ระบบติดตามและประเมินผลโครงการ ( M&E Thailand )

diversity_2

โครงการพัฒนากลไกสุขภาพชุมชน กระบี่ (อำเภอคลองท่อม)

แบบประเมินด้วยขั้นตอน HIA

บทคัดย่อ/บทนำ

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินผลกระทบทางสุขภาพ โครงการบูรณาการขับเคลื่อนงานสร้างเสริม  สุขภาวะ และพัฒนากลไกสุขภาวะระดับพื้นที่ กรณีศึกษา อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ โดยประยุกต์ใช้ขั้นตอนการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ จำนวน 4 ขั้นตอน คือ 1.การกลั่นกรองนโยบาย แผนงาน โครงการหรือกิจกรรม (Screening) 2.การกำหนดขอบเขต (Scoping) 3.การประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ และ 4.การทบทวนร่างรายงานการศึกษาและวิเคราะห์ผลกระทบด้านสุขภาพ (Review) เก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อประเมินผลการดำเนินการ จำนวน 15 คน ซึ่งประกอบด้วย ผู้รับผิดชอบงานกองทุนหลักประกันสุขภาพในอำเภอคลองท่อม ทั้ง รพ.สต. สสอ.คลองท่อม องค์กรปกครองส่วนท่องถิ่น  ซึ่งทั้งหมดมีความเต็มใจ และสมัครใจเข้าร่วมโครงการ เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง เป็นแนวทางการประชุมกลุ่ม และสังเกตอย่างมีส่วนร่วม ตรวจสอบคุณภาพของข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยใช้กฎสามเส้า (Triangulation) และวิเคราะห์เชิงคุณภาพโดยใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content analysis) และเชิงปริมาณโดยใช้การวิเคราะห์เชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ผลการศึกษา พบว่า กลไกพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายในระดับกลุ่มพื้นที่เพื่อการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาพ
อำเภอคลองท่อมมีการดำเนินการการวางแผน และดำเนินการขับเคลื่อนประเด็นในการพัฒนาคุณภาพชีวิต (พชอ.) ประกอบด้วย1.อุบัติเหตุทางการจราจร 2.โรคติดต่อ (โรคไข้เลือดออก โรคโคโรน่าไวรัส 2019) 3.อาหารริมบาทวิถีปลอดภัย 4.ปัญหาขยะ แต่แผนของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตยังไม่มีการบูรณาการร่วมกับประเด็นของกองทุนในประเด็น อุบัติเหตุทางการจราจร และปัญหาขยะ ขณะที่สัดส่วนของโครงการปัจจัยเสี่ยงเหล้า บุหรี่ ยาเสพติด อาหาร กิจกรรมทางกาย พบว่าทั้ง 9 กองทุนสุขภาพตำบล เรื่องอาหาร จำนวน 3 แผนงาน/โครงการ ร้อยละ 33.33 เรื่องกิจกรรมทางกาย จำนวน 2 แผนงาน/โครงการ ร้อยละ 22.22 แผนงาน/โครงการ เรื่องบุหรี่ จำนวน 2 แผนงาน/โครงการ ร้อยละ 22.22 แผนงาน/โครงการ เรื่องยาเสพติด จำนวน 1 แผนงาน/โครงการ ร้อยละ 11.11 แผนงาน/โครงการ และเรื่องการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ไม่พบแผนงาน/โครงการ ขณะเดียวกัน การพัฒนาคณะทำงาน ทีมงาน พี่เลี้ยง ระดับต่าง ๆ และดำเนินงานต่อไปร่วมกับ พชอ. ยังไม่ชัดเจนและยังเป็นข้อจำกัดของการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะ และพัฒนากลไกสุขภาวะระดับพื้นที่ ดังนั้น การดำเนินการเพื่อมุ่งเน้นการขับเคลื่อนการสร้างเสริมสุขภาวะ เป็นเรื่องที่ท้าทายของชุมชนอำเภอคลองท่อมซึ่งจะต้องอาศัยฝีมือในด้านการบริหารจัดการ การวางแผน ร่วมคิด ร่วมทำทำให้การจัดทำแผนมีความครอบคลุมสามารถแก้ปัญหาตามความต้องการของประชาชนได้อย่างเป็นองค์รวม มีกลไกบูรณาการระหว่างรัฐ ท้องถิ่น ประชาชนในระดับท้องถิ่น ประชาชนสามารถพึ่งตนเองได้

คำสำคัญ

การประเมินผลกระทบทางสุขภาพ,โครงการ,สุขภาวะ

บทนำ

เนื่องด้วยสถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) และกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ให้ดำเนินโครงการบูรณาการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะ ระดับพื้นที่โดยกลไกคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) และกลไกกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ เพื่อการพัฒนาศักยภาพกลไกในการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะในระดับพื้นที่ ด้วยการใช้ระบบติดตามประเมินผลเพื่อการปรับปรุงทบทวนแผนและโครงการต่างๆ ในพื้นที่เขตของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติในแต่ละเขต ทั้งนี้ สปสช. ได้ให้การสนับสนุนท้องถิ่นในการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับพื้นที่หรือท้องถิ่นเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการ สถานบริการ หน่วยงานสาธารณสุข หน่วยงานอื่น องค์กรหรือกลุ่มประชาชน เพื่อให้บุคคลสามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมตามความพร้อม ความเหมาะสม และความต้องการของประชาชนในท้องถิ่น   สำหรับการดำเนินงานของ สปสช.เขต 11 มีการขับเคลื่อนกองทุนหลักประกันสุขภาพ และสนับสนุนให้ดำเนินงานโครงการเพื่อขับเคลื่อนด้านสุขภาวะในพื้นที่ โดยจังหวัดกระบี่ได้รับการคัดเลือกร่วมกันกับสถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นพื้นที่นำร่องการพัฒนาข้อมูลสถานการณ์สุขภาพของอำเภอคลองท่อม โดยมุ่งเน้นประเด็นที่เป็นปัจจัยของการเกิดโรคไม่ติดต่อ คือกิจกรรมทางกายอาหาร การจัดการปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพจากสุรา ยาสูบ ยาเสพติด และเกิดการดำเนินงานโครงการที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล นำสู่ข้อเสนอในการพัฒนาโครงการต่อไป
ผลจากการดำเนินงานในครั้งนี้ จะช่วยส่งเสริมให้ชุมชน/ท้องถิ่นมีความเข้มแข็ง สามารถจัดการตนเองได้นั้นมีการดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องภายใต้การความรับผิดชอบและการสนับสนุนของทั้งสปสช. สธ. และ สสส. รวมทั้งเป็นการสนับสนุนการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะ และพัฒนากลไกสุขภาวะระดับพื้นที่ ให้เกิดประโยชน์จากการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาพ และสามารถนำไปจัดทำเป็นข้อเสนอแนะเชิงนโยบายที่เหมาะสม เกิดนโยบายสาธารณะทั้งระดับชาติ ระดับพื้นที่ ระดับหน่วยงาน ได้ต่อไป

หมายเหตุ
  • บทคัดย่อ/บทนำ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

แบบประเมิน HIA

1. การกลั่นกรองโครงการ

check_circle

ขั้นตอนที่ 1 การกลั่นกรองข้อเสนอของโครงการ (Screening) และขั้นตอนที่ 2 การกำหนดขอบเขต (Scoping) ดำเนินการประชุมคณะทำงานโครงการฯ ก่อนดำเนินการประเมิน เพื่อทบทวน เอกสารที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการโครงการเพื่อศึกษาสถานการณ์สุขภาพปัจจุบันของอำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ และปัจจัยเอื้อ/อุปสรรค คน สภาพแวดล้อม กลไก/กระบวนการ/ระบบ

1.1 วัตถุประสงค์

1) เพื่อให้ทราบผลและบอกถึงงานที่รับผิดชอบ
2) เพื่อให้เห็นแนวโน้ม เพื่อเตือนภัย
3) เพื่อเปลี่ยนพฤติกรรม และเข้าใจกระบวนการ
4) เพื่อลำดับความสำคัญ แปลง ปรับกลยุทธ์ สู่การปฎิบัติ
5) เพื่อเป็นเครื่องมือในการจัดการ ช่วยการควบคุม
6) เพื่อจัดสรรทรัพยากร
7) เพื่อการเรียนรู้ และรู้ขีดความสามารถ
check_circle
8) เพื่อเปรียบเทียบ ปรับปรุงและพัฒนา
check_circle
9) เพื่อช่วยเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กร
10) เพื่อให้รางวัล เพื่อจูงใจ
11) อื่นๆ (ระบุรายละเอียด)

 

1.2 วิธีการ (ระบุรายละเอียดทำอะไร กับใคร กี่คน ผลสรุป)

1) ประชุมทีมประเมิน

 

2) ประชุมร่วมกับโครงการ

 

3) ประชุมร่วมกับโครงการและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง

 

4) อื่นๆ (ระบุรายละเอียด)

 

1.3 เครื่องมือ

1) เครื่องมือที่ใช้ในขั้นตอนการกลั่นกรอง (ระบุรายละเอียดเครื่องมือ เช่น แนวคำถามในการประชุมกลุ่ม)
check_circle

เครื่องมือที่ใช้ในการสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่ม ประกอบด้วย แบบฟอร์มการดำเนินการติดตามโครงการ จาก สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส.) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (โครงการบูรณาการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะ เขต 11 | ระบบติดตามโครงการ สนส., n.d.) เป็นแนวทางในการกลั่นกรองข้อเสนอของโครงการ สถานการณ์ปัจจุบันพร้อมรับฟังข้อคิดเห็นจากการประชุมกลุ่มเกี่ยวกับการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะ และพัฒนากลไกสุขภาวะระดับพื้นที่และพัฒนาแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง เพื่อศึกษาสถานการณ์ของการดำเนินการที่เกิดขึ้นจริงตามสภาพของพื้นที่

1.4 ผลที่ได้

1) ผลที่ได้ในขั้นตอนการกลั่นกรอง
check_circle

 

2. การกำหนดขอบเขต

 

1) วิธีการในการกำหนดขอบเขต

 

2) ผู้เข้าร่วมกำหนดขอบเขต

 

3) เครื่องมือที่ใช้

 

4) กรอบแนวคิด

1) ใช้กรอบ Ottawa charter
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดเครื่องมือกลุ่มผู้ให้ข้อมูล
2) ใช้กรอบ ปัจจัยกำหนดสุขภาพ
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดเครื่องมือกลุ่มผู้ให้ข้อมูล
3) ใช้กรอบ Balance Score Card
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดเครื่องมือกลุ่มผู้ให้ข้อมูล
4) ใช้กรอบ CIPP
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดเครื่องมือกลุ่มผู้ให้ข้อมูล
5) อื่นๆ
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดเครื่องมือกลุ่มผู้ให้ข้อมูล

3. ลงมือประเมิน

 

1) กระบวนการเก็บข้อมูลโดยการมีส่วนร่วม (ระบุรายละเอียด)

 

2) กระบวนการวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูล (ระบุรายละเอียด)

 

3) ผู้มีส่วนร่วมในการประเมิน (ระบุรายละเอียด)

 

4) ผลการประเมิน (เรียงตามตัวชี้วัดที่กำหนดในขั้นตอน scoping)
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดผลการประเมินหมายเหตุ
5) อื่นๆ

 

4. ทบทวนรายงานการประเมินว่าถูกต้องหรือไม่?

 

1) กระบวนการในการทบทวนรายงาน

 

2) ผู้มีส่วนร่วมในการทบทวนรายงาน

 

3) ผลการทบทวนร่างรายงาน

 

4) สรุปผลการประเมินสำคัญที่นำเข้าเวทีการทบทวน
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดสรุปผลการประเมินหมายเหตุ
5) อื่นๆ

 

5. การปรับปรุงทบทวนโครงการ

 

1) ข้อเสนอเพื่อการทบทวนโครงการ

 

2) อื่นๆ

 

6. ได้มีการปรับปรุงทบทวนโครงการตามข้อ 5 หรือไม่?

 

1) กลไกในการติดตามการปรับปรุงโครงการตามข้อเสนอแนะ

 

2) วิธีการติดตาม การปรับปรุงโครงการตามข้อเสนอแนะ

 

3) อื่นๆ

 

สรุป

อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ

 

เอกสารอ้างอิง

 

เอกสารประกอบโครงการ