ระบบติดตามและประเมินผลโครงการ ( M&E Thailand )

directions_run

โครงการประเมินผลโครงการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ต.ช่อแฮ อ.เมือง จ.แพร่

5. จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อสรุปบทเรียนและคืนข้อมูลการติดตามประเมินผลแบบเสริมพลัง20 กุมภาพันธ์ 2562
20
กุมภาพันธ์ 2562รายงานจากพื้นที่ โดย เพชรรุ่ง
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

รับฟังการแลกเปลี่ยนข้อมูลจากชมรมสูงอายุตำบลช่อแฮและแกนนำ ทีมประเมินให้ข้อมูลสรุปบทเรียนคืนข้อมูลและชื่นชมให้กำลังใจแกนนำรับฟังข้อเสนอแนะจากชมรม

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ติดตามประเมินผล พบว่าinput ของโครงการพบว่าสถานการณ์ปัญหาผู้สูงอายุช่อแฮในส่วนบริบทที่มีเฉพาะข้อมูลพื้นฐานจำนวนประชากรสูงอายุซึ่งยังขาดข้อมูลด้านเศรษฐานะของกลุ่มเป้าหมาย ข้อมูลการเจ็บป่วยระดับปัจเจก สภาวะทางด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมของชุมชน ภาวะโรคมีการคัดกรองและทำข้อมูลพื้นฐานที่ชัดเจนทั้งก่อนและหลัง ข้อมูลโครงการมีความครอบคลุมตามโครงสร้างของโครงการ ตัวชี้วัด/ผลลัพธ์ งบประมาณ 100,000บาท ผลสรุปการดำเนินงาน ผลผลิต ผลลัพธ์ ผลกระทบและวิเคราะห์คุณค่า ดังนี้ -กิจกรรม มี 9 ดำเนินการตามแผนได้ 8 กิจกรรมโดยบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่1คือ เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับชมรมผู้สูงอายุตำบลช่อแฮมีศักยภาพเป็นกลไกสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพให้แก่ผู้สูงอายุในชุมชนโดย เกิดแกนนำชมรมผู้สูงอายุที่เข้าใจเรื่องการสร้าง เสริมสุขภาพและออกแบบกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพได้ จำนวน 30 คน มีสมาชิกชมรมผู้สูงอายุมีความรู้และความตระหนักในการสร้างเสริมสุขภาพตนเองจำนวน 50 คน ชมรมผู้สูงอายุมีความเข้มแข็ง สามารถทำกิจกรรมได้ตามข้อตกลง และติดตามผลการดำเนินงานของชมรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ จำนวน1ชมรม มีการประชุมอย่างต่อเนื่องทุกเดือนจำนวน 8 ครั้งและสมาชิกชมรมผู้สูงอายุมีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพอย่างถูกต้อง จำนวน 40 คน บรรลุวัตถุประสงค์ที่ 2 เพื่อสร้างเครือข่ายดูแลสุขภาพผู้สูงอายุติดบ้าน/ติดเตียงตำบลช่อแฮ โดยเกิดเครือข่ายสุขภาพผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียง
จำนวน 1 เครือข่ายและเครือข่ายสุขภาพร่วมกับ อสม.มีการดูแลเยี่ยมบ้านผู้ป่วยติดบ้านติดเตียงเดือนละ1ครั้งจำนวน 127 คน บรรลุวัตถุประสงค์ที่ 3เพื่อส่งเสริมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพผู้สูงอายุโดย เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้สูงอายุติดบ้าน/โรคเรื้อรัง(เบาหวาน/ความดัน/หัวใจและหลอดเลือด)ร้อยละ80และกลุ่มผู้สูงอายุติดบ้าน มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ไม่กลายเป็นผู้ป่วยติดเตียงและสามารถกลับเป็นผู้สูงอายุติดสังคมได้ ร้อยละ5 กิจกรรมที่ 9 เวทีสรุปบทเรียนการดำเนินงาน ยังไม่ได้ดำเนินการ วิเคราะห์คุณค่า เกิดแกนนำชมรมผู้สูงอายุที่เข้าใจเรื่องการสร้างเสริมสุขภาพและออกแบบกิจกรรมได้ สมาชิกชมรมผู้สูงอายุตำบลช่อแฮมีความรู้และตระหนักในการสร้างเสริมสุขภาพตนเอง ชมรมผู้สูงอายุมีความเข้มแข็งสามารถทำกิจกรรมได้ตามข้อตกลงและติดตามผลการดำเนินงานของชมรมอย่างมีประสิทธิภาพ สมาชิกชมรมผู้สูงอายุมีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพอย่างถูกต้อง