ระบบติดตามและประเมินผลโครงการ ( M&E Thailand )

directions_run

การประเมินติดตามโครงการพัฒนาระบบบริการสุขภาพในพื้นที่พหุวัฒนธรรมจังหวัดชายแดนใต้ : โรงพยาบาลรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส

แบบประเมินผลการดำเนินงาน (Performance/Product Evaluation)

 เป้าประสงค์หรือวัตถุประสงค์/ตัวชี้วัด(Indicator)สถานการณ์เป้าหมายผลผลิต
(Output)
ผลลัพธ์
(Outcome)
ผลกระทบ
(Impact)
อธิบายข้อสังเกตที่สำคัญ
1 เพื่อค้นหาคุณค่าที่เกิดจากโครงการพัฒนาระบบบริการสุขภาพในพื้นที่พหุวัฒนธรรมอำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส
ตัวชี้วัด : - เกิดการเปลี่ยนแปลงคุณค่าโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพในแต่ละมิติ อย่างน้อย 1 ด้าน - เกิดรูปแบบบริการสุขภาพทั้งในระดับหน่วยบริการสุขภาพและชุมชนในพื้นที่พหุวัฒนธรรมที่สามารถนำไปใช้อย่างเป็นรูปธรรม
1.00 5.00

 

 

1) ด้านวิธีการทำงานการจัดการใหม่ในรูปแบบนโยบายสุขภาพดีวิถีธรรม กระทรวงสาธารณสุขโดยการใช้ 3ส3อ 1น วิถีพุทธ (3 ส ประกอบด้วย สวดมนต์ สมาธิ สนทนาธรรม, 3 อ ประกอบด้วย อาหาร อารมณ์ ออกกำลังกาย,1น คือนาฬิกาชีวิต) ส่วน 3ส3อ 1น วิถีอิสลาม (3 ส ประกอบด้วย ดุอาร์ รักษาหม่าม นาศีฮัต, 3 อ ประกอบด้วย บารอกัต เอาชนะนัฟซู อามานะห์, 1น คือวิถีสุนนะห์) มาประยุกต์ใช้ในสถานบริการและชุมชน ในสถานบริการมีการใช้ Ruso 8 hrs happinometer ส่วนในชุมชนใช้แนวคิดวิถีพุทธ วิถีอิสลาม ซึ่งเป็นแหล่งเรียนรู้ใหม่ให้ชุมชนใกล้เคียงในตำบลลาโล๊ะได้ 2) ด้านการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมใช้กิจกรรมคุณภาพชีวิต 5 ด้าน (การปกป้องจิตวิญญาณ การปกป้องชีวิต การปกป้องสติปัญญา การปกป้องครอบครัว การปกป้องทรัพยากร) เช่น การสวดมนต์ นั่งสมาธิ ของครัวเรือนทุกครัวเรือนในแต่ละวัน รูปแบบการออกกำลังกายที่หลากหลาย มีเมนูอาหารเพื่อสุขภาพ และใช้นาฬิกาชีวิตในครัวเรือน การนำส่งจิตอาสา 24 ชั่วโมง ในบ้านไทยสุข 44 ครัวเรือน ส่วนในชุมชนมุสลิมนำวิถีสุนนะห์ โดยผู้นำศาสนาและแกนนำ 3) ด้านสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาวะ มีการจัดการขยะในลักษณะเป็นขยะบุญ 12 ชุมชน การปลูกผักปลอดสารพิษ อย่างน้อย 5 ชนิด ปลูกทุกครัวเรือนในไทยพุทธ ส่วนชุมชนมุสลิม มีครัวเรือนปลูกผัก20 ครัวเรือน 4) ด้านนโยบายสาธารณะ มีธรรมนูญวัด และธรรมนูญมัสยิด 12 ชุมชน    5) มีการขับเคลื่อนรูปแบบสภาชุมชน พบการมีส่วนร่วมชุมชน