ระบบติดตามและประเมินผลโครงการ ( M&E Thailand )

การประเมินติดตามโครงการพัฒนาระบบบริการสุขภาพในพื้นที่พหุวัฒนธรรมจังหวัดชายแดนใต้ : โรงพยาบาลรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส

ลงพื้นที่ติดตามครั้งที่ 223 ธันวาคม 2561
23
ธันวาคม 2561รายงานจากพื้นที่ โดย นิมลต์ hsml1
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. สังเกตแบบมีส่วนในเวที โครงการพัฒนาศักยภาพแกนนำและสร้างเสริมสุขภาพวิธีธรรม ในตำบลลาโละ เพื่อค้นหาและยืนยันคุณค่าโครงการเพิ่มเติมจากแกนนำโครงการหลักจากชุมชน
    ประเด็นเพิ่มดังนี้
    • การก่อเกิดธรรมนูญสุขภาวพวิธีธรรม
    • กระบวนการพัฒนาสุขภาวพวิธีธรรม
    • ผลลัพธ์เปลี่ยนแปลงที่่เกิดขึ้นในชุมชน
  2. ทบทวนจากแหล่งข้อมูลเพิ่มเติม เช่น รายงานสถานการณ์โรคเรื้อรังจาก https://nwt.hdc.moph.go.th/hdc/main/index_pk.php
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ผู้ร่วมกิจกรรมทั้งหมด 200 คน ประกอบด้วย คณะทำงานโครงการแลเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลรือเสาะ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขในตำบล  ทีมติดตาม จำนวน 3 คน ตัวแทนชุมชนตำบลลาโละ 10 ชุมชน ตัวแทนภาคประชาชนจากอำเภอจะแนะ
  • ภาพรวมข้อมูล

    • มีการขับเคลื่อนสุขภาวะสุขภาพดีวิถีธรรมในรูปแบบธรรมนูญสุขภาวะมัสยิด 11 มัสยิด และธรรมนูญสุขภาวะวัดชนาราม 1ชุมชนตามกรอบแนวคิด วิถีธรรม 3 ส 3 อ 1 น บูรณาการพหุวัฒนธรรมโดยชุมชนร่วมคิดร่วมทำ ขยายจากชุมชนพุทธ สู่ชุมชนมุสลิม
    • มีกระบวนการสร้างความสัมพันธ์ ระหว่าง ไทย - มุสลิม ในชุมชน ต ลาโละ มีความสัมพันธ์ที่ดี มีการประชุมพูดคุยอย่างต่อเนื่องที่สอดคล้องวัฒนธรรมและประเพณีวิถีไทย วิถีมุสลิม
    • ประชาชนรับรู้ธรรมนูญสุขภาวะมัสยิด 11 มัสยิด และธรรมนูญสุขภาวะวัดชนาราม 1ชุมชน

    • การนำธรรมนุญสู่การปฏิบัติ เป็นการใช้ศาสนา / วัฒนธรรมเป็นฐานการพัฒนาโดยการใช้กรอบแนวคิด วิถีธรรม 3ส3อ 1น 2. เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ

    • การดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล โดยเริ่มจากชุมชนไทยสุข มีการปรัปเปลี่ยนฤติกรรมโดยการใช้กิจกรรมคุณภาพชีวิต 5 ด้าน (ด้านการปกป้องจิตวิญญาณ, ด้านการปกป้องชีวิต, ด้านการปกป้องสติปัญญา, ด้านการปกป้องครอบครัว, ด้านการปกป้องทรัพยากร)
    • กิจกรรม 3 ส (สวดมนต์ สมาธิ สนทนาธรรม) โดยมีการสวดมนต์ นั่งสมาธิ ของครัวเรือนทุกครัวเรือนในแต่ละวัน สมาชิกครัวเรือนมีการสนทนาธรรม ในกลุ่มประชาชน เยาวชน ที่วัดในวันพระ 4 ครั้ง ต่อเเดือน กำหนดเขตปลอดเครื่องมือสิ่อสาร ในลานฝึดสมาธิ ขยายให้เกิดการสวดมนต์ นั่งสมาธิ ของครัวเรือนทุกครัวเรือนในแต่ละวัน
    • กิจกรรม 3 อ ( อาหาร อารมณ์ ออกกำลังกาย ) เช่น การออกกำลังกาย 30 ต่อวันโดยการเต้นแอร์โรบิกทุกวัน เช้าเย็น รวมถึงมีกิจกรรม ปั่นจักยาน มีการกำหนดเส้นทางปั่นจักยานของชุมชนระยะทาง 16 กม โดยมีกลุ่มปั่นจักยาน 30 คน เป็นสมาชิกกลุ่ม ซึ่งได้นำงบกองทุนออมทรัพย์ของชุมชนไทยสุขจัดซื้อจักยานกองกลาง 20 คันมีลานออกกำลังกายในชุมชน ให้คนในชุมชนยืมออกกำลังกาย มีศูนย์ออกกำลังกายสำหรับคนในชุมชน และชุมชนมีการออแบบการออกกำลังกายที่หลากหลาย เช่น เต้นแอร์โรบิก ออกกำลังกายโ้วยเครื่อง ฟุตบอล วิ่ง เป้นต้น ด้านอาหารมีเมนูอาหารเพื่อสุขภาพลดเสี่ยงเบาหวาน ความดัน ในรูปแบบอาหารเป็นยา โดนเริ่มจากสมุนไพรใกล้บ้าน เช่น น้ำดื่มสมุนไพรควบคุมเบาหวาน เมนูอาหารเพื่อสุขภาพในครัวเรือน และงานบุญบริโภคผักริมรั้วปลอดสารพิษ อย่างน้อยครัวเรือนละ 5 ชนิด
    • ระบบนำส่งโดยชุมชนด้วยการใช้รถนำส่งผู้ป่วยโดยใช้รถจิตอาสาในชุมชนตลอด 24 ชั่วโมง เน้นผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บหน้าอก กล้ามเนื่ออ่อนแรง ทำให้คนในชุมชนเข้าถึงการรักษาที่รวดเร็ว ทำใหเ้เกิดการใช้เกิดการใช้นาฬิกาชีวิตเพื่อจัดการตนเอง ครอบครัว ชุมชน จำนวน 44 ครัวเรือน
    • ความสัมพันธ์ ระหว่าง ไทย - มุสลิม ในชุมชน ต ลาโละ มีความสัมพันธ์ที่ดี มีการประชุมพูดคุยอย่างต่อเนื่องตามเทศการวัฒนธรรมและประเพณีของไทยพุทธและไทยมุสลิม มีกิจกรรมสัมพันธ์ เช่น ในเดือนรอมฎอน ชุมชนไทยพุทธจะนำอินทผาลัมไปเยี่นมชุมชนมุสลิม วันสารทชุมชนมุสลิมนำข้าวสารให้ชุมชนไทยพุทร ทให้เกิดความสงบสุขในตำบลลาโละ

    • จากรายงานการทบทวนฐานข้อมูลสถาการณ์โรคเรื้องรังเปรียบเทียบ 2 ปี พบว่า ผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่ลดลงจาก 7 คน เหลือ 5 คนในปี61 ความดันโลหิตสูงรายใหม่ลดลงจาก 12คน เหลือ 5 คน ในปี61 โรคเบาหวานที่สามารถควบคุมโรคได้ตามเกณฑ์ ลดลงจาก 8 คน เหลือ 6 คนในปี 61 โรคความดันโลหิตสูงที่สามามารถควบคุมได้ตามเกณฑ์ เพิ่มขึ้น จาก14 คน เป็น 19คนในปี 61