การประเมินผลโครงการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาข้าวอินทรีย์จังหวัดพัทลุง ภายใต้โครงการพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่าย สสส.ระดับกลุ่มพื้นที่ภาคใต้
ประชุมคณะทำงานการติดตาม และประเมินผลโครงการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ข้าวอินทรีย์จังหวัดพัทลุง
ผู้เข้าร่วมประชุม 3 คน นายสมนึก นุ่นด้วง นายถาวร คงศรี นายเสงียม ศรีทวี
รายละเอียดการประชุม
-เตรียม ออกแบบ เลือกกรอบการประเมินโครง ออกแบบการจัดเก็บข้อมูล กระบวนการที่ดำเนินการ จัดทำปฎิทินการดำเนินงานการประเมิน
ผลผลิต ได้กรอบแนวทางในการติดตามประเมิน
การติดตาม และประเมินผลโครงการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ข้าวอินทรีย์จังหวัดพัทลุง
วัตถุประสงค์ของการประเมินเพื่อประเมินการนำยุทธศาสตร์ข้าวอินทรีย์จังหวัดพัทลุงไปสู่การปฏิบัติ
กรอบการประเมิน ใช้รูปแบบ CIPP Model เป็นเครื่องมือในการประเมิน
ขอบเขตการประเมิน
- ขอบเขตเชิงพื้นที่ ดำเนินการประเมินในพื้นที่จังหวัดพัทลุง ประกอบด้วย หน่วยงานระดับจังหวัด ระดับอำเภอ ระดับท้องถิ่น ระดับเครือข่าย องค์กร
- ขอบเขตเชิงเนื้อหา ดำเนินการประเมินจากโครงการในประเด็นหลัก 4 ประเด็น คือ
1.กลไกที่ร่วมขับเคลื่อน การทำแผนงานโครงการข้าวอินทรีย์
• หน่วยงาน
•ประเด็นทางยุทธศาสตร์ ที่สำคัญ
2.กระบวนการขับเคลื่อน การทำแผนงานโครงการข้าวอินทรีย์
•แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาข้าวอินทรีย์จังหวัดพัทลุง พ.ศ.2561 - 2565
3.ผลที่เกิดขึ้นจาการขับเคลื่อนการทำแผนงานโครงการข้าวอินทรีย์
•มีจำนวนกี่หน่วยงาน กี่ท้องถิ่น กี่เครือข่าย/องค์กร กี่แผนงาน กี่โครงการ
4.ปัจจัยสำคัญที่มีผลกระทบต่อการขับเคลื่อนการทำแผนงานโครงการข้าวอินทรีย์
- ขอบเขตเชิงระยะเวลา
ดำเนินการประเมินระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2562 ถึงวันที่ 31มีนาคม พ.ศ. 2562 จำนวน 3เดือน
- วิธีการดำเนินการ
การติดตาม และประเมินผลการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ข้าวอินทรีย์จังหวัดพัทลุงภายใต้โครงการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ข้าวอินทรีย์จังหวัดพัทลุง สนับสนุนโดย สถาบันจัดการระบบสุขภาพ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สสส. 4 ขั้นตอนหลัก คือ
1. บริบทของแผนยุทธศาสตร์ สาระสำคัญของแผน
a. ประเด็นยุทธศาสตร์
b. แผนงาน
c. โครงการที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ข้าวจังหวัดพัทลุง
2. ปัจจัยนำเข้า มีใครเกี่ยวข้องในการแปลงแผนยุทศาสตร์ข้าวจังหวัดพัทลุงไปสู่การปฏิบัติ แผนงาน โครงการ
3. กระบวนการแปลงแผนยุทศาสตร์ข้าวจังหวัดพัทลุงไปสู่การปฏิบัติ แผนงาน โครงการ ได้อย่างไร มีกลไกใดบ้างที่ช่วยสนับสนุน โดยใช้แบบสอบถามการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ที่เกี่ยวข้อง
1. การดำเนินงานแต่ละขั้นตอน
• คนหรือกลุ่มคน ที่เป็นตัวหลักหรือกลุ่มคนที่เป็นตัวยุทธศาสตร์
• ข้อมูลหรือฐานข้อมูล
• มีการปฏิบัติการตามหรือประยุกต์การทำงานจากแผนงานที่มีอยู่เดิมและเป็นแผนปฏิบัติการ
• มีการใช้งบประมาณและแหล่งงบประมาณ
• มีการใช้สถานที่ เครื่องมือ วัสดุอุปกรณ์อย่างไร
• มีการใช้ทุนทางสังคมที่มีอยู่ในชุมชนมาหนุนเสริมการทำงานอย่างไร เช่นทุนทางวัฒนธรรมและวิถีชีวิต ภูมิปัญญา
2. การดำเนินงานได้ปฏิบัติตามแผนงานที่กำหนดหรือไม่ อย่างไร มีปัญหาอุปสรรคอะไร มีแนวทางการปรับวิธีการทำงาน หรือปรับแผนอย่างไร
3. ได้ผลแต่ละขั้นตอนตรงตามที่วางแผนหรือไม่และควรจะต้องปรับวิธีการทำงานอย่างไร รวมถึงต้องการหนุนเสริมจากใคร หน่วยงานใด ในเรื่องใด อย่างไร
4. ชุดความรู้นวัตกรรมเชิงระบบการเปลี่ยนแปลงของ คน กลไก สภาพแวดล้อม ที่มีผลต่อสุขภาวะ
ผลลัพธ์
-คณะทำงานได้ข้อสรุปดำเนินการตามกรอบที่กำหนด โดยการทำปฎิทินการดำเนินงาน