ระบบติดตามและประเมินผลโครงการ ( M&E Thailand )

directions_run

โครงการบูรณาการกลไกสุขภาพชุมชน เขตสุขภาพที่ 7 พื้นที่ อ.โพธิ์ชัย จ.ร้อยเอ็ด

แบบประเมินด้วยขั้นตอน HIA

บทคัดย่อ/บทนำ

บทคัดย่อ

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ พัฒนาแนวทางการดำเนินงานกองทุนสุขภาพตำบล และเพื่อให้เกิดแนวทางการบูรณาการการทำงานระหว่าง พชอ. และกองทุนสุขภาพตำบล


ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

คำสำคัญ

การประเมินผลกระทบสุขภาพ, HIA, เขตสุขภาพที่7, โพธิ์ชัยร้อยเอ็ด, กองทุนตำบล

บทนำ

โครงการบูรณาการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะและพัฒนากลไกสุขภาวะระดับพื้นที่ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาศักยภาพทีมกลไกร่วมของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) และกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ในการขับเคลื่อนงานสุขภาวะในพื้นที่ พร้อมทั้งการดำเนินงานพื้นที่ต้นแบบสร้างเสริมสุขภาวะในกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ มีเป้าหมายเพื่อช่วยลดความซ้ำซ้อนของการทำงาน สามารถขยายขอบเขตพื้นที่การทำงานได้กว้างขึ้นภายใต้งบประมาณที่จำกัด อันจะนำไปสู่ความครอบคลุมการพัฒนาศักยภาพของประชาชนในพื้นที่ จนกลายเป็นทุนทรัพยากรมนุษย์ในการสร้างสังคมสุขภาวะ และระบบสุขภาพชุมชนที่เข้มแข็งในอนาคต

จากวัตถุประสงค์และเป้าหมายโครงการฯ นำมาสู่การกำหนดแผนการดำเนินงานใน 2 แผนงานหลัก ได้แก่ แผนงานที่ 1 คือ การพัฒนาศักยภาพทีมกลไกร่วมในการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะในพื้นที่ เพื่อเพิ่มจำนวนกลไกสร้างเสริมสุขภาวะและพัฒนาศักยภาพให้มีความรู้ ความเข้าใจ และมีทักษะในการ coaching การจัดทำแผน การพัฒนาข้อเสนอโครงการ และการติดตามประเมินผลโครงการ แบ่งเป็น 2 ระดับ คือ ระดับเขตและระดับพื้นที่ ทั้งนี้ระดับเขต ประกอบด้วย ผู้รับผิดชอบหลักระดับเขต และตัวแทนพี่เลี้ยงจากจังหวัดในเขตนั้น ๆ รวมจำนวน 12 เขตสุขภาพ สำหรับระดับพื้นที่ ประกอบด้วย คณะกรรมการกองทุน และผู้รับผิดชอบโครงการ ทั้งนี้ได้จัดให้มีคลินิกให้คำปรึกษาการพัฒนาแผน โครงการ และการใช้ระบบพัฒนาโครงการและระบบติดตามประเมินผลโครงการออนไลน์

แผนงานที่ 2 ดำเนินการนำร่องพื้นที่ต้นแบบสร้างเสริมสุขภาวะในกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ โดยเน้นประเด็นกิจกรรมทางกาย และประเด็นอื่น ๆ เช่น อาหาร การจัดการปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพจากสุรา ยาสูบ ยาเสพติด รวมทั้งประเด็นอื่นตามบริบทของพื้นที่ สำหรับแผนงานที่ 2 นำร่องพื้นที่ทั้ง 76 จังหวัด ๆ ละ 1 อำเภอ โดยเลือกจาก 1) อำเภอที่มีการดำเนินงานคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) ที่มีคุณภาพเป็นหลัก ซึ่งต้องดำเนินการในทุกกองทุนของอำเภอนั้น จำนวน 770 กองทุน และ 2) ท้องถิ่นที่รับการถ่ายโอนภารกิจโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) จำนวน 51 แห่ง/กองทุน รวมพื้นที่นำร่องจำนวนทั้งสิ้น 821กองทุน

การดำเนินงานโครงการบูรณาการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะและพัฒนากลไกสุขภาวะระดับพื้นที่ ได้กำหนดผลที่คาดว่าจะได้รับไว้ 7 ประการ ประกอบด้วย ประการที่ 1 ได้รับรู้ข้อมูลสถานการณ์แต่ละปัญหาสุขภาพ และเป้าหมายของการแก้ปัญหาทั้งระดับชาติ ภาค จังหวัด อำเภอ และตำบล ประการที่ 2 เกิดแผนสุขภาพในภาพรวมของอำเภอ โดยเป็นแผนที่จำแนกตามประเด็นปัญหาที่เกิดจากแผนของกองทุนต่าง ๆ ในอำเภอ ประการที่ 3 โครงการที่กองทุนสนับสนุนมีคุณภาพมากขึ้น สามารถแก้ปัญหาสุขภาพในพื้นที่ได้เป็นรูปธรรมมากขึ้น ประการที่ 4 สามารถสังเคราะห์ผลและคุณค่าที่เกิดขึ้นจากแผนและการดำเนินโครงการ ประการที่ 5 สามารถติดตามการดำเนินโครงการอย่าง Real time ประการที่ 6 สามารถทำรายงานผลการดำเนินงานและรายงานการเงินได้แบบ Real time และประการสุดท้ายคือ มีระบบคลังข้อมูลที่สามารถเรียกดูได้ตลอดเวลาและรวดเร็ว โดยมีโปรแกรมออนไลน์สำหรับพัฒนาแผนงานกองทุน ข้อเสนอโครงการ และติดตามประเมินผลโครงการที่มีชื่อว่า “เว็บกองทุนตำบล หรือ https://localfund.happynetwork.org” เป็นเครื่องมือสำคัญเพื่อให้เกิดผลดังกล่าว

สำหรับการดำเนินงานโครงการบูรณาการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะและพัฒนากลไกสุขภาวะระดับพื้นที่ของเขตสุขภาพที่ 7 ซึ่งประกอบด้วยจังหวัดขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด และกาฬสินธุ์ ได้คัดเลือกพื้นที่ดำเนินงาน ประกอบด้วย เทศบาลนครขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น จำนวน 1 แห่ง/กองทุน, พชอ.บรบือ จังหวัดมหาสารคาม จำนวน 16 ตำบล/กองทุน, พชอ.สมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 9 ตำบล/กองทุน และพชอ.โพธิ์ชัย จังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 10 ตำบล/กองทุน รวมพื้นที่ดำเนินการทั้งสิ้น 36 ตำบล/กองทุน ทั้งนี้ในการดำเนินงานเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการ ได้กำหนดแผนการดำเนินงานไว้ 7 แผนงาน ได้แก่ 1) การประชุมคณะทำงานระดับเขต 2) การหารือคณะกรรมการ พชอ.ทั้ง 4 พื้นที่ 3) การชี้แจงโครงการและออกแบบการดำเนินงานร่วมกัน 4) การประชุมเชิงปฏิบัติการ“การทำแผนและโครงการสุขภาพโดยใช้โปรแกรมบันทึกข้อมูลออนไลน์” 5) การประสานแผนกับ พชอ. 6) การดำเนินโครงการสุขภาพตำบล 7) การติดตามสนับสนุนพื้นที่ และ 8) การจัดเวทีสรุปบทเรียน

การดำเนินงานโครงการได้เริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2562 เป็นต้นมา และคาดว่าจะสิ้นสุดในเดือนเมษายน พ.ศ. 2564 ผลการดำเนินงานที่ผ่านมาก่อให้เกิดการพัฒนาแผนงานกองทุน และข้อเสนอโครงการผ่านโปรแกรมออนไลน์ เกิดการออกแบบแนวทาง/แผนการบูรณาการในการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาวะประชาชนในพื้นที่ระหว่างกองทุนตำบล พชอ. และภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง และเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน แต่ยังมีข้อจำกัดและจุดอ่อน ได้แก่ ข้อบกพร่องบางประการของโปรแกรมออนไลน์ คุณภาพของแผนงานกองทุนและโครงการที่บันทึกในโปรแกรมออนไลน์ ความครอบคลุมประเด็นสุขภาพของแผนงาน/โครงการที่ถูกพัฒนา การติดตามประเมินผลอย่างเป็นระบบ และการบูรณาการสร้างเสริมสุขภาวะระหว่างภาคส่วนต่าง ๆ อย่างจริงจัง เป็นต้น

ดังนั้นเพื่อกำจัดจุดอ่อนและข้อจำกัดข้างต้น รวมทั้งให้สามารถขับเคลื่อนงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงมีการประเมินผลการดำเนินงานที่เกิดขึ้นระหว่างดำเนินโครงการฯ อย่างมีส่วนร่วม โดยประยุกต์ใช้กระบวนการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ (Health Impact assessment : HIA) เป็นเครื่องมือ ดำเนินการใน 6 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การกลั่นกรอง 2) การกำหนดขอบเขตและแนวทางการประเมิน 3) การประเมินผล 4) การทบทวนร่างรายงาน 5) การพัฒนาข้อเสนอเพื่อแก้ไขปรับปรุง และ 6) การติดตามประเมินผลและทบทวนแก้ไขปับปรุง ซึ่งเขตสุขภาพที่ 7 ได้เลือกพื้นที่ พชอ.โพธิ์ชัย จังหวัดร้อยเอ็ด เป็นพื้นที่ดำเนินการ และเลือกปัจจัยกำหนดสุขภาพเป็นกรอบแนวคิดสำคัญในการประเมินผล

หมายเหตุ
  • บทคัดย่อ/บทนำ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

แบบประเมิน HIA

1. การกลั่นกรองโครงการ

check_circle

การกลั่นกรองโครงการ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจร่วมกันถึงความจำเป็นและความสำคัญของการประเมินผลกระทบโครงการ โดยทีมประเมินมีวัตถุประสงค์ วิธีการ เครื่องมือ และผลที่เกิดขึ้นในขั้นการกลั่นกรองโครงการ ดังรายละเอียดเพิ่มเติม ต่อไปนี้

1.1 วัตถุประสงค์

1) เพื่อให้ทราบผลและบอกถึงงานที่รับผิดชอบ
check_circle
2) เพื่อให้เห็นแนวโน้ม เพื่อเตือนภัย
3) เพื่อเปลี่ยนพฤติกรรม และเข้าใจกระบวนการ
check_circle
4) เพื่อลำดับความสำคัญ แปลง ปรับกลยุทธ์ สู่การปฎิบัติ
5) เพื่อเป็นเครื่องมือในการจัดการ ช่วยการควบคุม
check_circle
6) เพื่อจัดสรรทรัพยากร
7) เพื่อการเรียนรู้ และรู้ขีดความสามารถ
check_circle
8) เพื่อเปรียบเทียบ ปรับปรุงและพัฒนา
check_circle
9) เพื่อช่วยเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กร
check_circle
10) เพื่อให้รางวัล เพื่อจูงใจ
11) อื่นๆ (ระบุรายละเอียด)

 

1.2 วิธีการ (ระบุรายละเอียดทำอะไร กับใคร กี่คน ผลสรุป)

1) ประชุมทีมประเมิน
check_circle

การประชุมทีมประเมินได้ดำเนินการ 3 ครั้ง ได้แก่ พัฒนาศักยภาพและประชุมทีมประเมิน การประชุมทีมประเมินเครือข่ายภาคอีสาน และการประชุมทบทวน/ทำความเข้าใจในทีมประเมิน มีรายละเอียดดังนี้ ..... ครั้งที่ 1 พัฒนาศักยภาพและประชุมทีมประเมิน
โดยทีมประเมินเข้าร่วมพัฒนาศักยภาพ เพื่อเรียนรู้แนวคิดหลักการประเมินผลกระทบสุขภาพโดยประยุกต์ใช้กระบวนการ HIA วันที่ 29 กุมภาพันธ์ - 2 มีนาคม 2563 และในวันนี้ทีมประเมินได้ร่วมกำหนดเป้าหมาย ความสำคัญ และประโยชน์ของการประเมินผลโครงการโดยใช้ HIA มีการแบ่งบทบาทหน้าที่ ประกอบด้วย หัวหน้าทีม คือ นายธวัชชัย เคหะบาล และผู้ร่วมประเมิน คือ นางสาววนิดา วิรกุล นายธนาคาร ผินสู่ และนางสาวจุติมาพร พลพลงษ์ ทั้งนี้ได้วิเคราะห์ผู้ส่วนเกี่ยวข้องในการประเมินโครงการทั้งในระดับเขต ระดับอำเภอ และระดับตำบล ในเบื้องต้นด้วย

ครั้งที่ 2 การประชุมทีมประเมินระดับเครือข่ายภาคอีสาน (เขต 7, 8, 9 และ 10) โดยใช้การประชุมออนไลน์ผ่านโปรแกรม Zoom เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันถึงแผนการประเมิน การกำหนดประเด็นและตัวชี้วัดการประเมินของทีมประเมินแต่ละเขต

ครั้งที่ 3 การประชุมทบทวน/ทำความเข้าใจในทีมประเมิน โดยทีมประเมินจำนวน 4 คน ประกอบด้วย นางสาววนิดา วิระกุล, นายธวัชชัย เคหะบาล, นายธนาคาร ผินสู่ และนางสาวจุติมาพร พลพงษ์ ได้จัดประชุมออนไลน์ผ่านโปรแกรม Zoom เพื่อทบทวนและทำความเข้าใจร่วมกันถึงรายละเอียดโครงการฯ หลักคิด/หลักการ/กระบวนการประเมินผลโดยประยุกต์ใช้ HIA และเป้าหมายของการประเมินโครงการ ทำให้เกิดการคัดเลือกประเด็นและการออกแบบแผนการดำเนินงานในเบื้องต้น นำไปสู่การร่างคำถามของเวทีประชุมเพื่อกรั่นกรองโครงการ

2) ประชุมร่วมกับโครงการ
check_circle

 

3) ประชุมร่วมกับโครงการและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
check_circle

จัดเวทีประชุมเชิงปฏิบัติการ ในวันที่ 6 ส.ค. 63 เพื่อชี้แจงวัตถุประสงค์แนะนำทีมประเมิน พร้อมทั้งนำกรอบการประเมิน ร่างหลักเกณฑ์ ขอบเขต เครื่องมือ และวิธีการประเมิน พูดคุยหารือร่วมกันระหว่าง พชอ. สสจ. ทีมพี่เลี้ยงระดับเขต ทีมพี่เลี้ยงระดับพื้นที่ ผู้รับผิดชอบงานกองทุนฯ และทีมประเมิน มีผู้เข้าร่วมทั้งสิ้น จำนวน 15 คน ทั้งนี้ในเวที ทีมประเมินได้เน้นย้ำถึงวัตถุประสงค์การประเมินว่า เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เสริมพลังใจ มุ่งเน้นการหาแนวทางการปรับปรุง/พัฒนาการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาพในพื้นที่ให้มีประสิทธิภาพร่วมกัน มิใช่การจับผิด ชี้ถูก-ผิด ดี-ไม่ดี

4) อื่นๆ (ระบุรายละเอียด)

 

1.3 เครื่องมือ

1) เครื่องมือที่ใช้ในขั้นตอนการกลั่นกรอง (ระบุรายละเอียดเครื่องมือ เช่น แนวคำถามในการประชุมกลุ่ม)
check_circle
  1. ศึกษาข้อมูลทุติยภูมิ ได้แก่ ข้อมูลโครงการ และโปรแกรมออนไลน์
  2. การประชุมออนไลน์ เพื่อทำความเข้าใจโครงการ
  3. เวทีประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อชี้แจงวัตถุประสงค์ แนะนำทีมประเมิน และกำหนดขอบเขตการประเมินในเบื้องต้น โดยใช้การสังเกต การสัมภาษณ์ และการสนทนากลุ่มย่อยร่วมด้วย แนวคำถามที่ใช้ในการสนทนากลุ่ม มีดังนี้ - มีใครเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหรือได้รับผลกระทบจากโครงการบูรณาการฯ บ้าง มีจำนวนเท่าไหร่ - ควรทำการประเมินผลกระทบจากโครงการบูรณาการฯ หรือไม่ เพราะอะไร - ประโยชน์ที่จะได้จากการประเมินมีอะไรบ้าง

1.4 ผลที่ได้

1) ผลที่ได้ในขั้นตอนการกลั่นกรอง
check_circle

เกิดความเข้าใจเบื้องต้นขั้นตอน (Health Impact assessment : HIA) เล็งเห็นความสำคัญและประโยชน์ของการประเมินผลโครงการ ได้ขอบเขตการประเมินและเกิดแผนงานการประเมินร่วมกัน นำไปสู่การตัดสินใจร่วมกันและได้มติในที่ประชุมว่าเห็นควรให้มีการประเมินผลโครงการ

2. การกำหนดขอบเขต

check_circle

 

1) วิธีการในการกำหนดขอบเขต
check_circle

ประชุมเชิงปฏิบัติการ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการประเมินโครงการ เพื่อกำหนดขอบเขตร่วมกัน โดยทีมประเมินผล นำเสนอร่างกรอบประเด็น และให้ผู้เข้าร่วมให้ข้อเสนอแนะร่วมกัน  ในวันที่ 6 ส.ค. 63 ซึ่งทำให้ได้ขอบเขตการประเมิน ดังนี้ 1. กระบวนการพัฒนาโครงการ แผนงานกองทุนที่ให้เกิดประสิทธิภาพ ประสิทธิผล เป็นอย่างไร 2. การพัฒนาศักยภาพกรรมการ หรือผู้รับผิดชอบควรทำเป็นอย่างไร 3. การติดตามอย่างมีส่วนร่วม (ทั้งโปรแกรมออนไลน์และออฟไลน์) ควรเป็นอย่างไร 4. ถ้าจะเอาแผนงานกองทุนตำบล ไปสู่แผนงาน พชอ. จะทำอย่างไร หรือมีตัวชี้วัดอย่างไร (ที่ผ่านมาทำอย่างไร มีจุดเด่น จุดด้อยอย่างไร อนาคตควรเป็นอย่างไร)

2) ผู้เข้าร่วมกำหนดขอบเขต
check_circle

พชอ. สสจ. ทีมพี่เลี้ยงระดับเขต ทีมพี้เลี้ยงระดับพื้นที่ ผู้รับผิดชอบงานกองทุนฯ กลุ่มเป้าหมาย/ผู้เสนอโครงการฯ/ผู้ดำเนินโครงการฯ ของกองทุนสุขภาพตำบล (ตัวแทนจาก กลุ่มชุมชน/เจ้าหน้าที่ รพ.สต.) และทีมประเมิน

3) เครื่องมือที่ใช้
check_circle

ประชุมเชิงปฏิบัติการ

4) กรอบแนวคิด

1) ใช้กรอบ Ottawa charter
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดเครื่องมือกลุ่มผู้ให้ข้อมูล
2) ใช้กรอบ ปัจจัยกำหนดสุขภาพ
check_circle
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดเครื่องมือกลุ่มผู้ให้ข้อมูล
ศักยภาพคน
  1. ความสามารถในการวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหาสุขภาพ
  2. ความสามารถในการพัฒนาแผนงานโครงการ
  3. ความสามารถในการป้องกันและแก้ไขปัญหาสุขภาพ
  4. ความเข้าใจต่อแนวคิดสุขภาพ
  1. เวทีประชุม
  2. การสัมภาษณ์
  3. การสนทนากลุ่ม
  1. ข้อมูลมือสอง (แผน/โครงการสุขภาพในพื้นที่)
  2. โปรแกรมออนไลน์
  3. พชอ. สสจ. ทีมพี่เลี้ยงระดับเขต ทีมพี้เลี้ยงระดับพื้นที่ ผู้รับผิดชอบงานกองทุนฯ กลุ่มเป้าหมาย/ผู้เสนอโครงการฯ/ผู้ดำเนินโครงการฯ ของกองทุนสุขภาพตำบล (ตัวแทนจาก กลุ่มชุมชน/เจ้าหน้าที่ รพ.สต.)
มีกลไก ระบบ กระบวนการ
  1. มีการพัฒนาศักยภาพกลไกอย่างต่อเนื่อง
  2. ฐานข้อมูลสุขภาพ
  3. กระบวนการวิเคราะห์ปัญหา ทำแผน/โครงการ แก้ไขปัญหา ติดตามหนุนเสริม
  4. การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในพื้นที่
  1. เวทีประชุม
  2. การสัมภาษณ์
  3. การสนทนากลุ่ม
  4. การสังเกต
  1. พชอ. สสจ. ทีมพี่เลี้ยงระดับเขต ทีมพี้เลี้ยงระดับพื้นที่ ผู้รับผิดชอบงานกองทุนฯ กลุ่มเป้าหมาย/ผู้เสนอโครงการฯ/ผู้ดำเนินโครงการฯ ของกองทุนสุขภาพตำบล (ตัวแทนจาก กลุ่มชุมชน/เจ้าหน้าที่ รพ.สต.)
  2. ข้อมูลมือสอง (รายงานสถานการณ์สุขภาพ)
สภาพแวดล้อม
  1. ประเด็นสุขภาพที่ชัดเจน
  2. นโยบาย หรือแนวทางและเครื่องมือในการบูรณาการสร้างเสริมสุขภาพ
  1. เวทีประชุม
  2. การสัมภาษณ์
  3. การสนทนากลุ่ม
  1. พชอ. สสจ. ทีมพี่เลี้ยงระดับเขต ทีมพี้เลี้ยงระดับพื้นที่ ผู้รับผิดชอบงานกองทุนฯ กลุ่มเป้าหมาย/ผู้เสนอโครงการฯ/ผู้ดำเนินโครงการฯ ของกองทุนสุขภาพตำบล (ตัวแทนจาก กลุ่มชุมชน/เจ้าหน้าที่ รพ.สต.)
3) ใช้กรอบ Balance Score Card
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดเครื่องมือกลุ่มผู้ให้ข้อมูล
4) ใช้กรอบ CIPP
check_circle
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดเครื่องมือกลุ่มผู้ให้ข้อมูล
การพัฒนาและสร้างทีมกลไกพี่เลี้ยงระดับเขตและระดับพื้นที่
  1. เกิดกระบวนการสร้างทีมกลไกฯ อย่างมีส่วนร่วม
  2. กลไกฯ มีเป้าหมายการทำงานร่วมและ แผนปฏิบัติงานพื้นที่
  3. กลไกฯมีองค์ประกอบครอบคลุมภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง และแบ่งบทบาทหน้าที่อย่างชัดเจน
  1. เวทีประชุม
  2. การสนทนากลุ่ม
  1. ผู้ประสานเขต, พี่ เลี้ยงอำเภอ, สสจ./สสอ., สปสช.
การพัฒนาศักยภาพกองทุนฯ (ทำแผน/โครงการ ติดตามประเมินผล)
  1. เกิดความรู้ ความเข้าใจ ทักษะ การวิเคราะห์ปัญหาสุขภาพ การพัฒนาแผนงาน/โครงการ และการติดตามผล
  2. สามารถใช้โปรแกรมออนไลน์ และขยายผลสู่คนอื่นได้
  1. การสัมภาษณ์
  2. การสนทนากลุ่ม
  3. เวทีประชุม
  4. ข้อมูลมือสอง (รายงานฯ)
  5. โปรแกรมออนไลน์
  1. ทีมพี่เลี้ยงระดับเขต ทีมพี้เลี้ยงระดับพื้นที่ ผู้รับผิดชอบงานกองทุนฯ กลุ่มเป้าหมาย/ผู้เสนอโครงการฯ/ผู้ดำเนินโครงการฯ ของกองทุนสุขภาพตำบล (ตัวแทนจาก กลุ่มชุมชน/เจ้าหน้าที่ รพ.สต.)
ทีมประสานงานและทีมพี่เลี้ยงหนุนเสริมการจัดทำแผน การพัฒนาโครงการ และการติดตามประเมินผล
  1. กระบวนการ/วิธีการ/เครื่องมือ
  2. ปรับปรุง,พัฒนา,แก้ปัญหาร่วม การคัดเลือก
  3. ความต่อเนื่องในการติดตาม
  1. การสัมภาษณ์
  2. การสนทนากลุ่ม
  3. ข้อมูลมือสอง (รายงานฯ)
  1. ทีมพี่เลี้ยงระดับเขต และทีมพี่เลี้ยงระดับพื้นที่
กองทุนสุขภาพตำบลมีแผนตามประเด็นปัญหา
  1. ข้อมูลสถานการณ์สุขภาพในพื้นที่ มีคุณภาพ
  2. แผนงานมีความครอบคลุม 5 ประเด็นหลัก และประเด็นอื่นๆ ตามบริบทพื้นที่
  3. มีการใช้งานและการบันทึกข้อมูลแผนงานในโปรแกรมออนไลน์
  4. คุณภาพของข้อมูลที่บันทึกในโปรแกรมออนไลน์
  1. การสัมภาษณ์
  2. เวทีประชุม
  3. โปรแกรมออนไลน์
  1. พชอ. สสจ. สสอ. ทีมพี่เลี้ยงระดับเขต ทีมพี้เลี้ยงระดับพื้นที่ ผู้รับผิดชอบงานกองทุนฯ กลุ่มเป้าหมาย/ผู้เสนอโครงการฯ/ผู้ดำเนินโครงการฯ ของกองทุนสุขภาพตำบล (ตัวแทนจาก กลุ่มชุมชน/เจ้าหน้าที่ รพ.สต.) และทีมประเมิน
โครงการด้านสุขภาพกองทุนตำบลมีคุณภาพ
  1. โครงการมีแนวทางหรือกิจกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาและสร้างเสริมสุขภาพอย่างชัดเจน สามารถแก้ไขปัญหาหรือตอบสนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย(กองทุนละ 1 โครงการเป็นอย่างน้อย)
  2. จำนวนข้อเสนอโครงการที่ถูกอนุมัติฯ
  3. มีการใช้งานและการบันทึกข้อมูลโครงการในโปรแกรมออนไลน์
  1. เวทีประชุม
  2. โปรแกรมออนไลน์
  3. ข้อมูลมือสอง (รายงานฯ)
  1. ทีมพี่เลี้ยงระดับเขต ทีมพี้เลี้ยงระดับพื้นที่ ผู้รับผิดชอบงานกองทุนฯ กลุ่มเป้าหมาย/ผู้เสนอโครงการฯ/ผู้ดำเนินโครงการฯ ของกองทุนสุขภาพตำบล (ตัวแทนจาก กลุ่มชุมชน/เจ้าหน้าที่ รพ.สต.)
การบูรณาการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะระหว่าง พชอ. กับกองทุนสุขภาพตำบล
  1. เกิดการใช้ฐานข้อมูลสุขภาพชุมชนในการกำหนด แผนงาน/นโยบายด้านสุขภาพในพื้นที่
  2. เกิดแนวทาง/กิจกรรม การสร้างเสริมสุขภาพระหว่าง พชอ. กับกองทุนสุขภาพตำบล
  1. เวทีประชุม
  2. ข้อมูลมือสอง (รายงานฯ)
  1. พชอ. สสจ. สสอ. ทีมพี่เลี้ยงระดับเขต ทีมพี้เลี้ยงระดับพื้นที่ ผู้รับผิดชอบงานกองทุนฯ กลุ่มเป้าหมาย/ผู้เสนอโครงการฯ/ผู้ดำเนินโครงการฯ ของกองทุนสุขภาพตำบล (ตัวแทนจาก กลุ่มชุมชน/เจ้าหน้าที่ รพ.สต.)
5) อื่นๆ
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดเครื่องมือกลุ่มผู้ให้ข้อมูล

3. ลงมือประเมิน

check_circle

 

1) กระบวนการเก็บข้อมูลโดยการมีส่วนร่วม (ระบุรายละเอียด)
check_circle

เก็บข้อมูลครั้งที่ 1
ประเด็น : การประสานความร่วมมือ กับ พชอ. ,แผนบูรณาการการ ,สรุปแนวทางการทำงานร่วมกับ พชอ. กลุ่มเป้าหมาย : ผู้ประสานเขต ,เลขา พชอ. ,พี่เลี้ยงอำเภอ ,สสจ./สสอ./สปสช. เครื่องมือ : สนทนากลุ่ม ,สัมภาษณ์ ,ข้อมูลทุติยภูมิหรือเอกสารที่เกี่ยวข้อง เก็บข้อมูลครั้งที่ 2
ประเด็น : การสร้างทีมและพัฒนาศักยภาพ ,การพัฒนาทำแผนจัดทำโครงการ,คุณภาพโครงการ,แผนตามประเด็น,ฐานข้อมูลสถานการณ์,สถานการณ์สุขภาพดีขึ้น กลุ่มเป้าหมาย : ผู้รับผิดชอบกองทุนตำบล,ผู้เสนอโครงการกองทุนตำบล,ผู้บริหารกองทุนตำบล,เลขา พชอ. เครื่องมือ : สนทนากลุ่ม ,สัมภาษณ์ ,แบบสำรวจ,สังเกต,โปรแกรมออนไลน์

2) กระบวนการวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูล (ระบุรายละเอียด)
check_circle

วิเคราะห์ตามกรอบประเมิน โดยคณะทำงาน

3) ผู้มีส่วนร่วมในการประเมิน (ระบุรายละเอียด)
check_circle

พชอ. สสจ. ทีมพี่เลี้ยงระดับเขต ทีมพี้เลี้ยงระดับพื้นที่ ผู้รับผิดชอบงานกองทุนฯ กลุ่มเป้าหมาย/ผู้เสนอโครงการฯ/ผู้ดำเนินโครงการฯ ของกองทุนสุขภาพตำบล (ตัวแทนจาก กลุ่มชุมชน/เจ้าหน้าที่ รพ.สต.) และทีมประเมิน

4) ผลการประเมิน (เรียงตามตัวชี้วัดที่กำหนดในขั้นตอน scoping)
check_circle
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดผลการประเมินหมายเหตุ
1. ศักยภาพคน (2) ใช้กรอบ ปัจจัยกำหนดสุขภาพ) ความสามารถในการวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหาสุขภาพ

สามารถวิเคราะห์ปัญหาได้ครอบคลุมประเด็นและกลุ่มเป้าหมาย แต่การระบุขนาดปัญหาขาดความชัดเจน เนื่องจากที่มาของข้อมูลส่วนใหญ่นั้นมาจากหน่วยงานต่างๆ เท่านั้น ยังไม่ได้มีการวิเคราะห์ปัญหาจากกลุ่มเป้าหมาย

โปรแกรมออนไลน์ ช่วยให้เห็นสถานการณ์ปัญหาสุขภาพในแต่ละด้านชัดเจนขึ้น และทำให้เห็นความสำคัญของการระบุขนาด/ความรุนแรงของปัญหา

 

2. ศักยภาพคน (2) ใช้กรอบ ปัจจัยกำหนดสุขภาพ) ความสามารถในการพัฒนาแผนงานโครงการ

มีการพัฒนาศักยภาพบุคคล ในกลุ่มของ ทีมพี่เลี้ยงระดับเขต ทีมพี่เลี้ยงระดับพื้นที่ กลุ่มเป้าหมายในโครงการฯ อันประกอบไปด้วย ผู้รับผิดชอบงานกองทุนฯ,จนท.รพ.สต.,คณะกรรมการกองทุนสุขภาพและกลุ่มเป้าหมาย หรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง โดยประเด็นหลักที่มีการพัฒนาศักยภาพ ประกอบด้วย การวิเคราะห์สถานการณ์สุขภาพในพื้นที่ การพัฒนาแผนงาน/โครงการกองทุนสุขภาพ ฝึกปฏิบัติการใช้เครื่องมือ/โปรแกรมบันทึกข้อมูลออนไลน์ ซึ่งส่งผลให้มีทักษะและเล็งเห็นความสำคัญในการวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหา ในพื้นที่ และสามารถนำมาหาแนวทาง/วิธีการในการสร้างเสริมสุขภาพ ผ่านกองทุนสุขภาพตำบลได้มากขึ้น

อย่างไรก็ตาม การพัฒนาศักยภาพยังไม่ครอบคลุมถึง บุคคลหรือกลุ่มต่างๆ เช่น คณะกรรมการกองทุนสุขภาพตำบลทุกคน กลุ่มผู้รับผิดชอบงาน/ผู้รับทุน กลุ่มเป้าหมาย ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เนื่องจากทีมพี่เลี้ยงระดับเขต ทีมพี่เลี้ยงระดับพื้นที่ เล็งเห็นว่าโปรแกรมออนไลน์นี้มีการใช้ที่ค่อนข้างยากและซับซ้อน จึงควรเริ่มจากกลุ่มคนที่จะสามารถฝึกและใช้ได้ก่อน โดยคาดหวังว่าเมื่อกลุ่มนี้ใช้ได้อย่างชำนาญแล้ว จะเกิดการขยายผลไปสู่คนและกลุ่มต่างๆในชุมชนได้มากขึ้น

 

3. ศักยภาพคน (2) ใช้กรอบ ปัจจัยกำหนดสุขภาพ) ความสามารถในการป้องกันและแก้ไขปัญหาสุขภาพ

สามารถแก้ไขปัญหาและเกิดผลต่อสุขภาพในบางโครงการ/เรื่อง เช่น
- สารเคมีในเลือดเกษตรกร มีข้อมูลชัดเจน ชาวบ้านเกิดความตระหนักจนนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม - สุขภาพผู้สูงอายุ เกิดโรงเรียนผู้สูงอายุ มีการขับเคลื่อนโรงเรียนผ่านธรรมนูญ ทำในทุกตำบล มีหลักสูตรที่สอดคล้องกับสุขภาพกลุ่มเป้าหมาย
- กลุ่มติดบ้าน ติดเตียง สามารถออกแบบกิจกรรม และกายอุปกรณ์ได้สอดคล้องกับปัญหา

 

4. ศักยภาพคน (2) ใช้กรอบ ปัจจัยกำหนดสุขภาพ) ความเข้าใจต่อแนวคิดสุขภาพ

พบว่า ระดับเจ้าหน้าที่ มีความเข้าใจต่อแนวคิดสุขภาพที่กว้างออกไปกว่าสุขภาพทางกายและจิต กล่าวคือ เข้าใจว่าสุขภาพ หมายถึง คุณภาพชีวิตของประชาชนในทุกด้าน

แต่ระดับกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ ยังเข้าใจต่อแนวคิดสุขภาพว่าเป็นเพียงการเจ็บไข้ได้ป่วยเท่านั้น

 

5. มีกลไก ระบบ กระบวนการ (2) ใช้กรอบ ปัจจัยกำหนดสุขภาพ) มีการพัฒนาศักยภาพกลไกอย่างต่อเนื่อง

มีการพัฒนาศักยภาพ แต่ขาดความต่อเนื่อง และผู้ที่ได้รับการพัฒนาศักยภาพไม่ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ เป็นเพียงระดับเจ้าหน้าที่เท่านั้น และเมื่อมีการโยกย้ายตำแหน่งก็ขาดการถ่ายทอด/ส่งต่อ

 

6. มีกลไก ระบบ กระบวนการ (2) ใช้กรอบ ปัจจัยกำหนดสุขภาพ) ฐานข้อมูลสุขภาพ

มีฐานข้อมูลด้านสุขภาพ จำแนกตามประเด็นปัญหาสุขภาพ เพื่อใช้ในการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะด้านสุขภาพและการพัฒนาคุณภาพชีวิต พร้อมให้หน่วยงานอื่นๆ นำไปใช้ได้ (บูรณาการข้อมูลระหว่างหน่วยงานในพื้นที่)

ข้อสังเกตเพิ่มเติมจากพี่เลี้ยงจังหวัด : คนที่ออกแบบโปรแกรมอาจจะโฟกัสเฉพาะเงินกองทุน ควรออกแบบโปรแกรมให้เห็นถึงบทบาทของทุกหน่วยงานที่มาร่วมขับเคลื่อนโครงการ

 

7. มีกลไก ระบบ กระบวนการ (2) ใช้กรอบ ปัจจัยกำหนดสุขภาพ) กระบวนการวิเคราะห์ปัญหา ทำแผน/โครงการ แก้ไขปัญหา ติดตามหนุนเสริม

กระบวนการพัฒนาโครงการ/แผนงานกองทุน สอดคล้องกับนโยบาย แต่ยังไม่ตอบสนองต่อปัญหาในพื้นที่ บางแห่งจัดทำโครงการเดิมที่เคยทำมา (เปลี่ยนเฉพาะ พ.ศ.) เพราะระยะเวลาในการพัฒนาแผนงาน/โครงการ กระชั้นชิด

เกิดระบบที่เข้ามาช่วยหนุนเสริมในการจัดทำแผนงาน/โครงการ ได้มากขึ้น ดังที่กล่าวในจุดเด่นของโปรแกรมออนไลน์ คือ ทำให้เกิดการวิเคราะห์สถานการณปัญหา ในพื้นที่ มีแนวทาง/วิธีการสร้างเสริมสุขภาพที่ชัดเจน ที่สามารถนำมาปรับใช้ได้ มีโปรแกรมที่เชื่อมโยงประเด็นต่างๆอย่างเป็นระบบมากขึ้น/เช่นข้อมูล เป้าหมาย แนวทาง เป็นต้น มีการจัดเก็บฐานข้อมูลเดิม เพื่อต่อยอดข้อมูลใหม่ได้ เช่น ข้อมูลพัฒนาการเด็ก สามารถเรียนรู้จากพื้นที่อื่นๆ ทั่วประเทศ รวมถึงเป็น นอกจากนี้ทำให้คนเล็งเห็นถึงขนาดของสถานการณ์ปัญหาว่ามีความสำคัญมากอย่างไร และสามารถติดตามงานผ่านระบบออนไลน์ได้

อย่างไรก็ตาม พบว่า โปรแกรมออนไลน์นี้ มีความซ้ำซ้อนกับโปรแกรมรายงานผลดำเนินงานของสปสช. และส่วนใหญ่สะท้อนว่าค่อนข้างจะเป็นการเพิ่มภาระงานให้กับพื้นที่อีกด้วย นอกจากนี้โปรแกรมยังใช้ยากและมีความซับซ้อน คนที่เข้าอบรมการใช้โปรแกรม กำลังอยู่ในขั้นการทดลองปฏิบัติการใช้โปรแกรม จึงส่งผลให้ความรู้ความเข้าใจ ในการใช้โปรแกรมไม่มากนัก

 

8. มีกลไก ระบบ กระบวนการ (2) ใช้กรอบ ปัจจัยกำหนดสุขภาพ) การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในพื้นที่

การมีส่วนร่วมจะเกิดขึ้นในการดำเนินกิจกรรมสุขภาพของกองทุนสุขภาพ ในระดับการเข้าร่วมกิจกรรม รับประโยชน์

แต่ในการวิเคราะห์ปัญหาสุขภาพ พัฒนาแผนงานโครงการฯยังไม่ปรากฏชัดเจนมากนัก เนื่องจากพื้นที่เน้นพัฒนาในกลุ่มเจ้าหน้าที่รับผิดชอบ และ เจ้าหน้าที่ รพ.สต. ก่อน จึงยังไม่ได้เกิดการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน ประกอบกับการพัฒนาแผนงาน/โครงการ ใช้ข้อมูลของปีงบประมาณ 2563 ซึ่งมีการดำเนินการผ่านมาแล้ว จึงเน้นไปที่การฝึกใช้โปรแกรม

และศักยภาพของคน/กลุ่มที่แตกต่างกัน จึงเป็นบทบาทของเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ ในการพัฒนาแผนงาน/โครงการ และรายงานผล

 

9. สภาพแวดล้อม (2) ใช้กรอบ ปัจจัยกำหนดสุขภาพ) ประเด็นสุขภาพที่ชัดเจน

ระดับ พชอ. ได้กำหนดประเด็นสุขภาพไว้อย่างชัดเจน มี 10 ประเด็น ได้แก่ ไข้เลือดออก ขยะ อาหารปลอดภัย อุบัติเหตุ

แต่ระดับกองทุน ยังไม่ชัดเจนเท่าใดนัก เป็นการขับเคลื่อนให้สอดคล้อง 8 กลุ่มเป้าหมายของ สปสช.เท่านั้น

 

10. สภาพแวดล้อม (2) ใช้กรอบ ปัจจัยกำหนดสุขภาพ) นโยบาย หรือแนวทางและเครื่องมือในการบูรณาการสร้างเสริมสุขภาพ

พื้นที่จะใช้เครื่องมือธรรมนูญสุขภาพเป็นหลัก

 

11. การพัฒนาและสร้างทีมกลไกพี่เลี้ยงระดับเขตและระดับพื้นที่ (4) ใช้กรอบ CIPP) เกิดกระบวนการสร้างทีมกลไกฯ อย่างมีส่วนร่วม
  • ทีมพี่เลี้ยงเขตระดับเขต จะประสานกับทาง สปสช. เพื่อทำความเข้าใจแนวทางการดำเนินโครงการฯ ชี้แจงความสำคัญและประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นในการดำเนินงาน แล้วจึงร่วมการคัดเลือกพื้นที่เป้าหมาย ในการเป็นพื้นที่นำร่องขับเคลื่อนโครงการ
  • คุณสมบัติคือ มีการขับเคลื่อนงานที่เข้มแข็ง และมีกลไก/คนทำงานที่มีศักยภาพ ทั้งในงานด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ และงานด้านกองทุนสุขภาพตำบล
  • ประสานไปที่ สสจ. และพื้นที่ เพื่อคัดเลือกคนเข้ามาเป็นทีมพี่เลี้ยง และนำไปร่วมพัฒนาศักยภาพกับทีมกลาง

ดังนั้นจะพบว่า การสร้างทีมพี่เลี้ยงระดับเขต,สร้างทีมพี่เลี้ยงระดับพื้นที่ จะเน้น - การสร้างความเข้าใจกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและพื้นที่เป้าหมายในการทำงาน ทั้งในส่วนของ สปสช. สสจ. และ พชอ.ในพื้นที่
- คัดเลือกคนที่จะเป็นพี่เลี้ยงจากศักยภาพ ในความรู้ในการทำงาน การประสานงานเชื่อมโยงกับหน่วยงานต่างๆในพื้นที่ สามารถประสานกับ พชอ. สามารถ ติดตามการทำงานในกองทุนสุขภาพได้

 

12. การพัฒนาและสร้างทีมกลไกพี่เลี้ยงระดับเขตและระดับพื้นที่ (4) ใช้กรอบ CIPP) กลไกฯ มีเป้าหมายการทำงานร่วมและ แผนปฏิบัติงานพื้นที่

การประชุม Coaching ทีมระดับเขตสุขภาพที่ 7 เพื่อชี้แจงแผนงานโครงการบูรณาการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะและพัฒนากลไกสุขภาวะระดับพื้นที่ โดยใช้วิธีการประชุมเชิงปฏิบัติการกับคฅณะทำงานเขต 7 ในพื้นที่เป้าหมาย 4 แห่ง ซึ่ง พชอ.โพธิ์ชัยเป็นหนึ่งในนั้น มีการ -ชี้แจงความสำคัญและเป้าหมายโครงการฯ
-การแลกเปลี่ยนสถานการณ์ การขับเคลื่อนงานกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ และการขับเคลื่อนงานคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.)
-การแนะนำเครื่องมือ/โปรแกรมบันทึกข้อมูลออนไลน์
-ร่วมกันออกแบบแผนงานโครงการบูรณาการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะ และพัฒนากลไกสุขภาวะระดับพื้นที่ เขต 7

 

13. การพัฒนาและสร้างทีมกลไกพี่เลี้ยงระดับเขตและระดับพื้นที่ (4) ใช้กรอบ CIPP) กลไกฯมีองค์ประกอบครอบคลุมภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง และแบ่งบทบาทหน้าที่อย่างชัดเจน

ทางโครงการฯ ได้มีคณะทำงาน และแบ่งบทบาทหน้าที่การดำเนินงาน โดยเน้นการมีส่วนร่วมตั้งแต่ระดับนโยบาย ระดับจังหวัด ระดับอำเภอ และระดับพื้นที่ เพื่อให้เกิดความเข้าใจในการทำงาน และร่วมมีบทบาทในการขับเคลื่อนโครงการฯ ดังรายละเอียดดังต่อไปนี้

1) สำนักงานหลักประกันสุขภาพเขต 7 ขอนแก่น โดยเป็นผู้รับผิดชอบงานด้านดูแลกองทุนสุขภาพตำบล จำนวน 1 คน บทบาท คือ ให้คำปรึกษา เสนอแนะแนวทางที่สำคัญ ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้
2) ทีมพี่เลี้ยงระดับเขต จำนวน 4 คน บทบาทคือ ออกแบบกระบวนและเครื่องมือ จัดเวทีชี้แจงการทำงาน และ การทำแผนและโครงการสุขภาพและใช้โปรแกรมบันทึกข้อมูลออนไลน์ ประสานแผนกับ พชอ. และจัดเวทีสรุปบทเรียน รวมถึงเอื้ออำนวยในการบันทึกข้อมูลในแบบอนุมัติโครงการ ติดตามหนุนการทำงาน และบริหารจัดการโครงการ
3) ทีมพี่เลี้ยงระดับพื้นที่ จำนวน 2 คน ประกอบด้วย ผู้ดูแลงานด้านกองทุนสุขภาพตำบลของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด และพี่เลี้ยงกองทุนตำบลระดับอำเภอ บทบาทคือ ร่วมออกแบบกระบวนการทำงาน จัดทำแผนงานพื้นที่และประสานงานกับกลุ่มเป้าหมายต่างๆ ดำเนินการ,ร่วมกิจกรรมในพื้นที ประสาน และบูรณาการแผน/โครงการกองทุนสุขภาพกับ พชอ. ร่วมติดตาม สนับสนุน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ พื้นที่

 

14. การพัฒนาศักยภาพกองทุนฯ (ทำแผน/โครงการ ติดตามประเมินผล) (4) ใช้กรอบ CIPP) เกิดความรู้ ความเข้าใจ ทักษะ การวิเคราะห์ปัญหาสุขภาพ การพัฒนาแผนงาน/โครงการ และการติดตามผล

การพัฒนาศักยภาพกองทุนฯ (ทำแผน/โครงการ ติดตามประเมินผล) ซึ่งผลประเมินสามารถแบ่งออกได้ 2 ส่วนคือ

ส่วนที่ 1 กระบวนการพัฒนาโครงการ/แผนงานกองทุน คณะกรรมการ หรือผู้รับผิดชอบที่ผ่านมา
- โครงการยังไม่ตอบสนองต่อปัญหาในพื้นที่ บางแห่งจัดทำโครงการเดิมที่เคยทำมา แต่ปัญหาหรือสถานการณ์เปลี่ยนไปแล้ว จึงไม่สอดคล้อง
- ระยะเวลาในการพัฒนาแผนงาน/โครงการ กระชั้นชิด เพราะเกินปีงบประมาณ กรรมการกองทุนยังไม่ได้ประชุม แต่งบประมาณเข้ามาแล้ว จึงต้องรีบดำเนินการ ส่งผลให้บางแห่งจะเป็นโครงการเดิมที่เคยทำมา ไม่ได้มีการพัฒนา ปรับปรุงให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน - ศักยภาพผู้พัฒนาโครงการ ผู้เสนอโครงการ ซึ่งหากกลุ่ม/องค์กร ที่ขอรับการสนับสนุนโครงการฯ มีคนที่มีทักษะ มีความสามารถในการจัดทำโครงการ จะสามารถพัฒนาแผนงาน/โครงการได้ แต่บางกลุ่มเป็นกลุ่มชาวบ้านทั่วไป จึงไม่มีทักษะในการพัฒนาแผนงาน/โครงการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ยังให้เป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานกองทุน - ตัวชี้วัด เป้าหมาย ในการจัดทำโครงการฯ ส่งมาล่าช้า ทำให้การพัฒนาโครงการ/แผนงานกองทุน ไม่ตรงกับวัตถุประสงค์/เป้าหมาย
- การพัฒนาศักยภาพกรรมการ หรือผู้รับผิดชอบ พบว่า ผู้รับผิดชอบโครงการพัฒนาตนเองสามารถรับผิดชอบโครงการได้มากขึ้น คณะกรรมการกองทุนมีความรู้ ความเข้าใจ สามารถพิจารณาโครงการได้/บางแห่ง มี ผอ.กองคลัง มาเป็นผู้ช่วยเลขา ทำให้การทำงานชัดเจนคล่องตัวมากขึ้น และมีโปรแกรมติดตามความก้าวหน้าของโครงการ (โปรแกรมกองทุนสปสช.)

แต่ยังพบจุดด้อย คือ ศักยภาพของกรรมการยังไม่เท่าเทียมกัน ยังไม่มีกระบวนการพัฒนาศักยภาพ ความรู้ การเขียนโครงการ ที่ต่อเนื่องและชัดเจนให้กับกรรมการ หรือผู้รับผิดชอบ นอกจากนี้บางแห่งคณะกรรมการมีการกระจายอำนาจสู่ประชาชนในการทำโครงการยังน้อยอยู่ โดยให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานกองทุน เป็นผู้พัฒนาแผนงาน/โครงการ และขับเคลื่อนโครงการให้เป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากผู้รับทุนส่วนใหญ่ยัง เขียนโครงการ ดำเนินการ และจัดทำเอกสารไม่ถูกต้อง

ส่วนที่ 2 การพัฒนาศักยภาพกองทุนฯ โดยโครงการฯ ทีมพี่เลี้ยงระดับเขต,สร้างทีมพี่เลี้ยงระดับพื้นที่ จะจัดเวทีประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อชี้แจงโครงการฯ การทำแผนและโครงการสุขภาพและใช้โปรแกรมบันทึกข้อมูลออนไลน์ ดังรายละเอียดต่อไปนี้

1) เวทีชี้แจงโครงการฯ จัดขึ้นเพื่อชี้แจงวัตถุประสงค์ความสำคัญโครงการฯ แนะนำเครื่องมือ/โปรแกรมบันทึกข้อมูลออนไลน์ (ส่งประเด็นให้พื้นที่ก่อน) วิเคราะห์และคัดเลือกประเด็นหรือปัญหาที่สนใจนำมาจัดทำแผนและโครงการด้านสุขภาพ กลุ่มเป้าหมาย จะประกอบไปด้วย สสจ. สสอ. ประธานคณะกรรมการกองทุนสุขภาพตำบล(นายก/ปลัด) ผู้รับผิดชอบงานกองทุนฯ และกลุ่มเป้าหมาย/ผู้เสนอโครงการฯ/ผู้ดำเนินโครงการฯ ของกองทุนสุขภาพตำบล (ตัวแทนจาก กลุ่มชุมชน/เจ้าหน้าที่ รพ.สต.)

2) ประชุมเชิงปฏิบัติการฯ “การทำแผนและโครงการสุขภาพและใช้โปรแกรมบันทึกข้อมูลออนไลน์” เพื่อการวิเคราะห์สถานการณ์สุขภาพระดับตำบล พัฒนาแผนงาน/โครงการกองทุนสุขภาพ ฝึกปฏิบัติการใช้เครื่องมือ/โปรแกรมบันทึกข้อมูลออนไลน์ กลุ่มเป้าหมาย จะประกอบไปด้วย สสจ. สสอ. ผู้รับผิดชอบงานกองทุนฯ และกลุ่มเป้าหมาย/ผู้เสนอโครงการฯ/ผู้ดำเนินโครงการฯ ของกองทุนสุขภาพตำบล (ตัวแทนจาก กลุ่มชุมชน/เจ้าหน้าที่ รพ.สต.)

ดังนั้นจะพบว่า การพัฒนาศักยภาพกองทุนฯ (ทำแผน/โครงการ ติดตามประเมินผล) ในส่วนของ กระบวนการพัฒนาโครงการ/แผนงานกองทุน คณะกรรมการ หรือผู้รับผิดชอบที่ผ่านมา นั้น ด้านศักยภาพกรรมการ หรือผู้รับผิดชอบ สามารถรับผิดชอบโครงการได้มากขึ้น คณะกรรมการมีความรู้ ความเข้าใจ และมีโปรแกรมติดตามความก้าวหน้าของโครงการ (โปรแกรมกองทุนสปสช.) หนุนเสริมการติดตามงาน แต่ศักยภาพของคนยังไม่เท่าเทียมกัน ยังไม่มีกระบวนการพัฒนาศักยภาพ ความรู้ การเขียนโครงการ ที่ต่อเนื่องและชัดเจนบางแห่งบทบาทการขับเคลื่อนงานจึงเป็นของเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานกองทุน ในด้านกระบวนการพัฒนาโครงการ/แผนงานกองทุน ยังไม่ตอบสนองต่อปัญหาในพื้นที่ บางแห่งจัดทำโครงการเดิมที่เคยทำมา เพราะระยะเวลาในการพัฒนาแผนงาน/โครงการ กระชั้นชิด

ซึ่งในการพัฒนาศักยภาพกองทุนฯ โดยโครงการฯ ได้มีการสร้างความเข้าใจแนวทางการทำงานต่อผู้บริหารท้องถิ่น อันเนื่องมาจาก ถ้าผู้บริหารเล็งเห็นความสำคัญของงาน จะทำให้การขับเคลื่อนสะดวกยิ่งขึ้น และได้มีการวิเคราะห์สถานการณ์สุขภาพระดับตำบล พัฒนาแผนงาน/โครงการกองทุนสุขภาพ ฝึกปฏิบัติการใช้เครื่องมือ/โปรแกรมบันทึกข้อมูลออนไลน์

 

15. การพัฒนาศักยภาพกองทุนฯ (ทำแผน/โครงการ ติดตามประเมินผล) (4) ใช้กรอบ CIPP) สามารถใช้โปรแกรมออนไลน์ และขยายผลสู่คนอื่นได้

คนที่เข้าอบรม กำลังอยู่ในขั้นการทดลองปฏิบัติการใช้โปรแกรม จึงส่งผลให้ความรู้ความเข้าใจ ในการใช้โปรแกรมไม่มากนัก

 

16. ทีมประสานงานและทีมพี่เลี้ยงหนุนเสริมการจัดทำแผน การพัฒนาโครงการ และการติดตามประเมินผล (4) ใช้กรอบ CIPP) กระบวนการ/วิธีการ/เครื่องมือ

การติดตาม 3 รูปแบบ 1. กระบวนการติดตามปกติของกองทุนฯ - ร่วมกิจกรรม - เวทีแลกเปลี่ยน - รายงานกิจกรรม - ติดตามทางสื่อ เช่น Line ปัญหาที่พบ คือ ทีมประเมินไม่ครบองค์ประกอบ การรายงานออนไลน์ ไม่ครบตามวัตถุประสงค์

2.ระบบออนไลน์ สปสช. - สามารถนำเสนอข้อมูลให้เข้าใจตรงกันได้ ที่ไม่สามารถคีย์ได้ คือบุคลากรมีภาระงานมาก เปลี่ยนคนรับผิดชอบ

3.การติดตามผ่านโปรแกรมบันทึกข้อมูลโครงการบูรณาการฯ โดยทีมพี่เลี้ยง

 

17. ทีมประสานงานและทีมพี่เลี้ยงหนุนเสริมการจัดทำแผน การพัฒนาโครงการ และการติดตามประเมินผล (4) ใช้กรอบ CIPP) ปรับปรุง,พัฒนา,แก้ปัญหาร่วม การคัดเลือก

มีการติดตามการดำเนินงาน แลกเปลี่ยนปัญหาการทำงาน และหาแนวทางแก้ไขร่วมกัน

 

18. ทีมประสานงานและทีมพี่เลี้ยงหนุนเสริมการจัดทำแผน การพัฒนาโครงการ และการติดตามประเมินผล (4) ใช้กรอบ CIPP) ความต่อเนื่องในการติดตาม

พี่เลี้ยงอำเภอ จัดเวทีติดตามในพื้นที่ แบ่งเป็น 2 โซน ๆ ละ 5 กองทุน เน้นการปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับระเบียบ

นอกจากนี้ยังติดตามผ่านช่องทางอื่น ๆ ที่จัดทำขึ้น คือ กลุ่มไลน์ เพื่อให้คำปรึกษา ประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้อง และติดตามการบันทึกข้อมูลในโปรแกรมออนไลน์

 

19. กองทุนสุขภาพตำบลมีแผนตามประเด็นปัญหา (4) ใช้กรอบ CIPP) ข้อมูลสถานการณ์สุขภาพในพื้นที่ มีคุณภาพ

การวิเคราะห์ข้อมูลสถานการณ์สุขภาพ จะเป็นการใช้ข้อมูลจากหน่วยงานต่างๆที่มีหน้าที่ข้อมูลรวบรวมข้อมูลในประเด็น/ด้านนั้น เช่น ข้อมูลสารเคมีในเลือด ข้อมูลการออกกำลังกาย จาก รพ.สต. เป็นต้น แต่ในบางประเด็นเป็นการประมาณการจากข้อมูลกลางหรือจากเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานเท่านั้น

ยังไม่ได้มีข้อมูลในส่วนของกลุ่มเป้าหมาย หรือผู้มีส่วนได้เสีย มาร่วมวิเคราะห์และให้ข้อมูล

 

20. กองทุนสุขภาพตำบลมีแผนตามประเด็นปัญหา (4) ใช้กรอบ CIPP) แผนงานมีความครอบคลุม 5 ประเด็นหลัก และประเด็นอื่นๆ ตามบริบทพื้นที่

จากข้อมูลโปรแกรมบันทึกข้อมูลออนไลน์ https://localfund.happynetwork.org/project/planning (ข้อมูล ณ วันที่ 31 ส.ค. 63) พบว่า พชอ.โพธิ์ชัย มีแผนงานที่บันทึกข้อมูลออนไลน์ จำนวน 52 แผนงาน โดยแผนงานหลัก 5 ด้าน อันประกอบไปด้วย แผนงานเหล้า แผนงานบุหรี่ แผนงานสารเสพติด แผนงานอาหารและโภชนาการ แผนงานกิจกรรมทางกาย มีจำนวน 22 แผนงาน ซึ่งแผนงานหลักยังมีไม่ครอบคลุมทุกกองทุนสุขภาพตำบล อันเนื่องมาจากแต่ละกองทุนสุขภาพตำบล เน้นการวิเคราะห์จากปัญหา สถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริงตามบริบทพื้นที่

 

21. กองทุนสุขภาพตำบลมีแผนตามประเด็นปัญหา (4) ใช้กรอบ CIPP) มีการใช้งานและการบันทึกข้อมูลแผนงานในโปรแกรมออนไลน์

จุดเด่นของการใช้โปรแกรมออนไลน์บันทึกข้อมูลแผนงาน
-ทำให้แผนโครงการมีประสิทธิภาพ เห็นสถานการณ์ ขนาดปัญหาชัด -สามารถวิเคราะห์ปัญหาได้ทันที รวดเร็ว ประมวลผลออกมาได้ดี -สร้างความเชื่อถือได้ของข้อมูล เพราะมีตัวเลขขนาดปัญหาชัดเจน นำไปยืนยันกับ คกก.กองทุนได้ -เป็นคลังข้อมูลขนาดใหญ่สำหรับทุกภาคส่วน มีไกด์ไลน์ชัดเจน ที่จะช่วยให้ภาคส่วนต่าง ๆ หยิบไปปฏิบัติการในพื้นที่ได้

จุดด้อยของการใช้โปรแกรมออนไลน์บันทึกข้อมูลแผนงาน -ไม่ทราบขนาดปัญหาที่แท้จริง บางข้อมูลเป็นเพียงการประมาณการเท่านั้น -โปรแกรมไม่สามารถเชื่อมต่อข้อมูลสถานการณ์ในขั้นตอนพัฒนาโครงการ -ยังไม่ครอบคลุมทุกแผน เช่น แผนงานสารเคมี ยังไม่มีข้อมูล ต้องพิมพ์เอง -สถานการณ์ปัญหายังไม่สอดคล้องกับบริบทจริงของพื้นที่ (อิงภาคใต้)

 

22. กองทุนสุขภาพตำบลมีแผนตามประเด็นปัญหา (4) ใช้กรอบ CIPP) คุณภาพของข้อมูลที่บันทึกในโปรแกรมออนไลน์

 

 

23. โครงการด้านสุขภาพกองทุนตำบลมีคุณภาพ (4) ใช้กรอบ CIPP) โครงการมีแนวทางหรือกิจกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาและสร้างเสริมสุขภาพอย่างชัดเจน สามารถแก้ไขปัญหาหรือตอบสนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย(กองทุนละ 1 โครงการเป็นอย่างน้อย)

การพัฒนาแผนงาน/โครงการ ใช้ข้อมูลของปีงบประมาณ 2563 ซึ่งมีการดำเนินการผ่านมาแล้ว จึงเน้นไปที่การฝึกใช้โปรแกรม จึงยังไม่พบแนวทางหรือกิจกรรมใหม่ๆ ตามคู่มือฯมากนัก

 

24. โครงการด้านสุขภาพกองทุนตำบลมีคุณภาพ (4) ใช้กรอบ CIPP) จำนวนข้อเสนอโครงการที่ถูกอนุมัติฯ

โครงการที่พัฒนาผ่านโปรแกรมออนไลน์ ยังระบุชัดเจนไม่ได้

แต่โครงการที่พัฒนาผ่านระบบปกติ ได้รับอนุมัติ 70-100% (แตกต่างกันไปในแต่ละกองทุน)

รอข้อมูลจากแต่ละกองทุน

25. โครงการด้านสุขภาพกองทุนตำบลมีคุณภาพ (4) ใช้กรอบ CIPP) มีการใช้งานและการบันทึกข้อมูลโครงการในโปรแกรมออนไลน์

จุดเด่นของการใช้โปรแกรมออนไลน์บันทึกข้อมูลโครงการ
-มีแนวทางการทำโครงการ/กิจกรรมสามารถนำไปพัฒนาเป็นกิจกรรมในพื้นที่ได้ -ง่าย สะดวก ในการเขียนโครงการ -สามารถปริ้นเสนอต่อกรรมการและผู้บริหารได้เลย -สรุปรายงานโครงการได้ -มีคลังข้อมูลที่มาสามารสืบค้น และสามารถศึกษาพื้นที่เด่น เป็นตัวอย่างได้

จุดด้อยของการใช้โปรแกรมออนไลน์บันทึกข้อมูลโครงการ -ชุดกิจกรรมที่มีในโปรแกรมไม่สามารถทำได้ตามแนวทางกิจกรรม เพราะงบจำกัด และบางข้อมูลไม่สอดคล้องกับโครงการที่พื้นที่ทำ ตัวเลือกไม่มีให้ -เมนูการเพิ่มข้อมูลแล้วต้องกด + ใช้ยาก ควรให้บันทึกอัตโนมัติ

 

26. การบูรณาการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะระหว่าง พชอ. กับกองทุนสุขภาพตำบล (4) ใช้กรอบ CIPP) เกิดการใช้ฐานข้อมูลสุขภาพชุมชนในการกำหนด แผนงาน/นโยบายด้านสุขภาพในพื้นที่

พชอ. ข้อมูลที่นำมาพัฒนาแผน ใช้สถิติสาธารณสุข (โรคระบาดในพื้นที่ ไข้เลือดออก โควิด) มีการทำประชาคมกับชาวบ้าน ให้สะท้อนปัญหา 10 ตำบลนำมาสังเคราะห์รวมเป็นระดับอำเภอ คัด 10 เรื่องที่เป็นปัญหาทุกพื้นที่ การประชาคมเพื่อจัดทำธรรมนูญ จัดทำข้อมูลระดับหมู่บ้าน ใช้เวลา 1 ปี ส่วนราชการต่าง ๆ ร่วมนำเสนอข้อมูล จากชุดข้อมูลที่เคยจัดเก็บ เช่น สาธารณสุขเป็นเรื่องโรค อาหารปลอดภัยเป็นของเกษตร ท้องถิ่นเป็นเรื่องเหล้าบุหรี่

กองทุน แจ้งไปยังกลุ่มเป้าหมายตามระเบียบ ให้ส่งข้อเสนอแผนงานมายังกองทุน ส่วนใหญ่มาจาก รพ.สต. ขอข้อมูลจากหน่วยงานในพื้นที่

 

27. การบูรณาการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะระหว่าง พชอ. กับกองทุนสุขภาพตำบล (4) ใช้กรอบ CIPP) เกิดแนวทาง/กิจกรรม การสร้างเสริมสุขภาพระหว่าง พชอ. กับกองทุนสุขภาพตำบล

สถานการณ์ปัจจุบัน คือ ยังไม่ได้มีการเชื่อมโยงการทำงานกันอย่างชัดเจน ระหว่าง พชอ. และกองทุนสุขภาพ กล่าวคือ พชอ.ขับเคลื่อนงานด้วยปัญหาภาพรวมในอำเภอ จากข้อมูลปัญหาจากพื้นที่และข้อมูลจากหน่วยงานต่างๆ โดยใช้ธรรมนูญสุขภาพ เป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อน มีประเด็นร่วม และมาตรการต่างๆ โดยบทบาทหน้าที่ จะมอบให้หน่วยงาน/กลุ่มองค์กร ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง มีงบประมาณเป็นผู้ดำเนินการแก้ปัญหานั้นๆ กองทุนสุขภาพ เน้นการแก้ปัญหาครอบคลุมตามกลุ่มเป้าหมายของสปสช.
อย่างไรก็ตาม การจะมีประเด็น/ปัญหา/กิจกรรม ที่พชอ.และกองทุนขับเคลื่อนร่วมกัน เช่น อปท.บางแห่ง ทำเรื่องจัดการขยะ อปท.บางแห่งทำเรื่องอาหารปลอดภัย ก็จะมีการเชื่อมโยงกัน ดังนั้นจึงจะเห็นได้ว่ายังไม่ได้กำหนดแนวทาง วางยุทธศาสตร์การเชื่อมโยงที่ชัดเจน

การบูรณาการกับ พชอ.ยังไม่ค่อยเกิดไม่มีแผนเป็นรูปธรรม ในพื้นที่/กองทุนมีการกำหนดประเด็นหลักไว้ คือ การงด ละ เลิก เหล้า/บุหรี่/ยาเสพติด แต่ยังไม่รู้ว่าแต่ละกองทุนทำอะไรบ้าง สำหรับ พชอ.มีการกำหนดแผนและตัวชี้วัดไว้อย่างชัดเจน เช่น โรคไข้เลือดออก ลด ละ เลิก เหล้าบุหรี่ อาหารปลอดภัย เป็นต้น และได้ MOU กับหัวหน้าส่วนราชการ ซึ่งเป็นคณะกรรมการ พอช. แต่ในกองทุนยังไม่มีระบบนี้ ตัวชี้วัดในการทำแผนงาน/โครงการไม่ชัด นายกซึ่งเป็นประธานกองทุนยังไม่รับนโยบาย และยังไม่มีผู้รับผิดชอบที่จะมาร่วมกับ พชอ.อย่างชัดเจน

ทั้งนี้ โครงการบูรณาการฯ ช่วยให้เกิดการรับทราบทั่วกันระหว่างคณะกรรมการ พชอ. กับคณะกรรมการกองทุน ทำให้เห็นแนวทางในการขับเคลื่อนการบูรณาการร่วมกันอย่างจริงจัง คือ จัดเวทีพูดคุยสร้างความเข้าใจ (โดยเฉพาะกับผู้บริหาร: นายก/ปลัด) กำหนดเป้าหมายร่วม วิเคราะห์ข้อมูลปัญหาในพื้นที่ให้สอดคล้องกัน กำหนดประเด็นร่วม กำหนดแผนร่วมอย่างชัดเจน โดยใช้เครื่องมือธรรมนูญสุขภาพตำบล ทั้งนี้ถ่ายทอดพูดคุยกับเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการในกองทุน และพี่เลี้ยงอำเภอช่วยพิจารณา กลั่นกรอง ชี้แนะ ควบคุมติดตามสนับสนุน ข้อสังเกตเพิ่มเติมจากพี่เลี้ยงจังหวัด การแปลงธรรมนูญสุขภาพไปสู่การปฏิบัติในระดับพื้นที่ งบประมาณไม่ได้จำกัดอยู่เพียงกองทุนสุขภาพตำบลเท่านั้น ยังมีหน่วยงานอื่น ๆ ในพื้นที่ที่จัดสรรงบประมาณไว้เพื่อบริการประชาชน ฉะนั้นสามารถประสานมาร่วมขับเคลื่อนได้

 

5) อื่นๆ

 

4. ทบทวนรายงานการประเมินว่าถูกต้องหรือไม่?

check_circle

จัดเวทีเวทีคืนข้อมูล แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และสรุปบทเรียนการประเมิน

1) กระบวนการในการทบทวนรายงาน
check_circle

จัดประชุมเชิงปฏิบัติการคืนข้อมูล วิเคราะห์ทางเลือก เสนอแนวทางการพัฒนา และ ผู้รับผิดชอบ

2) ผู้มีส่วนร่วมในการทบทวนรายงาน

 

3) ผลการทบทวนร่างรายงาน

 

4) สรุปผลการประเมินสำคัญที่นำเข้าเวทีการทบทวน
check_circle
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดสรุปผลการประเมินหมายเหตุ
1. ศักยภาพคน (2) ใช้กรอบ ปัจจัยกำหนดสุขภาพ) ความสามารถในการวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหาสุขภาพ

สามารถวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหาได้ว่ามีอะไรบ้าง เกิดผลผระทบอย่างไร แต่การวิเคราะห์ขนาด/ความรุนแรงของปัญหายังไม่ชัดเจน ต้องพัฒนาต่อ

 

2. ศักยภาพคน (2) ใช้กรอบ ปัจจัยกำหนดสุขภาพ) ความสามารถในการพัฒนาแผนงานโครงการ

คณะทำงานมีทักษะและเล็งเห็นความสำคัญในการวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหาในพื้นที่ และสามารถนำมาหาแนวทาง/วิธีการในการสร้างเสริมสุขภาพ โดยใช้การประชุม ประชาคม และโปรแกรมออนไลน์เป็นเครื่องมือ แต่ยังไม่ครอบคลุมทุกแผนงาน และข้อมูลยังไม่สมบูรณ์

 

3. ศักยภาพคน (2) ใช้กรอบ ปัจจัยกำหนดสุขภาพ) ความสามารถในการป้องกันและแก้ไขปัญหาสุขภาพ

สามารถแก้ไขปัญหาและเกิดผลต่อสุขภาพเชิงรูปธรรมได้บางโครงการ/เรื่อง เช่น ปัญหาสารเคมีในเลือด ปัญหาผู้สูงอายุ และ ผู้ป่วยติดบ้าน/ติดเตียง แต่ปัญหาอื่น ๆ ยังไม่เกิดผลเป็นรูปธรรมที่ชัดเจนนัก

เป็นเพียงข้อมูลที่ได้จากการเก็บข้อมูลในเวที ซึ่งเชิญตัวแทนบางคนร่วมให้ข้อมูลเท่านั้น

4. ศักยภาพคน (2) ใช้กรอบ ปัจจัยกำหนดสุขภาพ) ความเข้าใจต่อแนวคิดสุขภาพ

ระดับเจ้าหน้าที่ มีความเข้าใจต่อแนวคิดสุขภาพที่ครอบคลุมสุขภาพกาย สุขภาพจิต และคุณภาพชีวิตของประชาชนในทุกด้าน แต่ระดับกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ ยังเข้าใจต่อแนวคิดสุขภาพว่าเป็นเพียงการเจ็บไข้ได้ป่วยเท่านั้น

 

5. มีกลไก ระบบ กระบวนการ (2) ใช้กรอบ ปัจจัยกำหนดสุขภาพ) มีการพัฒนาศักยภาพกลไกอย่างต่อเนื่อง

มีการพัฒนาศักยภาพ แต่ขาดความต่อเนื่อง และผู้ที่ได้รับการพัฒนาศักยภาพไม่ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ เป็นเพียงเจ้าหน้าที่ ซึ่งบางคนมีการโยกย้ายสถานที่ทำงาน ทำให้ขาดความต่อเนื่อง

 

6. มีกลไก ระบบ กระบวนการ (2) ใช้กรอบ ปัจจัยกำหนดสุขภาพ) ฐานข้อมูลสุขภาพ

มีการจัดทำฐานข้อมูลสุขภาพ จำแนกตามประเด็นปัญหาสุขภาพหรือความรับผิดชอบของแต่ละหน่วยงาน พร้อมให้หน่วยงานอื่น ๆ นำไปใช้ได้ แต่การจัดทำฐานข้อมูลในรูปแบบการบูรณาการข้อมูลสุขภาพร่วมกันยังไม่เป็นรูปธรรม

 

7. มีกลไก ระบบ กระบวนการ (2) ใช้กรอบ ปัจจัยกำหนดสุขภาพ) กระบวนการวิเคราะห์ปัญหา ทำแผน/โครงการ แก้ไขปัญหา ติดตามหนุนเสริม

การวิเคราะห์ปัญหา กองทุนใช้วิธีการประชุมร่วมกับกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ ส่วนคณะกรรมการ พชอ.ใช้วิธีการประชุมหน่วยงานและการประชาคมร่วมกับกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ทั่วทั้งอำเภอ กระบวนการพัฒนาโครงการ/แผนงานกองทุน สอดคล้องกับนโยบาย แต่บางโครงการยังไม่ตอบสนองต่อปัญหาในพื้นที่ มีการติดตามหนุนเสริมทั้งในระบบออนไลน์โดยใช้โปรแกรมออนไลน์ กลุ่มไลน์ และระบบออฟไลน์ คือ พี่เลี้ยงอำเภอและจังหวัด

 

8. มีกลไก ระบบ กระบวนการ (2) ใช้กรอบ ปัจจัยกำหนดสุขภาพ) การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในพื้นที่

ในขั้นการวิเคราะห์ปัญหา และการออกแบบแผนงาน/โครงการ/กิจกรรมแก้ไขปัญหาสุขภาพมีการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนน้อย แต่จะมีมากในขั้นลงมือปฏิบัติในการดำเนินกิจกรรมป้องกันและแก้ไขปัญหาสุขภาพ และขั้นการรับผลประโยชน์

 

9. สภาพแวดล้อม (2) ใช้กรอบ ปัจจัยกำหนดสุขภาพ) ประเด็นสุขภาพที่ชัดเจน

พชอ. ได้กำหนดประเด็นสุขภาพไว้อย่างชัดเจน มี 10 ประเด็น ได้แก่ ไข้เลือดออก ขยะ อาหารปลอดภัย อุบัติเหตุ แต่กองทุน ยังไม่ชัดเจนเท่าใดนัก เป็นการขับเคลื่อนให้สอดคล้อง 8 กลุ่มเป้าหมายของ สปสช.

 

10. สภาพแวดล้อม (2) ใช้กรอบ ปัจจัยกำหนดสุขภาพ) นโยบาย หรือแนวทางและเครื่องมือในการบูรณาการสร้างเสริมสุขภาพ

พชอ. มีนโยบาย "อำเภอโพธิ์ชัย สุข สวย รวย ดี วิถีพอเพียงตามรอยพ่อ" เพื่อขับเคลื่อนและพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยมีธรรมนูญสุขภาพเป็นเครื่องมือหลัก แต่กองทุนยังไม่มีนโยบายที่ชัดเจน ซึ่งโครงการบูรณาการฯ ช่วยให้เกิดแนวทางการการบูรณาการสร้างเสริมสุขภาพร่วมกัน

 

11. การพัฒนาและสร้างทีมกลไกพี่เลี้ยงระดับเขตและระดับพื้นที่ (4) ใช้กรอบ CIPP) เกิดกระบวนการสร้างทีมกลไกฯ อย่างมีส่วนร่วม

กระบวนการสร้างทีมที่ประกอบด้วยพี่เลี้ยงระดับเขต และพี่เลี้ยงระดับพื้นที่ (พี่เลี้ยงจังหวัดและอำเภอ) เน้นการสร้างความเข้าใจกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ มีองค์ประกอบที่มาจาก สปสช. สสจ. สสอ. และ พชอ.ในพื้นที่ จัดเวทีประชุมร่วม ออกแบบกระบวนการทำงานร่วม และขับเคลื่อนกิจกรรมรวมทั้งติดตามการทำงานร่วมกัน

 

12. การพัฒนาและสร้างทีมกลไกพี่เลี้ยงระดับเขตและระดับพื้นที่ (4) ใช้กรอบ CIPP) กลไกฯ มีเป้าหมายการทำงานร่วมและ แผนปฏิบัติงานพื้นที่

มีการกำหนดเป้าหมายและออกแบบแผนการปฏิบัติงานร่วมกันผ่านเวทีประชุมเชิงปฏิบัติการ

 

13. การพัฒนาและสร้างทีมกลไกพี่เลี้ยงระดับเขตและระดับพื้นที่ (4) ใช้กรอบ CIPP) กลไกฯมีองค์ประกอบครอบคลุมภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง และแบ่งบทบาทหน้าที่อย่างชัดเจน

มีคณะทำงานและแบ่งบทบาทหน้าที่การดำเนินงานชัดเจน โดยเน้นการมีส่วนร่วมตั้งแต่ระดับนโยบาย ระดับจังหวัด ระดับอำเภอ และระดับพื้นที่ ประกอบด้วย
1. ตัวแทนสำนักงานหลักประกันสุขภาพเขต 7 ขอนแก่น จำนวน 1 คน มีบทบาท คือ ให้คำปรึกษา เสนอแนะแนวทางที่สำคัญ และร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 2. ทีมพี่เลี้ยงระดับเขต จำนวน 4 คน มีบทบาทคือ ออกแบบกระบวนและเครื่องมือ จัดเวทีชี้แจงการทำงาน การทำแผนและโครงการสุขภาพและใช้โปรแกรมบันทึกข้อมูลออนไลน์ ประสานแผนกับ พชอ. และจัดเวทีสรุปบทเรียน รวมถึงเอื้ออำนวยในการบันทึกข้อมูลในแบบอนุมัติโครงการ ติดตามหนุนเสริมการทำงาน และบริหารจัดการโครงการ 3. ทีมพี่เลี้ยงระดับพื้นที่ จำนวน 2 คน ประกอบด้วย ผู้ดูแลงานด้านกองทุนสุขภาพตำบลของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด และพี่เลี้ยงกองทุนตำบลระดับอำเภอ มีบทบาทคือ ร่วมออกแบบกระบวนการทำงาน จัดทำแผนงานพื้นที่และประสานงานกับกลุ่มเป้าหมายต่าง ๆ ดำเนินการ/ร่วมกิจกรรมในพื้นที่ ประสานและบูรณาการแผน/โครงการกองทุนสุขภาพกับ พชอ. ร่วมติดตาม สนับสนุน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในพื้นที่

 

14. การพัฒนาศักยภาพกองทุนฯ (ทำแผน/โครงการ ติดตามประเมินผล) (4) ใช้กรอบ CIPP) เกิดความรู้ ความเข้าใจ ทักษะ การวิเคราะห์ปัญหาสุขภาพ การพัฒนาแผนงาน/โครงการ และการติดตามผล

มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการวิเคราะห์ปัญหาสุขภาพเพิ่มขึ้น คือ ต้องวิเคราะห์ให้เห็นถึงขนาดและความรุนแรงของปัญหาด้วย ต้องมีข้อมูลสนับสนุนที่ชัดเจน เป็นรูปธรรมทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ การพัฒนาแผนงาน/โครงการต้องตอบสนองปัญหาและความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย สำหรับการติดตามประเมินผลสามารถทำได้ทั้งในรูปแบบของออนไลน์และออฟไลน์ ต้องทำอย่างต่อเนื่อง

 

15. การพัฒนาศักยภาพกองทุนฯ (ทำแผน/โครงการ ติดตามประเมินผล) (4) ใช้กรอบ CIPP) สามารถใช้โปรแกรมออนไลน์ และขยายผลสู่คนอื่นได้

สามารถใช้งานโปรแกรมออนไลน์ได้ แต่ยังไม่คล่องแคล่ว เพราะอยู่ในขั้นการทดลองปฏิบัติการใช้ยังไม่คุ้นชิน และยังไม่สามารถถ่ายทอดและขยายผลไปสู่คนอื่น ๆ ได้ จำเป็นต้องพัฒนาศักยภาพเพิ่มเติม

 

16. ทีมประสานงานและทีมพี่เลี้ยงหนุนเสริมการจัดทำแผน การพัฒนาโครงการ และการติดตามประเมินผล (4) ใช้กรอบ CIPP) กระบวนการ/วิธีการ/เครื่องมือ

ดำเนินการใน 3 ลักษณะ ได้แก่ 1. ระบบปกติของกองทุน ได้แก่ การร่วมกิจกรรม การจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การรายงานกิจกรรม และติดตามผ่านกลุ่มไลน์ 2. ระบบออนไลน์ สปสช. และ 3. โปรแกรมออนไลน์ของโครงการบูรณาการฯ

 

17. ทีมประสานงานและทีมพี่เลี้ยงหนุนเสริมการจัดทำแผน การพัฒนาโครงการ และการติดตามประเมินผล (4) ใช้กรอบ CIPP) ปรับปรุง,พัฒนา,แก้ปัญหาร่วม การคัดเลือก

มีการติดตามการดำเนินงาน แลกเปลี่ยนปัญหาการทำงาน และหาแนวทางแก้ไขร่วมกัน

 

18. ทีมประสานงานและทีมพี่เลี้ยงหนุนเสริมการจัดทำแผน การพัฒนาโครงการ และการติดตามประเมินผล (4) ใช้กรอบ CIPP) ความต่อเนื่องในการติดตาม

มีความต่อเนื่อง โดยผ่านเวทีประชุมร่วม และกลุ่มไลน์ มีพี่เลี้ยงอำเภอและพี่เลี้ยงเขตเป็นผู้ดำเนินการ

 

19. กองทุนสุขภาพตำบลมีแผนตามประเด็นปัญหา (4) ใช้กรอบ CIPP) ข้อมูลสถานการณ์สุขภาพในพื้นที่ มีคุณภาพ

มีข้อมูลที่สามารถนำมาอ้างอิงได้ บางประเด็นสำรวจและจัดเก็บชัดเจน มีความแม่นยำ เชื่อถือได้ แต่บางประเด็นเป็นเพียงการประมาณการหรือการคาดการณ์เท่านั้น

 

20. กองทุนสุขภาพตำบลมีแผนตามประเด็นปัญหา (4) ใช้กรอบ CIPP) แผนงานมีความครอบคลุม 5 ประเด็นหลัก และประเด็นอื่นๆ ตามบริบทพื้นที่

ในภาพรวมของอำเภอโพธิ์ชัย มีแผนงานครอบคลุม 5 ประเด็นหลัก แต่เมื่อพิจารณาเป็นรายกองทุน พบว่า แต่ละกองทุนไม่ได้ดำเนินการครอบคลุมทั้ง 5 ประเด็น การสังเกตการบันทึกข้อมูลในโปรแกรมออนไลน์ พบว่ามีจำนวน 52 แผนงาน แต่แผนงานหลัก 5 ด้าน (แผนงานเหล้า แผนงานบุหรี่ แผนงานสารเสพติด แผนงานอาหารและโภชนาการ และแผนงานกิจกรรมทางกาย) มีจำนวนเพียง 22 แผนงาน

 

21. กองทุนสุขภาพตำบลมีแผนตามประเด็นปัญหา (4) ใช้กรอบ CIPP) มีการใช้งานและการบันทึกข้อมูลแผนงานในโปรแกรมออนไลน์

ทั้ง 10 กองทุนในอำเภอโพธิ์ชัย มีการพัฒนาแผนงานสุขภาพผ่านโปรแกรมออนไลน์ และบันทึกข้อมูลรวมจำนวน 52 แผนงาน (ข้อมูล ณ วันที่ 31 ส.ค. 63)  จุดเด่นของการใช้โปรแกรมออนไลน์ คือ ทำให้แผนโครงการมีประสิทธิภาพ เป็นคลังข้อมูลขนาดใหญ่ มีแนวทางการแก้ไขปัญหาสุขภาพที่ชัดเจน แต่ยังมีจุดด้อย คือ ยังไม่ครอบคลุมทุกแผน และสถานการณ์ปัญหาไม่สอดคล้องกับบริบทจริงของพื้นที่

 

22. กองทุนสุขภาพตำบลมีแผนตามประเด็นปัญหา (4) ใช้กรอบ CIPP) คุณภาพของข้อมูลที่บันทึกในโปรแกรมออนไลน์

ข้อมูลที่บันทึกในโปรแกรมออนไลน์ยังไม่มีคุณภาพเท่าที่ควร การบันทึกยังไม่ครบถ้วนทุกประเด็น/หัวข้อ ไม่ทราบขนาดปัญหาที่แท้จริง และบางข้อมูลเป็นเพียงการประมาณการเท่านั้น

 

23. โครงการด้านสุขภาพกองทุนตำบลมีคุณภาพ (4) ใช้กรอบ CIPP) โครงการมีแนวทางหรือกิจกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาและสร้างเสริมสุขภาพอย่างชัดเจน สามารถแก้ไขปัญหาหรือตอบสนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย(กองทุนละ 1 โครงการเป็นอย่างน้อย)

ยังไม่พบแนวทางหรือกิจกรรมใหม่ๆ ตามคู่มือฯ มากนัก เพราะการพัฒนาแผนงาน/โครงการ ใช้ข้อมูลของปีงบประมาณ 2563 ซึ่งพื้นที่ดำเนินการผ่านไปแล้ว แต่จะพัฒนาต่อไปในปีงบประมาณ 2564

 

24. โครงการด้านสุขภาพกองทุนตำบลมีคุณภาพ (4) ใช้กรอบ CIPP) จำนวนข้อเสนอโครงการที่ถูกอนุมัติฯ

โครงการที่พัฒนาผ่านโปรแกรมออนไลน์ ยังระบุชัดเจนไม่ได้ แต่โครงการที่พัฒนาผ่านระบบปกติ ได้รับอนุมัติ 70-100% (แตกต่างกันไปในแต่ละกองทุน)

 

25. โครงการด้านสุขภาพกองทุนตำบลมีคุณภาพ (4) ใช้กรอบ CIPP) มีการใช้งานและการบันทึกข้อมูลโครงการในโปรแกรมออนไลน์

ทั้ง 10 กองทุนในอำเภอโพธิ์ชัย มีการบันทึกข้อมูลในโปรแกรมออนไลน์ จำนวน 70 โครงการ (ข้อมูล ณ วันที่ 31 ส.ค. 63) จุดเด่นของการใช้โปรแกรมออนไลน์ คือ มีแนวทางการทำโครงการ/กิจกรรมที่ชัดเจน สามารถปริ้นเสนอต่อกรรมการและผู้บริหารได้ทันที และมีคลังข้อมูลที่มาสามารสืบค้น และสามารถศึกษาพื้นที่เด่น เป็นตัวอย่างได้ แต่ยังมีจุดด้อย คือ พื้นที่ไม่สามารถดำเนินตามแนวทางชุดกิจกรรมที่มีในโปรแกรมได้ เพราะมีงบประมาณจำกัด และการใช้งานโปรแกรมยาก มีความซับซ้อน

 

26. การบูรณาการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะระหว่าง พชอ. กับกองทุนสุขภาพตำบล (4) ใช้กรอบ CIPP) เกิดการใช้ฐานข้อมูลสุขภาพชุมชนในการกำหนด แผนงาน/นโยบายด้านสุขภาพในพื้นที่

ยังไม่เกิดเกิดการใช้ฐานข้อมูลสุขภาพชุมชนในการกำหนด แผนงาน/นโยบายด้านสุขภาพในพื้นที่ที่ชัดเจน แต่มีแนวทางการบูรณการร่วมกันในอนาคต โดยการจัดเวทีพูดคุยนำเสนอข้อมูลของแต่ละภาคส่วน กำหนดประเด็นร่วม พร้อมทั้งจัดทำฐานข้อมูลร่วมกัน

 

27. การบูรณาการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะระหว่าง พชอ. กับกองทุนสุขภาพตำบล (4) ใช้กรอบ CIPP) เกิดแนวทาง/กิจกรรม การสร้างเสริมสุขภาพระหว่าง พชอ. กับกองทุนสุขภาพตำบล

ยังไม่ได้มีการเชื่อมโยงการทำงานกันอย่างชัดเจน แต่โครงการบูรณาการฯ ช่วยให้เกิดการรับทราบทั่วกันระหว่างคณะกรรมการ พชอ. กับคณะกรรมการกองทุน ทำให้เห็นแนวทางในการขับเคลื่อนการบูรณาการร่วมกันอย่างจริงจัง คือ จัดเวทีพูดคุยสร้างความเข้าใจ (โดยเฉพาะกับผู้บริหาร: นายก/ปลัด) กำหนดเป้าหมายร่วม วิเคราะห์ข้อมูลปัญหาในพื้นที่ให้สอดคล้องกัน กำหนดประเด็นร่วม กำหนดแผนร่วมอย่างชัดเจน โดยใช้เครื่องมือธรรมนูญสุขภาพตำบลเป็นตัวขับเคลื่อน

 

5) อื่นๆ

 

5. การปรับปรุงทบทวนโครงการ

check_circle

จัดเวทีเวทีคืนข้อมูล แลกเปลี่ยนเรียนรู้ สรุปแนวทาง และ วางกลไกในการติดตามข้อเสนอ

1) ข้อเสนอเพื่อการทบทวนโครงการ
check_circle

ข้อเสนอแบ่งออกเป็น 3 ด้าน ได้แก่ ด้านเครื่องมือสำคัญในโครงการ (โปรแกรมออนไลน์) ด้านการพัฒนาแผนงาน/โครงการและการขยายผล และด้านการบูรณาการฯ ซึ่งแต่ละด้านมีรายละเอียดเพิ่มเติม ดังนี้
1. ด้านเครื่องมือสำคัญในโครงการ (โปรแกรมออนไลน์) มีข้อเสนอแนะในระดับนโยบาย ให้โครงการผลักดันการใช้โปรแกรมออนไลน์ฯ เป็นนโยบายจากหน่วยงานต้นสังกัด เช่น สปสช. สธ. เป็นต้น โดยอาจจะผนวกการใช้งานร่วมกันระหว่างโปรแกรมติดตามผล ของสปสช. ที่เป็นระบบปกติ กับโปรแกรมออนไลน์ ในโครงการบูรณาการฯ นอกจากนี้ยังพบว่าโปรแกรมออนไลน์ในโครงการบูรณาการฯ มุ่งเป้าไปที่การจัดทำแผนงานและโครงการหลัก 5 แผนงาน คือ แผนงานกิจกรรมทางกาย แผนงานอาหารปลอดภัย แผนงานเหล้า แผนงานบุหรี่ และแผนงานยาเสพติด แต่บริบทจริงของกองทุนสุขภาพตำบล เน้นการพัฒนาแผนงานและโครงการตาม กลุ่มเป้าหมายของสปสช. อันประกอบไปด้วย 1) กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 2) กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 3) กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 4) กลุ่มวัยทำงาน 5) กลุ่มผู้สูงอายุ ,กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 6) กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ 7) กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 8) สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ จึงมีข้อเสนอให้ปรับปรุงโปรแกรมออนไลน์ให้มีความสอดคล้องกัน
2. ด้านการพัฒนาแผนงาน/โครงการและการขยายผล พื้นที่จะมีการใช้โปรแกรมออนไลน์ในการพัฒนาแผนงานและโครงการกองทุนสุขภาพตำบล ในปีงบประมาณ 2564 นำร่องในประเด็น คือ ยาเสพติด การดูแลผู้สูงอายุ และกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง นอกจากนี้ในส่วนของการขยายผลด้านการพัฒนาคน มีแนวทางในการขยายผลการการพัฒนาแนงานและโครงการโดยใช้โปรแกรมออนไลน์ กับกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ โดยการคัดเลือกพื้นที่นำร่องที่มีแกนนำในพื้นที่มีความเข้มแข็ง มีทักษะและความสามารถในการใช้โปรแกรมออนไลน์ได้ โดยมีฐานคิดที่ว่าต้องพัฒนาระดับเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงาน หรือเจ้าหน้าที่ด้านสาธารณสุขให้มีความชำนาญก่อน เพื่อเป็นพี่เลี้ยง (ครู ก) จะที่ไปขยายผลทำงานกับกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ได้ 3. ด้านการบูรณาการฯ ระหว่าง พชอ.กับกองทุนฯ มีข้อเสนอแนะดังนี้ 3.1 การบูรณาการเป้าหมายการสร้างเสริมสุขภาพในพื้นที่และประเด็นขับเคลื่อนสุขภาพร่วมกัน โดยจัดเวทีหารือร่วมกันระหว่าง คณะกรรมการ พชอ. กับกองทุนสุขภาพตำบล กลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย 1) นายอำเภอ ประธาน พชอ. และคณะกรรมการ พชอ. 2) ประธานคณะกรรมการกองทุนสุขภาพตำบล 3) ผู้บริหาร รพ.สต. 4) เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานด้านกองทุนสุขภาพตำบล 5) กลุ่มเป้าหมายในพื้นที่
3.2 การบูรณาการด้านข้อมูลปัญหาสุขภาพในพื้นที่ แต่ละกองทุนบันทึกข้อมูลสถานการณ์ ขนาด ความรุนแรง ในโปรแกรมออนไลน์ ให้ครบทุกประเด็น ใน 3 ประเด็นนำร่อง จากนั้นจัดเวทีร่วมกับ พชอ. ให้แต่ละหน่วยงานที่มีข้อมูลสถานการณ์ ขนาด ความรุนแรง สุขภาพ/คุณภาพชีวิต ของกลุ่มเป้าหมายตามภารกิจที่หน่วยงานรับผิดชอบ มาแลกเปลี่ยนพูดคุย ทบทวน และสรุปร่วมกัน พร้อมทั้งจัดทำฐานข้อมูลในภาพรวม ของอำเภอ
3.3 การบูรณการด้านการขับเคลื่อนกิจกรรม ใช้ประเด็นธรรมนูญสุขภาพตำบลเป็นหลัก โดยจะมีประเด็นที่ขับเคลื่อนร่วมกัน ซึ่งในปีงบประมาณ 2564 พชอ. เน้นขับเคลื่อนในเรื่อง ยาเสพติด กองทุนสุขภาพก็จะพัฒนาข้อมูลยาเสพติด และมีโครงการกิจกรรมด้านยาเสพติด ร่วมกัน

2) อื่นๆ

 

6. ได้มีการปรับปรุงทบทวนโครงการตามข้อ 5 หรือไม่?

check_circle

ประชุมร่วมกับทีม พชอ. คณะกรรมการกองทุน และพี่เลี้ยง เพื่อตั้งคณะทำงานติดตามงานเชิงบูรณาการและประเด็น

1) กลไกในการติดตามการปรับปรุงโครงการตามข้อเสนอแนะ
check_circle

ประชุมคณะทำงานติดตามงานเชิงบูรณาการและเชิงประเด็น

2) วิธีการติดตาม การปรับปรุงโครงการตามข้อเสนอแนะ
check_circle

 

3) อื่นๆ

 

สรุป

อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ

ข้อเสนอแนะด้านกระบวนการพัฒนาโครงการ หรือแผนงานกองทุนที่ให้เกิดประสิทธิภาพ ประสิทธิผล -เพิ่มบทบาทพี่เลี้ยงอำเภอ และ แต่ละกลุ่ม ชมรม ต้องมีตัวแทนประสานกับทีมอำเภอ -ค้นหาแกนนำกลุ่ม ที่มีความสนใจ กระตือรือร้น มาพัฒนาศักยภาพแผนงานและโครงการ วิเคราะห์ปัญหา กิจกรรม ตัวชี้วัด ด้วยการมีส่วนร่วมของตนเอง -การสร้าง/พัฒนาศักยภาพครู ก ครู ข หรือ วิทยากรกระบวนการโครงการ ของภาคประชาชน/หน่วยบริการ เรื่องการเขียนแผนงานโครงการ และ การบริหารโครงการ -ประชาคม ระดมปัญหาสุขภาพ ชี้แจงขอบเขต ชี้แจงงบประมาณ การให้ทุนตามประกาศกองทุน -จัดเวทีแลกเปลี่ยนเพื่อพัฒนาแผนโครงการ -การคลังของ อปท.ต้องทำความเข้าใจหลักเกณฑ์การใช้

ตัวชี้วัด -แผนงานโครงการ มาจากข้อมูล -ภาคประชาชน/หน่วยงานอื่น เข้าใจระบบ ขั้นตอน และสามารถบริหารโครงการได้เอง -โครงการสามารถสร้างผลกระทบที่ดีต่อสุขภาพของกลุ่มเป้าหมายได้

ข้อเสนอแนะด้านการพัฒนาศักยภาพกรรมการ หรือผู้รับผิดชอบ -อบรมเชิงปฏิบัติการ/ติดตามการทำงาน ขาขึ้น ขาเคลื่อน ขาประเมิน ทุกไตรมาส -การพัฒนากลุ่มภาคประชาชนที่ขอทุนให้เข้มแข็ง มารับทุน/บริหารโครงการต่อเนื่องให้สามารถเขียนโครงการ บริหารโครงการได้ ใช้จ่ายเงินอย่างถูกต้อง รายงานผลโครงการได้

ตัวชี้วัด -กรรมการเข้าใจกรอบการดำเนินงาน ตามประกาศปี 61 และ บทบาทหน้าที่ -กรรมการลงติดตามโครงการจริง สามารถแลกเปลี่ยน ชี้แนะกองทุนด้วย กรรมการจะเห็นจุดแข็ง จุดอ่อนการดำเนินงาน และเสนอแนะการพัฒนาในปีต่อไปได้ -การพัฒนากลุ่มภาคประชาชนที่ขอทุนให้เข้มแข็ง มารับทุน/บริหารโครงการต่อเนื่อง -ผู้รับผิดชอบโครงการสามารถบริหารจัดการโครงการได้

ข้อเสนอแนะด้านการติดตามอย่างมีส่วนร่วม (ทั้งโปรแกรมออนไลน์และออฟไลน์) -ผนวกโปรแกรมออนไลน์นี้เข้ากับโปรแกรม สปสช. -ลดความซ้ำซ้อน ให้ใช้งานง่ายทุกระดับ ให้คนทั่วไปสามารถใช้งานได้
-เลือกพื้นที่นำร่อง พัฒนาคนเสนอโครงการให้บันทึกข้อมูลได้

ข้อเสนอแนะด้านการบูรณาการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะระหว่าง พชอ. กับกองทุนสุขภาพตำบล -การใช้ข้อมูลปัญหาสถานการณ์ จากกองทุนสุขภาพฯ ที่บันทึกใน์ปรแกรมออนไลน์ เป็นฐานในแนวทางการแก้ปัญหาร่วมกัน -ธรรมนูญ ในแต่มาตรา จะมีกิจกรรมสำคัญ ควรจะมีจัดระบบ หรือแบ่งบาทบาทหน้าที่ ว่ากิจกรรมในแต่ละขั้นตอน จะประสานให้ใครช่วยขับเคลื่อน เช่น อาหารปลอดภัย กิจกรรมการให้ความรู้ด้านการเกษตรจะเป็นของเกษตรอำเภอ กิจกรรมคัดกรองสารตกค้างในเลือด จะเป็นกองทุนสุขภาพ กิจกรรมปลูกผักปลอดสารพิษ จะเป็นของกลุ่มปลูกผัก และกองทุนสุขภาพ เป็นต้น

ตัวชี้วัด
-ปัญหาลดลง/เครือข่ายเข้มแข็งขึ้น -มีการบูรณาการงบประมาณ จากหลายหน่วยงาน -มีผู้นำใหม่ๆเพิ่มขึ้น

เอกสารอ้างอิง

 

เอกสารประกอบโครงการ