ระบบติดตามและประเมินผลโครงการ ( M&E Thailand )

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อพัฒนาศักยภาพพี่เลี้ยงระดับเขต ให้สามารถสนับสนุนการจัดทำแผน การพัฒนาข้อเสนอโครงการ และการใช้ระบบติดตามและประเมินผลโครงการ
ตัวชี้วัด : จำนวนของพี่เลี้ยงระดับเขตวิเคราะห์เฉพาะอำเภอปุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ ได้รับการพัฒนาศักยภาพ
3.00

 

2 เพื่อพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการกองทุนตำบล ให้มีความเข้าใจการจัดทำแผนกองทุนสุขภาพตำบลโดยวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหาสุขภาวะในพื้นที่ตำบล
ตัวชี้วัด : จำนวนคนที่มีความเข้าใจการจัดทำแผนกองทุนสุขภาพตำบลโดยวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหาสุขภาวะในพื้นที่ตำบล
80.00

 

3 เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบในการจัดทำแผน การพัฒนาข้อเสนอโครงการ และการติดตามโครงการ
ตัวชี้วัด : จำนวนผู้รับผิดชอบในการจัดทำแผน การพัฒนาข้อเสนอโครงการ และการติดตามโครงการ
24.00

 

4 เพื่อจัดทำแผนงาน พัฒนาโครงการ และติดตามโครงการในระบบโปรแกรม
ตัวชี้วัด : จำนวนแผนงาน พัฒนาโครงการ และติดตามโครงการในระบบโปรแกรม (อย่างน้อยกองทุนละ 1)
0.00 8.00

 

5 เพื่อให้เกิดการบูรณาการในระบบโปรแกรมระหว่าง พชอ.กับกองทุนสุขภาพตำบล
ตัวชี้วัด : มีแผนการบูรณาการในระบบโปรแกรมระหว่าง พชอ.กับกองทุนสุขภาพตำบล (แผนเฉพาะประเด็น)
0.00 3.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 83
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
ปฐมวัย (0-5 ปี) -
วัยเรียน (6-12 ปี) -
วัยรุ่น (13-15 ปี) -
เยาวชน (15-20 ปี) -
วัยทำงาน -
ผู้สูงอายุ (60 ปีขึ้นไป) -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
ผู้พิการ -
ผู้หญิง -
มุสลิม -
พระภิกษุ -
ชาติพันธุ์ -
ผู้ต้องขัง -
หลากหลายทางเพศ (LGBTIQ) -
กลุ่มด้อยโอกาส (คนไร้บ้าน, เด็กเร่ร่อน, เด็กกำพร้า, เด็กในสถานพินิจ ฯลฯ) -
แรงงานข้ามชาติ -
อื่น ๆ -
คณะกรรมการกองทุนตำบล 56
ผู้รับผิดชอบในการจัดทำแผน โครงการกองทุน 24
พี่เลี้ยงระดับเขตวิเคราะห์เฉพาะอำเภอปุมราชวงศา จัง 3

บทคัดย่อ*

การติดตามและประเมินผลโครงการบูรณาการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะและพัฒนากลไกสุขภาวะระดับพื้นที่ เขตสุขภาพที่ 10 โดยมีวัตถุประสงค์เเพื่อติดตามและประเมินผลโครงการบูรณาการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะระดับพื้นที่ เขต 10 จังหวัดอุบลราชธานี และเพื่อศึกษากลไกการดำเนินงานของคณะทำงานในโครงการบูรณาการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะและพัฒนากลไกสุขภาวะระดับพื้นที่อำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิจากโปรแกรมในระบบออนไลน์ ข้อมูลจากแผน โครงการ เอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง การสังเกตแบบมีส่วนร่วม การสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม โดยประยุกต์ใช้ขั้นตอนการประเมินผลกระทบสุขภาพ (HIA) ประกอบด้วย การกลั่นกรอง (Screening) การกำหนดขอบเขต (Scoping) การประเมินผลกระทบ (Appraisal) และการจัดทำรายงานและข้อเสนอแนะ (Reporting and Recommentations) โดยใช้แนวทางการพิจารณาปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จตามกรอบปัจจัยกำหนดสุขภาพ ได้แก่ ปัจเจกบุคคล สภาพแวดล้อม และระบบและกลไก วิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูล ด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการประเมินพบว่า ทีมงานผู้ประสานงานเขต 10 มีการดำเนินงานเพื่อบูรณาการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะ มีการพัฒนาศักยภาพคนทั้งในระดับเขต และระดับพื้นที่ แต่ยังขาดการพัฒนาศักยภาพของคณะกรรมการกองทุนสุขภาพตำบล มีระบบ กลไก ในการทำให้เกิดแผนงาน โครงการ ที่มีคุณภาพ หากแต่ขาดฐานข้อมูลพื้นฐานที่จำเป็นและสำคัญเพื่อใช้ในการวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหาของกลุ่มเป้าหมาย และมีสภาพแวดล้อม คือมีการหนุนเสริมด้วยระบบโปรแกรมออนไลน์ หากแต่มีความซับซ้อนของการใช้งานในระดับพื้นที่และเป็นการเพิ่มภาระให้กับผู้ปฏิบัติงาน ควรมีการผนวกรวมร่วมกับระบบของ สปสช.

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh