ระบบติดตามและประเมินผลโครงการ ( M&E Thailand )

directions_run

โครงการบูรณาการกลไกสุขภาพพชุมชน เขต 8 อ.ด่านซ้าย จ.เลย(ฉบับจริง )

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 200
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
ปฐมวัย (0-5 ปี) 0
วัยเรียน (6-12 ปี) 100
วัยรุ่น (13-15 ปี) 100
เยาวชน (15-20 ปี) -
วัยทำงาน -
ผู้สูงอายุ (60 ปีขึ้นไป) -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
ผู้พิการ -
ผู้หญิง -
มุสลิม -
พระภิกษุ -
ชาติพันธุ์ -
ผู้ต้องขัง -
หลากหลายทางเพศ (LGBTIQ) -
กลุ่มด้อยโอกาส (คนไร้บ้าน, เด็กเร่ร่อน, เด็กกำพร้า, เด็กในสถานพินิจ ฯลฯ) -
แรงงานข้ามชาติ -
อื่น ๆ -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ติดตามประเมินผลโครงการบูรณาการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะและพัฒนากลไกสุขภาวะระดับพื้นที่ อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย เขตสุขภาพที่ 8 โดยประยุกต์ใช้การประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ (Health Impact assessment: HIA) (2) พัฒนาแนวทางการบูรณาการการทำงานระหว่างคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ(พชอ.) และกองทุนสุขภาพตำบล/เทศบาล ผลการประเมิน พบว่า 1. ปัจจัยแห่งความสำเร็จโครงการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะและพัฒนากลไกสุขภาวะระดับพื้นที่อำเภอในการกำหนดสุขภาพ ประกอบด้วย (1) ด้านปัจเจกบุคคล มีการพัฒนาศักยภาพของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ(พชอ.)และระดับตำบล(พชต.) จำนวน 12 คณะ (2) ด้านสภาพแวดล้อม มีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการดำเนินงาน ได้แก่ ประเพณีการละเล่นผีตาโขน เกษตรปลอดสารพิษ (3) ด้านระบบกลไก มีกลไกนับสนุน การจัดกระบวนการเรียนรู้ และกระบวนการมีส่วนร่วม เพื่อมุ่งสู่เป้าหมาย จำนวน 3 ประการ คือ ที่นี่ด่านซ้ายจัดการขยะและสิ่งแวดล้อม กินอยู่อย่างคนด่านซ้าย และคนด่านซ้ายไม่ทอดทิ้งกัน 2. ผลผลิตที่เกิดจากโครงการ ได้แก่ กองทุนสุขภาพตำบลมีแผนตามประเด็นปัญหา จำนวน 12 ประเด็น มีโครงการด้านสุขภาพ จำนวน 36 โครงการ กองทุนมีระบบการติดตามออนไลน์ จำนวน 11 กองทุน 3. ผลลัพธ์ จำนวน 3 ประเด็น ได้แก่ พชอ.ได้แผนบูรณาการตามประเด็นปัญหาจากกองทุนสุขภาพตำบล โครงการระดับอำเภอมีการบูรณาการร่วมกัน และ พชอ.มีฐานข้อมูลทั้งระดับอำเภอและตำบล 4. ผลกระทบ การดำเนินงานโครงการตามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ ในรอบปีที่ผ่านมามีการบริหารจัดการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีแบบบูรณาการและเหมาะสม โดยนำเอานโยบาย มาตรการทางสังคม ระบบทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการปฏิบัติงานมีความรับผิดชอบต่อตนเองและองค์กร กลุ่มชุมชนมากยิ่งขึ้น มีการขยายผลจากตำบล หรือหมู่บ้านต้นแบบด้านสุขภาพไปสู่กิจกรรมที่เป็นองค์ความรู้และนวัตกรรมเพิ่มมากขึ้น คือ ปัจจุบัน ได้แก่ 1) การจัดการขยะและสิ่งแวดล้อม มีการจัดการขยะอย่างถูกต้องในระดับครัวเรือน ลดการใช้โฟมในการบรรจุอาหาร มีหมู่บ้านต้นแบบในการจัดการขยะเป็นหมู่บ้านสะอาด 2) ด่านซ้ายกรีนเนท(Green Net) เกิดผู้คนอาสาสมัคร มีกลุ่มเครือข่ายส่งเสริมการปลูกพืชผักปลอดภัยในทุกตำบล การสร้างตลาดแก่กลุ่มเกษตรกร การคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพของประชาชนในระดับอำเภอ และมีแหล่งตรวจผลิตภัณฑ์สุขภาพ 3) ด่านซ้ายไม่ทอดทิ้งกัน และอนาคต ขยายไปครอบคลุมมากขึ้น ได้แก่ (1) การสร้างนักบริบาลชุมชน มีนักบริบาลทุกตำบลดูแลผู้พิการ ผู้สูงวัยใส่ใจคุณภาพชีวิต จำนวน 29 รายในทุกตำบลโดยใช้งบประมาณในระดับพื้นที่ของอบต./เทศบาล (2) การจัดโรงเรียนสุขภาพผู้สูงอายุ จำนวน 4 ตำบลในทั้งหมด 10 ตำบล ถือเป็นการเรียนรู้ของผู้ใหญ่ (Adult Learning) ที่นำไปสู่ภาวะผู้นำสุขภาพมีการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง (Transformative Learning) และ 5. แนวทางการบูรณาการการทำงานระหว่าง พชอ.และกองทุนสุขภาพตำบล/เทศบาล มี 5 ขั้นตอน คือ (1) การวางแผน (2)การปฏิบัติ (3)การตรวจสอบ (4)การปรับปรุง และ(5)การกำหนดมาตรฐาน

คำสำคัญ : การติดตามประเมินผล, การประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ, การบูรณาการ, งานสร้างเสริมสุขภาวะ, กลไกสุขภาวะ, การพัฒนาคุณภาพชีวิต

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh