ระบบติดตามและประเมินผลโครงการ ( M&E Thailand )

directions_run

โครงการบูรณาการกลไกสุขภาพชุมชน เขต11 จังหวัดสุราษฎร์ธานี (ประเมิน-2)

แบบประเมินด้วยขั้นตอน HIA

บทคัดย่อ/บทนำ

บทคัดย่อ

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อแก้ปัญหาประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน (2) เพื่อแก้ปัญหาผู้ป่วยเบาหวานที่เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น  เบาหวานขึ้นจอประสาทตา แผล ไตวาย

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

คำสำคัญ

 

บทนำ

จากการปฏิรูปประเทศไทยด้านสาธารณสุข ได้กำหนดนโยบายทิศทาง เป้าหมาย ยุทธศาสตร์ที่จะพัฒนาสู่ความเป็นเลิศ 4 ด้าน หนึ่งในนั้น คือ การส่งเสริมสุขภาพและความป้องกันโรคเป็นเลิศ (Prevention&Promotion Excellence) มีการวางแผนในระยะยาวด้านนี้ ประกอบด้วย 4 แผนงาน ได้แก่ 1) แผนพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไทยทุกกลุ่มวัย 2) แผนการป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพ 3) แผนความปลอดภัยด้านอาหารและลดปัจจัยเสี่ยงต่อโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง และ 4) แผนการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม เพื่อมุ่งหวังให้ประชาชนตระหนักในการสร้างเสริมสุขภาพของตนเอง และมีการปรับพัฒนาระบบสุขภาพ “สร้างนำซ่อม”รวมถึง การเปิดพื้นที่ให้ทุกภาคส่วนในสังคมเข้าร่วมกระบวนการพัฒนาระบบสุขภาพเชิงนโยบายสาธารณะเพื่อก่อให้เกิดการพัฒนาระบบสุขภาพแบบมีส่วนร่วม (Participatory Healthy Public Policy : PHPP) ตามพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติพ.ศ. 2550 และมอบหมายให้ทุกเขตสุขภาพนำนโยบายสู่การปฏิบัติตามบริบทของพื้นที่ที่มีสถานการณ์ปัญหาสุขภาพที่แตกต่างกัน ในเขตสุขภาพที่11 ประกอบด้วย 7 จังหวัดภาคใต้ตอนบน ได้แก่ จังหวัดกระบี่ พังงา ภูเก็ต ระนอง ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ซึ่งมีการขยายตัวของสังคมเมืองเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และสภาพปัญหาสุขภาพรวมถึงปัจจัยต่าง ๆ ที่กระทบกับสุขภาพเป็นไปอย่างซับซ้อนกว่าในอดีตที่ผ่านมา โดยเฉพาะพฤติกรรมสุขภาพที่เปลี่ยนไปและการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ตลอดจนปัญหาสุขภาพอันอาจเกิดจากสิ่งแวดล้อมและกระแสของการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีที่ทันสมัย รวดเร็ว ทำให้คุณภาพชีวิตและสุขภาพประชาชนทุกกลุ่มวัยต้องเผชิญหน้ากับความเสื่อมถอยของสุขภาพกาย ใจ สังคม จึงจำเป็นต้องสร้างความตระหนักในพันธะรับผิดชอบต่อสังคมร่วมกันด้วยการเสริมสร้างพลังการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่างๆ รวมถึงครอบครัว ชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และองค์กรหลักภาคการศึกษา สังคม สวัสดิการและเศรษฐกิจ (Empowermentand Participation) รวมถึงผู้ประกอบการ ในการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคเป็นเลิศ (Prevention&Promotion Excellence) ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม การส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรคและปกป้องคุ้มครองด้านสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม เพื่อมุ่งให้ประชาชนมีสุขภาวะที่ดีทั้งกาย อารมณ์ ปัญญา และจิตใจ     จากการที่ประเทศไทยเข้าสู่ระยะภาวะประชากรผู้สูงอายุ (Population ageing) รัฐบาลได้กำหนดแผนนโยบายผู้สูงอายุแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2545 - 2564) โดยต้องการผู้สูงอายุมีสุขภาพที่ดีทั้งร่างกายและจิตใจ ผู้สูงอายุที่ทุกข์ยากจะต้องได้รับความช่วยเหลือที่เหมาะสม ครอบครัวและชุมชนเป็นสถาบันหลักในการเกื้อกุลผู้สูงอายุ และต้องส่งเสริมและสนับสนุนการเข้าถึงการบริการภาครัฐของผู้สูงอายุอย่างครอบคลุมและถ้วนหน้า ด้วยเหตุนี้อำเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้ใช้หลักการของการดำเนินการพัฒนาความร่วมมือของกลไกที่มีอยู่ในระบบสุขภาพชุมชน ทั้งของสาธารณสุข ทั้งกลไกคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับตำบล ด้วยกลไกกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ของสปสช. และกลไกสุขภาพภายใต้การดำเนินงานของสสส. เพื่อการดำเนินงานในพื้นที่ให้ครอบคลุมทั้ง 9 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยใช้ฐานทุนเดิมของกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับตำบล กองทุนท้องถิ่น ร่วมกับกลไกต่างๆในทุกพื้นที่ที่ทำงานใกล้ชิดกับประชาชน เพื่อช่วยเพิ่มจำนวนกองทุนท้องถิ่นและขยายพื้นที่การประสานการทำงานร่วมกัน เพิ่มศักยภาพของโครงการการดำเนินงานในระบบสุขภาพชุมชน ส่งผลให้คุณภาพชีวิตของประชาชนดีขึ้นอย่างทั่วถึง และครอบคลุม ภายใต้การใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า     จะเห็นได้ว่าพื้นที่อำเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีแนวทางการประเมินกลไกการดําเนินงานสร้างเสริมสุขภาวะในพื้นที่การนําร่องพื้นที่ต้นแบบในการบูรณาการขับเคลื่อนการสร้างเสริมสุขภาวะในกองทุนหลักประกันสุขภาพ ระดับพื้นที่เขตสุขภาพที่ 11 โดยดําเนินการร่วมกับกลไกในพื้นที่ที่มาจากเครือข่ายสสส. สปสช.และสธ.และกองทุนฯการพัฒนาศักยภาพของโครงการที่จะได้รับการสนับสนุนจากกองทุนฯ และบูรณาการการทํางานร่วมกับคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอําเภอ (พชอ.) แต่อย่างไรก็ตาม การดำเนินโครงการต่างๆ ล้วนมีผลกระทบต่อสุขภาพ สังคม และสิ่งแวดล้อมในระดับที่แตกต่างกันออกไป การประเมินผลกระทบสุขภาพ หรือ HIA ถือเป็นเครื่องมือใหม่ถูกพัฒนาขึ้นมา เพื่อให้เกิดกระบวนการที่ทุกคนในสังคมเข้ามามีส่วนร่วมในการตั้งคำถามและหาคำตอบ ในการจัดการกับความเสี่ยงต่อสุขภาพจากโครงการหรือนโยบายพัฒนาต่างๆโดยเครื่องมือนี้ได้เป็นตัวชี้วัดที่สำคัญต่อโครงการพัฒนาใดหรือนโยบายใดที่ควรจะได้รับการอนุมัติให้เกิดขึ้นหรือไม่ โดยเป้าหมายของการทำการประเมินผลกระทบสุขภาพอยู่ที่การมุ่งค้นหาว่านโยบาย หรือโครงการพัฒนาประเทศในรูปแบบต่าง ๆใดที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม สังคม และสภาพแวดล้อมที่เป็นปัจจัยสำคัญต่อการมีสุขภาพที่ดีของประชาชนอย่างไร และมีการถกเถียงถึงข้อดี ข้อเสีย รวมทั้งเสนอทางเลือกที่ดีที่สุดของการพัฒนาที่ต้องควบคู่ไปกับคุณภาพชีวิตประชาชน ซึ่งการใช้เครื่องมือการประเมินผลกระทบสุขภาพ เป็นสิทธิที่ทุกคนสามารถใช้ได้ไม่ว่าจะเป็นผู้กำหนดนโยบาย ผู้พัฒนาโครงการ หรือประชาชนผู้อาจได้รับผลกระทบจากนโยบายหรือโครงการนั้น ๆ โดยสิทธินี้ได้รับการรับรองทั้งโดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 และ พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550 ซึ่งสิ่งที่สำคัญที่สุด คือ แนวคิดในกระบวนการทำงานของ HIA คือ ประชาชนมีสิทธิที่จะร้องขอให้มีการทำ HIA ได้ และประชาชนเองจะต้องเป็นผู้ประเมินหลัก ไม่ใช่ปล่อยให้เจ้าของโครงการ เจ้าของนโยบาย นักวิชาการ หรือคนอื่นที่ไม่เคยรับรู้ถึงผลกระทบที่ชาวบ้านได้รับเข้ามาทำ HIA เพียงฝ่ายเดียว เช่น “หากจะมีการสร้างโรงพยาบาลขึ้นมา 1 โรงพยาบาลนั้น จะต้องมีการทำ HIA ของโรงพยาบาลนั้นก่อน แต่ HIA ไม่ได้เป็นเครื่องมือว่าจะให้สร้างได้หรือสร้างไม่ได้ แต่ทำเพื่อให้เกิดข้อตระหนักว่าเมื่อสร้างโรงพยาบาลดังกล่าวแล้ว ในอนาคตจะมีผลกระทบอะไรเกิดขึ้นและจะเตรียมรับมือกับผลกระทบนั้นได้อย่างไร และเปิดโอกาสให้ทุกๆ ฝ่ายได้ร่วมคิดถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับโครงการที่จะเกิดขึ้นทั้งในปัจจุบันและในอนาคต” (เว็บไซต์ www.thaihealth.or.th) นั้นเอง   สำหรับประเทศไทย ไม่เพียงข้อบัญญัติการประเมินผลกระทบทางสุขภาพมีไว้ทั้งในรัฐธรรมนูญและ พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติเท่านั้น แต่ประเทศไทยมีแนวทางการใช้ HIA เป็นเครื่องมือในการเสนอทางออกของการพัฒนาที่เป็นธรรมและไม่ละเลยต่อสุขภาวะของประชาชนและยังพัฒนาการประเมินผลกระทบทางด้านสุขภาพให้ครอบคลุมทั้งประเทศเพื่อสร้างองค์ความรู้และประสบการณ์การทำงานเกี่ยวกับการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพในระดับพื้นที่อีกด้วยซึ่งถือเป็นเป้าหมายที่สำคัญที่ผู้วิจัยได้นำกระบวนการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ หรือ HIA เพื่อการประเมินโครงการบูรณาการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะและพัฒนากลไกสุขภาวะระดับพื้นที่เขตสุขภาพที่ 11 อำเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี พรือมด้วยปัจจัยการชี้วัดผลสำเร็จจากปัจจัยกำหนดสุขภาพ (SDH) เพื่อมุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในพื้นที่และให้ทราบผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับปัจจัยกำหนดสุขภาพอันจะส่งผลต่อเนื่องไปถึงสุขภาพทั้ง 4 มิติ ดังนั้นการประยุกต์ใช้กระบวนการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ (HIA) ต่อการบูรณาการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะและพัฒนากลไกสุขภาวะระดับพื้นที่ เขต 11 (อำเภอคีรีรัฐนิคม) จังหวัดสุราษฎร์ธานี จึงเป็นสิ่งที่สำคัญที่จะสามารถก่อให้เกิดการทางเลือกที่ดีที่สุดของการพัฒนาที่ต้องควบคู่ไปกับคุณภาพชีวิตประชาชนที่ยั่งยืนต่อไปได้

หมายเหตุ
  • บทคัดย่อ/บทนำ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

แบบประเมิน HIA

1. การกลั่นกรองโครงการ

 

1.1 วัตถุประสงค์

1) เพื่อให้ทราบผลและบอกถึงงานที่รับผิดชอบ
2) เพื่อให้เห็นแนวโน้ม เพื่อเตือนภัย
3) เพื่อเปลี่ยนพฤติกรรม และเข้าใจกระบวนการ
4) เพื่อลำดับความสำคัญ แปลง ปรับกลยุทธ์ สู่การปฎิบัติ
5) เพื่อเป็นเครื่องมือในการจัดการ ช่วยการควบคุม
6) เพื่อจัดสรรทรัพยากร
7) เพื่อการเรียนรู้ และรู้ขีดความสามารถ
8) เพื่อเปรียบเทียบ ปรับปรุงและพัฒนา
9) เพื่อช่วยเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กร
10) เพื่อให้รางวัล เพื่อจูงใจ
11) อื่นๆ (ระบุรายละเอียด)

 

1.2 วิธีการ (ระบุรายละเอียดทำอะไร กับใคร กี่คน ผลสรุป)

1) ประชุมทีมประเมิน

 

2) ประชุมร่วมกับโครงการ

 

3) ประชุมร่วมกับโครงการและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง

 

4) อื่นๆ (ระบุรายละเอียด)

 

1.3 เครื่องมือ

1) เครื่องมือที่ใช้ในขั้นตอนการกลั่นกรอง (ระบุรายละเอียดเครื่องมือ เช่น แนวคำถามในการประชุมกลุ่ม)

 

1.4 ผลที่ได้

1) ผลที่ได้ในขั้นตอนการกลั่นกรอง

 

2. การกำหนดขอบเขต

 

1) วิธีการในการกำหนดขอบเขต

 

2) ผู้เข้าร่วมกำหนดขอบเขต

 

3) เครื่องมือที่ใช้

 

4) กรอบแนวคิด

1) ใช้กรอบ Ottawa charter
check_circle
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดเครื่องมือกลุ่มผู้ให้ข้อมูล
2) ใช้กรอบ ปัจจัยกำหนดสุขภาพ
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดเครื่องมือกลุ่มผู้ให้ข้อมูล
3) ใช้กรอบ Balance Score Card
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดเครื่องมือกลุ่มผู้ให้ข้อมูล
4) ใช้กรอบ CIPP
check_circle
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดเครื่องมือกลุ่มผู้ให้ข้อมูล
5) อื่นๆ
check_circle
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดเครื่องมือกลุ่มผู้ให้ข้อมูล

3. ลงมือประเมิน

check_circle

 

1) กระบวนการเก็บข้อมูลโดยการมีส่วนร่วม (ระบุรายละเอียด)
check_circle

 

2) กระบวนการวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูล (ระบุรายละเอียด)

 

3) ผู้มีส่วนร่วมในการประเมิน (ระบุรายละเอียด)
check_circle

 

4) ผลการประเมิน (เรียงตามตัวชี้วัดที่กำหนดในขั้นตอน scoping)
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดผลการประเมินหมายเหตุ
5) อื่นๆ
check_circle

 

4. ทบทวนรายงานการประเมินว่าถูกต้องหรือไม่?

 

1) กระบวนการในการทบทวนรายงาน

 

2) ผู้มีส่วนร่วมในการทบทวนรายงาน

 

3) ผลการทบทวนร่างรายงาน

 

4) สรุปผลการประเมินสำคัญที่นำเข้าเวทีการทบทวน
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดสรุปผลการประเมินหมายเหตุ
5) อื่นๆ

 

5. การปรับปรุงทบทวนโครงการ

 

1) ข้อเสนอเพื่อการทบทวนโครงการ
check_circle

 

2) อื่นๆ
check_circle

 

6. ได้มีการปรับปรุงทบทวนโครงการตามข้อ 5 หรือไม่?

 

1) กลไกในการติดตามการปรับปรุงโครงการตามข้อเสนอแนะ

 

2) วิธีการติดตาม การปรับปรุงโครงการตามข้อเสนอแนะ

 

3) อื่นๆ

 

สรุป

อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ

 

เอกสารอ้างอิง

 

เอกสารประกอบโครงการ