ระบบติดตามและประเมินผลโครงการ ( M&E Thailand )

directions_run

โครงการพัฒนารูปแบบบูรณาการการขับเคลื่อนการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์กับเอชไอวี/เอดส์ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และยาเสพติด ในวัยรุ่น โดยองค์กรสาธารณประโยชน์ จังหวัดลำปาง

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 1. เพื่อพัฒนารูปแบบการบูรณาการ การขับเคลื่อนการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น บูรณาการกับงานป้องกัน เอชไอวี/เอดส์ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และยาเสพติด โดยองค์กรสาธารณประโยชน์ 2. เพื่อหนุนเสริมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น จังหวัดลำปาง
ตัวชี้วัด : 1. การเข้าเป็นหน่วยประสานงาน ยุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น จังหวัดลำปาง และ มีบทบาทหน้าที่ชัดเจน ขององค์กร สาธารณประโยชน์ (กลุ่มเพื่อนเพื่อเด็กและเยาวชนจังหวัดลำปาง) โดยสามารถทำงานร่วมกันกับกลไกจังหวัด 2. มีแผนปฏิบัติงานรายปี ของจังหวัด ที่กลุ่มเพื่อนเพื่อเด็กและเยาวชนจังหวัดลำปาง ได้เข้ามีส่วนร่วม 3. รายการ และ จำนวน กิจกรรมที่สะท้อนการ บูรณาการเชิงเนื้อหา และ ผลผลิตของกิจกรรมนั้นๆ 4. หน่วยงาน องค์กร จำนวนผู้มีแนวคิด เชิงบวก ด้านสุขภาพทางเพศ เพิ่มขึ้นร้อยละ 50% ภายหลังการดำเนินโครงการฯ
0.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 3900
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
ปฐมวัย (0-5 ปี) -
วัยเรียน (6-12 ปี) -
วัยรุ่น (13-15 ปี) 1,300
เยาวชน (15-20 ปี) 1,300
วัยทำงาน -
ผู้สูงอายุ (60 ปีขึ้นไป) -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
ผู้พิการ -
ผู้หญิง -
มุสลิม -
พระภิกษุ -
ชาติพันธุ์ -
ผู้ต้องขัง -
หลากหลายทางเพศ (LGBTIQ) -
กลุ่มด้อยโอกาส (คนไร้บ้าน, เด็กเร่ร่อน, เด็กกำพร้า, เด็กในสถานพินิจ ฯลฯ) -
แรงงานข้ามชาติ -
อื่น ๆ -
พ่อแม่ ผู้ปกครองที่มีลูกหลานวัยรุ่น 1,300

บทคัดย่อ*

โครงการพัฒนารูปแบบบูรณาการ การขับเคลื่อนการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ เอชไอวี/เอดส์ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และยาเสพติดในวัยรุ่น มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการบูรณาการการขับเคลื่อนการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น บูรณาการกับงานป้องกัน เอชไอวี/เอดส์ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และยาเสพติด โดยองค์กรสาธารณประโยชน์ และเพื่อหนุนเสริมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นจังหวัดลำปาง มีกระบวนการดำเนินการ 4 กระบวนการ คือ 1) การบูรณาการทำงานปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นกับ HIV/AIDS STI และยาเสพติด โดยการพัฒนากลไกระดับจังหวัดและระดับอำเภอ การพัฒนายุทธศาสตร์และแผนงานแบบมีส่วนร่วมสามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้จริง จัดการเรียนรู้ข้ามเครือข่าย การปรับทัศนคติเชิงบวกที่มีต่อวัยรุ่น 2) หนุนเสริมคณะอนุกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ 5 ด้าน ด้วยการหนุนเสริมด้านประสบการณ์การทำงาน วิชาการ การพัฒนาบุคลากร และการพัฒนาหลักสูตรการสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายต่าง ๆ โดยให้คณะทำงานกลุ่มเพื่อนเพื่อเด็กและเยาวชนจังหวัดลำปาง เป็นคณะทำงานตามคำสั่งคณะทำงานยุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น จังหวัดลำปางทุกยุทธศาสตร์ การสื่อสารรณรงค์สาธารณะผ่านทางสื่อวิทยุ Facebook Line Youtube และการจัดกิจกรรมรณรงค์ การติดตามประเมินผลภายใน การรายงานความก้าวหน้าผลการดำเนินงานต่อคณะอนุกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นจังหวัดลำปาง 3) การพัฒนาองค์กรสาธารณประโยชน์ในระดับพื้นที่ และหนุนเสริมเยาวชน ศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน OSCC ด้วยการจัดทำแผนงานพัฒนาเด็กและเยาวชนร่วมกัน พัฒนาศักยภาพและปรับทัศนคติเชิงบวกที่มีต่อวัยรุ่นและการสร้างทีมวิทยากรสื่อสารเรื่องเพศ อนามัยเจริญพันธ์ โดยใช้หลักสูตรการสื่อสารระหว่างพ่อแม่ผู้ปกครองกับบุตรหลานเพื่อส่งเสริมสุขภาวะทางเพศในเยาวชน และเพศวิถี ของมูลนิธิแพธทูเฮลท์ (path2health foundation) สนับสนุนสื่อ งบประมาณ และการ coaching 4) การประสานและสนับสนุนการทำงานของคณะทำงานภายใต้ยุทธศาสตร์งานป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น และกลไกจังหวัดที่มีอยู่ ด้านการดำเนินงานป้องกันเอชไอวี/เอดส์ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และยาเสพติด ด้วยการพัฒนาศักยภาพสถานศึกษาเป็นหน่วยงานต้นแบบระดับอำเภอ พัฒนาพ่อแม่ผู้ปกครองให้มีการสื่อสารเรื่องเพศในครอบครัว จัดให้มีศูนย์บริการที่เป็นมิตรในสถานศึกษา การให้ความช่วยเหลือและการส่งต่อวัยรุ่นที่มีปัญหาการตั้งครรภ์/เอชไอวี/เอดส์/โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์/ยาเสพติด และพัฒนาศักยภาพแกนนำวัยรุ่นให้มีความสามารถด้านการสื่อสารเรื่องเพศ สิทธิวัยรุ่น การช่วยเหลือเพื่อนให้รอดปลอดภัยและการเข้าถึงบริการที่เป็นมิตร ใช้กรอบ ขั้นตอน กระบวนการ HIA และปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จตามกรอบยุทธศาสตร์ของ สสส. กำหนดขอบเขตแนวทางการศึกษา ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ คณะทำงานภาคีเครือข่ายและองค์กรสาธารณประโยชน์มีพลังและความมุ่งมั่นในการดำเนินงาน ที่สามารถขยายหน่วยงานภาคีทั้งภาครัฐและเอกชนเพิ่มขึ้น รวมทั้งเกิดการสร้างทีมระดับปฏิบัติการใน 13 อำเภอ และสถาบันการศึกษาภาครัฐ จำนวน 14 โรงเรียน ที่มีการส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่น ซึ่งต้องได้รับการสนับสนุนอย่างต่อเนื่องจึงจะทำให้เกิดความเข้มแข็ง เกิดการร่วมมือกันระดับปฏิบัติการในการจัดกิจกรรมเกี่ยวกับวัยรุ่น เกิดการเรียนรู้ข้ามหน่วยงานและเครือข่าย เกิดทีมวิทยากรระดับอำเภอ 13 อำเภอ และในโรงเรียน 14 โรงเรียน ระดับนโยบายเกิดการออกแบบและกำหนดทิศทางการดำเนินงานของแต่ละหน่วยงานที่มองการบูรณาการมากขึ้น เกิดทีมวิทยากรในสถานศึกษาของรัฐ 14 โรงเรียน ที่มีการจัดฝึกอบรมสื่อสารเรื่องเพศ อนามัยเจริญพันธ์ ให้กับแกนนำนักเรียน ยุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น เกิดการขับเคลื่อน และเกิดรูปแบบการบูรณาการ โดย กลุ่มเพื่อนและเด็กและเยาวชนลำปาง องค์กรสาธารณประโยชน์ จำนวน 3 รูปแบบ คือ 1) การบูรณาการประเด็น การตั้งครรภ์ เอชไอวี/เอดส์ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และยาเสพติดในวัยรุ่น 2) การบูรณาการระหว่างหน่วยงาน 3) การบูรณาการภายในหน่วยงาน กระบวนการดำเนินงานดังกล่าวสอดคล้องกับหลักการบูรณาการ คือ บูรนณาการคน เงิน งาน การบริหารจัดการ ปฏิบัติการร่วม และติดตามประเมินผลร่วม ถึงอย่างไรก็ตามการเกิดขึ้นของรูปแบบการบูรณาการ โดยองค์กรสาธารณะประโยชน์ กลุ่มเพื่อเด็กและเยาวชนลำปางเป็นเพียงการก่อตัวที่ไม่เข้มแข็งมากพอและรอโอกาสในการพัฒนาต่อไป

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh