ระบบติดตามและประเมินผลโครงการ ( M&E Thailand )

directions_run

โครงการบูรณาการกลไกสุขภาพชุมชน เขตสุขภาพที่ 7 พื้นที่ อ.โพธิ์ชัย จ.ร้อยเอ็ด

แบบการติดตามประเมินผลการดำเนินกิจกรรมของโครงการ (Process Evaluation)

กิจกรรมระยะเวลาเป้าหมาย/วิธีการผลการดำเนินงานปัญหา/อุปสรรค/แนวทางแก้ไข
ตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริง
การหารือคณะกรรมการ พชอ.โพธิ์ชัย จ.ร้อยเอ็ด 13 ม.ค. 2563

 

 

 

 

 

การประชุม coaching ทีมระดับเขตสุขภาพที่ 7 เพื่อชี้แจงแผนงานโครงการ 20 ม.ค. 2563 20 ม.ค. 2563

 

  1. หัวหน้าโครงการชี้แจงวัตถุประสงค์ เป้าหมาย และกระบวนการดำเนินงานโครงการฯ
  2. พี่เลี้ยงแต่ละจังหวัดแลกเปลี่ยนสถานการณ์การขับเคลื่อนงานกองทุนฯ และการขับเคลื่อนงานคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.)
  3. ผู้ประสานงานเขตนำเสนอร่างแผนและวิธีการดำเนินงานโครงการฯ พร้อมให้ผู้เข้าร่วมประชุมแลกเปลี่ยนและให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม
  4. ผู้ประสานงานเขตแนะนำเครื่องมือ/โปรแกรมออนไลน์ต่อผู้เข้าร่วมประชุม
  5. พี่เลี้ยงแต่ละจังหวัดออกแบบแผนงาน วิธีการทำงานของแต่ละพื้นที่

 

ได้ทีม/แกนนำทำงานโครงการฯ ของเขต จำนวน 15 คน ที่มาจากหลายภาคส่วน ได้แก่ สปสช.เขต 7, สสจ.และ สสอ. แต่ละจังหวัด, ตัวแทน พชอ., เจ้าหน้าที่ รพ.สต. และผู้รับผิดชอบงานกองทุน, ทีมเข้าใจวัตถุประสงค์ เป้าหมาย และวธีการดำเนินงานของโครงการฯ ร่วมกัน, เกิดการมีส่วนร่วมในการออกแบบแผนงาน กิจกรรม และกระบวนการทำงานร่วมกัน และได้แผนการดำเนินงานของแต่ละพื้นที่ที่สอดคล้องกับบริบทพื้นที่หรือสถานการณ์ปัจจุบันในพื้นที่ จำนวน 4 แผน ที่แตกต่างกัน, ทีมเข้าใจบทบาท หน้าที่ และมีแนวทางในการดำเนินงานของแต่ละพื้นที่อย่างชัดเจน โดยการกำหนดผู้มีส่วนเกี่ยวของในพื้นที่ บทบาทของแต่ละภาคส่วน และรายละเอียดวัน เวลา สถานที่ในการจัดกิจกรรมพัฒนาแผนงานกองทุน, รับรู้และเข้าใจสถานการณ์ปัจจุบันของการขับเคลื่อนงานกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ และการขับเคลื่อนงานคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) ของแต่ละจังหวัด, ที่ประชุมได้ทำความรู้จักกับเครื่องมือ/โปรแกรมบันทึกข้อมูลออนไลน์เบื้องต้น พร้อมแลกเปลี่ยน และแนะนำวิธีการในการใช้งานอย่างง่ายและสะดวกเมื่อนำไปใช้จริง และได้แนวทางในการบูรณาการการขับเคลื่อนงานกองทุนร่วมกับ พชอ. เช่น การจัดเวทีปรึกษาหารือย่อยเพื่อทำความเข้าใจร่วมกัน การจัดเวทีประสานแผนงานโครงการซึ่งแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ คือ 1. แผนงานที่สอดคล้องกับ พชอ. และ 2. การผลักดันแผนงานอื่นๆ ที่ไม่สอดคล้องในปีงบประมาณถัดไป

 

การประสานแผนกับ พชอ. (กลไกติดตาม) พชอ.โพธิ์ชัย จ.ร้อยเอ็ด 9 มี.ค. 2563

 

 

 

 

 

เวทีชี้แจงโครงการฯ พชอ.โพธิ์ชัย จ.ร้อยเอ็ด 17 มี.ค. 2563 17 มี.ค. 2563

 

1.ชี้แจงความสำคัญและเป้าหมายโครงการ โดย ดร.สมพันธ์ เตชะอธิก หัวหน้าโครงการฯ 2.นำเสนอรายละเอียดแผนงานโครงการ โดย นายธนาคาร ผินสู่ ผู้ประสานงานโครงการ พร้อมแลกเปลี่ยนและออกแบบแนวทางการขับเคลื่อนโครงการร่วมกัน 3.แลกเปลี่ยนการขับเคลื่อนการดำเนินงานกองทุนสุขภาพตำบลในพื้นที่อำเภอโพธิ์ชัย โดยตัวแทนกองทุน จำนวนทั้งสิ้น 10 กองทุน และแลกเปลี่ยนบทเรียนการขับเคลื่อนการดำเนินงานของ พชอ.โพธิชัย โดยเลขา พชอ.ฯ 4.แนะนำและสอนการใช้โปรแกรมออนไลน์ฯ โดยนางสาวจุติมาพร พลพงษ์ ผู้ประสานงานโครงการ 5.ทดลองบันทึกข้อมูลการพัฒนาแผนงาน/โครงการกองทุนในโปนแกรมออนไลน์ โดยตัวแทนผู้รับผิดชอบงานแต่ละกองทุน

 

  • กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม ได้รับทราบและทำความเข้าใจร่วมกันถึงเป้าหมาย รายละเอียด และวิธีการดำเนินงานโครงการร่วมกัน พร้อมทั้งได้มีส่วนร่วมในการออกแบบวิธีการดำเนินงานในระดับพื้นที่ร่วมกัน
  • คณะทำงานโครงการได้ทราบและเข้าใจบทเรียนการขับเคลื่อนงานกองทุนในพื้นที่ และการบูรณาการการดำเนินงานร่วมกับ พชอ. สามารถนำไปออกแบบแนวทางในการดำเนินงานโครงการได้
  • คณะกรรมการ พชอ. ผู้รับผิดชอบงานกองทุน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ รู้จักโปรแกรมออนไลน์ มองเห็นประโยชน์จากการใช้โปรแกรมออนไลน์ แต่ยังมีข้อกังวลว่าโปรแกรมออนไลน์จะเป็นภาระเพิ่มให้กับผู้รับผิดชอบงานกองทุน เนื่องจากยังไม่ได้บูรณาการให้เป็นโปรแกรมเดียวกับของ สปสช. ซึ่งเป็นโปรแกรมหลักที่กองทุนต้องใช้เมื่อมีการขออนุมัติงบประมาณจากกองทุนตำบล "ต้องกรอกซ้ำซ้อน"
  • ผู้รับผิดชอบงานกองทุนสามารถเข้าใจและเข้าใช้โปรแกรมออนไลน์ได้ในเบื้องต้น
  • มีการทดลองพัฒนาแผนงาน/โครงการ และบันทึกข้อมูลเบื้องต้นลงในโปนแกรมออนไลน์จำนวน 6 แผนงาน

 

ประชุมเชิงปฏิบัติการฯ “การทำแผนและโครงการสุขภาพและใช้โปรแกรมบันทึกข้อมูลออนไลน์” พชอ.โพธิ์ชัย จ.ร้อยเอ็ด 1 มิ.ย. 2563 1 มิ.ย. 2563

 

การทำแผนและโครงการสุขภาพและใช้โปรแกรมบันทึกข้อมูลออนไลน์” พชอ.โพธิ์ชัย จ.ร้อยเอ็ด แบ่งออกเป็น 2 ครั้ง (2 โซน) ครั้งละ 5 กองทุน โดยในแต่ละครั้งมีกระบวนการ ดังนี้

  1. ผู้ประสานงานโครงการทบทวนรายละเอียดโครงการ
  2. พัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบงานกองทุนเกี่ยวกับการพัฒนาโครงการด้านสุขภาพแต่ละแผนงาน โดยใช้คู่มือจากทีมวิชาการกลาง
  3. การทบทวนการใช้โปรแกรมออนไลน์ และทดลองพัฒนาแผนงาน/โครงการเพื่อเป็นการทำความเข้าใจการใช้โปรแกรมออนไลน์เบื้องต้น โดยเลือกแผนงานป้องกันฯ โควิด มาทดลองร่วมกัน
  4. ผู้รับผิดชอบงานกองทุนบันทึกข้อมูลแผนงาน/โครงการของกองทุนสุขภาพตำบลลงในโปรแกรมออนไลน์

 

  • ผู้รับผิดชอบงานกองทุนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโครงการสุขภาพของแต่ละแผนงานมากขึ้น เช่น เข้าใจว่าการมีกิจกรรมทางกายไม่ได้หมายถึงการออกกำลังกายเพียงอย่างเดียว แต่รวมไปถึงการเดิน การเคลื่อนไหวร่างกายขณะเรียนหรือทำงาน เป็นต้น
  • ผู้รับผิดชอบงานกองทุนเข้าใจและสามารถใช้งานโปรแกรมออนไลน์ได้คล่องแคล่วมากขึ้น ความอึดอัดใจในการใช้โปรแกรมออนไลน์ลดลง ยอมรับได้มากขึ้น เห็นประโยชน์จากการใช้งานโปรแกรมออนไลน์มากขึ้น
  • มีการบันทึกข้อมูลแผนงาน โครงการในโปรแกรมออนไลน์ครอบคลุมเกือบทุกแผนงาน จำนวนทั้งสิ้น 55 แผนงาน 61 โครงการ
  • มีข้อเสนอในเวทีให้แก้ไขโปรแกรมออนไลน์ เพื่อให้สามารถใช้งานได้สะดวกมากยิ่งขึ้น ได้แก่ ข้อมูลสถานการณ์ของกองทุนตำบลกับข้อมูลสถานการณ์ของพื้นที่ดำเนินการ (ในแบบฟอร์มกองทุน) ควรลิ้งค์กัน โดยให้แก้เฉพาะขนาดของปัญหาให้สอดคล้องกับขนาดพื้นที่ปฏิบัติการ เพราะกองทุนส่วนใหญ่ดำเนินการโครงการในระดับตำบล, การพัฒนาโปรแกรมออนไลน์ให้สามารถใช้งานได้บนโทรศัพท์มือถือ และพัฒนาเป็น Application เพราะทำให้ใช้งานได้สะดวกกว่า และโปรแกรมออนไลน์ควรวิเคราะห์และประมวลผลให้ได้ในเบื้องต้นว่าควรดำเนินการโครงการอะไร แนวทางแก้ไขปัญหาสุขภาพคืออะไร โดยการพิจารณาจากข้อมูลสถานการณ์ปัญหาของพื้นที่นั้นๆ