ระบบติดตามและประเมินผลโครงการ ( M&E Thailand )

directions_run

โครงการประเมินผล โครงการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายนักประเมินพื้นที่ภาคใต้

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการประเมินผล โครงการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายนักประเมินพื้นที่ภาคใต้
ภายใต้โครงการ แผนงานติดตามและประเมินผลโครงการ ภาคใต้ ปี62
รหัสโครงการ
วันที่อนุมัติ 1 พฤศจิกายน 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤศจิกายน 2561 - 31 ธันวาคม 2561
งบประมาณ 20,000.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายประวิช ขุนนิคม และนายยุทธนา หอมเกตุ
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ
ละติจูด-ลองจิจูด 7.0065120451745,100.50018310547place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 พ.ย. 2561 31 ม.ค. 2562 15,000.00
2 1 ก.พ. 2562 15 มี.ค. 2562 5,000.00
รวมงบประมาณ 20,000.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
อื่นๆ
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากการที่สำนักพัฒนาภาคีสัมพันธ์และวิเทศสัมพันธ์ (สภส)  สำนักงานสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับสถาบันการจัดการระบบสุขภาพภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สจรส.ม.อ.) จัดทำหลักสูตรพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่าย สสส.ระดับกลุ่มพื้นที่ภาคใต้ ในการออกแบบพัฒนาหลักสูตรและรูปแบบการเรียนรู้ โดยยึดหลัก Core competency for skills set เพื่อเสริมสร้างทักษะความรู้ สมรรถนะ และความสามารถที่เกิดขึ้นจากกระบวนการทำงานมาแลกเปลี่ยน ถ่ายทอดเกิดการเชื่อมต่อความรู้ ขยายผลต่อยอดให้เกิดประโยชน์ สอดคล้องกับการพัฒนาการดำเนินงานตามกรอบ Ottawa Charter โดยเกิดการมีส่วนร่วมในกระบวนการและเกิดความคิดเชื่อมโยงการทำงานเข้าใจแนวคิดการสร้างเสริมสุขภาพในมุมองกว้างที่มีความหลากหลายเชิงประเด็น เชิงพื้นที่ เชิงกลุ่มเป้าหมาย นอกจากนี้เป็นการเชื่อมเครือข่ายการทำงานสร้างเสริมสุขภาพในระดับพื้นที่ โดยเข้ามาร่วมเป็นหุ้นส่วนของการขยายงาน และสร้างโอกาสการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาพในระดับพื้นที่ เพื่อส่งเสริม และสนับสนุนศักยภาพภาคีเครือข่ายทั้งในด้านองค์ความรู้ ความสามารถ และทักษะ ตลอดจนสร้างคุณค่ากำลังคน ทั้งในด้านแนวคิดและทัศนคติการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาพ รวมทั้งสร้างกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม พัฒนากรอบคิดและองค์ความรู้การทำงานด้านสร้างเสริมสุขภาพมุมมองใหม่ๆ หนุนเสริมการสร้างเครือข่ายให้เป็นแกนนำนักสร้างเสริมสุขภาพในระดับพื้นที่ให้มีความเข้มแข็งและเกิดประสิทธิผลในการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาพทั้งในระดับชุมชน ท้องถิ่น องค์กร และนโยบาย ทั้งในภาคีเครือข่ายเองหรือข้ามภาคีเครือข่าย ตลอดจนสามารถขับเคลื่อนงานทางสังคม และสร้างพลังเครือข่ายได้อย่างยั่งยืน และมีกระบวนการพัฒนาทักษะให้แก่ภาคีเครือข่าย สสส. ได้นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนางานให้บรรลุตามเป้าหมายที่ตั้งไว้จนนำไปสู่สังคมสุขภาวะนั้น เครือข่ายภาคีนักสร้างเสริมสุขภาพที่ผ่านการอบรมสามารถขับเคลื่อน และขยายผลตามประเด็นสุขภาพในหลายมิติที่สำคัญอาทิ เครือข่ายความมั่นคงทางมนุษย์ ความมั่นคงทางอาหาร ความมั่นคงทางทรัพยากร ความมั่นคงทางสุขภาพ มีเครือข่ายภาคีนักสร้างเสริมสุขภาพ จำนวน 13 เครือข่าย 20 กลุ่มพื้นที่ ดังนี้ เครือข่ายชุมชนน่าอยู่ ปัตตานี กระบี่
เครือข่ายปัจจัยเสี่ยงเหล้า บุหรี่ ยะลา สงขลา และนครศรีธรรมราช เครือข่ายปัจจัยเสี่ยงยาเสพติด นราธิวาส เครือข่ายปัจจัยเสี่ยงผู้หญิง สุราษฎร์ธานี เครือข่ายการท่องเที่ยว กระบี่ และภูเก็ต เครือข่ายเยียวยาชายแดนใต้ เครือข่ายชาวเล เครือข่ายสุขภาวะในสถาบันอาชีวะ เครือข่ายอาหาร เครือข่ายเยาวชน เครือข่ายสื่อ อาจารย์มหาวิทยาลัย นักศึกษาปริญญาโท ซึ่งพบว่าจากการขับเคลื่อนของเครือข่ายข้างต้นทั้งที่เกิดขึ้น และสามารถขับเคลือนได้อย่างต่อเนื่อง และบางส่วนเกิดการเปลี่ยนแปลงของระบบกลไกทำให้ไม่สามารถดำเนินการต่อได้ ดังนั้น การศึกษา บทเรียนและความสำเร็จของการพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพของไทยโดยใช้การเครื่องมือการประเมินผลกระทบทางสุขภาพที่ต้องการสร้างกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน พร้อมทั้งค้นหาขีดความสามารถในการพัฒนานโยบายทั้งในระดับพื้นที่ที่ดำเนินการได้ดี และพื้นที่ที่มีข้อจำกัดได้อย่างมีส่วนร่วมจึงถือเป็นกลไกสนับสนุนสำคัญ

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

ดำเนินการประยุทติ์กรอบแนวคิดการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ (Health impact assessment) จำนวน 4 ขั้นตอน ประกอบด้วย 1.การกลั่นกรองนโยบาย แผนงาน โครงการหรือกิจกรรม (Screening)
2.การกำหนดขอบเขต (Scoping) 3.การประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ (Assessing) และ
4.การทบทวนร่างรายงานการศึกษาและวิเคราะห์ผลกระทบด้านสุขภาพ (Review)

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อถอดบทเรียนและความสำเร็จของการพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพของไทย

บทเรียนและความสำเร็จของการพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพของไทย

0.00
stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 15
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
ปฐมวัย (0-5 ปี) 0
วัยเรียน (6-12 ปี) -
วัยรุ่น (13-15 ปี) -
เยาวชน (15-20 ปี) -
วัยทำงาน 15 0
ผู้สูงอายุ (60 ปีขึ้นไป) -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
ผู้พิการ -
ผู้หญิง -
มุสลิม -
พระภิกษุ -
ชาติพันธุ์ -
ผู้ต้องขัง -
หลากหลายทางเพศ (LGBTIQ) -
กลุ่มด้อยโอกาส (คนไร้บ้าน, เด็กเร่ร่อน, เด็กกำพร้า, เด็กในสถานพินิจ ฯลฯ) -
แรงงานข้ามชาติ -
อื่น ๆ -
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 15,000.00 2 10,744.00
1 มี.ค. 62 1.การกลั่นกรองนโยบาย (ทบทวนความสอดคล้องของกิจกรรม โครงการ แผนงาน และนโยบาย) และกำหนดขอบเขต 0 0.00 5,300.00
1 มี.ค. 62 การประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ และการทบทวนร่างรายงานการศึกษาและวิเคราะห์ผลกระทบด้านสุขภาพ 0 15,000.00 5,444.00

1.การกลั่นกรองนโยบาย แผนงาน โครงการหรือกิจกรรม (Screening) และการกำหนดขอบเขต (Scoping) ดำเนินการโดย 1.ทบทวนความสอดคล้องของกิจกรรม โครงการ แผนงาน และนโยบาย 2.ทบทวนภาพเชิงระบบการจัดการเชิงยุทธศาสตร์ แผน และโครงการ โดยการทบทวนเอกสารทุติยภูมิของโครงการ และเอกสารที่เกี่ยวข้อง 2.การประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ ดำเนินการประเมินผลตามแนวทางการเสริมสร้างพลังอำนาจของชุมชนใช้เครื่องมือการสานพลังตาม synergy characteristic โดยกระบวนการสนทนากลุ่ม 3.การทบทวนร่างรายงานการศึกษาและวิเคราะห์ผลกระทบด้านสุขภาพ (Review) โดยใช้กระบวนการสังเคราะห์ และประเมินคุณค่าของโครงการโดยใช้เครื่องมือแบบประเมินคุณค่าที่เกิดขึ้นในประเด็นสำคัญ จำนวน 5 ประเด็นคือ 1.เกิดชุดความรู้ 2.เกิดนวัตกรรมเชิงระบบ 3.มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่มีผลต่อสุขภาวะ 4.มีการปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการสร้างสุขภาวะ 5.มีกระบวนการทางสังคมขึ้นในชุมชน โดยการเข้ามามีส่วนร่วมและการเรียนรู้ของชุมชน 6.เกิดนโยบายสาธารณะของชุมชนท้องถิ่น ที่เอื้อต่อการสร้างสุขภาวะ

stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผู้ที่ผ่านการอบรมตามหลักสูตรมีสมรรถนะในการจัดการความรู้ และประยุกต์ใช้ในพื้นที่ จนสามารถขับเคลื่อนเป็นแนวทางปฏิบัติที่ดี สนับสนุนกลไกการดำเนินงาน และเกิดชุดความรู้แลกเปลี่ยนระหว่างชุมชนได้

stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 พ.ย. 2561 16:40 น.