมีแผนตามประเด็นปัญหาของพื้นที่ (1) ใช้กรอบ Ottawa charter) การมีส่วนร่วมของการทำแผน

ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้าร่วมครบทุกภาคส่วน ประกอบด้วย คณะกรรมการกองทุน ตัวแทนประเด็น ตัวแทน พชอ.

 

5. โครงการที่ของบจากกองทุนเป็นโครงการที่มีคุณภาพ (1) ใช้กรอบ Ottawa charter) ฐานข้อมูลสถานการณ์ของพื้นที่

ในปัจจุบันข้อมูลยังไม่ครบถ้วน ทีมประเมินจึงได้ทำการสัมภาษณ์เพิ่มเติมถึงข้อจำกัด พบว่า โคงการของทุกกองทุนได้ผ่านการอนุมัติ และจะดำเนินการกรอกข้อมูลในระบบ ในวันที่ 15 กันยายน 63

 

6. โครงการที่ของบจากกองทุนเป็นโครงการที่มีคุณภาพ (1) ใช้กรอบ Ottawa charter) กระบวนการมีส่วนร่วม

อยู่ในระหว่างพัฒนาข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน

 

7. โครงการที่ของบจากกองทุนเป็นโครงการที่มีคุณภาพ (1) ใช้กรอบ Ottawa charter) การได้รับการอนุมัติให้ดำเนินโครงการ

อยู่ในระหว่างพัฒนาข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน เนื่องจากการประเมินแนวโน้มและอยู่ในรูปแบบไปข้างหน้า

โครงการที่ได้รับการพิจารณาจากกองทุนอยู่ระหว่างดำเนินโครงการ ผลการประเมินจะประเมินได้แค่แนวโน้ม

8. กองทุนตำบลมีระบบติดตามประเมินผลแบบ online (1) ใช้กรอบ Ottawa charter) ระบบติดตามออน์ไลน์

มีเว็บไซต์ติดตามการประเมินผล

 

9. กองทุนตำบลมีระบบติดตามประเมินผลแบบ online (1) ใช้กรอบ Ottawa charter) ความพึงพอใจของผู้ใช้ระบบ

ข้อมูลในระบบยังไม่เป็นปัจจุบัน ระบบติดตามประเมินผล online อยู่ระหว่างการเรียนรู้ และพัฒนาระบบ

 

5) อื่นๆ

 

5. การปรับปรุงทบทวนโครงการ

check_circle

 

1) ข้อเสนอเพื่อการทบทวนโครงการ
check_circle
  1. ระบบติดตามและประเมินผลโครงการ https://mehealthpromotion.com/ ควรเพิ่มคำอธิบายของการกรอกข้อมูล เพื่อความเข้าใจที่ตรงกันในการกรอก
  2. การสื่อสาร เช่น ประเด็นการกรอกข้อมูลในระบบ ปัญหาอุปสรรค์และความต้องการในการช่วยเหลือ ระหว่างที่ประเมินและติดตามผล และทีมผู้ประสานงานเขตและพื้นที่
  3. ความชัดเจน และความเข้าใจที่ตรงกัน ระหว่าง ทีมโครงการบูรณาการ ทีมพี่เลี่ยง ทีมติดตามและประเมินผล
2) อื่นๆ

 

6. ได้มีการปรับปรุงทบทวนโครงการตามข้อ 5 หรือไม่?

check_circle

 

1) กลไกในการติดตามการปรับปรุงโครงการตามข้อเสนอแนะ
check_circle

 

2) วิธีการติดตาม การปรับปรุงโครงการตามข้อเสนอแนะ
check_circle

 

3) อื่นๆ
check_circle

 

สรุป

อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ

 

เอกสารอ้างอิง

 

เอกสารประกอบโครงการ