โครงการประเมินผลโครงการฟื้นฟูสมรรถนะคนพิการแบบมีส่วนร่วม ต.ชมภู อ.สารภี จ.เชียงใหม่
ชื่อโครงการ | โครงการประเมินผลโครงการฟื้นฟูสมรรถนะคนพิการแบบมีส่วนร่วม ต.ชมภู อ.สารภี จ.เชียงใหม่ |
ภายใต้โครงการ | แผนงานติดตามและประเมินผลโครงการ ภาคเหนือ ปี62 |
รหัสโครงการ | |
วันที่อนุมัติ | 1 พฤศจิกายน 2561 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 15 พฤศจิกายน 2561 - 10 มีนาคม 2562 |
งบประมาณ | 20,000.00 บาท |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | ดร.วิชุลดา มาตันบุญ นายวิสุทธิ์ เหล็กสมบูรณ์ นางวันเพ็ญ พรินทรากูล |
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ | |
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ | |
พี่เลี้ยงโครงการ | - |
พื้นที่ดำเนินการ | อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ |
ละติจูด-ลองจิจูด | 18.716057958171,99.033632151902place |
งวด | วันที่งวดโครงการ | วันที่งวดรายงาน | งบประมาณ (บาท) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
จากวันที่ | ถึงวันที่ | จากวันที่ | ถึงวันที่ | |||
1 | 15 พ.ย. 2561 | 28 ก.พ. 2562 | 15,000.00 | |||
2 | 1 มี.ค. 2561 | 15 มี.ค. 2562 | 5,000.00 | |||
รวมงบประมาณ | 20,000.00 |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
พื้นที่อำเภอสารภี เป็นชุมชนใกล้เมืองห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่ 12 กม. มีซุปเปอร์ไฮเวย์ผ่ากลางเมือง มีต้นยางที่เป็นปราการป้องกันความเจริญจากเมืองที่จะแผ่ออกมา มีพันกว่าต้น ตำบลชมภู เป็นตำบลหนึ่งในสารภี ถือว่า เป็นตำบล ‘ฝั่งลาว” เพราะล้าหลัง ด้อยพัฒนา น้ำก็ท่วม มีแม่น้ำล้อมรอบ
คนพิการในตำบลชมภู มี 300 คน สภาพปัญหาคนพิการที่นี่ แต่เดิมติดรูปแบบวิธีคิดเชิงสังคมสงเคราะห์ คือ ตั้งรับงบประมาณและสิ่งของบริจาค ขาดการเสริมสร้างศักยภาพคนพิการที่ครบองค์รวมกาย จิต ปัญญา สังคม (สุขภาวะ) ขาดการรวมกลุ่มที่มีประสิทธิภาพ คนขาดข้อมูลเกี่ยวกับคนพิการและบริบทต่างๆรอบด้าน ในเรื่องสิทธิการจ้างงาน ถึงคนพิการในตำบลจะมีมากถึง 300 คน แต่กลับได้รับการจ้างงานตามกฎหมายเพียง 20 กว่าคน หน่วยงานต่างๆยังแยกกันทำตามภารกิจเฉพาะของตน ไม่ได้มีการเชื่อมประสานกันเท่าที่ควร การจัดการปัญหาจึงย่ำอยู่กับที่และมีแนวโน้มหนักขึ้นเรื่อยๆ ตามโครงสร้างประชากรที่สูงวัยและพิการเพิ่มขึ้น
ตั้งแต่ปี 2557 เป็นต้นมา งานพัฒนาคนพิการที่นี่เริ่มปรับเปลี่ยนแนวทางจากเดิมที่เน้นการสงเคราะห์แบบผู้ป่วยอนาถา ไปสู่การพัฒนาฐานข้อมูลการประเมินความพิการและสุขภาพตามแนวคิด ICF (International Classification of Functioning Disability and Health ) รวมถึงกระบวนการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการแบบมีส่วนร่วมโดยชุมชน (Community Based Rehabilitation : CBR ) สามารถบูรณาการหน่วยงานและงบประมาณจากหลายภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็น จาก สสส. สช. สปสช. รวมไปถึงการระดมทุนในชุมชน โดยมีชมรมชมพูม่วนใจ และโรงพยาบาลสารภีบวรเป็นหน่วยงานหลักในพื้นที่ กระทั่งปัจจุบันนี้ ถือเป็นพื้นที่ต้นแบบให้ทั้งนักพัฒนาในประเทศและต่างประเทศมาศึกษาเรียนรู้งานพัฒนาคนพิการอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน
ด้วยการเล็งเห็นพื้นที่รูปธรรมที่สัมฤทธิผล มีศักยภาพในการขยายงานอย่างต่อเนื่องการประเมินผลโครงการครั้งนี้ จึงเลือกพื้นที่ตำบลชมภู อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อนำเสนอผลการประเมินต่อ สสส.ให้ใช้ประโยชน์ในการกำหนดนโยบาย และปรับปรุงแนวทางการดำเนินงานในอนาคต
โครงการนี้ ใช้แนวคิดการประเมินผลตามรูปแบบของ CIPP Model ที่กำหนดประเด็นประเมิน 4 ประเด็น ได้แก่ สภาวะแวดล้อม (Contexts) ปัจจัยนำเข้า (Inputs) กระบวนการ (Process) และผลผลิต (Products)
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | ประเมินผลการดำเนินงานโครงการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการแบบมีส่วนร่วม ตำบลชมภู อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ว่ามีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการหรือไม่ อย่างไร
|
0.00 | |
2 | ศึกษาปัจจัยที่มีส่วนเกี่ยศึกษาปัจจัยที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการดำเนินงานโครงการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการแบบมีส่วนร่วม ตำบลชมภู อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่วข้องกับการดำเนินงานโครงการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการแบบมีส่วนร่วม ตำบลชมภู อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่
|
0.00 | |
3 | เพื่อเสนอผลการประเมินต่อสสส.เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการกำหนดนโยบายและการปรับปรุงแนวทางการสนับสนุนโครงการในอนาคต
|
0.00 |
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวนที่วางไว้(คน) | จำนวนที่เข้าร่วม(คน) | |
---|---|---|---|
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด | 14 | ||
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวนที่วางไว้(คน) | จำนวนที่เข้าร่วม(คน) | |
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | |||
ปฐมวัย (0-5 ปี) | - | ||
วัยเรียน (6-12 ปี) | - | ||
วัยรุ่น (13-15 ปี) | - | ||
เยาวชน (15-20 ปี) | - | ||
วัยทำงาน | - | ||
ผู้สูงอายุ (60 ปีขึ้นไป) | - | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | |||
ผู้พิการ | 10 | 0 | |
ผู้หญิง | 4 | 0 | |
มุสลิม | - | ||
พระภิกษุ | - | ||
ชาติพันธุ์ | 0 | ||
ผู้ต้องขัง | - | ||
หลากหลายทางเพศ (LGBTIQ) | - | ||
กลุ่มด้อยโอกาส (คนไร้บ้าน, เด็กเร่ร่อน, เด็กกำพร้า, เด็กในสถานพินิจ ฯลฯ) | 0 | ||
แรงงานข้ามชาติ | - | ||
อื่น ๆ | 0 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 15,000.00 | 0 | 0.00 | |
9 ธ.ค. 61 | ประสานงานกับแกนนำชุมชนที่รับผิดชอบโครงการ | 0 | 3,000.00 | - | ||
31 ธ.ค. 61 | การศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานโครงการ ได้แก่ โครงการและเอกสารประกอบการขอรับการสนับสนุนงบประมาณจาก สสส. | 0 | 0.00 | - | ||
25 ก.พ. 62 | จัดกิจกรรมสนทนากลุ่ม และสัมภาษณ์เชิงลึก | 0 | 4,000.00 | - | ||
25 ก.พ. 62 | ประเมินผลลงระบบข้อมูล | 0 | 4,000.00 | - | ||
25 ก.พ. 62 | วิเคราะห์ข้อมูลจากการเก็บรวบรวม | 0 | 4,000.00 | - |
โครงการนี้ ใช้แนวคิดการประเมินผลตามรูปแบบของ CIPP Model ที่กำหนดประเด็นประเมิน 4 ประเด็น ได้แก่ สภาวะแวดล้อม (Contexts) ปัจจัยนำเข้า (Inputs) กระบวนการ (Process) และผลผลิต (Products)
มีวิธีการในการดำเนินงาน ดังนี้
1. การศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานโครงการ ได้แก่ โครงการและเอกสารประกอบการขอรับการสนับสนุนงบประมาณจาก สสส.
2. การสัมภาษณ์หัวหน้าโครงการ และแกนนำที่ดำเนินโครงการ
3. การสัมภาษณ์ประชาชนในพื้นที่ดำเนินการ
4. การวิเคราะห์ข้อมูล
5. การสรุปรายงานการประเมิน
- ได้ข้อมูลจากการประเมินผลการดำเนินงานโครงการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการแบบมีส่วนร่วม ตำบลชมภู อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่
- ทราบปัจจัยที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการดำเนินงานโครงการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการแบบมีส่วนร่วม ตำบลชมภู อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่
- มีผลการประเมินต่อสสส.เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการกำหนดนโยบายและการปรับปรุงแนวทางการสนับสนุนโครงการในอนาคต
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 16 พ.ย. 2561 08:40 น.