ระบบติดตามและประเมินผลโครงการ ( M&E Thailand )

directions_run

โครงการพัฒนารูปแบบบูรณาการการขับเคลื่อนการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์กับเอชไอวี/เอดส์ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และยาเสพติด ในวัยรุ่น โดยองค์กรสาธารณประโยชน์ จังหวัดลำปาง

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนารูปแบบบูรณาการการขับเคลื่อนการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์กับเอชไอวี/เอดส์ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และยาเสพติด ในวัยรุ่น โดยองค์กรสาธารณประโยชน์ จังหวัดลำปาง
รหัสโครงการ 6102056
วันที่อนุมัติ 1 สิงหาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 สิงหาคม 2561 - 31 ธันวาคม 2563
งบประมาณ 4,000,000.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มเพื่อนเพื่อเด็กและเยาวชนจังหวัดลำปางร่วมกับสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดลำปาง
ผู้รับผิดชอบโครงการ นาง กมลวรรณ จันทร์พรมมิน,นางกรพินธุ์ วงศ์เจริญ
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ จังหวัดลำปาง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
สารเสพติด , เด็ก เยาวชน ครอบครัว , อื่นๆ
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เด็กและเยาวชนเยาวชนจังหวัดลำปาง ปี 2559 (อายุต่ำกว่า 18 ปี) ติดเกมและการพนันต่างๆร้อยละ 0.13 รองลงมา คือ ติดเหล้า เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ยาเสพติด ยาบ้า ยาไอซ์ ยาอี สารระเหย และมั่วสุมและทำความรำคาญให้ชาวบ้าน ร้อยละ 0.08 และเด็กที่ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร ไม่พร้อมในการเลี้ยงดูบุตร ร้อยละ 0.05 สำหรับสถานการณ์เยาวชน (อายุตั้งแต่ 18 – 25 ปี) มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม ส่วนใหญ่ ติดเหล้า เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ยาเสพติด ยาบ้า ยาไอซ์ ยาอี สารระเหย กัญชา ร้อยละ 0.49 รองลงมาคือมั่วสุมและทำความรำคาญให้ชาวบ้าน ร้อยละ 0.14 ติดเกมและการพนันต่างๆร้อยละ 0.13 ในปี 2560 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 , มัธยมศึกษาปีที่ 5 และ นักศึกษาระดับอาชีวศึกษา ปวช. ปีที่ 2 จำนวน 1,966 คน มีความรู้เรื่องโรคเอดส์ ร้อยละ 12.13 และพฤติกรรมการป้องกันการตั้งครรภ์อื่นๆ ที่น่าเป็นห่วง คือ ยังใช้วิธีที่ใช้ในการป้องกันการตั้งครรภ์ แบบหลั่งข้างนอก ชาย ร้อยละ 17.61  หญิง ร้อยละ 21.74 , ใช้วิธีการนับระยะปลอดภัย หรือ หน้า 7 หลัง 7  ชาย ร้อยละ 10.06 หญิง ร้อยละ 6.09 และ ใช้ถุงยางอนามัยชาย ชาย ร้อยละ 51.57  หญิง ร้อยละ 51.30 ทุกกลุ่มมีอัตราการใช้ถุงยางอนามัยค่อนข้างต่ำ ทำให้มีความเสี่ยงต่อการติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เอชไอวี/เอดส์ การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น
    ช่วง เดือน พฤศจิกายน พ.ศ.2557 ถึงมีนาคม พ.ศ.2561 จังหวัดลำปาง ได้ดำเนินโครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น โดยได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ มีการขับเคลื่อนงานแบบบูรณาการทุกภาคส่วน ภายใต้กรอบภารกิจ 9 ด้าน ซึ่งได้ดำเนินการก่อนการประกาศใช้พระราชบัญญัติป้องและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ.2559 ทำให้สถานการณ์การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น จังหวัด มีแนวโน้มที่ดีขึ้น โดยก่อนเริ่มดำเนินงานโครงการ (พ.ศ. 2557) มีอัตราการคลอดของหญิงอายุ 15 – 19 ปี อัตรา 28 ต่อ 1,000 คน หลังสิ้นสุดโครงการฯ (พ.ศ.2560) มีอัตราการคลอด ของหญิงอายุ 15 – 19 ปี อัตรา 22.32 ต่อ 1,000 คน อัตราการตั้งครรภ์ซ้ำ ของหญิงอายุ 15 – 19 ปี ลดลง โดยก่อนเริ่มดำเนินงานโครงการ (พ.ศ. 2557) มีอัตรา ร้อยละ 11.23 หลังสิ้นสุดโครงการฯ (พ.ศ.2560) มีอัตรา ร้อยละ 9.52 จำนวนร้อยละของหญิงอายุ 15 – 19 ปี ที่คลอด หรือ แท้ง ได้รับบริการคุมกำเนิดแบบกึ่งถาวร (ยาฝังคุมกำเนิด) เพิ่มขึ้น ต่อเนื่อง ตั้งแต่เริ่มดำเนินงานโครงการฯ แต่ไม่ถึงเป้าหมายตามที่ตั้งไว้ ร้อยละ 80 โดยมีข้อมูลก่อนดำเนินงานโครงการ (พ.ศ.2557) ร้อยละ 12 และหลังสิ้นสุดโครงการฯ (พ.ศ.2560) ร้อยละ 31.94 เท่านั้น เนื่องจากหญิงที่ไม่คุมกำเนิดแบบกึ่งถาวร พบข้อมูลว่าแต่งงานมีครอบครัว จึงไม่ประสงค์คุมกำเนิดแบบกึ่งถาวร นอกจากนี้ยังเกิดภาคีเครือข่ายองค์กรสาธารณประโยชน์ ด้านเด็กและเยาวชน นักวิชาการอิสระ เป็นองค์กรที่ดำเนินงานด้านวัยรุ่นมาอย่างต่อเนื่อง 5 องค์กร จำนวน 6 คน หน่วยงานภาครัฐ 5 กระทรวงหลักในอนุกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหา ตั้งครรภ์ในวันรุ่นกลุ่มองค์กรเครือข่ายระดับจังหวัดและระดับพื้นที่ จำนวน 69 หน่วยงาน และกระทรวงอื่น จำนวน 1 หน่วยงาน 93 คน ได้แก่ กระทรวง พม. จำนวน 1 หน่วยงาน กระทรวงสาธารณสุข จำนวน 36 หน่วยงาน กระทรวงศึกษาธิการ จำนวน 21 หน่วยงาน กระทรวงมหาดไทย จำนวน 10 หน่วยงาน กระทรวงแรงงาน จำนวน 1 หน่วยงาน และกระทรวงอื่น จำนวน 1 หน่วยงาน คือ อุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อน

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

กลุ่มเพื่อนเพื่อเด็กและเยาวชนจังหวัดลำปาง ร่วมกับสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดลำปาง เป็นกลไกหลักในการดำเนินงานให้เกิดเกิดรูปแบบการดำเนินงานการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ เอชไอวี/เอดส์ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และยาเสพติด โดย องค์กรสาธารณประโยชน์เป็นหน่วยงานหลักในการขับเคลื่อน มีกระบวนการดำเนินงาน 4 กระบวนการ คือ 1) หนุนเสริมคณะอนุกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ 5 ด้าน 2) การพัฒนาองค์กรสาธารณประโยชน์ในระดับพื้นที่ และหนุนเสริมเยาวชน ศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน OSCC 3) การประสาน และ สนับสนุนการทำงาน คณะทำงานภายใต้ยุทธศาสตร์งานป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น และ กลไกจังหวัดที่มีอยู่ด้านการดำเนินงาน ป้องกัน เอชไอวี/เอดส์ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และ ยาเสพติด 4) การบูรณาการทำงานปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น กับ HIV/AIDS , STI และ ยาเสพติด

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อพัฒนารูปแบบการบูรณาการ การขับเคลื่อนการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น บูรณาการกับงานป้องกัน เอชไอวี/เอดส์ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และยาเสพติด โดยองค์กรสาธารณประโยชน์ 2. เพื่อหนุนเสริมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น จังหวัดลำปาง
  1. การเข้าเป็นหน่วยประสานงาน ยุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น จังหวัดลำปาง และ มีบทบาทหน้าที่ชัดเจน  ขององค์กร สาธารณประโยชน์ (กลุ่มเพื่อนเพื่อเด็กและเยาวชนจังหวัดลำปาง) โดยสามารถทำงานร่วมกันกับกลไกจังหวัด
  2. มีแผนปฏิบัติงานรายปี ของจังหวัด ที่กลุ่มเพื่อนเพื่อเด็กและเยาวชนจังหวัดลำปาง  ได้เข้ามีส่วนร่วม
  3. รายการ และ จำนวน กิจกรรมที่สะท้อนการ บูรณาการเชิงเนื้อหา และ ผลผลิตของกิจกรรมนั้นๆ
  4. หน่วยงาน องค์กร จำนวนผู้มีแนวคิด เชิงบวก ด้านสุขภาพทางเพศ เพิ่มขึ้นร้อยละ 50% ภายหลังการดำเนินโครงการฯ
0.00
stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 3900
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
ปฐมวัย (0-5 ปี) -
วัยเรียน (6-12 ปี) -
วัยรุ่น (13-15 ปี) 1,300 0
เยาวชน (15-20 ปี) 1,300 0
วัยทำงาน -
ผู้สูงอายุ (60 ปีขึ้นไป) -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
ผู้พิการ -
ผู้หญิง -
มุสลิม -
พระภิกษุ -
ชาติพันธุ์ -
ผู้ต้องขัง -
หลากหลายทางเพศ (LGBTIQ) -
กลุ่มด้อยโอกาส (คนไร้บ้าน, เด็กเร่ร่อน, เด็กกำพร้า, เด็กในสถานพินิจ ฯลฯ) -
แรงงานข้ามชาติ -
อื่น ๆ -
พ่อแม่ ผู้ปกครองที่มีลูกหลานวัยรุ่น 1,300 0
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 7113 4,000,000.00 0 0.00
1 ส.ค. 61 - 31 ธ.ค. 63 1. การประชุมคณะทำงานกลุ่มเพื่อนเพื่อเด็กและเยาวชน 8 ครั้ง 20 80,000.00 -
1 ส.ค. 61 - 31 ธ.ค. 63 2. การประชุมเชิงปฏิบัติการวิเคราะห์ภาคีเครือข่ายฯ 1 ครั้ง 35 27,750.00 -
1 ส.ค. 61 - 31 ธ.ค. 63 3. การประชุมเพื่อวิเคราะห์ภาคีเครือข่ายองค์กรสาธารณประโยชน์ ด้านเด็กและเยาวชนในพื้นที่ กลุ่มเป้าหมาย หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จำนวน 1 ครั้ง 35 27,750.00 -
1 ส.ค. 61 - 31 ส.ค. 63 4. การอบรมพัฒนาศักยภาพองค์กรสาธารณประโยชน์ 1 ครั้ง 40 308,700.00 -
1 ส.ค. 61 - 31 ธ.ค. 63 6. เวทีถอดบทเรียนการดำเนินงาน 1 ครั้ง 40 248,700.00 -
1 ส.ค. 61 - 31 ธ.ค. 63 5. พัฒนาศูนย์บริการที่เป็นมิตรฯ 5.1 การประชุมวางแผน ร่วมกับสถานศึกษา ฝ่ายวิชาการ 2 ครั้ง 20 0.00 -
1 ส.ค. 61 - 31 ธ.ค. 63 5. พัฒนาศูนย์บริการที่เป็นมิตรฯ 5.2 เยี่ยมติดตามการเดินงานสถานศึกษา 2 ครั้งต่อปี 0 55,200.00 -
1 ส.ค. 61 - 31 ธ.ค. 63 5. พัฒนาศูนย์บริการที่เป็นมิตรฯ 5.4 การอบรมสร้างกระบวนกรนักสื่อสารสุขภาวะทางเพศ 100 101,200.00 -
1 ส.ค. 61 - 31 ธ.ค. 63 5. พัฒนาศูนย์บริการที่เป็นมิตรฯ 5.3 เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานเพศวิถีศึกษาจังหวัด 0 26,400.00 -
1 ส.ค. 61 - 31 ธ.ค. 63 5. พัฒนาศูนย์บริการที่เป็นมิตรฯ 5.6 จัดทำสื่อ เผยแพร่ ข้อมูลข่าวสาร ความรู้ และ แนะนำบริการที่เป็นมิตรในจังหวัด5 3,000 204,400.00 -
1 ส.ค. 61 - 31 ธ.ค. 63 5. พัฒนาศูนย์บริการที่เป็นมิตรฯ 5.7 การประชุมชี้แจงผู้ที่เกี่ยวข้อง เป้าหมายพื้นที่ต้นแบบ 1 ครั้ง 40 27,600.00 -
1 ส.ค. 61 - 31 ธ.ค. 63 5. พัฒนาศูนย์บริการที่เป็นมิตรฯ 5.8 การอบรมพัฒนาผู้ให้บริการ ของศูนย์บริการที่เป็นมิตรในสถานศึกษา 65 94,400.00 -
1 ส.ค. 61 - 31 ธ.ค. 63 5. พัฒนาศูนย์บริการที่เป็นมิตรฯ 5.9 เยี่ยมติดตามหนุนเสริมสถานบริการฯต้นแบบ 0 6,600.00 -
1 ส.ค. 61 - 31 ธ.ค. 63 5. พัฒนาศูนย์บริการที่เป็นมิตรฯ 5.10 จัดทำสื่อสนับสนุนสถานบริการฯ ต้นแบบ 0 100,000.00 -
1 ส.ค. 61 - 31 ธ.ค. 63 7. พัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือ ฯ 7.1 การประชุมคณะทำงานภาคีองค์กรสาธาณประโยชน์ พัฒนารูปแบบการสื่อสารทักษะชีวิต 20 13,800.00 -
1 ส.ค. 61 - 31 ธ.ค. 63 7. พัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือ ฯ 7.2 อบรมพัฒนาศักยภาพแกนนำวัยรุ่น 40 167,600.00 -
1 ส.ค. 61 - 31 ธ.ค. 63 7. พัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือ ฯ 7.3 การประชุมแกนนำวัยรุ่น เพื่อจัดทำแผนงานกิจกรรม และ ติดตามการดำเนินงาน 30 30,000.00 -
1 ส.ค. 61 - 31 ธ.ค. 63 7. พัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือ ฯ 7.4 สนับสนุนการจัดกิจกรรมแกนนำวัยรุ่น เรื่อง การเผยแพร่ความรู้ทักษะชีวิต และ สิทธิวัยรุ่น 650 150,000.00 -
1 ส.ค. 61 - 31 ธ.ค. 63 7. พัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือ ฯ 7.5 กิจกรรมสื่อสาร รณรงค์สาธารณะ 2,000 96,000.00 -
1 ส.ค. 61 - 31 ธ.ค. 63 8. การบูรณาการ การจัดการความรู้ และการติดตามประเมินผล 8.1 การประชุมคณะทำงานติดตามหนุนเสริม 5 0.00 -
1 ส.ค. 61 - 31 ธ.ค. 63 8. การบูรณาการ การจัดการความรู้ และการติดตามประเมินผล 8.2 การประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำแผนหนุนเสริมการบูรณาการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์จังหวัด 30 82,800.00 -
1 ส.ค. 61 - 31 ธ.ค. 63 8. การบูรณาการ การจัดการความรู้ และการติดตามประเมินผล 8.3 การประชุมเชิงปฏิบัติการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ Best practice 40 35,600.00 -
1 ส.ค. 61 - 31 ธ.ค. 63 8. การบูรณาการ การจัดการความรู้ และการติดตามประเมินผล 8.4 จัดเวทีติดตามประเมินผลโครงการ 2 ครั้ง 250 460,800.00 -
1 ส.ค. 61 - 31 ธ.ค. 63 8. การบูรณาการ การจัดการความรู้ และการติดตามประเมินผล 8.5 ติดตามการดเนินงาน รวบรวม สรุปวิเคราะห์และจัดทำรายงานการติดผลภายใน 3 96,000.00 -
1 ส.ค. 61 - 31 ธ.ค. 63 9. ค่าตอบแทนและบริหารจัดการ 0 800,000.00 -
29 ม.ค. 64 5. พัฒนาศูนย์บริการที่เป็นมิตรฯ 5.5 การอบรมพัฒนาทักษะพ่อแม่ ผู้ปกครอง ที่มีลูกวัยรุ่น 13 ครั้ง 650 758,700.00 -
  1. การบูรณาการทำงานปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นกับ HIV/AIDS STI และยาเสพติด โดยการพัฒนากลไกระดับจังหวัดและระดับอำเภอ การพัฒนายุทธศาสตร์และแผนงานแบบมีส่วนร่วมสามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้จริง จัดการเรียนรู้ข้ามเครือข่าย การปรับทัศนคติเชิงบวกที่มีต่อวัยรุ่น
  2. หนุนเสริมคณะอนุกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ 5 ด้าน ด้วยการหนุนเสริมด้านประสบการณ์การทำงาน วิชาการ การพัฒนาบุคลากร และการพัฒนาหลักสูตรการสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายต่าง ๆ โดยให้คณะทำงานกลุ่มเพื่อนเพื่อเด็กและเยาวชนจังหวัดลำปาง เป็นคณะทำงานตามคำสั่งคณะทำงานยุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น จังหวัดลำปางทุกยุทธศาสตร์ การสื่อสารรณรงค์สาธารณะผ่านทางสื่อวิทยุ Facebook Line Youtube และการจัดกิจกรรมรณรงค์ การติดตามประเมินผลภายใน การรายงานความก้าวหน้าผลการดำเนินงานต่อคณะอนุกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นจังหวัดลำปาง
  3. การพัฒนาองค์กรสาธารณประโยชน์ในระดับพื้นที่ และหนุนเสริมเยาวชน ศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน OSCC ด้วยการจัดทำแผนงานพัฒนาเด็กและเยาวชนร่วมกัน พัฒนาศักยภาพและปรับทัศนคติเชิงบวกที่มีต่อวัยรุ่นและการสร้างทีมวิทยากรสื่อสารเรื่องเพศ อนามัยเจริญพันธ์ โดยใช้หลักสูตรการสื่อสารระหว่างพ่อแม่ผู้ปกครองกับบุตรหลานเพื่อส่งเสริมสุขภาวะทางเพศในเยาวชน และเพศวิถี ของมูลนิธิแพธทูเฮลท์ (path2health foundation) สนับสนุนสื่อ งบประมาณ และการ coaching
  4. การประสานและสนับสนุนการทำงานของคณะทำงานภายใต้ยุทธศาสตร์งานป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น และกลไกจังหวัดที่มีอยู่ ด้านการดำเนินงานป้องกันเอชไอวี/เอดส์ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และยาเสพติด ด้วยการพัฒนาศักยภาพสถานศึกษาเป็นหน่วยงานต้นแบบระดับอำเภอ พัฒนาพ่อแม่ผู้ปกครองให้มีการสื่อสารเรื่องเพศในครอบครัว จัดให้มีศูนย์บริการที่เป็นมิตรในสถานศึกษา การให้ความช่วยเหลือและการส่งต่อวัยรุ่นที่มีปัญหาการตั้งครรภ์/เอชไอวี/เอดส์/โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์/ยาเสพติด และพัฒนาศักยภาพแกนนำวัยรุ่นให้มีความสามารถด้านการสื่อสารเรื่องเพศ สิทธิวัยรุ่น การช่วยเหลือเพื่อนให้รอดปลอดภัยและการเข้าถึงบริการที่เป็นมิตร
stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

เกิดรูปแบบ การบูรณาการการขับเคลื่อนงานป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น กับ การป้องกันเอชไอวี/เอดส์ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และ ยาเสพติด โดยองค์กรสาธารณประโยชน์

stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 มิ.ย. 2562 19:08 น.