ระบบติดตามและประเมินผลโครงการ ( M&E Thailand )

directions_run

การประเมินผลโครงการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาข้าวอินทรีย์จังหวัดพัทลุง ภายใต้โครงการพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่าย สสส.ระดับกลุ่มพื้นที่ภาคใต้

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ การประเมินผลโครงการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาข้าวอินทรีย์จังหวัดพัทลุง ภายใต้โครงการพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่าย สสส.ระดับกลุ่มพื้นที่ภาคใต้
ภายใต้โครงการ แผนงานติดตามและประเมินผลโครงการ ภาคใต้ ปี62
รหัสโครงการ ข้อตกลง
วันที่อนุมัติ 1 พฤศจิกายน 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤศจิกายน 2561 - 31 ธันวาคม 2561
งบประมาณ 20,000.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ สจรส. มอ.
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสมนึก นุ่นด้วง, นายถาวร คงศรี, นายเสงี่ยม ศรีทวี
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ ดร.เพ็ญ สุขมาก
พื้นที่ดำเนินการ จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.6160141917004,100.07347028366place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 พ.ย. 2561 28 ก.พ. 2562 15,000.00
2 1 มี.ค. 2562 31 มี.ค. 2562 5,000.00
รวมงบประมาณ 20,000.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
อาหารและโภชนาการ
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

  1. เหตุผลสำคัญของการประเมิน   เป็นการประเมินกระบวนการแปลงยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติ ของโครงการยุทธศาสตร์การพัฒนาข้าวอินทรีย์จังหวัดพัทลุง เพื่อเป็นการฝึกทักษะการเรียนรู้ภายใต้โครงการพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่าย สสส.ระดับกลุ่มพื้นที่ภาคใต้ ซึ่งจากการศึกษาบริบทของโครงการ เป็นดังนี้ ชื่อโครงการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาข้าวอินทรีย์จังหวัดพัทลุง เลขที่ข้อตกลง 59-ข-029 ชุดโครงการแผนงานโซนใต้กลาง ผู้รับผิดชอบโครงการ ดร.เชิดศักดิ์ เกื้อรักษ์ คณะทำงาน 3 คนคือ นายเสณี จ่าวิสูตร, นางนทกาญจน์ อัพภาสกิจ, นายอำมร สุขวิน
    ระยะเวลาดำเนินโครงการ 15 มิถุนายน 2559 - 30 มิถุนายน 2560 งบประมาณโครงการ 400,000.00 บาท จำนวนกลุ่มเป้าหมายคือชาวนา ผู้นำชุมชน องค์กรรัฐ รวม 40 คน พื้นที่ดำเนินการจังหวัดพัทลุง มีกิจกรรมสำคัญ 7 กิจกรรม คือ 1).การประชุมคณะทำงาน 2).การจัดทำ Mapping สถานการณ์ข้าว โรงสีข้าว ตลาดข้าว 3).ประชุมรับฟังความคิดเห็นแนวทางการจัดการข้าวอินทรีย์โซนเหนือ/กลาง/และเวทีรวม 4).จัดนิทรรศการร่วมกับงานสร้างสุข ในประเด็นการจัดการข้าวอินทรีย์แบบครบวงจร 5).กระบวนการผลักดันเข้าสู่ระดับยุทธศาสตร์จังหวัดพัทลุง 6).การแปลงยุทธศาสตร์ข้าวอินทรีย์จังหวัดพัทลุงไปสู่การปฎิบัติ และ 7). การบริหารจัดการข้อมูล โดยที่โครงการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาข้าวอินทรีย์จังหวัดพัทลุง ได้กำหนดประเด็นขับเคลื่อนไว้ 5 ประเด็นยุทธศาสตร์คือ
    1) ประเด็นการวิจัยและพัฒนาพันธ์ข้าวพื้นเมืองคุณภาพ ภายใต้กลยุทธการปฏิรูปเทคโนโลยีการเกษตรอินทรีย์ด้วยการผสานภูมปัญญาและการวิจัย ซึ่งกำหนดให้มีโครงการวิจัยและพัฒนาข้าวอินทรีย์ โครงการวิจัยสร้างคุณค่าจากข้าวอินทรีย์ เพื่อให้จังหวัดพัทลุงมีเทคโนโลยีทางการเกษตร ผลงานวิจัย ผลงานวิชาการ องค์ความรู้และสารสนเทศที่รองรับผลผลิต ผลิตภัณฑ์และการตลาดข้าวอินทรีย์
    2) ประเด็นการบริหารจัดการดิน น้ำ สำหรับข้าวอินทรีย์ ภายใต้กลยุทธการปรับดิน จัดการน้ำรองรับการเกษตรอินทรีย์ ที่มี โครงการฟื้นฟูปรับปรุงคุณภาพดินน้ำเพื่อใช้ของในการเกษตรอินทรีย์ ที่ได้มาตรฐานและเป็นที่ยอมรับ เพื่อจัดสภาพแวดล้อมทางการเกษตรข้าวอินทรีย์ให้โดดเด่นด้านการรักษาสภาพแวดล้อมและการมีความสมบูรณ์ของดิน น้ำ
    3) ประเด็นการบริหารจัดการมาตรฐานข้าวอินทรีย์ ภายใต้กลยุทธการสร้างระบบการจัดการพันธุ์ข้าวแบบพึ่งตนเองที่ยั่งยืน โครงการผลิตข้าวพันธุ์ดี และโครงการเมล็ดพันธุ์ชุมชน กลยุทธการต่อยอดข้าวท้องถิ่นสู้มาตรฐานข้าวอินทรีย์ ที่มีโครงการพัฒนาพันธุ์ข้าวท้องถิ่น เพื่อการบริหารจัดการการผลิตข้าวอินทรีย์พัทลุง มีมาตรฐานการเกษตรอินทรีย์ระดับสากล ผลผลิตข้าวมีคุณภาพสูง สามารถแข่งขันได้ในตลาดข้าวคุณภาพเพื่อสุขภาพในประเทศ และต่างประเทศ และกลยุทธส่งเสริมการจัดการข้าวอินทรีย์สู่มาตรฐานสากล โครงการเกษตรอินทรีย์ครบวงจร เพื่อเกษตรกรผู้ปลูกข้าวอินทรีย์ เป็นเกษตรกรมืออาชีพ มีศักยภาพสูง รวมกลุ่มเป็นแปลงใหญ่ และกลุ่มผู้ผลิตข้าวอย่างเข้มแข็ง สามารถจัดการผลผลิตให้มีปริมาณและคุณภาพได้มาตรฐานสากล 4) ประเด็นการพัฒนาระบบห่วงโซ่การผลิตข้าวอินทรีย์ ภายใต้กลยุทธการสร้างวิถีชีวิตข้าวอินทรีย์ในพื้นที่ให้เข้มแข็ง โครงการหมู่บ้านนาอินทรีย์วิถีเมืองลุง เพื่อให้พันธุ์ข้าวอินทรีย์ ผลผลิตข้าวอินทรีย์ ผลิตภัณฑ์ข้าวอินทรีย์ สามารถสร้างคุณค่า มูลค่าเพิ่มเชิงบูรณาการแก่ชุมชน สร้างความภาคภูมิใจในผลิตผล และผลิตภัณฑ์แก่ประชาชน สร้างโอกาสสร้างรายได้แก่ชุมชน
    5)ประเด็นการเสริมสร้างความเข้มแข็งของกลุ่มชาวนาอินทรีย์ ภายใต้กลยุทธการพัฒนาคุณค่า มูลค่าข้าวอินทรีย์สู้รายได้ที่มั่นคง โครงการแปรรูปผลิตภัณฑ์ข้าวสังข์หยดอินทรีย์ สู่ผลิภัณฑ์คุณภาพ เพื่อให้เครือข่ายวิสาหกิจชุมชนข้าวอินทรีย์มีศักยภาพในการพึ่งพาตนเองได้ เติบโตอย่างต่อเนื่อง เกิดเครือข่ายการผลิต การแปรรูป และจัดจำหน่ายข้าวอินทรีย์ที่มีความเข้มแข็งครบวงจร กลยุทธเพิ่มบุคลากรการเกษตรข้าวอินทรีย์ โครงการ SMART Farmer เพื่อให้เกษตรกรมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความรัก ความภูมิใจในอาชีพและวิถีเกษตรอินทรีย์ กลยุทธบูรณาการแปลงข้าวสู่การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และการเรียนรู้ โครงการเที่ยวนาข้าวเมืองลุง เพื่อให้พัทลุงเป็นแหล่งเรียนรู้ แหล่งผลิต พัฒนาเกษตรกรข้าวอินทรีย์ พัฒนาคุณภาพบุคลากรในห่วงโซ่ระบบการผลิตทุกระดับของจังหวัด ให้มีขีดความสามารถ มีศักยภาพเท่าทันการเปลี่ยนแปลงที่แข่งขันได้

  2. วัตถุประสงค์การประเมิน เพื่อประเมินผลการแปลงยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติของหน่วยงาน องค์กร เครือข่ายที่เกี่ยวข้อง เพื่อประเมินผลที่เกิดขึ้นจากโครงการ และเพื่อประเมินปัญหาอุปสรรคที่หน่วยงาน องค์กร เครือข่ายที่เกี่ยวข้องไม่สามารถแปลงยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติได้

  3. ขอบเขตการประเมิน มุ้งเน้นการประเมินภาพรวมการดำเนินการโดยประยุกต์ใช้ตัวแบบการประเมินของ Stufflebean และคณะ (cipp model) ครอบคลุมประเด็นดังต่อไปนี้
    3.1 การบรรลุวัตถุประสงค์โครงการ 3.2 ผลกระทบทั้งทางบวก ทางลบ และผลกระทบที่ไม่ได้คาดหวัง 3.3 บทเรียน ปัญหา ข้อจำกัด ข้อเสนอแนะ

  4. นิยามศัพท์เฉพาะ
    4.1 ข้าวอินทรีย์พัทลุงคุณภาพสูงมาตรฐานสากล หมายถึง ข้าวที่ผ่านกระบวนการผลิตตามมาตรฐานการเกษตรอินทรีย์ระดับสากล ผลผลิตข้าวมีคุณภาพสูง สามารถแข่งขันได้ในตลาดข้าวคุณภาพเพื่อสุขภาพในประเทศ และต่างประเทศ และเป็นข้าวพื้นเมืองที่มีดัชนีบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์
    4.2สร้างคุณภาพชีวิตคน หมายถึง เกษตรกรมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความรัก ความภูมิใจในอาชีพและวิถีเกษตรอินทรีย์ คนพัทลุงรับประทานข้าวพื้นเมือง ความมั่นคงทางอาหารของเกษตรกรเพิ่มขึ้น สามารถพึ่งตนเองทางอาหารได้มากขึ้น เพียงพอต่อความต้องการของจังหวัด 4.3 สร้างอาชีพเกษตรกร หมายถึง ผลผลิตข้าวอินทรีย์ ผลิตภัณฑ์ข้าวอินทรีย์ สามารถสร้างคุณค่า มูลค่าเพิ่มเชิงบูรณาการแก่ชุมชน สร้างความภาคภูมิใจในผลิตผล และผลิตภัณฑ์แก่ประชาชน สร้างโอกาสสร้างรายได้แก่ชุมชน เกษตรกร ประชาชนในชุมชนมีอาชีพและมีรายได้จาการจำหน่ายผลผลิต และผลิตภัณฑ์จากข้าวอินทรีย์ ที่สามารถสร้างรายได้แก่ชุมชน จังหวัด ที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง 4.4 สร้างรายได้ชุมชน หมายถึง มีวิสาหกิจชุมชนข้าวอินทรีย์ที่มีความสามารถในการบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชน หรือองค์กรผู้ประกอบการายย่อย ที่มีมาตรฐานของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม มีความสามารถในการพัฒนาคุณภาพมาตรฐานผลิตภัณฑ์ให้เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวาง จนทำให้สมาชิกผู้ประกอบการมีรายได้จากการดำเนินงาน มีการบริหารจัดการด้วยธรรมาภิบาล มีการจ้างงานเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนและผู้ประกอบการรายย่อยจากผลิตภัณฑ์ข้าวอินทรีย์ 4.5 สร้างสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน หมายถึง สภาพแวดล้อมทางการเกษตรข้าวอินทรีย์ของจังหวัดโดเด่นด้านการรักษาสิ่งแวดล้อมและการมีความสมบูรณ์ของดิน น้ำ
stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

แนวคิด ทฤษฎีและการประเมิน โครงการที่เกี่ยวข้อง
ตัวแบบการประเมินโครงการแบบ CIPP Model
การประเมินนี้ได้ประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินของสตัฟเฟิลบีมและคณะที่พัฒนาแบบจำลองสำหรับใช้ ในการประเมินที่เรียกว่า “CIPP Model” ซึ่งมีการแบ่งการประเมินเป็น 4 ส่วน มีขอบเขตโดยสังเขป ดังนี้
1. การประเมินบริบทหรือสภาวะแวดล้อม (context) เป็นการประเมินปัจจัยที่ส่งผลต่อโครงการ ก่อนลงมือดำเนินการโครงการทั้งนี้เพื่อชี้ให้เห็นว่าทำไมต้องดำเนินโครงการซึ่งจะครอบคลุมประเด็นเกี่ยวกับการกำหนด วัตถุประสงค์ การอธิบายหลักการเหตุผล ความจำเป็น ประเด็นปัญหา เป้าหมาย ความเป็นไปได้ของโครงการ ความ ต้องการของชุมชน/พื้นที่ กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับผลกระทบจากโครงการ นโยบาย ทิศทางการเมือง สังคม เศรษฐกิจ ภูมิสังคม
2. การประเมินปัจจัยนำเข้า (input) เป็นการประเมินทรัพยากรที่ใช้ในการดำเนินโครงการเพื่อชี้ให้เห็น ถึงความพร้อมของทรัพยากรที่จำเป็น เทคโนโลยี แผนงาน กำลังคน งบประมาณ แหล่งเงินทุน วัสดุอุปกรณ์ สถานที่ เครื่องมือครุภัณฑ์
3. การประเมินกระบวนการ (process) เป็นการประเมินเพื่อค้นหาจุดแข็งจุดอ่อน ข้อบกพร่องของ วิธีดำเนินการ การจัดกิจกรรมของโครงการ การนำทรัพยากรมาใช้อย่างเหมาะสมเกิดประโยชน์สูงสุด ลำดับขั้นตอน การดำเนินงาน กลไกกระบวนการบริหารจัดการ การมีส่วนร่วมของประชาชน การยอมรับของประชาชน กิจกรรมที่ ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์หรือกิจกรรมที่ส่งผลต่อการบรรลุจุดประสงค์ ปัญหาอุปสรรค์ข้อขัดข้อง เพื่อนำผลประเมินมา ปรับปรุงแก้ไข พัฒนากระบวนการดำเนินการให้รัดกุมมีประสิทธิภาพมากขึ้น
4. การประเมินผลผลิตที่เกิดขึ้นจากโครงการ (product) เป็นการประเมินเพื่อเปรียบเทียบผลที่เกิดขึ้น จริงจากการดำเนินโครงการกับเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ของโครงการว่าเป็นไปตามที่กำหนดไว้หรือไม่ หรือ เปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐาน  นอกจากจะยึดติดตามกรอบแนวคิดดังกล่าวแล้ว ในที่นี้ยังให้ความสำคัญกับผลลัพธ์หรือผลกระทบจาก โครงการฯ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อประเมินการนำแผนงานยุทธศาสตร์พันาข้าวอินทรีย์จังหวัดพัทลุง พ.ศ.2561-2564 ไปสู่การปฏิบัติ

ผลวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับการแปลงยุทธศาสตร์ไปสู่แผนงาน โครงการ กิจกรรม ได้อย่างไร มีกลไกใดบ้างที่ช่วยสนับสนุน ผลกระทบจากโครงการ ปัญหาอุปสรรค ข้อเสนอแนะ โดยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) และการวิเคราะห์เชิงเหตุและผล (Cause and effect analysis) ด้วยรูปแบบการพรรณนาความ

0.00
stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 0
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
ปฐมวัย (0-5 ปี) -
วัยเรียน (6-12 ปี) -
วัยรุ่น (13-15 ปี) -
เยาวชน (15-20 ปี) -
วัยทำงาน -
ผู้สูงอายุ (60 ปีขึ้นไป) -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
ผู้พิการ -
ผู้หญิง -
มุสลิม -
พระภิกษุ -
ชาติพันธุ์ -
ผู้ต้องขัง -
หลากหลายทางเพศ (LGBTIQ) -
กลุ่มด้อยโอกาส (คนไร้บ้าน, เด็กเร่ร่อน, เด็กกำพร้า, เด็กในสถานพินิจ ฯลฯ) -
แรงงานข้ามชาติ -
อื่น ๆ -
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 0.00 9 20,000.00
7 ธ.ค. 61 ประชุมคณะทำงาน1 0 0.00 500.00
15 ธ.ค. 61 ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 2 0 0.00 1,000.00
17 ธ.ค. 61 สัมภาษณ์ผู้รับผิดชอบโครงการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ข้าวอินทรีย์จังหวัพัทลุง (ดร.เชิดศักดิ์) 0 0.00 2,000.00
26 ธ.ค. 61 เก็บข้อมูล สัมภาษณ์เป็นรายบุคคล 0 0.00 2,000.00
28 ธ.ค. 61 เก็บรวบรวมข้อมูล โดยการสัมภาษณ์เป็นรายบุคคล 0 0.00 2,000.00
29 ธ.ค. 61 เก็บรวบรวมข้อมูล โดยการสัมภาษณ์เป็นรายบุคคล 0 0.00 2,000.00
31 ธ.ค. 61 ประชุมนักประเมินโครงการ 0 0.00 0.00
24 ม.ค. 62 ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 3 0 0.00 8,500.00
24 มี.ค. 62 เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์ผู้รับผิดชอบโครงการ 0 0.00 2,000.00

วิธีการดำเนินการ
การติดตาม และประเมินผลโครงการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ข้าวอินทรีย์จังหวัดพัทลุง สนับสนุนโดย สถาบันจัดการระบบสุขภาพ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สสส. ภายใต้การขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาข้าวอินทรีย์จังหวัดพัทลุง พ.ศ.2561-2564 กำหนดวิธีการการดำเนินงานไว้ 4 ขั้นตอนการประเมินมีดังนี้
1. บริบทของแผนยุทธศาสตร์ สาระสำคัญของแผนยุทธศาสตร์ ประเด็นยุทธศาสตร์ แผนงาน โครงการที่กำหนดไว้เพื่อบรรลุตามยุทธศาสตร์ข้าวจังหวัดพัทลุง
2. ศึกษารายละเอียดการประเมินจากคู่มือการใช้โปรแกรม เพื่อสร้างความเข้าใจรายละเอียดในแต่ละขั้นตอน
3. กำหนดวัตถุประสงค์การประเมิน โดยพิจารณาข้อมูลที่กำหนดไว้ในโปรแกรมแล้วเลือกใช้วัตถุประสงค์ที่ เหมาะสมกับบริบทของผู้ประเมิน ระยะเวลา และงบประมาณ ในการประเมิน
4. กำหนดประเด็นประเมิน โดยพิจารณาข้อมูลที่กำหนดไว้ในโปรแกรมแล้วเลือกประเด็นที่เหมาะสม เพื่อให้ครอบคลุมและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์การประเมิน (การแปลงแผนยุทธศาสตร์พัฒนาข้าวอินทรีย์จังหวัดพัทลุง พ.ศ. 2561-2564 ไปสู่การปฏิบัติ แผนงาน โครงการ กิจกรรม ) 5. พัฒนาเครื่องมือประเมิน คือ แบบสัมภาษณ์
6. กำหนดประชากรกลุ่มตัวอย่าง ในรูปแบบเจาะจง (Purposive) ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่รับผิดชอบโครงการจำนวน 3 คน, หน่วยงาน องค์กร ที่มีส่วนร่วมขับเคลื่อนแปลงยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติจำนวน 11 หน่วยงาน, กลุ่ม องค์กร เครือข่ายผู้ผลิต ผู้แปรรูป ผู้บริโภคข้าวอินทรีย์ (สภาเกษตรกร/กษจ/พานิช/อุต/ พด/ชป/ว.ภูมิ /ศุนย์วิจัย/อำมร /มาลี รร.) 3 หน่วย 7. เก็บรวบรวมข้อมูล โดยการสัมภาษณ์เป็นรายบุคคล จากผู้รับผิดชอบงานแผนและนโยบาย หรือเกี่ยวข้อง หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากหัวหน้าหน่วยงาน องค์กร ณ สถานที่ปฏิบัติราชการของเจ้าหน้าที่ และสถานที่ดำเนินโครงการในพื้นที่ รวมทั้งการถ่ายภาพผลการดำเนินโครงการ
8. วิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับการแปลงยุทธศาสตร์ไปสู่แผนงาน โครงการ กิจกรรม ได้อย่างไร มีกลไกใดบ้างที่ช่วยสนับสนุน ผลกระทบจากโครงการ ปัญหาอุปสรรค ข้อเสนอแนะ โดยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) และการวิเคราะห์เชิงเหตุและผล (Cause and effect analysis) ด้วยรูปแบบการพรรณนาความ

stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผลลัพธ์การขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาข้าวอินทรีย์จังหวัดพัทลุง พ.ศ.2561-2564 ไปสู่แผนงาน โครงการ กิจกรรม ของหน่วยงาน
  2. มีกลไกใดบ้างที่ช่วยสนับสนุน
  3. เกิดผลกระทบจากโครงการ
  4. ปัญหาอุปสรรค ข้อเสนอแนะ
stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 พ.ย. 2561 12:11 น.