ระบบติดตามและประเมินผลโครงการ ( M&E Thailand )

directions_run

โครงการประเมินผล โครงการจัดการขยะในครัวเรือนอย่างยั่งยืน ต.หนองแดง อ.แม่จริม จ.น่าน

แบบการติดตามประเมินผลการดำเนินกิจกรรมของโครงการ (Process Evaluation)

กิจกรรมระยะเวลาเป้าหมาย/วิธีการผลการดำเนินงานปัญหา/อุปสรรค/แนวทางแก้ไข
ตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริง
ประชุมชี้แจงวัตถุประสงค์ โครงการติดตามและประเมินผลโครงการในชุมชน 25 ก.พ. 2562 19 ก.พ. 2562

 

  1. ชี้แจงวัตถุประสงค์ ขั้นตอนในการติดตามและประเมินผลโครงการการจัดการขยะในชุมชน แก่คณะกรรมการโครงการในหมู่บ้าน
  2. เสนอแนะ แนวทางในการพัฒนากิจกรรมการจัดการขยะในชุมชน

 

  1. คณะกรรมการทราบวัตถุประสงค์โครงการ และเตรียมความพร้อมเพื่อพัฒนากิจกรรมในการจัดการขยะในครัวเรือนอย่างยั่งยืน
  2. ชุมชนมีการพัฒนากิจกรรมในการจัดการขยะในครัวเรือน และชุมชน ตามข้อเสนอแนะ

 

ติดตามผลการดำเนินกิจกรรมโครงการจัดการขยะในครัวเรือนอย่างยั่งยืน 25 ก.พ. 2562 2 มี.ค. 2562

 

ติดตามประเมินผลการดำเนินกิจกรรมโครงการ ตามกรอบแนวคิดการประเมินแบบ CIPP

 

เป้าหมายของการจัดการขยะที่ยั่งยืน โดยทุกคนในครัวเรือนสามารถจัดการขยะทุกประเภทได้ ร้อยละ 100
โดยใช้แนวทาง ลดการนำเข้าขยะ จากการบริโภค จัดการขยะในแต่ละประเภท ร่วมกันพัฒนาหมู่บ้านเดือนละครั้ง ทุกคนมีหน้าที่รับผิดชอบในครัวเรื่อน/หน้าบ้านของตนเอง

 

รายงานความก้าวหน้าการติดตามประเมินผลโครงการจัดการขยะในครัวเรือนอย่างยั่งยืน 25 ก.พ. 2562 25 ก.พ. 2562

 

  1. แลกเปลี่ยน แนวทางการการติดตาม และการประเมินผล ระหว่างพื้นที่
  2. ฝึกลงข้อมูลในเวบไซต์

 

การลงข้อมูลในเวบไซต์

 

ประเมินผลการดำเนินงานตามกิจกรรมโครงการการจัดการขยะในครัวเรือนอย่างยั่งยืน 25 ก.พ. 2562 9 มี.ค. 2562

 

สรุปผลการประเมินกิจกรรมโครงการ

 

ปัจจัยนำเข้า ประกอบด้วย

  1. คณะทำงานการจัดการขยะ
  2. ความรู้ความเข้าใจในการจัดการขยะ
  3. กลไกการติดตามและแรงจูงใจในการจัดการขยะ
  4. การจัดการขยะอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน

วิธีการ/กระบวนการ กิจกรรมในการดำเนินงาน 1.1 แต่งตั้งคณะทำงาน 1.2 กำหนดบทบาทและหน้าที่ของคณะทำงาน 1.3 ประชาสัมพันธ์โครงการให้ชุมชน 1.4 ประชุมจัดทำแผนปฏิบัติการ 2.1 อบรมให้ความรู้ 2.2 ประชาสัมพันธ์การคัดแยกขยะและลดการเผาขยะ 2.3 คืนข้อมูลการสำรวจ ติดตามการจัดการขยะ 3.1 คณะกรรมการติดตามให้คำแนะนำการคัดแยกขยะ
3.2 จัดกิจกรรม Big Cleaning Day 3.3 กำหนดมาตรการคัดแยกขยะ 3.4 หิ้วถุงผ้าจ่ายตลาด 3.5 คัดแยกขยะในงานประเพณี 3.6 จัดตั้งกลุ่มพืชผักสวนครัวปลอดสารพิษ 4.1 ส่งเสริมครัวเรือนต้นแบบการจัดการขยะ ผลผลิต/ผลลัพธ์

  1. มีคณะทำงาน การจัดการขยะ
  2. มีแผนปฏิบัติการ
  3. มีข้อตกลงในการจัดการขยะ
  4. ร้อยละ 80 ตัวแทนครัวเรือนมีความรู้ในการทำปุ๋ยหมักจากขยะย่อยสลาย และผลกระทบจากการเผาขยะ
  5. มีมาตรการในการจัดการขยะ
  6. มีการติดตามแนะนำการจัดการขยะในครัวเรือน
  7. มีการเก็บและคืนข้อมูลการจัดการขยะในหมู่บ้านทุกเดือน
  8. เกิดครัวเรือนที่ผลิตและใช้ปุ๋ยจากขยะย่อยสลาย ร้อยละ 80 91. มีครัวเรือนต้นแบบจัดการขยะ 10 ครัวเรือน
  9. เป็นแหล่งเรียนรู้การจัดการขยะ