ระบบติดตามและประเมินผลโครงการ ( M&E Thailand )

directions_run

โครงการบูรณาการกลไกสุขภาพชุมชน เขต 9 อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ (ติดตามประเมินผล)

แบบประเมินด้วยขั้นตอน HIA

บทคัดย่อ/บทนำ

บทคัดย่อ

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้ร่วมกับ พชอ.และพื้นที่ เกี่ยวกับกรอบการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพในการประยุกต์ใช้พิจารณาโครงการในพื้นที่ประเมินกระบวนการมีส่วนร่วมของบุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับนโยบาย แผนงาน โครงการที่สอดคล้องกับบริบทพื้นที่ประเมินกระบวนการของ พชอ.ในการหนุนเสริมสาธารณะได้เข้ามามีส่วนร่วมในการพิจารณากลั่นกรองโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับพื้นที่ประเมินกระบวนการกำหนดขอบเขตและจัดทำตัวชี้วัดผลการสร้างเสริมสุขภาพด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมแบบสาธารณะ   ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ 1.คน คณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น พื้นที่อำเภอเมืองสุรินทร์ และภาคีเครือข่าย 22 กองทุนได้รับการเสริมศักยภาพ และรับรู้ถึงการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพทั้ง 6 ขั้นตอน มีการฝึกทักษะการรายงานผลโครงการผ่านโปรแกรมออนไลน์ของโครงการสร้างเสริมสุขภาพ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ แต่การนำขั้นตอนการประเมินทั้ง 6 ขั้นตอน ยังไม่มีทักษะด้านทัศนคติของพี่เลี้ยง แกนนำ ต่อการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ เห็นว่ากระบวนการขั้นตอนการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพดีมีประโยชน์หากนำไปสู่การนำไปปฏิบัติได้จริง แต่ ด้วยการประเมินนี้เป็นเนื้อหาใหม่จึงไม่ความเข้าใจและประสบการณ์ในการนำไปใช้ 2.ระบบฐานข้อมูลเกี่ยวกับแผนงานโครงการในระบบโปรแกรมออนไลน์ของ สสส. ยังคงต้องมีการกระตุ้นและติดตามการทำงานอย่างต่อเนื่อง ความร่วมมือของภาคี ในภาพร่วมจากการลงพื้นที่พบว่า กลไก พชอ. ระดับพื้นที่ยังมีการทำงานแบบบูรณาการและมีส่วนร่วมไม่มากพอ ส่งผลให้การดำเนินนโยบายตามแผนงานโครงการไม่ครบคลุมกองทุน 22 กองทุน กิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพในระดับพื้นที่กองทุน มีความสอดคล้องกับแผนงานดำเนินงานของพชอ. แต่ยังไม่ครบคลุม 22 กองทุน แผนงาน โครงการ นโยบายที่สอดคล้องกับพื้นที่ จำนวน 4 แผนงาน ได้แก่ การป้องกันควบคุมโรคพิษสุนัขบ้า การป้องกันอุบัติเหตุทางท้องถนน การป้องกันปัญหายาเสพติด และด้านอาหารปลอดภัย และแผนงานพิเศษ คือ โรคไข้เลือดอออก 3. งบประมาณในการสนับสนุนการดำเนินโครงการตามแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ มีการใช้งบประมาณดำเนินกิจกรรมโครงการในระดับพื้นที่ ทั้ง 4 แผนงาน ของการพัฒนาคุณภาพชีวิต ระดับอำเภอ (พชอ.) ได้แก่ ด้านอาหารมีพื้นที่ต้นแบบ 1 ตำบล ด้านการป้องกันยาเสพติด ดำเนินงานด้านการบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพ เข้ารับการบำบัดรักษาเป็นประชากรกลุ่มเยาวชนอายุระหว่าง 18–24 ปีร้อยละ 43.88 มีจุดเน้นการพัฒนาคุณภาพระบบ บำบัดรักษาขยายศักยภาพของการบำบัดรักษาและลดจำนวนผู้เสพเข้าสู่เรือนจำ พัฒนาแนวทางเพื่อลดผลกระทบ ต่อสังคม เน้นเป็นการดูแลสุขภาพและสังคม เป็นแนวปฏิบัติในการลดผลกระทบจากปัญหายาเสพติด ปรับมุมมองผู้เสพผู้ติดยาเสพติด คือ “ผู้ป่วย” ที่ต้องได้รับการรักษาภายใต้หลักการ “เข้าใจ เข้าถึง พึ่งได้ ” สนับสนุนโครงการพระราชดำริ TO BE NUMBER ONE การจัดการงบประมาณ ระเบียบปฏิบัติและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ด้านอุบัติเหตุทางถนน มีการดำเนินการแก้ไขจุดเสี่ยงและวิเคราะห์จุดเสี่ยงในพื้นที่ 33 จุดเสี่ยงมีการกำหนดช่วงเวลาการดำเนินการ 2 ช่วง คือ ช่วงที่ 1 มีการเตรียมความพร้อมและช่วงการรณรงค์ ช่วงที่ 2 มีการควบคุมเข้มข้น ในช่วงเทศกาลปีใหม่ เทศกาลสงกรานต์ และมีการสนับสนุนการดำเนินการ ร่วมดำเนินมาตรการชุมชน และ “ด่านชุมชน” ให้ บุคลากรสาธารณสุข/อสม. อปท. ด้านโรคพิษสุนัขบ้า การฉีดวัคซีนป้องกันโรคในสัตว์ โดยอปท. มีความครอบคลุมเกือบ 100 เปอร์เซ็นต์ และมีระบบติดตามผู้สัมผัสให้ได้รับวัคซีนป้องกันโรคครบตามกำหนด โดยมีแผนพัฒนางานด้าน Health Literacy 4.ทรัพยากรสนับสนุนการขับเคลื่อนแผนงานด้วยการสนับสนุนรถยนต์ เครื่องเสียงให้กับกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ชุมชน ในการออกรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ และพัฒนาศักยภาพบุคลากรคณะกรรมการกองทุนในการพัฒนาโครงการและการติดตามรายงานโครงการผ่านระบบไลน์ 5.ทุนทางสังคม โครงการกองทุนตำบลเป็นหนึ่งในแผนคณะกรรมการพชอ.ในการสนับสนุนโครงการ และประชาชนในพื้นที่พร้อมให้การสนับสนุนทุกรูปแบบ จึงได้มีการจัดทำโครงการบูรณาการกับภาคีเครือข่ายในพื้นที่เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน การเข้าถึงประชาชนกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) การคัดเลือกพื้นที่เพื่อเป็นพื้นที่นำร่องในการใช้การประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ ควรมีผู้รู้ หรือมีหน้าที่บทบาทเกี่ยวข้องกับกระบวนการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพและการสร้างเสริมสุขภาวะ ร่วมถึงเข้าใจหรือมีประสบการณ์ เข้ามาเป็นแกนหลักสำคัญในการพัฒนาพื้นที่เกิดกระบวนการพัฒนาข้อเสนอโครงการที่มีคุณภาพและการใช้ระบบการติดตามและประเมินผลโครงการให้สอดคล้องกับแผนการสร้างเสริมสุขภาวะของ สสส. สปสช. และ สธ. ภายใต้ระเบียบของกองทุน (2) กลไกพี่เลี้ยงระดับเขตควรมีแนวปฏิบัติร่วมกันในการขับเคลื่อนงานและการเชื่อมประสานกับกลไกระดับพื้นที่เกี่ยวกับการทำงานแบบบูรณาการในการใช้การประเมินผลกระทบด้านสุขภาพในการพัฒนาข้อเสนอโครงการที่มีคุณภาพและการใช้ระบบการติดตามและประเมินผลโครงการให้สอดคล้องกับแผนการสร้างเสริมสุขภาวะของ สสส. สปสช. และ สธ. ภายใต้ระเบียบของกองทุน (3) ควรนำกองทุนระดับพื้นที่เข้ามาพัฒนาศักยภาพในการใช้การประเมินผลกระทบด้านสุขภาพเป็นเครื่องมือในการพัฒนาข้อเสนอโครงการที่มีคุณภาพและการใช้ระบบการติดตามและประเมินผลโครงการให้สอดคล้องกับแผนการสร้างเสริมสุขภาวะของ สสส. สปสช. และ สธ. ภายใต้ระเบียบของกองทุน (4) ปรับแบบฟอร์มในการคีย์ข้อมูล ให้มีการบูรณาการเข้าร่วมกัน เพื่อลดความซ้ำซ้อนและควรมีการแชร์ข้อมูลให้สามารถลิงค์กันได้

คำสำคัญ

การบูรณาการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะ พัฒนากลไกสุขภาวะระดับพื้นที่ เขตสุขภาพที่ 9

บทนำ

การพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน เพื่อส่งเสริมให้ชุมชน/ท้องถิ่นมีความมีความเข้มแข็ง สามารถจัดการเองได้ นั้นมีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องภายใต้ความรับผิดชอบและการดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องภายใต้ความรับผิดชอบและการสนับสนุนของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) และ สำนักงานสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
การดำเนินงานในพื้นที่ สสส. โดยสำนักสนับสนุนสุขภาวะชุมชน มีการทำงานของแผนสุขภาวะชุมชนมาอย่างต่อเนื่อง เกิดเป็นทุนทางสังคมและศักยภาพของภาคีเครือข่ายที่มีความสามารถในการจัดการสุขภาวะทั้ง 4 มิติ กาย ใจ ปัญญา สังคม ซึ่งเป็นพื้นฐานของการขับเคลื่อนแผนสุขภาวะชุมชน มีผลให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) จำนวน 2,816 แห่ง ร้อยละ 35.85 เข้าร่วมเป็นภาคีเครือข่ายในการพัฒนารูปแบบการพัฒนาตำบล   คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) อำเภอเมืองสุรินทร์ เป็นพื้นที่คณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น พื้นที่อำเภอเมืองสุรินทร์ เป็นอีกหนึ่งพื้นที่ที่มีศักยภาพในด้านการพัฒนาให้เป็นพื้นที่นำร่องในการบูรณาการการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะ พัฒนากลไกสุขภาวะระดับพื้นที่ ให้มีพัฒนาโครงการและระบบข้อมูลการจัดทำโครงการที่มีคุณภาพ เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่อำเภอเมืองสุรินทร์สุขภาพดี เจ้าหน้าที่มีความสุขระบบสุขภาพยั่งยืน ด้วยการใช้งบประมาณกองทุนระดับพื้นที่สนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการ สถานบริการ หน่วยงาน องค์กรหรือกลุ่มประชาชน ให้สามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเน้นการทำงานแบบมีส่วนร่วมและส่งเสริมการมีส่วนร่วมตามความพร้อมและความต้องการของประชาชนในท้องถิ่น
การประยุกต์ใช้การประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ จะช่วยให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันของสังคม เพื่อให้ประชาชน ชุมชน หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคมและภาควิชาการ ได้เรียนรู้ร่วมกันในการวิเคราะห์และคาดการณ์ผลกระทบต่อสุขภาพ ร่วมถึงเหตุปละปัจจัยทางสังคมที่มีผลต่อสุขภาพประชาชน ที่อาจเกิดจากแผนงาน โครงการ หรือกระบวนการนโยบายสาธารณะทั้งทางบวกและทางลบ ซึ่งจะมีการใช้เครื่องมือที่หลากหลายร่วมกับกระบวนการมีส่วนร่วมที่เหมาะสม เพื่อสนับสนุนให้เกิดการตัดสินใจที่จะเป็นดีต่อสุขภาพของประชาชนทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
ด้วยเหตุนี้ทีมติดตามและประเมินผล จึงมีความต้องการประเมินศักยภาพพื้นที่คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) อำเภอเมืองสุรินทร์ ด้วยการประยุกใช้การประเมินผลกระทบด้านสุขภาพทั้ง 6 ขั้นตอนในการติดตามการกลไกระดับเขตและระดับพื้นที่ในการพัฒนาโครงการให้มีคุณภาพ ร่วมถึงการติดตามรายงานประเมินผลโครงการให้สอดคล้องกับแผนการสร้างเสริมสุขภาวะของ สสส. สปสช. และ สธ. ภายใต้ระเบียบของกองทุนในโปรแกรมออนไลน์ของ สสส.

หมายเหตุ
  • บทคัดย่อ/บทนำ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

แบบประเมิน HIA

1. การกลั่นกรองโครงการ

check_circle

ก่อน
ทีมประเมิน ประชุมหารือวางแผน 1.กำหนดกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย แบ่งออกเป็น 2 กลไก คือ
  1) กลไกทีมเขต แบ่งออกเป็น 2 ทีม (1) ผู้รับผิดชอบหลักเขต 9 จำนวน 1 คน (2) พี่เลี้ยงระดับพื้นที่ (ระดับจังหวัด) ได้แก่ รพ.สต./สสอ2/สปสช/สสส/สจรส.มอ ตัวแทนละ 1 คน รวมเป็น 5 คน รวมทั้งสิ้น6
คน   2) กลไกทีมระดับพื้นที่ ประกอบด้วย พชอ. อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์/คณะกรรมการกองทุน 22 ตำบล /ผู้รับผิดชอบโครงการในพื้นที่ 22 ตำบล 2. รูปแบบการทำงาน คือ ประชุมเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม 3. ระยะเวลาในการดำเนินการ 1 วัน จัดที่สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมือง สุรินทร์ เวลา 09.00-12.00 น. 4. ประสานผู้เข้าร่วม (ส่งหนังสือแจ้งให้ผู้เข้าร่วมประชุมทราบ/ประสานพื้นที่เตรียมสถานที่อาหารเครื่องดื่ม) 5.เตรียมข้อมูลนำเข้าการประชุม 1) เอกสารชี้แจงผู้เข้าร่วมประชุม 2 ) เอกสารนำเสนอการสร้างความเข้าใจร่วมในการประเมิน 3) แบบบันทึกข้อมูล 6. แบ่งบทบาทหน้าที่ทีมประเมิน ขั้นเตรียมการ (ก่อน) ระหว่าง และหลัง ระหว่างดำเนินการกลั่นกรอง 1.แนะนำทีมประเมินและผู้รับการประเมิน 2.ชี้แจงวัตถุประสงค์การประเมิน ประเด็นการชี้แจงเพื่อสร้างการมีส่วนร่วม ประกอบด้วย 1) สร้างความเข้าใจร่วมและประโยชน์ที่จะได้รับจากการประเมิน 2) กรอบการประเมิน (ผลลัพธ์) แผน คุณภาพ (โครงการ/กลไก) ระบบการติดตามonline วิเคราะห์ปัจจัย (Factor) Ottawa charter 5 ด้าน ได้แก่ (ศักยภาพคน/สภาพแวดล้อมที่เอื้อ/นโยบายสาธารณะกติกา ชุมชนท้องถิ่น/ชุมชนท้องถิ่นเข้มแข็ง/การมีกลไก ระบบกระบวนการ) กระบวนการ (Process) และ ปัจจัยนำเข้า (Input) 3. เปิดเวทีสร้างการมีส่วนร่วม ในกระบวนการประเมิน เพื่อให้เกิดการยอมรับในการประเมินผล 4. สรุปความคิดเห็นโดยการมีส่วนร่วมต่อ ประโยชน์ที่จะได้รับจากการประเมินและขอบเขตการประเมิน หลังการกลั่นกรอง 1. จัดทำสรุปความคิดเห็นแบบมีส่วนร่วม ส่งให้ทีมกลไกเขตและกลไกระดับพื้นที่ รับทราบ สำหรับรับการเยี่ยมประเมินในครั้งต่อไป

1.1 วัตถุประสงค์

1) เพื่อให้ทราบผลและบอกถึงงานที่รับผิดชอบ
2) เพื่อให้เห็นแนวโน้ม เพื่อเตือนภัย
check_circle
3) เพื่อเปลี่ยนพฤติกรรม และเข้าใจกระบวนการ
4) เพื่อลำดับความสำคัญ แปลง ปรับกลยุทธ์ สู่การปฎิบัติ
5) เพื่อเป็นเครื่องมือในการจัดการ ช่วยการควบคุม
6) เพื่อจัดสรรทรัพยากร
7) เพื่อการเรียนรู้ และรู้ขีดความสามารถ
8) เพื่อเปรียบเทียบ ปรับปรุงและพัฒนา
check_circle
9) เพื่อช่วยเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กร
check_circle
10) เพื่อให้รางวัล เพื่อจูงใจ
11) อื่นๆ (ระบุรายละเอียด)

 

1.2 วิธีการ (ระบุรายละเอียดทำอะไร กับใคร กี่คน ผลสรุป)

1) ประชุมทีมประเมิน
check_circle

1.1) กำหนดบทบาทหน้าที่ทีมประเมินแต่ละคน แบ่งออกเป็น การเงิน อำนวยการ สื่อสาร และประเมินผล 1.2) ยกร่างแผนปฏิบัติงานติดตามประเมินผล เก็บข้อมูล งบประมาณ และสรุปผลการดำเนินงาน

2) ประชุมร่วมกับโครงการ
check_circle

(1) ทีมประเมิน แนะนำทีมประเมิน ผู้เข้าร่วมและผู้เข้ารับการประเมิน (2) ชี้แจงวัตถุประสงค์และการประเมิน ประกอบด้วย ประโยชน์ที่จะได้รับจากการประเมินครั้งนี้ กรอบการประเมินจากการประยุกต์ใช้ HIA โดยสาธารณะ และปัจจัยที่จะใช้ประเมินคือ Ottawa Charter
(3) เปิดเวที ผู้รับการประเมินร่วมแสดงความคิดเห็น (4) สรุปความคิดเห็นจากการประชุม เกี่ยวกับ ประโยชน์การประเมิน ผู้ได้รับผลประโยชน์ กำหนดขอบเขตการประเมิน (5) หารือการติดตามประเมินผลครั้งต่อไป (วัน/เดือน/เวลา/สถานที่/ระยะเวลา/ผู้เข้าร่วม/จำนวน

3) ประชุมร่วมกับโครงการและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
check_circle

เลขาพชอ.พี่เลี้ยงอำเภอผู้รับผิดชอบกองทุน 22 กองทุนข้ผู้ประสานงานเขต วันที่ 17 มิถุนายน 2563 จำนวนผู้ร่วมประชุม 22 คน

4) อื่นๆ (ระบุรายละเอียด)

 

1.3 เครื่องมือ

1) เครื่องมือที่ใช้ในขั้นตอนการกลั่นกรอง (ระบุรายละเอียดเครื่องมือ เช่น แนวคำถามในการประชุมกลุ่ม)
check_circle

แบบสำรวจ/แบบสัมภาษณ์สนทนากลุ่ม/แบบสังเกต รายเอียด แบบสำรวจ (Check list) โครงการในกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ คำชี้แจง ให้ผู้ประเมินพิจารณาจากเอกสารและข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยใส่เครื่องหมาย ลงในช่อง “มี” หรือ “ไม่มี” รายการสำรวจ 1.แผนบูรณาการระดับอำเภอ 2.จำนวนแผนเพิ่มขึ้น 3.จำนวนแผนที่ได้อนุมัติ
4.ผู้รับผิดชอบแผนชัดเจน 5.ข้อมูลที่ถูกระบุในโปรแกรมออนไลน์ ของ สปสช.
6.ไฟล์เอกสาร/รายงาน 7.การบันทึกข้อมูลลงโปรแกรมออนไลน์ ของ สปสช
8.จำนวนแผนตามประเด็น 9.เนื้อหา,หลักสูตร,กระบวนการ 10.ผู้เข้าร่วม,การคัดเลือก 11.องค์ประกอบ 12.วิธีการสร้างทีม 13การกำหนดบทบาทหน้าที่. 14.มีเป้าหมายร่วม 15.จำนวนข้อเสนอโครงการที่ถูกประสานกับกองทุนฯ 16.กระบวนการพัฒนา 17.แนวทาง,กิจกรรม,ผู้รับผิดชอบชัดเจน 18.กระบวนการ/วิธีการ 19.เครื่องมือ 20.การปรับปรุง,พัฒนา,แก้ปัญหา 21.ระบบ/กลไก 22.การมีส่วนร่วมของผู้เสนอและกลุ่มเป้าหมาย 23.สัดส่วนกลุ่มเป้าหมาย (ประเด็น-ช่วงวัย) แบบบันทึกการสังเกต บันทึกการสังเกตครั้งที่………

ชื่อ – นามสกุล …………………………………..ชั้น…………………………………... สถานที่สังเกต……………………สังเกตเมื่อวันที่……เดือน……………….พ.ศ………. สถานการณ์ที่สังเกต……………………………………………………………………... ข้อความที่บันทึกจากการสังเกต……………………………………………………….…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………….............................................................

สรุปข้อคิดเห็นจากการสังเกต………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..………………………………………………………………………………………….……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..


ลงชื่อผู้สังเกต…………………………………… ตำแหน่ง………………………………………….
ประเด็นสนทนากลุ่ม

ส่วนที่ 1 ปัจจัยนำเข้า Input 1. คน กลุ่มคนหรือเครือข่ายภาคีหลักที่เข้ามามีส่วนร่วมกับโครงการมีใคร/หน่วยงานใดบ้าง เข้ามามีส่วนร่วมอย่างไร 2. คน กลุ่มคน เครือข่ายที่เป็นภาคียุทธศาสตร์ ที่มีบทบาทหรืออิทธิพลต่อความสำเร็จของโครงการ มีใครบ้าง มีบทบาทอย่างไร 3. ทรัพยากรที่ใช้ในโครงการมีอะไรบ้าง ได้มาจากไหน อย่างไร 4. งบประมาณที่ใช้ในโครงการมาจากไหน จำนวนเท่าไหร่ อย่างไร 5. ทุนทางสังคมที่มีส่วนสำคัญต่อการดำเนินงานโครงการมีอะไรบ้าง นำมาใช้อย่างไร 5.1 ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ในชุมชน 5.2 วัฒนธรรม วิถีชีวิตที่มีอยู่ในชุมชน 5.3 ภูมิปัญญาที่มีอยู่ในชุมชน 5.4 เศรษฐกิจของชุมชน 6. มีข้อมูลอะไรบ้างที่นำมาใช้ในการดำเนินงานโครงการ ใช้อย่างไร (ข้อมูลสุขภาวะชุมชน ข้อมูลแผนชุมชน แผนงานของหน่วยงานท้องถิ่น แผนงานหน่วยงานรัฐ ข้อมูลจาก สสส. ฯลฯ)

ส่วนที่ 2 กระบวนการ (Process) 1. ในการดำเนินโครงการมีการสร้างทีมหรือคณะทำงานอย่างไร 2. มีการพัฒนาหลักสูตรในการติดตามสนับสนุนในการดำเนินโครงการอะไร อย่างไรบ้าง 3. มีการสร้างทีมประสานงานระดับเพื่อพัฒนาพี่เลี้ยงหรือไม่ อย่างไร 4. ทีมประสานงานหรือพี่เลี้ยงได้มีการพัฒนาศักยภาพกรรมการกองทุน ผู้รับผิดชอบโครงการ และผู้เสนอโครงการ อย่างไรบ้าง 5. ทีมประสานงานระดับเขตมีการหนุนเสริมทำความเข้าใจและความร่วมมือกับ พชอ. อย่างไร 6. ทีมประสานและพี่เลี้ยงมีการหนุนเสริมการทำงานอย่างไรบ้าง (จัดทำแผน พัฒนาโครงการ และติดตามประเมินผลโครงการ) 7. ทีมสนับสนุนมีการสรุปงานและวางแผนการทำงานร่วมกับ พชอ. หรือไม่ อย่างไร

ส่วนที่ 3 ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จตามกรอบ Ottawa Charter 1. จากการดำเนินงานโครงการ คนที่เข้าร่วมได้มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงศักยภาพดีขึ้นหรือไม่ อย่างไร (คนกลุ่มไหน มีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง) 2. ทำให้เกิดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการดำเนินงานโครงการเพิ่มขึ้นหรือไม่ อย่างไร 3. การดำเนินงานทำให้เกิดนโยบายสาธารณะ หรือ กติกาชุมชนท้องถิ่น หรือไม่ อย่างไร 4. การดำเนินทำให้เกิดชุมชนท้องถิ่นเข้มแข็งหรือไม่ เกิดที่ไหน อย่างไร 5. การดำเนินงานทำให้เกิดระบบกลไกการทำงาน หรือระบบการทำงานใหม่ ที่เหมาะสมในการขับเคลื่อนงานหรือไม่ อย่างไร

ส่วนที่ 4 ผลผลิต (Output) 1. การดำเนินงานทำให้กองทุนตำบล มีแผนการดำเนินงานตามประเด็นปัญหา หรือไม่ อย่างไร 2. โครงการที่ของบประมาณจากกองทุนเป็นโครงการที่มีคุณภาพ สอดคล้องกับปัญหาความต้องการของพื้นที่ หรือไม่อย่างไร 3. กองทุนระดับตำบลมีระบบติดตามประเมินผลที่ชัดเจนหรือไม่ อย่างไร (แบบ Online Offline)

ส่วนที่ 5 Outcome and Impact 1. พชอ. เกิดบูรณาการจำแนกตามประเด็นจากแผนของแต่ละกองทุน หรือไม่อย่าไร 2. การดำเนินโครงการระดับอำเภอมีการบูรณาการร่วมกัน หรือไม่อย่างไร 3. พชอ. มีฐานข้อมูลและแผนงานระดับตำบลและอำเภอ หรือไม่ อย่างไร 4. สถานการณ์ระบบสุขภาพชุมชนดีขึ้น หรือไม่ อย่างไร

1.4 ผลที่ได้

1) ผลที่ได้ในขั้นตอนการกลั่นกรอง
check_circle

1.พชอ. พี่เลี้ยง ผู้รับผิดชอบกองทุนรับทราบโครงการบุรณาการฯ ทีมประเมินM&E การประยุกต์ใช้ HIA ต่อการกลั่นกรองโครงการ 2.ความรู้และความเข้าใจการเขียนโครงการ และการสร้างโครงการในเว็บไซต์
3.กรอบการประเมินร่วมกับตัวชี้วัด คือ Ottawa Charter

2. การกำหนดขอบเขต

check_circle

(Ottawacharter) 1. ศักยภาพคน 2. สภาพแวดล้อม 3. นโยบายสาธารณะชุมชน 4.ชุมชนเข้มแข็ง 5.มีกลไก ระบบ กระบวนการ

1) วิธีการในการกำหนดขอบเขต
check_circle

เปิดเวที เรียนรู้แบบมีส่วนร่วมระหว่าง ทีมประเมิน M&E เขต 9 กับ ทีมระดับเขต/ทีมระดับพื้นที่อำเภอ พชอ./ทีมแกนนำพัฒนาคุณภาพโครงการระดับตำบล ร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกรอบและตัวชี้วัดการประเมิน (Ottawacharter)

2) ผู้เข้าร่วมกำหนดขอบเขต
check_circle

ทีมประเมิน M&E เขต 9 กับ ทีมระดับเขต/ทีมระดับพื้นที่อำเภอ พชอ./ทีมแกนนำพัฒนาคุณภาพโครงการระดับตำบล

3) เครื่องมือที่ใช้
check_circle

ประเด็นสนทนากลุ่ม

ส่วนที่ 1 ปัจจัยนำเข้า Input 1. คน กลุ่มคนหรือเครือข่ายภาคีหลักที่เข้ามามีส่วนร่วมกับโครงการมีใคร/หน่วยงานใดบ้าง เข้ามามีส่วนร่วมอย่างไร 2. คน กลุ่มคน เครือข่ายที่เป็นภาคียุทธศาสตร์ ที่มีบทบาทหรืออิทธิพลต่อความสำเร็จของโครงการ มีใครบ้าง มีบทบาทอย่างไร 3. ทรัพยากรที่ใช้ในโครงการมีอะไรบ้าง ได้มาจากไหน อย่างไร 4. งบประมาณที่ใช้ในโครงการมาจากไหน จำนวนเท่าไหร่ อย่างไร 5. ทุนทางสังคมที่มีส่วนสำคัญต่อการดำเนินงานโครงการมีอะไรบ้าง นำมาใช้อย่างไร 5.1 ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ในชุมชน 5.2 วัฒนธรรม วิถีชีวิตที่มีอยู่ในชุมชน 5.3 ภูมิปัญญาที่มีอยู่ในชุมชน 5.4 เศรษฐกิจของชุมชน 6. มีข้อมูลอะไรบ้างที่นำมาใช้ในการดำเนินงานโครงการ ใช้อย่างไร (ข้อมูลสุขภาวะชุมชน ข้อมูลแผนชุมชน แผนงานของหน่วยงานท้องถิ่น แผนงานหน่วยงานรัฐ ข้อมูลจาก สสส. ฯลฯ)

ส่วนที่ 2 กระบวนการ (Process) 1. ในการดำเนินโครงการมีการสร้างทีมหรือคณะทำงานอย่างไร 2. มีการพัฒนาหลักสูตรในการติดตามสนับสนุนในการดำเนินโครงการอะไร อย่างไรบ้าง 3. มีการสร้างทีมประสานงานระดับเพื่อพัฒนาพี่เลี้ยงหรือไม่ อย่างไร 4. ทีมประสานงานหรือพี่เลี้ยงได้มีการพัฒนาศักยภาพกรรมการกองทุน ผู้รับผิดชอบโครงการ และผู้เสนอโครงการ อย่างไรบ้าง 5. ทีมประสานงานระดับเขตมีการหนุนเสริมทำความเข้าใจและความร่วมมือกับ พชอ. อย่างไร 6. ทีมประสานและพี่เลี้ยงมีการหนุนเสริมการทำงานอย่างไรบ้าง (จัดทำแผน พัฒนาโครงการ และติดตามประเมินผลโครงการ) 7. ทีมสนับสนุนมีการสรุปงานและวางแผนการทำงานร่วมกับ พชอ. หรือไม่ อย่างไร

ส่วนที่ 3 ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จตามกรอบ Ottawa Charter 1. จากการดำเนินงานโครงการ คนที่เข้าร่วมได้มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงศักยภาพดีขึ้นหรือไม่ อย่างไร (คนกลุ่มไหน มีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง) 2. ทำให้เกิดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการดำเนินงานโครงการเพิ่มขึ้นหรือไม่ อย่างไร 3. การดำเนินงานทำให้เกิดนโยบายสาธารณะ หรือ กติกาชุมชนท้องถิ่น หรือไม่ อย่างไร 4. การดำเนินทำให้เกิดชุมชนท้องถิ่นเข้มแข็งหรือไม่ เกิดที่ไหน อย่างไร 5. การดำเนินงานทำให้เกิดระบบกลไกการทำงาน หรือระบบการทำงานใหม่ ที่เหมาะสมในการขับเคลื่อนงานหรือไม่ อย่างไร

    ส่วนที่ 4 ผลผลิต (Output) 1. การดำเนินงานทำให้กองทุนตำบล มีแผนการดำเนินงานตามประเด็นปัญหา หรือไม่ อย่างไร 2. โครงการที่ของบประมาณจากกองทุนเป็นโครงการที่มีคุณภาพ สอดคล้องกับปัญหาความต้องการของพื้นที่ หรือไม่อย่างไร 3. กองทุนระดับตำบลมีระบบติดตามประเมินผลที่ชัดเจนหรือไม่ อย่างไร (แบบ Online Offline)

ส่วนที่ 5 Outcome and Impact 1. พชอ. เกิดบูรณาการจำแนกตามประเด็นจากแผนของแต่ละกองทุน หรือไม่อย่าไร 2. การดำเนินโครงการระดับอำเภอมีการบูรณาการร่วมกัน หรือไม่อย่างไร 3. พชอ. มีฐานข้อมูลและแผนงานระดับตำบลและอำเภอ หรือไม่ อย่างไร 4. สถานการณ์ระบบสุขภาพชุมชนดีขึ้น หรือไม่ อย่างไร

แบบสัมภาษณ์เจาะลึกกลไก พชอ./กลุ่มเครือข่าย (In-depth interview guideline) 2 คำถามในการสัมภาษณ์กลุ่มกลไก/กลุ่มเครือข่าย 1) ท่านมีบทบาทต่อการพัฒนาศักยภาพทีมกลไก ระดับเขต ระดับพื้นที่ อย่างไร 2) มีกลไก กระบวนการ จัดคลินิกให้คำปรึกษาการพัฒนาแผน โครงการ และการใช้ระบบพัฒนาโครงการและการติดตาม ประเมินผลโครงการของกองทุน อย่างไร 3) การดำเนินการพื้นที่บูรณาการการสร้างเสริมสุขภาวะในกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ 4) จุดเด่นของการดำเนินงานคืออะไร 5) จุดที่ต้องพัฒนา ปรับปรุงต่อไปคืออะไร 6) ปัญหา อุปสรรคในการดำเนินงานคืออะไร 7) แนวทางการแก้ไข ปัญหา อุปสรรค ทำอย่างไร

4) กรอบแนวคิด

1) ใช้กรอบ Ottawa charter
check_circle
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดเครื่องมือกลุ่มผู้ให้ข้อมูล
Ottawacharter
  1. ความรู้ 2) ทักษะ 3) ทัศนคติ
  1. แบบสัมภาษณ์ แบบสำรวจ ประเด็นสนทนากลุ่ม
  1. ผู้รับผิดชอบเขต 9 พี่เลี้ยงระดับพื้นที่ กลไกพื้นที่ พชอ. คณะกรรมการกองทุนตำบล ผู้รับผิดชอบโครงการ
สภาพแวดล้อมที่เอื้อ
  1. 1) ระบบฐานข้อมูล 2)ความร่วมมือของภาคี 3)กิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ 4) แผนงาน โครงการ นโยบายที่สอดคล้องกับพื้นที่
  1. แบบสัมภาษณ์ และสนทนากลุ่ม
  1. กลไกพื้นที่ พชอ. พชต. คณะกรรมการกองทุนตำบล และผู้รับผิดชอบโครงการระดับพื้นที่กองทุน
นโยบายสาธารณะชุมชน
  1. อาหารปลอดภัย โรคไข้เลือดออกระดับครัวเรือนสู่ชุมชน 1 นโยบาย 1 พื้นที่กองทุน
  2. เกิดนโยบายสาธารณะชุมชน เกี่ยวกับ เรื่อง อาหารปลอดภัย การป้องกันยาเสพติด อุบัติเหตุทางถนน โรคพิษสุนัขบ้า
  1. สังเกตการณ์ สัมภาษณ์เชิงลึก สนทนากลุ่ม
  1. กลไกพื้นที่ พชอ. พชต. คณะกรรมการกองทุนตำบล และผู้รับผิดชอบโครงการระดับพื้นที่กองทุน
ชุมชนเข้มแข็ง
  1. ค่า HI ในชุมชนเฉลี่ย = 10.39 (เกณฑ์ HI < 5)  ค่า CI ในโรงเรียนเฉลี่ย=0 ตำบลต้นแบบชุมชนอาหารปลอดภัย,และ 1-2 ชุมชน/รพสต.= 3.70 (เกณฑ์ CI = 0)
  1. แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์เชิงลึก สนทนากลุ่ม
  1. กลไกพื้นที่ พชอ. พชต. คณะกรรมการกองทุนตำบล และผู้รับผิดชอบโครงการระดับพื้นที่กองทุน
มีกลไก ระบบ กระบวนการ
  1. บูรณาการความร่วมมือทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคประชาชน (บวร.ร)
  1. แบบสำรวจ แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์
  1. กลไกพื้นที่ พชอ. พชต. คณะกรรมการกองทุนตำบล และผู้รับผิดชอบโครงการระดับพื้นที่กองทุน
2) ใช้กรอบ ปัจจัยกำหนดสุขภาพ
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดเครื่องมือกลุ่มผู้ให้ข้อมูล
3) ใช้กรอบ Balance Score Card
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดเครื่องมือกลุ่มผู้ให้ข้อมูล
4) ใช้กรอบ CIPP
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดเครื่องมือกลุ่มผู้ให้ข้อมูล
5) อื่นๆ
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดเครื่องมือกลุ่มผู้ให้ข้อมูล

3. ลงมือประเมิน

check_circle

ทีมประเมินร่วมกับกลไกพื้นที่ พชอ. ลงพื้นที่ร่วมเรียนรู้กับพื้นที่กองทุนตำบล

1) กระบวนการเก็บข้อมูลโดยการมีส่วนร่วม (ระบุรายละเอียด)
check_circle

ในกระบวนการเก็บข้อมูลใช้เครื่องมือในการเก็บข้อมูลแบบมีส่วนร่วมโดยใช้เครื่องมือดังนี้ 1) การสัมภาษณ์เชิงลึก 2) การสนทนากลุ่ม 3) การสังเกต 4) แบบสำรวจ

2) กระบวนการวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูล (ระบุรายละเอียด)
check_circle

วิเคราะห์ตามกรอบประเมินOttawacharter โดยทีมประเมิน เขต 9

3) ผู้มีส่วนร่วมในการประเมิน (ระบุรายละเอียด)
check_circle

ผู้ส่วนร่วมในการประเมินประกอบด้วย 1) ทีมประเมิน 2) ผู้ประสานงาน 3) ทีมพี่เลี้ยง และ 4) ทีมกลไกอำเภอ (พชอ.)

4) ผลการประเมิน (เรียงตามตัวชี้วัดที่กำหนดในขั้นตอน scoping)

Ottawacharter 1. ศักยภาพคน ผลประเมิน ความรู้และความเข้าใจการเขียนโครงการ และการสร้างโครงการในเว็บไซต์
2. สภาพแวดล้อม ผลประเมิน 2.1 มีระบบข้อมูล 25 แผนงาน 2.2 การเกิดภาคีความร่วมมือ 3 ส่วน ได้แก่ กลไก พชอ. พชต.คณะกรรมการกองทุนระดับท้องถิ่น พี่เลี้ยงกองทุน แกนนำพัฒนาคุณภาพโครงการระดับท้องถิ่น 2.3 กิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ 25 แผนงาน 4) แผนงาน โครงการ นโยบายที่สอดคล้องกับพื้นที่ เกี่ยวกับประเด็นปัญหาเพื่อการพัฒนาปี 2563 เดิมมีทั้งสิ้น 4 เรื่อง คือ 1. เรื่อง อาหารปลอดภัย 2. เรื่อง การป้องกันยาเสพติด 3. เรื่อง อุบัติเหตุทางถนน 4. เรื่อง โรคพิษสุนัขบ้า มีประเด็นเพิ่ม จากเดิมอีก 2 เรื่องคือ1. เรื่อง มหัศจรรย์ 1000 วันแรกแห่งชีวิต 2. เรื่อง ไข้เลือดออก 3. นโยบายสาธารณะชุมชน ระดับอำเภอสู่กองทุนระดับท้องถิ่น เกี่ยวกับ
3.1) ด้านการควบคุมป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า แผนพัฒนางานเชิงระบบ • ผลักดันให้เกิดการใช้กลไกคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตในระดับตำบล(พชต.) เพื่อแก้ไขปัญหาโรคพิษสุนัขบ้าในชุมชน (นาดี แกใหญ่ บุฤาษี นาบัว ตระแสง สลักได และนอกเมือง) • ผลักดันการสร้างกติกาในชุมชน การบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับโรคพิษสุนัขบ้าที่ประชาชนมีส่วนร่วมโครงการสัตว์ปลอดโรคคนปลอดภัยจากโรคพิษสุนัขบ้า ตามพระปณิธาน ศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี อาศัยกลไกคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) ดำเนินงานต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2561-ปัจจุบัน ระยะเวลา 3 ปีงบประมาณ แผนพัฒนาเชิงระบบผลักดันให้ใช้กลไก พชต. ในระบบตำบลเพื่อแก้ปัญหาโรคพิษสุนัขบ้า และการสร้างกติกาชมชุนภายใต้การมีส่วนร่วมของประชาชน ผลการดำเนินงานด้านสัตว์พาหะนำโรค : พบว่าสัตว์ติดเชื้อพิษสุนัขบ้ามีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง ผลการฉีดวัคซีนป้องกันโรคในสัตว์ โดยอปท. มีความครอบคลุมเกือบ 100 เปอร์เซ็นต์ โดยมีแผนจะพัฒนาด้านระบบห่วงโซ่ความเย็นวัคซีนในสัตว์ให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้นและอสม.มีส่วนร่วมในการสำรวจจำนวนประชากรสัตว์ซึ่งจะทำให้ข้อมูลมีความถูกต้องและครอบคลุมมากยิ่งขึ้น
ผลการดำเนินงานด้านคน มีระบบติดตามผู้สัมผัสให้ได้รับวัคซีนป้องกันโรคครบตามกำหนด ซึ่งผู้ที่สัมผัสสัตว์ติดเชื้อได้รับวัคซีนครบ 100 % และผู้สัมผัสกรณีปกติความครอบคลุมมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น มีแผนพัฒนางานด้าน Health Literacy โดยวิเคราะห์จากข้อมูลการสำรวจปีก่อนๆ และมุ่งเน้นให้ตรงประเด็นที่ต้องมีการพัฒนา เพื่อให้ประชาชนเกิดความตระหนักในความรุนแรงของโรค และความรับผิดชอบต่อสังคม 3.2) ด้านอุบัติเหตุทางถนน มีการบริหารจัดการข้อมูลและบูรณาการข้อมูล 3 ฐานและนำเสนอต่อศูนย์อำนวยการความ ปลอดภัยทางถนนจังหวัด/อำเภอ มีการวิเคราะห์สถานการณ์/ปัจจัยเสี่ยง การเกิดอุบัติเหตุทางถนนในระดับจังหวัด : อำเภอเมืองสุรินทร์ มีการใช้และวิเคราะห์ข้อมูลสถานการณ์อุบัติเหตุ จากข้อมูลจาก แหล่งข้อมูลที่สำคัญคือ จากระบบข้อมูล Program IS ข้อมูลจากศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน สำหรับบทบาทการวิเคราะห์ข้อมูลอุบัติเหตุในสถานการณ์ปกติ เป็นของหน่วยงานสังกัดสาธารณสุข โดยนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อชี้เป้าปัญหาในเวที คณะทำงานDHS/พชอ.ระดับอำเภอ โดยมีการกำหนดประชุมทุกเดือน สำหรับในกรณีที่ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษได้แก่เทศกาลที่สำคัญ กำหนดให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรายงานสถานการณ์ตามบทบาท ยุทธศาสตร์ 5 E
- ตั้งจุดตรวจและตรวจวัดระดับแอลกอฮอล์ มีท้องถิ่นตั้งด่านตรวจช่วยกันคัดกรองในชุมชนอีกชั้น
- ปรับปรุงถนนหนทาง และระบบจราจร ป้าย สัญญาณ ไฟจราจร อีกทั้งจัดจุดบริการเคลื่อนที่เร็ววิเคราะห์ สาเหตุและพฤติกรรมเสี่ยง
- ประชาสัมพันธ์ โดยประชาสัมพันธ์จังหวัด สถานีวิทยุกระจายเสียง วิทยุชุมชน สถานศึกษาทุกเขต หน่วยงานทุกหน่วยทั้งภาครัฐและเอกชน เร่งให้ข้อมูล ความรู้ประชาชนดูแลรักษาสุขภาพ และร่วมส่งเสริมคงไว้ ซึ่งศิลปวัฒนธรรมไทยอันดีงาม - เตรียมความพร้อมรับสถานการณ์ ให้บริการรักษาพยาบาลแก่ผู้บาดเจ็บ ผู้ป่วยฉุกเฉิน อย่างเต็มศักยภาพ ตั้งแต่การบริการผู้ป่วย ณ จุดเกิดเหตุ โทรศัพท์หมายเลข 1669 การบริการในโรงพยาบาลทุกหน่วย คือ อุบัติเหตุฉุกเฉิน ICU ห้องผ่าตัด คลังเลือด และหอผู้ป่วยสำรองเตียงรองรับ - รวบรวมข้อมูลจากทุกตำบล อำเภอให้หน่วยบริการสาธารณสุขทุกหน่วย ส่งข้อมูลผู้บาดเจ็บผู้เสียชีวิตจาก อุบัติเหตุทางถนน รายงานวันต่อวัน นอกจากนี้ยังต้องส่งข้อมูลผ่านเว็บ ให้กับศูนย์นเรนทรเพื่อรายงานข้อมูลผู้บาดเจ็บ ผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนระดับชาติ และภาคส่วนต่าง ๆ เข้าร่วมประชุม รายงานผลการดำเนินงานเฝ้าระวัง เพื่อหารือแก้ไขปัญหาวันต่อวันเช่นกัน 2. อำเภอเมืองสุรินทร์มีการดำเนินการแก้ไขจุดเสี่ยงและวิเคราะห์จุดเสี่ยงในพื้นที่ 33 จุดเสี่ยง 2.1 มีการดำเนินการแก้ไขจุดเสี่ยง อย่างไรบ้าง จังหวัดสุรินทร์ได้มีการอนุมัติแผนบูรณาการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาล 2559 มีการกำหนดช่วงเวลาการดำเนินการ 2 ช่วง คือ
  ช่วงที่ 1 มีการเตรียมความพร้อมและช่วงการรณรงค์
  ช่วงที่ 2 มีการควบคุมเข้มข้น ในช่วงเทศกาลปีใหม่ เทศกาลสงกรานต์ เป็นช่วงเวลาที่มีประชาชนจำนวนมากใช้รถใช้ถนนในการเดินทางสัญจรกลับภูมิลำเนาและพาครอบครัวสังสรรค์ รื่นเริงและท่องเที่ยว ทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุทางถนนสูงกว่าช่วงปกติ โดยเฉพาะจังหวัดสุรินทร์ เป็นจังหวัดที่มีการคมนาคมที่สำคัญ จังหวัดหนึ่ง เนื่องจากมีเส้นคมนาคมตามทางหลวงแผ่นดินสายหลัก ได้แก่ ถนนโชคชัย-เดชอุดม (หมายเลข 24) ถนนกาฬสินธุ์-ช่องจอม (หมายเลข 214) ถนนนครราชสีมา-อุบลราชธานี (หมายเลข 226) ซึ่งสามารถเดินทางไปยังจังหวัดต่าง ๆ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นผลทำให้ปริมาณการใช้รถใช้ถนนบนถนนสายต่าง ๆ มีเป็นจำนวนมาก และมีการเกิดอุบัติเหตุทางถนนสูงกว่าช่วงปกติ 3. สนับสนุนการดำเนินการ ร่วมดำเนินมาตรการชุมชน และ “ด่านชุมชน” ให้ บุคลากรสาธารณสุข/อสม. อปท. มีส่วนร่วมดำเนินการอย่างจริงจัง 3.1. การตั้งจุดด่านตรวจ/ด่านตรวจร่วมแบบบูรณาการร่วมกับทีมสหสาขาวิชาชีพ ในช่วงเทศกาลปีใหม่ เทศกาลสงกรานต์ (รวม 7 วันอันตราย) ประกอบด้วย 5 จุดตรวจหลัก และจุดตรวจรอง ดังนี้ ในระดับอำเภอมีคำสั่งของศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน บูรณการตั้งด่านชุมชนในพื้นที่ช่วงเทศกาลปีใหม่ และเทศกาลสงกรานต์ โดยใช้หลัก ๓ ต. ได้แก่ การเตรียม การจัดตั้ง การติดตามประเมินผล อำเภอเมืองสุรินทร์ขับเคลื่อนการตั้งด่านชุมชนในพื้นที่
1. จุดตรวจหลัก 5 แห่ง ได้แก่   1. จุดตรวจคอโค  ถ.สุรินทร์-บุรีรัมย์ (กม.๑)   2. จุดตรวจตู้ยามบ้านน้อย    ถ.สุรินทร์-ศีขรภูมิ (กม.10)   3. จุดตรวจบ้านแจรน ม.5 ต.ตาอ็อง  ถ.สุรินทร์-สังขะ (กม.16)   4. จุดตรวจแยกวนอุทยานพนมสวาย  ถ.สุรินทร์-ปราสาท (กม.14)   5. จุดตรวจหน้าอบต.เพี้ยราม    ถ.สุรินทร์-เมืองลีง (กม.23) 2. จุดตรวจรอง (ด่านชุมชน) 17 แห่ง ได้แก่   1.จุดตรวจ อบต.เทนมีย์ 2.จุดตรวจ อบต.ตาอ็อง   3.จุดตรวจ อบต.บุฤาษี 4.จุดตรวจ อบต.แกใหญ่
  5.จุดตรวจ อบต.นาดี 6.จุดตรวจ อบต.ท่าสว่าง
  7.จุดตรวจ อบต.แสลงพันธ์ 8.จุดตรวจ อบต.คอโค   9.จุดตรวจ อบต.สวาย 10.จุดตรวจ อบต.ตระแสง   11.จุดตรวจ อบต.ตาอ็อง 12.จุดตรวจ อบต.นอกเมือง   13.จุดตรวจ อบต.กาเกาะ 14.จุดตรวจ อบต.ราม   15.จุดตรวจ อบต.เพี้ยราม 16.จุดตรวจ อบต.เฉนียง   17.จุดตรวจ อบต.สลักได 3.2. ผลการดำเนินการด่านชุมชนของอำเภอเป็นอย่างไรบ้าง ทั้งเทศกาลปีใหม่ และสงกรานต์การตั้งจุดตรวจในช่วงเทศกาลปีใหม่ เทศกาลสงกรานต์ 1. ตามคำสั่งอำเภอเมืองสุรินทร์ เรื่อง แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ประจำด่านตรวจ/จุดตรวจตามแผนปฏิบัติการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลปีใหม่ เทศกาลสงกรานต์ 2. มาตรการเฝ้าระวัง 7 วันอันตรายโดยการตั้งจุดตรวจ 5 จุดตรวจหลักและจุดตรวจรองในชุมชนโดยในความรับผิดชอบของ อบต./ผู้นำหมู่บ้าน ในแต่ละพื้นที่อำเภอเมืองสุรินทร์ 3. กรณีผู้ประสบอุบัติเหตุและเสียชีวิต ในเขตอำเภอเมือสุรินทร์ มีการลงสอบสวนอุบัติเหตุร่วมกับทีม SRRT 4. ใช้มาตรการเข้มงวดกับกม.แอลกอฮอล์ และเพิ่มกรณีเมาแล้วขับ จับคุมประพฤติ 5. ติดป้าย หรือ สิ่งบ่งชี้ว่าเริ่มเข้าเขตชุมชน ให้ชะลอความเร็ว

3.3) ผลการดำเนินงานอาหารปลอดภัย ปี 63 ต.ท่าสว่าง เป็นตำบลต้นแบบชุมชนอาหารปลอดภัย,และ 1-2 ชุมชน/รพสต.ตลาดนัดเทนมีย์ เป็นตลาดน่าซื้อ, ตรวจ Testkid ในอาหาร 59 ตย.ผ่าน 100% กระบวนการดำเนินงาน - ประกาศ, ถ่ายทอดนโยบายพชอ.ชุมชนอาหารปลอดภัยและทบทวนคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงาน - ประชุมและคัดเลือกชุมชนต้นแบบเชิงบูรณาการอย่างน้อย 1 รพสต./1-3ชุมชน ยกเว้นตำบลท่าสว่าง ครอบคลุมทั้งตำบล - วิเคราะห์ปัญหา วางแผนการดำเนินงานจัดทำแผนแบบบูรณาการ - พัฒนาศักยภาพเครือข่าย
- บูรณาการความร่วมมือทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคประชาชน (บวร.ร) - ติดตามกำกับดูแล ประเมินผล ถอดบทเรียนทั้งก่อนและหลังเข้าร่วมโครงการ
3.4) สรุปผลการดำเนินงานการป้องกันปราบปรามยาเสพติด 1. ร้อยละของผู้ป่วยยาเสพติดที่บำบัดครบตามเกณฑ์ที่กำหนดของแต่ละระบบได้รับการติดตามดูแลต่อเนื่อง1 ปี เท่ากับ ร้อยละ 61.09(920 ราย) (เป้ามากกว่าหรือเท่ากับ50) 2. ร้อยละของผู้ป่วยยาเสพติดกลุ่มเสี่ยงก่อความรุนแรงได้รับการประเมินบำบัดรักษาและติดตามดูแลช่วยเหลือตามระดับความรุนแรงอย่างต่อเนื่อง ปี 2563 เท่ากับร้อยละ 66.67 (24ราย) (เป้ามากกว่าหรือเท่ากับ 60)   โดยมี 3.มาตรการที่สำคัญ 1. มีมาตรการส่งเสริมป้องกัน ระดับโรงเรียน ชุมชน สถานประกอบการ
2. ผู้ป่วยเข้าถึงบริการบำบัดรักษาตามสิทธิผู้ป่วย แทนการลงโทษความผิด เน้น สมัครใจและกึ่งสมัครใจ ตาม คสช.108/2557
3. เสริมสร้างการมีส่วนร่วมในการจัดบริการด้านการบำบัดรักษา ฟื้นฟู ติดตาม ผู้ติดยาเสพติดโดยชุมชนมีส่วนร่วม (CBTx) และลดอันตรายจากการใช้ยา (Harm Reduction) 4. .พัฒนาระบบบริการบำบัดรักษา ฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดให้มีคุณภาพมาตรฐาน(HA ยาเสพติด)โรงพยาบาลสุรินทร์ ได้รับการรับรองคุณภาพ (HA ยาเสพติด)
5. บุคลากรผู้ปฏิบัติงานบำบัดรักษามีความรู้ความชำนาญตามมาตรฐานวิชาชีพ 6.สนับสนุนการดำเนินงานโครงการพระราชดำริ (โครงการ TO BE NUMBER ONE) ทั้งในชุมชน สถานศึกษาและสถานประกอบการ
7. มีแผนงานโครงการการดำเนินงานยาเสพติด เช่น โครงการชุมชนบำบัดยาเสพติด (CBTx) และอำเภอ TO BE NUMBER ONE CUP อำเภอเมืองสุรินทร์ ปี 2563 โครงการบำบัดรักษาฟื้นฟู สมรรถภาพผู้ป่วยยาเสพติดในชุมชน (Community Base Treatment and care) อำเภอเมืองสุรินทร์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๓
8. โครงการนิเทศติดตามงาน ป้องกัน และแก้ไขปัญหายาเสพติดและ TO BE NUMBER ONE Cup อำเภอเมืองสุรินทร์
9. จัดกิจกรรม การสร้างจิตอาสาด้านยาเสพติด ในชุมชน และ โรงเรียน
10.รายการวิทยุรายการยาระบายสวท.สุรินทร์ ทุกวันจันทร์ 20.30-21.30 น. FBLive 20.30-22.00น
11. เป็นวิทยากรพี่เลี้ยง ให้กับ เจ้าหน้าที่รพ.สต. 12. จัดกิจกรรมการดำเนินงานลดอันตรายจากการใช้สารเสพติด(Harm Reduction) ในชุมชนและ โรงเรียน
13. มีแนวทางการบำบัดรักษา ผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติดที่ชัดเจน 14 ผลักดันการดำเนินงานบำบัดรักษาและฟื้นฟู ผู้ป่วยยาเสพติด โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน (CBTx) 15. การจัดกิจกรรมรณรงค์ต่อต้านภัยยาเสพติดในโรงเรียนและชุมชน
16. สนับสนุนการสร้าง TO BE NUMBER ONE IDOL ในระดับภาคตะวันออกเฉียงเหนือและระดับประเทศ ซึ่งในปีนี้ มี ผู้เข้าประกวดคือ นายอภิสิทธิ์ อุส่าห์ดี (น้องนินจา) ซึงได้รับรางวัล TO BE NUMBER ONE IDOL รอง ชนะเลิศอันดับที่ ๒ ระดับประเทศ
17. จัดตั้งคณะกรรมการอำเภอ TO BE NUMBER ONE
18. สนับสนุนให้โรงเรียน สถานศึกษา จัดกิจกรรมหรือโครงการที่เป็นพื้นที่เชิงบวกให้เยาวชนได้ฝีกทักษะ ให้มีกล้าคิด กล้าทำ กล้าแสดงออกในทางที่ถูกต้องและเสริมศักยภาพที่ดีในตัวเยาวชนเช่น จัดโครงการ TO BE NUMBER ONE THANK YOU ที่ห้างสรรพสินค้า โรบินสัน มีเด็กไปร่วมงาน 200 คน
19. โครงการพัฒนาระบบบริหารจัดการด้านการบำบัด รักษา ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติด (สนับสนุนการติดตามดูแลฟื้นฟูผู้เสพผู้ติดที่ผ่านการบำบัดรักษายาเสพติด ติดตามผู้ป่วยที่ผ่านการ บำบัดรักษายาเสพติดและกลุ่มเสี่ยงที่มีประวัติเสพยาเสพติด)
20. โครงการนิเทศติดตามงาน ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด และ To be number one Cup อำเภอเมืองสุรินทร์   นายอำเภอเมืองสุรินทร์ได้มีการบูรณาการงานยาเสพติดเข้ากับคณะกรรมการศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดอำเภอเมืองสุรินทร์ โดยมีปลัดอำเภอเมืองสุรินทร์เป็นประธานและได้มีการลงนามแต่งตั้ง คกก.ระดับตำบลรองรับการดำเนินงานในระดับพื้นที่โดยมีนายกอบต.กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้อำนวยการสถานศึกษาพระภิกษุ อสม.แกนนำชุมชนเป็นคณะกรรมการฯมีการประชุมเพื่อวิเคราะห์สถานการณ์สุขภาพ กำหนดประเด็นการพัฒนาวางแผนการพัฒนางานยาเสพติดแบบบูรณาการทุกภาคส่วนร่วมเยี่ยมเสริมพลัง ประชุมโต๊ะข่าว ประชุมสรุปผลการดำเนินงานในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง - คำสั่งคณะกรรมการ พชอ.เมืองสุรินทร์ - คำสั่งคณะกรรมการศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดอำเภอเมืองสุรินทร์
- คำสั่งคณะกรรมการพชต.เฉนียง   มีการวางแผนกำหนดกิจกรรมเชิงบูรณาการร่วมกันตามกลวิถี “พลังประชารัฐ ” มีการร่วมดำเนินการตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ ได้มีการสรุปผลการดำเนินงานร่วมกันในที่ประชุมระดับอำเภอ และตำบล ได้ทำการถอดบทเรียนจากปัญหาอุปสรรคของการดำเนินงานรอบที่ 1-3 เพื่อการปรับปรุงวิธีทำงานร่วมกันในไตรมาส 4 ซึ่งแกนนำชุมชน ภาคีเครือข่ายในพื้นที่ได้มาร่วมรับรู้ แสดงความคิดเห็นร่วมสามารถขับเคลื่อนงานได้ตามแผน ส่งผลให้การเกิดหมู่บ้านเข้มแข็งได้พื้นที่คือหมู่ 5 บ้านสก็อม หมู่ 12 บ้านกะทม ปี 2562-2563 ปี 2563 หมู่ 9 บ้านกรอน ต.เฉนียง อ.เมืองสุรินทร์ จ.สุรินทร์   คณะกรรมการฯได้มีการประชุมบูรณาการแผนงานโครงการร่วมกัน จึงเกิดกระบวนการใช้ทรัพยากรร่วมกันดังนี้
ด้านบุคลากร : กำนัน ผู้ใหญ่ มาลงพื้นที่สำรวจชุมชนให้ข้อมูลชุมชน ร่วมกับบุคลากรจาก ร.พ.สุรินทร์ รพ.สต.ในพื้นที่หมู่ 9 บ้านกรอน ต.เฉนียง จำนวน 310 หลังคาเรือน - ตำรวจ และ อสม. ออกช่วย รพ.สต.ตรวจคัดกรองสุขภาพ รณรงค์ประชาสัมพันธ์ในพื้นที่ จำนวน 7 ครั้ง - ครู พระภิกษุ กำนัน ร่วมเป็นวิทยากรค่ายบำบัดในชุมชนให้กับรพ.สุรินทร์ จำนวน 1 รุ่น
- ตำรวจ ทำหน้าที่สอนทักษะการปฏิเสธและการสร้างภูมิคุ้มกันด้านยาเสพติดในสถานศึกษา ให้กับสถานศึกษา 10 ร.ร./สภ - ครู นักเรียน อบต.จัดกิจกรรม TO BE NUMBER ONE กีฬาเชื่อมความสัมพันธ์ในหมู่บ้านร่วมกับชุมชน จำนวน 1 ครั้ง
ด้านงบประมาณ : อบต.ได้มีการสนับสนุนงบประมาณให้กับอสม. ประชาชน และรพ.สต.เฉนียง ในการดำเนินงานหมู่บ้านเข้มแข็งปลอดภัยจากสารเสพติด แต่เนื่องจากมีสถานการณ์โรคระบาด covid-19 จึงได้มีการใช้งบประมาณจาก สสจ.สุรินทร์แทน ด้านวัสดุอุปกรณ์ : สถานศึกษา อบต. สนับสนุนรถยนต์ เครื่องเสียงให้กับกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ชุมชน ในการออกรณรงค์ ประชาสัมพันธ์เรื่องยาเสพติดในพื้นที่ทุกครั้งที่มีแผนออกรณรงค์นอกจากนี้ยังได้มีการพัฒนาศักยภาพบุคลากรสาธารณสุขด้านการบำบัดรักษายาเสพติด หลักสูตร CBTx 1 วันและการฝึกเป็นวิทยากรจิตอาสาค่ายบำบัดในชุมชน1 วัน
5) ประเด็นไข้เลือดออกเข้าใน พชอ.อำเมืองสุรินทร์ พบว่า ผลการดำเนินงานโรคไข้เลือดออก อำเภอเมืองสุรินทร์ ปีงบประมาณ 2563 โดยเน้น 5 มาตรการ ดังนี้ 1) เฝ้าระวังการเกิดโรค ค้นหา/เฝ้าระวังผู้ป่วยที่มีอาการ
2) กำจัดยุงตัวเต็มวัย
3) สำรวจ กำจัดลูกน้ำยุงลาย และทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ 4) ป้องกันตนเองไม่ให้ถูกยุงกัด (กรณีรายที่มีอาการไข้ ควรทาโลชั่นกันยุง)
5) สื่อสารความเสี่ยง ประชาสัมพันธ์สร้างความตระหนักและเฝ้าระวังสังเกตอาการ   กระบวนการทำงาน จัดประชุมการดำเนินงานควบคุมโรคไข้เลือดออก ตามมาตรการ 3-3-1 ให้กับรพ.สต./ศสม. และ อปท.
เตรียมความพร้อมและสื่อสารแนวทางการแก้ไขปัญหาในการวินิจฉัย รักษา และพยาบาลผู้ป่วย ให้แพทย์ พยาบาล และบุคลากรที่เกี่ยวข้อง รพ.สุรินทร์ ทบทวนและแต่งตั้ง คกก. และ คทง. ด้านการวินิจฉัย ดูแลรักษาผู้ป่วย และการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคไข้เลือดออก อำเภอเมืองสุรินทร์ ดำเนินการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออกในสถานศึกษาก่อนการระบาด ดำเนินการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออในสถานศึกษาช่วงปิดเทอม และพ่นหมอกควันก่อนเปิดภาคเรียน สื่อสารและประชาสัมพันธ์การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก (จัดโดยเทศบาลเมืองสุรินทร์) แก่แกนนำสุขภาพและ อสม. เขตเทศบาลเมืองสุรินทร์ เตรียมความพร้อมและสื่อสารแนวทาง/คู่มือการวินิจฉัย ดูแล รักษาผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก และนิยามการเฝ้าระวังโรคติดต่อนำโดยยุงลาย ให้แพทย์ พยาบาล และบุคลากรที่เกี่ยวข้อง รพ.สุรินทร์ รณรงค์และประชาสัมพันธ์ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออกในช่วงวันไข้เลือดออกอาเซียน ดำเนินงานตามมาตรการเฝ้าระวัง ฯ โรคติดต่อนำโดยยุงลายเชิงรุกในพื้นที่ เทศบาลเมืองสุรินทร์ ร่วมกับ รพ.สุรินทร์ รณรงค์ สำรวจ กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย และพ่นหมอกควัน ในชุมชน วัด โรงเรียน เขตเทศบาลเมืองสุรินทร์
ค่า HI ชุมชนเฉลี่ย = 20.11, ค่า CI วัดเฉลี่ย = 23.33, ค่า CI โรงเรียนเฉลี่ย = 11.98 ประชุมการเฝ้าระวังโรคติดต่อในสถานศึกษาและชุมชน เขตเทศบาลเมืองสุรินทร์ ร่วมกับเทศบาลเมืองสุรินทร์ และ ศสม ทั้ง 4 แห่ง

  1. ชุมชนเข้มแข็ง
      4.1 ประเด็นโรคพิษสุนัขบ้า สร้างกติกาในชุมชน การบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับโรคพิษสุนัขบ้าที่ประชาชนมีส่วนร่วมโครงการสัตว์ปลอดโรคคนปลอดภัยจากโรคพิษสุนัขบ้า ตามพระปณิธาน ศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี อาศัยกลไกคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.)
      4.2 ประเด็นอุบัติเหตุทางถนน มาตรการชุมชน และ “ด่านชุมชน” ให้บุคลากรสาธารณสุข/อสม./อปท./แกนนำชุมชน มีส่วนร่วมดำเนินการในพื้นที่   4.3 ประเด็นอาหารปลอดภัย ต.ท่าสว่าง เป็นตำบลต้นแบบชุมชนอาหารปลอดภัย,และ 1-2 ชุมชน/รพสต.ตลาดนัดเทนมีย์ เป็นตลาดน่าซื้อ   4.4 ประเด็นยาเสพติด แกนนำชุมชน ภาคีเครือข่ายในพื้นที่ได้มาร่วมรับรู้ แสดงความคิดเห็นร่วมสามารถขับเคลื่อนงานได้ตามแผน ส่งผลให้การเกิดหมู่บ้านเข้มแข็งได้พื้นที่คือหมู่ 5 บ้านสก็อม หมู่ 12 บ้านกะทม หมู่ 9 บ้านกรอน ต.เฉนียง อ.เมืองสุรินทร์ จ.สุรินทร์   4.5 ประเด็นไข้เลือดออก มี มาตรการ “3 เก็บ ป้องกัน 3 โรค” อย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี โดยดำเนินการครอบคลุมพื้นที่บ้าน ชุมชน วัด โรงเรียน สถานที่ราชการ สถานประกอบการ และสถานที่สาธารณะ

5.มีกลไก ระบบ กระบวนการ ทั้ง 5 ประเด็น นโยบายสาธารณะ มีการใช้ กลไกพชอ. พชต. ในพื้นที่ดำเนินงานกองทุน

ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดผลการประเมินหมายเหตุ
1. Ottawacharter (1) ใช้กรอบ Ottawa charter) ความรู้ 2) ทักษะ 3) ทัศนคติ

 

 

2. สภาพแวดล้อมที่เอื้อ (1) ใช้กรอบ Ottawa charter) 1) ระบบฐานข้อมูล 2)ความร่วมมือของภาคี 3)กิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ 4) แผนงาน โครงการ นโยบายที่สอดคล้องกับพื้นที่

 

 

3. นโยบายสาธารณะชุมชน (1) ใช้กรอบ Ottawa charter) อาหารปลอดภัย โรคไข้เลือดออกระดับครัวเรือนสู่ชุมชน 1 นโยบาย 1 พื้นที่กองทุน

 

 

4. นโยบายสาธารณะชุมชน (1) ใช้กรอบ Ottawa charter) เกิดนโยบายสาธารณะชุมชน เกี่ยวกับ เรื่อง อาหารปลอดภัย การป้องกันยาเสพติด อุบัติเหตุทางถนน โรคพิษสุนัขบ้า

 

 

5. ชุมชนเข้มแข็ง (1) ใช้กรอบ Ottawa charter) ค่า HI ในชุมชนเฉลี่ย = 10.39 (เกณฑ์ HI < 5)  ค่า CI ในโรงเรียนเฉลี่ย=0 ตำบลต้นแบบชุมชนอาหารปลอดภัย,และ 1-2 ชุมชน/รพสต.= 3.70 (เกณฑ์ CI = 0)

 

 

6. มีกลไก ระบบ กระบวนการ (1) ใช้กรอบ Ottawa charter) บูรณาการความร่วมมือทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคประชาชน (บวร.ร)

 

 

5) อื่นๆ
check_circle

ประเด็น พชอ.จากเดิมอีก 2 เรื่องคือ มีประเด็นเพิ่มเข้ามาในแผนการดำเนินงาน พชอ. ปี 63 จำนวน 2 เรื่อง ได้แแก่ 1. เรื่อง มหัศจรรย์ 1000 วันแรกแห่งชีวิต 2. เรื่อง ไข้เลือดออก โดยเฉพาะมีการผลักดันไปสู่นโยบายสาธารณะระดับท้องถิ่น

4. ทบทวนรายงานการประเมินว่าถูกต้องหรือไม่?

check_circle

เป็นกระบวนการตรวจสอบการดำเนินงานร่วมกันของ พชอ. เกี่ยวกับโครงการสร้างเสริมสุขภาวะในกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นพื้นที่

1) กระบวนการในการทบทวนรายงาน
check_circle

จัดเวทีระดับพื้นที่ มีการนำเสนอผลการดำเนินงานของพื้้นที่ในการขับเคลื่อนตามแผนการดำเนินงานของพชอ. ประเด็น โรคไข้เลือดออก และการจัดการขยะ โดยมีการแลกเปลี่ยน วิเคราะห์ และกำหนดเป็นข้อตกลงร่วมกันในปฏิบัติระดับพื้นที่สู่ตำบลและอำเภอ  ในเวทีมีภาคีจาก พชอ. คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพโครงการระดับกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น พี่เลี้ยงกองทุน อสม. ผู้นำชุมชน และประชาชนในพื้นที่ จำนวน 30 คน เข้าร่วมทบทวนผลการดำเนินงาน ซึ่งจัดที่ ศาลาประชาคมหมู่บ้าน ตำบลสลักได อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ในวันที่ 2 กันยายน 2563

2) ผู้มีส่วนร่วมในการทบทวนรายงาน
check_circle

จำนวนผู้เข้ามาร่วมประมาณ 30 คน มาจากภาคีจาก พชอ. คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพโครงการระดับกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น พี่เลี้ยงกองทุน รพ.สต. อบต. อสม. ผู้นำชุมชน และประชาชนในพื้นที่ มีการจัดแบ่งกลุ่มในการทบทวนผลการดำเนินงานร่วมกัน และนำเสนอแลกเปลี่ยน โดยใช้บันไดผลลัพธ์ 5 ขั้น เป็นกรอบในการทบทวนรายงาน

3) ผลการทบทวนร่างรายงาน
check_circle

ผลการทบทวนตามกรอบ Ottawacharter ในการดำเนินโครงการให้สอดคล้องกับแผนการดำเนินงานของ พชอ. ประเด็นโรคไข้เลือดออก และการจัดการขยะ พบว่า 1. คน มีการกลไกทั้งในระดับชุมชน ตำบล และอำเภอ เข้ามาร่วมขับเคลื่อนและเสริมพลังพื้นที่ในการจัดทำโครงการให้สอดคล้องกับแผน พชอ. จากการดำเนินงานในชุมชนระดับพื้นที่ มีองค์ประกอบครอบคลุม จากภาครัฐ ภาควิชาการ ท้องถิ่น และชุมชน 2. ทรัพยากร ด้านอุปกรณ์ เครื่องมือ ที่ใช้สำหรับการวัดประเมินผลการดำเนินโครงการ มีตัวอย่างของเครื่องมือ และมีการเสริมศักยภาพด้านการพัฒนาเครื่องมือให้กับทีมพี่เลี้ยงกองทุนและคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพโครงการระดับกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น 3. งบประมาณ มีระบบการพิจารณาและจัดสรรงบประมาณให้กับโครงการที่มีตัวชี้วัดที่วัดได้ทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ แต่การเสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น มีเงื่อนไขการสนับสนุนที่มุ่งให้เกิดผลจริงและยั่งยืน โดยยึดกรอบการสร้างเสริมสุขภาวะ ผลการดำเนินงานระดับพื้นที่ สำหรับพื้นที่ตำบลสลักได ยังมีการจัดสรรงบประมาณในการดำเนินโครงการยังไม่เป็นไปตามเป้าหมาย การใช้จ่ายงบประมาณ เนื่องจากโครงการส่วนใหญ่ยังไม่ตอบสนองตามกรอบการสร้างเสริมสุขภาวะ 4.ทุนทางสังคม พบว่า พชอ. มีกลไกมาจากหลายภาคส่วน และประชาชนในชุมชนมีความสนใจที่จะเข้ามาจัดการปัญหาสุขภาวะมากขึ้น โดยส่วนใหญ่ มองเห็นปัญหาจากพื้นที่ตนเอง และมีกลไกการทำงานที่ชัดเจน ตั้งแต่ระดับชุมชน ตำบลและท้องถิ่น ถึงระดับอำเภอ และ พชอ. ได้มีการเสริมพลังศักยภาพคณะกรรมการกองทุนระดับพื้นที่ทั้ง 22 พื้นที่กองทุน อย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง 5.ระบบข้อมูล จากการทบทวนรายงาน พบว่า ยังไม่มีการกรอกข้อมูลเข้าระบบ ตามแบบฟอร์มที่กำหนดไว้ โดยเฉพาะประชาชนที่เสนอโครงการ ยังขาดความรู้และทักษะในการกรอกข้อมูลจึงจำเป็นต้องอาศัยพี่เลี้ยงจากกองทุนระดับพื้นที่ หลังจากที่ พชอ. และทีมพี่เลี้ยงระดับพื้นที่ได้มีการเสริมศักยภาพด้านการเขียนโครงการที่มีคุณภาพ และรายงานโครงการในโปรแกรม ซึ่งมีข้อเสนอหลังจากการเสริมศักยภาพ เกี่ยวกับโปรแกรม ควรมีการบูรณาการร่วมกับโปรแกรมของ สปสช. เพื่อให้การกรอกรายงานไม่ซ้ำซ้อน และลดระยะเวลาการกรอกข้อมูลหลายครั้ง

4) สรุปผลการประเมินสำคัญที่นำเข้าเวทีการทบทวน
check_circle
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดสรุปผลการประเมินหมายเหตุ
1. Ottawacharter (1) ใช้กรอบ Ottawa charter) ความรู้ 2) ทักษะ 3) ทัศนคติ
  1. ความรู้ คณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น พื้นที่อำเภอเมืองสุรินทร์ และภาคีเครือข่าย 22 กองทุนได้รับการเสริมศักยภาพ และรับรู้ถึงการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพทั้ง 6 ขั้นตอน
  2. มีการฝึกทักษะการรายงานผลโครงการผ่านโปรแกรมออนไลน์ของโครงการสร้างเสริมสุขภาพ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ แต่การนำขั้นตอนการประเมินทั้ง 6 ขั้นตอน ยังไม่มีทักษะ 3.ทัศนคติของพี่เลี้ยง แกนนำ ต่อการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ เห็นว่ากระบวนการขั้นตอนการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพดีมีประโยชน์หากนำไปสู่การนำไปปฏิบัติได้จริง แต่ ด้วยการประเมินนี้เป็นเนื้อหาใหม่จึงไม่ความเข้าใจและประสบการณ์ในการนำไปใช้

ควรการพัฒนาความรู้และทักษะ และสร้างทัศนคติที่ดีกับพี่เลี้ยง คณะกรรมการกองทุนอย่างต่อเนื่อง

2. สภาพแวดล้อมที่เอื้อ (1) ใช้กรอบ Ottawa charter) 1) ระบบฐานข้อมูล 2)ความร่วมมือของภาคี 3)กิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ 4) แผนงาน โครงการ นโยบายที่สอดคล้องกับพื้นที่

1.ระบบฐานข้อมูลเกี่ยวกับแผนงานโครงการในระบบโปรแกรมออนไลน์ของ สสส. ยังคงต้องมีการกระตุ้นและติดตามการทำงานอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากกองทุนส่วนใหญ่ ยังไม่เห็นความสำคัญ และเห็นว่าโปรแกรมมีความซ้ำซ้อนกับโปรแกรม สปสช. และมีรายละเอียดการรายงานมาก 2.ความร่วมมือของภาคี ในภาพร่วมจากการลงพื้นที่พบว่า กลไก พชอ. ระดับพื้นที่ยังมีการทำงานแบบบูรณาการและมีส่วนร่วมไม่มากพอ ส่งผลให้การดำเนินนโยบายตามแผนงานโครงการไม่ครบคลุมกองทุน 22 กองทุน 3.กิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพในระดับพื้นที่กองทุน มีความสอดคล้องกับแผนงานดำเนินงานของพชอ. แต่ยังไม่ครบคลุม 22 กองทุน 4.แผนงาน โครงการ นโยบายที่สอดคล้องกับพื้นที่ จำนวน 4 แผนงาน การป้องกันควบคุมโรคพิษสุนัขบ้า การป้องกันอุบัติเหตุทางท้องถนน การป้องกันปัญหา ยาเสพติด และด้านอาหารปลอดภัย และแผนงานพิเศษ คือ โรคไข้เลือดอออก

ควรมีกระบวนการเชื่อมกลไก พชอ. สู่ กลไก พชต. ระดับพื้นที่ ในการจัดทำระบบฐานข้อมูล กิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ ให้สอดคล้องกับปัญหาในพื้นที่

3. นโยบายสาธารณะชุมชน (1) ใช้กรอบ Ottawa charter) อาหารปลอดภัย โรคไข้เลือดออกระดับครัวเรือนสู่ชุมชน 1 นโยบาย 1 พื้นที่กองทุน

มีพื้นที่ดำเนินนโยบายด้านอาหารปลอดภัยจำนวน 1 ตำบล คือ ต.ท่าสว่าง เป็นตำบลต้นแบบชุมชนอาหารปลอดภัย,และ 1-2 ชุมชน/รพสต.ตลาดนัดเทนมีย์ เป็นตลาดน่าซื้อ, ตรวจ Testkid ในอาหาร 59 ตย.ผ่าน 100%
2. นโยบายโรคไข้เลือดออกระดับครัวเรือนสู่ชุมชน พบว่า มี 8 ตำบล ได้แก่ นอกเมือง แกใหญ่ ตาอ็อง สลักได เฉนียง
นาบัว สำโรง และในเมือง

การดำเนินงานตามแผนงานโครงการยังไม่ครอบคลุมกองทุน 22 กองทุน จึงจำเป็นต้องพัฒนาต่อไป เพื่อให้ระบบสุขภาพของประชาชนดีขึ้น

4. นโยบายสาธารณะชุมชน (1) ใช้กรอบ Ottawa charter) เกิดนโยบายสาธารณะชุมชน เกี่ยวกับ เรื่อง อาหารปลอดภัย การป้องกันยาเสพติด อุบัติเหตุทางถนน โรคพิษสุนัขบ้า

มีการดำเนินการในระดับพื้นที่ ทั้ง 4 แผนงาน ของการพัฒนาคุณภาพชีวิต ระดับอำเภอ (พชอ.)
1. ด้านอาหารมีพื้นที่ต้นแบบ 1 ตำบล 2.การป้องกันยาเสพติด ดำเนินงานด้านการบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพ พบว่า การจำแนกผู้ป่วยผู้เข้ารับการบำบัดรักษาเป็นประชากรกลุ่มเยาวชนอายุระหว่าง ๑๘–๒๔ ปีร้อยละ ๔๓.๘๘ มีจุดเน้นการพัฒนาคุณภาพระบบ บำบัดรักษาขยายศักยภาพของการบำบัดรักษาและลดจำนวนผู้เสพเข้าสู่เรือนจำ พัฒนาแนวทางเพื่อลดผลกระทบ ต่อสังคม เน้นเป็นการดูแลสุขภาพและสังคม เป็นแนวปฏิบัติในการลดผลกระทบจากปัญหายาเสพติด ปรับมุมมองผู้เสพผู้ติดยาเสพติด คือ “ผู้ป่วย” ที่ต้องได้รับการรักษาภายใต้หลักการ “เข้าใจ เข้าถึง พึ่งได้ ” คือ เข้าใจถึงบริบทและสาเหตุที่ทำให้เสพยาเสพติด รวมถึงครอบครัวของผู้เสพ โดยจะทำให้ผู้เสพหรือผู้ป่วย เข้าถึงการรักษาได้ เพื่อให้การดำเนินงานการป้องกันบำบัดฟื้นฟูและลดอันตรายจากการใช้ยาเสพติดเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สนับสนุนโครงการพระราชดำริ TO BE NUMBER ONE การจัดการงบประมาณ ระเบียบปฏิบัติและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
3.อุบัติเหตุทางถนน มีการดำเนินการแก้ไขจุดเสี่ยงและวิเคราะห์จุดเสี่ยงในพื้นที่ 33 จุดเสี่ยงมีการกำหนดช่วงเวลาการดำเนินการ 2 ช่วง คือ
  ช่วงที่ 1 มีการเตรียมความพร้อมและช่วงการรณรงค์
  ช่วงที่ 2 มีการควบคุมเข้มข้น ในช่วงเทศกาลปีใหม่ เทศกาลสงกรานต์
และมีการสนับสนุนการดำเนินการ ร่วมดำเนินมาตรการชุมชน และ “ด่านชุมชน” ให้ บุคลากรสาธารณสุข/อสม. อปท. มีส่วนร่วมดำเนินการอย่างจริงจัง 4.โรคพิษสุนัขบ้า ผลการดำเนินงานด้านสัตว์พาหะนำโรค : พบว่าสัตว์ติดเชื้อพิษสุนัขบ้ามีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง ผลการฉีดวัคซีนป้องกันโรคในสัตว์ โดยอปท. มีความครอบคลุมเกือบ 100 เปอร์เซ็นต์ ผลการดำเนินงานด้านคน มีระบบติดตามผู้สัมผัสให้ได้รับวัคซีนป้องกันโรคครบตามกำหนด ซึ่งผู้ที่สัมผัสสัตว์ติดเชื้อได้รับวัคซีนครบ 100 % และผู้สัมผัสกรณีปกติความครอบคลุมมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น มีแผนพัฒนางานด้าน Health Literacy

การดำเนินส่วนใหญ่มุ่งเน้นให้เกิดการทำงานแบบมีส่วนร่วม ดังนั้นควรเสริมพลังกลไก ภาคีเครือข่ายให้เข้ามาร่วมดำเนินโครงการระดับพื้นที่ให้มากขึ้น

5. ชุมชนเข้มแข็ง (1) ใช้กรอบ Ottawa charter) ค่า HI ในชุมชนเฉลี่ย = 10.39 (เกณฑ์ HI < 5)  ค่า CI ในโรงเรียนเฉลี่ย=0 ตำบลต้นแบบชุมชนอาหารปลอดภัย,และ 1-2 ชุมชน/รพสต.= 3.70 (เกณฑ์ CI = 0)

• ค่า HI ชุมชนเฉลี่ย = 20.11, ค่า CI วัดเฉลี่ย = 23.33, ค่า CI โรงเรียนเฉลี่ย = 11.98 ในพื้นที่8 ตำบล ได้แก่ นอกเมือง แกใหญ่ ตาอ็อง สลักได เฉนียง
นาบัว สำโรง และในเมือง

ชุมชน พื้นที่ดำเนินโครงการในพื้นที่ 8 ตำบล มีการดำเนินงานภายใต้ กลไก พชต.ระดับพื้นที่ และทุกคนต่างมีเป้าหมายร่วมกันในการพัฒนาระบบสุขภาพชุมชนให้ดีขึ้น

6. มีกลไก ระบบ กระบวนการ (1) ใช้กรอบ Ottawa charter) บูรณาการความร่วมมือทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคประชาชน (บวร.ร)

บูรณาการแบบมีส่วนร่วม พร้อมกับ เชื่อมโยงการจัดการร่วมกับงานที่เกี่ยวข้อง ทุกระดับและขยายเครือข่ายสู่ภาคส่วนทุกระดับ

ยังมีคณะทำงานในกลไกที่ไม่ได้เข้ามาร่วมพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน จึงจำเป็นต้องมีกระบวนเสริมพลังระดับพื้นที่เพิ่มขึ้น

5) อื่นๆ

 

5. การปรับปรุงทบทวนโครงการ

check_circle

ควรมีระยะเวลาในการจัดกระบวนการสร้างความรู้ ทักษะ เกี่ยวกับการนำขั้นตอนการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพไปปรับใช้ในการปฏิบัติงาน จากการลงสัมภาษณ์พบว่า แผนงานโครงการที่ลงไปในพื้นที่ช้ากว่าแผนงานของพชอ. และ กองทุนระดับพื้นที่ จึงทำให้การนำไปบูรณาการสู่การทำงานในพื้นที่ไม่ทันกับแผนที่กำหนดไว้

1) ข้อเสนอเพื่อการทบทวนโครงการ
check_circle

 

2) อื่นๆ

 

6. ได้มีการปรับปรุงทบทวนโครงการตามข้อ 5 หรือไม่?

check_circle

จากรายงานโครงการ สิ่งที่ต้องปรับปรุง มีดังนี้ 1.กลไก 2.วิธีการติดตาม

1) กลไกในการติดตามการปรับปรุงโครงการตามข้อเสนอแนะ
check_circle

กลไกการติดตามการปรับปรุงโครงการ ควรมีความรู้ความเข้าใจต่อการสร้างนโยบายสาธารณะ ด้วยการนำกรอบการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพมาใช้ในการ พัฒนาแผนงาน โครงการ ให้มีคุณภาพ และมีความสอดคล้องกับพื้นที่

2) วิธีการติดตาม การปรับปรุงโครงการตามข้อเสนอแนะ
check_circle

ระยะเวลาการดำเนินการติดตามประเมินผล ไม่สอดคล้องไปกับแผนการพัฒนาของกลไกระดับพื้นที่ เช่น ช้ากว่าการทำงานจริงในพื้นที่ และควรมีการชี้แจงสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายให้ชัดเจน ก่อนเริ่มปฏิบัติการในพื้นที่ และควรมีกลไกการติดตามในระดับพื้นที่เข้ามาร่วมกับส่วนกลาง

3) อื่นๆ

 

สรุป

อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ

จากผลการประเมินผลโครงการบูรณาการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะและพัฒนากลไกสุขภาวะระดับพื้นที่เขตสุขภาพที่ 9 พชอ.อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ พบว่า กระบวนการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ ทั้ง 6 ขั้นตอน ต่อการเพิ่มศักยภาพกลไกระดับเขตและระดับพื้นที่ในการสนับสนุนการจัดทำแผน การพัฒนาข้อเสนอโครงการที่มีคุณภาพและการใช้ระบบการติดตามและประเมินผลโครงการให้สอดคล้องกับแผนการสร้างเสริมสุขภาวะของ สสส. สปสช. และ สธ. ภายใต้ระเบียบของกองทุน พบว่า กลไกของพี่เลี้ยงระดับเขตและระดับพื้นที่ยังเชื่อมประสานไม่เข้มแข็ง ทำให้การเสริมศักยภาพโดยเฉพาะการใช้ระบบการติดตามและประเมินผลโครงการให้สอดคล้องกับแผนการสร้างเสริมสุขภาวะของ สสส. เข้าในระบบออนไลน์ ไม่สมบูรณ์และครบถ้วน ตามวัตถุสงค์ของโครงการบูรณาการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะฯ เนื่องจากไม่มีระเบียบหรือข้อบังคับใดที่จะมีผลกระทบทั้งด้านบวกและด้านลบต่อกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ และขณะเดียวกันกลไกทีมระดับพื้นที่ยังขาดความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ ต่อการนำไปประยุกต์ใช้ในกระบวนการกลั่นกรองโครงการ การกำหนดขอบเขตการประเมิน การประเมินผลกระทบ การทบทวนร่างรายงาน การตัดสินใจ และการติดตามเฝ้าระวัง และการประเมินผลทั้งในระดับคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) และกองทุน 22 กองทุน ระดับพื้นที่อำเภอเมืองสุรินทร์ ในขณะเดียวกันการบริการจัดการโครงการสร้างเสริมสุขภาวะของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) และกองทุน 22 กองทุน ระดับพื้นที่อำเภอเมืองสุรินทร์ มีระเบียบการจัดการโครงการภายใต้ระเบียบของกองทุนอย่างเข้มงวด มุ่งเน้นแผนงาน โครงการที่ สร้างเสริมสุขภาวะระดับบุคคล ครัวเรือน และชุมชน สู่ความยั่งยืน ด้วยกระบวนการมีส่วนร่วม เน้นปัญหาในพื้นที่เป็นประเด็นในการจัดทำโครงการ โดยมีกลไกการทำงานครอบคลุมทุกภาคีเครือข่ายในระดับพื้นที่ ซึ่งแผนงานของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) ในปี 2563 มีจำนวน 5 แผนงาน ได้แก่ ด้านการป้องกันควบคุมโรคพิษสุนัขบ้า ด้านการป้องกันอุบัติเหตุทางท้องถนน ด้านการป้องกันปัญหายาเสพติด ด้านอาหารปลอดภัย และโรคไข้เลือดออก ซึ่งผลการดำเนินงานพบว่า มีพื้นที่ระดับกองทุน นำแผนงาน ไปขับเคลื่อนจัดทำโครงการสร้างเสริมสุขภาวะ จำนวน 22 กองทุน ซึ่งมีประเด็นแตกต่างกันไปตามสภาพปัญหาของบริบทพื้นที่ และมีกลไกการเชื่อมงานระหว่างคณะกรรมการ พชอ.และ พชต. ได้ร่วมวิเคราะห์ปัญหา จัดทำเป็นแผนแบบบูรณาการและร่วมดำเนินการร่วมกัน แต่ไม่ครอบคลุมทั้ง 22 กองทุน เนื่องจากการดำเนินแผนงาน โครงการ ต้องเป็นไปตามนโยบายของผู้บริหารกองทุนระดับท้องถิ่นเป็นสำคัญ ข้อเสนอแนะสำหรับการพัฒนาโครงการบูรณาการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะและพัฒนากลไกสุขภาวะระดับพื้นที่ ให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ คณะทำงานทีมประเมินเขต 9 จึงมีข้อเสนอแนะ ดังนี้ 1. การคัดเลือกพื้นที่เพื่อเป็นพื้นที่นำร่องในการใช้การประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ ควรมีผู้รู้ หรือมีหน้าที่บทบาทเกี่ยวข้องกับกระบวนการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพและการสร้างเสริมสุขภาวะ ร่วมถึงเข้าใจหรือมีประสบการณ์ เข้ามาเป็นแกนหลักสำคัญในการพัฒนาพื้นที่เกิดกระบวนการพัฒนาข้อเสนอโครงการที่มีคุณภาพและการใช้ระบบการติดตามและประเมินผลโครงการให้สอดคล้องกับแผนการสร้างเสริมสุขภาวะของ สสส. สปสช. และ สธ. ภายใต้ระเบียบของกองทุน
2. กลไกพี่เลี้ยงระดับเขตควรมีแนวปฏิบัติร่วมกันในการขับเคลื่อนงานและการเชื่อมประสานกับกลไกระดับพื้นที่เกี่ยวกับการทำงานแบบบูรณาการในการใช้การประเมินผลกระทบด้านสุขภาพเป็นกรอบในการพัฒนาข้อเสนอโครงการที่มีคุณภาพและการใช้ระบบการติดตามและประเมินผลโครงการให้สอดคล้องกับแผนการสร้างเสริมสุขภาวะของ สสส. สปสช. และ สธ. ภายใต้ระเบียบของกองทุน
3. ควรนำกองทุนระดับพื้นที่เข้ามาพัฒนาศักยภาพในการใช้การประเมินผลกระทบด้านสุขภาพเป็นเครื่องมือในการพัฒนาข้อเสนอโครงการที่มีคุณภาพและการใช้ระบบการติดตามและประเมินผลโครงการให้สอดคล้องกับแผนการสร้างเสริมสุขภาวะของ สสส. สปสช. และ สธ. ภายใต้ระเบียบของกองทุน 4. ปรับแบบฟอร์มในการคีย์ข้อมูล ให้มีการบูรณาการเข้าร่วมกัน เพื่อลดความซ้ำซ้อนและควรมีการแชร์ข้อมูลให้สามารถลิงค์กันได้

เอกสารอ้างอิง

1.พงศ์เทพ สุธีรวุฒิ. ระบบการติดตามประเมินผลการดำเนินงานโครงการสร้างเสริมสุขภาพ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. เอกสารประกอบการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาศักยภาพเครือข่ายนัก   ติดตามและประเมินผล ภาคเหนือ และภาคใต้ ระหว่างวันที่ 23 -25 กุมภาพันธ์ 2563 ณ โรงแรมริชมอนด์ อ.เมือง จ.นนทบุรี. 2.กุลทัต หงส์ชยางกูร ซอฟิยะห์ นิมะ เพ็ญ สุขมาก. โครงการบูรณาการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะและพัฒนากลไกสุขภาวะระดับพื้นที่. เอกสารประกอบการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาศักยภาพเครือ
  ข่ายนักประเมินติดตามและประเมินผล ภาคเหนือ และภาคใต้ ระหว่างวันที่ 23 -25 กุมภาพันธ์ 2563 ณ โรงแรมริชมอนด์ อ.เมือง จ.นนทบุรี. 3.พวงเพชร อึงไพบูลย์กิจ. ผู้ช่วยเลขากรรมการ พชอ.เมืองสุรินทร์. สัมภาษณ์ 17 มิถุนายน 2563. 4.สมชาย รักไทย. เลขานุการกรรมการ พชอ.เมืองสุรินทร์. สัมภาษณ์ 17 มิถุนายน 2563. 5.สวัสดิ์ชัย คล้ายทอง. สปสช. เขต 9 จังหวัดนครราชสีมา. สัมภาษณ์ 3 สิงหาคม 2563. 6.วนิดา วิระกุล. ผู้ประสานงานหลักเขต 9. สัมภาษณ์ 3 สิงหาคม 2563. 7.ภัทระ แสนไชยสุริยา. หัวหน้าทีมITเขต 9. สัมภาษณ์ 3 สิงหาคม 2563. 8.อริสรา ไม้อ่อนดี. กองทุนเทนมีย์. สัมภาษณ์ 3 สิงหาคม 2563. 9.รัฐพล สาแก้ว.กองทุนสำโรง.สัมภาษณ์ 3 สิงหาคม 2563. 10.มานพ แสงดำ. นายกอบต.สลักได. สัมภาษณ์ 2 กันยายน 2563. 11.สุนีย์ ศรีเพชร. กองทุนแกใหญ่..สัมภาษณ์ 3 สิงหาคม 2563. 12. คณะทำงานกลไกพชต.สลักได. สัมภาษณ์ 2 กันยายน 2563.

เอกสารประกอบโครงการ