ระบบติดตามและประเมินผลโครงการ ( M&E Thailand )

directions_run

การประเมินผลกระทบทางสุขภาพ โครงการบูรณาการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะ และพัฒนากลไกสุขภาวะระดับพื้นที่ กรณีศึกษา อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 0
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
ปฐมวัย (0-5 ปี) -
วัยเรียน (6-12 ปี) -
วัยรุ่น (13-15 ปี) -
เยาวชน (15-20 ปี) -
วัยทำงาน -
ผู้สูงอายุ (60 ปีขึ้นไป) -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
ผู้พิการ -
ผู้หญิง -
มุสลิม -
พระภิกษุ -
ชาติพันธุ์ -
ผู้ต้องขัง -
หลากหลายทางเพศ (LGBTIQ) -
กลุ่มด้อยโอกาส (คนไร้บ้าน, เด็กเร่ร่อน, เด็กกำพร้า, เด็กในสถานพินิจ ฯลฯ) -
แรงงานข้ามชาติ -
อื่น ๆ -

บทคัดย่อ*

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลกระทบทางสุขภาพ โครงการบูรณาการขับเคลื่อนงานสร้างเสริม สุขภาวะ และพัฒนากลไกสุขภาวะระดับพื้นที่ กรณีศึกษา อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ ประยุกต์ใช้ขั้นตอนการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ 4 ขั้นตอน คือ 1.การกลั่นกรองนโยบาย แผนงาน โครงการหรือกิจกรรม (Screening) 2.การกำหนดขอบเขต (Scoping) 3.การประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ และ 4.การทบทวนร่างรายงานการศึกษาและวิเคราะห์ผลกระทบด้านสุขภาพ (Review) เก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อประเมินผลการดำเนินการ จำนวน 15 คน ประกอบด้วยผู้รับผิดชอบงานกองทุนหลักประกันสุขภาพในอำเภอคลองท่อม ได้แก่ รพ.สต. สสอ.คลองท่อม และองค์กรปกครองส่วนท่องถิ่น ทั้งหมดมีความเต็มใจ และสมัครใจเข้าร่วมโครงการ เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง เป็นแนวทางการประชุมกลุ่ม และสังเกตอย่างมีส่วนร่วม ตรวจสอบคุณภาพของข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยใช้กฎสามเส้า (Triangulation) และวิเคราะห์เชิงคุณภาพโดยใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content analysis) และเชิงปริมาณโดยใช้การวิเคราะห์เชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ

            ผลการศึกษา พบว่า กลไกพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายในระดับกลุ่มพื้นที่เพื่อการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาพ อำเภอคลองท่อมมีการดำเนินการการวางแผน และดำเนินการขับเคลื่อนประเด็นในการพัฒนาคุณภาพชีวิต (พชอ.) ประกอบด้วย 1.อุบัติเหตุทางการจราจร 2.โรคติดต่อ (โรคไข้เลือดออก โรคโคโรน่าไวรัส 2019) 3.อาหารริมบาทวิถีปลอดภัย 4.ปัญหาขยะ แต่แผนของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตยังไม่มีการบูรณาการร่วมกับประเด็นของกองทุนในประเด็น อุบัติเหตุทางการจราจร และปัญหาขยะ ขณะที่สัดส่วนของโครงการปัจจัยเสี่ยงเหล้า บุหรี่ ยาเสพติด อาหาร กิจกรรมทางกาย พบว่าทั้ง 9 กองทุนสุขภาพตำบล เรื่องอาหาร จำนวน 3 แผนงาน/โครงการ ร้อยละ 33.33 เรื่องกิจกรรมทางกาย จำนวน 2 แผนงาน/โครงการ ร้อยละ 22.22 แผนงาน/โครงการ เรื่องบุหรี่ จำนวน 2 แผนงาน/โครงการ ร้อยละ 22.22 แผนงาน/โครงการ เรื่องยาเสพติด จำนวน 1 แผนงาน/โครงการ ร้อยละ 11.11 แผนงาน/โครงการ และเรื่องการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ไม่พบแผนงาน/โครงการ ทั้งนี้ การพัฒนาคณะทำงาน ทีมงาน พี่เลี้ยง ระดับต่าง ๆ และดำเนินงานร่วมกับ พชอ. ในอนาคต ยังไม่ชัดเจนและยังเป็นข้อจำกัดของการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะ และพัฒนากลไกสุขภาวะระดับพื้นที่

            ดังนั้น การดำเนินการเพื่อมุ่งเน้นการขับเคลื่อนการสร้างเสริมสุขภาวะ เป็นเรื่องที่ท้าทายของชุมชนอำเภอคลองท่อมซึ่งจะต้องความสามารถในการบริหารจัดการ การวางแผน ร่วมคิด ร่วมทำ ให้การจัดทำแผนมีความครอบคลุมสามารถแก้ปัญหาตามความต้องการของประชาชนได้อย่างเป็นองค์รวม มีกลไกบูรณาการระหว่างรัฐ ท้องถิ่น ประชาชนในระดับท้องถิ่น ประชาชนสามารถพึ่งตนเองได้ต่อไป

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh