ระบบติดตามและประเมินผลโครงการ ( M&E Thailand )

directions_run

การประเมินผลโครงการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาข้าวอินทรีย์จังหวัดพัทลุง ภายใต้โครงการพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่าย สสส.ระดับกลุ่มพื้นที่ภาคใต้

แบบการติดตามประเมินผลการดำเนินกิจกรรมของโครงการ (Process Evaluation)

กิจกรรมระยะเวลาเป้าหมาย/วิธีการผลการดำเนินงานปัญหา/อุปสรรค/แนวทางแก้ไข
ตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริง
ประชุมคณะทำงาน1 7 ธ.ค. 2561 24 มี.ค. 2562

 

ประชุมคณะทำงานการติดตาม และประเมินผลโครงการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ข้าวอินทรีย์จังหวัดพัทลุง
ผู้เข้าร่วมประชุม 3 คน  นายสมนึก  นุ่นด้วง  นายถาวร  คงศรี    นายเสงียม  ศรีทวี รายละเอียดการประชุม
  -เตรียม ออกแบบ  เลือกกรอบการประเมินโครง ออกแบบการจัดเก็บข้อมูล  กระบวนการที่ดำเนินการ  จัดทำปฎิทินการดำเนินงานการประเมิน

 

ผลผลิต  ได้กรอบแนวทางในการติดตามประเมิน การติดตาม และประเมินผลโครงการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ข้าวอินทรีย์จังหวัดพัทลุง วัตถุประสงค์ของการประเมินเพื่อประเมินการนำยุทธศาสตร์ข้าวอินทรีย์จังหวัดพัทลุงไปสู่การปฏิบัติ กรอบการประเมิน ใช้รูปแบบ CIPP Model เป็นเครื่องมือในการประเมิน ขอบเขตการประเมิน
  - ขอบเขตเชิงพื้นที่  ดำเนินการประเมินในพื้นที่จังหวัดพัทลุง  ประกอบด้วย หน่วยงานระดับจังหวัด ระดับอำเภอ ระดับท้องถิ่น ระดับเครือข่าย องค์กร   - ขอบเขตเชิงเนื้อหา ดำเนินการประเมินจากโครงการในประเด็นหลัก 4 ประเด็น คือ 1.กลไกที่ร่วมขับเคลื่อน การทำแผนงานโครงการข้าวอินทรีย์
          • หน่วยงาน           •ประเด็นทางยุทธศาสตร์ ที่สำคัญ         2.กระบวนการขับเคลื่อน การทำแผนงานโครงการข้าวอินทรีย์
          •แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาข้าวอินทรีย์จังหวัดพัทลุง พ.ศ.2561 - 2565 3.ผลที่เกิดขึ้นจาการขับเคลื่อนการทำแผนงานโครงการข้าวอินทรีย์
          •มีจำนวนกี่หน่วยงาน กี่ท้องถิ่น กี่เครือข่าย/องค์กร กี่แผนงาน กี่โครงการ
4.ปัจจัยสำคัญที่มีผลกระทบต่อการขับเคลื่อนการทำแผนงานโครงการข้าวอินทรีย์

  - ขอบเขตเชิงระยะเวลา ดำเนินการประเมินระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2562  ถึงวันที่ 31มีนาคม พ.ศ. 2562  จำนวน 3เดือน   - วิธีการดำเนินการ การติดตาม และประเมินผลการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ข้าวอินทรีย์จังหวัดพัทลุงภายใต้โครงการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ข้าวอินทรีย์จังหวัดพัทลุง สนับสนุนโดย สถาบันจัดการระบบสุขภาพ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สสส. 4 ขั้นตอนหลัก คือ     1. บริบทของแผนยุทธศาสตร์ สาระสำคัญของแผน                   a. ประเด็นยุทธศาสตร์                   b. แผนงาน
                  c. โครงการที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ข้าวจังหวัดพัทลุง
    2.        ปัจจัยนำเข้า มีใครเกี่ยวข้องในการแปลงแผนยุทศาสตร์ข้าวจังหวัดพัทลุงไปสู่การปฏิบัติ แผนงาน โครงการ
    3.        กระบวนการแปลงแผนยุทศาสตร์ข้าวจังหวัดพัทลุงไปสู่การปฏิบัติ แผนงาน โครงการ ได้อย่างไร มีกลไกใดบ้างที่ช่วยสนับสนุน โดยใช้แบบสอบถามการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ที่เกี่ยวข้อง                 1. การดำเนินงานแต่ละขั้นตอน                       • คนหรือกลุ่มคน ที่เป็นตัวหลักหรือกลุ่มคนที่เป็นตัวยุทธศาสตร์                       • ข้อมูลหรือฐานข้อมูล                       • มีการปฏิบัติการตามหรือประยุกต์การทำงานจากแผนงานที่มีอยู่เดิมและเป็นแผนปฏิบัติการ                       • มีการใช้งบประมาณและแหล่งงบประมาณ                       • มีการใช้สถานที่ เครื่องมือ วัสดุอุปกรณ์อย่างไร                       • มีการใช้ทุนทางสังคมที่มีอยู่ในชุมชนมาหนุนเสริมการทำงานอย่างไร เช่นทุนทางวัฒนธรรมและวิถีชีวิต  ภูมิปัญญา               2. การดำเนินงานได้ปฏิบัติตามแผนงานที่กำหนดหรือไม่  อย่างไร มีปัญหาอุปสรรคอะไร  มีแนวทางการปรับวิธีการทำงาน หรือปรับแผนอย่างไร               3. ได้ผลแต่ละขั้นตอนตรงตามที่วางแผนหรือไม่และควรจะต้องปรับวิธีการทำงานอย่างไร รวมถึงต้องการหนุนเสริมจากใคร  หน่วยงานใด  ในเรื่องใด  อย่างไร     4.      ชุดความรู้นวัตกรรมเชิงระบบการเปลี่ยนแปลงของ คน กลไก สภาพแวดล้อม ที่มีผลต่อสุขภาวะ ผลลัพธ์   -คณะทำงานได้ข้อสรุปดำเนินการตามกรอบที่กำหนด  โดยการทำปฎิทินการดำเนินงาน

 

ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 2 15 ธ.ค. 2561 24 มี.ค. 2562

 

  1. ศึกษารายละเอียดการประเมินจากคู่มือการใช้โปรแกรม เพื่อสร้างความเข้าใจรายละเอียดในแต่ละขั้นตอน
  2. กำหนดวัตถุประสงค์การประเมิน โดยพิจารณาข้อมูลที่กำหนดไว้ในโปรแกรมแล้วเลือกใช้วัตถุประสงค์ที่ เหมาะสมกับบริบทของผู้ประเมิน ระยะเวลา และงบประมาณ ในการประเมิน
  3. กำหนดประเด็นประเมิน โดยพิจารณาข้อมูลที่กำหนดไว้ในโปรแกรมแล้วเลือกประเด็นที่เหมาะสม  เพื่อให้ครอบคลุมและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์การประเมิน
  4. พัฒนาเครื่องมือประเมิน คือ แบบสัมภาษณ์
  5. กำหนดประชากรกลุ่มตัวอย่าง

 

ผลผลิต -คณะทำงานทั้ง 3 คน ประชุมตามแผนงานและได้ข้อสรุป
ผลลัพธ์ -แบ่งบทบาทหน้าที่ ในการลงสัมภาษณ์เชิงลึก บุคคล  หน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง

 

สัมภาษณ์ผู้รับผิดชอบโครงการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ข้าวอินทรีย์จังหวัพัทลุง (ดร.เชิดศักดิ์) 17 ธ.ค. 2561 24 มี.ค. 2562

 

ขั้นตอนกระบวนการ ตามแผน     สัมภาษณ์  คณะทำงาน ผู้รับผิดชอบ และผู้ที่เกี่ยวข้อง

 

ผลผลิต -มีผู้เข้าร่วม 5  คน  คือ  ดร.เชิดศักดิ์  เกื้อรักษ์ ฝ่ายวิชาการมหาวิทยาลัยทักษิณ  นักศึกษาคณะทำงานเก็บและวิเคราะห์ข้อมูล 2 คน ทีมประเมิน 2 คน คือ นายถาวร และนายสมนึก -กระบวนการพูดคุยสัมภาษณ์ ผู้รับผิดชอบ ถึงการดำเนินการโครงการให้ได้มาซึ่งแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาข้าวอินทรีย์จังหวัดพัทลุง  กิจกรรมที่สำคัญในการขับเคลื่อน ผลลัพธ์ -ได้เห็นกระบวนการทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาข้าวอินทรีย์จังหวัดพัทลุง จากการมีส่วนร่วมของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหลายภาคส่วนอย่างมีส่วนร่วม ในการเก็บข้อมูล  การแชร์ข้อมูล ของหน่วยงาน จนนำมาสู่การจัดทำร่างแผน - ได้ข้อมูลการประชุมระดมความคิดเห็นต่อแผนแม่บทข้าวอินทรีย์จังหวัดพัทลุง -  ได้หนังสือการแต่งตั้งคณะกรรมการกำกับดูแลและติดตาม และคณะทำงานส่งเสริมการขับเคลื่อนเกษตรกรรมยั่งยืนจังหวัดพัทลุง โดยผู้ว่าราชการจังหวัดพัทลุง นายกู้เกียรติ  วงศ์กระพันธุ์ -  ได้เอกสารคู่มือระบบรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม PGS  จังหวัดพัทลุง "เกษตรอินทรีย์วิถีเมืองลุง"

 

เก็บข้อมูล สัมภาษณ์เป็นรายบุคคล 26 ธ.ค. 2561 24 มี.ค. 2562

 

ผู้เข้าร่วมกิจกรรม 4 คน 1. หัวหน้างานวิจัย ศูนย์วิจัยข้าวพัทลุง 1 คน 2. หัวหน้างานบริหารจัดการน้ำ สำนักงานโครงการชลประทานพัทลุง 1 คน 3. ผู้รับผิดชอบงานแผนและนโยบาย สถานีพัฒนาที่ดินพัทลุง 1 คน 4. นักวิจัย วิทยาลัยภูมิปัญญา มหาวิทยาลัยทักษิณ

 

ผลลิต

  1. หัวหน้วงานวิจัย ศูนย์วิจัยข้าวพัทลุง 1 คน
  2. หัวหน้างานบริหารจัดการน้ำ สำนักงานโครงการชลประทานพัทลุง 1 คน
  3. ผู้รับผิดชอบงานแผนและนโยบาย สถานีพัฒนาที่ดินพัทลุง 1 คน
  4. นักวิจัย วิทยาลัยภูมิปัญญา มหาวิทยาลัยทักษิณ

      สัมภาษณ์เป็นรายบุคคล จากผู้รับผิดชอบงานแผนและนโยบายตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาข้าวอินทรีย์จังหวัดพัทลุง หรือเกี่ยวข้อง หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากหัวหน้าหน่วยงาน องค์กร ณ สถานที่ปฏิบัติราชการของเจ้าหน้าที่ และสถานที่ดำเนินโครงการในพื้นที่ รวมทั้งการถ่ายภาพผลการดำเนินโครงการ

ผลลัพธ์

  1. ศูนย์วิจัยข้าวพัทลุง เป็นหน่วยงานอิสระทำงานขึ้นอยู่กับกรมการข้าว เป็นหน่วยงานสนับสนุน รอกลุ่มเกษตรกรที่มีความประสงค์ทำนาอินทรีย์แจ้งความต้องการเข้าร่วม ทางศูนย์วิจัยข้าวจะลงพื้นที่ไปตรวจรอบรองแปลง ด้วยเงือนไข ระยะปรับเปลี่ยน 3 ปี จะได้เป็นเกษตรกรทำนาอินทรีย์ ถ้าในกลุ่มคนใดคนหนึ่งตรวจแปลงไม่ผ่านจะทำให้กลุ่มเกษตรกรนาข้าวตกทั้งกลุ่ม และเมื่อผ่านจะได้มาตรฐาน  Organic Thailand
  2. สำนักงานโครงการชลประทานพัทลุง  เป็นหน่วยงานสนับสนุนเมื่อกลุ่มองค์กรผู้ใช้น้ำหรือ กลุ่มเกษตรกรผู้ใช้น้ำแจ้งความประสงค์ใช้น้ำ ทั้งในและนอกเขต ชลประทานก็จะไปตรวจค่าของน้ำและบริหารจัดการน้ำให้กลุ่มดังกล่าว
  3. สถานีพัฒนาที่ดินพัทลุง เป็นหน่วยงานสนับสนุนเมื่อเกษตรกรเป็นกลุ่มหรือรายย่อยแจ้งความประสงค์ตรวจดิน เช่นโครงการเกษตรแปลงใหญ่ ทางสถานีพัฒนาที่ดินจะไปตรวจดินให้เกษตรกร
  4. นักวิจัย วิทยาลัยภูมิปัญญา มหาวิทยาลัยทักษิณ นอกจากเป็นหน่วยงานทางวิชาการแลัวยังเป็นหน่วยงานสนับสนุนและยังเป็นพี่เลี้ยงช่วยเหลือพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑข้าวอินทรีย์ไปสู่ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆสู่อุตสาหกรรมพัฒนาต่อยอดข้าวข้าวสังข์หยดพัทลุง ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนจากสหภาพยุโรป เป็นสินค้าบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไทย(GI) ปลูกได้เฉพาะพัทลุงเท่านั้น เป็นผลิตภัณฑ์ ข้าวปิ้งสังข์หยดคั่วกลิ้ง

 

เก็บรวบรวมข้อมูล โดยการสัมภาษณ์เป็นรายบุคคล 28 ธ.ค. 2561 24 มี.ค. 2562

 

ผู้เข้าร่วมกิจกรรม 4 คน ประธานกลุ่มกลุ่มวิสาหกิจชุมชนท่าช้างฟื้นฟูเศรษฐกิจ 1คน (ผู้ผลิต) ประธานกลุ่มข้าวอินทรีย์วิถีพนางตุง 1 คน (ผู้แปรรูป) ประธานชมรมผู้ประกอบการโรงแรมจังหวัดพัทลุง  1 คน (ผู้บริโภค) นายเสณี  จ่าวิสูตร  ผู้รับผิดชอบโครงการ 1 คน

วิธีการดำเนินการ สัมภาษณ์เป็นรายบุคคล  จากผู้รับผิดชอบงานแผนและนโยบาย หรือเกี่ยวข้อง หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากหัวหน้าหน่วยงาน องค์กร ณ สถานที่ปฏิบัติงาน  และสถานที่ดำเนินโครงการในพื้นที่  รวมทั้งการถ่ายภาพผลการดำเนินโครงการ

 

ผลผลิต

-ประธานกลุ่มกลุ่มวิสาหกิจชุมชนท่าช้างฟื้นฟูเศรษฐกิจ 1คน (ผู้ผลิต) กลุ่มนาอินทรีย์มีการแข่งขันกันเอง ต้องมีทักษะในการบริหารจัดการถึงจะอยู่ได้ หน่วยงานรัฐต้องเข้ามาช่วยเหลือ ด้าน เงินทุน  การรับซื้อ  โกดังเก็บ -ประธานกลุ่มข้าวอินทรีย์วิถีพนางตุง 1 คน (ผู้แปรรูป) ปัจจุบันมีหน่วยงานหรือองค์กรสนับสนุนจำนวนมาก ถ้ากลุ่มของเราเข้มแข็ง รักษามาตรฐานการทำงานของกลุ่ม และมีการบริหารจัดการกลุ่มได้ดี  เช่น ทางกลุ่มได้นำกิจกรรมเชื่อมกับการท่องเที่ยวชุมชน ได้รับการพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ ทางอุตสาหกรรมพัฒนาต่อยอดข้าวข้าวสังข์หยดพัทลุง ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนจากสหภาพยุโรป เป็นสินค้าบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไทย(GI)  ปลูกได้เฉพาะพัทลุงเท่านั้น เป็นผลิตภัณฑ์ ข้าวปิ้งสังข์หยดคั่วกลิ้ง -ประธานชมรมผู้ประกอบการโรงแรมจังหวัดพัทลุง  1 คน (ผู้บริโภค) ให้ความเห็น  กิจกรรมของคนพัทลุงไม่นิยมทานข้าวอินทรีย์

ผลลัพธ์
      จากการสัมภาษณ์เป็นรายบุคคล  จากผู้รับผิดชอบงานแผนและนโยบาย หรือเกี่ยวข้อง หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากหัวหน้าหน่วยงาน องค์กร ณ สถานที่ปฏิบัติงาน  และสถานที่ดำเนินโครงการในพื้นที่ พบข้อเสนอการแก้ไขให้กลุ่มเกษตรกรกลุ่มนาข้าวอินทรีย์เข้มแข็ง  คือ ให้กลุ่มองค์กรชาวนา จัดตั้ง สหกรณ์ชาวนาอินทรีย์พัทลุง  ที่มีกฎหมายรับรอง เพื่อทำหน้าที่ในการช่วยเหลือต่างๆจากภาครัฐ

 

เก็บรวบรวมข้อมูล โดยการสัมภาษณ์เป็นรายบุคคล 29 ธ.ค. 2561 24 มี.ค. 2562

 

การดำเนินการ ผู้เข้าร่วม 6  คน 1. เลขาประธานสภาเกษตรกรรับผิดชอบแผนงานและนโยบาย 1 คน 2. หัวน้างานส่งเสริมการเกษตร และหัวหน้ากลุ่มงานแผนและนโยบาย 2 คน 3. หัวหน้ากลุ่มงานแผนและนโยบาย และผู้ประสานงาน  สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด  2 คน 4. หัวหน้ากลุ่มงานแผนและนโยบาย  สำนักงานพาณิชย์จังหวัด 1 คน สัมภาษณ์เป็นรายบุคคล  จากผู้รับผิดชอบงานแผนและนโยบาย หรือเกี่ยวข้อง หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากหัวหน้าหน่วยงาน องค์กร ณ สถานที่ปฏิบัติราชการของเจ้าหน้าที่  และสถานที่ดำเนินโครงการในพื้นที่  รวมทั้งการถ่ายภาพผลการดำเนินโครงการ

 

ผลผลิต -ทั้ง 4  หน่วยงาน ที่ถูกสัมภาษณ์ มีความรู้  เข้าใจ และมีส่วนร่วม  มีกิจกรรมในโครงการ ในแผนยุทธศาสตร์ข้าวอินทรีย์จังหวัดพัทลุง ตามประเด็นยุทธศาสตร์เกี่ยวข้อง

ผลลัพธ์ - สภาเกษตรกร มีบทบาท เป็นกลไกหลัก ในการรวบรวมปัญหาความต้องการและกระจายไปสู่หน่วยงานที่มีภารกิจตรง รวมถึงประเด็นข้อเสนอเชิงนโยบายที่ก่อต้วมาจากสภาเกษตรกร - หัวน้างานส่งเสริมการเกษตร และหัวหน้ากลุ่มงานแผนและนโยบาย สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด  สำนักงานพาณิชย์จังหวัด  มีบทบาทสำคัญเมื่อได้รับการส่งมอบกระจายงานจากสภา เป็นหน่วยงานสนับสนุน จัดทำโครงการนำเสนอเพื่อขอโครงการจากส่วนกลางเพื่อตอบแผนยุทธศาสตร์ของชาติ ของจังหวัดพัทลุง เช่น โครงการหมู่บ้านนาอินทรีย์วิถีเมืองลุง  โครงการผลิตภัณฑ์ข้าวสังหยดอินทรีย์ สู่ผลิตภัณฑ์คุณภาพ โดยกลุ่มวิสาหกิจชุมชนท่าช้าง  ผลิตภัณฑ์ ข้าวปิ้งสังข์หยดคั่วกลิ้ง

 

ประชุมนักประเมินโครงการ 31 ธ.ค. 2561 24 มี.ค. 2562

 

วิธีการ -เรียนรูัการนำเสนองานประเมินโครงการ  โดยการนำเสนอของแต่ละโครงการ เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เติมเต็มโดยอาจารย์แนะนำพี่เลี้ยง -การลงรายงานผ่านเวบ https://mehealthpromotion.com/project/214 ให้ทันเวลา

 

ผลผลิต   นักประเมินโครงการได้เรียนรูัการนำเสนองานประเมินโครงการและการลงรายงานผ่านเว็บ

ผลลัพธ์ -นักประเมินโครงการได้ปรับเปลี่ยนกรอบการประเมินใหม่ โดยใช้  CIPP MODEL และได้บันทึกรายงานผ่านเว็ปฯจนครบถ้วน

 

ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 3 24 ม.ค. 2562 24 มี.ค. 2562

 

คณะผู้ประเมินเข้าร่วมประชุม 3  คน วิธีการดำเนินการ -ศึกษาและวิเคราะห์การเก็บข้อมูลในส่วนของหน่วยงานผู้เกี่ยวข้องกับการจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาข้าวอินทรีย์จังหวัดพัทลุง ว่าเกี่ยวข้องกับแผนยุทธศาสตร์อย่างไร

 

ผลลิต -คณะทำงานติดตามประเมิน 3  คนได้สรุปสาระสำคัญเป็นกรอบในการเป็นคำถามในการเก็บข้อมูลเพื่อการประเมินโครงการ ผลลัพธ์ -คณะทำงานสรุปกรอบที่ใช้เก็บข้อมูลนำไปประเมิน  คือ กรอบยุทธศาสตร์ข้าวอินทรีย์จังหวัดพัทลุง  โครงการ กิจกรรม  หน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวนำแผนไปสู่การปฏิบัติ

 

เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์ผู้รับผิดชอบโครงการ 24 มี.ค. 2562 24 มี.ค. 2562

 

ผู้ร่วมให้สัมภาษณ์  1  คน นายอำมร  สุขวิน กระบวนการ  สัมภาษณ์เชิงลึกในการร่วมขับเคลื่อน กระบวนการให้ได้มาซึ่งแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาข้าวอินทรีย์จังหวัดพัทลุง

 

ผลลิต
-นายอำมร  สุขวิน  เป็นผู้ให้สัมภาษณ์ ถึงการเป็นคณะทำงานและรับผิดชอบโครงการ มีความคาดหวังในการอยากให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการทำร่างแผนยุทธศาสตร์พัฒนาข้าวอินทรีย์จัวหวัดพัทลุง
ผลลัพธ์   - ได้เห็นกระบวนการทำงานอย่างต่อเนื่องของ นายอำมร  สุขวิน ผู้รับผิดชอบโครงการ  ได้ดำเนินการทำงานวิจัย กับ สกว.มาก่อนในเรื่องการพัฒนาข้าวอินทรีย์  ได้นำผลลัพธ์จากงานวิจัย  จาก สกว.มาต่อยอดสู่การขับเคลื่อนเชิงนโยบาย เรื่อง นาข้าวอินทรีย์จังหวัดพัทลุง และจะเป็นประโยชน์กับเกษตรกรผู้ทำนาให้มีทางเลือกและเป็นโอกาสในการต่อยอด ขยายผลไปสู่กิจกรรมอื่น จากการทำข้าวอินทรีย์จังหวัดพัทลุง