ระบบติดตามและประเมินผลโครงการ ( M&E Thailand )

directions_run

โครงการบูรณาการกลไกสุขภาพชุมชนเขต 4 อ.บางใหญ่ จ.นนทบุรี (ประเมินจริง)

แบบประเมินด้วยขั้นตอน HIA

บทคัดย่อ/บทนำ

บทคัดย่อ

การติดตาม สนับสนุน และประเมินผล เป็นกลไกสำคัญที่ช่วยให้การดำเนินโครงการสามารถดำเนินไปสู่จุดหมายได้สำเร็จ โดยผู้ประเมินสามารถค้นหาปัจจัยส่งเสริม ปัญหาอุปสรรค รวมถึงวิเคราะห์และสรุปผลสัมฤทธิ์ของการดำเนินโครงการได้ในทุกขั้นตอน การประเมินผลแบบเสริมพลังการทำงานร่วมกันของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เป็นการประเมินที่ช่วยลดความซ้ำซ้อนของการทำงาน และส่งเสริมให้งานบรรลุได้ตามวัตถุประสงค์และความคาดหวังของทุกฝ่ายได้ การศึกษาครั้งนี้ เป็นการติดตามประเมินผลโครงการบูรณาการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะและพัฒนากลไกสุขภาวะระดับพื้นที่ ในอำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากระบวนการดำเนินงานและผลจากการดำเนินโครงการบูรณาการฯ 2) ศึกษาอุปสรรคปัญหาในการดำเนินโครงการบูรณาการฯ 3) ศึกษาปัจจัยโอกาสในการดำเนินโครงการให้บรรลุตามเป้าหมาย และ 4) เสนอแนะแนวทางปรับปรุงแก้ปัญหาและส่งเสริมปัจจัยความสำเร็จ คณะผู้วิจัยได้เลือกใช้กระบวนการประเมินผลตามกรอบแนวคิด Health Impact Assessment (HIA) ร่วมกับการประยุกต์ใช้กรอบการประเมินผล Ottawa Charter, System theory และ CIPP model โดยขั้นตอนของการดำเนินงานประกอบด้วย 1) การกลั่นกรองโดยสาธารณะ 2) การกำหนดขอบเขตการประเมินผลโดยสาธารณะ 3.) การประเมินผลกระทบ 4.) การทบทวนร่างรายงานการประเมิน และ 5) การผลักดันสู่การตัดสินใจ ซึ่งผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่เข้าร่วมการประเมินผลโครงการครั้งนี้ ประกอบด้วย ผู้ประสานงานเขต 4 (1 คน) ทีมพี่เลี้ยงพื้นที่ (2 คน) ผู้รับผิดชอบกองทุน (10 คน) และผู้เสนอโครงการ (8คน) โดยใช้การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (in-depth interview) ร่วมกับการสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการ (informal interview) ซึ่งขอบเขตการประเมินผลที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยนำเข้า ได้แก่ การประเมินกำลังคน ทรัพยากรและงบประมาณ ทุนทางสังคม และระบบข้อมูล ส่วนการประเมินผลเชิงกระบวนการ ได้แก่ การสร้างทีมและคณะทำงาน การพัฒนาศักยภาพทีมพี่เลี้ยง การพัฒนาศักยภาพกรรมการกองทุน ผู้รับผิดชอบกองทุน และผู้เสนอโครงการโดยผู้ประสานงานเขตและทีมพี่เลี้ยง และการทำงานของทีมประสานงานและทีมพี่เลี้ยงในการหนุนเสริมการจัดทำแผน การพัฒนาโครงการและติดตามประเมินผล จากการประเมินผล พบว่า การดำเนินงานโครงการบูรณาการฯในพื้นที่อำเภอบางใหญ่ มีการบันทึกแผนและโครงการตามประเด็นปัญหาในระบบออนไลน์ จำนวน 40 แผน และ 53 โครงการ เมื่อเดือนกันยายน 2563 อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนขอทุนและคณะกรรมการกองทุนบางส่วน ยังมีความเข้าใจที่ไม่ชัดเจนเกี่ยวกับโครงการบูรณาการฯ การเขียนโครงการยังขาดตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการที่เป็นเชิงปริมาณ และแม้ว่าผลลัพธ์และผลกระทบของโครงการยังเห็นผลไม่ชัดเจนมากนักภายใต้สถานการณ์วิกฤตจากการระบาดโควิด 19 แต่ศักยภาพของคนที่เป็นต้นทุนที่มีอยู่ ทั้งด้านความรู้และประสบการณ์ การประสานความร่วมมือที่ดีภายในพื้นที่ รวมถึงกลไก ระบบ กระบวนการในการติดตามงานที่มีอยู่เดิม ถือเป็นปัจจัยเอื้อให้โครงการบูรณาการฯ สามารขับเคลื่อนในพื้นที่ได้ ข้อเสนอแนะต่อการพัฒนา คือ การเพิ่มศักยภาพของคนที่ทำงานกองทุนเพิ่มขึ้น เพื่อให้การเขียนและดำเนินโครงการที่ขอทุนกองทุนสุขภาพท้องถิ่นมีคุณภาพมากขึ้น เสนอให้จัดทำเวทีทบทวนโครงการที่ขอทุนจากกองทุนสุขภาพตำบล โดยให้ท้องถิ่นเป็นเจ้าภาพในการจัดอบรมพัฒนาศักยภาพการเขียนโครงการ เพิ่ม. เสนอให้เพิ่มกระบวนการสร้างความเข้าใจในตัวโครงการบูรณาการตั้งแต่เริ่มต้น ชี้ให้เห็นประโยชน์ของโครงการอย่างชัดเจน และบทบาทความเกี่ยวข้องของบุคลากรที่เข้ามามีส่วนร่วมกับโครงการ เสนอให้คณะพี่เลี้ยงทำการติดตามการดำเนินงานกับผู้เกี่ยวข้องเพื่อร่วมแก้ไขปัญหาและกระตุ้นการทำงานร่วมกันปีละ 3 ครั้ง เสนอให้โครงการบูรณาการฯ มีการจัดทำวิดิโอการใช้งานระบบริหารกองทุนออนไลน์ เพื่อให้สามารถศึกษา/ทบทวนการใช้งานด้วยตัวเองได้สะดวกและเข้าใจได้ง่ายขึ้นเพราะเห็นภาพเสมือนจริงจากวิดิโอ เสนอให้โครงการตั้งคณะทำงานในระดับตำบลที่ประกอบด้วย สาธารณสุข ท้องถิ่น และภาคประชาชน เข้ามาร่วมพัฒนาแผน/โครงการที่ขอทุนจากกองทุนสุขภาพระดับตำบล และเสนอให้โครงการจัดเวทีในการถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์จากคนที่เคยทำงานแล้วประสบความสำเร็จมาแลกเปลี่ยนให้กับผู้ที่เข้ามาทำงานใหม่ๆ โดยเฉพาะการแลกเปลี่ยนวิธีการทำงาน กระบวนการทำงาน นวัตกรรมใหม่ๆ ด้านการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคในชุมชน

คำสำคัญ

การติดตามประเมินผล, บูรณาการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะ,กลไกสุขภาวะระดับพื้นที่

บทนำ

การติดตามสนับสนุนและประเมินผล เป็นกลไกสำคัญที่ช่วยให้การดำเนินโครงการสามารถดำเนินไปสู่จุดหมาย นอกจากเป็นกระบวนการที่ช่วยบริหารจัดการโครงการให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลแล้ว ยังเป็นการช่วยวิเคราะห์ สังเคราะห์คุณค่าต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการเพื่อการขยายผล และเพื่อการพัฒนาต่อไป (ผศ.ดร. ภก.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ และคณะ, 2557) ในปี 2562-2563 สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส. ม.อ.) จัดทำโครงการเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาวะระดับพื้นที่เพิ่มมากขึ้น โดยสานพลังการทำงานร่วมกันของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) และกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ดำเนินงานภายใต้โครงการบูรณาการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะ และพัฒนากลไกสุขภาวะระดับพื้นที่ เป้าหมายหลักการดำเนินงาน คือ 1) การพัฒนาศักยภาพทีมกลไกร่วมของสสส. สปสช. และสธ. ในการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะในระดับพื้นที่ และ 2) การดำเนินงานพื้นที่ต้นแบบสร้างเสริมสุขภาวะในกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่
โครงการดังกล่าวเป็นการเสริมพลังการทำงานร่วมกันของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ช่วยลดความซ้ำซ้อนของการทำงาน สามารถขยายขอบเขตพื้นที่การทำงานได้กว้างขึ้นภายใต้งบประมาณที่จำกัดอันจะนำไปสู่ความครอบคลุมการพัฒนาศักยภาพของประชาชนในพื้นที่จนกลายเป็นทุนทรัพยากรมนุษย์ในการสร้างสังคม สุขภาวะ และระบบสุขภาพชุมชนที่เข้มแข็งในอนาคต ซึ่งสถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จัดทำโครงการพัฒนาเครือข่ายนักประเมินผลงานสร้างเสริมสุขภาพในพื้นที่ภาคใต้ ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลาง โดยวางแผนให้มีคณะติดตามและประเมินผลโครงการ “บูรณาการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะ และพัฒนากลไกสุขภาวะระดับพื้นที่” ในระหว่างการดำเนินโครงการ โดยมีเป้าหมายเพื่อตรวจสอบการดำเนินงานโครงการบูรณาการฯ เป็นไปตามแผนที่วางไว้หรือไม่ อย่างไร (Implementation Evaluation) และเป็นการตรวจสอบความก้าวหน้าของโครงการบูรณาการฯ ว่ามีผลการดำเนินงานเป็นอย่างไร (Progress Evaluation) ทั้งนี้เพื่อนำข้อมูลมาใช้ในการปรับปรุงการดำเนินโครงการให้บรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้
สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยหน่วยส่งเสริมโภชนาการและสุขภาวะ เห็นความสำคัญของงานสร้างเสริมสุขภาพในระดับพื้นที่ โดยดำเนินงานวิจัยและพัฒนาเพื่อส่งเสริมอาหาร โภชนาการ และสุขภาวะให้เกิดความยั่งยืนระดับชุมชน จึงได้เข้าร่วมเป็นภาคีทำงานร่วมกับสถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เพื่อศึกษากระบวนการทำงาน ติดตามและประเมินผลการทำงาน ระหว่างการดำเนินโครงการบูรณาการฯ ซึ่งประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินจาก Ottawa Charter, System theory , CIPP model ในการติดตามประเมินผลโครงการ ด้วยกรอบคิด Health Impact Assessment (HIA) ตามแนวทางของสถาบันนโยบายสาธารณะ โดยคณะทำงานสถาบันโภชนาการ มุ่งหวังให้กระบวนการติดตาม และประเมินผลครั้งนี้ เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาโครงการส่งเสริมสุขภาพของประชาชนที่เกิดจากการมีส่วนร่วมของหน่วยงานหลายภาคส่วน
คณะทำงานจากสถาบันโภชนาการฯ จึงเลือกพื้นที่ในการศึกษา ติดตามและประเมินผลโครงการในเขตปริมณฑล ได้แก่ อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี ซึ่งมีระยะทางใกล้กับมหาวิทยาลัยมหิดล ตำบลศาลายา ที่ตั้งของหน่วยงานคณะทำงานวิจัย นอกจากนี้ คณะทำงานวิจัยมีความคุ้นเคยพื้นที่ในเชิงกายภาพอันเป็นปัจจัยสนับสนุนการศึกษากระบวนการดำเนินโครงการบูรณาการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะ และพัฒนากลไกสุขภาวะระดับพื้นที่ ซึ่งมีเวลาดำเนินงานจำกัด ประโยชน์ที่คาดว่าจะเกิดจากการศึกษา ติดตาม และประเมินผลโครงการนี้ นอกจากได้รับข้อมูลที่ได้แลกเปลี่ยนกับผู้ที่เกี่ยวข้องในพื้นที่แล้ว ยังเป็นกระบวนการทำงานที่เสริมความรู้และสร้างทักษะการติดตาม ประเมินผลให้กับคณะทำงานวิจัยที่จะนำไปประยุกต์ใช้ในการส่งเสริมโภชนาการ และสุขภาวะในระดับชุมชนต่อไป

หมายเหตุ
  • บทคัดย่อ/บทนำ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

แบบประเมิน HIA

1. การกลั่นกรองโครงการ

check_circle

ก่อนทำการกลั่นกรองโครงการมีการเตรียมความพร้อมของทีมประเมินโดย 1.1 การประชุมปรึกษาหารือภายในทีมประเมินเพื่อร่วมจัดทำรายละเอียดของโครการประเมินผลฯ โดยการประชุม Online ผ่านระบบ Zoom
1.2 ประชุมร่วมกับที่ปรึกษาเขต 4 (อ.สัญชัย) 1.3 ประชุมร่วมกับทีมสนส.มอ. (อ.เพ็ญ)

1.1 วัตถุประสงค์

1) เพื่อให้ทราบผลและบอกถึงงานที่รับผิดชอบ
check_circle
2) เพื่อให้เห็นแนวโน้ม เพื่อเตือนภัย
3) เพื่อเปลี่ยนพฤติกรรม และเข้าใจกระบวนการ
4) เพื่อลำดับความสำคัญ แปลง ปรับกลยุทธ์ สู่การปฎิบัติ
5) เพื่อเป็นเครื่องมือในการจัดการ ช่วยการควบคุม
6) เพื่อจัดสรรทรัพยากร
7) เพื่อการเรียนรู้ และรู้ขีดความสามารถ
check_circle
8) เพื่อเปรียบเทียบ ปรับปรุงและพัฒนา
check_circle
9) เพื่อช่วยเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กร
10) เพื่อให้รางวัล เพื่อจูงใจ
11) อื่นๆ (ระบุรายละเอียด)
check_circle
  1. เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องพิจารณาว่าควรมีการประเมินผลโครงการหรือไม่
  2. เพื่อรับทราบความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้องที่มีต่อโครงการประเมิน
  3. เพื่อนำข้อคิดเห็นของผู้ที่เกี่ยวข้องไปกำหนดขอบเขตการประเมินต่อไป

1.2 วิธีการ (ระบุรายละเอียดทำอะไร กับใคร กี่คน ผลสรุป)

1) ประชุมทีมประเมิน
check_circle

ทีมประเมินร่วมกันวางแผนกำหนดผู้ที่เกี่ยวข้องที่จะนำโครงการประเมินผลสู่กระบวนการกลั่นกรอง เห็นร่วมกันว่าจะนำเสนอโครงการประเมินกับผู้ประสานงานเขต 4 และทีมพี่เลี้ยงของจังหวัดนนทบุรี โดยมีกำหนดรูปแบบคือการไปพบปะพูดคุยโดยตรง ซึ่งทางทีมได้เขียนแนะนำตัว บอกวัตถุประสงค์และขอนัดหมายในวันเวลาที่ผู้ประสานงานเขต 4 และทีมพี่เลี้ยงผ่านทาง email ก่อน เมื่อผู้ประสานงานเขต 4 และทีมพี่เลี้ยงตอบรับพร้อมนัดหมายวันเวลาและสถานที่แล้ว คณะทำงานจึงมาเตรียมตัวแบ่งบทบาทหน้าที่ในการนำเสนอโครงการประเมินผล จัดเตรียมประเด็นในการพูดคุย และเอกสารที่ใช้ในการนำเสนอ

2) ประชุมร่วมกับโครงการ

 

3) ประชุมร่วมกับโครงการและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
check_circle

1.การจัดส่งไฟล์เอกสารโครงการประเมินที่ประกอบไปด้วยหลักการเหตุผล ความสำคัญ วัตถุประสงค์ วิธีการประเมิน และผลที่คาดว่าจะได้รับ พร้อมทั้งระยะเวลาที่ใช้ในการประเมิน คือช่วงเดือน เมษายน – กันยายน 2563 ไปให้ผู้ประสานงานเขต 4 และทีมพี่เลี้ยงของจังหวัดนนทบุรี
2.ทีมประเมินผลโครงการฯ เข้าไปพูดคุยกับผู้ประสานงานเขตและทีมพี่เลี้ยง โดยมีการแนะนำทีมประเมิน ชี้แจงความสำคัญ วัตถุประสงค์ของการประเมิน รวมทั้งรายละเอียดของการประเมินโครงการฯ อีกทั้งได้ทำความเข้าใจกับผู้ประสานงานเขตและพี่เลี้ยงว่าวัตถุประสงค์ของการมาพบพูดคุยวันนี้เป็นขั้นตอนหนึ่งของการกลั่นกรองโครงการ ซึ่งเป็นการประยุกต์ใช้ HIA ในการประเมินผล และขั้นตอนแรกของการประเมินผลคือ การกลั่นกรองโครงการที่ต้องให้ผู้ที่เกี่ยวข้องได้มีส่วนร่วมในการพิจารณาว่าควรมีการประเมินโครงการในลักษณะเช่นนี้ในพื้นที่จังหวัดนนทบุรีหรือไม่ และหากผู้ประสานงานเขตและพี่เลี้ยงเห็นชอบด้วยแล้ว จะมีข้อเสนอแนะต่อทีมประเมินในการกลับไปกำหนดขอบเขตการประเมินให้ชัดเจนหรือเหมาะสมกับพื้นที่และสถานการณ์อย่างไรบ้าง โดยเฉพาะผลประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นจากการประเมินผล ซึ่งทางโครงการชี้แจงไปถึงความตั้งใจที่จะประเมินผลแบบเสริมพลัง (empowerment evaluation) เพื่อสนับสนุนให้ผู้ที่มีส่วนร่วมในการประเมินสามารถพัฒนางานโดยอาศัยการประเมินตนเองและการสะท้อนกลับ โดยที่ทีมประเมินจะทำหน้าที่ตั้งคำถามเพื่อพิจารณาหาแนวทางในการพัฒนางานและให้กำลังใจต่อกัน จากนั้นทีมประเมินขอรับฟังข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากผู้ประสานงานเขตและพี่เลี้ยงโครงการ
3. การดำเนินการหลังจากกลั่นกรองโครงการ ทีมประเมินประชุมเพื่อนำข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะมาจัดปรับขอบเขตการประเมินผล

4) อื่นๆ (ระบุรายละเอียด)
check_circle

 

1.3 เครื่องมือ

1) เครื่องมือที่ใช้ในขั้นตอนการกลั่นกรอง (ระบุรายละเอียดเครื่องมือ เช่น แนวคำถามในการประชุมกลุ่ม)
check_circle

1.ข้อเสนอโครงการ 2.แนวทางในการสนทนากับผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง (เช่น ผู้ประสานงานเขต พี่เลี้ยงในพื้นที่) เพื่อแบ่งบทบาทของทีมประเมิน 3.แนวคำถามสำหรับการสัมภาษณ์ ผู้ประสานงานเขต ทีมพี่เลี้ยงในพื้นที่

1.4 ผลที่ได้

1) ผลที่ได้ในขั้นตอนการกลั่นกรอง
check_circle
  1. ผู้ประสานงานเขตและทีมพี่เลี้ยงเห็นชอบว่าควรมีการประเมินผลโครงการ โดยให้เหตุผลว่าจะเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินโครงการในมุมมองของผู้ประเมินจากภายนอกที่จะให้ข้อคิดเห็นที่จะนำไปสู่การจัดปรับแผนงาน/กิจกรรมให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และบรรลุผลตามเป้าหมายที่วางไว้
  2. จากการพิจารณาโครงการประเมินผล ผู้ประสานงานเขตและพี่เลี้ยงของจังหวัดนนทบุรีมีความรู้สึกกังวลใจกับระยะเวลาในการประเมินที่ค่อนข้างสั้น และสถานการณ์โควิดที่เกิดขึ้น อาจจทำให้เป็นอุปสรรคปัญหาในการทำงาน
  3. ผู้ประสานงานเขตและพี่เลี้ยงเห็นด้วยกับทีมประเมินที่เลือกพื้นที่อำเภอบางใหญ่ในการศึกษา เนื่องจากเป็นอำเภอที่มีศักยภาพสูงในการพัฒนา และมีทีมพี่เลี้ยงของโครงการที่มีความเข้มแข็งรับผิดชอบดำเนินกิจกรรมอยู่ คือ ผู้ช่วยสาธารณสุขอำเภอบางใหญ่

2. การกำหนดขอบเขต

check_circle

วัตถุประสงค์
1. กำหนดขอบเขตการประเมินโครงการ 2. สร้างการมีส่วนร่วมในการพิจารณาความเหมาะสมของขอบเขตของการประเมินผล
3. จัดปรับขอบเขตการประเมินผลร่วมกันกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง

1) วิธีการในการกำหนดขอบเขต
check_circle
  1. ศึกษาทบทวนข้อมูลอย่างละเอียดเกี่ยวกับกิจกรรมของโครงการบูรณาการฯ ได้แก่ วัตถุประสงค์ เป้าหมาย ลักษณะของการดำเนินการ กิจกรรม วิธีการ ผู้เกี่ยวข้อง เครื่องมือ สถานที่ และระยะเวลา
  2. กำหนด (ร่าง) ขอบเขตที่ใช้ในการประเมินผลในประเด็นต่าง ๆ
  3. ทีมประเมินผลประชุมวางแผนการจัดกระบวนการมีส่วนร่วมในการกำหนดขอบเขตฯ โดยร่วมกำหนดผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่ร่วมกำหนดขอบเขตการประเมิน ประกอบด้วย ผู้ประสานงานเขต 4 ทีมพี่เลี้ยงจังหวัดนนทบุรี
  4. ทำการประสานและนัดหมายผู้ประสานงานเขตและทีมพี่เลี้ยงจังหวัดนนทบุรีในการนำเอกสารโครงการประเมินผลที่มีเนื้อหาของขอบเขตการประเมินผลไปร่วมพิจารณา
  5. ร่วมประชุมกับผู้ประสานงานเขตและทีมพี่เลี้ยง โดยการชี้แจงทำความเข้าใจของวัตถุประสงค์ที่มาประเมินผล ผลที่คาดว่าจะได้รับ กรอบแนวคิด วิธีการประเมิน ระยะเวลา พื้นที่ในการประเมิน และเครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน
2) ผู้เข้าร่วมกำหนดขอบเขต
check_circle

1.ผู้ประสานงานเขต
2.พี่เลี้ยง

3) เครื่องมือที่ใช้
check_circle

1.แนวคำถามในการสัมภาษณ์ ได้แก่ 1.ผู้ประสานงานเขต 2.พี่เลี้ยง 3.ผู้เขียนขอทุน (จนท.รพ.สต.) 4.พชอ. 5.คณะกรรมการกองทุน (จนท.อปท.)
2.ข้อเสนอโครงการที่มีรายละเอียดถึงขอบเขตการประเมินผล

4) กรอบแนวคิด

1) ใช้กรอบ Ottawa charter
check_circle
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดเครื่องมือกลุ่มผู้ให้ข้อมูล
1. ศักยภาพของผู้ดำเนินโครงการ
  1. 1. ผู้คณะกรรมการกองทุนฯ มีความรู้ด้านการเขียนโครงการเพิ่มขึ้น 2. ผู้รับผิดชอบโครงการที่ขอทุนฯ มีทักษะในการเขียนโครงการเพิ่มขึ้น 3. คณะกรรมการกองทุนฯ /ผู้รับผิดชอบโครงการที่ขอทุนฯ สามารถสร้างแผน/โครงการที่เป็นไปตามปัจจัยความสำเร็จตามกรอบปัจจัยกำหนดสุขภาพ
  1. 1. แนวคำถามในการสัมภาษณ์ 2. เอกสารเกี่ยวข้องกับโครงการฯ
  1. 1. ผู้ประสานงานเขต 2.ทีมพี่เลี้ยง 3.ผู้เขียนโครงการ (เจ้าหน้าที่สาธารณสุข) 4.กรรมการกองทุน (เจ้าหน้าที่อปท.)
2. สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อความสำเร็จในการพัฒนาแผน/โครงการ
  1. 1. เกิดเครือข่ายในการสนับสนุนการทำงาน 2. มีหน่วยงานในท้องถิ่นเข้าร่วมสนับสนุน
  1. 1. แนวคำถามในการสัมภาษณ์ 2. เอกสารเกี่ยวข้องกับโครงการฯ
  1. 1. ผู้ประสานงานเขต 2.ทีมพี่เลี้ยง 3.ผู้เขียนโครงการ (เจ้าหน้าที่สาธารณสุข) 4.กรรมการกองทุน (เจ้าหน้าที่อปท.)
3. กลไก/ระบบ/กระบวนการดำเนินงานของโครงการ
  1. 1. จำนวนครั้งการจัดอบรมเพื่อเสริมความรู้และทักษะให้กับผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง 2. จำนวนคนที่เข้าร่วมในกระบวนการอบรมความรู้และเพิ่มพูนทักษะ 3. กระบวนการอบรมที่ทำให้ผู้เข้าร่วมมีความรู้และนำไปใช้ได้จริง 4. แผนการติดตามงาน 5. เกิดการสร้างการมีส่วนร่วมในทุกขั้นตอนการทำงาน
  1. 1. แนวคำถามในการสัมภาษณ์ 2. ข้อมูลแผนงาน/โครงการที่บันทึกในระบบติดตามและประเมินผล มอ.
  1. 1.ผู้ประสานงานเขต 2.ทีมพี่เลี้ยง 3.ผู้เขียนโครงการ (เจ้าหน้าที่สาธารณสุข) 4.กรรมการกองทุน (เจ้าหน้าที่อปท.)
2) ใช้กรอบ ปัจจัยกำหนดสุขภาพ
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดเครื่องมือกลุ่มผู้ให้ข้อมูล
3) ใช้กรอบ Balance Score Card
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดเครื่องมือกลุ่มผู้ให้ข้อมูล
4) ใช้กรอบ CIPP
check_circle
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดเครื่องมือกลุ่มผู้ให้ข้อมูล
ศึกษาปัจจัยนำเข้า
  1. 1. กำหนดกลุ่มพี่เลี้ยงชัดเจนและมีจำนวนพี่เลี้ยงที่เหมาะสมกับปริมาณงาน 2. มีการใช้สถานที่อุปกรณ์ที่อำนวยความสะดวกในการจัดกิจกรรมในพื้นที่อย่างเหมาะสม 3.มีแผนการใช้งบประมาณอย่างชัดเจน 4. มีทุนทางสังคมที่เอื้อต่อการทำงาน 5.มีคู่มือและระบบบริหารกองทุนสุขภาพตำบลมาสนับสนุนการเรียนรู้
  1. 1. แนวคำถามในการสัมภาษณ์ 2.สังเกตกิจกรรม 3.แผนโครงการบูรณาการฯ 4.website localfundhappynetwork.org
  1. 1.ผู้ประสานงานเขต 2.ทีมพี่เลี้ยง 3.ผู้เขียนโครงการ (เจ้าหน้าที่สาธารณสุข) 4.กรรมการกองทุน (เจ้าหน้าที่อปท.)
ศึกษาผลของการดำเนินโครงการ
  1. 1. จำนวนแผนของกองทุนตำบลจำแนกตามประเด็นปัญหา 2. จำนวนโครงการที่ขอรับทุนจากกองทุนเป็นโครงการที่มีคุณภาพ 3. กองทุนตำบลมีแผนการติดตามประเมินผลผ่านระบบ online 4. จำนวนแผนบูรณาการตามประเด็นที่พชอ.ได้รับ 5. จำนวนโครงการระดับอำเภอที่มีการบูรณาการร่วมกัน 6. สถานการณ์ระบบสุขภาพชุมชนดีขึ้น
  1. 1. แนวคำถามในการสัมภาษณ์ 2. ข้อมูลแผนงาน/โครงการที่บันทึกในระบบบริหารกองทุนสุขภาพตำบลออนไลน์
  1. 1.ทีมพี่เลี้ยง 2.ผู้เขียนโครงการ (เจ้าหน้าที่สาธารณสุข) 3.กรรมการกองทุน (เจ้าหน้าที่อปท.)
5) อื่นๆ
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดเครื่องมือกลุ่มผู้ให้ข้อมูล

3. ลงมือประเมิน

check_circle

ดำเนินงานตามกรอบ ottawa ดำเนินงานตามกรอบ System theory , CIPP model

1) กระบวนการเก็บข้อมูลโดยการมีส่วนร่วม (ระบุรายละเอียด)
check_circle
  1. การติดตามประสานงานกับกลุ่มเป้าหมาย โดยการมีส่วนร่วมกับคณะพี่เลี้ยงในการชี้แนะและร่วมประสานนัดหมายทั้งทางไลน์ ทางโทรศัพท์ และทางจดหมาย
  2. โทรศัพท์นัดหมายวันเวลาสถานที่เพื่อยืนยันการเข้าพบและสัมภาษณ์
  3. ทำการสัมภาษณ์เจาะลึกกับกลุ่มเป้าหมาย โดยมีทีมคณะติดตามร่วมสัมภาษณ์ 2-3 คน
  4. ขณะสัมภาษณ์ขอบันทึกเทปเพื่อนำไปใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
  5. มอบของตอบแทนและนัดหมายการเข้าร่วมเวทีคืนข้อมูล
2) กระบวนการวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูล (ระบุรายละเอียด)
check_circle

วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ content analysis โดย การจำแนกประเภทข้อมูลตามประเด็นของเนื้อหาและตัวชี้วัดของโครงการ การกำหนดหน่วยของการแจงนับและวิธีการแจงนับในการวิเคราะห์เนื้อหา รวมทั้งการพิจารณาเงื่อนไขแวดล้อมเพื่อวิเคราะห์เชื่อมโยงอธิบายข้อมูลได้ดียิ่งขึ้น

3) ผู้มีส่วนร่วมในการประเมิน (ระบุรายละเอียด)
check_circle

ผู้ประสานงานเขต 1 คน ทีมพี่เลี้ยงโครงการ 2 คน ผู้เขียนโครงการ (จนท.รพสต.) 9 คน คณะกรรมการกองทุน (จนท.เทศบาล/อบต.ที่รับผิดชอบงานกองทุนสุขภาพท้องถิ่น) 10 คน ประธานพชอ.บางใหญ่ 1 คน ผู้บริหารเทศบาล/อบต. ได้แก่ ปลัดเทศบาล นายกองค์การบริหารส่วนตำบล 2 คน

4) ผลการประเมิน (เรียงตามตัวชี้วัดที่กำหนดในขั้นตอน scoping)
check_circle
  1. ปัจจัยนำเข้าโครงการบูรณาการฯจังหวัดนนทบุรี
    1.1 กำลังคน พบว่า 1) โครงการฯ มีการกำหนดกลุ่มพี่เลี้ยงของโครงการได้ชัดเจนในส่วนของ 2 อำเภอ คือ อำเภอบางใหญ่มีพี่เลี้ยงรับผิดชอบจำนวน 2 คน และอำเภอบางบัวทองมีพี่เลี้ยงจำนวน 1 คน สำหรับพี่เลี้ยงระดับจังหวัดมีจำนวน 1 คน 2) พี่เลี้ยงของโครงการฯ ในพื้นที่อำเภอบางใหญ่มีการกำหนดกลุ่มเป้าหมายที่เข้ามามีส่วนร่วมในโครงการอย่างชัดเจนคือ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ และโรงพยาบาลบางใหญ่ อีกกลุ่มหนึ่ง คือ เจ้าหน้าที่ของเทศบาล/อบต. ที่รับผิดชอบงานสปสช. สิ่งที่ยังขาด คือ การประเมินความพร้อมศักยภาพของคนที่เข้ามาเกี่ยวข้องหรือกลุ่มเป้าหมาย
    1.2 ทรัพยากร และงบประมาณ พบว่า มีการประสานความร่วมมือกับหน่วยงาน/ผู้เกี่ยวข้องในพื้นที่ในส่วนงานของสาธารณสุขมีความเด่นชัดอย่างมาก แต่การประสานความร่วมมือกับหน่วยงานองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นพบว่าเป็นการประสานความร่วมมืออย่างไม่เป็นทางการ มีแผนการใช้งบประมาณอย่างชัดเจน มีการใช้สถานที่ในการประชุม และใช้เครื่องมือ (คอมพิวเตอร์) ในการทำงานอย่างเหมาะสม ระบบ internet การสื่อสารที่เข้าถึงได้ง่าย 1.3 ทุนทางสังคม พบว่าผู้ที่เกี่ยวข้องกับโครงการฯ มีลักษณะความเป็นผู้นำแบบเชื่อมประสาน/เชื่อมโยงเครือข่าย มีการรวมตัวของคนที่มีความสนใจทางด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อม เช่น ชมรมผู้สูงอายุ ชมรมออกกำลังกาย ชมรมการใช้สมุนไพรรักษาโรค มีกระบวนการถ่ายทอดความรู้ระหว่างพื้นที่ ความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันระหว่างเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานต่างๆ ที่ทำงานด้านส่งเสริมสุขภาพประชาชนร่วมกัน
    1.4 ระบบข้อมูล พบว่า มีระบบบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับพื้นที่ เข้ามาช่วยในการพัฒนาแผน/โครงการในการขอทุนจากกองทุนสุขภาพตำบล 1.5 การวางแผนของโครงการ พบว่าผู้ประสานงานเขตได้จัดประชุมวางแผนการดำเนินโครงการร่วมกับทีมพี่เลี้ยงในช่วงเริ่มต้นโครงการ และมีการประชุมจัดปรับแผนระหว่างการดำเนินโครงการ
  2. กระบวนการดำเนินโครงการ 2.1 การสร้างทีมและคณะทำงาน พบว่าผู้ประสานงานเขตสร้างทีมงานหรือทีมพี่เลี้ยงของจังหวัดนนทบุรี โดยพิจารณาจากบุคคลที่มีศักยภาพในการสร้างเครือข่ายและมีจิตอาสาในการทำงานที่เกี่ยวข้องกับกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับพื้นที่ โดยมุ่งหวังให้ทีมพี่เลี้ยงสามารถให้คำแนะนำ ช่วยเหลือ แก้ไขปัญหา พัฒนา และค้นหาศักยภาพของผู้เข้าร่วมการดำเนินโครงการ โดยชักชวนผู้ที่เคยทำงานร่วมกันมาก่อน ข้อจำกัด คือ จำนวนคณะทำงานหรือทีมพี่เลี้ยงน้อยเกินไป และการแบ่งบทบาทหน้าที่ในการทำงานไม่ชัดเจน 2.2 การทำแผน โครงการ และการติดตามประเมินผล พบว่า ผู้ประสานงานเขตเข้าร่วมประชุมในการจัดทำแผน/โครงการบูรณาการฯ ของจังหวัดนนทบุรี และผู้ประสานงานเขตได้นำแผน/โครงการมาประชุมปรึกษาหารือกับทีมพี่เลี้ยงเพื่อขอความคิดเห็นในการจัดปรับแผน/โครงการ ซึ่งในระหว่างการดำเนินโครงการมีการจัดปรับแผนของการดำเนินโครงการเป็นระยะๆ โดยเฉพาะในช่วงการระบาดของไวรัสโควิด 19 มีการปรึกษาหารือในการปรับแผนการติดตามการใช้เว็บไซต์กองทุนสุขภาพตำบล 2.3 การพัฒนาศักยภาพทีมพี่เลี้ยง พบว่า ผู้ประสานงานเขตได้นำทีมพี่เลี้ยงเข้าไปร่วมประชุมกับสถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส.) ม.สงขลานครินทร์ ในช่วงเริ่มต้นของโครงการ ทำให้พี่เลี้ยงมีโอกาสในการรับทราบวัตถุประสงค์ เป้าหมายและผลที่คาดว่าจะได้รับจากการดำเนินโครงการ และมีโอกาสเรียนรู้การใช้เว็บไซต์กองทุนสุขภาพตำบลทั้งในทางทฤษฏีและการปฏิบัติจริง นอกจากนี้ผู้ประสานงานเขตมีการจัดประชุมวางแผน ติดตามงาน ร่วมกับทีมพี่เลี้ยงของโครงการฯ ในเขต4 (สระบุรี อ่างทอง อยุธยา และนนทบุรี) ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนวิธีการทำงาน/ข้อมูลการดำเนินงาน
    2.4 ผู้ประสานงานเขตและทีมพี่เลี้ยงพัฒนาศักยภาพกรรมการกองทุน ผู้รับผิดชอบกองทุน และผู้เสนอโครงการ ในเรื่องการทำแผน/โครงการ และการติดตามประเมินผล โดยการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการโครงการบูรณาการการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะและพัฒนากลไกสุขภาวะในระดับพื้นที่จังหวัดนนทบุรี จำนวน 1 วัน รูปแบบการจัดประชุมแบ่งป็นภาคเช้าและภาคบ่าย โดยภาคเช้าเป็นการบรรยายเพื่อทำความเข้าใจโครงการร่วมกัน ส่วนภาคบ่ายเป็นการฝึกปฏิบัติการใช้ระบบบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับพื้นที่ online เมื่อทีมประเมินผลรวบรวมข้อมูลจากผู้ที่เคยเข้าร่วมประชุมเมื่อผ่านไปแล้ว 5 เดือน พบว่า ผู้เข้าร่วมการประชุมส่วนใหญ่ลืมเลือนข้อมูลที่ได้จากการประชุมฯ ไม่สามารถจดจำรายละเอียดของการประชุมได้ เพียงแต่สามารถบอกได้ว่ามีการบรรยายในช่วงเช้า และอบรมและฝึกปฏิบัติการใช้โปรแกรมในช่วงบ่าย โดยเอกสารที่ได้รับมาก็ไม่ได้นำมาอ่านทบทวนแต่อย่างใด อีกทั้งไม่มีการถ่ายทอดส่งต่อไปยังผู้เกี่ยวข้องกับงานนี้ โดยความคิดเห็นของผู้เข้าร่วมประชุมที่มีต่อโครงการฯ ส่วนใหญ่ กล่าวว่าการประชุมใน 1 วัน ไม่สามารถฝึกปฏิบัติให้สามารถทำแผน/เขียนโครงการในระบบบริหารกองทุนสุขภาพตำบล online ได้จริง 2.5 ทีมประสานงานเขตประชุมทำความเข้าใจและความร่วมมือกับพชอ. พบว่าโครงการบูรณาการฯ อำเภอบางใหญ่ยังไม่ได้ดำเนินการในเรื่องนี้ แต่ได้วางแผนไว้ว่า หากพัฒนาแผน/โครงการขอทุนสปสช.ได้อย่างมีคุณภาพ แล้วนำฐานข้อมูลกองทุนสุขภาพตำบลจากระบบonline นี้ไปนำเสนอต่อคณะกรรมการพชอ.ให้เห็นสถานณ์การปัญหาและแนวทางการแก้ไขปัญหาของชุมชน เพื่อบูรณการแผนการทำงานร่วมกันต่อไป
    2.6. ทีมประสานงานและทีมพี่เลี้ยงหนุนเสริมการจัดทำแผน การพัฒนาโครงการและติดตามประเมินผล พบว่า ทีมพี่เลี้ยงปรับแผนการติดตามโครงการ โดยจัดกิจกรรมการประชุมฝึกซ้อมการสร้างแผน/โครงการในระบบบริหารกองทุนสุขภาพตำบล online โดยนำโครงการที่ได้รับการสนับสนุนทุนจากองทุนสุขภาพตำบลในปี 2563 มาบันทึก วางแผนการติดตามจำนวน 3 ครั้ง โดยการประชุมครั้งแรก เป็นการทบทวนวัตถุประสงค์ของโครงการและกระบวนการจัดทำแผนและบันทึกโครงการ ส่วนครั้งที่สอง เป็นการทบทวน แนะนำ แก้ไขปัญหาอุปสรรคในการบันทึกข้อมูล และต่อด้วยการบันทึกงบประมาณ ส่วนครั้งที่ 3 วางแผนในการทบทวนการใช้ระบบบริหารกองทุนฯ ในการติดตามโครงการและสรุปผลการดำเนินงานโครงการ
    2.7 สรุปงานและดำเนินงานต่อไปร่วมกับพชอ. พบว่า โครงการบูรณาการฯ อำเภอบางใหญ่ยังไม่ได้ดำเนินการ
  3. ผลผลิต ผลลัพธ์ และผลกระทบของโครงการ ผลผลิตของโครงการ 3.1 กองทุนสุขภาพตำบลในอำเภอบางใหญ่มีแผนตามประเด็นปัญหา พบว่ามีการบันทึกแผนและโครงการตามประเด็นปัญหา จำนวน 40 แผน และ 53 โครงการ หากพิจารณาตามแผนของกองทุนที่มีโครงการเกี่ยวข้องกับการจัดการปัจจัยเสี่ยงใน 5 ปัจจัย คือ เหล้า บุหรี่ ยาเสพติด อาหาร และกิจกรรมการทางกาย พบว่า แผนและโครงการบันทึกในปี 2563 ยังขาดในประเด็นเรื่องบุหรี่ แต่ได้รวมเรื่องบุหรี่เข้าไปในแผนยาเสพติด 3.2 โครงการที่ของบจากกองทุนสุขภาพตำบลในอำเภอบางใหญ่เป็นโครงการที่มีคุณภาพ พบว่าผู้เขียนขอทุนและคณะกรรมการกองทุน มีความเข้าใจว่าโครงการที่มีคุณภาพ หมายถึง โครงการที่สามารถแก้ปัญหาสุขภาพในพื้นที่ได้อย่างเป็นรูปธรรม และเป็นโครงการที่เกิดจากความต้องการในการแก้ไขปัญหาของชุมชน และมีชุมชนเป็นผู้ดำเนินการด้วยตนเอง โดยมีหน่วยงานหนุนเสริม แต่ปัจจุบันโครงการที่เขียนขอทุนมักจะเป็นโครงการที่ทำต่อเนื่องมาจากปีที่ผ่านมา และยังขาดตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการที่เป็นเชิงปริมาณ เมื่อมีการทดลองการบันทึกแผน/โครงการของระบบบริหารกองทุนฯ ทำให้เห็นเป้าหมายของการดำเนินงานที่ชัดเจน มีกระบวนการทำงานที่หลากหลาย น่าจะทำให้โครงการมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น และสามารถเขียนโครงการเชิงรุกเพิ่มมากขึ้น
    3.3 กองทุนสุขภาพตำบลในอำเภอบางใหญ่มีระบบติดตามประเมินผลแบบ online พบว่า ยังอยู่ในขั้นตอนการจัดทำแผน บันทึกโครงการที่ขอทุนสปสช. ปี 2563 แต่เจ้าหน้าที่ของเทศบาล/อบต. คาดว่าจะทำการติดตามประเมินผลแบบ online ได้ โดยทีมพี่เลี้ยงมีแผนในการอบรมการติดตามประเมินผลโครงการแบบ online
    3.4 การเพิ่มศักยภาพของบุคลากรผู้เขียนโครงการ 1) เพิ่มความรู้ว่าการทำแผน/โครงการมีความจำเป็นต้องรู้สถานการณ์การปัญหาและขนาดของปัญหา (ปริมาณ) 2) เพิ่มความรู้ในเรื่องการกำหนดเป้าหมายในการแก้ไขปัญหาที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น 3) เพิ่มความรู้ในเรื่องการออกแบบกิจกรรมที่ไปช่วยในเรื่องของการแก้ไขปัญหา 4) มีทัศนคติที่ดีต่อการเขียนโครงการให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น 5) มีความมั่นใจในการเขียน/ดำเนินโครงการที่ไม่ขัดต่อระเบียบการใช้เงิน เมื่อพิจารณาเห็นว่าโครงการที่บันทึกมีรายละเอียดของการดำเนินงานอย่างชัดเจน
    ผลลัพธ์ของโครงการ ยังไม่เห็นผลชัดเจนในเรื่อง 1) คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตอำเภอบางใหญ่ได้แผนบูรณาการจำแนกตามประเด็นจากแผนของแต่ละกองทุน 2) การดำเนินโครงการระดับอำเภอมีการบูรณาการร่วมกัน 3) คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตอำเภอบางใหญ่มีฐานข้อมูล สถานการณ์ และแผนงานระดับตำบลและอำเภอ
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดผลการประเมินหมายเหตุ
1. 1. ศักยภาพของผู้ดำเนินโครงการ (1) ใช้กรอบ Ottawa charter) 1. ผู้คณะกรรมการกองทุนฯ มีความรู้ด้านการเขียนโครงการเพิ่มขึ้น 2. ผู้รับผิดชอบโครงการที่ขอทุนฯ มีทักษะในการเขียนโครงการเพิ่มขึ้น 3. คณะกรรมการกองทุนฯ /ผู้รับผิดชอบโครงการที่ขอทุนฯ สามารถสร้างแผน/โครงการที่เป็นไปตามปัจจัยความสำเร็จตามกรอบปัจจัยกำหนดสุขภาพ

1) เพิ่มความรู้ว่าการทำแผน/โครงการมีความจำเป็นต้องรู้สถานการณ์การปัญหาและขนาดของปัญหา (ปริมาณ)
2) เพิ่มความรู้ในเรื่องการกำหนดเป้าหมายในการแก้ไขปัญหาที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น
3) เพิ่มความรู้ในเรื่องการออกแบบกิจกรรมที่ไปช่วยในเรื่องของการแก้ไขปัญหา 4) ผู้เขียนขอทุนและคณะกรรมการกองทุนมีทักษะในการใช้ระบบบริหารกองทุนออนไลน์ในการวางแผนและเขียนโครงการเพิ่มขึ้น 5) แต่การเขียนแผน/โครงการครั้งนี้เป็นการบันทึกข้อมูลโครงการของปี 2563 ยังทำให้แผน/โครงการยังไม่ครอบคลุมปัจจัยความสำเร็จตามกรอบปัจจัยกำหนดสุขภาพ

 

2. 2. สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อความสำเร็จในการพัฒนาแผน/โครงการ (1) ใช้กรอบ Ottawa charter) 1. เกิดเครือข่ายในการสนับสนุนการทำงาน 2. มีหน่วยงานในท้องถิ่นเข้าร่วมสนับสนุน

โครงการมีการสร้างทีมพี่เลี้ยงในการดำเนินงานระดับพื้นที่ในอำเภอบางใหญ่ แต่ยังไม่เกิดการประสานงานในระดับเครือข่ายอย่างเป็นทางการ พบแต่การประสานงานเครือข่ายของสาธารณสุข (รพสต.) ในพื้นที่อย่างไม่เป็นทางการ 2) องค์การบริหารส่วนตำบลและเทศบาลในท้องถิ่นให้ความร่วมมือในการสนับสนุนบุคคลากร/เจ้าหน้าที่มาร่วมประชุมและบันทึกข้อมูลโครงการกองทุนฯ ในระบบบริหารกองทุนออนไลน์ของโครงการ

 

3. 3. กลไก/ระบบ/กระบวนการดำเนินงานของโครงการ (1) ใช้กรอบ Ottawa charter) 1. จำนวนครั้งการจัดอบรมเพื่อเสริมความรู้และทักษะให้กับผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง 2. จำนวนคนที่เข้าร่วมในกระบวนการอบรมความรู้และเพิ่มพูนทักษะ 3. กระบวนการอบรมที่ทำให้ผู้เข้าร่วมมีความรู้และนำไปใช้ได้จริง 4. แผนการติดตามงาน 5. เกิดการสร้างการมีส่วนร่วมในทุกขั้นตอนการทำงาน

3.1 มีการประชุมเพื่อชี้แจงโครงการ เสริมความรู้ และสร้างความเข้าใจการใช้ระบบบริหารกองทุนออนไลน์ของโครงการจำนวน 1 ครั้ง และมีการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อทบทวนและฝึกซ้อมกานใช้ระบบบริหารกองทุนออนไลน์ของโครงการเพิ่มเติมอีก 2 ครั้ง 2) ผู้เข้าร่วมเป็นเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบงานกองทุนฯ ของอบต./เทศบาลจาก 6 ตำบล 7 กองทุน 3) กระบวนการที่ใช้ในการอบรมคือการชี้แจง ฝึกซ้อม ปฏิบัติจริงไปพร้อมๆ กัน 4) โครงการมีแผนการติดตามงานแต่เกิดสถานการณ์โรคโควิด 19 จึงทำให้ไม่สามารถติดตามได้ตามแผนที่วางไว้ 5) ยังไม่เห็นความชัดเจนในการกระบวนการสร้างการมีส่วนร่วมในทุกขั้นตอน แต่เห็นความชัดเจนในการประสานความร่วมมือของการบันทึกข้อมูลในระบบบริหารกองทุนออนไลน์

 

4. ศึกษาปัจจัยนำเข้า (4) ใช้กรอบ CIPP) 1. กำหนดกลุ่มพี่เลี้ยงชัดเจนและมีจำนวนพี่เลี้ยงที่เหมาะสมกับปริมาณงาน 2. มีการใช้สถานที่อุปกรณ์ที่อำนวยความสะดวกในการจัดกิจกรรมในพื้นที่อย่างเหมาะสม 3.มีแผนการใช้งบประมาณอย่างชัดเจน 4. มีทุนทางสังคมที่เอื้อต่อการทำงาน 5.มีคู่มือและระบบบริหารกองทุนสุขภาพตำบลมาสนับสนุนการเรียนรู้

1) โครงการฯ มีการกำหนดกลุ่มพี่เลี้ยงของโครงการได้ชัดเจนในส่วนของ 2 อำเภอ คือ อำเภอบางใหญ่มีพี่เลี้ยงรับผิดชอบจำนวน 2 คน และอำเภอบางบัวทองมีพี่เลี้ยงจำนวน 1 คน สำหรับพี่เลี้ยงระดับจังหวัดมีจำนวน 1 คน
2) พี่เลี้ยงของโครงการฯ ในพื้นที่อำเภอบางใหญ่มีการกำหนดกลุ่มเป้าหมายที่เข้ามามีส่วนร่วมในโครงการอย่างชัดเจนคือ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ และโรงพยาบาลบางใหญ่ อีกกลุ่มหนึ่ง คือ เจ้าหน้าที่ของเทศบาล/อบต. ที่รับผิดชอบงานสปสช.
3) มีการประสานความร่วมมือกับหน่วยงาน/ผู้เกี่ยวข้องในพื้นที่ในส่วนงานของสาธารณสุขมีความเด่นชัดอย่างมาก แต่การประสานความร่วมมือกับหน่วยงานองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นพบว่าเป็นการประสานความร่วมมืออย่างไม่เป็นทางการ
4) มีแผนการใช้งบประมาณอย่างชัดเจน มีการใช้สถานที่ในการประชุม และใช้เครื่องมือ (คอมพิวเตอร์) ในการทำงานอย่างเหมาะสม ระบบ internet การสื่อสารที่เข้าถึงได้ง่าย 5) ทุนทางสังคม พบว่าผู้ที่เกี่ยวข้องกับโครงการฯ มีลักษณะความเป็นผู้นำแบบเชื่อมประสาน/เชื่อมโยงเครือข่าย มีการรวมตัวของคนที่มีความสนใจทางด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อม เช่น ชมรมผู้สูงอายุ ชมรมออกกำลังกาย ชมรมการใช้สมุนไพรรักษาโรค มีกระบวนการถ่ายทอดความรู้ระหว่างพื้นที่ ความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันระหว่างเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานต่างๆ ที่ทำงานด้านส่งเสริมสุขภาพประชาชนร่วมกัน
6) ระบบข้อมูล พบว่า มีระบบบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับพื้นที่ เข้ามาช่วยในการพัฒนาแผน/โครงการในการขอทุนจากกองทุนสุขภาพตำบล ระบบบริหารกองทุนออนไลน์ของมอ. 7) มีการจัดทำคู่มือการใช้งาน ในเวปไซต์ที่ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถดาวน์โหลดมาอ่านได้
8) การวางแผนของโครงการ พบว่าผู้ประสานงานเขตได้จัดประชุมวางแผนการดำเนินโครงการร่วมกับทีมพี่เลี้ยงในช่วงเริ่มต้นโครงการ และมีการประชุมจัดปรับแผนระหว่างการดำเนินโครงการ

สิ่งที่ยังขาด คือ การประเมินความพร้อมศักยภาพของคนที่เข้ามาเกี่ยวข้องหรือกลุ่มเป้าหมาย

5. ศึกษาผลของการดำเนินโครงการ (4) ใช้กรอบ CIPP) 1. จำนวนแผนของกองทุนตำบลจำแนกตามประเด็นปัญหา 2. จำนวนโครงการที่ขอรับทุนจากกองทุนเป็นโครงการที่มีคุณภาพ 3. กองทุนตำบลมีแผนการติดตามประเมินผลผ่านระบบ online 4. จำนวนแผนบูรณาการตามประเด็นที่พชอ.ได้รับ 5. จำนวนโครงการระดับอำเภอที่มีการบูรณาการร่วมกัน 6. สถานการณ์ระบบสุขภาพชุมชนดีขึ้น

1) กองทุนสุขภาพตำบลในอำเภอบางใหญ่มีแผนตามประเด็นปัญหา พบว่ามีการบันทึกแผนและโครงการตามประเด็นปัญหา จำนวน 40 แผน และ 53 โครงการ หากพิจารณาตามแผนของกองทุนที่มีโครงการเกี่ยวข้องกับการจัดการปัจจัยเสี่ยงใน 5 ปัจจัย คือ เหล้า บุหรี่ ยาเสพติด อาหาร และกิจกรรมการทางกาย พบว่า แผนและโครงการบันทึกในปี 2563 ยังขาดในประเด็นเรื่องบุหรี่ แต่ได้รวมเรื่องบุหรี่เข้าไปในแผนยาเสพติด 2) โครงการที่ของบจากกองทุนสุขภาพตำบลในอำเภอบางใหญ่เป็นโครงการที่มีคุณภาพ พบว่าผู้เขียนขอทุนและคณะกรรมการกองทุน มีความเข้าใจว่าโครงการที่มีคุณภาพ หมายถึง โครงการที่สามารถแก้ปัญหาสุขภาพในพื้นที่ได้อย่างเป็นรูปธรรม และเป็นโครงการที่เกิดจากความต้องการในการแก้ไขปัญหาของชุมชน และมีชุมชนเป็นผู้ดำเนินการด้วยตนเอง โดยมีหน่วยงานหนุนเสริม แต่ปัจจุบันโครงการที่เขียนขอทุนมักจะเป็นโครงการที่ทำต่อเนื่องมาจากปีที่ผ่านมา และยังขาดตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการที่เป็นเชิงปริมาณ เมื่อมีการทดลองการบันทึกแผน/โครงการของระบบบริหารกองทุนฯ ทำให้เห็นเป้าหมายของการดำเนินงานที่ชัดเจน มีกระบวนการทำงานที่หลากหลาย น่าจะทำให้โครงการมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น และสามารถเขียนโครงการเชิงรุกเพิ่มมากขึ้น
3) กองทุนสุขภาพตำบลในอำเภอบางใหญ่มีระบบติดตามประเมินผลแบบ online พบว่า ยังอยู่ในขั้นตอนการจัดทำแผน บันทึกโครงการที่ขอทุนสปสช. ปี 2563 แต่เจ้าหน้าที่ของเทศบาล/อบต. คาดว่าจะทำการติดตามประเมินผลแบบ online ได้ โดยทีมพี่เลี้ยงมีแผนในการอบรมการติดตามประเมินผลโครงการแบบ online
4) ยังไม่เห็นผลเด่นชัดในเรื่องจำนวนแผนบูรณาการตามประเด็นที่พชอ.ได้รับ จำนวนโครงการระดับอำเภอที่มีการบูรณาการร่วมกัน และ สถานการณ์ระบบสุขภาพชุมชนดีขึ้น

ผู้ประสานงานและพี่เลี้ยงโครงการวางแผนในการพัฒนาศักยภาพผู้เกี่ยวข้องในพื้นที่ก่อน โดยการเพิ่มความรู้และทักษะในการระบบบริหารกองทุนออนไลน์ในการสร้างแผน/เขียนโครงการที่มีคุณภาพ เมื่อได้ฐานข้อมูลที่มีคุณภาพจากบริหารกองทุนออนไลน์แล้วจึงนำไปเสนอกับคณะกรรมการพชอ.ในการนำข้อมูลไปใช้ในการสร้างแผน/โครงการบูรณาการในโอกาสต่อไป

5) อื่นๆ
check_circle

ความท้าทายของการดำเนินโครงการบูรณาการฯ จ.นนทบุรี ได้แก่ ด้านคน 1) มีการโยกย้ายบุคลารกรในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นบ่อยมาก ทำให้ขาดการเชื่อมต่องาน 2) จำนวนทีมพี่เลี้ยงของโครงการน้อยเกินไป ไม่เพียงพอต่อการสื่อสารทำความเข้าใจและติดตามงาน 3) บุคลากรที่เข้าร่วมโครงการยังไม่เข้าใจถึงบทบาทหน้าที่ของทีมพี่เลี้ยงของโครงการ 4) ผู้เขียนโครงการมีความกังวลในการเสนองบประมาณ ที่อาจไม่ตรงตามระเบียบการใช้เงิน
ด้านสภาพแวดล้อม 1) การเกิดการระบาดของโรคโควิด 19 ทำให้ต้องทุ่มทรัพยากรด้านงบประมาณและคนในการทำงานด้านนี้อย่างเร่งด่วน และชะลองานอื่นๆ ไว้ก่อน และจังหวัดนนทบุรีเป็นพื้นที่มีความเสี่ยงต่อโรคนี้สูงมาก ทำให้เกิดความล่าช้าในการดำเนินโครงการฯ
ด้าน ระบบ กลไก กระบวนการ 1) บุคลการจากหน่วยงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไม่สามารถเข้ามาร่วมโครงการได้ หากไม่มีนโยบายจากหน่วยงานหลัก 2) บุคลากรบางคนที่เข้ามาร่วมกระบวนของโครงการยังขาดความเข้าใจในเป้าหมาย และประโยชน์ของโครงการ
3) โครงการบูรณาการในพื้นที่บางใหญ่ ไม่ได้เข้ามาในพื้นที่อย่างเป็นทางการ ทำให้การประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ ทำได้ยาก 4) เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบต้องบันทึกข้อมูลใน 2 ระบบ คือ ระบบเดิมที่ต้องใช้งานอยู่แล้ว และระบบใหม่ของโครงการฯ ทำให้มองว่าเป็นภาระงาน 5) เนื่องจากคณะกรรมการพชอ.บางใหญ่หมดวาระในเดือนเมษายน 2563 และยังไม่มีการจัดตั้งคณะกรรมการฯชุดใหม่ จึงยังไม่มีการผลักในเรื่องนี้ และพี่เลี้ยงโครงการมีแนวทางในการทำงานว่าจะต้องการแผนงานที่มีคุณภาพมีเป้าหมายที่ชัดเจนก่อนที่จะนำเสนอกับคณะกรรมการพชอ. ุ6) การสร้างความตระหนักในประเด็นด้านสุขภาพของคณะกรรมการพชอ.บางใหญ่ที่มาจากภาคธุรกิจ และนโยบายของพชอ. ที่ผ่านมาคือ เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และความมั่นคง 7) การบริหารจัดการด้านงบประมาณไม่คล่องตัว ปัจจัยที่สร้างโอกาสการพัฒนาของโครงการบูรณาการฯ จ.นนทบุรี ได้แก่ 1. ทุนความรู้และศักยภาพของคนที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ 1) มีทุนความรู้ประสบการณ์เดิม คือ บุคลากรด้านสาธารณสุขที่มีความรู้และมีประสบการณ์ในการเขียนโครงการและดำเนินโครการ 2) บุคลากรจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีความรู้และประสบการณ์ในการใช้บันทึกข้อมูลกองทุนสปสช. 3) มีกลุ่มคนในชุมชนที่มีศักยภาพในการเขียนโครงการขอทุนสนับสนุนจากกองทุน เช่น ผู้เกษียณอายุจากงานราชการ รัฐวิสากิจ เอกชน 4) มีคนในหน่วยงานองค์กรปกครองส่วนท้องถินให้ความสนใจและพร้อมที่จะดำเนินงานจนสามารถเป็นต้นแบบในระดับพื้นที่ได้ (บางตำบล) 2. ทุนทางสังคม คือ ความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างคนทำงานในหน่วยงานสาธารณสุขกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 3. ระบบบริหารกองทุนสุขภาพตำบลออนไลน์ ทำให้ผู้เขียนขอทุนเกิดการเรียนรู้การเขียนโครงการที่มีคุณภาพ มีการติดต่อสื่อสาร/ประสานงานในการเชิญเข้าร่วมกิจกรรมของโครงใช้ระบบ social network ที่รวดเร็วและสามารถสื่อสาร two way ได้
4. ด้านกระบวนการ ได้แก่ การจัดประชุมติดตามงานของทีมพี่เลี้ยงที่ออกแบบให้มีการฝึกปฏิบัติจริง และมีพี่เลี้ยงที่คอยแนะนำเมื่อเกิดปัญหาแบบ face to face อีกทั้งมีการพัฒนาศักยภาพให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขเป็นพี่เลี้ยงให้กับเจ้าหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการใช้ระบบบริหารกองทุนฯ ออนไลน์

4. ทบทวนรายงานการประเมินว่าถูกต้องหรือไม่?

check_circle

วางแผนจัดเวทีนำเสนอรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อประเด็นสำคัญจากผลการประเมิน เพื่อให้ได้ข้อเสนอแนะต่อการดำเนินโครงการ อีกทั้งได้ข้อสรุปที่ยอมรับร่วมกัน

1) กระบวนการในการทบทวนรายงาน
check_circle

1.ทีมประเมินวางแผนในการจัดเวทีโดยการกำหนดวัน เวลา สถานที่ และผู้เข้าร่วมเวที 2.ปรึกษาหารือทีมพี่เลี้ยงถึงแนวทางและความเหมาะสมในการจัดเวที 3.ทำจดหมายเชิญผู้เข้าร่วมเวทีทั้งแบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการ แบบเป็นทางการโดยมีจดหมายขอเข้าพบส่งถึงผู้บังคับบัญชาและผู้ให้ข้อมูล สำหรับแบบไม่เป็นทางการนัดหมายผ่านทีมพี่เลี้ยงและทีมประเมินประสานโดยตรง 4.จัดเตรียมประเด็นสำคัญในการนำเสนอและปรึกษาหารือ 5.ออกแบบกระบวนการจัดเวทีนำเสนอรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อประเด็นสำคัญจากผลการประเมิน โดยแบ่งออกเป็น 4 ช่วงคือ ช่วงที่ 1 ผู้ประสานงานเขตทบทวนความเป็นมาความสำคัญและประโยชน์ของโครงการ 2) ทีมติดตามประเมินนำเสนอผลของการติดตามประเมินรวมทั้งประเด็นในการร่วมแสดงความคิดเห็น 3) แบ่งกลุ่มย่อยผู้เข้าร่วมเวทีระดมความคิดเห็นพร้อมนำเสนอผลระดมความคิด 4) สรุปเวทีและแผนของโครงการบูรณาการฯ ที่จะดำเนินการต่อไป

2) ผู้มีส่วนร่วมในการทบทวนรายงาน
check_circle
  1. ที่ปรึกษาโครงการ
  2. พี่เลี้ยงโครงการ
  3. ผู้เขียนขอทุนจากรพสต.
  4. เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับกองทุนสุขภาพท้องถิ่นจากเทศบาล/อบต.
3) ผลการทบทวนร่างรายงาน
check_circle
  1. จัดการทบทวนร่างรายงานในวันที่ 28 กันยายน 2563 ที่สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ มีผู้เข้าร่วมจำนวน 22 คน
  2. ผู้มีส่วนร่วมในการทบทวนเห็นด้วยกับผลของการติดตามประเมินผลที่ทีมติดตามประเมินนำเสนอ ไม่มีประเด็นแก้ไขข้อมูลใดๆ
  3. มีประเด็นคิดเห็นเพิ่มเติมและข้อเสนอแนะในผลของการติดตามประเมิน ดังนี้ 3.1 ต้องเพิ่มศักยภาพของคนที่ทำงานกองทุนเพิ่มขึ้น เพื่อให้การเขียนและดำเนินโครงการที่ขอทุนกองทุนสุขภาพท้องถิ่นมีคุณภาพมากขึ้น โดย การจัดอบรมให้เจ้าหน้าที่ที่เข้ามาทำงานใหม่ และการดึงคณะกรรมการกลั่นกรองโครงการให้เข้ามามีส่วนร่วมรับรู้และใช้ระบบบริหารกองทุนออนไลน์เพิ่มเติม รวมทั้งการจัดอบรมเพิ่มความรู้การเขียนโครงการที่มีประสิทธิภาพ ตั้งแต่การหาขนาดของปัญหา การวิเคราะห์ปัญหา และที่มาของปัญหา ประกอบกับมีทีมที่ปรึกษาที่เชี่ยวชาญด้านการเขียนโครงการเข้ามาร่วมเป็นวิทยากร 3.2 ทำเวทีทบทวนแผนงานโครงการที่ขอทุนจากกองทุนสุขภาพตำบล โดยให้ท้องถิ่นเป็นเจ้าภาพในการจัดอบรมพัฒนาศักยภาพการเขียนโครงการ 3.3 เสนอให้เพิ่มกระบวนการสร้างความเข้าใจในตัวโครงการบูรณาการตั้งแต่เริ่มต้น ชี้ให้เห็นประโยชน์ของโครงการอย่างชัดเจน และบทบาทความเกี่ยวข้องของบุคลากรที่เข้ามามีส่วนร่วมกับโครงการ 3.4 เสนอให้คณะพี่เลี้ยงทำการติดตามการดำเนินงานกับผู้เกี่ยวข้องเพื่อร่วมแก้ไขปัญหาและกระตุ้นการทำงานร่วมกันปีละ 3 ครั้ง
    3.5 เสนอให้มีการจัดทำวิดิโอการใช้งานระบบริหารกองทุนออนไลน์ เพื่อให้สามารถศึกษา/ทบทวนการใช้งานด้วยตัวเองได้สะดวกและเข้าใจได้ง่ายขึ้นเพราะเห็นภาพเสมือนจริงจากวิดิโอ 3.6 เสนอให้โครงการตั้งคณะทำงานในระดับตำบลที่ประกอบด้วย สาธารณสุข ท้องถิ่น และภาคประชาชน เข้ามาร่วมพัฒนาแผน/โครงการที่ขอทุนจากกองทุนสุขภาพระดับตำบล
    3.7 เสนอให้โครงการจัดเวทีในการถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์จากคนที่เคยทำงานแล้วประสบความสำเร็จมาแลกเปลี่ยนให้กับผู้ที่เข้ามาทำงานใหม่ๆ โดยเฉพาะการแลกเปลี่ยนวิธีการทำงาน กระบวนการทำงาน นวัตกรรมใหม่ๆ ด้านการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคในชุมชน 3.8 เพิ่มประเด็นในเรื่องความท้าทายอุปสรรคในการพัฒนาโครงการ คือ การทีมที่เข้าไปวิเคราะห์ปัญหาที่แท้จริงจากพื้นที่ทำให้ไม่สามารถตั้งเป้าหมายการแก้ไขปัญหาได้ชัดเจน ในขณะที่พื้นที่ดำเนินดำเนินงานเป็นเขตเมืองและเป็นพื้นที่ที่มีผู้ย้ายถิ่นเข้ามาอยู่อาศัยจำนวนมาก จึงขาดการมีส่วนร่วมในงานส่งเสริมสุขภาพ หัวใจสำคัญของโครงการที่เป็นความท้าทายคือ การสร้างให้ผู้เข้าร่วมโครงการเห็นความสำคัญและยอมรับโครงการฯ
4) สรุปผลการประเมินสำคัญที่นำเข้าเวทีการทบทวน
check_circle
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดสรุปผลการประเมินหมายเหตุ
1. 1. ศักยภาพของผู้ดำเนินโครงการ (1) ใช้กรอบ Ottawa charter) 1. ผู้คณะกรรมการกองทุนฯ มีความรู้ด้านการเขียนโครงการเพิ่มขึ้น 2. ผู้รับผิดชอบโครงการที่ขอทุนฯ มีทักษะในการเขียนโครงการเพิ่มขึ้น 3. คณะกรรมการกองทุนฯ /ผู้รับผิดชอบโครงการที่ขอทุนฯ สามารถสร้างแผน/โครงการที่เป็นไปตามปัจจัยความสำเร็จตามกรอบปัจจัยกำหนดสุขภาพ

ผู้มีส่วนร่วมในการดำเนินโครงการมีความรู้และทักษะในการใช้ระบบบริหารกองทุนออนไลน์ในระดับหนึ่งจากการเข้าร่วมทบทวนฝึกซ้อมการบันทึกโครงการปี 63 แต่ยังไม่เข้าใจหรือเห็นความสำคัญของการพัฒนาได้อย่างเต็มที่ และเมื่อเป็นการบันทึกย้อนหลัง โครงการที่บันทึกจึงยังไม่ครบถ้วน

 

2. 2. สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อความสำเร็จในการพัฒนาแผน/โครงการ (1) ใช้กรอบ Ottawa charter) 1. เกิดเครือข่ายในการสนับสนุนการทำงาน 2. มีหน่วยงานในท้องถิ่นเข้าร่วมสนับสนุน

เครือข่ายการสนับสนุนการทำงานมีเจ้าหน้าที่สาธารณสุขซึ่งเป็นสายงานตรงของพี่เลี้ยงโครงการเข้ามาเป็นเครือข่ายร่วมทำงาน แต่หน่วยงานด้านท้องถิ่นยังเข้ามามีส่วนร่วมไม่เต็มที่ เนื่องจากยังสับสนหรือไม่เข้าใจในบทบาทความสำคัญที่มีต่อโครงการบูรณาการฯ

 

3. 3. กลไก/ระบบ/กระบวนการดำเนินงานของโครงการ (1) ใช้กรอบ Ottawa charter) 1. จำนวนครั้งการจัดอบรมเพื่อเสริมความรู้และทักษะให้กับผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง 2. จำนวนคนที่เข้าร่วมในกระบวนการอบรมความรู้และเพิ่มพูนทักษะ 3. กระบวนการอบรมที่ทำให้ผู้เข้าร่วมมีความรู้และนำไปใช้ได้จริง 4. แผนการติดตามงาน 5. เกิดการสร้างการมีส่วนร่วมในทุกขั้นตอนการทำงาน
  1. มีการประชุมเพื่อชี้แจงโครงการ เสริมความรู้ และสร้างความเข้าใจการใช้ระบบบริหารกองทุนออนไลน์ของโครงการจำนวน 1 ครั้ง
  2. มีการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อทบทวนและฝึกซ้อมกานใช้ระบบบริหารกองทุนออนไลน์ของโครงการเพิ่มเติมอีก 2 ครั้ง 3) โครงการมีแผนการติดตามงานแต่เกิดสถานการณ์โรคโควิด 19 จึงทำให้ไม่สามารถติดตามได้ตามแผนที่วางไว้

 

4. ศึกษาปัจจัยนำเข้า (4) ใช้กรอบ CIPP) 1. กำหนดกลุ่มพี่เลี้ยงชัดเจนและมีจำนวนพี่เลี้ยงที่เหมาะสมกับปริมาณงาน 2. มีการใช้สถานที่อุปกรณ์ที่อำนวยความสะดวกในการจัดกิจกรรมในพื้นที่อย่างเหมาะสม 3.มีแผนการใช้งบประมาณอย่างชัดเจน 4. มีทุนทางสังคมที่เอื้อต่อการทำงาน 5.มีคู่มือและระบบบริหารกองทุนสุขภาพตำบลมาสนับสนุนการเรียนรู้
  1. มีพี่เลี้ยงโครงการใน อ.บางใหญ่ 1 ท่านทำหน้าที่ประสานงานและจัดกระบวนการให้เกิดการประชุม การอบรม รวมทั้ง เป็นวิทยากรด้วย การประสานงานใช้แบบไม่เป็นทางการและเป็นทางการผสมกัน
  2. มีระบบบริหารกองทุนออนไลน์ของมอ.
  3. มีการจัดทำคู่มือการใช้งาน ในเวปไซต์ที่ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถดาวน์โหลดมาอ่านได้

 

5. ศึกษาผลของการดำเนินโครงการ (4) ใช้กรอบ CIPP) 1. จำนวนแผนของกองทุนตำบลจำแนกตามประเด็นปัญหา 2. จำนวนโครงการที่ขอรับทุนจากกองทุนเป็นโครงการที่มีคุณภาพ 3. กองทุนตำบลมีแผนการติดตามประเมินผลผ่านระบบ online 4. จำนวนแผนบูรณาการตามประเด็นที่พชอ.ได้รับ 5. จำนวนโครงการระดับอำเภอที่มีการบูรณาการร่วมกัน 6. สถานการณ์ระบบสุขภาพชุมชนดีขึ้น
  1. มีการบันทึกแผนและโครงการตามประเด็นปัญหา จำนวน 40 แผน 53 โครงการ (เดือนกันยายน2563) ซึ่งเป็นแผน/โครงการที่ขอทุนจากกองทุนสุขภาพตำบลในปี 63 จึงยังขาดแผนเหล้าและบุหรี่
  2. ยังไม่เห็นความชัดเจนในเรื่องของคุณภาพโครงการ เนื่องจากเป็นการนำโครงการปี 63 บันทึกเข้าไปในระบบบริหารกองทุนออไลน์ของโครงการฯ
  3. ยังไม่มีการใช้ระบบบริหารกองทุนออนไลน์ใหม่นี้กับการติดตามโครงการ
  4. ยังไม่เกิดแผนบูรณาการกับ พชอ.
  5. ยังไม่มีโครงการระดับอำเภอที่บูรณาการร่วมกัน

 

5) อื่นๆ

 

5. การปรับปรุงทบทวนโครงการ

check_circle

 

1) ข้อเสนอเพื่อการทบทวนโครงการ
check_circle
  1. ต้องเพิ่มศักยภาพของคนที่ทำงานกองทุนเพิ่มขึ้น เพื่อให้การเขียนและดำเนินโครงการที่ขอทุนกองทุนสุขภาพท้องถิ่นมีคุณภาพมากขึ้น โดย การจัดอบรมให้เจ้าหน้าที่ที่เข้ามาทำงานใหม่ และการดึงคณะกรรมการกลั่นกรองโครงการให้เข้ามามีส่วนร่วมรับรู้และใช้ระบบบริหารกองทุนออนไลน์เพิ่มเติม รวมทั้งการจัดอบรมเพิ่มความรู้การเขียนโครงการที่มีประสิทธิภาพ ตั้งแต่การหาขนาดของปัญหา การวิเคราะห์ปัญหา และที่มาของปัญหา ประกอบกับมีทีมที่ปรึกษาที่เชี่ยวชาญด้านการเขียนโครงการเข้ามาร่วมเป็นวิทยากร
  2. ทำเวทีทบทวนแผนงานโครงการที่ขอทุนจากกองทุนสุขภาพตำบล โดยให้ท้องถิ่นเป็นเจ้าภาพในการจัดอบรมพัฒนาศักยภาพการเขียนโครงการ
  3. เสนอให้เพิ่มกระบวนการสร้างความเข้าใจในตัวโครงการบูรณาการตั้งแต่เริ่มต้น ชี้ให้เห็นประโยชน์ของโครงการอย่างชัดเจน และบทบาทความเกี่ยวข้องของบุคลากรที่เข้ามามีส่วนร่วมกับโครงการ
  4. เสนอให้คณะพี่เลี้ยงทำการติดตามการดำเนินงานกับผู้เกี่ยวข้องเพื่อร่วมแก้ไขปัญหาและกระตุ้นการทำงานร่วมกันปีละ 3 ครั้ง
  5. เสนอให้มีการจัดทำวิดิโอการใช้งานระบบริหารกองทุนออนไลน์ เพื่อให้สามารถศึกษา/ทบทวนการใช้งานด้วยตัวเองได้สะดวกและเข้าใจได้ง่ายขึ้นเพราะเห็นภาพเสมือนจริงจากวิดิโอ
  6. เสนอให้โครงการตั้งคณะทำงานในระดับตำบลที่ประกอบด้วย สาธารณสุข ท้องถิ่น และภาคประชาชน เข้ามาร่วมพัฒนาแผน/โครงการที่ขอทุนจากกองทุนสุขภาพระดับตำบล
  7. เสนอให้โครงการจัดเวทีในการถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์จากคนที่เคยทำงานแล้วประสบความสำเร็จมาแลกเปลี่ยนให้กับผู้ที่เข้ามาทำงานใหม่ๆ โดยเฉพาะการแลกเปลี่ยนวิธีการทำงาน กระบวนการทำงาน นวัตกรรมใหม่ๆ ด้านการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคในชุมชน
2) อื่นๆ

 

6. ได้มีการปรับปรุงทบทวนโครงการตามข้อ 5 หรือไม่?

check_circle

พี่เลี้ยงโครงการมีแผนนำข้อเสนอแนะในการทบทวนโครงการตามข้อ 5 ไปพิจารณาดำเนินการจัดปรับโครงการบูรณาการฯ ในระยะเวลาที่เหลือ

1) กลไกในการติดตามการปรับปรุงโครงการตามข้อเสนอแนะ
check_circle
  1. การกำหนดคณะติดตามและบทบาทที่ชัดเจน
  2. การกำหนดตัวชี้วัดในการติดตาม
  3. การกำหนดแนวทางในการติดตาม
2) วิธีการติดตาม การปรับปรุงโครงการตามข้อเสนอแนะ
check_circle
  1. การโทรศัพท์ติดตาม ให้กำลังใจ กับทีมพี่เลี้ยง
  2. การพบปะพูดคุยกับทีมพี่เลี้ยงเพื่อติดตามการปรับปรุง
3) อื่นๆ

 

สรุป

อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ

อภิปรายผล 1. จากผลที่พบว่าโครงการยังไม่ได้ขับเคลื่อน/บูรณการกลไกการพัฒนาในคณะกรรมการพชอ. เนื่องจากทีมทำงานของนนทบุรีให้ความสำคัญกับการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรในพื้นที่ก่อน เพื่อให้บุคลากรในพื้นที่มีความรู้ความสามารถที่จะเขียนโครงการที่มีคุณภาพ มีฐานข้อมูลที่จะสนับสนุนแผนของคณะกรรมการกองทุนในชุดต่อไป 2. ขั้นตอนการทำงานของโครงการบูรณาการฯ ไม่สามารถใช้ระบบบริหารกองทุนสุขภาพตำบลออนไลน์ในการพัฒนาโครงการในปี 2563 ได้ทัน จึงปรับแผนโดยการบันทึกข้อมูลโครงการที่ได้รับการอนุมัติแล้ว ซึ่งทำให้ผู้เกี่ยวข้องกับโครงการมีมุมมองทั้งเป็นโอกาสการพัฒนาและเป็นข้อจำกัด (โอกาสในการฝึกซ้อมการสร้างแผนและโครงการ ให้มีทักษะและความชำนาญ เพื่อรองรับการพัฒนาแผน/โครงการในปี 2564) และข้อจำกัด คือ การไม่เห็นความสำคัญของการสร้างแผน/พัฒนาโครงการกับโครงการที่ดำเนินการไปแล้ว 3. กระบวนการดำเนินโครงการ ผลผลิต ผลลัพธ์ที่พบว่ายังไม่เป็นไปตามแผนที่วางไว้ เนื่องจากพบอุปสรรค ปัญหา ที่ไม่คาดคิด ทำให้โครงการในระดับพื้นที่ไม่สามารถปรับตัวได้ทันต่อสถานการณ์ จึงต้องการกระบวนการวิเคราะห์สถานการณ์และการแก้ปัญหา จากผู้รับผิดชอบมาวางแผนการแก้ไขปัญหาร่วมกัน 4. จากข้อค้นพบว่าผู้เข้าร่วมโครงการส่วนหนึ่งไม่ทราบที่มาที่ไปของโครงการและโปรแกรมออนไลน์ ดังนั้นการสร้างความเข้าใจในประเด็นของความเป็นมาหรือกระบวนการในการสร้างระบบบริหารกองทุนทุนสุขภาพตำบลออนไลน์ วิธีการการดำเนินงาน และผลที่จะเกิดขึ้น จึงมีความหมายและความสำคัญกับผู้เข้าร่วมโครงการในทุกระดับ โดยหากทำให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีส่วนร่วมในขั้นตอนการพัฒนาเครื่องมือของโครงการในทุกๆ ขั้นตอน ก็จะทำให้เกิดความเข้าใจได้มากยิ่งขึ้น

ข้อเสนอแนะต่อแนวทางการพัฒนาโครงการบูรณาการฯ จากการเวทีการทบทวนร่างรายงาน 1. เสนอให้เพิ่มศักยภาพของคนที่ทำงานกองทุนเพิ่มขึ้น เพื่อให้การเขียนและดำเนินโครงการที่ขอทุนกองทุนสุขภาพท้องถิ่นมีคุณภาพมากขึ้น โดยการจัดอบรมให้เจ้าหน้าที่ที่เข้ามาทำงานใหม่ และการดึงคณะกรรมการกลั่นกรองโครงการให้เข้ามามีส่วนร่วมรับรู้และใช้ระบบบริหารกองทุนออนไลน์เพิ่มเติม รวมทั้งการจัดอบรมเพิ่มความรู้การเขียนโครงการที่มีประสิทธิภาพ ตั้งแต่การหาขนาดของปัญหา การวิเคราะห์ปัญหา และที่มาของปัญหา ประกอบกับมีทีมที่ปรึกษาที่เชี่ยวชาญด้านการเขียนโครงการเข้ามาร่วมเป็นวิทยากร 2. ทำเวทีทบทวนแผนงานโครงการที่ขอทุนจากกองทุนสุขภาพตำบล โดยให้ท้องถิ่นเป็นเจ้าภาพในการจัดอบรมพัฒนาศักยภาพการเขียนโครงการ 3. เสนอให้เพิ่มกระบวนการสร้างความเข้าใจในตัวโครงการบูรณาการตั้งแต่เริ่มต้น ชี้ให้เห็นประโยชน์ของโครงการอย่างชัดเจน และบทบาทความเกี่ยวข้องของบุคลากรที่เข้ามามีส่วนร่วมกับโครงการ 4. เสนอให้คณะพี่เลี้ยงทำการติดตามการดำเนินงานกับผู้เกี่ยวข้องเพื่อร่วมแก้ไขปัญหาและกระตุ้นการทำงานร่วมกันปีละ 3 ครั้ง
5. เสนอให้มีการจัดทำวิดิโอการใช้งานระบบริหารกองทุนออนไลน์ เพื่อให้สามารถศึกษา/ทบทวนการใช้งานด้วยตัวเองได้สะดวกและเข้าใจได้ง่ายขึ้นเพราะเห็นภาพเสมือนจริงจากวิดิโอ 6. เสนอให้โครงการตั้งคณะทำงานในระดับตำบลที่ประกอบด้วย สาธารณสุข ท้องถิ่น และภาคประชาชน เข้ามาร่วมพัฒนาแผน/โครงการที่ขอทุนจากกองทุนสุขภาพระดับตำบล
7. เสนอให้โครงการจัดเวทีในการถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์จากคนที่เคยทำงานแล้วประสบความสำเร็จมาแลกเปลี่ยนให้กับผู้ที่เข้ามาทำงานใหม่ๆ โดยเฉพาะการแลกเปลี่ยนวิธีการทำงาน กระบวนการทำงาน นวัตกรรมใหม่ๆ ด้านการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคในชุมชน

เอกสารอ้างอิง

 

เอกสารประกอบโครงการ