ระบบติดตามและประเมินผลโครงการ ( M&E Thailand )

directions_run

โครงการบูรณาการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะเขต 6 อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา

แบบประเมินด้วยขั้นตอน HIA

บทคัดย่อ/บทนำ

บทคัดย่อ

โครงการติดตามประเมินผลในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อติดตามและประเมินผลโครงการบูรณาการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะเขต 6 โดยใช้กระบวนการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ (HIA) ในอำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่งประยุกต์กรอบการดำเนินโครงการควบคู่กับแนวทางการสร้างเสริมงานสุขภาวะตามแนวคิด Ottawa charter มาเป็นกรอบประเด็น ขอบเขตตัวชี้วัดและเกณฑ์ที่ใช้ในการประเมิน กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย (1) ข้อมูลหลักฐานเชิงเอกสารและฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับกองทุนสุขภาพตำบล (2) คณะทำงานในโครงการบูรณาการฯ ได้แก่ ผู้ประสานงานระดับประเทศ/ระดับเขต ทีมพี่เลี้ยงระดับจังหวัด ทีมพี่เลี้ยงระดับอำเภอ จำนวน 12 คน และ (3) คณะทำงานในพื้นที่ คือ คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอพนมสารคาม (พชอ.) คณะกรรมการกองทุนสุขภาพตำบล และผู้จัดโครงการสร้างเสริมสุขภาวะ จำนวน 41 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสัมภาษณ์ ประเด็นในการสนทนากลุ่มและแบบบันทึกข้อมูล เก็บข้อมูลตาม 6 ขั้นตอนของ HIA ระหว่างเมษายนถึงตุลาคม พ.ศ. 2563 ตรวจสอบข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการตรวจสอบสามเส้า (Data triangulation) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) และการวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive statistics)
ผลการประเมินสรุปได้ว่า (1) ผลการดำเนินงานเป็นไปตามผลผลิตของโครงการบูรณาการฯที่กำหนดในเรื่องความครอบคลุมของประเด็นในการส่งเสริมสุขภาวะและคุณภาพของแผนงาน/โครงการในกองทุนสุขภาพตำบล แต่ไม่พบการใช้ระบบติดตามประเมินผลออนไลน์ในการทำงานของคณะกรรมการกองทุนสุขภาพตำบล (2) ผลการดำเนินงานตามกรอบ Ottawa charter พบว่า ด้านการพัฒนาศักยภาพบุคคล มีการพัฒนาศักยภาพทีมพี่เลี้ยงในเรื่องการจัดทำโครงการและระบบฐานข้อมูล แต่ไม่พบการพัฒนาศักยภาพของคณะกรรมการกองทุนฯและกลุ่มผู้จัดโครงการ ด้านการปรับสิ่งแวดล้อม พบว่า มีการเข้าถึงระบบสนับสนุน โดยมีการสอนการใช้ระบบการพัฒนาแผนงาน/โครงการผ่านการปฏิบัติงานจริง (Learning by doing) จากผู้ประสานงานเขต ส่วนการให้คำปรึกษาส่วนใหญ่เป็นการขอรับคำปรึกษาระหว่างทีมพี่เลี้ยงกับผู้ประสานงานเขตโดยตรง ด้านการทำงานเชิงระบบ พบว่า คณะกรรมการกองทุนสุขภาพตำบลดำเนินการในรูปแบบเดิมโดยมีแนวโน้มในการใช้ประโยชน์จากฐานข้อมูลระบบการพัฒนาแผนงาน/โครงการในการจัดทำโครงการให้มีคุณภาพ ด้วยการกำหนดรายละเอียดข้อมูลสุขภาพในพื้นที่ กำหนดตัวชี้วัด เลือกวิธีดำเนินงานและการประเมินผลที่สอดคล้องกัน ด้านความเข้มแข็งของชุมชนและการพัฒนานโยบายสาธารณะ ไม่พบการเปลี่ยนแปลงเชิงรูปธรรมที่เกิดจากการดำเนินโครงการแต่มีแนวโน้มถึงการใช้ข้อมูลสถานการณ์ในพื้นที่เชื่อมโยงกับการทำงานของ พชอ. จากการใช้ข้อมูลสุขภาพในพื้นที่ซึ่งอยู่ในฐานข้อมูลมาเป็นข้อมูลนำเข้าสำคัญเพื่อกำหนดเป้าหมายการดำเนินงานของ พชอ. นอกจากนี้การประเมินผลโครงการด้วยกระบวนการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพถือว่าเป็นแนวทางที่เสริมพลังและแสดงคุณค่าของการดำเนินโครงการได้เป็นอย่างดี ข้อเสนอแนะต่อการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาวะในพื้นที่ คือ (1) การปรับเปลี่ยนการดำเนินงานของโครงการบูรณาการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะเขต 6 คือ การกำหนดคุณสมบัติของผู้ประสานงานเขตและทีมพี่เลี้ยงระดับต่างๆให้ชัดเจน การสร้างกลไกเชื่อมโยงระหว่างทีมพี่เลี้ยงกองทุนและคณะกรรมการกองทุนฯ การปรับกลไกและช่วงเวลาในการดำเนินงานให้เหมาะสมกับการดำเนินงานของกองทุน การเชื่อมโยงฐานข้อมูลและสร้างความเข้าใจในการใช้ประโยชน์จากฐานข้อมูลการพัฒนาโครงการ การพัฒนากลไกการสื่อสารระหว่างผู้ใช้ระบบและผู้พัฒนาระบบสนับสนุน และ (2) การพัฒนางานสุขภาวะในระดับพื้นที่ คือ คณะกรรมการพชอ. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควรร่วมมือกันในการพัฒนาฐานข้อมูลสุขภาพให้มีความถูกต้องและครอบคลุมประเด็นสำคัญในพื้นที่อำเภอ ผ่านกลไกระบบสนับสนุนของโครงการบูรณาการฯ

คำสำคัญ

การประเมินผล HIA โครงการบูรณาการขับเคลื่อนงานสุขภาวะ พนมสารคาม

บทนำ
  • โครงการบูรณาการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะและพัฒนากลไกสุขภาวะระดับพื้นที่
  • โครงการบูรณาการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะ เขต 6
  • โครงการติดตามประเมินผล มีวัตถุประสงค์ เพื่อติดตามประเมินผลโครงการบูรณาการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะเขต 6 โดยใช้กระบวนการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ (HIA)
หมายเหตุ
  • บทคัดย่อ/บทนำ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

แบบประเมิน HIA

1. การกลั่นกรองโครงการ

check_circle

ขั้นตอนการกลั่นกรองและการกำหนดขอบเขตโครงการ (ดำเนินการร่วมกัน)

1.1 วัตถุประสงค์

1) เพื่อให้ทราบผลและบอกถึงงานที่รับผิดชอบ
2) เพื่อให้เห็นแนวโน้ม เพื่อเตือนภัย
3) เพื่อเปลี่ยนพฤติกรรม และเข้าใจกระบวนการ
4) เพื่อลำดับความสำคัญ แปลง ปรับกลยุทธ์ สู่การปฎิบัติ
5) เพื่อเป็นเครื่องมือในการจัดการ ช่วยการควบคุม
6) เพื่อจัดสรรทรัพยากร
7) เพื่อการเรียนรู้ และรู้ขีดความสามารถ
8) เพื่อเปรียบเทียบ ปรับปรุงและพัฒนา
9) เพื่อช่วยเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กร
10) เพื่อให้รางวัล เพื่อจูงใจ
11) อื่นๆ (ระบุรายละเอียด)
check_circle
  • เพื่อทำความเข้าใจกับทีมผู้จัดโครงการ
  • เพื่อพิจารณาความเป็นไปได้ในการประเมินโครงการร่วมกัน
  • เพื่อกำหนดขอบเขตในการประเมินโดยใช้ 2I SA 2T (Issues, Indicators, Stakeholder, Area, Time, Tools)-

1.2 วิธีการ (ระบุรายละเอียดทำอะไร กับใคร กี่คน ผลสรุป)

1) ประชุมทีมประเมิน
check_circle

ประชุมทีมติดตามประเมินผลเพื่อเตรียมขอบเขตและเครื่องมือในการดำเนินการ

2) ประชุมร่วมกับโครงการ
check_circle
  • สัมภาษณ์เชิงลึกกับทีม สนส.มอ. เรื่องเป้าหมายของการประเมินและกรอบการดำเนินการของโครงการบูรณาการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะและกลไกสุขภาวะระดับพื้นที่
  • สัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ประสานงานเขต 6 เรื่องการชี้แจงรายละเอียดการประเมินผล การปรึกษาเรื่องความเป็นไปได้ในการประเมินผล และการเตรียมกิจกรรม Screening + Scoping
3) ประชุมร่วมกับโครงการและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
check_circle
  • ประชุมระหว่างทีมประเมินผลกับผู้ประสานงานเขต 6 และทีมพี่เลี้ยงกองทุนสุขภาพตำบลในอำเภอพนมสารคาม จำนวน 5 คน
4) อื่นๆ (ระบุรายละเอียด)
check_circle

 

1.3 เครื่องมือ

1) เครื่องมือที่ใช้ในขั้นตอนการกลั่นกรอง (ระบุรายละเอียดเครื่องมือ เช่น แนวคำถามในการประชุมกลุ่ม)
check_circle

แนวคำถามในการสัมภาษณ์และประเด็นในการสนทนากลุ่มระหว่างการประชุม

1.4 ผลที่ได้

1) ผลที่ได้ในขั้นตอนการกลั่นกรอง
check_circle
  • ข้อตกลงร่วมกันเรื่องการประเมินผล
  • แผนการติดตามประเมินผล
  • กรอบประเด็นในการประเมิน ซึ่งประกอบด้วย 2I SA 2T (Issues, Indicators, Stakeholder, Area, Time, Tools)-โดยใช้กรอบ Ottawa charter มีตัวชี้วัด มีเครื่องมือและกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญในพื้นที่อำเภอพนมสารคามและระยะเวลาดำเนินการตามแผนการติดตามประเมินผล

2. การกำหนดขอบเขต

check_circle

ขั้นตอนการกลั่นกรองและการกำหนดขอบเขตโครงการ (ดำเนินการร่วมกัน)

1) วิธีการในการกำหนดขอบเขต
check_circle

การสนทนากลุ่มร่วมกันระหว่างทีมประเมินผลและผู้ประสานงานเขต 6 กับทีมพี่เลี้ยงกองทุนสุขภาพฯในอำเภอพนมสารคาม

2) ผู้เข้าร่วมกำหนดขอบเขต
check_circle
  • ทีมประเมินผล จำนวน 3 คน
  • ผู้ประสานงานเขต 6 จำนวน 1 คน
  • ทีมพี่เลี้ยงกองทุนสุขภาพตำบลที่อยู่ในอำเภอพนมสารคาม จำนวน 5 คน
3) เครื่องมือที่ใช้
check_circle

ประเด็นในการสนทนากลุ่ม

4) กรอบแนวคิด

1) ใช้กรอบ Ottawa charter
check_circle
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดเครื่องมือกลุ่มผู้ให้ข้อมูล
- การพัฒนาศักยภาพคน
  1. ความรู้ความเข้าใจในเรื่องการพัฒนาโครงการสุขภาวะ
  1. แบบสัมภาษณ์เชิงลึก
  2. ประเด็นในการสนทนากลุ่ม
  1. ผู้ประสานงานเขต 6
  2. ทีมพี่เลี้ยงกองทุนฯ
  3. คณะกรรมการกองทุนสุขภาพตำบล
  4. ผู้จัดโครงการ/ผู้เสนอโครงการภายใต้กองทุนสุขภาพตำบล
- การปรับสภาพแวดล้อม
  1. การเข้าถึงและการใช้ประโยชน์จากกลไกสนับสนุน (คู่มือการพัฒนาโครงการ,คลินิคการให้คำปรึกษา, ระบบพัฒนาโครงการ, ระบบติดตามประเมิน))
  1. แบบสัมภาษณ์เชิงลึก
  2. ประเด็นในการสนทนากลุ่ม
  1. ผู้ประสานงานเขต 6
  2. ทีมพี่เลี้ยงกองทุนฯ
  3. คณะกรรมการกองทุนสุขภาพตำบล
  4. ผู้จัดโครงการ/ผู้เสนอโครงการภายใต้กองทุนสุขภาพตำบล
การปรับปรุงการทำงานเชิงระบบ/กลไก
  1. แนวทางการดำเนินงานของกองทุนสุขภาพตำบลที่เปลี่ยนแปลงไป (การจัดทำแผนงาน, การบริหารจัดการโครงการสุขภาวะ, การติดตามประเมินผล)
  1. แบบสัมภาษณ์เชิงลึก
  2. ประเด็นในการสนทนากลุ่ม
  1. ผู้ประสานงานเขต 6
  2. ทีมพี่เลี้ยงกองทุนฯ
  3. คณะกรรมการกองทุนสุขภาพตำบล
การเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน
  1. ระดับการมีส่วนร่วมของชุมชน
  2. จำนวนเครือข่ายหน้าใหม่ในการเสนอโครงการในแผนกองทุนฯ
  3. ความสอดคล้องของวัตถุประสงค์โครงการกับเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ของแผนกองทุนฯ
  1. แบบสัมภาษณ์เชิงลึก
  2. ประเด็นในการสนทนากลุ่ม
  3. แบบบันทึกข้อมูลในฐานข้อมูลกองทุนฯ
  1. ผู้ประสานงานเขต 6
  2. ทีมพี่เลี้ยงกองทุนฯ
  3. คณะกรรมการกองทุนสุขภาพตำบล
การพัฒนานโยบายสาธารณะ
  1. จำนวนประเด็นในการสร้างเสริมสุขภาวะที่นำไปกำหนดเป็นนโยบายหรือข้อตกลงในระดับพื้นที่อำเภอ
  1. แบบสัมภาษณ์เชิงลึก
  1. ผู้ประสานงานเขต 6
2) ใช้กรอบ ปัจจัยกำหนดสุขภาพ
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดเครื่องมือกลุ่มผู้ให้ข้อมูล
3) ใช้กรอบ Balance Score Card
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดเครื่องมือกลุ่มผู้ให้ข้อมูล
4) ใช้กรอบ CIPP
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดเครื่องมือกลุ่มผู้ให้ข้อมูล
5) อื่นๆ
check_circle
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดเครื่องมือกลุ่มผู้ให้ข้อมูล
ประเมินตามกรอบการดำเนินโครงการบูรณาการฯ ได้แก่ การประเมินปัจจัยนำเข้า (คน ทรัพยากร งบประมาณ ทุนทางสังคม ระบบข้อมูล) การประเมินกระบวนการ (7 กิจกรรมในโครงการ) การประเมินผลผลิต (โครงการครอบคลุม 5 ประเด็นสุขภาวะ, คุณภาพของแผนงาน/โครงการ และมีระบบ M&E) การประเมินผลลัพธ์และผลกระทบที่่เกิดขึ้น)
  1. การเปลี่ยนแปลงเชิงรูปธรรมในพื้นที่ดำเนินการ
  1. แบบสัมภาษณ์เชิงลึก
  2. ประเด็นในการสนทนากลุ่ม
  3. แบบบันทึกข้อมูลในฐานข้อมูลกองทุนฯ
  1. ผู้ประสานงานเขต 6
  2. ทีมพี่เลี้ยงกองทุนฯ
  3. คณะกรรมการกองทุนสุขภาพตำบล
  4. ผู้จัดโครงการ/ผู้เสนอโครงการภายใต้กองทุนสุขภาพตำบล

3. ลงมือประเมิน

check_circle

รูปแบบการประเมินผลโดยประยุกต์การประเมินผลแบบก้าวหน้า (Formative evaluation) ร่วมกับการประเมินแบบเสริมพลังอำนาจ (Empowerment evaluation) เนื่องจากโครงการบูรณาการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะเขต 6 มีแผนการดำเนินงานตั้งแต่ กันยายน 2562 - เมษายน 2564 ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลที่เกิดจากการดำเนินโครงการบูรณาการฯเขต 6 ได้แก่ ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ ปัจจัยความสำเร็จตามกรอบ Ottawa charter ผลผลิต ผลลัพธ์และผลกระทบที่เกิดขึ้น

1) กระบวนการเก็บข้อมูลโดยการมีส่วนร่วม (ระบุรายละเอียด)
check_circle
  • การสัมภาษณ์เชิงลึก กับผู้ประสานงานเขต และทีมพี่เลี้ยงกองทุนฯ
  • การสนทนากลุ่ม กับตัวแทนคณะกรรมการกองทุนฯและตัวแทนผู้จัดโครงการหรือผู้เสนอโครงการในกองทุนฯ
  • การสังเกตอย่างมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมในโครงการ ได้แก่ การสังเกตการจัดประชุมพัฒนาศักยภาพของทีมพี่เลี้ยงในการบันทึกข้อมูลในระบบพัฒนาโครงการ localfund และการประชุม พชอ. เพื่อกำหนดทิศทางนโยบายและเป้าหมายการทำงานในพื้นที่
  • การบันทึกข้อมูลแผนงาน/โครงการในระบบฐานข้อมูลกองทุนสุขภาพฯ
2) กระบวนการวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูล (ระบุรายละเอียด)
check_circle
  • วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (content analysis)
  • วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยการวิเคราะห์ความถี่ (Frequency) และร้อยละ (Percentage)
3) ผู้มีส่วนร่วมในการประเมิน (ระบุรายละเอียด)
check_circle
  • ผู้ประสานงานเขต
  • ทีมพี่เลี้ยงกองทุนฯ
  • ตัวแทนคณะกรรมการกองทุนฯ
  • ตัวแทนผู้จัดโครงการหรือผู้เสนอโครงการในกองทุนฯ
4) ผลการประเมิน (เรียงตามตัวชี้วัดที่กำหนดในขั้นตอน scoping)
check_circle
  1. ความรู้ความเข้าใจในเรื่องการพัฒนาโครงการสุขภาวะ ผลการประเมินพบว่า มีการพัฒนาศักยภาพทีมพี่เลี้ยง ในเรื่องการจัดทำโครงการและระบบฐานข้อมูล จึงทำให้ความรู้ความเข้าใจในเรื่องการพัฒนาโครงการสุขภาวะของทีมพี่เลี้ยงกองทุนเพิ่มขึ้น แต่ไม่พบการพัฒนาศักยภาพของคณะกรรมการกองทุนฯและกลุ่มผู้จัดโครงการจึงไม่มีการเปลี่ยนแปลงในเรื่องความรู้ความเข้าใจของกลุ่มดังกล่าว
  2. การเข้าถึงและการใช้ประโยชน์จากกลไกสนับสนุน ผลการประเมินพบว่า มีการเข้าถึงระบบสนับสนุน โดยมีการสอนการใช้ระบบการพัฒนาโครงการผ่านการปฏิบัติงานจริง (Learning by doing) จากทีมพี่เลี้ยงพื้นที่และผู้ประสานงาน ส่วนการให้คำปรึกษาส่วนใหญ่เป็นการขอรับคำปรึกษากับผู้ประสานงานเขตจากทีมพี่เลี้ยงระดับพื้นที่ ไม่พบการใช้ระบบติดตามประเมินผลออนไลน์ในการดำเนินงานของกองทุนสุขภาพตำบล
  3. แนวทางการดำเนินงานของกองทุนที่เปลี่ยนแปลงไป ผลการประเมินพบว่า มีการใช้ข้อมูลสุขภาพเป็นฐานในการพัฒนาโครงการ แต่การดำเนินงานด้านอื่นๆของกองทุนฯยังใช้รูปแบบเดิม
  4. ระดับการมีส่วนร่วมของชุมชน ความสอดคล้องของวัตถุประสงค์โครงการกับเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ และจำนวนเครือข่ายหน้าใหม่ในการเสนอโครงการ ผลการประเมินพบว่า ผู้จัดโครงการมักเป็นผู้ที่ทำกิจกรรมในพื้นที่อย่างต่อเนื่องและมีความใกล้ชิดกับพี่เลี้ยงตามประเด็น รวมถึงเป็นส่วนหนึ่งของคณะกรรมการกองทุนสุขภาพฯ
  5. จำนวนประเด็นสุขภาวะที่นำไปกำหนดเป็นนโยบายหรือข้อตกลงในระดับพื้นที่ ผลการประเมินพบว่า มีแนวโน้มถึงการใช้ข้อมูลสถานการณ์ในพื้นที่เชื่อมโยงกับการทำงานของ พชอ. โดยผู้ประสานงานเขตและทีมพี่เลี้ยงกองทุนฯในอำเภอพนมสารคามเป็นกลุ่มที่นำข้อมูลสุขภาพไปเสนอในที่ประชุม พชอ. แต่ในปัจจุบันไม่ชัดเจนถึงเป้าหมายและแผนการดำเนินงานของ พชอ. พนมสารคาม
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดผลการประเมินหมายเหตุ
1. - การพัฒนาศักยภาพคน (1) ใช้กรอบ Ottawa charter) ความรู้ความเข้าใจในเรื่องการพัฒนาโครงการสุขภาวะ

มีการพัฒนาศักยภาพทีมพี่เลี้ยง ในเรื่องการจัดทำโครงการและระบบฐานข้อมูล จึงทำให้ความรู้ความเข้าใจในเรื่องการพัฒนาโครงการสุขภาวะของทีมพี่เลี้ยงกองทุนเพิ่มขึ้น แต่ไม่พบการพัฒนาศักยภาพของคณะกรรมการกองทุนฯและกลุ่มผู้จัดโครงการจึงไม่มีการเปลี่ยนแปลงในเรื่องความรู้ความเข้าใจของกลุ่มดังกล่าว

 

2. - การปรับสภาพแวดล้อม (1) ใช้กรอบ Ottawa charter) การเข้าถึงและการใช้ประโยชน์จากกลไกสนับสนุน (คู่มือการพัฒนาโครงการ,คลินิคการให้คำปรึกษา, ระบบพัฒนาโครงการ, ระบบติดตามประเมิน))

มีการเข้าถึงระบบสนับสนุน โดยมีการสอนการใช้ระบบการพัฒนาโครงการผ่านการปฏิบัติงานจริง (Learning by doing) จากทีมพี่เลี้ยงพื้นที่และผู้ประสานงาน ส่วนการให้คำปรึกษาส่วนใหญ่เป็นการขอรับคำปรึกษากับผู้ประสานงานเขตจากทีมพี่เลี้ยงระดับพื้นที่ ไม่พบการใช้ระบบติดตามประเมินผลออนไลน์ในการดำเนินงานของกองทุนสุขภาพตำบล

 

3. การปรับปรุงการทำงานเชิงระบบ/กลไก (1) ใช้กรอบ Ottawa charter) แนวทางการดำเนินงานของกองทุนสุขภาพตำบลที่เปลี่ยนแปลงไป (การจัดทำแผนงาน, การบริหารจัดการโครงการสุขภาวะ, การติดตามประเมินผล)

มีการใช้ข้อมูลสุขภาพเป็นฐานในการพัฒนาโครงการ แต่การดำเนินงานด้านอื่นๆของกองทุนฯยังใช้รูปแบบเดิม

 

4. การเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน (1) ใช้กรอบ Ottawa charter) ระดับการมีส่วนร่วมของชุมชน

ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนกองทุนสุขภาพตำบลและจัดทำโครงการสร้างเสริมสุขภาวะในพื้นที่

 

5. การเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน (1) ใช้กรอบ Ottawa charter) จำนวนเครือข่ายหน้าใหม่ในการเสนอโครงการในแผนกองทุนฯ

ไม่พบเครือข่ายใหม่ในการเสนอโครงการในกองทุนสุขภาพตำบล เนื่องจากผู้จัดโครงการมักเป็นผู้จัดโครงการเดิม เป็นผู้ที่ทำกิจกรรมในพื้นที่อย่างต่อเนื่องและมีความใกล้ชิดกับพี่เลี้ยงตามประเด็น รวมถึงเป็นส่วนหนึ่งของคณะกรรมการกองทุนสุขภาพฯ

 

6. การเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน (1) ใช้กรอบ Ottawa charter) ความสอดคล้องของวัตถุประสงค์โครงการกับเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ของแผนกองทุนฯ

วัตถุประสงค์โครงการมีความสอดคล้องกับเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ของแผนกองทุนฯ เนื่องจากกระบวนการจัดทำเป้าหมายและแผนกองทุนฯ เป็นขั้นตอนที่เริ่มต้นจากการสรุปผลการดำเนินงานของกองทุนฯที่ผ่านมา และกำหนดโครงการที่สอดคล้องกับแผนกองทุนฯในปีต่อไป

 

7. การพัฒนานโยบายสาธารณะ (1) ใช้กรอบ Ottawa charter) จำนวนประเด็นในการสร้างเสริมสุขภาวะที่นำไปกำหนดเป็นนโยบายหรือข้อตกลงในระดับพื้นที่อำเภอ

ไม่ชัดเจนถึงนโยบายและแผนการดำเนินงานของ พชอ.พนมสารคาม แต่มีแนวโน้มที่จะนำประเด็นการสร้างเสริมสุขภาวะมาการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตของอำเภอพนมสารคามในปี 2564 เนื่องจาก การประชุม พชอ. มีการร่วมกันพิจารณาข้อมูลสถานการณ์ปัญหาสุขภาพของคนพนมสารคามแล้วนำมากำหนดเป้าหมายของการพัฒนาของ พชอ. ต่อไป

 

8. ประเมินตามกรอบการดำเนินโครงการบูรณาการฯ ได้แก่ การประเมินปัจจัยนำเข้า (คน ทรัพยากร งบประมาณ ทุนทางสังคม ระบบข้อมูล) การประเมินกระบวนการ (7 กิจกรรมในโครงการ) การประเมินผลผลิต (โครงการครอบคลุม 5 ประเด็นสุขภาวะ, คุณภาพของแผนงาน/โครงการ และมีระบบ M&E) การประเมินผลลัพธ์และผลกระทบที่่เกิดขึ้น) (5) อื่นๆ) การเปลี่ยนแปลงเชิงรูปธรรมในพื้นที่ดำเนินการ

ผลการประเมินตามกรอบการดำเนินโครงการบูรณาการ พบว่า 1. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า พบว่า
- บุคคล ได้แก่ ผู้ประสานงานเขตและทีมพี่เลี้ยงกองทุนฯ ถือว่าเป็นผู้ที่มีความสำคัญต่อปัจจัยความสำเร็จของโครงการ แต่ไม่พบบทบาทของทีมพี่เลี้ยงในการ Coaching คณะกรรมการกองทุนฯและผู้จัดโครงการ - ทรัพยากรและงบประมาณ พบว่า กองทุนฯ ใช้ทรัพยากรและงบประมาณเดิมตามแนวทางของ สปสช. - ทุนทางสังคม พบว่า ผู้จัดโครงการมักเป็นผู้ที่ทำกิจกรรมในพื้นที่อย่างต่อเนื่องและมีความใกล้ชิดกับพี่เลี้ยงตามประเด็น - ระบบข้อมูล พบว่า ข้อมูลสุขภาพในพื้นที่ เป็นข้อจำกัดในการพัฒนาโครงการ และการบันทึกข้อมูลในระบบ Localfund เป็นการบันทึกข้อมูลของโครงการสุขภาวะเท่านั้นไม่ครอบคลุมเหมือนฐานข้อมูล สปสช. 2. ผลการประเมินด้านกระบวนการ พบว่า มีการดำเนินงานทั้งระดับประเทศและระดับพื้นที่ ตามข้อ 1-6 ตั้งแต่ การสร้างทีมทำงาน การพัฒนาหลักสูตร การสร้างทีมประสานงานระดับเขต ทีมประสานงานและทีมพี่เลี้ยงพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการกองทุนและผู้เสนอโครงการ การทำความเข้าใจกับ พชอ. การหนุนเสริมเรื่องการจัดทำแผนงานโครงการ แต่ยังไม่พบการสรุปงานและดำเนินงานกับ พชอ. 3. ผลการประเมินตามกรอบ Ottawa charter แสดงรายละเอียดตามข้อมูลดังกล่าวที่ได้นำเสนอแล้ว 4. ผลการประเมินด้านผลผลิต (Output) พบว่า ผลการประเมินการดำเนินงานในพื้นที่พนมสารคาม จำแนกตามผลผลิตของโครงการ พบว่า การดำเนินงานเป็นไปตามผลผลิตที่กำหนดในเรื่องความครอบคลุมของประเด็นในการส่งเสริมสุขภาพและคุณภาพของแผนงาน/โครงการในกองทุนสุขภาพตำบล แต่ไม่พบการใช้ระบบติดตามประเมินผลออนไลน์ในการทำงานของคณะกรรมการกองทุนสุขภาพตำบล 5. ผลการประเมินด้านผลลัพธ์ (Outcome) และผลกระทบ (Impact) พบว่า การจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตของอำเภอพนมสารคามในปี 2564 เกิดจากการมติที่ประชุมของ พชอ. ที่นำโดยนายอำเภอพนมสารคามร่วมกับหน่วยงานสุขภาพ หน่วยงานท้องถิ่น และภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันพิจารณาข้อมูลสถานการณ์ปัญหาสุขภาพของคนพนมสารคามแล้วนำมากำหนดเป้าหมายของการพัฒนา และไม่มีหลักฐานเชิงประจักษ์ที่แสดงถึงสถานการณ์ระบบสุขภาพชุมชนที่ดีขึ้น

 

5) อื่นๆ
check_circle

 

4. ทบทวนรายงานการประเมินว่าถูกต้องหรือไม่?

check_circle

กระบวนการทบทวนรายงานการประเมินเบื้องต้น ดำเนินการในพื้นที่ เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2563 โดยการจัดประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นจากกลุ่มผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียที่สำคัญของโครงการ เช่น กลุ่มพี่เลี้ยงกองทุนฯ กลุ่มคณะกรรมการกองทุนฯ และกลุ่มผู้จัดโครงการ

1) กระบวนการในการทบทวนรายงาน
check_circle
  • จัดประชุม/เวทีรับฟังความคิดเห็นจากผู้ประสานงานเขต ทีมพี่เลี้ยงกองทุนฯ ตัวแทนของคณะกรรมการกองทุนฯและตัวแทนผู้จัดโครงการ ทั้ง 11 กองทุนสุขภาพตำบลในอำเภอพนมสารคาม จำนวน 35 คน
  • นำเสนอกรอบประเด็นในการประเมินผลและผลการประเมิน
  • เปิดเวทีให้แสดงความคิดเห็น ร่วมอภิปรายแลกเปลี่ยนเพื่อหาข้อสรุปเรื่องผลการประเมินร่วมกัน
  • ประชุมกลุ่มย่อยเพื่อประเมินตนเองตามกรอบการประเมินและพัฒนาข้อเสนอแนะในการดำเนินงานต่อไป
2) ผู้มีส่วนร่วมในการทบทวนรายงาน
check_circle

มีกิจกรรมการอภิปรายแลกเปลี่ยนเพื่อทบทวนและหาข้อสรุปถึงผลการประเมินร่วมกัน โดยมีการเสริมพลังอำนาจ (Empowerment) ร่วมกันระหว่างทีมประเมินผลและทีมทำงานของโครงการบูรณาการฯ เขต 6

3) ผลการทบทวนร่างรายงาน

 

4) สรุปผลการประเมินสำคัญที่นำเข้าเวทีการทบทวน
check_circle
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดสรุปผลการประเมินหมายเหตุ
1. - การพัฒนาศักยภาพคน (1) ใช้กรอบ Ottawa charter) ความรู้ความเข้าใจในเรื่องการพัฒนาโครงการสุขภาวะ

ความรู้ความเข้าใจในเรื่องการพัฒนาโครงการสุขภาวะของทีมพี่เลี้ยงระดับต่างๆและพี่เลี้ยงกองทุนฯเพิ่มขึ้น แต่ไม่พบการเปลี่ยนแปลงในเรื่องความรู้ความเข้าใจของกลุ่มคณะกรรมการกองทุนฯและผู้จัดโครงการ

 

2. - การปรับสภาพแวดล้อม (1) ใช้กรอบ Ottawa charter) การเข้าถึงและการใช้ประโยชน์จากกลไกสนับสนุน (คู่มือการพัฒนาโครงการ,คลินิคการให้คำปรึกษา, ระบบพัฒนาโครงการ, ระบบติดตามประเมิน))

มีการเข้าถึงระบบสนับสนุน เรื่องระบบพัฒนาโครงการและการให้คำปรึกษาระหว่างผู้ประสานงานเขตกับทีมพี่เลี้ยงกองทุนฯ ไม่พบการใช้ระบบติดตามประเมินผลออนไลน์ในการดำเนินงานของกองทุนสุขภาพตำบล

 

3. การปรับปรุงการทำงานเชิงระบบ/กลไก (1) ใช้กรอบ Ottawa charter) แนวทางการดำเนินงานของกองทุนสุขภาพตำบลที่เปลี่ยนแปลงไป (การจัดทำแผนงาน, การบริหารจัดการโครงการสุขภาวะ, การติดตามประเมินผล)

มีการใช้ข้อมูลสุขภาพเป็นฐานในการพัฒนาโครงการ แต่การดำเนินงานด้านอื่นๆของกองทุนฯยังใช้รูปแบบเดิม

 

4. การเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน (1) ใช้กรอบ Ottawa charter) ระดับการมีส่วนร่วมของชุมชน

ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนกองทุนสุขภาพตำบลและจัดทำโครงการสร้างเสริมสุขภาวะในพื้นที่

 

5. การเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน (1) ใช้กรอบ Ottawa charter) จำนวนเครือข่ายหน้าใหม่ในการเสนอโครงการในแผนกองทุนฯ

ไม่พบเครือข่ายใหม่ในการเสนอโครงการในกองทุนสุขภาพตำบล

 

6. การเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน (1) ใช้กรอบ Ottawa charter) ความสอดคล้องของวัตถุประสงค์โครงการกับเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ของแผนกองทุนฯ

วัตถุประสงค์โครงการมีความสอดคล้องกับเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ของแผนกองทุนฯ

 

7. การพัฒนานโยบายสาธารณะ (1) ใช้กรอบ Ottawa charter) จำนวนประเด็นในการสร้างเสริมสุขภาวะที่นำไปกำหนดเป็นนโยบายหรือข้อตกลงในระดับพื้นที่อำเภอ

ไม่ชัดเจนถึงนโยบายและแผนการดำเนินงานของ พชอ.พนมสารคาม แต่มีแนวโน้มที่จะนำประเด็นการสร้างเสริมสุขภาวะมาการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตของอำเภอพนมสารคามในปี 2564

 

8. ประเมินตามกรอบการดำเนินโครงการบูรณาการฯ ได้แก่ การประเมินปัจจัยนำเข้า (คน ทรัพยากร งบประมาณ ทุนทางสังคม ระบบข้อมูล) การประเมินกระบวนการ (7 กิจกรรมในโครงการ) การประเมินผลผลิต (โครงการครอบคลุม 5 ประเด็นสุขภาวะ, คุณภาพของแผนงาน/โครงการ และมีระบบ M&E) การประเมินผลลัพธ์และผลกระทบที่่เกิดขึ้น) (5) อื่นๆ) การเปลี่ยนแปลงเชิงรูปธรรมในพื้นที่ดำเนินการ
  1. สรุปผลการดำเนินงานเป็นไปตามผลผลิตที่กำหนดในเรื่องความครอบคลุมของประเด็นในการส่งเสริมสุขภาพและคุณภาพของแผนงาน/โครงการในกองทุนสุขภาพตำบล แต่ไม่พบการใช้ระบบติดตามประเมินผลออนไลน์ในการทำงานของคณะกรรมการกองทุนสุขภาพตำบล
  2. การจัดโครงการสุขภาวะและการดำเนินงานของกองทุนสุขภาพตำบล เป็นการทำงานตามรูปแบบเดิมของแต่ละกองทุน มีการจัดทำแผนกองทุนอย่างมีส่วนร่วมของชุมชนและดำเนินตามแนวทางที่ สปสช. กำหนด
  3. ผู้จัดโครงการมีความใกล้ชิดกับพี่เลี้ยงตามประเด็นเดิม เช่น รพ.สต. มักเป็นพี่เลี้ยงของโครงการที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ โรงเรียนมักเป็นพี่เลี้ยงในโครงการที่เกี่ยวข้องกับเด็ก สภาฯองค์กรชุมชน มักเป็นพี่เลี้ยงในโครงการที่เกี่ยวข้องกับสังคม
  4. ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของกองทุนสุขภาพตำบล ได้แก่ ผู้ประสานงานเขต ทีมพี่เลี้ยงระดับต่างๆ คณะกรรมการกองทุนฯและผู้จัดโครงการฯ เกิดความภาคภูมิใจในการทำงานและยินดีอาสาในการทำงานเพื่อเสริมสร้างสุขภาวะของคนในชุมชนต่อไป

 

5) อื่นๆ

 

5. การปรับปรุงทบทวนโครงการ

check_circle

การสรุป อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ

1) ข้อเสนอเพื่อการทบทวนโครงการ
check_circle

ข้อเสนอแนะในการดำเนินงานในพื้นที่ 1. ผู้ประสานงานเขต เป็นผู้ที่มีบทบาทหน้าที่ในการบริหารจัดการโครงการบูรณาการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะ ออกแบบ วางแผนวิธีการดำเนินงาน คัดเลือกทีมพี่เลี้ยงระดับจังหวัดและระดับอำเภอ จึงต้องเป็นผู้ที่มีทักษะในการบริหารจัดการ ทักษะด้านการดำเนินโครงการด้านสุขภาวะและทักษะในการ Coaching ทีมพี่เลี้ยงระดับต่างๆ ซึ่งการดำเนินงานที่ผ่านมาได้สร้างกลไกการเชื่อมโยงในระดับเขต ระดับจังหวัดและระดับพื้นที่อำเภอได้เป็นอย่างดี ความท้าทายต่อไป คือ การกำหนดคุณสมบัติของผู้ประสานงานเขตและ การสร้างกลไกที่เชื่อมโยงระหว่างทีมพี่เลี้ยงอำเภอกับคณะกรรมการกองทุนฯและผู้จัดโครงการ เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงรูปธรรมในการดำเนินโครงการสุขภาวะในพื้นที่ 2. ทีมพี่เลี้ยงกองทุนฯ ถือเป็น Key person สำคัญที่จะเชื่อมโยงการทำงานในเชิงนโยบายลงสู่การปฏิบัติ โดยในการปฏิบัติทีมพี่เลี้ยงจะยึดคุณภาพของโครงการที่เหมาะสมกับเกณฑ์ตามแนวทางการใช้จ่ายเงินงบประมาณของกองทุนฯ ดังนั้นแนวทางในการพัฒนา จึงควรทำความเข้าใจกับทีมพี่เลี้ยงกองทุนในพื้นที่ ปรับทัศนคติ และชี้ให้เห็นประโยชน์ทั้งในระดับกองทุนฯและระดับอำเภอ เพื่อให้รับรู้ถึงบทบาทและสามารถแสดงบทบาทของพี่เลี้ยงที่เชื่อมโยงไปถึงคณะกรรมการกองทุนฯและผู้จัดโครงการฯ หรือพัฒนากลไกพี่เลี้ยงในทุกกองทุนจากตัวแทนของกองทุนฯ 3. ช่วงเวลาการดำเนินโครงการบูรณาการฯ ไม่สอดคล้องการดำเนินงานของกองทุนสุขภาพในพื้นที่ เนื่องจากโครงการฯเข้าไปดำเนินการพัฒนาศักยภาพพี่เลี้ยงในขณะที่ผู้จัดโครงการและคณะกรรมการกองทุนฯได้ดำเนินการไปตามรูปแบบและกำหนดเวลาเดิม จึงทำให้ไม่สามารถปรับแก้ไขกลไกการพัฒนาโครงการและผู้บันทึกข้อมูลจะต้องนำข้อมูลที่บันทึกไว้ในฐานข้อมูลกองทุนฯของ สปสช. มาบันทึกในฐานข้อมูล localfund เพิ่มเติม (ภาระเพิ่มขึ้น) ข้อเสนอเพื่อพัฒนา คือ การปรับกลไกและช่วงเวลาในการดำเนินงาน รวมถึงพัฒนาความเชื่อมโยงของฐานข้อมูล และการสร้างความเข้าใจในการใช้ประโยชน์จากฐานข้อมูล localfund 4. ปัจจุบันมีปัญหาเรื่องการเข้าถึงและการใช้ประโยชน์ของระบบสนับสนุนทั้งเรื่องคู่มือการจัดทำโครงการฯ คลินิคให้คำปรึกษาและระบบติดตามประเมินผลออนไลน์ ดังนั้นจึงควรมีกลไกในการสื่อสารระหว่างผู้ใช้ระบบและผู้พัฒนาระบบสนับสนุน เพื่อแก้ไขปัญหาและพัฒนาระบบสนับสนุนให้ friendly ต่อผู้ใช้งานมากขึ้น โดยเฉพาะการบันทึกข้อมูลและการใช้ประโยชน์ของระบบติดตามประเมินผลออนไลน์ในกองทุนสุขภาพตำบล 5. การพัฒนาฐานข้อมูลสุขภาพในพื้นที่ถือว่าเป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างยิ่ง เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ครบถ้วน สะท้อนสถานะสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ ดังนั้นจึงควรต้องชี้ให้เห็นประโยชน์จากฐานข้อมูล และการจัดทำโครงการโดยใช้ข้อมูลสุขภาพในพื้นที่

2) อื่นๆ
check_circle

ข้อจำกัดในการประเมินผล ได้แก่ 1. ข้อจำกัดด้านระยะเวลาและวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ทำให้การดำเนินโครงการบูรณาการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะเขต 6 เกิดความล่าช้า ซึ่งส่งผลให้โครงการติดตามประเมินผลมีการปรับเปลี่ยนเป้าหมายและแผนการดำเนินการแต่เนื่องจากได้รับการสนับสนุนจากผู้ประสานงานเขต 6 และทีมพี่เลี้ยงกองทุนฯ ทำให้สามารถดำเนินการได้ตามแผนที่กำหนดโดยเลือกใช้การเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการที่หลากหลายและหากจำเป็นต้องมีการจัดประชุม ทีมประเมินผลได้ดำเนินการตามมาตรการป้องกันการแพร่กระจายโรคอย่างเคร่งครัด เช่น การสวมหน้ากากอนามัย การกำหนดระยะห่างทางสังคม การล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ 2. ข้อจำกัดด้านพื้นที่ เนื่องจากพื้นที่พนมสารคาม เป็นพื้นที่ที่มีความคุ้นเคยใกล้ชิดกับผู้ประสานงานเขต ดังนั้นเมื่อทีมพี่เลี้ยงกองทุนสุขภาพฯระดับอำเภอ มีปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานก็จะมีการขอคำปรึกษาจากผู้ประสานงานเขตได้โดยตรง จึงทำให้ทีมประเมินผล ไม่พบภาพความเชื่อมโยงของการให้คำปรึกษาหรือการเข้าถึงกลไกสนับสนุนในระดับเขต ระดับจังหวัดและระดับอำเภอ

6. ได้มีการปรับปรุงทบทวนโครงการตามข้อ 5 หรือไม่?

check_circle

การวางแผนในการกำหนดแนวทางในการติดตามประเมินผลโครงการบูรณาการสร้างเสริมสุขภาวะเขต 6

1) กลไกในการติดตามการปรับปรุงโครงการตามข้อเสนอแนะ
check_circle

การติดตามการปรับปรุงโครงการตามข้อเสนอแนะ ควรใช้กลไกการประสานกับกลุ่มเป้าหมายในประเด็นต่างๆ ดังนี้ 1. จากข้อเสนอแนะ คือ ผู้ประสานงานเขต ในเรื่องการกำหนดคุณสมบัติและบทบาทหน้าที่ของผู้ประสานงานเขตที่ชัดเจน ดังนั้นกลไกการติดตามจึงควรพิจารณาจากการดำเนินงานของทีมโครงการบูรณาการฯในเรื่องคุณสมบัติของผู้ประสานงานเขต 2. จากข้อเสนอแนะ คือ ทีมพี่เลี้ยงกองทุนฯ ในเรื่องทักษะและกิจกรรมการ Coaching ดังนั้นกลไกการติดตามจึงควรพิจารณาทักษะและการจัดกิจกรรมการ Coaching ระหว่างทีมพี่เลี้ยงกองทุนและคณะกรรมการกองทุนสุขภาพตำบลและผู้จัดโครงการ 3. จากข้อเสนอแนะ เรื่องช่วงเวลาในการดำเนินงานของโครงการบูรณการฯและการดำเนินงานของกองทุนฯ ไม่สอดคล้อง ดังนั้นกลไกการติดตามคือ การพิจารณาปรับเปลี่ยนช่วงเวลาในการดำเนินงานของโครงการบูรณาการฯให้เหมาะสมสอดคล้องกับการดำเนินงานของแผนกองทุนฯ
4. จากข้อเสนอแนะ เรื่อง การเข้าถึงและการใช้ประโยชน์จากกลไกสนับสนุน ดังนั้นกลไกการติดตาม คือ กลไกในการสื่อสารระหว่างผู้ใช้ระบบและผู้พัฒนาระบบสนับสนุน และกลไกการเข้าถึงและใช้ประโยชน์ของระบบสนับสนุน 5. จากข้อเสนอแนะ เรื่อง การพัฒนาฐานข้อมูลสุขภาพในระดับอำเภอ ซึ่งปัจจุบันยังไม่สมบูรณ์ ดังนั้นกลไกการติดตาม คือ ความถูกต้อง ความครอบคลุมและการใช้ประโยชน์จากระบบฐานข้อมูลสุขภาพในระดับอำเภอ

2) วิธีการติดตาม การปรับปรุงโครงการตามข้อเสนอแนะ
check_circle
  • การสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่มกับกลุ่มเป้าหมาย
  • การติดตามการเข้าถึงและใช้ประโยชน์ของระบบสนับสนุน
  • การติดตามจากการจัดทำฐานข้อมูลสุขภาพในระดับอำเภอ
  • การพิจารณาแผนและการดำเนินงานของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตอำเภอ (พชอ.)
3) อื่นๆ

 

สรุป

อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ

 

เอกสารอ้างอิง

 

เอกสารประกอบโครงการ