ระบบติดตามและประเมินผลโครงการ ( M&E Thailand )

directions_run

โครงการประเมินผล การจัดการอุบัติเหตุทางถนนโดยชุมชน อำเภอทุ่งตะโก จังหวัดชุมพร

แบบการติดตามประเมินผลการดำเนินกิจกรรมของโครงการ (Process Evaluation)

กิจกรรมระยะเวลาเป้าหมาย/วิธีการผลการดำเนินงานปัญหา/อุปสรรค/แนวทางแก้ไข
ตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริง
ประชุมคณะทำงาน 18 พ.ย. 2561 11 ก.ย. 2561

 

เข้ารับการเรียนรู้ "การประชุมเชิงปฏิบัติการหลักสูตรพัฒนาเครือข่ายนักประเมินผลงานสร้างเสริมสุขภาพในเขตพื้นที่ภาคใต้"ซึ่งได้มีรูปแบบการประเมินผลโครงการด้วยรูปแบบต่างๆ เช่น การประเมินด้วย CIPP Model ,OTTAWA Charter, HIA , Balance Score Card , เสริมพลังอำนาจ ฯ พร้อมทั้งทดลองฝึกปฏิบัติโดยใช้พื้นที่จากจังหวัดสงขลา และได้มอบหมายให้ฝึกปฏิบัติจริงในจังหวัดชุมพร "โครงการการจัดการอุบัติเหตุทางถนนโดยชุมชน อำเภอทุ่งตะโก จังหวัดชุมพร"

 

มีความรู้ความเข้าใจในกระบวนการติดตามประเมินผลโครงการในพื้นที่ นำความรู้ไปออกแบบการประเมินในพื้นที่จริง ทั้งนี้ได้เลือกรูปแบบการประเมินโดยใช้เครื่องมือ HIAในการประเมิน

 

ติดตามประเมินผลโครงการในพื้นที่อำเภอทุ่งตะโก จังหวัดชุมพร 19 ก.พ. 2562 19 ก.พ. 2562

 

น.ส.อุไรวรรณ ตันฑอาริยะ –นางสมใจ ด้วงพิบูลย์ พบผู้รับผิดชอบโครงการและทีมงาน เพื่อ 1. ติดตามความก้าวหน้าผลการดำเนินงาน  โดยพูดคุยอย่างไม่เป็นทางการ ทำให้ทราบว่ากิจกรรมไม่เป็นไปตามแผนงานที่กำหนด
2. ศึกษาจุดเสี่ยงที่สำคัญในอ.ทุ่งตะโก ประกอบด้วยวัดเทพนิมิต วิทยาเกษตรตะโก  จุดกลับรถบริเวณปั๊มบางจาก (สวนนายดำ) สี่แยกเขาปีบ เป็นต้น

 

  1. ได้ทราบว่ากิจกรรมต้องมีการปรับให้สอดคล้องกับบริบท
  2. ประชาชนในพื้นที่ให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการจัดทำทางเลี่ยงบริเวณวัดเทพนิมิตรสายปากทางเข้าถนนสายวิทยาลัยเกษตร-บ้านเขากรด และทำลอนสีแดงบริเวณทางโค้ง

 

ประชุมร่วมกับผู้รับผิดชอบโครงการ 1 มี.ค. 2562 16 ม.ค. 2562

 

ประชุมร่วมกับเครือข่ายสุขภาพจังหวัดชุมพร 1. ติดตามผลผู้รับผิดชอบโครงการในเวทีประชุมสมัชชาจังหวัดชุมพร ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ของการนำประเด็นต่าง ๆของจังหวัดชุมพรเข้าพุดคุยรวมทั้งการนำปัจจัยเสี่ยงทางด้านสุขภาพเข้าร่วมพุดคุย เช่น ประเด็นเหล้า-บุหรี่ และอุบัติเหตุทางถนนในจังหวัดชุมพร (ผู้รับผิดชอบโครงการรับผิดชอบเป็นผู้ประสานสมัชชาจังหวัดชุมพร)
2. ประชุมทีมผู้รับผิดชอบโครงการและคณะทำงานในช่วงบ่าย ด้วยการ 2.1 แนะนำตนเองในฐานะผู้เรียนรู้วิธีการประเมินโครงการ ขอรายละเอียดกิจกรรมโครงการและแผนการดำเนินงาน 2.2 ขอดูรายละเอียดกิจกรรม และรายงานต่าง ๆ

 

ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับทีมคณะทำงานและเครือข่ายสมัชชาสุขภาพจังหวัดชุมพร และทีมผู้รับผิดชอบโครงการจัดการอุบัติเหตุทางถนนโดยชุมชน

 

นำเสนอผลการประเมินในพื้นที่จริง 1 มี.ค. 2562 1 มี.ค. 2562

 

นำเสนอผลการประเมินโครงการการจัดการอุบัติเหตุทางถนนโดยชุมชน ด้วยเครื่องมือ HIA และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับทีมประเมินเครือข่ายทีมประเมินโครงการภาคใต้ทั้งหมด พื้นที่จังหวัดกระบี่ สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ตรัง และสงขลา

 

ได้เรียนรู้วิธีการประเมินด้วยเครื่องมื HIA ,CIPP ,และกฎบัตร Ottawa เป็นต้น

 

ติดตามประเมินผลโครงการในพื้นที่อำเภอทุ่งตะโก จังหวัดชุมพร ครั้งที่ 3 24 มี.ค. 2562 24 มี.ค. 2562

 

ผู้ประเมินร่วมกันสรุปผลการจัดการอุบัติเหตุทางถนนโดยชุมชน ประกอบด้วย กิจกรรม 1. ปรับปรุงกรอบแนวคิดการประเมินให้สอดคล้องโครงการ และการเรียนจากเวทีการนำเสนอผลงานครั้งที่ 1วันที่ 29 ก.พ. 62 2. สรุปผลการดำเนินงานของโครงการ และบันทึกกิจกรรมลงในโปรแกรมการติดตามซึ่งมีผลสรุปดังนี้ 2.1 ผู้รับผิดชอบโครงการ ได้ติดตามในพื้นที่ 8 ครั้งแต่ผลการดำเนินงานแต่ละครั้งไม่มีการเชื่อมประสานและขาดการระบุเนื้อหาที่ชัดเจน 2.2 มีการบรรจุแผนงาน/โครงการการจัดการอุบัติเหตุทางถนนโดยชุมชน ในกองทุนสุขภาพตำบล ครบทุกตำบล (4 ตำบล)
2.3 มีคณะกรรมการพชอ.จำนวน 21 คน และได้กำหนดประเด็นการจัดการอุบัติเหตุทางถนนโดยชุมชนเป็นโครงการหนึ่งของพชอ. ที่จะร่วมกันขับเคลื่อน ในระดับอำเภออย่างเป็นรูปธรรม และเกิดผลลัพธ์ที่ชัดเจน 3. ข้อเสนอแนะ 3.1 ควรขับเคลื่อนประเด็นการจัดการอุบัติเหตุทางถนนโดยชุมชน ในระดับจังหวัด และควรกำหนดเป็นนโยบายสาธารณะ โดยขับเคลื่อนผ่านสมัชชาสุขภาพจังหวัดชุมพร 4. ข้อสังเกตจากการประเมินโครงการ 4.1 ภาพกิจกรรมไม่สอดคล้องกับกิจกรรมดำเนินงาน 4.2 การบันทึกกิจกรรม ไม่สอดคล้องกับ วัน เดือน ปี ที่จัดกิจกรรม เช่น
- การติดตามครั้งที่ 6 วันที่ 4 ก.ค.61 - การติดตามครั้งที่ 7 วันที่ 6 มิ.ย.61 4.3 การบันทึกกิจกรรม ไม่ครอบคลุมผลลัพธ์ของการดำเนินงานที่ชัดเจน 4.4 ไม่ปรากฏฐานข้อมูลการรวบรวมสถิติอุบัติเหตุ ที่ชัดเจน 4.5 ชุดจัดการความรู้ยังไม่ปรากฏ 4.6 การสรุปผลลัพธ์การดำเนินงานไม่ชัดเจน โดยเฉพาะการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของประชาชน ในการสวมหมวกกันน๊อค และคาดเข็มขัดนิรภัย

 

ได้ผลสรุปการประเมินโครงการการจัดการอุบัติเหตุทางถนนโดยชุมชน อ.ทุ่งตะโก จ.ชุมพร ที่จะต้องนำผลไปสู่นโยบายสาธารณะระดับจังหวัดต่อไป

 

ติดตามประเมินผลโครงการในพื้นที่อำเภอทุ่งตะโก จังหวัดชุมพร ครั้งที่2 25 มี.ค. 2562 26 ก.พ. 2562

 

ผู้ประเมินลงพื้นที่ติดตามผลการดำเนินโครงการการจัดการอุบัติเหตุทางถนนโดยชุมชน โดยการสอบถามผู้ที่เกี่ยวข้องจำนวน 2 พื้นที่ ประกอบด้วย 1. ทีมงานสำนักงานสาธารณสุขอำเภอทุ่งตะโก ประกอบด้วย นายวัชรินทร์ แจ้งใจเย็น สาธารณสุขอำเภอ นายมานิตย์ ประดับการ ผู้ช่วยสาธารณสุขอำเภอ และเจ้าหน้าที่ในสำนักงานฯ ผลการสอบถามพบว่าทีมงานของสาธารณสุขอำเภอไม่ได้ทราบแผนการดำเนินงานที่ชัดเจน เพียงแต่เคยเข้าร่วมประชุม 1 ครั้ง ในเวที พชอ.อำเภอทุ่งตะโก (นายอำเภอทุ่งตะโกเป็นประธาน) แต่ได้มีการประสานพื้นที่พชต.ให้รับทราบเท่านั้น 2. เจ้าหน้าที่รพ.สต.ได้ให้ข้อมูลการเกิดอุบัติเหตุทางถนนทุกวัน และมีการเสียชีวิตเฉลี่ย เดือนละ 1 คน (ข้อมูลรพ.สต.และตำรวจ) พบว่ามีสาเหตุมาจากผู้ขับขี่ไม่คุ้นชินกับเส้นทาง(ผู้ขับรถสายยาวถนนเพชรเกษมทั้งขาขึ้นและขาล่อง) ถนนโค้งมาก และถนนสายรออยู่ต่ำกว่าถนนสายหลักมากทำให้รถสายรองต้องพุ่งตัวมาก รถสายยาวชะลอไม่ทันเลยเกิดการชนกันขึ้น และอีกส่วนหนึ่งผู้ขับขี่มีการขับขี่ย้อนศร และบางรายไม่สวมหมวกกันน๊อค เป็นต้น 3. ผู้ป่วยและญาติที่มารับบริการที่รพ.สต.ให้ข้อมูลว่าต้องมีการบังคับใช้กฏหมายที่ชัดเจน รณรงค์สร้างความตระหนักให้ประชาชนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้องอย่างต่อเนื่อง และจัดทำลูกลอนสีแดงบนถนนเหมือนจังหวัดอื่น ๆ เช่นจังหวัดภูเก็ต เป็นต้น

 

ได้รับทราบข้อมูลการเกิดอุบัติเหตุและการใช้บริการดูแลรักษาเบื้องต้นที่รพ.สต.และประชาชนบางส่วน มีความรู้และความเข้าใจในการดูแลสุขภาพตนเองโดยการใช้อุปกรณ์ความปลอดภัย

 

ประชุมคณะกรรมการพัฒนาพชอ. 27 มี.ค. 2562 7 มี.ค. 2562

 

เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการพัฒนาพชอ.ในการจัดทำแผน ร่วมกับคณะกรรมการพชอ.และพชต.ในอำเภอทุ่งตะโก จำนวน 50 คน ประกอบด้วย นายวัชรินทร์  แจ้งใจเย็น สาธารณสุขอำเภอทุ่งตะโก
นายมานิตย์  ประดับการ ผช. สาธารณสุขอำเภอทุ่งตะโก ครูผู้รับผิดชอบงานอนามัยโรงเรียน 4 แห่ง อสม. สอบต. และพชต.แต่ละตำบล
กิจกรรม 1. ประธานเปิดการประชุม กล่าวถึง ประเด็นพัฒนาของอำเภอทุ่งตะโก ในนามคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ(พชอ.) เลือกประเด็นการพัฒนาในปีนี้ 2 เรื่องคือ ประเด็นผู้สูงอายุ และอุบัติเหตุ และให้สอดคล้องกับแผนการพัฒนารูปแบบทุ่งตะโกโมเดล ที่ใช้แนวคิด คนชู คนชง คนเชียร์ คนช่วยและคนชิม 2. ระดมสมองเพื่อการวางแผนการดำเนินงานป้องกันอุบัติเหตุ ประกอบด้วย ตำบลปากตะโก  ตะโก  ช่องไม้แก้ว และทุ่งตะไคร เกิดแผนการดำเนินงาน 2.1 การรณรงค์ โดยทีมงานผู้รับผิดชอบอุบัติเหตุแต่ละตำบลร่วมกับโรงเรียน ให้งบประมาณ 5,000บาท จำนวน 4 โรงเรียน 2.2 นำเสนอแนวคิดและผลการประชุมกลุ่มในแต่ละโซนต่อคณะกรรมการ พชอ.ทุ่งตะโก 2.3 สาธารณสุขอำเภอในฐานะผู้รับผิดงานสุขภาพจะร่วมกับผู้รับผิดชอบโครงการนำเสนอผลการประชุมครั้งนี้สู่คณะกรรมการระดับจังหวัดต่อไป

 

ได้เข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับทีมพชต.และพชอ.อำเภอทุ่งตะโก และแผนการสร้างความตระหนักของชุมชนโดยใช้นักเรียนและทีมงานอสม.เป็นผู้ร่วมดำเนินการ ทั้ง 4 ตำบล