ระบบติดตามและประเมินผลโครงการ ( M&E Thailand )

directions_run

โครงการบูรณาการกลไกสุขภาพพชุมชน เขต 8 อ.ด่านซ้าย จ.เลย(ฉบับจริง )

แบบประเมินด้วยขั้นตอน HIA

บทคัดย่อ/บทนำ

บทคัดย่อ

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ติดตามประเมินผลโครงการบูรณาการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะและพัฒนากลไกสุขภาวะระดับพื้นที่ อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย เขตสุขภาพที่ 8 โดยประยุกต์ใช้การประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ (Health Impact assessment: HIA) (2) พัฒนาแนวทางการบูรณาการการทำงานระหว่างคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ(พชอ.) และกองทุนสุขภาพตำบล/เทศบาล ผลการประเมิน พบว่า 1. ปัจจัยแห่งความสำเร็จโครงการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะและพัฒนากลไกสุขภาวะระดับพื้นที่อำเภอในการกำหนดสุขภาพ ประกอบด้วย (1) ด้านปัจเจกบุคคล มีการพัฒนาศักยภาพของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ(พชอ.)และระดับตำบล(พชต.) จำนวน 12 คณะ (2) ด้านสภาพแวดล้อม มีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการดำเนินงาน ได้แก่ ประเพณีการละเล่นผีตาโขน เกษตรปลอดสารพิษ (3) ด้านระบบกลไก มีกลไกนับสนุน การจัดกระบวนการเรียนรู้ และกระบวนการมีส่วนร่วม เพื่อมุ่งสู่เป้าหมาย จำนวน 3 ประการ คือ ที่นี่ด่านซ้ายจัดการขยะและสิ่งแวดล้อม กินอยู่อย่างคนด่านซ้าย และคนด่านซ้ายไม่ทอดทิ้งกัน 2. ผลผลิตที่เกิดจากโครงการ ได้แก่ กองทุนสุขภาพตำบลมีแผนตามประเด็นปัญหา จำนวน 12 ประเด็น มีโครงการด้านสุขภาพ จำนวน 36 โครงการ กองทุนมีระบบการติดตามออนไลน์ จำนวน 11 กองทุน 3. ผลลัพธ์ จำนวน 3 ประเด็น ได้แก่ พชอ.ได้แผนบูรณาการตามประเด็นปัญหาจากกองทุนสุขภาพตำบล โครงการระดับอำเภอมีการบูรณาการร่วมกัน และ พชอ.มีฐานข้อมูลทั้งระดับอำเภอและตำบล 4. ผลกระทบ การดำเนินงานโครงการตามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ ในรอบปีที่ผ่านมามีการบริหารจัดการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีแบบบูรณาการและเหมาะสม โดยนำเอานโยบาย มาตรการทางสังคม ระบบทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการปฏิบัติงานมีความรับผิดชอบต่อตนเองและองค์กร กลุ่มชุมชนมากยิ่งขึ้น มีการขยายผลจากตำบล หรือหมู่บ้านต้นแบบด้านสุขภาพไปสู่กิจกรรมที่เป็นองค์ความรู้และนวัตกรรมเพิ่มมากขึ้น คือ ปัจจุบัน ได้แก่ 1) การจัดการขยะและสิ่งแวดล้อม มีการจัดการขยะอย่างถูกต้องในระดับครัวเรือน ลดการใช้โฟมในการบรรจุอาหาร มีหมู่บ้านต้นแบบในการจัดการขยะเป็นหมู่บ้านสะอาด 2) ด่านซ้ายกรีนเนท(Green Net) เกิดผู้คนอาสาสมัคร มีกลุ่มเครือข่ายส่งเสริมการปลูกพืชผักปลอดภัยในทุกตำบล การสร้างตลาดแก่กลุ่มเกษตรกร การคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพของประชาชนในระดับอำเภอ และมีแหล่งตรวจผลิตภัณฑ์สุขภาพ 3) ด่านซ้ายไม่ทอดทิ้งกัน และอนาคต ขยายไปครอบคลุมมากขึ้น ได้แก่ (1) การสร้างนักบริบาลชุมชน มีนักบริบาลทุกตำบลดูแลผู้พิการ ผู้สูงวัยใส่ใจคุณภาพชีวิต จำนวน 29 รายในทุกตำบลโดยใช้งบประมาณในระดับพื้นที่ของอบต./เทศบาล (2) การจัดโรงเรียนสุขภาพผู้สูงอายุ จำนวน 4 ตำบลในทั้งหมด 10 ตำบล ถือเป็นการเรียนรู้ของผู้ใหญ่ (Adult Learning) ที่นำไปสู่ภาวะผู้นำสุขภาพมีการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง (Transformative Learning) และ 5. แนวทางการบูรณาการการทำงานระหว่าง พชอ.และกองทุนสุขภาพตำบล/เทศบาล มี 5 ขั้นตอน คือ (1) การวางแผน (2)การปฏิบัติ (3)การตรวจสอบ (4)การปรับปรุง และ(5)การกำหนดมาตรฐาน

คำสำคัญ : การติดตามประเมินผล, การประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ, การบูรณาการ, งานสร้างเสริมสุขภาวะ, กลไกสุขภาวะ, การพัฒนาคุณภาพชีวิต

คำสำคัญ

การติดตามประเมินผล, การบูรณาการ, การขับเคลื่อน, กลไกการขับเคลื่อน, สุขภาวะชุมชน

บทนำ

หลักการทรงงานในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวองค์ปัจจุบันที่ได้ผ่านการทดลองใช้สมควรที่จะได้น้อมนำมาเป็นหลักของการพัฒนางานที่สำคัญประการหนึ่ง คือ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญานำทางและมุ่งหวังให้สังคมไทยเป็นสังคมที่เข้มแข็ง พึ่งพาตนเองและมีดุลยภาพ 3 ด้าน คือ 1) เป็นสังคมคุณภาพ 2) เป็นสังคมแห่งภูมิปัญญา และ 3) การเรียนรู้ และเป็นสังคมสมานฉันท์และเอื้ออาทรต่อกัน ดังนั้นการนำเอาหลักการ ทฤษฎี ปรัชญาไปปฏิบัติให้เป็นจริงเป็นรูปธรรม สมควรจะนำไปสู่การกำหนดเป็นนโยบาย เป้าหมาย การปฏิบัติปรับปรุงพัฒนาขององค์กร หน่วยงาน กลุ่ม องค์ชุมชนทุกภาคีและผู้มีส่วนได้เสีย (ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม. 2546: 11-12) ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวทางการจัดการกับปัญหาจากแง่มุมหนึ่งที่โดดเด่นตามแนวพระราชดำรัสเกี่ยวกับการพัฒนาในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ซึ่งเป็นองค์พระมหากษัตริย์ไทยที่ครองราชย์สมบัติยาวนานที่สุดในโลก แนวพระราชดำริเกี่ยวกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อโลกในยุคนี้ซึ่งมีความผันผวนทางเศรษฐกิจสูง การเมืองมีปัญหาเกี่ยวกับความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติและสภาวะโลกร้อน ซึ่งทวีความรุนแรงขึ้นทุกขณะปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเสนอแนวทางการพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน ซึ่งเป็นทางเลือกที่โลกกำลังมองหาเพื่อทดแทนแนวทางการพัฒนาที่ไม่ยั่งยืนที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน (ฉลาด จันทรสมบัติ. 2563 : 69)     ถ้าทุกฝ่ายมีความสามัคคี ทำงานเป็นทีม ร่วมมือร่วมใจกัน แก้ปัญหาต่าง ๆ เมื่อมีปัญหา ก็นำมาแก้ไขปรับปรุง พัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจแบบพอเพียง รวมทั้งตระหนักถึงการมีส่วนร่วมระหว่างโรงเรียนกับชุมชนอย่างจริงจัง และบรรลุวัตถุประสงค์ตามที่ตั้งเอาไว้ พร้อมประสบความสำเร็จในการจัดการศึกษาในทุก ๆ ด้าน ในการประยุกต์ใช้เศรษฐกิจแบบพอเพียงในมิติของการศึกษา เกี่ยวกับการประยุกต์ใช้แนวคิดเศรษฐกิจแบบพอเพียงกับชุมชน พบว่า การนำแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงนั้นสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้กับทุกเพศทุกวัยและทุกระดับการศึกษา มีข้อจำกัดบางกิจกรรมบางโครงการต้องเหมาะกับวัยและเหมาะกับเวลา การทดลองปฏิบัติเกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นภายในองค์กร เป็นการสอน การสร้างนิสัย ปลูกฝังค่านิยมตามแนวคิดเศรษฐกิจแบบพอเพียงเน้นการจัดการทรัพยากรเป็น แนวทางการพึ่งตนเอง เพราะการนำแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจแบบพอเพียงมาใช้นั้นก็เหมือนกับที่พระพุทธเจ้าได้สอนเราไว้ให้เดินทางสายกลาง หรือที่เรียกว่า มัชชิมาปฏิปทา ซึ่งสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (2559-2564) ได้กำหนดขึ้นบนพื้นฐานการเสริมสร้างทุนของประเทศทั้งทุนทางสังคม โดยยึดคนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา และอัญเชิญปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวทางปฏิบัติเพื่อมุ่งสู่สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน ดังนั้นยุทธศาสตร์การพัฒนาคนและสังคมไทย จึงให้ความสำคัญลำดับสูงกับการพัฒนาคุณภาพคน เนื่องจากคนเป็นทั้งเป้าหมายสุดท้ายที่จะได้รับผลประโยชน์และผลกระทบจากการพัฒนาขณะเดียวกันเป็นผู้ขับเคลื่อนการพัฒนาเพื่อไปสู่เป้าประสงค์ที่ต้องการ จึงจำเป็นต้องพัฒนาคุณภาพคนในทุกมิติอย่างสมดุลทั้งจิตใจ ร่างกาย ความรู้และทักษะความสามารถ เพื่อให้เพียบพร้อมทั้งด้านคุณธรรม และความรู้ ซึ่งจะนำไปสู่การคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุผล รอบคอบระมัดระวัง ด้วยจิตสำนึกในศีลธรรมและคุณธรรม ทำให้รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงและสามารถตัดสินใจโดยใช้หลักความพอประมาณในการดำเนินชีวิตอย่างมีจริยธรรม ซื่อสัตย์สุจริต อดทนขยันหมั่นเพียร อันจะเป็นภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี ให้คนพร้อมเผชิญต่อการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น ดำรงชีวิตอย่างมีศักดิ์ศรีและมีความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม อยู่ในครอบครัวที่อบอุ่นและสังคมที่สงบสันติสุข (สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. 2559 : 47)     โครงการบูรณาการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะและพัฒนากลไกสุขภาวะระดับพื้นที่ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาศักยภาพทีมกลไกร่วมของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) และกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ในการขับเคลื่อนงานสุขภาวะในพื้นที่ พร้อมทั้งการดำเนินงานพื้นที่ต้นแบบสร้างเสริมสุขภาวะในกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ มีเป้าหมายเพื่อช่วยลดความซ้ำซ้อนของการทำงาน สามารถขยายขอบเขตพื้นที่การทำงานได้กว้างขึ้นภายใต้งบประมาณที่จำกัด อันจะนำไปสู่ความครอบคลุมการพัฒนาศักยภาพของประชาชนในพื้นที่ จนกลายเป็นทุนทรัพยากรมนุษย์ในการสร้างสังคมสุขภาวะ และระบบสุขภาพชุมชนที่เข้มแข็งในอนาคต     จากวัตถุประสงค์และเป้าหมายโครงการฯ นำมาสู่การกำหนดแผนการดำเนินงานใน 2 แผนงานหลัก ได้แก่ แผนงานที่ 1 คือ การพัฒนาศักยภาพทีมกลไกร่วมในการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะในพื้นที่ เพื่อเพิ่มจำนวนกลไกสร้างเสริมสุขภาวะและพัฒนาศักยภาพให้มีความรู้ ความเข้าใจ และมีทักษะในการ coaching การจัดทำแผน การพัฒนาข้อเสนอโครงการ และการติดตามประเมินผลโครงการ แบ่งเป็น 2 ระดับ คือ ระดับเขตและระดับพื้นที่ ทั้งนี้ระดับเขต ประกอบด้วย ผู้รับผิดชอบหลักระดับเขต และตัวแทนพี่เลี้ยงจากจังหวัดในเขตนั้น ๆ รวมจำนวน 12 เขตสุขภาพ สำหรับระดับพื้นที่ ประกอบด้วย คณะกรรมการกองทุน และผู้รับผิดชอบโครงการ ทั้งนี้ได้จัดให้มีคลินิกให้คำปรึกษาการพัฒนาแผน โครงการ และการใช้ระบบพัฒนาโครงการและระบบติดตามประเมินผลโครงการออนไลน์ และ แผนงานที่ 2 ดำเนินการนำร่องพื้นที่ต้นแบบสร้างเสริมสุขภาวะในกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ โดยเน้นประเด็นกิจกรรมทางกาย และประเด็นอื่น ๆ เช่น อาหาร การจัดการปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพจากสุรา ยาสูบ ยาเสพติด รวมทั้งประเด็นอื่นตามบริบทของพื้นที่ สำหรับแผนงานที่ 2 นำร่องพื้นที่ทั้ง 76 จังหวัด ๆ ละ 1 อำเภอ โดยเลือกจาก 1) อำเภอที่มีการดำเนินงานคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) ที่มีคุณภาพเป็นหลัก ซึ่งต้องดำเนินการในทุกกองทุนของอำเภอนั้น จำนวน 770 กองทุน และ 2) ท้องถิ่นที่รับการถ่ายโอนภารกิจโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) จำนวน 51 แห่ง/กองทุน รวมพื้นที่นำร่องจำนวนทั้งสิ้น 821กองทุน
    การดำเนินงานโครงการบูรณาการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะและพัฒนากลไกสุขภาวะระดับพื้นที่ ได้กำหนดผลที่คาดว่าจะได้รับไว้ 7 ประการ ประกอบด้วย ประการที่ 1 ได้รับรู้ข้อมูลสถานการณ์แต่ละปัญหาสุขภาพ และเป้าหมายของการแก้ปัญหาทั้งระดับชาติ ภาค จังหวัด อำเภอ และตำบล ประการที่ 2 เกิดแผนสุขภาพในภาพรวมของอำเภอ โดยเป็นแผนที่จำแนกตามประเด็นปัญหาที่เกิดจากแผนของกองทุนต่าง ๆ ในอำเภอ ประการที่ 3 โครงการที่กองทุนสนับสนุนมีคุณภาพมากขึ้น สามารถแก้ปัญหาสุขภาพในพื้นที่ได้เป็นรูปธรรมมากขึ้น ประการที่ 4 สามารถสังเคราะห์ผลและคุณค่าที่เกิดขึ้นจากแผนและการดำเนินโครงการ ประการที่ 5 สามารถติดตามการดำเนินโครงการอย่าง Real time ประการที่ 6 สามารถทำรายงานผลการดำเนินงานและรายงานการเงินได้แบบ Real time และประการสุดท้ายคือ มีระบบคลังข้อมูลที่สามารถเรียกดูได้ตลอดเวลาและรวดเร็ว โดยมีโปรแกรมออนไลน์สำหรับพัฒนาแผนงานกองทุน ข้อเสนอโครงการ และติดตามประเมินผลโครงการที่มีชื่อว่า “เว็บกองทุนตำบล หรือ https://localfund.happynetwork.org” เป็นเครื่องมือสำคัญเพื่อให้เกิดผลดังกล่าว     สำหรับการดำเนินงานโครงการบูรณาการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะและพัฒนากลไกสุขภาวะระดับพื้นที่ของเขตสุขภาพที่ 8 ซึ่งประกอบด้วยจังหวัดอุดรธานี หนองบัวลำภู เลย หนองคาย สกลนคร นครพนม และบึงกาฬ ได้คัดเลือกพื้นที่ดำเนินงาน ประกอบด้วย เทศบาลนครอุดรธานี จังหวัดอุดร จำนวน 1 แห่ง/กองทุน, พชอ.ศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู จำนวน 6 ตำบล/กองทุน, พชอ.วานรนิวาส จังหวัดสกลนคร จำนวน 13 ตำบล/กองทุน และพชอ.ด่านซ้าย จังหวัดเลย จำนวน 11 ตำบล/เทศบาล/กองทุน และพชอ.พรเจริญ จังหวัดบึงกาฬ จำนวน 6 กองทุน รวมพื้นที่ดำเนินการทั้งสิ้น 36 ตำบล/กองทุน ทั้งนี้ในการดำเนินงานเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการ ได้กำหนดแผนการดำเนินงานไว้ 5 แผนงาน ได้แก่ 1) การประชุมคณะทำงานระดับเขต 2) พัฒนาศักยภาพคณะกรรมการ พชอ.และพชต./เทศบาล ทั้ง 11 พื้นที่ 3) การชี้แจงโครงการ ออกแบบ กำหนดตัวชีวัดการดำเนินงานร่วมกัน และจัดทำ MOU 4) ดำเนินงานโครงการสุขภาพตำบลตามแผนกองทุน พชอ.และขยายความรับผิดชอบไปยังภาคีแบบมีส่วนร่วม 5) การติดตามสนับสนุนพื้นที่ และ 6) การจัดเวทีสรุปบทเรียน พชอ./พชต./เทศบาลของภาคีแบบบูรณาการของ 3 กระทรวงหลัก คือ กระทรวงมหาหาดไทย กระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงสาธารณสุข     การดำเนินงานโครงการได้เริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2562 เป็นต้นมา และคาดว่าจะสิ้นสุดในเดือนเมษายน พ.ศ. 2564 ผลการดำเนินงานที่ผ่านมาก่อให้เกิดการพัฒนาแผนงานกองทุน และข้อเสนอโครงการผ่านโปรแกรมออนไลน์ เกิดการออกแบบแนวทาง/แผนการบูรณาการในการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาวะประชาชนในพื้นที่ระหว่างกองทุนตำบล พชอ. และภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง และเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน แต่ยังมีข้อจำกัดและจุดอ่อน ได้แก่ ข้อบกพร่องบางประการของโปรแกรมออนไลน์ คุณภาพของแผนงานกองทุนและโครงการที่บันทึกในโปรแกรมออนไลน์ ความครอบคลุมประเด็นสุขภาพของแผนงาน/โครงการที่ถูกพัฒนา การติดตามประเมินผลอย่างเป็นระบบ และการบูรณาการสร้างเสริมสุขภาวะระหว่างภาคส่วนต่าง ๆ อย่างจริงจัง เป็นต้น     ดังนั้นเพื่อกำจัดจุดอ่อนและข้อจำกัดข้างต้น รวมทั้งให้สามารถขับเคลื่อนงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงมีการประเมินผลการดำเนินงานที่เกิดขึ้นระหว่างดำเนินโครงการฯ อย่างมีส่วนร่วม โดยประยุกต์ใช้กระบวนการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ (Health Impact assessment : HIA) เป็นเครื่องมือ ดำเนินการใน 6 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การกลั่นกรอง 2) การกำหนดขอบเขตและแนวทางการประเมิน 3) การประเมินผล 4) การทบทวนร่างรายงาน 5) การพัฒนาข้อเสนอเพื่อแก้ไขปรับปรุง และ 6) การติดตามประเมินผลและทบทวนแก้ไขปรับปรุง (พงค์เทพ สุธรรวุฒิ. 2563 : 55) ซึ่งเขตสุขภาพที่ 8 ได้เลือกพื้นที่ พชอ.ด่านซ้าย จังหวัดเลย เป็นพื้นที่ดำเนินการ และเลือกปัจจัยกำหนดสุขภาพเป็นกรอบแนวคิดสำคัญในการประเมินผล

หมายเหตุ
  • บทคัดย่อ/บทนำ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

แบบประเมิน HIA

1. การกลั่นกรองโครงการ

check_circle

ก่อนการดำเนินการประเมินโครงการ ทีมประเมินดำเนินการ ดังนี้ (1) ประชุมทีมประเมิน จำนวน 3 คนประกอบด้วย รศ.ดร.ฉลาด จันทรสมบัติ, ผศ.ดร.สมศักดิ์ สีดากุลฤทธิ์ และผศ.วุฒิพงศ์ บุษราคัม ในวันที่ 17 มิถุนายน 2563 ณ ห้องเรียนปริญญาเอก 33205 คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อวางแผนการประเมินโครงการ (2)ได้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และขอคำชี้แนะจากทีมพี่เลี้ยงระดับเขตสุขภาพที่ 8 คือ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภัชระ แสนไชยสุริยะ และอาจารย์วนิดา วินะกุล ในวันที่ 6 กรกฎาคม 2563 ณ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เพื่อรับทราบความก้าวหน้าการดำเนินโครงการ และบทบาทหน้าที่ของที่ปรึกษาระดับเขตในการบริหารจัดการโครงการ (3)ทีมประเมินฯได้นำข้อแนะนำไปนำเสนอคณะกรรมการประเมินระดับเขต ณ ที่ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี วันที่ 9 กรกฎาคม 2563 เพื่อตัดสินใจเลือกพื้นที่ทำการประเมิน โดยได้ตัดสินใจเลือกประเมินโครงการบูรณาการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะและพัฒนากลไกสุขภาวะระดับพื้นที่ อำเภอด่านซ้าย จัวหวัดเลย โดยมีเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือก ดังนี้ 1) มีผู้รับผิดชอบโครงการในพื้นที่ที่สามารถติดต่อประสานงานได้ชัดเจน 2) มีคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอและระดับตำบล 3) มีโครงการ/แผนปฏิบัติงาน 4) มีการดำเนินการตามแผน 5) มีความเห็นร่วมกันระหว่างพี่เลี้ยงประจำเขตและทีมประเมิน

1.1 วัตถุประสงค์

1) เพื่อให้ทราบผลและบอกถึงงานที่รับผิดชอบ
2) เพื่อให้เห็นแนวโน้ม เพื่อเตือนภัย
3) เพื่อเปลี่ยนพฤติกรรม และเข้าใจกระบวนการ
4) เพื่อลำดับความสำคัญ แปลง ปรับกลยุทธ์ สู่การปฎิบัติ
5) เพื่อเป็นเครื่องมือในการจัดการ ช่วยการควบคุม
6) เพื่อจัดสรรทรัพยากร
7) เพื่อการเรียนรู้ และรู้ขีดความสามารถ
8) เพื่อเปรียบเทียบ ปรับปรุงและพัฒนา
9) เพื่อช่วยเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กร
10) เพื่อให้รางวัล เพื่อจูงใจ
11) อื่นๆ (ระบุรายละเอียด)
check_circle

(11.1) เพื่อให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียพิจารณาว่าโครงการบูรณาการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะและพัฒนากลไกสุขภาวะระดับพื้นที่ อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลยเป็นโครงการที่เหมาะสมในการประเมินหรือไม่ เพราะเหตุใด (11.2) เพื่อให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีส่วนร่วมในการกำหนดหลักเกณฑ์ในการกลั่นกรองโครงการย่อยที่จะนำมาประเมินโครงการต่อไป

1.2 วิธีการ (ระบุรายละเอียดทำอะไร กับใคร กี่คน ผลสรุป)

1) ประชุมทีมประเมิน
check_circle

(1) ประชุมทีมประเมิน จำนวน 3 คนประกอบด้วย รศ.ดร.ฉลาด จันทรสมบัติ, ผศ.ดร.สมศักดิ์ สีดากุลฤทธิ์ และผศ.วุฒิพงศ์ บุษราคัม ในวันที่ 1กรกฎาคม 2563 ผ่าน application Zoom เพื่อวางแผนการการออกแบบกระบวนการกลั่นกรอง
(2) ติดต่อผู้ประสานงานทีมพี่เลี้ยงระดับอำเภอด่านซ้าย (นายศักดิ์ดา สีสม นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ) เพื่อกำหนดวัน เวลา และสถานที่ในการกลั่นกรองโครงการ (3) จัดเตรียมแบบสอบถามและเครื่องมือที่ใช้ในการกลั่นกรองโครงการ

2) ประชุมร่วมกับโครงการ
check_circle

2.1 การสนทนากลุ่มย่อย (Small Group Discussion) ร่วมกับผู้ประสานงานเขต/จังหวัด (ผศ.ดร.ภัทระ แสนไชยสุริยา และ อาจารย์วนิดา วินะกุล) วันที่ 6 กรกฎาคม 2563 ณ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เพื่อพิจารณากำเกณฑ์การคัดเลือกและดำเนินการคัดเลือกพื้นที่เป้าหมายในการติดตามประเมินผล เขตสุขภาพที่ 8 2.2 การประชุมกลุ่ม (Focus Group Discussion) ร่วมกันระหว่างทีมประเมิน, คณะกรรมการ พชอ. ( ประธานและ เลขา) วันที่ 15 กรกฎาคม 2563 ณ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอด่านซ้าย เพื่อศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับนโยบาย แผน แผนงาน โครงการและกิจกรรรมว่ามีวัตถุประสงค์ เป้าหมาย การดำเนินการในลักษณะใด พิจารณาความสอดคล้องและเหมาะสมของรายละเอียดการจัดกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย เครื่องมือ สถานที่ และระยะเวลา และการพิจารณาร่างการกลั่นกรองโครงการโดยสาธารณะ(Public Screening) 2.3 สัมภาษณ์เชิงลึก (Indept Interview) กับ ประธาน และเลขา พชอ., ผู้รับผิดชอบกองทุน จังหวัด วันที่ 15 กรกฎาคม 2563 ณ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอด่านซ้าย เพื่อศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับนโยบาย แผน แผนงาน โครงการและกิจกรรรมว่ามีวัตถุประสงค์ เป้าหมาย การดำเนินการในลักษณะใด พิจารณาความสอดคล้องและเหมาะสมของรายละเอียดการจัดกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย เครื่องมือ สถานที่ และระยะเวลา และการพิจารณาร่างการกลั่นกรองโครงการโดยสาธารณะ(Public Screening) เพื่่อยืนยันความสมบูรณ์ของข้อมูล

3) ประชุมร่วมกับโครงการและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
check_circle

3.1 การประชุมกลุ่ม (Focus Group Discussion) ร่วมกันระหว่างทีมประเมิน ปธ.และเลขา พชอ./พชต./เทศบาล , ปธ.และเลขา กองทุนหลักประกันสุขภาพพื้นที่/ผู้รับผิดชอบกองทุน เพื่อศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับนโยบาย แผน แผนงาน โครงการและกิจกรรรมว่ามีวัตถุประสงค์ เป้าหมาย การดำเนินการในลักษณะใด พิจารณาความสอดคล้องและเหมาะสมของรายละเอียดการจัดกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย เครื่องมือ สถานที่ และระยะเวลา และการพิจารณาเพื่อศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับนโยบาย แผน แผนงาน โครงการและกิจกรรรมว่ามีวัตถุประสงค์ เป้าหมาย การดำเนินการในลักษณะใด พิจารณาความสอดคล้องและเหมาะสมของรายละเอียดการจัดกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย เครื่องมือ สถานที่ และระยะเวลา และการพิจารณาร่างการกลั่นกรองโครงการโดยสาธารณะ(Public Screening) 3.2 สัมภาษณ์เชิงลึก (Indept Interview) กับปธ.และเลขา กองทุนหลักประกันสุขภาพพื้นที่ ผู้รับทุนเพื่่อยืนยันความสมบูรณ์ของข้อมูลเพื่อศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับนโยบาย แผน แผนงาน โครงการและกิจกรรรมว่ามีวัตถุประสงค์ เป้าหมาย การดำเนินการในลักษณะใด พิจารณาความสอดคล้องและเหมาะสมของรายละเอียดการจัดกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย เครื่องมือ สถานที่ และระยะเวลา และการพิจารณาร่างการกลั่นกรองโครงการโดยสาธารณะ(Public Screening)

4) อื่นๆ (ระบุรายละเอียด)
check_circle

4.1 ศึกษารวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับนโยบาย แผน แผนงาน โครงการและกิจกรรรมว่ามีวัตถุประสงค์ เป้าหมาย การดำเนินการในลักษณะใด พิจารณาความสอดคล้องและเหมาะสมของรายละเอียดการจัดกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย เครื่องมือ สถานที่ และระยะเวลา 4.2 จัดทำร่างหลักเกณฑ์ที่จะใช้พิจารณากลั่นกรอง ว่าควรประเมินหรือไม่ โดยยึดหลักเกณฑ์ดังนี้ (1) ความสำคัญ (2) ความจำเป็น (3) ประโยชน์ (4) ความพร้อม 4.3 ชี้แจงทำความเข้าใจการกลั่นกรองโดยสาธาณะกับคณะกรรมการ พชอ.ด่านซ้าย และนำร่างหลักเกณฑ์การกลั่นกรองให้คณะกรรมการ พชอ.ด่านซ้าย พิจารณาร่วมกัน พร้อมกำหนดน้ำหนักคะแนนในแต่ละประเด็น 4.4 นัดหมายและนำแบบประเมินการกลั่นกรองสาธารณะเก็บข้อมูลกับคณะกรรมการ พชอ.ด่านซ้าย และ พชต. จำนวน 10 คน ในวันที่ 23 กรกฎาคม 2563 ณ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอด่านซ้าย 4.5 วิเคราะห็ข้อมูลตามหลักเกณฑ์การกลั่นกรอง ทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ เช่น ภาพรวมของการสรุปการกลั่นกรองโดยสาธารณะ ผลการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับความสำคัญ ความจำเป็น ประโยชน์และความพร้อม 4.6 ส่งผลการกลั่นกรองให้ผู้มีส่วนได้เสียรับทราบในเวทีการประชุมกลุ่มย่อยและการติดประกาศในที่สาธารณะ

1.3 เครื่องมือ

1) เครื่องมือที่ใช้ในขั้นตอนการกลั่นกรอง (ระบุรายละเอียดเครื่องมือ เช่น แนวคำถามในการประชุมกลุ่ม)
check_circle

1.1) แบบประเมินการกลั่นกรองโครงการโดยสาธารณะ (Public Screening) โครงการบูรณาการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะและพัฒนากลไกสุขภาวะระดับพื้นที่ อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย 1.2) แบบสัมภาษณ์การกลั่นกรองโดยสาธารณะ ประเด็น 1) ความสำคัญ 2) ความจำเป็น 3) ประโยชน์ 4) ความพร้อม

1.4 ผลที่ได้

1) ผลที่ได้ในขั้นตอนการกลั่นกรอง
check_circle

1.1) ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้ทราบความสำคัญ ความจำเป็น ประโยชน์ และความพร้อมในการประเมินโครงการบูรณาการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะและพัฒนากลไกสุขภาวะระดับพื้นที่ อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย 1.2) ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีโอกาสเข้ามามีส่วนร่วมในการกลั่นกรองตั้งแต่ขั้นแรกของการประเมินผล 1.3) ทำให้เกิดการยอมรับร่วมกันในการประเมินผลระหว่างทีมประเมินกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องกับนโยบาย แผน แผนงาน โครงการและกิจกรรม 1.4) จากโครงการทั้งหมด 36 โครงการ มีโครงการที่ผ่านการกลั่นกรองโดยสาธารณะ จำนวน 3 โครงงการดังนี้ (1) การจัดการขยะและสิ่งแวดล้อม (2) ด่านซ้ายกรีนเนท(Green Net) และ (3) ด่านซ้ายไม่ทอดทิ้งกัน

2. การกำหนดขอบเขต

check_circle

ในการกำหนดขอบเขตการประเมินผลโดยสาธารณะ (Public Scoping) ทีมประเมินฯ เขตสุขภาพที่ 8 ได้ใช้กรอบปัจจัยกำหนดสุขภาพ ( Health Disterminant) จำนวน 3 ด้าน คือ 1. ด้านปัจเจกบุคคล 2. ด้านสภาพแวดล้อม และ 3.ด้านระบบกลไก เนื่องจากเป็นการกำหนดขอบเขตการประเมินที่สอดคล้องกับปัจจัยนำเข้า (input) ในกระบวนการติดตามและประเมินผลโครงการ

1) วิธีการในการกำหนดขอบเขต
check_circle

1.1) ศึกษาทบทวนข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับนโยบาย แผน แผนงาน โครงการ และกิจกรรมของโครงการบูรณาการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะและพัฒนากลไกสุขภาวะระดับพื้นที่ อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย 1.2) จัดทำร่างขอบเขตการประเมินผลโดยสาธารณะ ประกอบด้วย (1) ประเด็นเนื้อหาที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ ปัจจัยนำเข้า กระบวนการและผลผลิต (2) ตัวชี้วัด (3) ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (4) พื้นที่ (5) ระยะเวลา (6) เครื่องมือ 1.3) วางแผนก่อนการจัดกระบวนการมีส่วนร่วมในการกำหนดขอบเขตการประเมินโดยสาธารณะ ได้แก่ กำหนดผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่จะเข้าร่วมกำหนดขอบเขต จัดทำแผนปฏิบัติการในการกำหนดขอบเขต
1.4) ดำเนินการจัดกระบวนการมีส่วนร่วมในการกำหนดขอบเขตการประเมินโดยสาธารณะ 1.5) สรุปผลการกำหนดขอบเขตการประเมินโดยสาธารณะ 1.6) จัดส่งขอบเขตการประเมินสาธารณะไปให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

2) ผู้เข้าร่วมกำหนดขอบเขต
check_circle

2.1) คณะกรรมการ พชอ./พชต./ผู้รับผิดชอบกองทุน  จำนวน 20 คน 2.2) ประชาชน              จำนวน 10 คน 2.3) ทีมนักประเมิน            จำนวน 5 คน

3) เครื่องมือที่ใช้
check_circle

3.1) แบบตรวจสอบรายการการกำหนดขอบเขตการประเมินนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วมโครงการบูรณาการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะและพัฒนากลไกสุขภาวะระดับพื้นที่ อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย 3.2) แบบสัมภาษณ์ความคิดเห็นเกี่ยวกับการกำหนดขอบเขตการประเมินนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วม

4) กรอบแนวคิด

1) ใช้กรอบ Ottawa charter
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดเครื่องมือกลุ่มผู้ให้ข้อมูล
2) ใช้กรอบ ปัจจัยกำหนดสุขภาพ
check_circle
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดเครื่องมือกลุ่มผู้ให้ข้อมูล
1.ด้านปัจเจกบุคคล
  1. การมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ พชอ และกองทุนสุขภาพตำบล
  2. มีทักษะและความสามารถในการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาพ
  1. แบบวัดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ พชอ.และกองทุนสุขภาพตำบล cancel
  2. แบบประเมินทักษะและความสามารถในการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาพ
  1. คณะกรรมการ พชอ./พชต.
2.ด้านสภาพแวดล้อม
  1. มีสุขภาวะที่สอดคล้องกับวิถีวัฒนธรรม
  2. สภาพแวดล้อมเหมาะกับการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
  1. แบบประเมินสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการสร้างเสริมสุขภาพ
  2. แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดสภาพแวดล้อมในการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
  1. คณะกรรมการ พชอ./พชต.
  2. ประชาชนผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
3.ด้านระบบกลไก
  1. มีกลไกสนับสนุน
  2. มีกระบวนการเรียนรู้
  3. ใช้กระบวนการมีส่วนร่วม
  1. แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับกลไกสนับสนุนการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาพ
  2. แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดกระบวนการเรียนรู้การสร้างเสริมสุขภาพ
  3. แบบประเมินการมีส่วนร่วมในการสร้างเสริมสุขภาพ
  1. คณะกรรมการ พชอ./พชต.
3) ใช้กรอบ Balance Score Card
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดเครื่องมือกลุ่มผู้ให้ข้อมูล
4) ใช้กรอบ CIPP
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดเครื่องมือกลุ่มผู้ให้ข้อมูล
5) อื่นๆ
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดเครื่องมือกลุ่มผู้ให้ข้อมูล

3. ลงมือประเมิน

check_circle

ในขั้นตอนการลงมือติดตตามประเมินโครงการ ทีมประเมินฯ เขตสุขภาพที่ 8 ได้ลงมือประเมินจำนวน 5 ครั้ง ระหว่างวันที่ 15 กรกฎาคม 2563 ถึงวันที่ 17 กันยายน 2563 รายละเอียดดัต่อไปนี้

1) กระบวนการเก็บข้อมูลโดยการมีส่วนร่วม (ระบุรายละเอียด)
check_circle

1.1) ประสานงาน พชอ.ด่านซ้าย เพื่อนัดหมายการเก็บข้อมูลโดยการมีส่วนร่วมจาก พชอ.และพชต. 1.2) เก็บรวบรวมข้อมูลครั้งที่ 1 วันที่ 15 กรกฎาคม 2563 ณ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอด่านซ้าย เพื่อศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับนโยบาย แผน แผนงาน โครงการและกิจกรรรมว่ามีวัตถุประสงค์ เป้าหมาย การดำเนินการในลักษณะใด พิจารณาความสอดคล้องและเหมาะสมของรายละเอียดการจัดกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย เครื่องมือ สถานที่ และระยะเวลา และการพิจารณาร่างการกลั่นกรองโครงการโดยสาธารณะ(Public Screening)และร่างการกำหนดขอบเขตการประเมินผลโดยสาธารณะ (Public Scoping) 1.3) เก็บรวบรวมข้อมูลครั้งที่ 2 วันที่ 15 กรกฎาคม 2563 ณ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอด่านซ้าย เพื่อศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับนโยบาย แผน แผนงาน โครงการและกิจกรรรมว่ามีวัตถุประสงค์ เป้าหมาย การดำเนินการในลักษณะใด พิจารณาความสอดคล้องและเหมาะสมของรายละเอียดการจัดกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย เครื่องมือ สถานที่ และระยะเวลา และการพิจารณาร่างการกลั่นกรองโครงการโดยสาธารณะ(Public Screening)และร่างการกำหนดขอบเขตการประเมินผลโดยสาธารณะ (Public Scoping) 1.4) เก็บรวบรวมข้อมูลครั้งที่ 3 วันที่ 27-28 สิงหาคม 2563 ณ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอด่านซ้ายและเทศบาลตำบลด่านซ้าย เพื่อเก็บข้อมูลกิจกรรมตามโครงการบูรณาการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะและพัฒนากลไกสุขภาวะระดับพื้นที่ อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย 1.5) เก็บรวบรวมข้อมูลครั้งที่ 4 วันที่ 9-10 กันยายน 2563 ณ โรงเรียนผูัสูงวัยใบบุญวัดโพนชัย อำเภอด่านซ้าย และสำนักงานสาธารณสุขอำเภอด่านซ้าย เพื่อเก็บข้อมูลผลผลิต (Output) ที่เกิดจากโครงการบูรณาการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะและพัฒนากลไกสุขภาวะระดับพื้นที่ อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย 1.6) เก็บรวบรวมข้อมูลครั้งที่ 5 วันที่ 16-17 กันยายน 2563 ณ องค์การบริหารส่วนตำบลนาดี เพื่อประเมินติดตามแบบมีส่วนร่วมการดำเนินงานกองทุนสุขภาพตำบลนาดี และเก็บข้อมูลผลลัพธ์ (Outcome) ใน 3 ประเด็น คือ (1) การจัดการขยะและสิ่งแวดล้อม (2) แนวทางด่านซ้ายไม่ทอดทิ้งกัน (3) อาหารและพืชผักปลอดภัย ลดการใช้สารเคมีทางการเกษตร (Dansai Green Net)

2) กระบวนการวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูล (ระบุรายละเอียด)
check_circle

2.1) ทีมประเมินวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับนโยบาย แผน แผนงาน โครงการและกิจกรรรมว่ามีวัตถุประสงค์ เป้าหมาย และการดำเนินการและการพิจารณาร่างการกลั่นกรองโครงการโดยสาธารณะ(Public Screening)และร่างการกำหนดขอบเขตการประเมินผลโดยสาธารณะ (Public Scoping) ที่เก็บรวบรวมมาจากการลงพื้นที่ครั้งที่ 1 วันที่ 15 กรกฎาคม 2563 มาวิเคราะห์ความสอดคล้องและความเหมาะสมของรายละเอียดการจัดกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย เครื่องมือ สถานที่ และระยะเวลา ตลอดจนข้อสรุปจากการแสดงความคิดเห็นต่อร่างการกลั่นกรองโครงการโดยสาธารณะ(Public Screening)และร่างการกำหนดขอบเขตการประเมินผลโดยสาธารณะ (Public Scoping) มาจัดทำแบบกลั่นกรองโครงการโดยสาธารณะและแบบตรวจสอบรายการการกำหนดขอบเขตการประเมินนโยบายสาธารณะ 2.2) วิเคราะห์ข้อมูลการกลั่นกรองโครงการโดยสาธารณะ มีโครงการที่ผ่านการกลั่นกรอง จำนวน 36 โครงการ
2.3) วิเคราะห์ข้อมูลการกำหนดขอบเขตการประเมินนโยบายสาธาณะ โดยใช้กรอบปัจจัยกำหนดสุขภาพ (Health Determinant) 3 ด้าน คือ (1) ด้านปัจเจกบุคคล (2) ด้านสภาพแวดล้อม และ (3) ด้านระบบกลไก

3) ผู้มีส่วนร่วมในการประเมิน (ระบุรายละเอียด)
check_circle

3.1) นัดหมายผู้มีส่วนร่วมในการประเมินประกอบไปด้วย คณะกรรมการ พชอ./พชต./เทศบาล, คณะกรรมการกองทุนสุขภาพตำบล,ประชาชนผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในวันที่ 27-28 สิงหาคม 2563 เพื่อทำการประเมินการจัดกิจกรรมตามแผนงานของกลุ่มเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้ 3.2) ให้ผู้มีส่วนร่วมและใช้บริการกองทุนสุขภาพตำบล/เทศบาล ร่วมประเมินการดำเนินงานโรงเรียนผู้สูงใบบุญวัดโพนชัย ในวันที่ 9 กันยายน 2563 เพื่อถ่ายทอดบุทเรียนจากากรเข้าร่วมกิจกรรมในปีที่ผ่าน โดยบันทึกเรื่องเล่าและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 3.3) ให้นักบริบาลผู้พลาดโอกาสในพื้นที่ตำบลเป้าหมายร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับจุดเด่น และจุดที่ต้องพัฒนาการให้บริการตามบทบาทหน้าที่ ในวันที่ 10 กันยายน 2563 ณ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอด่านซ้าย กองทุนสุขภาพเทศบาลตำบลด่านซ้ายและเทศบาลตำบลศรีสองรักษ์

4) ผลการประเมิน (เรียงตามตัวชี้วัดที่กำหนดในขั้นตอน scoping)
check_circle
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดผลการประเมินหมายเหตุ
1. 1.ด้านปัจเจกบุคคล (2) ใช้กรอบ ปัจจัยกำหนดสุขภาพ) การมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ พชอ และกองทุนสุขภาพตำบล

กลุ่มตัวอย่างที่เป็นคณะกรรมการ พชอ./พชต./ประชาชน จำนวน 34 คน มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประเด็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตและการดำเนินงานกองทุนสุขภาพตำบล อยู่ในระดับดี จำนวน 30 คน (คิดเป็นร้อยละ 88.24) และอยู่ในระดับดีมาก จำนวน 4 คน(คิดเป็นร้อยละ 11.76)

 

2. 1.ด้านปัจเจกบุคคล (2) ใช้กรอบ ปัจจัยกำหนดสุขภาพ) มีทักษะและความสามารถในการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาพ

คณะกรรมการ พชอ./พชต./ประชาชน จำนวน 34 คน มีทักษะและความสามารถในการเรียนรู้จากการปฏิบัติ เรียนรู้ร่วมกัน และพัฒนานวัตกรรมการสร้างเสริมสุขภาพตามความสนใจ เกิดความรู้ชัดแจ้ง สามารถชี้แนะและสอนงานได้ จำนวน 6 นวัตกรรมหลัก ได้แก่ 1) การบริหารจัดการแบบบูรณาการที่ดี 2) การจัดการขยะและสิ่งแวดล้อม 3) การสร้างเครือข่ายอาหารและพืชผักปลอดภัย 4) การดำเนินงานโรงเรียนผู้สูงวัย 5) การดำเนินงานกองทุนช่วยเหลือผู้พลาดโอกาส 6) การพัฒนานักบริบาลชุมชน

 

3. 2.ด้านสภาพแวดล้อม (2) ใช้กรอบ ปัจจัยกำหนดสุขภาพ) มีสุขภาวะที่สอดคล้องกับวิถีวัฒนธรรม

ประชาชนที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 34 คน มีการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการสร้างเสริมสุขภาพ อันได้แก่ การยึดถือประเพณีการละเล่นผีตาโขน และการบูชาพระธาตุศรีสองรักซึ่งเป็นความเชื่อจากคนรุ่นหนึ่งสู่คนรู่นหนึ่งเกิดจิตสำนึกในการหวงแหนวัฒนธรรมอันดีงาม

 

4. 2.ด้านสภาพแวดล้อม (2) ใช้กรอบ ปัจจัยกำหนดสุขภาพ) สภาพแวดล้อมเหมาะกับการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

เกิดหมู่บ้านต้นแบบในการพึ่งตนเองตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จำนวน 10 หมู่บ้าน

 

5. 3.ด้านระบบกลไก (2) ใช้กรอบ ปัจจัยกำหนดสุขภาพ) มีกลไกสนับสนุน

มีการสนับสนุนการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพชีวิตทั้งจากภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนโดยการจัดทำข้อตกลงความร่วมมือ(MOU)ใน 3 ภารกิจหลัก ได้แก่
(1) การจัดการขยะและสิ่งแวดล้อม (2) แนวทางด่านซ้ายไม่ทอดทิ้งกัน
(3) อาหารและพืชผักปลอดภัย ลดการใช้สารเคมีทางการเกษตร (Dansai Green Net) ส่งผลให้ได้รับการยกย่องจากกระทรวงสาธารณสุขให้เป็นอำเภอที่มีการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับพื้นที่ดีเลิศ (อำเภอสุขใจ)

 

6. 3.ด้านระบบกลไก (2) ใช้กรอบ ปัจจัยกำหนดสุขภาพ) มีกระบวนการเรียนรู้

กลุ่มตัวอย่างเกิดกระบวนการเรียนรู้การสร้างเสริมสุขภาพ จำนวน 3 กระบวนการ คือ 1) การเรียนรู้จากการปฏิบัติ
2) การเรียนรู้ร่วมกัน
3) การพัฒนานวัตกรรม/วิจัยการสร้างเสริมสุขภาพ

 

7. 3.ด้านระบบกลไก (2) ใช้กรอบ ปัจจัยกำหนดสุขภาพ) ใช้กระบวนการมีส่วนร่วม

กลุ่มตัวอย่างใชักระบวนการมีส่วนร่วม จำนวน 4 ประการ ดังนี้ 1) ร่วมคิด/ร่วมตัดสินใจ 2) ร่วมทำ 3) ร่วมรับผลประโยชน์ 4) ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้

 

5) อื่นๆ

 

4. ทบทวนรายงานการประเมินว่าถูกต้องหรือไม่?

check_circle

 

1) กระบวนการในการทบทวนรายงาน
check_circle

1.1) จัดประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และเปรียบการทำงานตามแผนและตัวชี้วัด โดยการส่งร่างรายงานการติดตามและประเมินผลผ่านสื่อออนไลน์และประชุมทางไกลผ่านapplication Zoom
1.2) ปรับปรุงและจัดทำรายงานการติดตามและประเมินผลฉบับสมบูรณ์ 1.3) นำเสนอรายงานการติดตามและประเมินผลในเวทีระดับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ผ่านapplication Zoom 1.4) นำเสนอรายงานการติดตามและประเมินผลในเวทีระดับประเทศ วันที่ 18 ตุลาคม 2563 ณ โรงแรมอมารี แอร์พอร์ต ดอนเมือง กรุงเทพมหานคร

2) ผู้มีส่วนร่วมในการทบทวนรายงาน
check_circle

 

3) ผลการทบทวนร่างรายงาน

 

4) สรุปผลการประเมินสำคัญที่นำเข้าเวทีการทบทวน
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดสรุปผลการประเมินหมายเหตุ
1. 1.ด้านปัจเจกบุคคล (2) ใช้กรอบ ปัจจัยกำหนดสุขภาพ) การมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ พชอ และกองทุนสุขภาพตำบล

 

 

2. 1.ด้านปัจเจกบุคคล (2) ใช้กรอบ ปัจจัยกำหนดสุขภาพ) มีทักษะและความสามารถในการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาพ

 

 

3. 2.ด้านสภาพแวดล้อม (2) ใช้กรอบ ปัจจัยกำหนดสุขภาพ) มีสุขภาวะที่สอดคล้องกับวิถีวัฒนธรรม

 

 

4. 2.ด้านสภาพแวดล้อม (2) ใช้กรอบ ปัจจัยกำหนดสุขภาพ) สภาพแวดล้อมเหมาะกับการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

 

 

5. 3.ด้านระบบกลไก (2) ใช้กรอบ ปัจจัยกำหนดสุขภาพ) มีกลไกสนับสนุน

 

 

6. 3.ด้านระบบกลไก (2) ใช้กรอบ ปัจจัยกำหนดสุขภาพ) มีกระบวนการเรียนรู้

 

 

7. 3.ด้านระบบกลไก (2) ใช้กรอบ ปัจจัยกำหนดสุขภาพ) ใช้กระบวนการมีส่วนร่วม

 

 

5) อื่นๆ

 

5. การปรับปรุงทบทวนโครงการ

check_circle

1.1) ด้านกระบวนการพัฒนาโครงการ หรือแผนงานกองทุนที่ให้เกิดประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ดังนี้   (1) เพิ่มบทบาทพี่เลี้ยงอำเภอ และ แต่ละกลุ่ม ชมรม ต้องมีตัวแทนประสานกับทีมอำเภอ   (2) ค้นหาแกนนำกลุ่ม ที่มีความสนใจ กระตือรือร้น มาพัฒนาศักยภาพแผนงานและโครงการ วิเคราะห์ปัญหา กิจกรรม ตัวชี้วัด ด้วยการมีส่วนร่วมของตนเอง   (3) การสร้าง/พัฒนาศักยภาพครู ก ครู ข หรือ วิทยากรกระบวนการโครงการ ของภาคประชาชน/หน่วยบริการ เรื่องการเขียนแผนงานโครงการ และ การบริหารโครงการ   (4) ประชาคม ระดมปัญหาสุขภาพ ชี้แจงขอบเขต ชี้แจงงบประมาณ การให้ทุนตามประกาศกองทุน   (5) จัดเวทีแลกเปลี่ยนเพื่อพัฒนาแผนโครงการ   (6) การคลังของ อปท.ต้องทำความเข้าใจหลักเกณฑ์การใช้ 1.2 ด้านการพัฒนาศักยภาพกรรมการ หรือผู้รับผิดชอบ   (1) อบรมเชิงปฏิบัติการ/ติดตามการทำงาน ขาขึ้น ขาเคลื่อน ขาประเมิน ทุกไตรมาส   (2) การพัฒนากลุ่มภาคประชาชนที่ขอทุนให้เข้มแข็ง มารับทุน/บริหารโครงการต่อเนื่องให้สามารถเขียนโครงการ บริหารโครงการได้ ใช้จ่ายเงินอย่างถูกต้อง รายงานผลโครงการได้
1.3 ด้านการติดตามอย่างมีส่วนร่วม (ทั้งโปรแกรมออนไลน์และออฟไลน์)   (1) ผนวกโปรแกรมออนไลน์นี้เข้ากับโปรแกรม สปสช.   (2) ลดความซ้ำซ้อน ให้ใช้งานง่ายทุกระดับ ให้คนทั่วไปสามารถใช้งานได้
  (3) เลือกพื้นที่นำร่อง พัฒนาคนเสนอโครงการให้บันทึกข้อมูลได้ 1.4 ด้านการบูรณาการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะระหว่าง พชอ. กับกองทุนสุขภาพตำบล   (1) การใช้ข้อมูลปัญหาสถานการณ์ จากกองทุนสุขภาพฯ ที่บันทึกในโปรแกรมออนไลน์ เป็นฐานในแนวทางการแก้ปัญหาร่วมกัน   (2) บันทึกข้อตกลงความร่วมมือ(MOU) การพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับพื้นที่อำเภอด่านซ้ายในแต่ละตัวบ่งชี้ และหรือธรรมนูญ ในแต่มาตรา จะมีกิจกรรมสำคัญ ควรจะมีจัดระบบ หรือแบ่งบาทบาทหน้าที่ ว่ากิจกรรมในแต่ละขั้นตอน จะประสานให้ใครช่วยขับเคลื่อน เช่น อาหารปลอดภัย กิจกรรมการให้ความรู้ด้านการเกษตรจะเป็นของเกษตรอำเภอ กิจกรรมคัดกรองสารตกค้างในเลือด จะเป็นกองทุนสุขภาพ กิจกรรมปลูกผักปลอดสารพิษ จะเป็นของกลุ่มปลูกผัก และกองทุนสุขภาพ เป็นต้น

1) ข้อเสนอเพื่อการทบทวนโครงการ
check_circle

2.1) พัฒนาโปรแกรมออนไลน์นี้เข้ากับโปรแกรม สปสช.ลดความซ้ำซ้อน ให้ใช้งานง่ายทุกระดับ ให้คนทั่วไปสามารถใช้งานได้ 2.2) นำผลที่ได้จากการประเมินเปรียบเทียบกับตัวชี้ที่สอดคล้องกับความเป็นจริงในแต่ละปีงบประมาณ

2) อื่นๆ

 

6. ได้มีการปรับปรุงทบทวนโครงการตามข้อ 5 หรือไม่?

check_circle

 

1) กลไกในการติดตามการปรับปรุงโครงการตามข้อเสนอแนะ
check_circle

1.1) พัฒนากลไกการประเมินโดยการบูรณาการการทำงานระหว่าง พชอ.และกองทุนสุขภาพตำบล/เทศบาล มี 5 ขั้นตอน คือ (1) การวางแผน (2)การปฏิบัติ (3)การตรวจสอบ (4)การปรับปรุง และ(5)การกำหนดมาตรฐาน ตามความต้องการของคนในพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับพื้นที่อำเภอด่านซ้าย 1.2)มีการพัฒนากลไกการประเมินที่เป็นนักประเมินผลทั้งภายในและภายนอก

2) วิธีการติดตาม การปรับปรุงโครงการตามข้อเสนอแนะ
check_circle

2.1) พัฒนาโปรแกรมออนไลน์นี้เข้ากับโปรแกรม สปสช.ลดความซ้ำซ้อน ให้ใช้งานง่ายทุกระดับ ให้คนทั่วไปสามารถใช้งานได้ 2.2) นำผลที่ได้จากการประเมินเปรียบเทียบกับตัวชี้ที่สอดคล้องกับความเป็นจริงในแต่ละปีงบประมาณ

3) อื่นๆ

 

สรุป

อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ

อภิปรายผล 1) การพัฒนาศักยภาพของบุคคล พบว่า มีการพัฒนาศักยภาพบุคคล ในกลุ่มของ ทีมพี่เลี้ยงระดับเขต ทีมพี่เลี้ยงระดับพื้นที่ กลุ่มเป้าหมายในโครงการฯ อันประกอบไปด้วย ผู้รับผิดชอบงานกองทุนฯ,จนท.รพ.สต.,คณะกรรมการกองทุนสุขภาพและกลุ่มเป้าหมาย หรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง โดยประเด็นหลักที่มีการพัฒนาศักยภาพ ประกอบด้วย การวิเคราะห์สถานการณ์สุขภาพในพื้นที่ การพัฒนาแผนงาน/โครงการกองทุนสุขภาพ ฝึกปฏิบัติการใช้เครื่องมือ/โปรแกรมบันทึกข้อมูลออนไลน์ ซึ่งส่งผลให้มีทักษะและเล็งเห็นความสำคัญในการวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหา ในพื้นที่ และสามารถนำมาหาแนวทาง/วิธีการในการสร้างเสริมสุขภาพ ผ่านกองทุนสุขภาพตำบลได้มากขึ้น ทั้งนี้อาจเป็นเพราะ ผู้นำท้องถิ่นที่เป็นผู้ปฏิบัติการโครงการมีบทบาทหน้าที่เป็นแกนนำในการขับเคลื่อนเสนอโครงการต่าง ๆ ในกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับตำบล องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสนับสนุนงบประมาณและทรัพยากรบุคคลในโครงการต่าง ๆเป็นแกนนำเครือข่ายในกิจกรรมต่าง ๆ และในส่วนของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับพื้นที่อำเภอด่านซ้ายจังหวัดเลย มุ่งให้มีการหลอมรวมการทำงานแบบมีส่วนร่วม (ประยูร อรัญรุท. 2561 : 122-125) อย่างไรก็ตาม การพัฒนาศักยภาพยังไม่ครอบคลุมถึง บุคคลหรือกลุ่มต่าง ๆ เช่น คณะกรรมการกองทุนสุขภาพตำบลทุกคน กลุ่มผู้รับผิดชอบงาน/ผู้รับทุน กลุ่มเป้าหมาย ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เนื่องจากทีมพี่เลี้ยงระดับเขต ทีมพี่เลี้ยงระดับพื้นที่ เล็งเห็นว่าโปรแกรมออนไลน์นี้มีการใช้ที่ค่อนข้างยากและซับซ้อน จึงควรเริ่มจากกลุ่มคนที่จะสามารถฝึกและใช้ได้ก่อน โดยคาดหวังว่าเมื่อกลุ่มนี้ใช้ได้อย่างชำนาญแล้ว จะเกิดการขยายผลไปสู่คนและกลุ่มต่าง ๆในชุมชนได้มากขึ้น 2) การปรับปรุงเชิงระบบ หรือกลไกในการทำงาน พบว่า เกิดระบบที่เข้ามาช่วยหนุนเสริมในการจัดทำแผนงาน/โครงการ ได้มากขึ้น ดังที่กล่าวในจุดเด่นของโปรแกรมออนไลน์ คือ ทำให้เกิดการวิเคราะห์สถานการณปัญหา ในพื้นที่ มีแนวทาง/วิธีการสร้างเสริมสุขภาพที่ชัดเจน ที่สามารถนำมาปรับใช้ได้ มีโปรแกรมที่เชื่อมโยงประเด็นต่างๆอย่างเป็นระบบมากขึ้น/เช่นข้อมูล เป้าหมาย แนวทาง เป็นต้น มีการจัดเก็บฐานข้อมูลเดิม เพื่อต่อยอดข้อมูลใหม่ได้ เช่น ข้อมูลพัฒนาการเด็ก สามารถเรียนรู้จากพื้นที่อื่นๆ ทั่วประเทศ รวมถึงเป็น นอกจากนี้ทำให้คนเล็งเห็นถึงขนาดของสถานการณ์ปัญหาว่ามีความสำคัญมากอย่างไร และสามารถติดตามงานผ่านระบบออนไลน์ได้ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะ นายอำเภอด่านซ้าย ให้ความสำคัญในการกำหนดยุทธศาสตร์ในการทำงานการพัฒนาคุณภาพชีวิตโดยการบูรณาการการทำงานร่วมกันทุกฝ่ายทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน ตามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ(MOU) ในการยกระดับในการทำงานแบบร่วมมือ ร่วมแรง ร่วมทำงานเพื่อท้องถิ่นของตนเองอย่างเต็มที่ ทั้งเรื่องของผู้สูงอายุและผู้ด้อยโอกาส เรื่องของเด็กและเยาวชน รวมทั้งของการลดจำนวนผู้ดื่มสุราในพื้นที่ (ประยูร อรัญรุท. 2561 : 127) อย่างไรก็ตาม พบว่า โปรแกรมออนไลน์นี้ มีความซ้ำซ้อนกับโปรแกรมรายงานผลดำเนินงานของสปสช. และส่วนใหญ่สะท้อนว่าค่อนข้างจะเป็นการเพิ่มภาระงานให้กับพื้นที่อีกด้วย นอกจากนี้โปรแกรมยังใช้ยากและมีความซับซ้อน คนที่เข้าอบรมการใช้โปรแกรม กำลังอยู่ในขั้นการทดลองปฏิบัติการใช้โปรแกรม จึงส่งผลให้ความรู้ความเข้าใจ ในการใช้โปรแกรมไม่มากนัก
3) การพัฒนานโยบายสาธารณะ พบว่า มีฐานข้อมูลด้านสุขภาพ ที่สามารถนำไปบูรณาการกับหน่วยงานอื่นๆได้ ในการขับเคลื่อนนโยบายด้านสุขภาพ คุณภาพชีวิต ข้อสังเกตเพิ่มเติมจากพี่เลี้ยงจังหวัด : คนที่ออกแบบโปรแกรมอาจจะโฟกัสเฉพาะเงินกองทุน ควรออกแบบโปรแกรมให้เห็นถึงบทบาทของทุกหน่วยงานที่มาร่วมขับเคลื่อนโครงการที่สอดคล้องกับบริบทและสภาพของพื้นที่ สอดคล้องกับ ที่ปรึกษาพชอ.ระดับอำเภอ คือ สาธารณสุขอำเภอด่านซ้าย(ชำนาญ มีสุข. 2561: 119) ต้องการใช้นโยบายสาธารณะของการขอโครงการออนไลน์(Online) จากกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับตำบลในการจัดทำโครงการแก้ไขปัญหาในระดับตำบลโดยเน้นการดำเนินการอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ และมีการบริหารจัดการที่ดีทั้งการวางแผน(Plan) การปฏิบัติ(Do) การตรวจสอบ(Check) การปรับปรุง(Action) และมาตรฐาน(Standard) อย่างไรก็ตาม การผลักดันงานสาธารณสุขรวมทั้งการพัฒนาคุณภาพชีวีตของคนด่านซ้ายจนดีขึ้นมาระดับหนึ่ง และมีการยกระดับนโยบายสาธารณะที่เกิดจากความต้องการของประชาชน คือ 1) การจัดการขยะและสิ่งแวดล้อม 2) เครือข่ายการปลูกพืชปลอดภัย และ 3) คนด่านซ้ายไม่ทอดทิ้งกันมุ่งเน้นผู้พลาดโอกาสของสุขภาวะและสังคม (ชำนาญ มีสุข. 2563 : สัมภาษณ์)
4) การเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน ยังไม่ปรากฏชัดเจนมากนัก เนื่องจากพื้นที่เน้นพัฒนาในกลุ่มเจ้าหน้าที่รับผิดชอบ และ เจ้าหน้าที่ รพ.สต. ก่อน จึงยังไม่ได้เกิดการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน ประกอบกับการพัฒนาแผนงาน/โครงการ ใช้ข้อมูลของปีงบประมาณ 2563 ซึ่งมีการดำเนินการผ่านมาแล้ว จึงเน้นไปที่การฝึกใช้โปรแกรม ทั้งนี้อาจเป็นเพราะ ยังไม่ได้เน้นให้มีผู้คนที่มุ่งมั่นในการเรียนรู้ดิจิทัลมากคนนัก ส่งผลให้มีการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงให้มีการศึกษาเพื่อความยั่งยืน สำหรับโรงเรียนผู้สูงวัยหรือ โรงเรียนเกษตรกร ตลอดทั้ง E-Learning กับเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงภาวะผู้นำสุขภาพให้ครอบคลุมทุกตำบล และบันทึกหลังการปฏิบัติ (วิจารณ์ พานิช. 2558 : 178-197, 264-267) 5) การปรับสภาพแวดล้อมในสังคม ยังมีปรากฏรูปธรรมของการปรับสภาพแวดล้อมทางสังคมของการจัดการขยะและสิ่งแวดล้อมที่ไม่ชัดเจนมากนัก ขาดการเชื่อมประสานในชุมชนเนื่องจากสภาพชุมชนแต่ละพื้นที่ของอำเภอด่านซ้ายแตกต่างกัน การขยายพื้นที่ลงใน 10 หมู่บ้านทุกตำบลยังขาดการสร้างการทำงานร่วมกันอย่างเป็นระบบจึงเป็นภาระของหน่วยงานภาคเกษตรในการขยายงาน และการสร้างนักบริบาลยังไม่มีทิศทางที่ชัดเจนและค่าตอบแทนนักบริบาลไม่เหมาะสมทำให้มีการลาออกและต้องหาคนทดแทน และงบประมาณในการดูแลยังไม่สามารถจัดหาได้เท่าที่ควร ทั้งนี้อาจเป็นเพราะ เป็นการตั้งเป้าหมายที่ท้ายทายแต่มีการขับเคลื่อนของการทำงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้ง อบต./เทศบาลแต่ยังมีนักบริบาลในระดับตำบลน้อย และมีค่าตอบแทนสำหรับผู้รับผิดชอบตามบทบาทหน้าที่ที่ไม่เหมาะสมกับบริบทและสภาพของท้องถิ่น(สุมาลี จันทศร. 2563 : 2-3)
ข้อเสนอแนะ 1) ด้านกระบวนการพัฒนาโครงการ หรือแผนงานกองทุนที่ให้เกิดประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ดังนี้   (1) เพิ่มบทบาทพี่เลี้ยงอำเภอ และ แต่ละกลุ่ม ชมรม ต้องมีตัวแทนประสานกับทีมอำเภอ   (2) ค้นหาแกนนำกลุ่ม ที่มีความสนใจ กระตือรือร้น มาพัฒนาศักยภาพแผนงานและโครงการ วิเคราะห์ปัญหา กิจกรรม ตัวชี้วัด ด้วยการมีส่วนร่วมของตนเอง   (3) การสร้าง/พัฒนาศักยภาพครู ก ครู ข หรือ วิทยากรกระบวนการโครงการ ของภาคประชาชน/หน่วยบริการ เรื่องการเขียนแผนงานโครงการ และ การบริหารโครงการ   (4) ประชาคม ระดมปัญหาสุขภาพ ชี้แจงขอบเขต ชี้แจงงบประมาณ การให้ทุนตามประกาศกองทุน   (5) จัดเวทีแลกเปลี่ยนเพื่อพัฒนาแผนโครงการ   (6) การคลังของ อปท.ต้องทำความเข้าใจหลักเกณฑ์การใช้   (7) ตัวชี้วัด ควรมีแผนงานโครงการ มาจากข้อมูล ภาคประชาชน/หน่วยงานอื่น เข้าใจระบบ ขั้นตอน และสามารถบริหารโครงการได้เอง และโครงการสามารถสร้างผลกระทบที่ดีต่อสุขภาพของกลุ่มเป้าหมายได้ 2) ด้านการพัฒนาศักยภาพกรรมการ หรือผู้รับผิดชอบ   (1) อบรมเชิงปฏิบัติการ/ติดตามการทำงาน ขาขึ้น ขาเคลื่อน ขาประเมิน ทุกไตรมาส   (2) การพัฒนากลุ่มภาคประชาชนที่ขอทุนให้เข้มแข็ง มารับทุน/บริหารโครงการต่อเนื่องให้สามารถเขียนโครงการ บริหารโครงการได้ ใช้จ่ายเงินอย่างถูกต้อง รายงานผลโครงการได้
  (3) ตัวชี้วัด ควรมีกรรมการเข้าใจกรอบการดำเนินงาน ตามประกาศปี 61 และ บทบาทหน้าที่, กรรมการลงติดตามโครงการจริง สามารถแลกเปลี่ยน ชี้แนะกองทุนด้วย กรรมการจะเห็นจุดแข็ง จุดอ่อนการดำเนินงาน และเสนอแนะการพัฒนาในปีต่อไปได้, การพัฒนากลุ่มภาคประชาชนที่ขอทุนให้เข้มแข็ง มารับทุน/บริหารโครงการต่อเนื่อง และมีผู้รับผิดชอบโครงการสามารถบริหารจัดการโครงการได้ 3) ด้านการติดตามอย่างมีส่วนร่วมทั้งโปรแกรมออนไลน์และออฟไลน์   (1) ควรผนวกโปรแกรมออนไลน์นี้เข้ากับโปรแกรม สปสช. และลดความซ้ำซ้อน ให้ใช้งานง่ายทุกระดับ ให้คนทั่วไปสามารถใช้งานได้
  (2) เลือกพื้นที่นำร่อง พัฒนาคนเสนอโครงการให้บันทึกข้อมูลในระบบออนไลน์ได้ 4) ด้านการบูรณาการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะระหว่าง พชอ. กับกองทุนสุขภาพตำบล   (1) การใช้ข้อมูลปัญหาสถานการณ์ จากกองทุนสุขภาพฯ ที่บันทึกในโปรแกรมออนไลน์ เป็นฐานในแนวทางการแก้ปัญหาร่วมกัน   (2) บันทึกข้อตกลงความร่วมมือ(MOU) การพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับพื้นที่อำเภอด่านซ้ายในแต่ละตัวบ่งชี้ และหรือธรรมนูญ ในแต่มาตรา จะมีกิจกรรมสำคัญ ควรจะมีจัดระบบ หรือแบ่งบาทบาทหน้าที่ ว่ากิจกรรมในแต่ละขั้นตอน จะประสานให้ใครช่วยขับเคลื่อน เช่น อาหารปลอดภัย กิจกรรมการให้ความรู้ด้านการเกษตรจะเป็นของเกษตรอำเภอ กิจกรรมคัดกรองสารตกค้างในเลือด จะเป็นกองทุนสุขภาพ กิจกรรมปลูกผักปลอดสารพิษ จะเป็นของกลุ่มปลูกผัก และกองทุนสุขภาพ เป็นต้น   (3) ตัวชี้วัด ควรแก้ไขปัญหาลดลง/มีเครือข่ายคน กลุ่มคนชุมชนเรียนรู้สุขภาพที่เข้มแข็งขึ้น โดยมีการบูรณาการงบประมาณจากหลายหน่วยงาน และมีผู้นำรุ่นใหม่ๆที่มีภาวะผู้นำแบบบูรณาการเพิ่มมากขึ้น

เอกสารอ้างอิง

จุฬาวรรณ ชัยเจริญ. (2563). บันทึกเรื่องเล่า การจัดการขยะในชุมชน. เลย : พชอ.ด่านซ้าย. จำรัส นาคำจันทร์. เลขานุการการพัฒนาคุณภาพชีวิตในระดับพื้นที่อำเภอ(พชอ.) ด่านซ้าย ด้านเกษตรอำเภอ. สัมภาษณ์, 27 กรกฎาคม 2563.
ฉลาด จันทรสมบัติ. (2559). การวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาชุมชน. พิมพ์ครั้งที่ 3 มหาสารคาม : อภิชาติการพิมพ์. ฉลาด จันทรสมบัติ. (2563). คู่มือการพัฒนาผู้นำแหล่งเรียนรู้ในการปลูกผักหวานป่าเพื่อการพึ่งพาตนเอง ตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง. ขอนแก่น : สมศักดิ์ก๊อปปี้. ชำนาญ มีสุข. (2563). เลขานุการการพัฒนาคุณภาพชีวิตในระดับพื้นที่อำเภอ(พชอ.) ด่านซ้าย ด้านสาธารณสุขอำเภอ. สัมภาษณ์, 27-28 กรกฎาคม 2563, 23-24 สิงหาคม 2563, 16-17 กันยายน 2563.
ประยูร อรัญรุท. (2561). อำเภอสุขใจ. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.). เปรมศรี สาระทัศนานันท์. (2563). บันทึกเรื่องเล่า ด่านซ้ายกรีนเนท. เลย : พชอ.ด่านซ้าย. ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม. (2546). การบริหารสังคม : ศาสตร์แห่งศตวรรษเพื่อสังคมไทยและสังคมโลก. กรุงเทพฯ : สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน). พงค์เทพ สุธีรวุฒิ. (2563). ระบบการติดตามประเมินผลการดำเนินงานโครงการสร้างเสริมสุขภาพ. สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. เยาวภา สิงห์สถิต. (2563). บันทึกเรื่องเล่า โรงเรียนผู้สูงวัยใบบุญ วัดโพนชัย. เลย : พชอ.ด่านซ้าย. รุ่งนิรันดร์ แก้ววงศ์ ผู้ช่วยเลขานุการการพัฒนาคุณภาพชีวิตในระดับพื้นที่อำเภอ(พชอ.) ด่านซ้าย ด้านสาธารณสุขและนักบริบาลชุมชน. สัมภาษณ์, 27-28 กรกฎาคม 2563, 23-24 สิงหาคม 2563, 16-17 กันยายน 2563. วัชรี ยาทา. (2563). บันทึกเรื่องเล่า โรงเรียนผู้สูงวัยใบบุญวัดโพนชัย. เลย : แหล่งเรียนรู้โรงเรียนผู้สูงวัยใบบุญวัดโพนชัย. วิจารณ์ พานิช. (2558). เรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสยามกัมมาจล. วิสาข์ สุพรรณไพบูลย์. (2563). การประเมินผลโครงการ. พิษณุโลก : มหาวิทยาลัยนเรศวร. เว็บกองทุนตำบล. (2563). โครงการบูรณาการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาพและพัฒนากลไกสุขภาวะระดับพื้นที่. https://localfund.happynetwork.org. ศักดิ์ดา สีสม. ผู้ช่วยเลขานุการการพัฒนาคุณภาพชีวิตในระดับพื้นที่อำเภอ(พชอ.) ด่านซ้าย ด้านสาธารณสุขและฐานข้อมูลออนไลน์, สัมภาษณ์, 27-28 กรกฎาคม 2563, 23-24 สิงหาคม 2563, 16-17 กันยายน 2563. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.). (2562). พลังพอช. กรุงเทพฯ : ศูนย์ประชุมวายภักษ์ ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. แผนพัฒนาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ระยะที่ 12 (พ.ศ. 2559-2564). กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. สำนักงานบริหารยุทธศาสตร์สุขภาพดีวิถีชีวิตไทยและพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับพื้นที่. (2561). อำเภอสุขใจ.สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.). สมพันธ์ เตชะอธิก. (2563). เทคนิคการมีส่วนร่วมในการสนทนากลุ่ม. ขอนแก่น : คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น สุมาลี จันทศร. (2563). บันทึกเรื่องเล่า นักบริบาลผู้ให้การดูแลในระยะยาว(LTC). เลย : พชอ.ด่านซ้าย.
องอาจ นัยพัฒน์. (2557). การศึกษาเฉพาะกรณี. กรุงเทพฯ : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

เอกสารประกอบโครงการ