ระบบติดตามและประเมินผลโครงการ ( M&E Thailand )

directions_run

การประเมินติดตามโครงการพัฒนาระบบบริการสุขภาพในพื้นที่พหุวัฒนธรรมจังหวัดชายแดนใต้ : โรงพยาบาลรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อค้นหาคุณค่าที่เกิดจากโครงการพัฒนาระบบบริการสุขภาพในพื้นที่พหุวัฒนธรรมอำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส
ตัวชี้วัด : - เกิดการเปลี่ยนแปลงคุณค่าโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพในแต่ละมิติ อย่างน้อย 1 ด้าน - เกิดรูปแบบบริการสุขภาพทั้งในระดับหน่วยบริการสุขภาพและชุมชนในพื้นที่พหุวัฒนธรรมที่สามารถนำไปใช้อย่างเป็นรูปธรรม
1.00 5.00

1) ด้านวิธีการทำงานการจัดการใหม่ในรูปแบบนโยบายสุขภาพดีวิถีธรรม กระทรวงสาธารณสุขโดยการใช้ 3ส3อ 1น วิถีพุทธ (3 ส ประกอบด้วย สวดมนต์ สมาธิ สนทนาธรรม, 3 อ ประกอบด้วย อาหาร อารมณ์ ออกกำลังกาย,1น คือนาฬิกาชีวิต) ส่วน 3ส3อ 1น วิถีอิสลาม (3 ส ประกอบด้วย ดุอาร์ รักษาหม่าม นาศีฮัต, 3 อ ประกอบด้วย บารอกัต เอาชนะนัฟซู อามานะห์, 1น คือวิถีสุนนะห์) มาประยุกต์ใช้ในสถานบริการและชุมชน ในสถานบริการมีการใช้ Ruso 8 hrs happinometer ส่วนในชุมชนใช้แนวคิดวิถีพุทธ วิถีอิสลาม ซึ่งเป็นแหล่งเรียนรู้ใหม่ให้ชุมชนใกล้เคียงในตำบลลาโล๊ะได้ 2) ด้านการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมใช้กิจกรรมคุณภาพชีวิต 5 ด้าน (การปกป้องจิตวิญญาณ การปกป้องชีวิต การปกป้องสติปัญญา การปกป้องครอบครัว การปกป้องทรัพยากร) เช่น การสวดมนต์ นั่งสมาธิ ของครัวเรือนทุกครัวเรือนในแต่ละวัน รูปแบบการออกกำลังกายที่หลากหลาย มีเมนูอาหารเพื่อสุขภาพ และใช้นาฬิกาชีวิตในครัวเรือน การนำส่งจิตอาสา 24 ชั่วโมง ในบ้านไทยสุข 44 ครัวเรือน ส่วนในชุมชนมุสลิมนำวิถีสุนนะห์ โดยผู้นำศาสนาและแกนนำ 3) ด้านสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาวะ มีการจัดการขยะในลักษณะเป็นขยะบุญ 12 ชุมชน การปลูกผักปลอดสารพิษ อย่างน้อย 5 ชนิด ปลูกทุกครัวเรือนในไทยพุทธ ส่วนชุมชนมุสลิม มีครัวเรือนปลูกผัก20 ครัวเรือน 4) ด้านนโยบายสาธารณะ มีธรรมนูญวัด และธรรมนูญมัสยิด 12 ชุมชน    5) มีการขับเคลื่อนรูปแบบสภาชุมชน พบการมีส่วนร่วมชุมชน

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 180 200
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
ปฐมวัย (0-5 ปี) 0
วัยเรียน (6-12 ปี) 0
วัยรุ่น (13-15 ปี) 0
เยาวชน (15-20 ปี) -
วัยทำงาน 0
ผู้สูงอายุ (60 ปีขึ้นไป) 0
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
ผู้พิการ -
ผู้หญิง -
มุสลิม 100 130
พระภิกษุ 0
ชาติพันธุ์ -
ผู้ต้องขัง -
หลากหลายทางเพศ (LGBTIQ) -
กลุ่มด้อยโอกาส (คนไร้บ้าน, เด็กเร่ร่อน, เด็กกำพร้า, เด็กในสถานพินิจ ฯลฯ) 0
แรงงานข้ามชาติ -
อื่น ๆ 50 50
- 0
คณะกรรมการพัฒนาระบบบริการสุขภาพในพื้นที่พหุวัฒนธรร 10 10
เจ้าหน้าที่โรงพยาบาล และ รพสต รือเสาะ 20 10

บทคัดย่อ*

การติดตามโครงการพัฒนาระบบบริการสุขภาพในพื้นที่พหุวัฒนธรรมจังหวัดชายแดนใต้เขตพื้นที่อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาสใช้กรอบการประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ โดยประชากรที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ ประกอบด้วยคณะกรรมการพัฒนาระบบบริการสุขภาพในพื้นที่พหุวัฒนธรรมจังหวัดชายแดนใต้เขตพื้นที่อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส จำนวน 10 คน เจ้าหน้าที่ทั่วไปโรงพยาบาลรือเสาะจำนวน 20 คน และกลุ่มประชาชนในพื้นที่ขับเคลื่อนพหุวัฒนธรรมวิถีพุทธจำนวน 50 คน และกลุ่มประชาชนวิถีมุสลิม จำนวน 185 คน โดยใช้กระบวนการสนทนากลุ่ม ซึ่งใช้แบบสอบถามแบบกึ่งโครงสร้างตามกรอบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพร่วมกับ การรวบรวมข้อมูลจากเอกสารของพื้นที่ การบันทึกภาคสนาม โดยวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา
            ผลการประเมินพบว่า 1) ด้านวิธีการทำงานการจัดการใหม่ในรูปแบบนโยบายสุขภาพดีวิถีธรรม กระทรวงสาธารณสุขโดยการใช้ 3ส3อ 1น วิถีพุทธ (3 ส ประกอบด้วย สวดมนต์ สมาธิ สนทนาธรรม, 3 อ ประกอบด้วย อาหาร อารมณ์ ออกกำลังกาย,1น คือนาฬิกาชีวิต) ส่วน 3ส3อ 1น วิถีอิสลาม (3 ส ประกอบด้วย ดุอาร์ รักษาหม่าม นาศีฮัต, 3 อ ประกอบด้วย บารอกัต เอาชนะนัฟซู อามานะห์, 1น คือวิถีสุนนะห์) มาประยุกต์ใช้ในสถานบริการและชุมชน ในสถานบริการมีการใช้ Ruso 8 hrs happinometer ส่วนในชุมชนใช้แนวคิดวิถีพุทธ วิถีอิสลาม ซึ่งเป็นแหล่งเรียนรู้ใหม่ให้ชุมชนใกล้เคียงในตำบลลาโล๊ะได้ 2) ด้านการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมใช้กิจกรรมคุณภาพชีวิต 5 ด้าน (การปกป้องจิตวิญญาณ การปกป้องชีวิต การปกป้องสติปัญญา การปกป้องครอบครัว การปกป้องทรัพยากร) เช่น การสวดมนต์ นั่งสมาธิ ของครัวเรือนทุกครัวเรือนในแต่ละวัน รูปแบบการออกกำลังกายที่หลากหลาย มีเมนูอาหารเพื่อสุขภาพ และใช้นาฬิกาชีวิตในครัวเรือน การนำส่งจิตอาสา 24 ชั่วโมง ในบ้านไทยสุข 44 ครัวเรือน ส่วนในชุมชนมุสลิมนำวิถีสุนนะห์ โดยผู้นำศาสนาและแกนนำ 3) ด้านสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาวะ มีการจัดการขยะในลักษณะเป็นขยะบุญ 12 ชุมชน การปลูกผักปลอดสารพิษ อย่างน้อย 5 ชนิด ปลูกทุกครัวเรือนในไทยพุทธ ส่วนชุมชนมุสลิม มีครัวเรือนปลูกผัก20 ครัวเรือน 4) ด้านนโยบายสาธารณะ มีธรรมนูญวัด และธรรมนูญมัสยิด 12 ชุมชน    5) มีการขับเคลื่อนรูปแบบสภาชุมชน พบการมีส่วนร่วมชุมชนไทยสุข ชุมชนมุสลิมร้อยละ 86.1, 56.9 ตามลำดับ
          ข้อเสนอแนะการดำเนินงานในสถานบริการเรื่องการประเมิน Ruso 8 hrs happinometer ต้องมีผู้ประเมินชัดเจน รวมถึงการทบทวนติดตามการใช้ 3ส3อ 1น วิถีพุทธ วิถีอิสลาม การนำธรรมนูญวัด มัสยิดที่ประกาศใช้เป็นระยะอย่างต่อเนื่องในชุมชน และขยายพื้นที่การใช้ 3ส3อ 1น วิถีพุทธ วิถีอิสลาม การร่วมทำและนำใช้ธรรมนูญวัด และธรรมนูญมัสยิดในพื้นที่ใกล้เคียง

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh