ระบบติดตามและประเมินผลโครงการ ( M&E Thailand )

directions_run

โครงการบูรณาการกลไกสุขภาพชุมชน เขต 12 อำเภอละงู จังหวัดสตูล

แบบประเมินด้วยขั้นตอน HIA

บทคัดย่อ/บทนำ

บทคัดย่อ

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) รวบรวมโครงการ/แผนงานที่เกี่ยวข้องกับโครงการบูรณาการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะและพัฒนากลไกสุขภาวะ 2) ประเมินติดตามโครงการบูรณาการ ฯ ด้วยเครื่องมือ HIA และ 3) เสนอแนะแนวทางการดำเนินงานเพื่อปรับปรุงพัฒนาโครงการบูรณาการ ฯ ตามกรอบ Ottawa Charter 5 ด้าน ได้แก่ ศักยภาพคน สภาพแวดล้อม ระบบกลไก บูรณาการเสริมสร้างความเข้มเข็ง และการพัฒนานโยบายสาธารณะ โดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างและแบบสอบถาม โดยดำเนินการกับกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ทีมวิชาการ ทีมผู้ประสานงาน ทีมพี่เลี้ยง คณะกรรมการกองทุน ผู้รับผิดชอบโครงการ และผู้เสนอโครงการ ผลการดำเนินงานพบว่า ด้านผลผลิต (Output) บรรลุผลในส่วนของกิจกรรมการดำเนินงานของทีมทำงาน/พี่เลี้ยงในพื้นที่เป้าหมาย (7ข้อตามกรอบโครงการบูรณาการ) และเกิดแผนงานครบ 5 ด้าน แนวโน้ม 3 ปี เป็นโครงการต่อเนื่อง มีการใช้ระบบติดตามประเมินผลออนไลน์ในกองทุน สามารถดูรายละเอียดโครงการผ่านระบบออนไลน์ได้ และมีการติดตามโครงการบางส่วนที่ปรากฏในระบบ รายละเอียดการเขียนข้อเสนอโครงการมากกว่าร้อยละ 90 ครบทุกประเด็นและสอดคล้องกันระหว่างประเด็นปัญหา วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด แต่ไม่มีการประเมินคุณค่าโครงการ ด้านผลลัพธ์ (outcome) พบว่า ไม่บรรลุผล กล่าวคือ พชอ. ยังไม่ได้แผนบูรณาการจำแนกตามประเด็นจากแผนของแต่ละกองทุน ยังไม่มีการดำเนินโครงการระดับอำเภอมีการบูรณาการร่วมกัน และ พชอ. ยังไม่มีฐานข้อมูลสถานการณ์และแผนงานระดับตำบลและอำเภอ และด้านผลกระทบ (Impact) พบว่าสถานการณ์ระบบสุขภาพชุมชนดีขึ้นเกิดการขยายผล ตื่นตัว และเปลี่ยนแปลงแนวคิด ข้อเสนอแนะ ได้แก่ 1) ถอดบทเรียน การจัดการความรู้จากผู้นำพี้เลี้ยงที่มีบทบาทสูงไปยังกลุ่มพี่เลี้ยงที่เข้ามาใหม่ ๆ เป็นประจำ และทำให้เกิดแนวปฏิบัติที่ดีในการพัฒนาศักยภาพคน 2) เสริมโครงการพัฒนาศักยภาพพี่เลี้ยงรุ่นใหม่ให้มีความรู้ความเข้าใจในระดับใกล้เคียงกันเพื่อร่วมผลักดันการเกิดโครงการที่มีประสิทธิภาพ 3) การใช้ประโยชน์ระบบประเมินผลออนไลน์เพื่อจัดเก็บข้อมูลในระบบ แต่ไม่ได้มีการสังเคราะห์ วิเคราะห์เพื่อนำไปต่อยอดในการพัฒนาโครงการใหม่ ๆ และไม่ได้นำไปใช้ประโยชน์อื่น ๆ 4) ทบทวนระบบและกลไกที่เป็นส่วนเชื่อมต่อระหว่างตำบลสู่ระดับอำเภอ เนื่องจากปัจจุบันการเชื่อมโยงระหว่างตำบลสู่อำเภอยังไม่เกิดขึ้น จึงทำให้ไม่เกิดการบูรณาแผนในระดับอำเภอ 5) สร้างกลไกให้หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องในระดับอำเภอได้นำข้อมูลและโครงการที่เกิดขึ้นในระดับตำบล ทำให้เกิดแผนงานจากระดับล่างสู่ระดับบน และส่งต่อไปยังระดับจังหวัด 6) สร้างโมเดลตัวอย่างการจัดทำแผนจากระดับล่างสู่ระดับบน เป็นต้นแบบเฉพาะใน 1 ตำบลเพื่อให้เห็นรูปแบบการวางระบบและกลไกจากระดับล่างสู่ระดับบน เพื่อนำไปขยายผลต่อไป 7) ควรขับเคลื่อนแผนงานจากโครงการย่อยสู่โครงการใหญ่ และวางเป้าหมาย กำหนดตัวชี้วัดเพื่อตอบเป้าหมายเดียวกัน และ 8) ควรมีการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ในระดับอำเภอ

คำสำคัญ

การติดตามประเมิน, การประเมินผลกระทบสุขภาพ, อำเภอละงู, จังหวัดสตูล Evaluation, Health Impact Assessment, La-ngu, Satun

บทนำ

โครงการบูรณาการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะและพัฒนากลไกสุขภาวะระดับพื้นที่ เป็นโครงการพัฒนากลไกการดำเนินงานเสริมสร้างสุขภาวะในพื้นที่การทำงาน พัฒนาโครงการ และติดตามประเมินผลโครงการ โดย การดำเนินงานร่วมกันของเครื่อข่าย สสส. สปสช. และสธ. และเพื่อดำเนินการนำร่องพื้นที่ต้นแบบการบูรณาการขับเคลื่อนสร้างเสริมสุขภาวะในกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ โดยการพัฒนาศักยภาพทีมกลไกร่วมในการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะในพื้นที่ทั้งในทีมระดับเขตและระดับพื้นที่ คลินิกให้คำปรึกษาการพัฒนาโครงการ และการใช้ระบบพัฒนาโครงการและระบบติมตามปละเมินผลโครงการออนไลน์ ตลอดจนการดำเนินการนำร่องพื้นที่ต้นแบบสร้างเสริมสุขภาวะในกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือระดับพื้นที่ในประเด็นกิจกรรมทางกาย อาหารและโภชนาการ เหล้า บุหรี่ และสารเสพติด เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้และพัฒนาทักษะการ coaching ในการสนับสนุนการจัดทำแผน การพัฒนาข้อเสนอโครงการที่มีคุณภาพ รวมไปถึงการมีระบบติดตามและประเมินผลที่มีประสิทธิภาพ ดังนั้นกลไกที่จะทำให้การดำเนินงานเป็นไปตามแผนจึงจำเป็นต้องมีระบบติดตามประเมินผลโครงการเพื่อให้เกิดชุดข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์ผลการดำเนินงานที่สอดคล้องกับเป้าหมายในระดับต่างๆ และเกิดแนวทางการแก้ไขหรือปรับปรุงการดำเนินโครงการ ตลอดจนสามารถใช้ข้อมูลในการตัดสินใจหยุดดำเนินการเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบเชิงลบ การใช้การประเมินแบบเสริมพลัง จะช่วยให้ผู้ที่ดำเนินโครงการเกิดแรงบันดาลใจต่อการดำเนินโครงการเพื่อการพัฒนาแนวคิดต่อยอด และเกิดการขยายผลสู่สังคมในวงกว้าง การติดตามประเมินผลโครงการบูรณาการ ฯ ทำได้ทั้งก่อนดำเนินการ ระหว่างดำเนินการและหลังดำเนินการ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดการสร้างเสริมพลัง และการปรับปรุงการทำงานเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์โครงการ ฯ การผลักดันเพื่อให้ผลการประเมินโครงการ ฯ นำไปสู่การปรับปรุงกระบวนการทำงาน และการบรรลุผลสัมฤทธิ์กับผลผลิต ผลลัพธ์ และผลกระทบ โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมเป็นกลไกที่ช่วยในการขับเคลื่อนงาน และทำให้ผลการประเมินผลโครงการ ฯ ได้รับการยอมรับเพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงและปรับปรุงกระบวนการทำงานได้ ดังนั้นวิธีการประเมินผลกระทบสุขภาพ จึงเป็นวิธีการที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้เพื่อให้กระบวนการมีส่วนร่วมได้นำมาใช้ในการประเมินโครงการ ฯ ดังนั้นการศึกษาในครั้งนี้ จึงประยุกต์ใช้วิธีการประเมินผลกระทบทางสุขภาพมาเป็นเครื่องมือและให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้ร่วมกระบวนการประเมิน 4 ขั้นตอน ดังนี้ การกลั่นกรองข้อมูล การกำหนดขอบเขต การประเมินผล และการทบทวน/คืนข้อมูล

หมายเหตุ
  • บทคัดย่อ/บทนำ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

แบบประเมิน HIA

1. การกลั่นกรองโครงการ

check_circle

ขั้นตอนการ Screening มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พิจารณาว่ามีความจำเป็นจะต้องดำเนินการประเมินผลกระทบทางสุขภาพหรือไม่ โดยพิจารณาถึงความรุนแรงของผลกระทบ ขนาดของผลกระทบ จํานวนประชากรที่ได้รับผลกระทบ
2) ศึกษารายละเอียดโครงการบูรณาการ ฯ โดยดูวัตถุประสงค์โครงการ Input Process Output Outcome Impact
3) วิเคราะห์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องกับโครงการบูรณาการ ฯ ทั้งทีมทำงานที่เกี่ยวข้องภายในโครงการได้แก่ ทีมทำงานทั้งหมด และทีมเชิงพื้นที่ และทีมหนุนเสริมจากภายนอก ได้แก่ หน่วยงานภายนอก ทั้งภาครัฐและเอกชน 4) ศึกษารายละเอียดโครงการ ฯ 5 แผนงาน ได้แก่ แผนงานเหล้า บุหรี่ สารเสพติด อาหารและโภชนาการและกิจกรรมทางกาย โดยเข้าไปศึกษารายละเอียดในเว็บไซต์
5) เลือกพื้นที่ศึกษา และศึกษารายละเอียดบริบทที่เกี่ยวข้อง

1.1 วัตถุประสงค์

1) เพื่อให้ทราบผลและบอกถึงงานที่รับผิดชอบ
2) เพื่อให้เห็นแนวโน้ม เพื่อเตือนภัย
3) เพื่อเปลี่ยนพฤติกรรม และเข้าใจกระบวนการ
4) เพื่อลำดับความสำคัญ แปลง ปรับกลยุทธ์ สู่การปฎิบัติ
5) เพื่อเป็นเครื่องมือในการจัดการ ช่วยการควบคุม
6) เพื่อจัดสรรทรัพยากร
7) เพื่อการเรียนรู้ และรู้ขีดความสามารถ
8) เพื่อเปรียบเทียบ ปรับปรุงและพัฒนา
9) เพื่อช่วยเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กร
10) เพื่อให้รางวัล เพื่อจูงใจ
11) อื่นๆ (ระบุรายละเอียด)

 

1.2 วิธีการ (ระบุรายละเอียดทำอะไร กับใคร กี่คน ผลสรุป)

1) ประชุมทีมประเมิน
check_circle

1) การประชุมเพื่อทำความเข้าใจรายละเอียดโครงการ ฯ วัตถุประสงค์โครงการ และจำแนก Input Process Output Outcome และ Impact ของโครงการ ร่วมกับทีมทำงานโครงการบูรณาการ ได้แก่ ทีมวิชาการ ทีมผู้ประสานงานระดับเขต พี่เลี้ยงระดับจังหวัด ทีมพี่เลี้ยงระดับตำบล คณะกรรมการกองทุน และผู้รับผิดชอบกองทุน
2) การวิเคราะห์กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ทั้งภายในและภายนอกโครงการ ฯ โดยทีมประเมินพัฒนาเครื่องมือเป็นแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และนำไปสัมภาษณ์ ทีมวิชาการ ทีมผู้ประสานงานระดับเขต พี่เลี้ยงระดับจังหวัด ทีมพี่เลี้ยงระดับตำบล คณะกรรมการกองทุน และผู้รับผิดชอบกองทุน
3) การศึกษารายละเอียดโครงการ ฯ 5 แผนงาน ได้แก่ แผนงานเหล้า บุหรี่ สารเสพติด อาหารและโภชนาการและกิจกรรมทางกาย โดยเข้าไปศึกษารายละเอียดในเว็บไซต์ และพัฒนาเครื่อมือเพื่อไปสัมภาษณ์เพิ่มเติมในขั้นตอนการกำหนดขอบเขต

2) ประชุมร่วมกับโครงการ
check_circle

1) ประชุมร่วมกับทีมวิชาการ เพื่อสัมภาษณ์แนวคิดในการจัดทำโครงการ วัตถุประสงค์ และผลการดำเนินงานที่ผ่านมา ปัญหา อุปสรรค ระบุผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องและจำนวนในแต่ละกลุ่ม โดยใช้เครื่องมือ Checklist และแลกเปลี่ยนแนวคิดการประเมินโครงการตามกรอบแนวคิดต่าง ๆ เพื่อทำความเข้าใจร่วมกัน

3) ประชุมร่วมกับโครงการและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
check_circle

จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ โดยในขั้นตอนนี้ดำเนินการร่วมกับขั้นตอนการ Scoping มีผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ได้แก่ ทีมวิชาการ ทีมผู้ประเมิน พี่เลี้ยง คณะกรรมการกองทุน ผู้รับผิดชอบกองทุน และผู้เสนอโครงการ และทีมประเมิน มาร่วมกันกำหนดพื้นที่ และทำความเข้าใจภาพรวม บริบทพื้นที่

4) อื่นๆ (ระบุรายละเอียด)

 

1.3 เครื่องมือ

1) เครื่องมือที่ใช้ในขั้นตอนการกลั่นกรอง (ระบุรายละเอียดเครื่องมือ เช่น แนวคำถามในการประชุมกลุ่ม)
check_circle

1) แบบสัมภาษณ์ วัตถุประสงค์โครงการบูรณาการ ฯ มีความคาดหวังเป้าหมายอย่างไร ความจำเป็นในการติดตามประเมินผลหรือไม่ อย่างไร มีใครเกี่ยวข้องโดยตรงกับโครงการ มีบทบาทหน้าที่อย่างไร 2) การประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อร่วมกันทำความเข้าใจบริบทเชิงพื้นที่ วัตถุประสงค์การประเมินติดตาม

1.4 ผลที่ได้

1) ผลที่ได้ในขั้นตอนการกลั่นกรอง
check_circle

1) ทราบรายละเอียดของโครงการบูรณาการ ฯ และเป้าหมายของโครงการ ได้แก่ Input Process Output Outcome Impact 2) ทราบความจำเป็นในการติดตามประเมินผล เพื่อนำไปสู่การปรับปรุงกระบวนการและการติตดามผลผลิต ผลลัพธ์ ผลกระทบ 3) ทราบแผนงาน/โครงการที่ดำเนินการไปแล้วในปีงบประมาณ2563 ทั้ง 5 แผนงาน และโครงการที่พัฒนา รายละเอียดโครงการจำแนกตามกองทุนในอำเภอละงู จังหวัดสตูล 4) เข้าใจกรอบแนวคิดที่จะใช้ในการประเมิน และเลือกกรอบแนวคิดที่จะนำไปใช้ในกระบวนการ Scoping 5) เข้าใจบริบทเชิงพื้นที่

2. การกำหนดขอบเขต

check_circle

 

1) วิธีการในการกำหนดขอบเขต
check_circle

วิธีการในการกำหนดขอบเขตการประเมิน ผ่านการประชุมเชิงปฏิบัติการ โดยมีขั้นตอน ดังนี้ 1) คัดเลือกกรอบแนวคิดในการประเมิน โดยทีมประเมินเลือกใช้กรอบแนวคิด Ottawa Charter ในการประเมิน ฯ ร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และได้ข้อสรุปร่วมกันในการกำหนดกรอบแนวคิด 2) คัดเลือกตัวชี้วัดที่ใช้ในการประเมิน จำแนกตามกรอบแนวคิด Ottawa Charter จำนวน 5 ด้าน ในขั้นตอนนี้ทำร่วมกันระหว่างทีมผู้ประเมิน ฯ ตัวแทนทีมวิชาการ ทีมพี่เลี้ยง คณะกรรมการกองทุน ผู้รับผิดชอบกองทุนและผู้ประสานงานเขต 3) คัดเลือกเครื่องมือและจัดทำร่าง กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการประเมิน ซึ่งในการประเมินครั้งนี้ จะใช้ 2 เครื่องมือ คือ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง จำแนกเป็น 2 ประเภท คือ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง ด้วยข้อคำถามปลายเปิด และแบบสอบถาม 4) นำเครื่องมือเข้าสู่กระบวนการตรวจสอบจริยธรรมในมนุษย์ ที่ สำนักงานนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

2) ผู้เข้าร่วมกำหนดขอบเขต
check_circle

1) ทีมประเมิน
2) ทีมวิชาการ 3) ผู้ประสานงานเขต 4) ทีมพี่เลี้ยง 5) คณะกรรมการกองทุน
6) คณะกรรมการ พชอ. ละงู 7) ผู้รับผิดชอบกองทุน

3) เครื่องมือที่ใช้
check_circle

แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างและแบบสอบถาม

4) กรอบแนวคิด

1) ใช้กรอบ Ottawa charter
check_circle
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดเครื่องมือกลุ่มผู้ให้ข้อมูล
1) ศักยภาพคน
  1. ความรู้ ความเข้าใจโครงการบูรณาการ
  2. สามารถนำความรู้ไป Coaching
  3. ศักยภาพการจัดทำแผน/โครงการ
  4. การใช้งานระบบประเมินผลออนไลน์
  1. สนทนากลุ่ม
  2. การสัมภาษณ์
  3. การประชุมเชิงปฏิบัติการ
  4. ตรวจเอกสารและวิเคราะห์โครงการโดยใช้เว็บไซต์
  1. ทีมวิชาการ
  2. ทีมพี่เลี้ยง
  3. ผู้ประสานงานเขต
  4. คณะกรรมการกองทุน
  5. ผู้รับผิดชอบกองทุน
2) สภาพแวดล้อม
  1. การไช้ประโยชน์จากหลักสูตรฝึกอบรมไปสู่กระบวนการทำงาน
  2. การไช้ประโยชน์จากคู่มือ
  3. การใช้ประโยชน์จากระบบติดตามประเมินผลออนไลน์
  4. การใช้ประโยชน์จากคลินิกให้คำปรึกษา
  1. การสัมภาษณ์
  2. สนทนากลุ่ม
  3. ประชุมเชิงปฏิบัติการ
  1. ทีมพี่เลี้ยง
  2. คณะกรรมการกองทุน
  3. ผู้เสนอโครงการ
  4. ผู้รับผิดชอบกองทุน
  5. ผู้ประสานงานเขต
3) ระบบกลไก
  1. การวางแผนงานและพัฒนาโครงการด้วยหลักการมีส่วนร่วม
  2. ดำเนินการได้ตามแผนที่วางไว้
  3. มีการประชุม พูดคุย ประสานระหว่างเขต อำเภอ จังหวัด เพื่อให้ผลการดำเนินงานสำเร็จ
  4. มีการติดตามผลการดำเนินงาน
  5. มีการปรับปรุงผลเมื่อติดตามแล้วพบว่าเกิดปัญหาอุปสรรค
  6. กลไกพี่เลี้ยงช่วยให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงาน
  7. ระบบติดตามประเมินผลออนไลน์ใช้งานได้เนื่องจากการให้คำปรึกษาของพี่เลี้ยง
  1. การสัมภาษณ์
  2. สนทนากลุ่ม
  3. การประชุมเชิงปฏิบัติการ
  1. ทีมวิชาการ
  2. ทีมพี่เลี้ยง
  3. คณะกรรมการกองทุน
  4. ผู้เสนอโครงการ
  5. ผู้ประสานงานเขต
4) บูรณาการเสริมสร้างความเข้มแข็ง
  1. มีการประเมินความสอดคล้องของแผนงาน/โครงการ
  2. ประเมินติดตามดูพัฒนาการและความเข้มแข็งของทีมงานและเครื่อข่าย
  3. ให้ความสำคัญต่อการพิจารณาบริบทของชุมชนในการทำงานแผน/โครงการให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของชุมชนและความต้องการของชุมชน
  4. ใช้ประโยชน์จากระบบติดตามประเมินผลเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะของชุมชน
  1. ตรวจเอกสารและวิเคราะห์โครงการโดยใช้เว็บไซต์
  2. การสัมภาษณ์
  3. สนทนากลุ่ม
  1. ทีมพี่เลี้ยง
  2. คณะกรรมการกองทุน
  3. ผู้ประสานงานเขต
  4. ผู้รับผิดชอบกองทุน
  5. ผู้เสนอโครงการ
การพัฒนานโยบายสาธารณะ
  1. มีแนวทางการขับเคลื่อนแผนภายใต้แผนงาน/โครงการย่อยสู่โครงการใหญ่
  2. มีการพัฒนานโยบายร่วมกันระหว่างกรรมการกองทุน/ผู้รับผิดชอบกองทุน/ผู้เสนอโครงการ
  3. จัดทำแผน/โครงการโดยพิจารณาความสอดคล้องกับเป้าหมายกองทุน
  1. ตรวจเอกสารและวิเคราะห์โครงการโดยใช้เว็บไซต์
  2. การสัมภาษณ์
  3. สนทนากลุ่ม
  1. ทีมพี่เลี้ยง
  2. คณะกรรมการกองทุน
  3. ผู้รับผิดชอบกองทุน
  4. ผู้เสนอโครงการ
  5. ผู้ประสานงานเขต
2) ใช้กรอบ ปัจจัยกำหนดสุขภาพ
check_circle
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดเครื่องมือกลุ่มผู้ให้ข้อมูล
3) ใช้กรอบ Balance Score Card
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดเครื่องมือกลุ่มผู้ให้ข้อมูล
4) ใช้กรอบ CIPP
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดเครื่องมือกลุ่มผู้ให้ข้อมูล
5) อื่นๆ
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดเครื่องมือกลุ่มผู้ให้ข้อมูล

3. ลงมือประเมิน

check_circle

 

1) กระบวนการเก็บข้อมูลโดยการมีส่วนร่วม (ระบุรายละเอียด)
check_circle

ในการประเมิน ฯ ทีมประเมิน เริ่มกระบวนการมีส่วนร่วม ดังนี้ 1) ขั้นตอนการ Screening เริ่มจากทำความรู้จักทีมผู้ประสานงานเขต พี่เลี้ยง คณะกรรมการกองทุน ผู้รับผิดชอบกองทุน และผู้เสนอโครงการ และในการประเมิน ฯ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 2) ขั้นตอนการ Scoping นัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ประชุมกลุ่มย่อยและสัมภาษณ์ โดยในขั้นตอนนี้ ผู้ประเมิน ฯ มีการพบปะ นอกเวที เนื่องจากมีการทำงานร่วมกันในเชิงพื้นที่ จากโครงการอื่น ๆ ร่วมด้วย
3) ขั้นตอนการประเมิน ผู้ประเมิน ฯ มีการนัดสัมภาษณ์ ทั้งแบบเป็นทางการ ไม่เป็นทางการ และการเข้าไปสังเกตการณ์ในพื้นที่ จากการจัดโครงการของคณะกรรมการกองทุน
4) ขั้นตอนการขยายผล เป็นขั้นตอนที่เกิดจากการร่วมมือต่อยอดงานที่นอกเหนือจากงานประเมิน ฯ โดยทีมประเมิน ฯ ได้รับการสะท้อนจาก สปสช. คณะกรรมการกองทุน ทีมพี่เลี้ยง เพื่อพัฒนาโครงการร่วมกันในด้านผู้สูงอายุ และมีการช่วยเหลือด้านสถานที่ (มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา วิทยาเขตสตูล) ให้กับทีมพี่เลี้ยง เพื่อใช้ในการจัดโครงการ จัดกิจกรรมต่าง ๆ และมีการให้คำปรึกษาเพื่อนำไปสู่การประเมินเชิงวิชาการเพื่อให้เกิดแผนงาน/โครงการที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ในฐานะทีมวิชาการ

2) กระบวนการวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูล (ระบุรายละเอียด)
check_circle

1) การทบทวนเอกสารที่เกี่ยวข้อง: วิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) จากเอกสารและเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับโครงการ จับประเด็นสำคัญ โดยใช้ Metrix และ Checklist 2) การจัดจำแยกข้อมูล: สรุปข้อมูลจากการสัมภาษณ์ และประชุมกลุ่ม โดยการถอดเทป จัดหมวดหมู่ข้อมูล แยกประเด็นสำคัญ จัดทำเป็นแผนผังความคิด และเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล
3) การประเมินข้อมูล: นำข้อมูลที่ได้มาประเมินตามกรอบแนวคิด Ottawa Charter
4) การวิเคราะห์ข้อมูล: วิเคราะห์จุดแข็ง จุดควรพัฒนา แนวทางเสริมจุดแข็ง และแนวทางการพัฒนา 5) การอภิปราย: การเชื่อมโยงข้อมูลกับมิติเชิงมูลค่าและการขยายผลต่อยอดของโครงการ

3) ผู้มีส่วนร่วมในการประเมิน (ระบุรายละเอียด)
check_circle

ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ได้แก่ ทีมวิชาการ ทีมผู้ประสานงาน ทีมพี่เลี้ยง คณะกรรมการกองทุน ผู้รับผิดชอบโครงการ และผู้เสนอโครงการ

4) ผลการประเมิน (เรียงตามตัวชี้วัดที่กำหนดในขั้นตอน scoping)
check_circle

2.1 ศักยภาพคน:
1) ความรู้ ความเข้าใจโครงการบูรณาการ
2) หลักการแนวคิด/กระบวนการการสร้างทีม 3) การหนุนเสริมศักยภาพพี้เลี้ยงการจัดทำแผน/โครงการ 4) การติดตามด้วยระบบประเมินผลออนไลน์ 2.1.1 ผู้ประสานงานเขต ผลการดำเนินงาน:
- ประสานงานมีความรู้ความเข้าใจระดับดีมาก
- สามารถอธิบายวัตถุประสงค์ และเป้าหมายโครงการได้
- มีการใช้แนวคิดการสร้างทีมแบบมีส่วนร่วม โดยการเสนอชื่อทีมและคัดเลือกร่วมกันกับทีมทำงานเชิงพื้นที่
- มีการนัดประชุม และจัดทำโครงการเพื่ออบรมเพิ่มศักยภาพพี่เลี้ยงในการจัดทำแผน/โครงการ
- ติดตามการทำงานโดยใช้ระบบประเมินผลออนไลน์อย่างสม่ำเสมอ 2.1.2 พี่เลี้ยง/ผู้เสนอโครงการ/คณะกรรมการ ผลการดำเนินงาน:
- ความรู้ความเข้าใจระดับดีมาก
- สามารถอธิบายวัตถุประสงค์ และเป้าหมายโครงการได้
- ถ่ายทอดความรู้ได้ เป็นที่ปรึกษาได้ เฉพาะกลุ่มเล็ก ๆ สามารถจัดทำแผน/โครงการ ได้ระดับปานกลาง-สูง
- มีการใช้ระบบประเมินผลออนไลน์โดยแบ่งหน้าที่มอบหมายผู้จัดทำ พี่เลี้ยงที่ได้รับมอบหมายสามารถใช้ระบบได้อย่างคล่องแคล่ว

2.2 สภาพแวดล้อม:
1) การไช้ประโยชน์จากหลักสูตรฝึกอบรมไปสู่กระบวนการทำงาน 2) การไช้ประโยชน์จากคู่มือ
3) การใช้ประโยชน์จากระบบติดตามประเมินผลออนไลน์
4) การใช้ประโยชน์จากคลีนิกให้คำปรึกษา
2.2.1 ผู้ประสานงานเขต ผลการดำเนินงาน:
- มีการนำหลักสูตร คู่มือ และระบบติดตามประเมินผลมาใช้เพื่อพัฒนาทีมพี่เลี้ยง โดยมีการจัดประชุมมากกว่า 4 ครั้งต่อปี เพื่อสร้างบรรยากาศและหนุนเสริมให้พี่เลี้ยงได้มีเครื่องมือเพื่อนำไปใช้ในการให้คำปรึกษาต่อผู้เสนอโครงการได้
- การให้คำปรึกษาดำเนินการแบบไม่เป็นทางการ เนื่องจากมีความสนิทสนมคุ้นเคยกัน และใช้การโทรศัพท์ การแลกเปลี่ยนในไลน์กลุ่มอย่างต่อเนื่อง 2.2.2 พี่เลี้ยง/ผู้เสนอโครงการ/คณะกรรมการ ฯ ผลการดำเนินงาน:
- สภาพแวดล้อมด้านการหลักสูตร คู่มือ เอื้อประโยชน์และมีการใช้ประโยชน์เพื่อนำไปสู่กระบวนการให้คำปรึกษากับผู้เสนอโครงการและเพื่อจัดทำแผนกองทุน - มีการใช้ประโยชน์จากระบบติดตามประเมินผลออนไลน์สูงมาก ทุกโครงการที่ดำเนินการในพื้นที่ได้นำเข้าข้อมูลใส่ในระบบ (ร้อยละ 80) มีเฉพาะบางพื้นที่ที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์จากระบบ ได้แก่ ตำบลแหลมสน - คลีนิคการให้คำปรึกษาดำเนินการในลักษณะไม่เป็นทางการระหว่างพี่เลี้ยงด้วยกันและระหว่างพี่เลี้ยงและผู้เสนอโครงการ

2.3 ระบบกลไก:
1) การวางแผนงานและพัฒนาโครงการด้วยหลักการมีส่วนร่วม ดำเนินการได้ตามแผนที่วางไว้
2) มีการประชุม พูดคุย ประสานระหว่างเขต อำเภอ จังหวัด เพื่อให้ผลการดำเนินงานสำเร็จ
3) มีการติดตามผลการดำเนินงาน มีการปรับปรุงผลเมื่อติดตามแล้วพบว่าเกิดปัญหาอุปสรรค
4) กลไกพี่เลี้ยงช่วยให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงาน 5) ระบบติดตามประเมินผลออนไลน์ใช้งานได้เนื่องจากการให้คำปรึกษาของพี่เลี้ยง 2.3.1 ผลการติดตาม:
- พี่เลี้ยงระดับจังหวัด อำเภอ ตำบล มีจำนวน 14 คน และ 1 ใน 3 ของพี่เลี้ยง เป็นทั้งกรรมการกองทุน ผู้รับผิดชอบกองทุน และเป็นผู้เสนอโครงการ - ในการเสนอโครงการ พบว่าผู้เสนอโครงการที่ตรวจพบในระบบมีทั้งรายใหม่ ๆ และรายชื่อไม่ซ้ำกัน แต่ในทางปฏิบัติเพื่อช่วยให้ดำเนินการสัมฤทธิ์ผล พี่เลี้ยงคือกลไกสำคัญในการผลักดันให้งานสำเร็จลุล่วงไปได้ จึงสรุปได้ว่า กลไกพี่เลี้ยงช่วยให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงานมากขึ้นเมื่อเทียบจากก่อนมีโครงการบูรณาการ - ทีมพี่เลี้ยงได้ให้คำปรึกษาเรื่องระบบติดตามประเมินผลออนไลน์ กับเจ้าหน้าที่ประจำท้องถิ่น และผู้เสนอโครงการ และในทีมพี่เลี้ยงยังแบ่งหน้าที่และมอบหมายให้มีพี่เลี้ยงที่ทำหน้าที่เป็นตัวแทนหลักในการให้คำปรึกษา รวมถึงนำโครงการต่าง ๆ เข้าระบบ ปัจจุบันโครงการที่ดำเนินการในพื้นที่นำร่อง จึงพบว่าร้อยละ 80 มีการนำเข้าในระบบ ยกเว้นในตำบลน้ำผุด ที่มีการดำเนินการและจัดทำโครงการ แต่บางโครงการยังไม่ได้นำเข้าในระบบ - พบปัญหาอุปสรรคในด้านการเชื่อมต่อระหว่างตำบลขึ้นไประดับอำเภอ เนื่องจากการประชุม พชอ. ครั้งสุดท้ายเดือนพฤศจิกายน แม้พี่เลี้ยงจะเป็นส่วนหนึ่งใน พชอ. แต่กลไกที่นำผลจากระดับตำบลสู่อำเภอยังไม่เห็นผลการบูรณาการ

2.4 การบูรณาการเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็ง 1) มีการประเมินความสอดคล้องของแผนงาน/โครงการ 2) ประเมินติดตามดูพัฒนาการและความเข้มแข็งของทีมงานและเครือข่าย 3) ให้ความสำคัญต่อการพิจารณาบริบทของชุมชนในการทำงานแผน/โครงการให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของชุมชนและความต้องการของชุมชน 4) ใช้ประโยชน์จากระบบติดตามประเมินผลเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะของชุมชน 2.4.1 ผลการติดตาม:   - โครงการไม่มีความสอดคล้องกับแผนงาน ขาดการเชื่อมโยง ส่วนใหญ่เป็นโครงการเดี่ยว ไม่มีการบูรณาการร่วมระหว่างแผนงานและโครงการ   - มีการประเมินติดตามดูพัฒนาการและความเข้มแข็งของทีมงานและเครือข่ายอย่างสม่ำเสมอ และมีแนวทางการจูงใจคนใหม่ ๆ เข้ามาร่วมทีมโดยใช้จิตอาสาเป็นตัวนำทาง   - ให้ความสำคัญต่อการพิจารณาบริบทของชุมชนในการทำงานแผน/โครงการ โดยการนำปัญหาของชุมชนร่วมกับสถานการณ์ข้อมูลอื่น ๆ มาร่วมพิจารณาและเสนอเป็นข้อเสนอโครงการ แต่บางโครงการได้รับการอนุมัติเนื่องจากความต้องการของท้องถิ่น   - มีการใช้ประโยชน์จากระบบติดตามประเมินผลออนไลน์ในระดับสูง มีการบันทึกข้อมูลและใส่ข้อมูลครบถ้วน

2.5 การพัฒนานโยบายสาธารณะ 1) มีแนวทางการขับเคลื่อนแผนภายใต้แผนงาน/โครงการย่อยสู่โครงการใหญ่ 2) มีการพัฒนานโยบายร่วมกันระหว่างกรรมการกองทุน/ผู้รับผิดชอบกองทุน/ผู้เสนอโครงการ 3) จัดทำแผน/โครงการโดยพิจารณาความสอดคล้องกับเป้าหมายกองทุน 2.5.1 ผลการติดตาม:
- โครงการที่จัดทำยังเป็นโครงการย่อย ต่างคนต่างทำ ยังไม่มีการพัฒนาร่วมกันเป็นโครงการชุด หรือโครงการย่อยไปสู่โครงการใหญ่ และยังไม่มีแนวทางการขับเคลื่อนแผนภายใต้แผนงาน - มีการพัฒนานโยบายร่วมกัน ตั้งแต่ทีมวิชาการ ผู้ประสานงานเขต พี่เลี้ยงระดับจังหวัด อำเภอและตำบล เพื่อให้เกิดการวางแผน การดำเนินการ และการติดตาม - แผนงานและโครงการที่เกิดขึ้นมีความสอดคล้องกับเป้าหมายกองทุน และดำเนินการครบตามแผนงาน 5 ด้าน ได้แก่ แผนงานเหล้า บุหรี่ ยาเสพติด กิจกรรมทางกาย และอาหาร

ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดผลการประเมินหมายเหตุ
1. 1) ศักยภาพคน (1) ใช้กรอบ Ottawa charter) ความรู้ ความเข้าใจโครงการบูรณาการ

ความรู้ความเข้าใจระดับดีมาก สามารถอธิบายวัตถุประสงค์ และเป้าหมายโครงการได้ทั้งผู้ประสานงานระดับเขต พี่เลี้ยง คณะกรรมการกองทุน ผู้รับผิดชอบกองทุน

 

2. 1) ศักยภาพคน (1) ใช้กรอบ Ottawa charter) สามารถนำความรู้ไป Coaching

มีการใช้แนวคิดการสร้างทีมแบบมีส่วนร่วม โดยการเสนอชื่อทีมและคัดเลือกร่วมกันกับทีมทำงานเชิงพื้นที่

 

3. 1) ศักยภาพคน (1) ใช้กรอบ Ottawa charter) ศักยภาพการจัดทำแผน/โครงการ

มีการนัดประชุม และจัดทำโครงการ เพื่ออบรมเพิ่มศักยภาพพี่เลี้ยงในการจัดทำแผน/โครงการ โดยใช้งบกองทุน

 

4. 1) ศักยภาพคน (1) ใช้กรอบ Ottawa charter) การใช้งานระบบประเมินผลออนไลน์

ติดตามการทำงานโดยใช้ระบบประเมินผลออนไลน์อย่างสม่ำเสมอ ทีมพี่เลี้ยงสามารถใช้โปรแกรมติดตามประเมินผลได้และถ่ายทอดได้ แต่อาจจะทำได้เฉพาะบุคคลหรือกลุ่มเล็ก ๆ

 

5. 2) สภาพแวดล้อม (1) ใช้กรอบ Ottawa charter) การไช้ประโยชน์จากหลักสูตรฝึกอบรมไปสู่กระบวนการทำงาน

1) มีการนำหลักสูตร คู่มือ และระบบติดตามประเมินผลมาใช้เพื่อพัฒนาทีมพี่เลี้ยง โดยมีการจัดประชุมมากกว่า 4 ครั้งต่อปี เพื่อสร้างบรรยากาศและหนุนเสริมให้พี่เลี้ยงได้มีเครื่องมือเพื่อนำไปใช้ในการให้คำปรึกษาต่อผู้เสนอโครงการได้ 2) ทีมพี่เลี้ยงได้ประโยชน์จากหลักสูตรฝึกอบรมและนำความรู้ไปถ่ายทอดต่อยังผู้เสนอโครงการได้ ระดับคามรู้ที่ได้จากการฝึกอบรม ตั้งแต่ระดับปานกลาง-สูง

 

6. 2) สภาพแวดล้อม (1) ใช้กรอบ Ottawa charter) การไช้ประโยชน์จากคู่มือ

มีการใช้ประโยชน์จากคู่มือเพื่อประกอบการให้คำปรึกษาโครงการ และการเขียนโครงการทั้งกลุ่มผู้ประสานงานเขต และพี่เลี้ยง

 

7. 2) สภาพแวดล้อม (1) ใช้กรอบ Ottawa charter) การใช้ประโยชน์จากระบบติดตามประเมินผลออนไลน์

1) มีการใช้ประโยชน์จากระบบติดตามประเมินผลออนไลน์ โดยนำเข้าข้อมูลทั้งในส่วนการพัฒนาโครงการและการประเมินผลโครงกาาร แต่ยังกรอกข้อมูลไม่ครบถ้วน การเขียนวัตถุประสงค์ ตัวชี้วัดมีทั้งที่ตรงตามวัตถุประสงค์และไม่ตรงตามวัตถุประสงค์

 

8. 2) สภาพแวดล้อม (1) ใช้กรอบ Ottawa charter) การใช้ประโยชน์จากคลินิกให้คำปรึกษา

1) การให้คำปรึกษามีทั้งที่เป็นทางการในพื้นที่ศูนย์ประสานงาน และแบบไม่เป็นทางการ เนื่องจากผู้เสนอโครงการและพี่เลี้ยงมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน จึงทำให้การให้คำปรึกษาสามารถดำเนินการได้ในทุกกิจกรรมทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ

 

9. 3) ระบบกลไก (1) ใช้กรอบ Ottawa charter) การวางแผนงานและพัฒนาโครงการด้วยหลักการมีส่วนร่วม

การวางระบบกลไกเพื่อให้เกิดแผนงาน/โครงการที่ดี ผ่านกระบวนการพัฒนาศักยภาพพี่เลี้ยง เช่น การฝึกอบรมการเขียนโครงการ การฝึกอบรมการนำข้อมูลเข้าในระบบเว็บไซต์ ทั้งพี่เลี้ยงระดับจังหวัด อำเภอ ตำบล และอื่น ๆ ส่งผลให้ปัจจุบันอำเภอละงู จังหวัดสตูลมีทีมพี่เลี้ยงจำนวน 12 คนและเพิ่มเป็น 15 คน แต่ผลการประเมินติดตามพบว่าพี่เลี้ยงจำนวน 1 ใน 3 ของพี่เลี้ยงทั้งหมดที่มีศักยภาพเพียงพอต่อการเป็นกลไกขับเคลื่อนให้ผู้เสนอโครงการ จัดทำแผนงานครบประเด็นและช่วยให้เกิดการทำแผนที่ดีขึ้น และเป็นกลไกที่สำคัญในการทำให้ทุกฝ่ายสามารถใช้ระบบประเมินผลออนไลน์ กรอกข้อมูลเข้าสู่ระบบได้ จัดว่าเป็นทีมพี่เลี้ยงมีบทบาทสำคัญทำให้กลไกนี้สามารถขับเคลื่อนได้

 

10. 3) ระบบกลไก (1) ใช้กรอบ Ottawa charter) ดำเนินการได้ตามแผนที่วางไว้

ในการเสนอโครงการ พบว่าผู้เสนอโครงการที่ตรวจพบในระบบมีทั้งรายใหม่ ๆ และรายชื่อไม่ซ้ำกัน แต่ในทางปฏิบัติเพื่อช่วยให้ดำเนินการสัมฤทธิ์ผล พี่เลี้ยงคือกลไกสำคัญในการผลักดันให้งานสำเร็จลุล่วงไปได้ จึงสรุปได้ว่า กลไกพี่เลี้ยงช่วยให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น เมื่อเทียบจากก่อนมีโครงการบูรณาการ

 

11. 3) ระบบกลไก (1) ใช้กรอบ Ottawa charter) มีการประชุม พูดคุย ประสานระหว่างเขต อำเภอ จังหวัด เพื่อให้ผลการดำเนินงานสำเร็จ

ทีมพี่เลี้ยงได้ให้คำปรึกษาเรื่องระบบติดตามประเมินผลออนไลน์ กับเจ้าหน้าที่ประจำท้องถิ่น และผู้เสนอโครงการ และในทีมพี่เลี้ยงยังแบ่งหน้าที่และมอบหมายให้มีพี่เลี้ยงที่ทำหน้าที่เป็นตัวแทนหลักในการให้คำปรึกษา รวมถึงนำโครงการต่าง ๆ เข้าระบบ ปัจจุบันโครงการที่ดำเนินการในพื้นที่นำร่อง จึงพบว่าร้อยละ 80 มีการนำเข้าในระบบ ยกเว้นในตำบลน้ำผุด ที่มีการดำเนินการและจัดทำโครงการ แต่บางโครงการยังไม่ได้นำเข้าในระบบ

 

12. 3) ระบบกลไก (1) ใช้กรอบ Ottawa charter) มีการติดตามผลการดำเนินงาน

1) กลไกพี่เลี้ยงส่งผลให้มีการติดตามผลการดำเนินงาน

 

13. 3) ระบบกลไก (1) ใช้กรอบ Ottawa charter) มีการปรับปรุงผลเมื่อติดตามแล้วพบว่าเกิดปัญหาอุปสรรค

1) ยังไม่มีร่องรอยการนำผลที่ติดตามประเมินผลมาใช้ประโยชน์ต่อเพื่อนำไปสู่การปรับปรุงผล

 

14. 3) ระบบกลไก (1) ใช้กรอบ Ottawa charter) กลไกพี่เลี้ยงช่วยให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงาน

กลไกพี่เลี้ยงสามารถหนุนเสริมให้การเขียนโครงการ การจัดทำแผนงานมีประสิทธิภาพมากขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม เมื่อเทียบจากก่อนมีโครงการ แต่พี่เลี้ยงที่สามารถให้คำปรึกษาได้นั้นยังมีเฉพาะกลุ่มที่เป็นแกนนำหลักเท่านั้น ซึ่งถือว่ายังมีจำนวนน้อยอยู่

 

15. 3) ระบบกลไก (1) ใช้กรอบ Ottawa charter) ระบบติดตามประเมินผลออนไลน์ใช้งานได้เนื่องจากการให้คำปรึกษาของพี่เลี้ยง

1) ระบบติดตามประเมินผลออนไลน์มีการถ่ายทอดจากพี่เลี้ยงไปยังพี่เลี้ยงด้วยกันและจากพี่เลี้ยงไปยังเจ้าหน้าที่กองทุน และจากพี่เลี้ยงไปยังผู้เสนอโครงการ แต่ในทางปฏิบัติพี่เลี้ยงที่ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการเรื่องนี้จะมีเฉพาะรายบุคคล และเป็นคนเดิม ๆ ที่จะช่วยในการนำเข้าข้อมูล สำหรับกองทุนที่มีปัญหาเรื่องการนำเข้าข้อมูล ได้แก่ ตำบลน้ำผุด และแหลมสน

 

16. 4) บูรณาการเสริมสร้างความเข้มแข็ง (1) ใช้กรอบ Ottawa charter) มีการประเมินความสอดคล้องของแผนงาน/โครงการ

การประเมินความสอดคล้องของแผนงานโครงการนั้นพิจารณาได้จากในระบบติดตามประเมินผลออนไลน์ พบว่า 1) มีความสอดคล้องเพียงร้อยละ 10 และโครงการส่วนใหญ่ไม่ตรงกับแผนงาน และกรอกข้อมูลไม่ครบถ้วน
2) โครงการดำเนินงานและโครงการติดตามประเมินผลไม่สอดคล้องกัน

 

17. 4) บูรณาการเสริมสร้างความเข้มแข็ง (1) ใช้กรอบ Ottawa charter) ประเมินติดตามดูพัฒนาการและความเข้มแข็งของทีมงานและเครื่อข่าย

1) มีพัฒนาการที่ดี เนื่องจากมีพี่เลี้ยงใหม่ ๆ เข้าร่วมทีมจาก 12 คนเป็น 15 คน แต่เมื่อมีการทำงานร่วมกันระยะหนึ่ง จะมีทีมพี่เลี้ยงบางส่วนถูกคัดกรองออกไป เนื่องจากมีอุดมการณ์แตกต่างกัน 2) เครือข่ายมีความเข้มแข็งสูงมาก และมีความเชื่อใจในผู้นำ แต่ลูกทีมยังมีศักยภาพในการเป็นที่ปรึกษาแตกต่างกัน

 

18. 4) บูรณาการเสริมสร้างความเข้มแข็ง (1) ใช้กรอบ Ottawa charter) ให้ความสำคัญต่อการพิจารณาบริบทของชุมชนในการทำงานแผน/โครงการให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของชุมชนและความต้องการของชุมชน

ให้ความสำคัญต่อการพิจารณาบริบทของชุมชนในการทำงานแผน/โครงการ โดยการนำปัญหาของชุมชนร่วมกับสถานการณ์ข้อมูลอื่น ๆ มาร่วมพิจารณาและเสนอเป็นข้อเสนอโครงการ แต่บางโครงการได้รับการอนุมัติเนื่องจากความต้องการของท้องถิ่น

 

19. 4) บูรณาการเสริมสร้างความเข้มแข็ง (1) ใช้กรอบ Ottawa charter) ใช้ประโยชน์จากระบบติดตามประเมินผลเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะของชุมชน

1) มีการใช้ประโยชน์จากระบบติดตามประเมินผลออนไลน์ในระดับสูง มีการบันทึกข้อมูล แต่ใส่ข้อมูลไม่ครบถ้วนตามหัวข้อที่มีในระบบ 2) โครงการไม่สามารถเข้าดูรายละเอียด

 

20. การพัฒนานโยบายสาธารณะ (1) ใช้กรอบ Ottawa charter) มีแนวทางการขับเคลื่อนแผนภายใต้แผนงาน/โครงการย่อยสู่โครงการใหญ่

1) ยังไม่พบแนวทางการขับเคลื่อนระหว่างแผนงานย่อยสู่โครงการใหญ่ 2) แผนงานย่อยแต่ละแผนงานยังไม่มีความสัมพันธ์กันเกี่ยวเนื่องกัน และไม่ได้ตอบเป้าหมายเดียวกัน

 

21. การพัฒนานโยบายสาธารณะ (1) ใช้กรอบ Ottawa charter) มีการพัฒนานโยบายร่วมกันระหว่างกรรมการกองทุน/ผู้รับผิดชอบกองทุน/ผู้เสนอโครงการ

1)มีการพัฒนานโยบายร่วมกัน ตั้งแต่ทีมวิชาการ ผู้ประสานงานเขต พี่เลี้ยงระดับจังหวัด อำเภอและตำบล เพื่อให้เกิดการวางแผน การดำเนินการ และการติดตามในโครงการบูรณาการ 2) ยังไม่มีการพัฒนานโยบายร่วมกันอย่างเป็นรูปธรรม แต่กรรมการกองทุน ผูุ้รับผิดชอบกองทุนและผู้เสนอโครงการ เป็นกลุ่มเดียวกัน มีการรับรู้ข้อมูล เชื่อมโยงข้อมูลกันได้ แต่ขาดการออกแบบให้เกิดเป็นนโยบายร่วมกัน

 

22. การพัฒนานโยบายสาธารณะ (1) ใช้กรอบ Ottawa charter) จัดทำแผน/โครงการโดยพิจารณาความสอดคล้องกับเป้าหมายกองทุน

1) แผนงานและโครงการที่เกิดขึ้นยังมีความสอดคล้องกับเป้าหมายกองทุนน้อย บางกองทุนยังคงเน้นการดำเนินงานด้านสาธารณสุข

 

5) อื่นๆ
check_circle

 

4. ทบทวนรายงานการประเมินว่าถูกต้องหรือไม่?

check_circle

 

1) กระบวนการในการทบทวนรายงาน
check_circle

ผ่านการตรวจทานโดยส่งข้อมูลเบื้องต้นทางระบบอิเล็กทรอนิค (ไลน์) ให้กลุ่มเป้าหมายตรวจสอบก่อนนัดวันเวลาทวนสอบรายงาน

2) ผู้มีส่วนร่วมในการทบทวนรายงาน
check_circle

การนัดประชุมเพื่อทบทวนร่างรายงาน โดยส่งร่างฉบับแรกทางระบบอิเล็กทรอนิค (ไลน์) และนัดประชุมกลุ่มเป้าหมายเพื่อทบทวน

3) ผลการทบทวนร่างรายงาน
check_circle

ผลการประเมินสะท้อนตรงตามข้อมูลที่รวบรวม กลุ่มตัวอย่างยอมรับต่อผลการประเมินและรับข้อเสนอแนะไปปรับปรุงเพื่อให้เกิดการพัฒนา

4) สรุปผลการประเมินสำคัญที่นำเข้าเวทีการทบทวน
check_circle
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดสรุปผลการประเมินหมายเหตุ
1. 1) ศักยภาพคน (1) ใช้กรอบ Ottawa charter) ความรู้ ความเข้าใจโครงการบูรณาการ

ความรู้ความเข้าใจระดับดีมาก สามารถอธิบายวัตถุประสงค์ และเป้าหมายโครงการได้ทั้งผู้ประสานงานระดับเขต พี่เลี้ยง คณะกรรมการกองทุน ผู้รับผิดชอบกองทุน

 

2. 1) ศักยภาพคน (1) ใช้กรอบ Ottawa charter) สามารถนำความรู้ไป Coaching

มีการใช้แนวคิดการสร้างทีมแบบมีส่วนร่วม โดยการเสนอชื่อทีมและคัดเลือกร่วมกันกับทีมทำงานเชิงพื้นที่

 

3. 1) ศักยภาพคน (1) ใช้กรอบ Ottawa charter) ศักยภาพการจัดทำแผน/โครงการ

มีการนัดประชุม และจัดทำโครงการ เพื่ออบรมเพิ่มศักยภาพพี่เลี้ยงในการจัดทำแผน/โครงการ โดยใช้งบกองทุน

 

4. 1) ศักยภาพคน (1) ใช้กรอบ Ottawa charter) การใช้งานระบบประเมินผลออนไลน์

ติดตามการทำงานโดยใช้ระบบประเมินผลออนไลน์อย่างสม่ำเสมอ ทีมพี่เลี้ยงสามารถใช้โปรแกรมติดตามประเมินผลได้และถ่ายทอดได้ แต่อาจจะทำได้เฉพาะบุคคลหรือกลุ่มเล็ก ๆ

 

5. 2) สภาพแวดล้อม (1) ใช้กรอบ Ottawa charter) การไช้ประโยชน์จากหลักสูตรฝึกอบรมไปสู่กระบวนการทำงาน

1) มีการนำหลักสูตร คู่มือ และระบบติดตามประเมินผลมาใช้เพื่อพัฒนาทีมพี่เลี้ยง โดยมีการจัดประชุมมากกว่า 4 ครั้งต่อปี เพื่อสร้างบรรยากาศและหนุนเสริมให้พี่เลี้ยงได้มีเครื่องมือเพื่อนำไปใช้ในการให้คำปรึกษาต่อผู้เสนอโครงการได้ 2) ทีมพี่เลี้ยงได้ประโยชน์จากหลักสูตรฝึกอบรมและนำความรู้ไปถ่ายทอดต่อยังผู้เสนอโครงการได้ ระดับคามรู้ที่ได้จากการฝึกอบรม ตั้งแต่ระดับปานกลาง-สูง

 

6. 2) สภาพแวดล้อม (1) ใช้กรอบ Ottawa charter) การไช้ประโยชน์จากคู่มือ

มีการใช้ประโยชน์จากคู่มือเพื่อประกอบการให้คำปรึกษาโครงการ และการเขียนโครงการทั้งกลุ่มผู้ประสานงานเขต และพี่เลี้ยง

 

7. 2) สภาพแวดล้อม (1) ใช้กรอบ Ottawa charter) การใช้ประโยชน์จากระบบติดตามประเมินผลออนไลน์

1) มีการใช้ประโยชน์จากระบบติดตามประเมินผลออนไลน์ โดยนำเข้าข้อมูลทั้งในส่วนการพัฒนาโครงการและการประเมินผลโครงกาาร แต่ยังกรอกข้อมูลไม่ครบถ้วน การเขียนวัตถุประสงค์ ตัวชี้วัดมีทั้งที่ตรงตามวัตถุประสงค์และไม่ตรงตามวัตถุประสงค์

 

8. 2) สภาพแวดล้อม (1) ใช้กรอบ Ottawa charter) การใช้ประโยชน์จากคลินิกให้คำปรึกษา

1) การให้คำปรึกษามีทั้งที่เป็นทางการในพื้นที่ศูนย์ประสานงาน และแบบไม่เป็นทางการ เนื่องจากผู้เสนอโครงการและพี่เลี้ยงมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน จึงทำให้การให้คำปรึกษาสามารถดำเนินการได้ในทุกกิจกรรมทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ

 

9. 3) ระบบกลไก (1) ใช้กรอบ Ottawa charter) การวางแผนงานและพัฒนาโครงการด้วยหลักการมีส่วนร่วม

การวางระบบกลไกเพื่อให้เกิดแผนงาน/โครงการที่ดี ผ่านกระบวนการพัฒนาศักยภาพพี่เลี้ยง เช่น การฝึกอบรมการเขียนโครงการ การฝึกอบรมการนำข้อมูลเข้าในระบบเว็บไซต์ ทั้งพี่เลี้ยงระดับจังหวัด อำเภอ ตำบล และอื่น ๆ ส่งผลให้ปัจจุบันอำเภอละงู จังหวัดสตูลมีทีมพี่เลี้ยงจำนวน 12 คนและเพิ่มเป็น 15 คน แต่ผลการประเมินติดตามพบว่าพี่เลี้ยงจำนวน 1 ใน 3 ของพี่เลี้ยงทั้งหมดที่มีศักยภาพเพียงพอต่อการเป็นกลไกขับเคลื่อนให้ผู้เสนอโครงการ จัดทำแผนงานครบประเด็นและช่วยให้เกิดการทำแผนที่ดีขึ้น และเป็นกลไกที่สำคัญในการทำให้ทุกฝ่ายสามารถใช้ระบบประเมินผลออนไลน์ กรอกข้อมูลเข้าสู่ระบบได้ จัดว่าเป็นทีมพี่เลี้ยงมีบทบาทสำคัญทำให้กลไกนี้สามารถขับเคลื่อนได้

 

10. 3) ระบบกลไก (1) ใช้กรอบ Ottawa charter) ดำเนินการได้ตามแผนที่วางไว้

ในการเสนอโครงการ พบว่าผู้เสนอโครงการที่ตรวจพบในระบบมีทั้งรายใหม่ ๆ และรายชื่อไม่ซ้ำกัน แต่ในทางปฏิบัติเพื่อช่วยให้ดำเนินการสัมฤทธิ์ผล พี่เลี้ยงคือกลไกสำคัญในการผลักดันให้งานสำเร็จลุล่วงไปได้ จึงสรุปได้ว่า กลไกพี่เลี้ยงช่วยให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น เมื่อเทียบจากก่อนมีโครงการบูรณาการ

 

11. 3) ระบบกลไก (1) ใช้กรอบ Ottawa charter) มีการประชุม พูดคุย ประสานระหว่างเขต อำเภอ จังหวัด เพื่อให้ผลการดำเนินงานสำเร็จ

ทีมพี่เลี้ยงได้ให้คำปรึกษาเรื่องระบบติดตามประเมินผลออนไลน์ กับเจ้าหน้าที่ประจำท้องถิ่น และผู้เสนอโครงการ และในทีมพี่เลี้ยงยังแบ่งหน้าที่และมอบหมายให้มีพี่เลี้ยงที่ทำหน้าที่เป็นตัวแทนหลักในการให้คำปรึกษา รวมถึงนำโครงการต่าง ๆ เข้าระบบ ปัจจุบันโครงการที่ดำเนินการในพื้นที่นำร่อง จึงพบว่าร้อยละ 80 มีการนำเข้าในระบบ ยกเว้นในตำบลน้ำผุด ที่มีการดำเนินการและจัดทำโครงการ แต่บางโครงการยังไม่ได้นำเข้าในระบบ

 

12. 3) ระบบกลไก (1) ใช้กรอบ Ottawa charter) มีการติดตามผลการดำเนินงาน

1) กลไกพี่เลี้ยงส่งผลให้มีการติดตามผลการดำเนินงาน

 

13. 3) ระบบกลไก (1) ใช้กรอบ Ottawa charter) มีการปรับปรุงผลเมื่อติดตามแล้วพบว่าเกิดปัญหาอุปสรรค

1) ยังไม่มีร่องรอยการนำผลที่ติดตามประเมินผลมาใช้ประโยชน์ต่อเพื่อนำไปสู่การปรับปรุงผล

 

14. 3) ระบบกลไก (1) ใช้กรอบ Ottawa charter) กลไกพี่เลี้ยงช่วยให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงาน

กลไกพี่เลี้ยงสามารถหนุนเสริมให้การเขียนโครงการ การจัดทำแผนงานมีประสิทธิภาพมากขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม เมื่อเทียบจากก่อนมีโครงการ แต่พี่เลี้ยงที่สามารถให้คำปรึกษาได้นั้นยังมีเฉพาะกลุ่มที่เป็นแกนนำหลักเท่านั้น ซึ่งถือว่ายังมีจำนวนน้อยอยู่

 

15. 3) ระบบกลไก (1) ใช้กรอบ Ottawa charter) ระบบติดตามประเมินผลออนไลน์ใช้งานได้เนื่องจากการให้คำปรึกษาของพี่เลี้ยง

ระบบติดตามประเมินผลออนไลน์มีการถ่ายทอดจากพี่เลี้ยงไปยังพี่เลี้ยงด้วยกันและจากพี่เลี้ยงไปยังเจ้าหน้าที่กองทุน และจากพี่เลี้ยงไปยังผู้เสนอโครงการ แต่ในทางปฏิบัติพี่เลี้ยงที่ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการเรื่องนี้จะมีเฉพาะรายบุคคล และเป็นคนเดิม ๆ ที่จะช่วยในการนำเข้าข้อมูล สำหรับกองทุนที่มีปัญหาเรื่องการนำเข้าข้อมูล ได้แก่ ตำบลน้ำผุด และแหลมสน

 

16. 4) บูรณาการเสริมสร้างความเข้มแข็ง (1) ใช้กรอบ Ottawa charter) มีการประเมินความสอดคล้องของแผนงาน/โครงการ

การประเมินความสอดคล้องของแผนงานโครงการนั้นพิจารณาได้จากในระบบติดตามประเมินผลออนไลน์ พบว่า 1) มีความสอดคล้องเพียงร้อยละ 10 และโครงการส่วนใหญ่ไม่ตรงกับแผนงาน และกรอกข้อมูลไม่ครบถ้วน
2) โครงการดำเนินงานและโครงการติดตามประเมินผลไม่สอดคล้องกัน

 

17. 4) บูรณาการเสริมสร้างความเข้มแข็ง (1) ใช้กรอบ Ottawa charter) ประเมินติดตามดูพัฒนาการและความเข้มแข็งของทีมงานและเครื่อข่าย

1) มีพัฒนาการที่ดี เนื่องจากมีพี่เลี้ยงใหม่ ๆ เข้าร่วมทีมจาก 12 คนเป็น 15 คน แต่เมื่อมีการทำงานร่วมกันระยะหนึ่ง จะมีทีมพี่เลี้ยงบางส่วนถูกคัดกรองออกไป เนื่องจากมีอุดมการณ์แตกต่างกัน 2) เครือข่ายมีความเข้มแข็งสูงมาก และมีความเชื่อใจในผู้นำ แต่ลูกทีมยังมีศักยภาพในการเป็นที่ปรึกษาแตกต่างกัน

 

18. 4) บูรณาการเสริมสร้างความเข้มแข็ง (1) ใช้กรอบ Ottawa charter) ให้ความสำคัญต่อการพิจารณาบริบทของชุมชนในการทำงานแผน/โครงการให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของชุมชนและความต้องการของชุมชน

ให้ความสำคัญต่อการพิจารณาบริบทของชุมชนในการทำงานแผน/โครงการ โดยการนำปัญหาของชุมชนร่วมกับสถานการณ์ข้อมูลอื่น ๆ มาร่วมพิจารณาและเสนอเป็นข้อเสนอโครงการ แต่บางโครงการได้รับการอนุมัติเนื่องจากความต้องการของท้องถิ่น

 

19. 4) บูรณาการเสริมสร้างความเข้มแข็ง (1) ใช้กรอบ Ottawa charter) ใช้ประโยชน์จากระบบติดตามประเมินผลเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะของชุมชน

1) มีการใช้ประโยชน์จากระบบติดตามประเมินผลออนไลน์ในระดับสูง มีการบันทึกข้อมูล แต่ใส่ข้อมูลไม่ครบถ้วนตามหัวข้อที่มีในระบบ 2) โครงการไม่สามารถเข้าดูรายละเอียด

 

20. การพัฒนานโยบายสาธารณะ (1) ใช้กรอบ Ottawa charter) มีแนวทางการขับเคลื่อนแผนภายใต้แผนงาน/โครงการย่อยสู่โครงการใหญ่

1) ยังไม่พบแนวทางการขับเคลื่อนระหว่างแผนงานย่อยสู่โครงการใหญ่ 2) แผนงานย่อยแต่ละแผนงานยังไม่มีความสัมพันธ์กันเกี่ยวเนื่องกัน และไม่ได้ตอบเป้าหมายเดียวกัน

 

21. การพัฒนานโยบายสาธารณะ (1) ใช้กรอบ Ottawa charter) มีการพัฒนานโยบายร่วมกันระหว่างกรรมการกองทุน/ผู้รับผิดชอบกองทุน/ผู้เสนอโครงการ

1)มีการพัฒนานโยบายร่วมกัน ตั้งแต่ทีมวิชาการ ผู้ประสานงานเขต พี่เลี้ยงระดับจังหวัด อำเภอและตำบล เพื่อให้เกิดการวางแผน การดำเนินการ และการติดตามในโครงการบูรณาการ 2) ยังไม่มีการพัฒนานโยบายร่วมกันอย่างเป็นรูปธรรม แต่กรรมการกองทุน ผูุ้รับผิดชอบกองทุนและผู้เสนอโครงการ เป็นกลุ่มเดียวกัน มีการรับรู้ข้อมูล เชื่อมโยงข้อมูลกันได้ แต่ขาดการออกแบบให้เกิดเป็นนโยบายร่วมกัน

 

22. การพัฒนานโยบายสาธารณะ (1) ใช้กรอบ Ottawa charter) จัดทำแผน/โครงการโดยพิจารณาความสอดคล้องกับเป้าหมายกองทุน

ผนงานและโครงการที่เกิดขึ้นยังมีความสอดคล้องกับเป้าหมายกองทุนน้อย บางกองทุนยังคงเน้นการดำเนินงานด้านสาธารณสุข

 

5) อื่นๆ

 

5. การปรับปรุงทบทวนโครงการ

check_circle

 

1) ข้อเสนอเพื่อการทบทวนโครงการ

 

2) อื่นๆ

 

6. ได้มีการปรับปรุงทบทวนโครงการตามข้อ 5 หรือไม่?

check_circle

 

1) กลไกในการติดตามการปรับปรุงโครงการตามข้อเสนอแนะ

 

2) วิธีการติดตาม การปรับปรุงโครงการตามข้อเสนอแนะ

 

3) อื่นๆ

 

สรุป

อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ

สรุปผล 1. ด้านผลผลิต (Output) 1.1 กิจกรรมการดำเนินงานของทีมทำงาน/พี่เลี้ยงในพื้นที่เป้าหมาย (7ข้อตามกรอบโครงการบูรณาการ)
ผลสรุป: บรรลุผล 1.2 การเกิดแผนงานโครงการ และระบบติดตามประเมินผลออนไลน์ในกองทุน?
เกิดแผนงานครบ 5 ด้าน แนวโน้ม 3 ปี เป็นโครงการต่อเนื่อง มีการใช้ระบบติดตามประเมินผลออนไลน์ในกองทุน สามารถดูรายละเอียดโครงการผ่านระบบออนไลน์ได้ และมีการติดตามโครงการบางส่วนที่ปรากฏในระบบ รายละเอียดการเขียนข้อเสนอโครงการมากกว่าร้อยละ 90 ครบทุกประเด็นและสอดคล้องกันระหว่างประเด็นปัญหา วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด แต่ไม่มีการประเมินคุณค่าโครงการ   : ผลสรุป: บรรลุผล
2. ผลลัพธ์ (outcome) 2.1 พชอ.ได้แผนบูรณาการจำแนกตามประเด็นจากแผนของแต่ละกองทุน?
  : ผลสรุป: ไม่บรรลุ

2.2 การดำเนินโครงการระดับอำเภอมีการบูรณาการร่วมกัน?
ผลสรุป: ไม่บรรลุ 2.3 พชอ.มีฐานข้อมูลสถานการณ์และแผนงานระดับตำบลและอำเภอ?
ผลสรุป: ไม่บรรลุ 3. ผลกระทบ (Impact) สถานการณ์ระบบสุขภาพชุมชนดีขึ้น: เกิดการขยายผล ตื่นตัว และเปลี่ยนแปลงแนวคิด

ข้อเสนอแนะ 1) ถอดบทเรียน การจัดการความรู้จากผู้นำพี้เลี้ยงที่มีบทบาทสูงไปยังกลุ่มพี่เลี้ยงที่เข้ามาใหม่ ๆ เป็นประจำ และทำให้เกิดแนวปฏิบัติที่ดีในการพัฒนาศักยภาพคน 2) เสริมโครงการพัฒนาศักยภาพพี่เลี้ยงรุ่นใหม่ให้มีความรู้ความเข้าใจในระดับใกล้เคียงกันเพื่อร่วมผลักดันการเกิดโครงการที่มีประสิทธิภาพ 3) การใช้ประโยชน์ระบบประเมินผลออนไลน์เพื่อจัดเก็บข้อมูลในระบบ แต่ไม่ได้มีการสังเคราะห์ วิเคราะห์เพื่อนำไปต่อยอดในการพัฒนาโครงการใหม่ ๆ และไม่ได้นำไปใช้ประโยชน์อื่น ๆ 4) ทบทวนระบบและกลไกที่เป็นส่วนเชื่อมต่อระหว่างตำบลสู่ระดับอำเภอ เนื่องจากปัจจุบันการเชื่อมโยงระหว่างตำบลสู่อำเภอยังไม่เกิดขึ้น จึงทำให้ไม่เกิดการบูรณาแผนในระดับอำเภอ
5) สร้างกลไกให้หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องในระดับอำเภอได้นำข้อมูลและโครงการที่เกิดขึ้นในระดับตำบล ทำให้เกิดแผนงานจากระดับล่างสู่ระดับบน และส่งต่อไปยังระดับจังหวัด
6) สร้างโมเดลตัวอย่างการจัดทำแผนจากระดับล่างสู่ระดับบน เป็นต้นแบบเฉพาะใน 1 ตำบลเพื่อให้เห็นรูปแบบการวางระบบและกลไกจากระดับล่างสู่ระดับบน เพื่อนำไปขยายผลต่อไป 7) ควรขับเคลื่อนแผนงานจากโครงการย่อยสู่โครงการใหญ่ และวางเป้าหมาย กำหนดตัวชี้วัดเพื่อตอบเป้าหมายเดียวกัน 8) ควรมีการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ในระดับอำเภอ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ

เอกสารอ้างอิง

 

เอกสารประกอบโครงการ