ระบบติดตามและประเมินผลโครงการ ( M&E Thailand )

directions_run

การประเมินผลโครงการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาข้าวอินทรีย์จังหวัดพัทลุง ภายใต้โครงการพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่าย สสส.ระดับกลุ่มพื้นที่ภาคใต้

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

ผลผลิต
  คือ รูปธรรมการดำเนินตามแผนยุทธศาสตร์ข้าวอินทรีย์ที่เกิดขึ้นของหน่วยงานตามวัตถุประสงค์การประเมิน

วัตถุประสงค์ของการประเมิน
  เพื่อประเมินการนำยุทธศาสตร์การพัฒนาข้าวอินทรีย์จังหวัดพัทลุงไปสู่การปฏิบัติ

แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาข้าวอินทรีย์จังหวัดพัทลุง

  -มีการขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาข้าวอินทรีย์ พ.ศ 2561 – 2565 ตาม วิสัยทัศน์ ข้าวอินทรีย์พัทลุง คุณภาพสูงมาตรฐานสากล สร้างคุณภาพชีวิตคน สร้างอาชีพเกษตรกร สร้างรายได้ชุมชน สร้างสิ่งแวดล้อมที่ยังยืน พันธกิจ(Mission)  1 พัฒนาการบริหารจัดการการผลิตข้าวอินทรีย์ และเสริมสร้างศักยภาพของเกษตรกรกลุ่มเกษตรกรในการผลิตข้าวอินทรีย์ของจังหวัดพัทลุงให้มีคุณภาพ มาตรฐานสากล 2.พัฒนากลุ่มเกษตรกรให้เป็นวิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการรายย่อยที่มีขีดความสามารถในการบริหารจัดการและสร้างสรรค์คุณค่าของผลผลิตข้าวอินทรีย์ ผลิตภัณฑ์จากข้าวอินทรีย์ที่สามารถแข่งขันได้ 3. ส่งเสริม สนับสนุน การเชื่อมโยงเครือข่ายห่วงโซ่อุปทานข้าวอินทรีย์ให้มีความเข้มแข็งและกรบวงจร เพื่อเพิ่มศักยภาพทางการแข่งขัน และการใช้ประโยชน์ร่วมกันของทรัพยากรและเกื้อกูลซึ่งกันและกัน 4. ส่งเสริมสนับสนุนให้มีการจัดการความรู้และสารสนเทศข้าวอินทรีย์ การวิจัย สร้างองค์ความรู้และพัฒนาบุคลากรในห่วงโซ่อุปทานข้าวอินทรีย์ทุกระดับให้มีขีดความสามารถในการผลิต พัฒนาผลผลิต บริหารผลผลิตและการจัดการการตลาดที่ก่อให้เกิดคุณค่าและมูลค่า

  - เป้าประสงค์สูงสุดของแผนยุทธศาสตร์ 1. เพิ่มพื้นที่นาอินทรีย์ 27,000 ไร่ใน 5 ปีมีระบบการจัดการแบบครบวงจรตามมาตรฐานข้าวอินทรีย์ 2. ข้าวอินทรีย์พัทลุงเป็นข้าวที่มีเอกลักษณ์เฉพาะสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์(GI) ตลาดมีความเชื่อมั่นร้อยละ 70 และสามารถจำหน่ายได้ไม่ต่ำกว่ากิโลกรัมละ 100 บาท ผลลัพธ์ ข้อมูลจากกลุ่มวิสาหกิจชุมชนท่าช้าง ข้าวอินทรีย์ ราคาส่ง 120 บาท 3. มีโกดังเก็บข้าวทั้ง 3 โซน(โซนเหนือ โชนกลาง โซนใต้) และมีโกดังกลาง 1 โกดังเพื่อควบคุมมาตรฐาน และมีโรงสี GMP เพิ่มขึ้นโซนละ 3 แห่ง 4. มีหน่วยรับรองคุณภาพมาตรฐานเกษตรอินทรีย์พัทลุงที่จัดตั้งขั้นมาในรูปแบบประชารัฐที่มีธรรมาภิบาล

  - ประเด็นยุทธศาสตร์ 5 ประเด็น 1. การวิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าวคุณภาพ 2. การบริหารจัดการดิน น้ำ สำหรับข้าวอินทรีย์ 3. การบริหารจัดการมาตรฐานข้าวอินทรีย์ 4. การพัฒนาห่วงโซ่อุปทานข้าวอินทรีย์ 5. การเสริมสร้างความเข้มแข็งของกลุ่มชาวนาอินทรีย์

  - เป้าประสงค์ของประเด็นยุทธศาสตร์ • ตัวชี้วัดและค่าเป้าหมาย • กลยุทธ์ โครงการ • การเชื่อมโยงการแปลงยุทธศาสตร์สู่ปฏิบัติ • แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาข้าวอินทรีย์


- ผลลัพธ์

  • เกิดการขับเคลื่อน การเชื่อมโยงสู่การแปลงยุทธศาสตร์สู่ปฏิบัติ แบบบูรณาการ โดยเห็นภาพรวมให้ระดับคะแนน 2 (คะแนน 1 ถึง 5 น้อย ไปมาก)
    -การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพในเชิงบูรณาการหน่วยงานทางกายภาพ สังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม -สภาเกษตรกรเป็นกลไกหลักสำคัญรวบรวมเสนอความต้องการของกลุ่มเกษตรกรรายย่อยและกระจายไปสู่หน่วยงานที่มีภาระกิจหลักที่เกี่ยวข้อง เกษตรกรได้พัฒนาตรงความต้องการเพิ่มขึ้น โดยการรวบรวมข้อมูลเสนอเป็นโครงการ -หน่วยงานสนับสนุน ได้แก่ พัฒนาที่ดิน ตรวจดินให้เกษตรกร ชลประทาน จัดการเรื่องน้ำในการทำการทำนา ในเขตและนอกเขตชลประทานและตรวจคุณภาพน้ำให้เกษตรกร พาณิชย์จังหวัดพัทลุง อุตสาหกรรมจังหวัดพัทลุง หน่วยงานสนับสนุนพัฒนาเกษตรกรต่อยอดผลิตภัณฑ์ ผลผลิต รวมทั้งช่องทางใหม่ๆ ให้เกษตรกรชาวนาเข้าถึง เช่น อุตสาหกรรมพัฒนาต่อยอดข้าวข้าวสังข์หยดพัทลุง ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนจากสหภาพยุโรป เป็นสินค้าบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไทย(GI) ปลูกได้เฉพาะพัทลุงเท่านั้น เป็นผลิตภัณฑ์ ข้าวปิ้งสังข์หยดคั่วกลิ้ง โดยกลุ่มย์วิจัยข้าวพัทลุง เป็นหน่วยงานผลิตเมล็ดและรองมาตรฐานมาตรฐาน Organic Thailand
    • เกิดผลลัพธ์ทั้ง 3 ระยะ จากการทำงานร่วมกันเกิดความการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและความสัมพันธ์ทั้งในระดับบุคคลและระดับองค์กร
    o ระยะต้นน้ำ ก่อตัวมีความรู้หน่วยงาน สภาเกษตรกรรวบรวมปัญหา ความต้องการ นำเสนอต่อหน่ายงานที่มีภารกิจหลักรับผิดชอบ พัฒนาที่ดิน ชลประทาน เกษตรจังหวัด อุตสาหกรรมจังหวัดพัทลุง พาณิชย์จังหวัดพัทลุง มหาวิทยาลัยทักษิณ ศูนย์วิจัยข้าว เป็นต้น o ระยะกลางน้ำ รวมกลุ่มพัฒนา สร้างผลผลิต หน่วยงานที่มีบทบาท คือ สภาเกษตรกร เกษตรจังหวัด อุตสาหกรรมจังหวัดพัทลุง พาณิชย์จังหวัดพัทลุง มหาวิทยาลัยทักษิณเป็นต้น o ระยะปลายน้ำ รวมกลุ่มสร้างเครือข่ายต่อยอดผลผลิต แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่จากข้าวอินทรีย์ สู่ สร้างกติกา มาตรฐาน หน่วยงาน สภาเกษตรกร เกษตรจังหวัด ศูนย์วิจัยข้าว พาณิชย์จังหวัด อุตสาหกรรมจังหวัด มหาวิทยาลัยทักษิณ โรงพยาบาล พัฒนาชุมชน

    o ผลกระทบ
    ผลกระทบสู่การขยายผลเชิงพื้นที่ • ขยายผลแหล่งเรียนรู้ต้นแบบ แหล่งผลิตและพัฒนาเกษตรกรข้าวอินทรีย์คุณภาพ บุคคกรในห่วงโซ่อุปทานข้าวอินทรีย์ทุกระดับของจังหวัดมีขีดความสามารถ มีศักยภาพเท่าทันการเปลี่ยนแปลงที่แข่งขันได้เช่น o ศูนย์สาธิตวิสาหกิจชุมชนท่าช้างฟื้นฟูเศรษฐกิจ o วิชชาลัยรวงข้าว o โรงนาหลานย่าแดงและชมรมอุสาหกรรมเกษตรอินทรีย์แหลมทองปันแต o บ้านเรียนรู้เกษตรธรรมชาติบางแก้ว o ฯลฯ

ผลกระทบสู่การขยายผลเชิงนโยบาย • สภาเกษตรกร เป็นกลไกหลักรับเรื่องปัญหาความต้องการเกษตรรายย่อย ชงเรื่อง ติดตามงาน กระจายงานไปยังหน่วยงานภารกิจหลัก ภารกิจสนับสนุน ทำข้อเสนอเชิงนโยบายเสนอต่อหน่วยงานให้บรรจุในแผนระดับต่าง ๆ

ผลกระทบสู่การขยายผลเชิงประเด็น ด้านเศรษฐกิจ   • ตามยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนาห่วงโซ่อุปทานข้าวอินทรีย์   o โครงการหมู่บ้านนาอินทรีย์วิถีเมืองลุง มีหมู่บ้านนาอินทรีย์วิถีเมืองลุง 100 หมู่บ้าน หน่วยงานท้องถิ่น/อปท   • ตามยุทธศาสตร์ที่ 5 การเสริมสร้างความเข้มแข็งของกลุ่มชาวนาอินทรีย์   o โครงการแปรรูปผลิตภัณฑ์ข้าวพันธุ์พื้นเมืองอินทรีย์สู่ผลิตภัณฑ์คุณภาพ หน่วยงานเกษตรจังหวัด พาณิชย์จังหวัด อุตสาหกรรมจังหวัด   o โครงการ Smart Farmer หน่วยงาน เกษตรจังหวัด   o โครงการเที่ยวนาข้าวเมืองลุง หน่วยงาน อปท /ท้องถิ่น กิจกรรมสำคัญ ท่องเที่ยวชุมชน OTOP นวัตวิถี ทุ่งชัยรอง หมู่ที่ 5 ตำบลพนางตุง อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง

 ด้านสิ่งแวดล้อม   • ตามยุทธศาสตร์ที่ 2 การบริหารจัดการดิน น้ำ สำหรับข้าวอินทรีย์   o โครงการฟื้นฟูปรับปรุงคุณภาพดิน น้ำเพื่อใช้ในการเกษตรอินทรีย์ที่ได้มาตรฐานและเป็นที่ยอมรับ หน่วยงาน ชลประทาน พัฒนาที่ดิน เกษตรจังหวัด   • ตามยุทธศาสตร์ที่ 3 การบริหารจัดการมาตรฐานข้าวอินทรีย์   o โครงการข้าวพันธุ์ข้าวดี หน่วยงานศูนย์วิจัยข้าว   o โครงการพัฒนาข้าวพื้นเมือง หน่วยงานศูนย์วิจัยข้าว   o โครงการเกษตรอินทรีย์ครบวงจร เกษตรจังหวัด

   ด้านสังคม   • ตามยุทธศาสตร์ที่ 1 การวิจัยและพัฒนาข้าวพันธุ์พื้นเมืองคุณภาพ   o โครงการวิจัยและพัฒนาข้าวอินทรีย์ ศูนย์วิจัยข้าวพัทลุง   o โครงการวิจัยสร้างคุณค่ามูลค่าจากข้าวอินทรีย์ วิทยาลัยภูมิปัญญา มหาวิทยาลัยทักษิณ   • ตามยุทธศาสตร์การเสริมสร้างความเข้มแข็งของกลุ่มชาวนาอินทรีย์ เป็นการปรับสภาพแวดล้อมทางสังคมที่เอื้อต่อการทำนาข้าวอินทรีย์ โดยการรื้อฟื้นวัฒนธรรมการทำนาแบบดังเดิมกลับมาใช้เพื่อ
  การแก้ปัญหาการทำนาในยุคปัจจุบัน เช่น เรินข้าว นาวาน เกลอเขา เกลอเล การเลี้ยงวัว ควาย การเก็บเกี่ยวกับแกละ ข้าวใหม่ให้ผู้เฒ่า ผู้แก่   o โครงการ SMART Farmer หน่วยงาน เกษตรจังหวัด   o ท่องเที่ยวนาเมืองลุง พัฒนาการจังหวัด ท่องเที่ยวชุมชน OTOP นวัตวิถี วิชชาลัยรวงข้าว วิสาหกิจชุมชนท่าช้าง

   ด้านสุขภาพ ผลกระทบสู่การขยายผลเชิงเครือข่าย   - ระดับเครือข่ายยังขาดเอกภาพในการจัดการ ตรามาตรฐาน อัตราการผลิต การกำหนดราคา
  - การรวมกลุ่ม ผลของการบริหารจัดการกลุ่มในเครือข่ายนาอินทรีย์รายย่อย ทำให้กลุ่มมีความเข้มแข็งทั้งด้านการผลิต การแปรรูป และด้านการตลาด โดยผ่านช่องทางสื่อสารที่ทันสมัย นับวันกลุ่มลูกค้าสั่งชื้อทางออนไลน์เพิ่มมากขึ้น ตัวอย่าง กลุ่มศูนย์สาธิตวิสาหกิจชุมชนบ้านท่าช้างฟื้นเศรษฐกิจ มีเทคนิคในการบริหารสมาชิกในกลุ่มเพื่อลดการแข่งขันกันเอง โดยการแบ่งโซนการผลิต แบ่งพันธุ์การปลูก ตลอดการประสานโรงสี รวมทั้งประสานแหล่งทุน

o ปัจจัยความสำเร็จ    กระบวนการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนขยายผลสู่วงกว้าง ครอบคลุมผู้บริโภคทุกระดับ เริ่มจากกระบวนการสร้างจิตสำนึกที่ดี อย่างง่าย ค่อยเป็นค่อยไป ทำควบคู่ไปทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค สู่การประสานมือและใจร่วมกันระหว่างคนปลูกข้าวกับคนกินข้าว    การรวมกลุ่มและทำงานเป็นเครือข่าย

o ปัญหาอุปสรรค    เงื่อนไขเปลี่ยนผ่าน 3 ปี ที่การขาดการเสริมพลัง เสนอให้มีทางเลือกเพิ่ม    ภารกิจหน้าที่ของหน่วยงานภาครัฐเป็นอุปสรรค์ต่อการทำงานร่วม มองไม่เห็นสำคัญ ไม่เป็นตัวชี้วัดขององค์กร เกิดช่องว่างระหว่างหน่วยงานรัฐกับเกษตรกร    เกษตรอินทรีย์มีหลายมาตรฐาน   • มาตรฐานรับรองโดยศูนย์วิจัยข้าว Organic Thailand   • มาตรฐานรับรองโดยสำนักงานเกษตรจังหวัดพัทลุง IFOAM   • มาตรฐานรับรองจากกลุ่มองค์กรชาวนา Participatory Guarantee Systems – PGS ยังไม่มีผู้รับรองระดับจังหวัด

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อประเมินการนำแผนงานยุทธศาสตร์พันาข้าวอินทรีย์จังหวัดพัทลุง พ.ศ.2561-2564 ไปสู่การปฏิบัติ
ตัวชี้วัด : ผลวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับการแปลงยุทธศาสตร์ไปสู่แผนงาน โครงการ กิจกรรม ได้อย่างไร มีกลไกใดบ้างที่ช่วยสนับสนุน ผลกระทบจากโครงการ ปัญหาอุปสรรค ข้อเสนอแนะ โดยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) และการวิเคราะห์เชิงเหตุและผล (Cause and effect analysis) ด้วยรูปแบบการพรรณนาความ
0.00 0.00

แผนงานโครงการของหน่วยงาน

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 0
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
ปฐมวัย (0-5 ปี) -
วัยเรียน (6-12 ปี) -
วัยรุ่น (13-15 ปี) -
เยาวชน (15-20 ปี) -
วัยทำงาน -
ผู้สูงอายุ (60 ปีขึ้นไป) -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
ผู้พิการ -
ผู้หญิง -
มุสลิม -
พระภิกษุ -
ชาติพันธุ์ -
ผู้ต้องขัง -
หลากหลายทางเพศ (LGBTIQ) -
กลุ่มด้อยโอกาส (คนไร้บ้าน, เด็กเร่ร่อน, เด็กกำพร้า, เด็กในสถานพินิจ ฯลฯ) -
แรงงานข้ามชาติ -
อื่น ๆ -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อประเมินการนำแผนงานยุทธศาสตร์พันาข้าวอินทรีย์จังหวัดพัทลุง พ.ศ.2561-2564 ไปสู่การปฏิบัติ

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) ประชุมคณะทำงาน1 (2) ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 3 (3) สัมภาษณ์ผู้รับผิดชอบโครงการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ข้าวอินทรีย์จังหวัพัทลุง (ดร.เชิดศักดิ์) (4) ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 2 (5) เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์ผู้รับผิดชอบโครงการ (6) เก็บรวบรวมข้อมูล โดยการสัมภาษณ์เป็นรายบุคคล (7) เก็บข้อมูล สัมภาษณ์เป็นรายบุคคล (8) เก็บรวบรวมข้อมูล โดยการสัมภาษณ์เป็นรายบุคคล (9) ประชุมนักประเมินโครงการ

ข้อเสนอแนะ ได้แก่
   กลุ่มองค์กรชาวนา ควรจัดตั้ง สหกรณ์ชาวนาอินทรีย์พัทลุง ที่มีกฎหมายรับรอง เพื่อทำหน้าที่ในการช่วยเหลือต่างๆจากภาครัฐ เช่น ทำหน้าที่ในการควบคุมดูแลมาตรฐานอินทรีย์ต่างๆ ที่ยังไม่มีผู้ดูแลในการตรวจรับรอง โดย ใช้ระบบการรับรองแบบมีส่วนร่วม (Participatory Guarantee Systems – PGS) แบ่งประเภทชาวนาให้ชัดเชน เช่น กลุ่มชาวนาที่ผลิตเพื่อการบริโภคในครัวเรือน เพื่อการค้า ผลิตเชิงอุตสาหกรรม กลุ่มชาวนาทางเลือก กลุ่มชาวนาพื้นที่ปลูกขนาดเล็ก ขนาดกลาง ขนาดใหญ่ เป็นต้น    เสนอให้ศูนย์เมล็ดพันธุ์ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวอินทรีย์ให้เพียงพอ

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh