บทคัดย่อ/บทนำ
บทคัดย่อ
การประเมินผลโครงการการพัฒนาศักยภาพกลไกกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นเพื่อการควบคุมปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพจากสุรา ยาสูบ และยาเสพติด อำเภอบ้านนาสาร จังหวัด สุราษฎร์ธานี มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลการดำเนินโครงการการพัฒนาศักยภาพกลไกกองทุนฯ โดยใช้กรอบการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ ประกอบด้วยกระบวนการ 4 ขั้นตอน คือ การกลั่นกรองโครงการหรือกิจกรรมโดยสาธารณะ การกำหนดขอบเขตการศึกษาโดยสาธารณะ การประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ และการทบทวนร่างรายงานผลการศึกษาโดยสาธารณะ เน้นผลกระทบจากโครงการที่เกิดขึ้นกับปัจจัยกำหนดสุขภาพ ประกอบด้วย ปัจเจกบุคคล สภาพแวดล้อม และกลไกหรือระบบบริการสาธารณสุข ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงพรรณนา มีผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ประกอบด้วย ผู้รับผิดชอบโครงการ ทีมพี่เลี้ยงโครงการ ตัวแทนกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพฯ ตัวแทนผู้ขอสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพฯ และตัวแทนเจ้าหน้าที่สาธารณสุข รวบรวมข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์ และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการประเมิน พบว่า การดำเนินโครงการมีความสอดคล้องกับปัญหาในพื้นที่และมีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของกองทุนหลักประกันสุขภาพฯ โดยการดำเนินงานประกอบด้วย 4 กิจกรรมหลัก คือ 1) การสร้างทีมพี่เลี้ยงที่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกองทุนหลักประกันสุขภาพฯ เพื่อเป็นที่ปรึกษาในการดำเนินงานและสื่อสารไปยังกลุ่มองค์ชุมชนเพื่อสร้างความเข้าใจที่ตรงกัน ตามเขตรับผิดชอบที่แบ่งออกเป็น 4 โซนตามลักษณะภูมิศาสตร์ 2) การพัฒนาศักยภาพกองทุนหลักประกันสุขภาพฯ สามารถจำแนกกองทุนหลักประกันสุขภาพฯ ออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่มีความพร้อม พบว่า ประธาน คณะกรรมการ และเลขานุการกองทุนหลักประกันสุขภาพฯ มีความเข้าใจในบทบาทและเงื่อนไขในการดำเนินงาน ส่งผลให้มีการสมทบงบประมาณเพิ่มเติมในสัดส่วนที่สูงขึ้น มีการจัดทำแผนการดำเนินงานอย่างชัดเจน และมีคณะอนุกรรมการและคณะกรรมการเข้าร่วมกิจกรรมโครงการและติดตามโครงการอย่างต่อเนื่อง ส่วนกลุ่มที่ต้องพัฒนา พบว่า ประธาน คณะกรรมการ และเลขานุการกองทุนหลักประกันสุขภาพฯ ยังไม่มีความเข้าใจในบทบาทและเงื่อนไขในการดำเนินงาน ตลอดจนขาดความรู้และทักษะในการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพฯ จึงส่งผลให้มีการอนุมัติโครงการที่ล่าช้าและไม่สามารถบริหารจัดการงบประมาณได้ 3) การพัฒนาโครงการ มีโครงการที่ขอสนับสนุนงบประมาณเข้ามาแต่ยังไม่สามารถยืนยันได้ว่าโครงการดังกล่าวเกิดขึ้นจากโครงการการพัฒนาศักยภาพกลไกกองทุนฯ และยังไม่มีการผลักดันเข้าสู่ระดับจังหวัดมีเพียงการผลักดันเข้าสู่ระดับอำเภอเท่านั้น ส่วนฐานข้อมูลที่ใช้ในการดำเนินงานเป็นการบูรณาการการใช้งานระบบฐานข้อมูลเท่านั้น และ 4) การติดตามประเมินผลโดยการลงพื้นที่และรายงานผลผ่านเว็บไซต์ พบว่า มีระบบติดตามประเมินผลส่งผลให้ผู้เกี่ยวข้องตลอดจนพี่เลี้ยงสามารถติดตามโครงการได้อย่างใกล้ชิดมากยิ่งขึ้น แต่ยังมีปัญหา คือ ไม่มีการบันทึกข้อมูลลงในระบบติดตามประเมินผล ส่งผลให้ข้อมูลที่ผู้เกี่ยวข้องตลอดจนพี่เลี้ยงได้รับทราบผ่านทางระบบติดตามประเมินผลไม่ตรงกับสภาพความเป็นจริง
สำหรับผลกระทบต่อปัจจัยกำหนดสุขภาพทางสังคม พบว่า กิจกรรมที่ส่งผลกระทบต่อปัจเจกบุคคล ประกอบด้วย การสร้างทีมพี่เลี้ยง การพัฒนาศักยภาพกองทุนหลักประกันสุขภาพฯ และการพัฒนาโครงการ กิจกรรมที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วย การสร้างทีมพี่เลี้ยง และการติดตามประเมินผลโดยการลงพื้นที่และรายงานผลผ่านเว็บไซต์ และกิจกรรมที่ส่งผลกระทบต่อกลไกหรือระบบบริการสาธารณสุข ประกอบด้วย การสร้างทีมพี่เลี้ยง การพัฒนาโครงการ และการติดตามประเมินผลโดยการลงพื้นที่และรายงานผลผ่านเว็บไซต์
คำสำคัญ
บทนำ
หมายเหตุ- บทคัดย่อ/บทนำ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
- หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh
สรุป
อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ
เอกสารอ้างอิง