ระบบติดตามและประเมินผลโครงการ ( M&E Thailand )

directions_run

โครงการบูรณาการกลไกสุขภาพชุมชน เขตสุขภาพที่ 7 พื้นที่ อ.โพธิ์ชัย จ.ร้อยเอ็ด

ประชุมเชิงปฏิบัติการฯ “การทำแผนและโครงการสุขภาพและใช้โปรแกรมบันทึกข้อมูลออนไลน์” พชอ.โพธิ์ชัย จ.ร้อยเอ็ด1 มิถุนายน 2563
1
มิถุนายน 2563รายงานจากพื้นที่ โดย จุติมาพร พลพงษ์
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

การทำแผนและโครงการสุขภาพและใช้โปรแกรมบันทึกข้อมูลออนไลน์” พชอ.โพธิ์ชัย จ.ร้อยเอ็ด แบ่งออกเป็น 2 ครั้ง (2 โซน) ครั้งละ 5 กองทุน โดยในแต่ละครั้งมีกระบวนการ ดังนี้

  1. ผู้ประสานงานโครงการทบทวนรายละเอียดโครงการ
  2. พัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบงานกองทุนเกี่ยวกับการพัฒนาโครงการด้านสุขภาพแต่ละแผนงาน โดยใช้คู่มือจากทีมวิชาการกลาง
  3. การทบทวนการใช้โปรแกรมออนไลน์ และทดลองพัฒนาแผนงาน/โครงการเพื่อเป็นการทำความเข้าใจการใช้โปรแกรมออนไลน์เบื้องต้น โดยเลือกแผนงานป้องกันฯ โควิด มาทดลองร่วมกัน
  4. ผู้รับผิดชอบงานกองทุนบันทึกข้อมูลแผนงาน/โครงการของกองทุนสุขภาพตำบลลงในโปรแกรมออนไลน์
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ผู้รับผิดชอบงานกองทุนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโครงการสุขภาพของแต่ละแผนงานมากขึ้น เช่น เข้าใจว่าการมีกิจกรรมทางกายไม่ได้หมายถึงการออกกำลังกายเพียงอย่างเดียว แต่รวมไปถึงการเดิน การเคลื่อนไหวร่างกายขณะเรียนหรือทำงาน เป็นต้น
  • ผู้รับผิดชอบงานกองทุนเข้าใจและสามารถใช้งานโปรแกรมออนไลน์ได้คล่องแคล่วมากขึ้น ความอึดอัดใจในการใช้โปรแกรมออนไลน์ลดลง ยอมรับได้มากขึ้น เห็นประโยชน์จากการใช้งานโปรแกรมออนไลน์มากขึ้น
  • มีการบันทึกข้อมูลแผนงาน โครงการในโปรแกรมออนไลน์ครอบคลุมเกือบทุกแผนงาน จำนวนทั้งสิ้น 55 แผนงาน 61 โครงการ
  • มีข้อเสนอในเวทีให้แก้ไขโปรแกรมออนไลน์ เพื่อให้สามารถใช้งานได้สะดวกมากยิ่งขึ้น ได้แก่ ข้อมูลสถานการณ์ของกองทุนตำบลกับข้อมูลสถานการณ์ของพื้นที่ดำเนินการ (ในแบบฟอร์มกองทุน) ควรลิ้งค์กัน โดยให้แก้เฉพาะขนาดของปัญหาให้สอดคล้องกับขนาดพื้นที่ปฏิบัติการ เพราะกองทุนส่วนใหญ่ดำเนินการโครงการในระดับตำบล, การพัฒนาโปรแกรมออนไลน์ให้สามารถใช้งานได้บนโทรศัพท์มือถือ และพัฒนาเป็น Application เพราะทำให้ใช้งานได้สะดวกกว่า และโปรแกรมออนไลน์ควรวิเคราะห์และประมวลผลให้ได้ในเบื้องต้นว่าควรดำเนินการโครงการอะไร แนวทางแก้ไขปัญหาสุขภาพคืออะไร โดยการพิจารณาจากข้อมูลสถานการณ์ปัญหาของพื้นที่นั้นๆ