ระบบติดตามและประเมินผลโครงการ ( M&E Thailand )

directions_run

โครงการบูรณาการกลไกสุขภาพชุมชน เขต 12 อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง

แบบประเมินด้วยขั้นตอน HIA

บทคัดย่อ/บทนำ

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยประเมินผล (Evaluation Research) ด้วยกระบวนการประเมินผลเพื่อเสริมพลังอำนาจ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินสมรรถนะการจัดการผ่านกลไกระบบพี่เลี้ยงและเพื่อประเมินผลการบูรณาการกลไกสุขภาพชุมชน เขต 12 จังหวัดพัทลุง การศึกษาครั้งนี้ผู้ศึกษาได้ใช้กรอบแนวคิดการประเมินผลทางสุขภาพ (Health Impact Assessment) และกฎบัตรออตตาวา (Ottawa Charter) เป็นกรอบแนวคิดหลักในการศึกษา โดยผู้ศึกษาได้เก็บข้อมูลกับทีมพี่เลี้ยงระดับเขตและระดับจังหวัด สำนักงานสาธารณสุขอำเภอควนขนุน คณะกรรมการกองทุนสุขภาพพื้นที่ในอำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง จำนวน 10 ตำบล การศึกษาครั้งนี้ผู้ศึกษาได้ใช้การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง (Structured Interview) ร่วมกับการสนทนา (Dialogue) การสังเกตแบบมีส่วนร่วม การอภิปรายกลุ่ม (Focus Group Discussion) และการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) ผู้ศึกษาใช้กฎสามเส้า (Triangulation) เพื่อทดสอบความเชื่อมั่นของข้อมูลและใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) ผลการศึกษาพบว่าพี่เลี้ยงระดับจังหวัดมีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับปัจจัยกำหนดสุขภาพและการบริหารจัดการกองทุนเป็นอย่างดี แต่ยังมีปัญหาในการบริหารจัดการโครงการและรวมถึงการสื่อสารเพื่อสร้างการรับรู้และเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมกับคณะกรรมการกองทุนสุขภาพระดับพื้นที่ แต่อย่างไรก็ตามคณะกรรมการกองทุนสุขภาพพื้นที่ส่วนใหญ่ มีระบบและกลไกการบริหารจัดการของคณะกรรมการกองทุนสุขภาพที่เข้มแข็งและมีความมุ่งมั่นในการพัฒนาให้เกิดผลสำเร็จและเกิดประโยชน์แก่ชุมชน ดังนั้นการจัดการผ่านกลไกระบบพี่เลี้ยงยังคงต้องปรับปรุงและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จากการศึกษาครั้งนี้ควรพัฒนาระบบการสื่อสารและช่องทางการสื่อสารระหว่างทีมพี่เลี้ยงและคณะกรรมการกองทุนสุขภาพระดับพื้นที่อย่างจริงจังและต่อเนื่อง อีกทั้งควรมีการพัฒนาศักยภาพและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของผู้รับผิดชอบโครงการในการรายงานผลผ่านระบบเว็บไซต์ ควรสร้างความเข้าใจและตระหนักแก่คณะกรรมการกองทุนสุขภาพในการทำโครงการที่มุ่งเน้นปัจจัยกำหนดสุขภาพหลัก 5 เรื่องได้แก่ เหล้า บุหรี่ สารเสพติด อาหาร และกิจกรรมทางกาย ทั้งนี้มุมมองของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเสนอแนะให้เปิดโอกาสกับโครงการที่สอดรับกับปัญหาสุขภาพและคุณภาพชีวิต รวมทั้งความต้องการของชุมชนอย่างแท้จริง

คำสำคัญ

การประเมินผล ระบบสุขภาพชุมชน การประเมินผลกระทบทางสุขภาพ คณะกรรมการกองทุนสุขภาพ ปัจจัยกำหนดสุขภาพ

บทนำ

พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 มาตรา 47 มุ่งเน้นให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีบทบาทในการบริหารจัดการกองทุน เพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคและการฟื้นฟูสมรรถภาพ และการรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุกในพื้นที่ โดยสนับสนุนให้องค์กรหรือกลุ่มประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมดำเนินกิจกรรมการจัดบริการสาธารณสุขในท้องถิ่น สามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ปัจจุบันภัยคุกคามจากการแพร่ระบาดของโรคอุบัติใหม่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น และกาลังเป็นปัญหาที่ทั่วโลกหวั่นวิตก ส่วนใหญ่เป็นโรคติดต่อระหว่างสัตว์กับคนที่มีต้นกำเนิดจากสัตว์หรือสัตว์ป่า และมีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรค เช่น การเคลื่อนย้ายของประชากร ความชุกชุมของสัตว์พาหะนำโรค โรคอุบัติใหม่ มักส่งผลต่อสุขภาพ เศรษฐกิจและสังคมอย่างกว้างขวาง ทุกประเทศทั่วโลกจำเป็นต้องเตรียมการเฝ้าระวัง ป้องกันรวมถึงประสานข้อมูลระหว่างประเทศอย่างใกล้ชิด เพื่อป้องกันและสกัดกั้นการแพร่ระบาดอย่างเต็มที่ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องสร้างศักยภาพ ระบบ และเครื่องมือป้องกัน ควบคุมโรคติดต่ออุบัติใหม่ รวมทั้งเตรียมความพร้อมตอบโต้โรคติดต่ออุบัติใหม่อย่างมีประสิทธิภาพ ภายใต้บริบทของสถานการณ์ที่มีความเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ปัญหาสุขภาพจึงมีความซับซ้อนมีขอบเขตกว้างไกลกว่าภาคสุขภาพประเทศไทยจำเป็นต้องดำเนินการเชิงรุกโดยกำหนดวิสัยทัศน์และจุดยืนประเด็นด้านสุขภาพ ตลอดจนปรับปรุงกลไกต่างๆเพื่อสร้างเสริมสุขภาพของประชากรสร้างความมั่นคงทางสาธารณสุขให้กับประเทศ อย่างไรก็ตาม พบว่าประชาชนเริ่มมีความตระหนัก และตื่นตัวในเรื่องของสุขภาพและสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เริ่มเข้ามามีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นต่อนโยบายสาธารณะต่างๆ ที่มีผลต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม และการขับเคลื่อนเรื่องสุขภาพและสิ่งแวดล้อมจากภายนอกประเทศ เช่น สหประชาชาติ องค์การ อนามัยโลก ยังเป็นแรงผลักเชิงบวกในการดำเนินงานของหน่วยงานในประเทศด้วย

หมายเหตุ
  • บทคัดย่อ/บทนำ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

แบบประเมิน HIA

1. การกลั่นกรองโครงการ

check_circle

การกลั่นกรอง (Screening) เริ่มศึกษาตั้งแต่การพิจารณาโครงการบูรณาการกลไกสุขภาพชุมชน เขต 12 อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง ศึกษาข้อมูลกองทุนสุขภาพตำบล ทั้งนี้ได้เก็บข้อมูลครั้งที่ 1 โดยการเข้าร่วมสังเกตการณ์การประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาแผนและข้อเสนอโครงการ ครั้งที่ 2 และการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับพื้นที่โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมที่เป็นผู้ให้ข้อมูลหลักทั้ง 10 กองทุนและพี่เลี้ยงระดับเขตและระดับจังหวัด โดยมีการดำเนินการสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาโดยนำข้อมูลจากการสังเกต การสัมภาษณ์ มาเปรียบเทียบความเหมือนและความต่างภายใต้ประเด็นสำคัญที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล สรุปผลการศึกษาโดยการนำผลที่ได้จากการวิเคราะห์มาประชุมกลุ่มเพื่อวางแผนการดำเนินงานขั้นตอนต่อไป

1.1 วัตถุประสงค์

1) เพื่อให้ทราบผลและบอกถึงงานที่รับผิดชอบ
2) เพื่อให้เห็นแนวโน้ม เพื่อเตือนภัย
3) เพื่อเปลี่ยนพฤติกรรม และเข้าใจกระบวนการ
4) เพื่อลำดับความสำคัญ แปลง ปรับกลยุทธ์ สู่การปฎิบัติ
5) เพื่อเป็นเครื่องมือในการจัดการ ช่วยการควบคุม
6) เพื่อจัดสรรทรัพยากร
7) เพื่อการเรียนรู้ และรู้ขีดความสามารถ
8) เพื่อเปรียบเทียบ ปรับปรุงและพัฒนา
9) เพื่อช่วยเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กร
10) เพื่อให้รางวัล เพื่อจูงใจ
11) อื่นๆ (ระบุรายละเอียด)
check_circle
  1. เพื่อประเมินสมรรถนะการจัดทำแผนงานผ่านกลไกระบบพี่เลี้ยง
  2. เพื่อประเมินผลการเกิดโครงการที่มีคุณภาพในแต่ละแผนงาน
  3. เพื่อประเมินการใช้ระบบติดตามประเมินผลโครงการของกองทุนสุขภาพตำบล

1.2 วิธีการ (ระบุรายละเอียดทำอะไร กับใคร กี่คน ผลสรุป)

1) ประชุมทีมประเมิน
check_circle

ประชุมทีมประเมินหลักเพื่อเรียนรู้และทำความเข้าใจถึงขั้นตอนการจัดทำการดำเนินงานของโครงการ เป้าหมายและวัตถุประสงค์ในการดำเนินงาน รวมถึงผลผลิตและผลลัพธ์ของโครงการ

2) ประชุมร่วมกับโครงการ
check_circle

ทีมประเมินประชุมร่วมกับผู้รับผิดชอบ ผ่านการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับพื้นที่และกองทุนดูแลระยะยาวผู้สูงอายุและบุคคลผู้มีภาวะพึ่งพิง เพื่อรับทราบข้อมูลรายละเอียดโครงการและกิจกรรมสำคัญของโครงการ ร่วมทั้งแลกเปลี่ยนแนวคิดและสรุปแผนการดำเนินการร่วมกัน และกระบวนการจัดการการติดตามความก้าวหน้าในการประเมินผลโครงการ

3) ประชุมร่วมกับโครงการและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
check_circle

ทีมประเมินประชุมร่วมกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ประกอบด้วย 1) ผู้ประสานงานระดับเขต 2) ผู้ประสานงานระดับจังหวัด (พี่เลี้ยง) 3) ผู้ประสานงานระดับอำเภอ 4) ผู้รับผิดชอบกองทุนจำนวน 8 กองทุน 5) เลขา พชอ. (สาธารณสุขอำเภอ)

4) อื่นๆ (ระบุรายละเอียด)
check_circle

ทบทวนโครงการบูรณาการกลไกสุขภาพชุมชน เขต 12 อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง และโครงการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะและพัฒนากลไกสุขภาวะระดับตำบลพื้นที่นำร่อง 10 กองทุนของอำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง เพื่อเรียนรู้และทำความเข้าใจถึงขั้นตอนการจัดทำการดำเนินงานของโครงการ เป้าหมายและวัตถุประสงค์ในการดำเนินงาน รวมถึงผลผลิตและผลลัพธ์ของโครงการ

1.3 เครื่องมือ

1) เครื่องมือที่ใช้ในขั้นตอนการกลั่นกรอง (ระบุรายละเอียดเครื่องมือ เช่น แนวคำถามในการประชุมกลุ่ม)
check_circle

แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์เชิงลึกแบบมีโครงสร้าง

1.4 ผลที่ได้

1) ผลที่ได้ในขั้นตอนการกลั่นกรอง

 

2. การกำหนดขอบเขต

check_circle

การกำหนดขอบเขตการประเมิน (Scoping) กำหนดประเด็นผลกระทบที่จะศึกษา รวมทั้งแนวทางในการคัดเลือกพื้นที่และกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ผู้ดำเนินการกำหนดกรอบการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ (Health Impact Assessment) และกฎบัตรออตตาวา (Ottawa Charter) เป็นกรอบแนวคิดหลักในการศึกษา รวมทั้งการออกแบบเครื่องมือ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาโดยนำข้อมูลจากการสังเกต การสัมภาษณ์เชิงลึกมาวิเคราะห์ พร้อมกำหนดตัวชี้วัดในการประเมินต่อไป

1) วิธีการในการกำหนดขอบเขต
check_circle

จัดประชุมทีมเพื่อกำหนดขอบเขต วิเคราะห์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อหาบุคคลที่เป็นผู้ดำเนินงานหลักในการขับเคลื่อนโครงการทั้งระบบ โดยพิจารณาถึงบุคคลที่สามารถเป็นผู้ให้ข้อมูลหลักและผู้ให้ข้อมูลหนุนเสริม

2) ผู้เข้าร่วมกำหนดขอบเขต
check_circle

พี่เลี้ยงระดับเขตและพี่เลี้ยงระดับจังหวัด สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบกองทุนและคณะกรรมการกองทุน ผู้บริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

3) เครื่องมือที่ใช้
check_circle

แบบสังเกตและการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบมีโครงสร้าง

4) กรอบแนวคิด

1) ใช้กรอบ Ottawa charter
check_circle
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดเครื่องมือกลุ่มผู้ให้ข้อมูล
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
  1. ความรู้และความเข้าใจในการจัดเขียนแผนงานและการจัดการโครงการที่มีคุณภาพ
  1. แบบสังเกตและแบบสัมภาษณ์เชิงลึก
  1. คณะกรรมการกองทุนสุขภาพ
  2. พี่เลี้ยงกองทุน
  3. ผู้ประสานงานระดับจังหวัด
สภาพแวดล้อม
  1. การใช้งานระบบออนไลน์/คู่มือการใช้งานระบบรายงานผลโครงการ
  1. แบบสังเกตและแบบสัมภาษณ์เชิงลึก
  1. คณะกรรมการกองทุนสุขภาพ
  2. ผู้ประสานงานระดับเขต
  3. ผู้ประสานงานระดับจังหวัด
  4. พี่เลี้ยงกองทุน
ระบบกลไก
  1. กระบวนการทำงานของคณะกรรมการกองทุน
  2. ช่องทางการสื่อสารและกระบวนการการสื่อสาร
  1. แบบสัมภาษณ์เชิงลึก
  2. สนทนากลุ่ม
  1. คณะกรรมการกองทุนสุขภาพ
  2. พี่เลี้ยงกองทุน
  3. ผู้ประสานงานระดับเขต
  4. ผู้ประสานงานระดับจังหวัด
  5. พชอ.
การเสริมสร้างความเข้มแข็งของขุมชน
  1. ความสอดคล้องของแผนงานโครงการ
  1. แบบสัมภาษณ์
  2. ทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง
  1. คณะกรรมการกองทุนสุขภาพ
  2. พชอ.
การพัฒนานโยบายสาธารณะ
  1. แนวทางการขับเคลื่อนแผนภายใต้แผนงานโครงการ
  1. แบบสัมภาษณ์
  1. คณะกรรมการกองทุนสุขภาพ
  2. ผู้ประสานงานระดับเขต
  3. พชอ.
2) ใช้กรอบ ปัจจัยกำหนดสุขภาพ
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดเครื่องมือกลุ่มผู้ให้ข้อมูล
3) ใช้กรอบ Balance Score Card
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดเครื่องมือกลุ่มผู้ให้ข้อมูล
4) ใช้กรอบ CIPP
check_circle
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดเครื่องมือกลุ่มผู้ให้ข้อมูล
5) อื่นๆ
check_circle
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดเครื่องมือกลุ่มผู้ให้ข้อมูล

3. ลงมือประเมิน

check_circle

ขั้นตอนการประเมิน (Appraisal) เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบมีโครงสร้าง (In-depth interview) การเข้าร่วมสังเกต (Observe) และสนทนากลุ่ม (Focus Group) กับกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้แก่ พี่เลี้ยงระดับเขตและพี่เลี้ยงระดับจังหวัด จำนวน 3 คน สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ 1 คน เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบกองทุนและคณะกรรมการกองทุน 11 คน ผู้บริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 5 คน โดยวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาที่ได้จากการสังเกต การสัมภาษณ์ มาเปรียบเทียบความเหมือนและความต่างภายใต้ประเด็น สำคัญที่ได้จากการเก็บรวบรวมข้อมูล สรุปผลการศึกษาโดยการนำผลที่ได้จากการวิเคราะห์มาร่วมประชุมและอภิปรายในทีมทำงาน

1) กระบวนการเก็บข้อมูลโดยการมีส่วนร่วม (ระบุรายละเอียด)
check_circle

ดำเนินการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบมีโครงสร้าง (In-depth interview) และสนทนากลุ่ม (Focus Group) กับกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

2) กระบวนการวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูล (ระบุรายละเอียด)
check_circle

การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content analysis) ที่ได้จากการสังเกต การสัมภาษณ์ มาเปรียบเทียบความเหมือนและความต่างภายใต้ประเด็น สำคัญที่ได้จากการเก็บรวบรวมข้อมูล

3) ผู้มีส่วนร่วมในการประเมิน (ระบุรายละเอียด)
check_circle

กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจำนวน 20 คนได้แก่ พี่เลี้ยงระดับเขตและพี่เลี้ยงระดับจังหวัด จำนวน 3 คน, พชอ. จำนวน 1 คน(สาธารณสุขอำเภอ), เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบกองทุนและคณะกรรมการกองทุน 11 คน, ผู้บริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 5 คน

4) ผลการประเมิน (เรียงตามตัวชี้วัดที่กำหนดในขั้นตอน scoping)
check_circle

ผลการประเมินเรื่องการประเมินผลการบูรณาการกลไกสุขภาพชุมชน เขต 12 จังหวัดพัทลุง โดยใช้กระบวนการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ (HIA) ได้ดำเนินการประเมินตามหลักการกระทบทางสุขภาพและกฎบัตรออตตาวา ซึ่งผลการประเมินตามวัตถุประสงค์ของสามารถแบ่งออกเป็น 4 ส่วน คือ 1) กลไกการดำเนินงานผ่านระบบการบริหารจัดการของพี่เลี้ยง 2) ศักยภาพของคณะกรรมการกองทุนสุขภาพ 3) ประสิทธิภาพของระบบการติดตามการดำเนินงานของกองทุนตำบล และ 4) ผลผลิตของกองทุนตามแผนการดำเนินงานของกองทุนตำบล โดยมีรายละเอียดดังนี้

  1. ผลการประเมินกลไกการดำเนินงานผ่านระบบการบริหารจัดการของพี่เลี้ยง มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินสมรรถนะการจัดการผ่านกลไกระบบทีมพี่เลี้ยงระดับเขตและระดับจังหวัด ในอำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง โดยผ่านกระบวนการประเมินผลกระทบทางสุขภาพและกฎบัตรออตตาวา ทั้งนี้ได้เก็บข้อมูลแบบสังเกตุและสัมภาษณ์เชิงลึกแบบมีโครงสร้างกับกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียประกอบด้วย 1) ทีมพี่เลี้ยง 2) คณะกรรมการกองทุน 3) สาธารณสุขอำเภอ(เลขา พชอ.) พบว่า พี่เลี้ยงระดับจังหวัดมีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับปัจจัยกำหนดสุขภาพและการบริหารจัดการกองทุนเป็นอย่างดี เนื่องจากสามารถอธิบายขั้นตอน ชี้แจง กระบวนการทำงานได้ตามวัตถุประสงค์ของโครงการ อีกทั้งมีความเข้าใจในแผนการดำเนินงานและโครงการ ทราบและมีวิธีการคัดเลือกกลุ่มเป้าหมายในการเข้ารับการพัฒนาศักยภาพของแต่ละกองทุน ทีมพี่เลี้ยงเข้าใจถึงวิธีการติดตามและประเมินผลแบบออนไลน์เป็นอย่างดี เนื่องมาจากพี่เลี้ยงที่รับผิดชอบมีพื้นฐานความรู้ในด้านระบบสุขภาพ และมีภาคเครือข่ายในการดำเนินงานในพื้นที่เป็นอย่างดี
    แต่อย่างไรก็ตามผลการศึกษาที่ค้นพบจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกลุ่มอื่นๆ พบว่า ทีมพี่เลี้ยงควรเพิ่มศักยภาพในการบริหารจัดการโครงการและรวมถึงการสื่อสารระหว่างทีมพี่เลี้ยงและกองทุนตำบลนำร่องฯในแต่ละตำบล อาทิเช่น กองทุนนำร่องฯยังขาดความเข้าใจในบทบาทและหน้าที่ของพี่เลี้ยงในโครงการฯอย่างมาก รวมทั้งขาดความรู้และความเข้าใจในการดำเนินงานให้มีแผนการดำเนินงานหลักตามประเด็นปัญหา 5 ด้าน ได้แก่ ด้านสารเสพติด ด้านเหล้า ด้านบุหรี่ ด้านอาหารและด้านกิจกรรมทางกาย นอกจากนี้ทีมพี่เลี้ยงควรมีการประสานงานกับหน่วนงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สาธารณสุขอำเภอ เพื่อให้สามารถดำเนินงานตามนโยบายได้คล่องตัวขึ้น และสิ่งสำคัญที่ทางกองทุนมีความต้องการให้ทีมพี่เลี้ยงดำเนินการ คือ การสร้างความเข้าใจในการเขียนโครงการและการใช้ website ให้แก่ภาคีเครือข่ายของแต่ละกองทุน เพื่อสร้างการรับรู้และเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมกับคณะกรรมการกองทุนสุขภาพระดับพื้นที่ แต่อย่างไรก็ตามคณะกรรมการกองทุนสุขภาพพื้นที่ส่วนใหญ่ มีระบบและกลไกการบริหารจัดการของคณะกรรมการกองทุนสุขภาพที่เข้มแข็งและมีความมุ่งมั่นในการพัฒนาให้เกิดผลสำเร็จและเกิดประโยชน์แก่ชุมชน ดังนั้นการจัดการผ่านกลไกระบบพี่เลี้ยงยังคงต้องเพิ่มศักยภาพในประเด็นที่กล่าวมาข้างต้นและพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้โครงการบรรลุวัตถุประสงค์

  2. ผลการประเมินศักยภาพของคณะกรรมการกองทุนสุขภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อสะท้อนผลการบูรณาการกลไกสุขภาพชุมชน เขต 12 จังหวัดพัทลุง จากการเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบมีโครงสร้างในกลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้ประสานงานกองทุนและผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พบว่า คณะกรรมการกองทุนสุขภาพตำบลทั้งหมดมีความรู้ความเข้าในเรื่องของระบบสุขภาพเป็นอย่างดี มีกลไกในการดำเนินงานตามแผนของกองทุนผ่านการดำเนินงานของภาคีเครือข่ายในแต่ละกองทุน เช่น รพสต. อสม. ชมรมกลุ่มผู้สูงอายุ ชมรมกลุ่มสตรี ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและศูนย์การแพทย์ มีกลไกการดำเนินการทำงานและการใช้จ่ายงบประมาณผ่านระบบการติดตามและประเมินผลทั้งในที่ประชุมประจำเดือนและการติดต่อประสานงานกับกลุ่มภาคีเครือข่ายโดยตรงซึ่งทุกกองทุนมีผลการดำเนินงานของโครงการเป็นไปตามแผนมากกว่าร้อยละ 90 ทั้งนี้กลไกในการดำเนินงานให้เกิดแผนและโครงการอาศัยกระบวนการการมีส่วนร่วมของชุมชนเป็นหลัก อย่างไรก็ตามผลการดำเนินงานในปีงบประมาณ 2563 พบว่า ในแต่ละกองทุนมีการดำเนินงานตามแผนตามลักษณะประเด็นปัญหาของชุมชนและโครงการเร่งด่วน เช่น โครงการที่เกี่ยวเนื่องกับโรคระบาดโควิค19 และโครงการที่ดำเนินการอย่างต่อเนื่องทุกปี ทั้งนี้กองทุนโดยส่วนใหญ่ไม่สามารถมีแผนการดำเนินงานได้ตามประเด็นปัญหา 5 ด้านได้ เนื่องจากปัญหาหลายด้านดังนี้
    1) ขาดความเข้าใจในวัตถุประสงค์ของโครงการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะและพัฒนากลไกสุขภาวะระดับตำบลพื้นที่นำร่อง 10 กองทุนของอำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง
    2) ผู้บริหารองค์กรการปกครองส่วนท้องถิ่นบางกองทุนขาดความเข้าใจถึงหลักการและวัตถุประสงค์ของการดำเนินงานกองทุน
    3) มีการเปลี่ยนแปลงผู้ประสานงานในบางกองทุนและการขาดประสบการณ์ในการทำงานกองทุน
    4) กองทุนไม่มีข้อมูลพื้นฐานสำหรับประเด็นปัญหา 5 ด้าน แต่มีเพียง 1 กองทุนที่ได้เข้าร่วมโครงการการสำรวจและเก็บข้อมูลพื้นฐานกับทาง สสส. สำนัก3 ดังนั้นเพื่อเป็นการเพิ่มขีดความสามารถของคณะกรรมการกองทุน ทีมพี่เลี้ยงควรเพิ่มความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโครงการมากยิ่งขึ้นในลักษณะการทำหน้าที่เป็น Coaching และเพิ่มช่องทางการสื่อสารระหว่างพี่เลี้ยงกับคณะกรรมการกองทุนมากขึ้นในหลายๆช่องทางการสื่อสาร เช่น การลงพื้นที่ หรือการประชุมติดตามงานทั้งระบบ Offline และ Online เป็นต้น

  3. ผลการประเมินประสิทธิภาพของระบบการติดตามการดำเนินงานของกองทุนตำบล
    สำหรับการพัฒนาโครงการตามแผนการดำเนินงานของกองทุน พบว่ากองทุนส่วนใหญ่มีความเข้าใจในการเขียนโครงการตามคู่มือปฏิบัติงานกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ และสามารถดำเนินการกรอกข้อมูลของโครงการใน website ของระบบการติดตามและประเมินผลกองทุนได้เป็นอย่างดี อีกทั้งไม่พบว่าปัญหาและความซับซ้อนในระบบการติดตามผลการดำเนินงาน website แต่สิ่งที่ต้องดำเนินการปรับปรุงอย่างเร่งด่วน คือ การพัฒนาศักยภาพของกลุ่มภาคีเครือข่ายในการเขียนโครงการและป้อนข้อมูลผลการดำเนินงานลงในระบบ website จากการประเมินกลไกการทำงาน พบว่า คณะกรรมการกองทุนเป็นผู้ดำเนินการในส่วนนี้แทนกลุ่มภาคีเครือข่าย แต่จากการประเมินผ่าน website พบว่า ข้อมูลที่แต่ละกองทุนป้อนข้อมูลเข้าสู่ระบบยังไม่เป็นข้อมูลปัจจุบัน จึงไม่สามารถนำข้อมูลใน website มาใช้ในการติดตามการดำเนินงานตามแผนของแต่ละกองทุนในโครงการกองทุนนำร่องฯได้ ดังนั้นพี่เลี้ยงควรดำเนินการกระตุ้นหรือเพิ่มช่องทางการดำเนินงานให้ในแต่ละกองทุนป้อนข้อมูลใน website ที่เป็นปัจจุบัน

  4. ผลผลิตของกองทุนตามแผนการดำเนินงานของกองทุนตำบล จากการสำรวจข้อมูลของแผนการดำเนินงานและโครงการของแต่ละกองทุนในปี 2563 พบว่า ในทุกกองทุนมีแผนการดำเนินงานตามลักษณะประเด็นความต้องการของชุมชน เมื่อนำมาจัดกลุ่มตามแผนการดำเนินงานตามแผนการดำเนินงานของ สสส. นั้น พบว่า มีโครงการที่เกิดขึ้นตามแผนงาน แต่มีความสอดคล้องกับแผนของประเด็นปัญหาหลัก 5 ด้านอยู่น้อย โดยเฉพาะกิจกรรมการดำเนินงานตามแผนเหล้า บุหรี่ ยาเสพติด เกิดขึ้นน้อยมาก จากการสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้อง พบว่า กลุ่มภาคีเครือข่ายไม่ทราบข้อมูลในเรื่องของแผนดำเนินงานตาม 5 ประเด็นปัญหา อีกทั้งมีความต้องการดำเนินงานตามความต้องการของชุมชนเป็นพื้นฐาน ทั้งนี้คณะกรรมการกองทุนได้เสนอแนะให้มีการดำเนินงานระดับนโยบายที่ชัดเจนและมีความเข้าใจตรงกันในทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น คณะกรรมการกองทุนและภาคีเครือข่าย(รพสต.) สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด เป็นต้น จากการประเมินแบบเสริมพลังอำนาจคาดว่าการดำเนินงานในปี 2564 กองทุนจะมีแผนตามประเด็นปัญหา 5 ด้านเพิ่มมากขึ้น และคาดหวังว่าสามารถดำเนินการได้ครบทุกแผนงาน ซึ่งนำไปใช้เป็นข้อมูลและสถานการณ์พื้นฐานสู่การดำเนินงานของแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอต่อไป

ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดผลการประเมินหมายเหตุ
1. ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (1) ใช้กรอบ Ottawa charter) ความรู้และความเข้าใจในการจัดเขียนแผนงานและการจัดการโครงการที่มีคุณภาพ

ความรู้ความเข้าใจในการจัดเขียนแผนงานของพี่เลี้ยงกองทุนและผู้ประสานงานระดับจังหวัด อยู่ในระดับดี สำหรับคณะกรรมการกองทุนโดยส่วนใหญ่มีความเข้าใจในจัดทำแผนงานในระดับดี มีเพียงบางกองทุนที่ต้องมีการส่งเสริมสนับสนุนให้มีแผนงานที่ดีและเกิดโครงการที่มีคุณภาพ

 

2. สภาพแวดล้อม (1) ใช้กรอบ Ottawa charter) การใช้งานระบบออนไลน์/คู่มือการใช้งานระบบรายงานผลโครงการ

กองทุนส่วนใหญ่มีความเข้าใจในการเขียนโครงการตามคู่มือปฏิบัติงานกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ และสามารถดำเนินการกรอกข้อมูลของโครงการใน website ของระบบการติดตามและประเมินผลกองทุนได้เป็นอย่างดี อีกทั้งไม่พบว่าปัญหาและความซับซ้อนในระบบการติดตามผลการดำเนินงาน website แต่สิ่งที่ต้องดำเนินการปรับปรุงอย่างเร่งด่วนคือการพัฒนาศักยภาพของกลุ่มภาคีเครือข่ายในการเขียนโครงการและป้อนข้อมูลผลการดำเนินงานลงในระบบ website

 

3. ระบบกลไก (1) ใช้กรอบ Ottawa charter) กระบวนการทำงานของคณะกรรมการกองทุน

จากการประเมินกลไกการทำงานพบว่าคณะกรรมการกองทุนเป็นผู้ดำเนินการในส่วนนี้แทนกลุ่มภาคีเครือข่าย แต่จากการประเมินผ่าน website พบว่าข้อมูลที่แต่ละกองทุนป้อนข้อมูลเข้าสู่ระบบยังไม่เป็นข้อมูลปัจจุบันจึงไม่สามารถนำข้อมูลใน website มาใช้ในการติดตามการดำเนินงานตามแผนของแต่ละกองทุนในโครงการกองทุนนำร่องฯ ดังนั้นพี่เลี้ยงควรดำเนินการกระตุ้นหรือเพิ่มช่องทางการดำเนินงานให้ในแต่ละกองทุนป้อนข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน

 

4. ระบบกลไก (1) ใช้กรอบ Ottawa charter) ช่องทางการสื่อสารและกระบวนการการสื่อสาร

กองทุนไม่มีข้อมูลพื้นฐานสำหรับประเด็นปัญหา 5 ด้าน แต่มีเพียง 1 กองทุนที่ได้เข้าร่วมโครงการการสำรวจและเก็บข้อมูลพื้นฐานกับทาง สสส. สำนัก3 ดังนั้นเพื่อเป็นการเพิ่มขีดความสามารถของคณะกรรมการกองทุน ทีมพี่เลี้ยงควรเพิ่มความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโครงการมากยิ่งขึ้นในลักษณะการทำหน้าที่เป็น Coaching และเพิ่มช่องทางการสื่อสารระหว่างพี่เลี้ยงกับคณะกรรมการกองทุนมากขึ้นในหลายๆช่องทางการสื่อสาร เช่น การลงพื้นที่ หรือการประชุมติดตามงานทั้งระบบ Offline และ Online เป็นต้น

 

5. การเสริมสร้างความเข้มแข็งของขุมชน (1) ใช้กรอบ Ottawa charter) ความสอดคล้องของแผนงานโครงการ

กลไกในการดำเนินงานให้เกิดแผนและโครงการอาศัยกระบวนการการมีส่วนร่วมของชุมชนเป็นหลัก อย่างไรก็ตามผลการดำเนินงานในปีงบประมาณ 2563 พบว่า ในแต่ละกองทุนมีการดำเนินงานตามแผนตามลักษณะประเด็นปัญหาของชุมชนและโครงการเร่งด่วน เช่น โครงการที่เกี่ยวเนื่องกับโรคระบาดโควิค19 และโครงการที่ดำเนินการอย่างต่อเนื่องทุกปี ทั้งนี้กองทุนโดยส่วนใหญ่ไม่สามารถมีแผนการดำเนินงานได้ตามประเด็นปัญหา 5 ด้าน ได้แก่ บุหรี่ เหล้า ยาเสพติด อาหาร และกิจกรรมทางกาย

 

6. การพัฒนานโยบายสาธารณะ (1) ใช้กรอบ Ottawa charter) แนวทางการขับเคลื่อนแผนภายใต้แผนงานโครงการ

กองทุนมีแผนการดำเนินงานตามลักษณะประเด็นความต้องการของชุมชน เมื่อนำมาจัดกลุ่มตามแผนการดำเนินงานตามแผนการดำเนินงานของ สสส. นั้น พบว่ามีโครงการที่เกิดขึ้นตามแผนงาน
ทั้งนี้จากการประเมินแบบเสริมพลังอำนาจคาดว่าการดำเนินงานในปี 2564 กองทุนจะมีแผนตามประเด็นปัญหา 5 ด้านเพิ่มมากขึ้นและคาดหวังว่าสามารถดำเนินการได้ครบทุกแผนงาน ซึ่งนำไปใช้เป็นข้อมูลและสถานการณ์พื้นฐานสู่การดำเนินงานของแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ

 

5) อื่นๆ
check_circle

 

4. ทบทวนรายงานการประเมินว่าถูกต้องหรือไม่?

check_circle

ดำเนินการรายงานการผลประเมินแก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ผ่านการจัดประชุมและรายงานสรุปผลการดำเนินงานให้แก่กลุ่มผู้เกี่ยวข้อง

1) กระบวนการในการทบทวนรายงาน
check_circle
  1. ทบทวนรายงานผ่านทางเว็บไซต์ของระบบติดตามและแประเมินผลโครงการ (https://mehealthpromotion.com/)
  2. ดำเนินการประชุมร่วมกับพี่เลี้ยงโครงการเพื่อรายงานผลสรุปโครงการ
  3. จัดประชุมร่วมกับกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้แก่ พชอ ผู้ประสานงานระดับเขต ผู้ประสานงานระดับจังหวัด พี่เลี้ยงโครงการ คณะกรรมการกองทุนสุขภาพ
2) ผู้มีส่วนร่วมในการทบทวนรายงาน
check_circle
  1. พชอ
  2. ผู้ประสานงานระดับเขต
  3. ผู้ประสานงานระดับจังหวัด
  4. พี่เลี้ยงโครงการ
  5. คณะกรรมการกองทุนสุขภาพ
3) ผลการทบทวนร่างรายงาน
check_circle

เหมาะสมดี

4) สรุปผลการประเมินสำคัญที่นำเข้าเวทีการทบทวน
check_circle
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดสรุปผลการประเมินหมายเหตุ
1. ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (1) ใช้กรอบ Ottawa charter) ความรู้และความเข้าใจในการจัดเขียนแผนงานและการจัดการโครงการที่มีคุณภาพ

กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีความคิดเห็นสอดคล้องกับผลการประเมินดังนี้ คณะกรรมการกองทุนโดยส่วนใหญ่มีความเข้าใจในจัดทำแผนงานและโครงการในระดับดี มีเพียงบางกองทุนที่ต้องมีการส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดแผนงานตามประเด็นปัญหา 5 ด้าน ทั้งนี้ทางคณะกรรมการกองทุนได้ดำเนินการตามข้อเสนอของผู้ประเมินในการจัดอบรมทบทวนการเขียนแผนงานและโครงการที่มีคุณภาพให้แก่กลุ่มภาคีเครือข่ายในการดำเนินโครงการ โดยมีพี่เลี้ยงเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดอบรมให้ในครั้งนี้ เพื่อให้การดำเนินงานด้านการจัดทำแผนและโครงการมีความเข้าใจในทิศทางเดียวกันและมีประสิทธิภาพสูงสุด

 

2. สภาพแวดล้อม (1) ใช้กรอบ Ottawa charter) การใช้งานระบบออนไลน์/คู่มือการใช้งานระบบรายงานผลโครงการ

 

 

3. ระบบกลไก (1) ใช้กรอบ Ottawa charter) กระบวนการทำงานของคณะกรรมการกองทุน

 

 

4. ระบบกลไก (1) ใช้กรอบ Ottawa charter) ช่องทางการสื่อสารและกระบวนการการสื่อสาร

 

 

5. การเสริมสร้างความเข้มแข็งของขุมชน (1) ใช้กรอบ Ottawa charter) ความสอดคล้องของแผนงานโครงการ

 

 

6. การพัฒนานโยบายสาธารณะ (1) ใช้กรอบ Ottawa charter) แนวทางการขับเคลื่อนแผนภายใต้แผนงานโครงการ

 

 

5) อื่นๆ

 

5. การปรับปรุงทบทวนโครงการ

check_circle
  1. การดำเนินโครงการบูรณาการมีข้อจำกัดที่สำคัญ ในเรื่องของความเข้าใจถึงแผนงานของคณะกรรมการกองทุน ที่จะต้องดำเนินการตามประเด็นปัญหา 5 ด้าน ได้แก่ บุหรี่ เหล้า ยาเสพติด อาหาร และกิจกรรมทางกาย จึงทำให้แผนงานที่เกิดขึ้นโดยส่วนใหญ่เกิดจากความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียตามบริบทของพื้นที่ และมีความสอดคล้องกับนโยบายที่เกี่ยวข้องจากองค์การบริการส่วนท้องถิ่น

  2. คณะกรรมการกองทุนควรมีกระบวนการส่งเสริมให้ได้โครงการที่มีคุณภาพโดยจัดอบรมเชิงปฏิบัติการการเขียนโครงการบูรณาการให้ภาคีเครือข่าย รวมทั้งฝึกอบรมให้สามารถใช้เว็บไซต์กองทุนสุขภาพตำบลเพื่อกรอกข้อมูลได้

  3. กระบวนการติดตามการดำเนินงานโครงการของกองทุนควรให้มีระบบติดตามที่มีคุณภาพเพื่อให้เป็นไปตามแผนการดำเนินโครงการประจำปีและใช้งบประมาณได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  4. พชอ. ควรทบทวนแผนงานด้านสุขภาพถึงประเด็นปัญหาสำคัญที่ต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วนของแต่ละกองทุน เพื่อนำไปสู่การดำเนินการและจัดทำแผนงานในระดับอำเภอโดยผ่านกระบวนการหนุนเสริมของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตอำเภอต่อไป

1) ข้อเสนอเพื่อการทบทวนโครงการ

 

2) อื่นๆ

 

6. ได้มีการปรับปรุงทบทวนโครงการตามข้อ 5 หรือไม่?

check_circle

 

1) กลไกในการติดตามการปรับปรุงโครงการตามข้อเสนอแนะ
check_circle

 

2) วิธีการติดตาม การปรับปรุงโครงการตามข้อเสนอแนะ

 

3) อื่นๆ

 

สรุป

อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยประเมินผล (Evaluation Research) ด้วยกระบวนการประเมินผลเพื่อเสริมพลังอำนาจมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินสมรรถนะการจัดการผ่านกลไกระบบพี่เลี้ยงและเพื่อประเมินผลการบูรณาการกลไกสุขภาพชุมชน เขต 12 จังหวัดพัทลุง การศึกษาครั้งนี้ผู้ศึกษาได้ใช้กรอบแนวคิดการประเมินผลทางสุขภาพ (Health Impact Assessment) และกฎบัตรออตตาวา (Ottawa Charter) เป็นกรอบแนวคิดหลักในการศึกษา โดยผู้ศึกษาได้เก็บข้อมูลกับทีมพี่เลี้ยงระดับเขตและระดับจังหวัด สำนักงานสาธารณสุขอำเภอควนขนุน คณะกรรมการกองทุนสุขภาพพื้นที่ในอำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง จำนวน 10 ตำบล พบว่าพี่เลี้ยงระดับจังหวัดมีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับระบบสุขภาพและการบริหารจัดการกองทุนเป็นอย่างดี แต่ควรเพิ่มศักยภาพในการสื่อสารและติดต่อประสานเพื่อสร้างการรับรู้และเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมกับคณะกรรมการกองทุนสุขภาพระดับพื้นที่ ส่วนคณะกรรมการกองทุนสุขภาพพื้นที่ส่วนใหญ่มีระบบและกลไกการบริหารจัดการของคณะกรรมการกองทุนสุขภาพที่เข้มแข็งและมีความมุ่งมั่นในการพัฒนาให้เกิดผลสำเร็จ ควรมีการพัฒนาศักยภาพและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของผู้รับผิดชอบโครงการในการรายงานผลผ่านระบบเว็บไซต์ รวมทั้งสร้างความเข้าใจและความตระหนักแก่คณะกรรมการกองทุนสุขภาพในการทำโครงการที่มุ่งเน้นปัจจัยกำหนดสุขภาพหลัก 5 เรื่องได้แก่ เหล้า บุหรี่ สารเสพติด อาหาร และกิจกรรมทางกาย ซึ่งในมุมมองของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเสนอแนะให้เปิดโอกาสกับโครงการที่สอดรับกับปัญหาสุขภาพและคุณภาพชีวิต รวมทั้งความต้องการของชุมชนอย่างแท้จริง โดยประเด็นปัญหาทั้งหมดนำไปสู่การขับเคลื่อนแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ

ข้อเสนอแนะและการนำผลการศึกษาไปใช้ประโยชน์

ผลการประเมินในครั้งนี้ได้นำมาสู่ข้อเสนอแนะ 2 ส่วน ได้แก่ ข้อเสนอแนะในการนำผลการประเมินไปใช้ และ

ข้อเสนอแนะในการประเมินครั้งต่อไป ดังนี้

1.ข้อเสนอแนะในการนำผลการประเมินไปใช้
1.1 กลไกการเพิ่มศักยภาพของพี่เลี้ยงระดับจังหวัดให้ดำเนินการแบบ coaching และการติดต่อประสานงาน
1.2 การเพิ่มศักยภาพของกลุ่มภาคีเครือข่ายในการเขียนโครงการและการใช้ website
1.3 พัฒนากระบวนการการเก็บข้อมูลพื้นฐาน(Baseline) ของชุมชนและครัวเรือน

2.ข้อเสนอแนะในการประเมินครั้งต่อไป
2.1การศึกษาข้อมูลพื้นฐานของในแต่ละตำบลเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

 

เอกสารประกอบโครงการ