ระบบติดตามและประเมินผลโครงการ ( M&E Thailand )

การประเมินติดตามโครงการพัฒนาระบบบริการสุขภาพในพื้นที่พหุวัฒนธรรมจังหวัดชายแดนใต้ : โรงพยาบาลรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส

ประชุมทีมติดตามประเมินเพื่อสรุปผลการติดตาม14 มกราคม 2562
14
มกราคม 2562รายงานจากพื้นที่ โดย นิมลต์ hsml1
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. ประชุมคณะทำงานเพื่อสรุปคุณค่าโครงการตามแนวคืดการประเมินคุณค่า การติดตามการประเมินผลโครงการรการสร้างเสริมสุขภาพ
  2. ให้ข้อเสนอแนะและแนวทางการพัฒนาต่อเนื่อง
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

่ประชุมเพื่อสรุป โดยคืนข้อมูลการสรุปคุณค่า ซึ่งดำเนินกระบวนการโดบใช้กรอบคิดการติดตามแบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกัแบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพบการสร้างเสริมสุขภาพ ร่วมกับพื้นที่ เพื่อตรวจสอบความถูกต้องและเพิ่มเติมข้อมูลต่างๆจากพื้นที่ การสนทนาพูดคุยเป็นกันเอง และชุมชนร่วมให้คะแนนประเมินคุณค่าตนเอง ร่วมกับเจ้าหน้าที่ร่วมให้คะแนะประเมิน โดย มีรายละเอียดดังนี้

  1. เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน - ความรู้ใหม่/ องค์ความรู้ใหม่
    • วิธีการทำงาน / การจัดการใหม่ การนำนโยบายสุขภาพดีวิถี ธรรม กระทรวงสาธารณสุขโดยการใช้ 3ส3อ 1น โดยนำแนวคิดวิถีพุทธ มาปรับใช้ในการจัดการสุขภาพโดยวิธีอิสลาม
    • แหล่งเรียนรู้ใหม่ เกิดแหล่งเรียนรู้สุขภาพดีวิถีพุทธในชุมชนไทยสุข ในการใช้นาฬิกาชีวิตในครัวเรือน 44 ครัวเรือน 168 คน ในชุมชนไทยสุข
  2. เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ - การดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล ชุมชนไทยสุข มีการปรัปเปลี่ยนฤติกรรมโดยการใช้กิจกรรมคุณภาพชีวิต 5 ด้าน
    (ด้านการปกป้องจิตวิญญาณ ด้านการปกป้องชีวิต ด้านการปกป้องสติปัญญา ด้านการปกป้องครอบครัว ด้านการปกป้องทรัพยากร) เช่นใช้กิจกรรม 3 ส(สวดมนต์ สมาธิ สนทนาธรรม) โดยมีการสวดมนต์ นั่งสมาธิ ของครัวเรือนทุกครัวเรือนในแต่ละวัน สมาชิกครัวเรือนมีการสนทนาธรรมที่วัดทุก4 ครั้ง ต่อเดือน
    • กิจกรรม3 อ ( อาหาร อารมณ์ ออกกำลังกาย ) เช่น การออกกำลังกาย 30 ต่อวันโดยการเต้นแอร์โรบิก ปั่นจักยาน เมนูอาหารเพื่อสุขภาพลดเสี่ยงเบาหวาน ความดัน กิจกรรมการจัดการชีวิต โดยใช้นาฬิกาชีวิต ในครัวเรือน ในบ้านไทยสุข 44 ครัวเรือน ในชุมชนมุสลิม มีการนำการปฏิบัติตามวิถีอิสลาม และการปฏิบัติตามแบบอย่างท่านนาบี โดยมีรูปแบบผู้นำศาสนาและแกนนำชักชวน มาร่วมกิจกรรมทางศาสนาต่างๆ เช่น การชักชวนมาละหมาดที่มัสยิด โดยใช้มาตรการทางสังคม โดนผู้ที่ละหมาดมัสยิดจะรวมตัวกันไปร้านกาแฟ ร้านอาหารที่เจ้าของร้านไปร่วมละหมาด ทำให้ มีผู้ละหมาดเพิ่มชึ้น จาก 3-4 คน เป็น 10-15 คน
    • การบริโภค มีเมนูอาหารเพื่อสุขภาพในครัวเรือน และงานบุญเบาหวาน ความดัน บริโภคผักริมรั้วปลอดสารพิษ อย่างน้อยครัวเรือนละ 5 ชนิดทำให้ เบาหวานรายใหม่ลดลงจาก 7 คน เหลือ 5 คนในปี61 ความดันโลหิตสุงรายใหม่ลดลงจาก 12คน เหลือ 5 คนในปี61DM control ลดลงจาก 8คน เหลือ 6คนในปี61DM control ลดลงจาก 8คน เหลือ 6 คนในปี61HTcontrolเพิ่มขึ้น จาก14 คน เหลือ 19คนในปี61 บริโภคผักริมรั้วปลอดสารพิษในชุมชนมุสลิม ต ลาโละ
    • การออกกำลังกาย มีลานออกกำลังกายในชุมชน การออกกำลังกาย 30 ต่อวันโดยการเต้นแอร์โรบิกทุกวัน เช้าเย็น รวมถึงมีกิจกรรม ปั่นจักยาน มีการกำหนดเส้นทางปั่นจักยานของชุมชนระยะทาง 16 กม โดยมีกลุ่มปั่นจักยาน 30 คน เป็นสมาชิกกลุ่ม ซึ่งได้นำงบกองทุนออมทรัพย์ของชุมชนไทยสุขจัดซื้อจักยานกองกลาง 20 คันมีลานออกกำลังกายในชุมชน ให้คนในชุมชนยืมออกกำลังกาย มีศูนย์ออกกำลังกายสำหรับคนในชุมชน และชุมชนมีการออแบบการออกกำลังกายที่หลากหลาย เช่น เต้นแอร์โรบิก ออกกำลังกายโ้วยเครื่อง ฟุตบอล วิ่ง เป้นต้น
    • การลด ละ เลิก อบายมุข เช่น การพนัน เหล้า บุหรี่ มีการจัดอบรมให้ความรุู้ในชุมชน ฟังบรรยายธรรม และเน้นการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ด้วยการออกกำลังกายที่ศุนย์เรียนรู้ในกลุ่มเยาชนและเด็ก ทำให้ไม่พบผู้ติดยาเสพติดรายใหม่ และผู้สูบบุหรี่รายใหม่ ในชุมชนมุสลิม มีผู้เลิกบุหรี่ 2 คน
    • การลดพฤติกรรมเสี่ยง เช่น พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ การขับรถโดยประมาท ชุมชนมีรถรับส่งผู้ป่วยฉุกเฉิน ในลักษณะรถนำส่งผู้ป่วยจิตอาสา มีพนักงานขัรถจิตอาสา ด้วยคนในชุมชน ซึ่งสร้างระบบนำส่งโดยชุมชนด้วยการใช้รถนำส่งผู้ป่วยโดยใช้รถจิตอาสาในชุมชนตลอด 24 ชั่วโมง เน้นผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บหน้าอก กล้ามเนื่ออ่อนแรง ทำให้คนในชุมชนเข้าถึงการรักาาที่รวดเร็วเพื่อคนในชุมชนไทยสุขเข้าถึงบริการสุขภาพ
    • การจัดการอารมณ์ / ความเครียด โดยมีการสวดมนต์ นั่งสมาธิ ของครัวเรือนทุกครัวเรือนในแต่ละวัน สมาชิกครัวเรือนมีการสนทนาธรรม ในกลุ่มประชาชน เยาวชน ที่วัดในวันพระ 4 ครั้ง ต่อเดือน กำหนดเขตปลอดเครื่องมือสิ่อสาร ในลานฝึดสมาธิ ขยายให้เกิดการสวดมนต์ นั่งสมาธิ ของครัวเรือนทุกครัวเรือนในแต่ละวัน
    • มีการสวดมนต์ นั่งสมาธิ ของครัวเรือนทุกครัวเรือนในแต่ละวัน สมาชิกครัวเรือนมีการสนทนาธรรมที่วัดทุกวันพระ
    • การดำรงชีวิต / วิถีชีวิต เช่น การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น / สมุนไพรในการดูแลสุขภาพตนเอง - การดำรงชีวิตโดยใช้วิถีธรรม(วิถีพุธ) และวิถีอิสลาม โดนการนำใช้ธรรมนูญสุขภาวะวัดอย่างเป็นรูปธรรม ในหมวด คือ หมวดความมั่นคงปลอดภัยในชิวิต หมวดสุขภาพ หมวดการศึกาษา หมวดครอบครัวและสังคม ผู้พิการ ผู้ด้วยโดกาส เด้ฏกำพร้า แม่หม้าย และผู้ป่วยติดเตียง หมวดทรัยย์สินเศรษฐกิจ และทรัพยากรชุมชน ขาดการทำบัญชีครัวเรือน และหมวดขับเคลื่อนธรรมนูญสูการปฏิบัติ ยังไม่มีการทบทวนนำสู่การแก้ไบต่อไป ธรรมนูญสุขภาวะมัสยิด ขับเคลื่อนเพียงบางหมวด เช่น หมวดครอบครัวและสังคม หมวดด้านการศึกษาในขับเคลื่อน ในการเข้าร่วมกิจกรรมสำคัญ และเดือนสำคัญทางศาสนา การอบรมการปฏิบัติศาสนกิจ หมวดหมวดทรัยย์สินเศรษฐกิจ และทรัพยากรชุมชน ขาดการทำบัญชีครัวเรือน การปลูกต้นไม้ยืนต้น หมวดขับเคลื่อนธรรมนูญสูการปฏิบัติ การขัเคลื่อนเริ่มขับเคลื่อน ยังไม่มีการทบทวนประเมินผลนำสู่การแก้ไขต่อไป
    • วิถีเกื้อกูลและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ในชุมชน ต ลาโละ มีความสัมพันะืที่ดี มีการประชุมพูดคุยอย่างต่อเนื่องตามเทศการวัฒนธรรมและประเพณีของไทยพุทธและไทยมุสลิม มีกิจกรรมสัมพันธ์ เช้น ในเดือนรอมฎอน ชุมชนไทยพุทธจะนำอินทผาลัมไปเยี่นมชุมชนมุสลิม วันสารทชุมชนมุสลิมนำข้าวสารให้ชุมชนไทยพุทร ทให้เกิดความสงบสุขในตำบลลาโละ
    • มีเมนูอาหารเพื่อสุขภาพลดเสี่ยงเบาหวาน ความดัน ในรูปแบบอาหารเป็นยา โดนเริ่มจากสมุนไพรใกล้บ้าน เช่น น้ำดื่มสมุนไพรควบคุมเบาหวาน เมนูอาหารเพื่อสุขภาพในครัวเรือน
    • พฤติกรรมการจัดการตนเอง ครอบครัว ชุมชน - การใช้รถนำส่งผู้ป่วยโดยใช้รถจิตอาสาในชุมชนตลอด 24 ชั่วโมง เน้นผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บหน้าอก กล้ามเนื่ออ่อนแรง
  3. การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)
    • กายภาพเช่น มีการจัดการขยะ ป่า น้ำ การใช้สารเคมีเกษตร และการสร้างสิ่งแวดล้อมในครัวเรือนที่ถูกสุขลักษณะ
    • lสภาพแวดล้อมทางสังคม เช่น มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ลดการเกิดอุบัติเหตุ ครอบครัวอบอุ่น การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อเด็ก เยาวชน และกลุ่มวัยต่างๆ มีพื้นที่สาธารณะ / พื้นที่ทางสังคม เพื่อเอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพของคนในชุมชน มีการใช้ศาสนา / วัฒนธรรมเป็นฐานการพัฒนา มีการใช้ศาสนา / วัฒนธรรมเป็นฐานการพัฒนาโดยการใช้กรอบแนวคิด วิถีธรรม 3ส3อ 1น
    • เศรษฐกิจสร้างสรรค์สังคม /สร้างอาชีพ / เพิ่มรายได้ - การปลูกผักปลอดสารพิษ อย่างน้อน 5 ชนิด
    • มีการบริการสุขภาพทางเลือก และมีช่องทางการเข้าถึงระบบบริการสุขภาพ - การใช้รถนำส่งผู้ป่วยโดยใช้รถจิตอาสาในชุมชน
    • กองทุนจัดการในชุมชน
    • กองทุนออมทรัพย์ ซื้อจักยานส่วนเพื่อขับเคลื่อนการออกกำลังกายในชุมชน
    • กองทุนโรงเรียน ตารีกา สนับสนุนกิจกรรมตารีกา
  4. การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ - มีกฎ / กติกา ของกลุ่ม ชุมชน ธรรมนูญสุขภาวะมัสยิด 11 มัสยิด และวัดชนาราม 1 แห่ง มีการนำธรรมนุญสู่การปฏิบัติ
    • มีมาตรการทางสังคมของกลุ่ม ชุมชน การจับปลาในบ่อปลาดุในพื้นที่สาธาณะ
    • มีธรรมนูญของชุมชน
  5. เกิดกระบวนการชุมชน
    • เกิดการเชื่อมโยงประสานงานระหว่างกลุ่ม / เครือข่าย (ใน และหรือนอกชุมชน)
    • การเรียนรู้การแก้ปัญหาชุมชน (การประเมินปัญหา การวางแผน การปฏิบัติการ และการประเมิน) รูปแบบสภาชุมชน การร่วมคิดร่วมทำธรรมนูญสุขภาวะ โดยชุมชนและเครือข่ายร่วมวางแผน ติดตามโดยชุมชน เช่น ประชุม
    • การใช้ประโยชน์จากทุนในชุมชนเช่น การระดมทุน การใช้ทรัพยากรบุคคลในชุมชน การระดมทุน การใช้ทรัพยากรจัดกิจกรรมเพื่อสุขภาพเช่น จักยานเพื่อสุขภาพ
    • มีการขับเคลื่อนการดำเนินงานของกลุ่มและชุมชนที่เกิดจากโครงการอย่างต่อเนื่อง - มีการขับเคลื่อนการดำเนินงานของกลุ่มและชุมชนที่เกิดจากโครงการอย่างต่อเนื่อง โดยการประชุม แจ้งประชาสัมพันธ์กิจกรรม และติดดามกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง
    • เกิดกระบวนการจัดการความรู้ในชุมชน
    • เกิดทักษะในการจัดการโครงการ เช่น การใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ การทำแผนปฏิบัติการ
    • อื่นๆ
  6. มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ
    • ความรู้สึกภาคภูมิใจในตัวเอง / กลุ่ม / ชุมชน
    • ภูมิใจในการเป็นชุมชนต้นแบบ และเป็นชุมชนนำร่องของอำเภอรือเสาะ ในการจัดการแบบแผนชีวิตของตนเอง ครอบครัว ชุมชน ให้เกิดสุขภาวะโดยวิถีธรรม ชุมชนเอื้ออาทร และมีจิตอาสา
    • การเห็นประโยชน์ส่วนรวมและส่วนตนอย่างสมดุล

- การใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย และพอเพียง
- ชุมชนมีความเอื้ออาทร
- มีการตัดสินใจโดยใช้ฐานปัญญา