ชื่อโครงการ | โครงการประเมินผล การจัดการปัจจัยเสี่ยง อำเภอนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี |
ภายใต้โครงการ | แผนงานติดตามและประเมินผลโครงการ ภาคใต้ ปี62 |
รหัสโครงการ | 61-ข-110 |
วันที่อนุมัติ | 1 พฤศจิกายน 2561 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 พฤศจิกายน 2561 - 31 ธันวาคม 2561 |
งบประมาณ | 20,000.00 บาท |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | ดร.ดุริยางค์ วาสนา ดร.พิเชตวุฒิ นิลละออ |
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ | |
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ | |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลนาสาร อำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี |
ละติจูด-ลองจิจูด | 8.8159995742858,99.355920820994place |
งวด | วันที่งวดโครงการ | วันที่งวดรายงาน | งบประมาณ (บาท) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
จากวันที่ | ถึงวันที่ | จากวันที่ | ถึงวันที่ | |||
1 | 1 พ.ย. 2561 | 30 พ.ย. 2561 | 15,000.00 | |||
2 | 1 ธ.ค. 2561 | 31 ธ.ค. 2561 | 5,000.00 | |||
รวมงบประมาณ | 20,000.00 |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
สำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงหลัก (สำนัก 1) สำนักงานสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับสถาบันการจัดการระบบสุขภาพภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สจรส.ม.อ.) จัดทำโครงการการพัฒนาศักยภาพกลไกกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น เพื่อการควบคุมปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพจากสุรา ยาสูบ และยาเสพติด เพื่อพัฒนากลไกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น เพื่อการควบคุมปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพจากสุรา ยาสูบ และยาเสพติด ในเขตบริการสุขภาพทั้ง 12 เขต โดยคาดหวังว่าจะเกิดผลลัพธ์จากการดำเนินงาน คือ มีจำนวนการขอทุนจากแหล่งทุนต่างๆ โดยเฉพาะจากกองทุนสุขภาพระดับตำบล เพื่อดำเนินโครงการด้านปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพที่มาจากสุรา ยาสูบและยาเสพติดในชุมชนเพิ่มขึ้น พัฒนารูปแบบการจัดการปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพจากสุรา ยาสูบ และสารเสพติดที่ผ่านกลไกระดับท้องถิ่น คือกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น เกิดองค์ความรู้และการสร้างความตระหนักที่ทำให้เกิดความมุ่งมั่นร่วมกันของชุมชน มาตรการทางสังคม หรือกติกาชุมชน (community commitment) ต่อการจัดการปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพจากสุรา ยาสูบ และสารเสพติด ที่นำไปสู่การขยายผลไปสู่พื้นที่อื่น หรือนวัตกรรมการดำเนินงาน สร้างระบบฐานข้อมูล สถานการณ์และการเฝ้าระวังด้านปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพ และพัฒนาศักยภาพกลไกกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น อันเป็นกลไกในระดับท้องถิ่นในการจัดการปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพจากสุรา ยาสูบ บนพื้นฐานการสร้างเครือข่ายความร่วมมือเชื่อมประสานระหว่างสถาบันวิชาการ หน่วยงานในพื้นที่ ภาคประชาสังคม และชุมชน โดยมีกรอบแนวคิดหลักในการดำเนินงาน คือ การพัฒนาขีดความสามารถของกลไกกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น เพื่อก่อให้เกิดความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายสุขภาพในระดับจังหวัดและระดับตำบล และเพิ่มจำนวนนักขับเคลื่อนจิตอาสาที่สามารถพัฒนาแผนงาน หรือ โครงการสำหรับการจัดการปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพจากปัญหาสุรา ยาสูบและยาเสพติด โดยมีผลลัพธ์ที่สำคัญ คือ ได้รูปแบบการจัดการปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพจากสุรา ยาสูบ และสารเสพติด การผลิตองค์ความรู้ การเกิดนวัตกรรม การมีมาตรการควบคุม/ขับเคลื่อนอย่างต่อเนื่อง และการสร้างนโยบายสาธารณะต่อไป สำหรับโครงการการพัฒนาศักยภาพกลไกกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นเพื่อการควบคุมปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพจากสุรา ยาสูบ และยาเสพติด อำเภอนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นโครงการนำร่องในพื้นที่ภาคใต้ตอนบนและเป็นหนึ่งในโครงการใหญ่ทั้ง 12 เขตบริการสุขภาพ ดำเนินการระหว่างวันที่ 15 พฤศจิกายน 2560 ถึงวันที่ 15 ธันวาคม 2561 ดังนั้น เมื่อการดำเนินการได้เสร็จสิ้นลงตามระยะเวลาที่กำหนด จึงมีความจำเป็นต้องดำเนินการประเมินผลการดำเนินโครงการ โดยผู้ประเมินได้เลือกประเมินผลกระทบทางสุขภาพ (HIA) อันเกิดจากการดำเนินโครงการดังกล่าว เพื่อสร้างรูปแบบการจัดการปัจจัยเสี่ยงที่เหมาะสมและสามารถขยายผลไปสู่พื้นที่อื่นต่อไป
การประเมินโครงการการพัฒนาศักยภาพกลไกกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นเพื่อการควบคุมปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพจากสุรา ยาสูบ และยาเสพติด อำเภอนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี ผู้ประเมินได้เลือกประเมินผลกระทบทางสุขภาพจากการดำเนินโครงการ ประกอบด้วยกระบวนการ 4 ขั้นตอน คือ การกลั่นกรองโครงการหรือกิจกรรมโดยสาธารณะ (public screening) การกำหนดขอบเขตการศึกษาโดยสาธารณะ (public scoping) การประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ (public assessing) และการทบทวนร่างรายงานผลการศึกษาโดยสาธารณะ (public review) เน้นผลกระทบจากโครงการที่เกิดขึ้นกับปัจจัยกำหนดสุขภาพ ประกอบด้วย ปัจเจกบุคคล สภาพแวดล้อม และกลไกหรือระบบบริการสาธารณสุข ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงกับสุขภาพ
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อประเมินผลการดำเนินโครงการการจัดการปัจจัยเสี่ยง อำเภอนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี ผลการประเมินผลกระทบทางสุขภาพโครงการการพัฒนาศักยภาพฯ
|
0.00 |
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวนที่วางไว้(คน) | จำนวนที่เข้าร่วม(คน) | |
---|---|---|---|
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด | 40 | 40 | |
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวนที่วางไว้(คน) | จำนวนที่เข้าร่วม(คน) | |
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | |||
ปฐมวัย (0-5 ปี) | - | ||
วัยเรียน (6-12 ปี) | - | ||
วัยรุ่น (13-15 ปี) | - | ||
เยาวชน (15-20 ปี) | - | ||
วัยทำงาน | - | ||
ผู้สูงอายุ (60 ปีขึ้นไป) | - | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | |||
ผู้พิการ | - | ||
ผู้หญิง | - | ||
มุสลิม | - | ||
พระภิกษุ | - | ||
ชาติพันธุ์ | - | ||
ผู้ต้องขัง | - | ||
หลากหลายทางเพศ (LGBTIQ) | - | ||
กลุ่มด้อยโอกาส (คนไร้บ้าน, เด็กเร่ร่อน, เด็กกำพร้า, เด็กในสถานพินิจ ฯลฯ) | - | ||
แรงงานข้ามชาติ | - | ||
อื่น ๆ | - | ||
ตัวแทนกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น | 17 | 17 | |
ตัวแทนองค์กรชุมชน | 17 | 17 | |
ทีมพี่เลี้ยงโครงการ | 6 | 6 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 26,000.00 | 6 | 20,000.00 | |
12 ธ.ค. 61 | สัมภาษณ์ข้อมูลเบื้องต้นโครงการ | 0 | 1,500.00 | ✔ | 5,680.00 | |
1 มี.ค. 62 | ประชุมวางแผนประเมินฯ | 0 | 1,500.00 | ✔ | 1,000.00 | |
1 มี.ค. 62 | ประชุมวางแผนประเมินฯ 21-02-2562 | 0 | 2,000.00 | ✔ | 1,000.00 | |
1 มี.ค. 62 | สัมภาษณ์ข้อมูล 08-03-2562 | 0 | 2,000.00 | ✔ | 2,840.00 | |
1 มี.ค. 62 | ลงพื้นที่ประเมินโครงการ 10-03-2562 ถึง 15-04-2562 | 0 | 18,000.00 | ✔ | 8,520.00 | |
1 มี.ค. 62 | สรุปผลการประเมิน | 0 | 1,000.00 | ✔ | 960.00 |
รูปแบบ เป็นการประเมินโครงการโดยประยุกต์ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงพรรณนา (descriptive research) เกี่ยวกับการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ กรณีศึกษา การดำเนินโครงการการพัฒนาศักยภาพกลไกกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นเพื่อการควบคุมปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพจากสุรา ยาสูบ และยาเสพติด อำเภอนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (key Informants) การรวบรวมข้อมูลดำเนินการโดยการสัมภาษณ์ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (stakeholder) กับการดำเนินโครงการ ประกอบด้วย
2.1 ผู้รับผิดชอบโครงการ 2.2 ทีมพี่เลี้ยงโครงการ 2.3 ตัวแทนกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น
2.4 ตัวแทนผู้ขอสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น 2.5 ตัวแทนเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล การรวบรวมข้อมูล จะต้องเก็บแบบเจาะจงและเจาะลึก ซึ่งผู้ประเมินจะเป็นเครื่องมือสำคัญในการเก็บและรวบรวมข้อมูลเชิงลึก และป้อนคำถามเพื่อให้ได้มาซึ่งคำตอบ โดยผู้ประเมินได้ดำเนินการตามขั้นตอนต่อไปนี้ 3.1 ศึกษาและรวบรวมความรู้ที่เกี่ยวข้องกับโครงการการพัฒนาศักยภาพฯ และโครงการอื่นๆ ที่มีลักษณะคล้ายกัน ตลอดจนแนวคิด ทฤษฎี งานวิจัย และงานประเมินที่เกี่ยวข้อง จากแหล่งข้อมูลทุติยภูมิซึ่งได้แก่ เอกสาร ตำรา วารสาร วิทยานิพนธ์ งานวิจัย และเอกสารการประเมินต่างๆ เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการตั้งคำถามเพื่อจัดทำแบบสัมภาษณ์
3.2 ติดต่อและศึกษาแหล่งข้อมูลปฐมภูมิ คือ พื้นที่อำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี เพื่อศึกษาสภาพพื้นที่ แหล่งข้อมูล และผู้ให้ข้อมูลสำคัญ เพื่อทำการพูดคุยอย่างไม่เป็นทางการเกี่ยวกับโครงการการพัฒนาศักยภาพฯ และการรวบรวมข้อมูล เพื่อนำมาวางแผนและตั้งคำถามเพื่อจัดทำแบบสัมภาษณ์ 3.3 นำผลการศึกษาจากแหล่งข้อมูลปฐมภูมิและทุติยภูมิมาจัดทำแบบสัมภาษณ์เพื่อใช้ในการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth Interview) ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์การรวบรวมข้อมูล ผู้ประเมินดำเนินการรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง เนื่องจาก มีการรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์ ซึ่งผู้ประเมินเป็นผู้ที่รู้ดีที่สุดว่า การประเมินครั้งนี้มีวัตถุประสงค์อย่างไร จะต้องตั้งคำถามอย่างไรที่จะทำให้ได้ข้อมูลที่ดีและง่ายแก่การที่จะนำข้อมูลมาใช้ประโยชน์ในการประเมิน โดยขั้นตอนในการรวบรวมข้อมูลแบ่งเป็น 3 ขั้นตอน ดังนี้ 4.1 ขั้นเตรียมการ ผู้ประเมินต้องดำเนินการเตรียมความพร้อมของตัวผู้ประเมินเอง คือ การเตรียมความรู้ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการประเมิน ทั้งจากแหล่งข้อมูลปฐมภูมิและแหล่งข้อมูลทุติยภูมิ เพื่อเป็นแนวในการตั้งคำถามสัมภาษณ์ และวางแนวทางในการวิเคราะห์ข้อมูล ตลอดจนเตรียมความพร้อมในด้านอุปกรณ์รวบรวมข้อมูล ตลอดจนประสานงานกับพื้นที่ประเมินเพื่อขออนุญาตและเตรียมพื้นที่สำหรับการประเมิน 4.2 ขั้นดำเนินการรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย 4.2.1 การสัมภาษณ์ ด้วยแบบสัมภาษณ์ที่จัดทำไว้ 4.2.2 การสนทนากลุ่ม ด้วยแนวคำถามที่จัดทำไว้ 4.2.3 การจดบันทึก โดยกระทำไปพร้อมกับการสัมภาษณ์ ซึ่งจะเลือก เน้นหนักไปที่ประเด็นสำคัญๆ และเหตุการณ์ต่างๆ ที่ได้จากการสังเกตหรือที่เกิดขึ้นในทุกๆ ขั้นตอนของการรวบรวมข้อมูล 4.3 ขั้นการจัดการข้อมูล หลังจากเสร็จสิ้นจากการสัมภาษณ์ทุกครั้ง ผู้ประเมินจะนำข้อมูลมาจัดเป็นหมวดหมู่ เพื่อความสะดวกในการค้นหาและป้องกันการสับสนในการวิเคราะห์ข้อมูล นอกจากนี้ จะต้องนำข้อมูลที่ได้มาทบทวนเพื่อหาความสอดคล้องและตรวจสอบความครบถ้วนของข้อมูล
การวิเคราะห์ข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลอาศัยการวิเคราะห์เชิงพรรณนา และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (content analysis) โดยเริ่มการวิเคราะห์ไปพร้อมๆ กับการรวบรวมข้อมูลในแต่ละช่วง เพื่อประโยชน์ในการตั้งคำถามต่อเนื่อง ป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นระหว่างการรวบรวมข้อมูล และกำหนดแนวทางของการรวบรวมข้อมูลครั้งต่อไป
มีรูปแบบการดำเนินการจัดการปัจจัยเสี่ยงที่ครอบคลุมการดูแลสุขภาพทั้ง 4 มิติ คือ ทางกาย ทางจิต ทางสังคม และทางปัญญา โดยมีกลไกสนับสนุนการดำเนินงานผ่านกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่น และคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.)
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 พ.ย. 2561 12:09 น.