ยกระดับรายได้และคุณภาพชีวิตของชุมชนผ้าทอพื้นเมืองย้อมสีธรรมชาติ จังหวัดกาฬสินธุ์
ชื่อโครงการ | ยกระดับรายได้และคุณภาพชีวิตของชุมชนผ้าทอพื้นเมืองย้อมสีธรรมชาติ จังหวัดกาฬสินธุ์ |
รหัสโครงการ | |
วันที่อนุมัติ | 17 ธันวาคม 2562 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มกราคม 2563 - 31 สิงหาคม 2563 |
งบประมาณ | 355,520.00 บาท |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายธวัชชัย เคหะบาล |
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ | |
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ | |
พี่เลี้ยงโครงการ | สถาบันวิจัยและพัฒนา |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลคำบง อำเภอห้วยผึ้ง จังหวัดกาฬสินธุ์ |
ละติจูด-ลองจิจูด | 16.656863,103.844662place |
งวด | วันที่งวดโครงการ | วันที่งวดรายงาน | งบประมาณ (บาท) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
จากวันที่ | ถึงวันที่ | จากวันที่ | ถึงวันที่ | |||
1 | 1 ม.ค. 2563 | 31 มี.ค. 2563 | 74,220.00 | |||
2 | 1 เม.ย. 2563 | 30 มิ.ย. 2563 | 201,580.00 | |||
3 | 1 ก.ค. 2563 | 31 ส.ค. 2563 | 79,720.00 | |||
4 | 0.00 | |||||
รวมงบประมาณ | 355,520.00 |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด | |||
---|---|---|---|---|
1 | จำนวนทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสร์ (GI) ของพื้นที่ | 0.00 | ||
2 | รายได้ของเฉลี่ยของกลุ่มผู้ประกอบการในชุมชน (บาท) | 98,445.00 | ||
3 | ค่าเฉลี่ยคุณภาพชีวิตประชาชนแบบองค์รวม (ความสุข) | 7.77 |
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
จังหวัดกาฬสินธุ เปนจังหวัดที่มีปญหาความยากจนเรื้อรังติดต่อกันเป็นระยะเวลามากกวา 5 ปและจากขอมูลรายงานดัชนีความ กาวหนาของคน ป2560 ของสํานักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแหงชาติ (ขอมูล ป2559) จังหวัดกาฬสินธุมีประชากรที่อยูใตเสนความยากจนเปนอันดับที่ 4 ของประเทศ โดยจังหวัดกาฬสินธุมีสัดสวนคนจนอยูที่รอยละ 31.99 โดยมีแนวโนมที่มีสัดสวนคนจนเพิ่มสูงขึ้น จังหวัดกาฬสินธุไดจัดทําโครงการ Kalasin happiness Model โดยมีวัตถุประสงคเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตคนจนขั้นพื้นฐาน และ ยกระดับรายไดของประชาชน บนพื้นฐานความยั่งยืน และแตละปจะตองสามารถลดลงรอยละ 2.5 ตอปี จังหวัดกาฬสินธุมีรายไดจากการจําหนายผลิตภัณฑ OTOP เพิ่มขึ้นอยางตอเนื่องทุกปตั้งแตป 2558-2561 โดยปลาสุด 2561 มีรายไดจากการจําหนายสูงถึง 3,980.54 ลานบาท คิดเปนรอยละจากการเพิ่มขึ้นของมูลคาการจําหนาย เมื่อป2560 เทียบกับปปจจุบัน 2561 สูงขึ้นมากคิดเปนรอยละ 20.69 ปัจจุบันมีผลิตภัณฑที่ไดขึ้นทะเบียนสิ่งบงชี้ทางภูมิศาสตรจํานวน 2 ผลิตภัณฑ คือ ผาไหมแพรวา และขาวเหนียวเขาวง โดยผ้าไหมแพรวาสามารถสร้างรายได้ จากการจําหนายผาไหมแพรวาเพิ่มขึ้นอยางตอเนื่อง เมื่อพิจารณาการเติบโตของมูลคาการจําหนายจาก ป2557-ปี 2561 เพิ่มขึ้น เปน 211.57 ลานบาท คิดเปนรอยละที่เพิ่มขึ้นสูงถึง 206.39 หรือคิดเปนรอยละที่เพิ่มขึ้นสูงถึง 51.60 ตอป ส่วนข้าวเหนียวเขาวงในปี พ.ศ.2561 ก็มีมูลคาการจําหนายสูงถึง 247.46 ลานบาท จะเห็นได้ว่าผลิตภัณฑ์ที่ไดขึ้นทะเบียนสิ่งบงชี้ทางภูมิศาสตร์นั้น สามารถเพิ่มรายได้ให้แก่ประชาชนในพื้นที่ให้สูงขึ้นได้ ในปีงบประมาณ 2562 ที่ผ่านมาศูนย์ความเป็นเลิศด้านสิ่งทอพื้นเมืองแพรวากาฬสินธุ์ ได้จัดโครงการฟอกสี-ย้อมสี สิ่งทอพื้นบ้านให้มีมาตรฐาน โครงการย่อย ภูมิปัญญาผ้าทอพื้นเมือง ภายใต้โครงการ Kalasin City : Traditional and Creative Textiles. ผลการดำเนินงานพบว่า ผลิตภัณฑ์ผ้าทอย้อมมีธรรมชาติมีมาตรฐานสูงขึ้น ได้รับการรับรองตราสัญลักษณ์นกยูงพระราชทาน ราคาสินค้าเพิ่มสูงขึ้น เฉลี่ยเพิ่มขึ้นประมาณ 2.2 เท่า คิดเป็นร้อยละ 220 นอกจากนี้กลุ่มยังเป็นที่รู้จักของตลาดมากขึ้นจากผลงานการได้รับรางวัลจากการประกวดผ้าผู้ไทย ส่งผลให้มียอดสั่งซื้อผลิตภัณฑ์เพิ่มขึ้นกว่าเดิม ประมาณ ร้อยละ 20 นอกจากนี้จากการดำเนินงานได้ค้นพบศักยภาพและความโดดเด่นทางภูมิศาสตร์ คือผ้าพื้นเมืองย้อมสีธรรมชาติ โดยเฉพาะ ผ้าฝ้ายย้อมครามปลอดภัย ในเขตพื้นที่อำเภอห้วยผึ้ง นาคู เขาวง กุฉินารายณ์ และ คำม่วง ซึ่งเป็นเขตพื้นที่รอบเทือกเขาภูพานที่สามารถปลูกฝ้ายและครามที่มีคุณภาพสูง ปลอดภัยจากสารพิษ มีลวดลายการทอที่เป็นเอกลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ผู้ไท ผ้าฝ้ายย้อมครามในเขตพื้นที่ดังกล่าวนับวันจะมีมูลค่าสูงขึ้นมากกว่าร้อยละ 20 ต่อปี เกิดการเชื่อมโยงเครือข่ายห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) กับกลุ่มผู้ประกอบการOTOP ในอำเภออื่นๆ เช่น อำเภอเมือง อำเภอกมลาไสย ไปจนถึงต่างจังหวัด รวมถึงตัวแทนจำหน่ายรายใหญ่ภายในและต่างประเทศอย่างบริษัท King Power ที่ได้สั่งผลิตสินค้าที่ทำจากผ้าฝ้ายย้อมครามเพื่อนำไปจำหน่ายมากขึ้น ซึ่งจะเห็นได้ว่าผลิตภัณฑ์ดังกล่าวมีโอกาสที่จะยื่นจดทะเบียนสิ่งบงชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) ได้หากมีการผลักดันอย่างจริงจัง แต่ในขณะเดียวกันพื้นที่ยังประสบปัญหา เรื่อง ปัญหาการวางแผนการผลิตฝ้ายและครามที่มีปริมาณไม่เพียงพอ ปัญหาคุณภาพในการย้อม และความหลากหลายของลวดลายในการย้อม รวมถึงรูปแบบผลิตภัณฑ์ที่ส่วนใหญ่ยังไม่สอดคล้องกับความต้องการของตลาด และ มีช่องทางการตลาดที่ยังจำกัด
แต่อย่างไรก็ตามการพัฒนาเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตคนจนขั้นพื้นฐาน และ ยกระดับรายไดของประชาชน บน พื้นฐานความยั่งยืน หากแต่จะเน้นเพียงการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ ด้วยการเพิ่มรายได้เพียงอย่างเดียวอาจไม่พอเนื่องจากความยากจนมีเหตุปัจจัยที่ซับซ้อน แนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนจึงต้องอาศัยการคิดที่รอบด้านแบบองค์รวม รวมถึงสร้างความร่วมมือกันในหลายภาคส่วน กรณีศึกษาที่ดี หรือ Best Practice การพัฒนาชุมชนเชิงพื้นที่แบบองค์รวม ที่ประสบความสำเร็จของบริษัทเบทาโกร เรียกว่า ช่องสาลิกาโมเดล ต.ช่องสาริกา อ.พัฒนานิคม จ.ลพบุรี สามารถเป็นต้นแบบในการขยายผลได้ จากการนำแนวคิดและกระบวนการพัฒนาดังกล่าวมาใช้ เกิดผลลัพธ์ต่อชุมชน คือ 1. ด้านเศรษฐกิจ อาชีพหลัก (พืชหลัก) ทำให้เกษตรกรในตำบลช่องสาริกามีรายได้จากการประกอบอาชีพหลักเพิ่มขึ้นเกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น และเกษตรกรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมมาการปลูกพืชอย่างยั่งยืน 2.ด้านสุขภาพ คนในตำบลในช่องสาริกา “80 ปียังแจ๋ว มีตังค์ ยั่งยืน” มีการพัฒนาจากข้อมูลด้านสุขภาพ การพัฒนาศักยภาพบุคลากร(อสม.) และการพัฒนาระบบบริการสุขภาพ(กลไกหลัก) 3.ด้านสังคม ชุมชนมีกลไกลในการพัฒนาด้วยตนเอง เช่น การพัฒนาธนาคารพัฒนาหมู่บ้าน 4.ด้านการศึกษา โรงเรียนทำหน้าที่หลักของตนเองได้อย่างเต็มศักยภาพ และมีแผนงานช่วยเหลือชุมชนอย่างจริงจัง และต่อเนื่อง 5.สิ่งแวดล้อม ชุมชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในชุมชน ร่วมใช้ ร่วมรักษาทรัพยากรสิ่งแวดล้อม บทเรียนของหน่วยงานกิจกรรมเพื่อสังคม ภายใต้สำนักพัฒนาความยั่งยืนเครือเบทาโกร จะนำมาสู่โครงการยกระดับรายได้และคุณภาพชีวิตของชุมชนผ้าทอพื้นเมืองย้อมสีธรรมชาติ จังหวัดกาฬสินธุ์ ซึ่งใช้พื้นที่ 1 ชุมชน คือบ้านคำบง หมู่ 1 ตำบลคำบง อำเภอห้วยผึ้ง เป็นพื้นที่นำร่องยกระดับรายได้และคุณภาพชีวิตแบบองค์รวมในชุมชนผ้าทอพื้นเมืองย้อมสีธรรมชาติ โดยการประยุกต์แนวทางการพัฒนาชุมชนเชิงพื้นที่แบบองค์รวม (Holistic Area-based Community Development : HAB) ที่นำกระบวนเข้าพัฒนาชุมชน และแก้ไขปัญหาแบบทุกมิติ มีการขีดขอบเขตการพัฒนาที่ชัดเจน และมีกลยุทธ์ในการขับเคลื่อนแนวทางอย่างเป็นระบบ พร้อมสร้างเครือข่ายห่วงโซ่อุปทาน กับเครือข่ายชุมชนอื่นๆไปพร้อมกันด้วย
แผนงานยุทธศาสตร์ เกษตรสร้างมูลค่า
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | ผลักดันผ้าทอพื้นเมืองย้อมสีธรรมชาติในชุมชนให้ขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) จำนวนทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ของพื้นที่ (GI) |
0.00 | 1.00 |
2 | พัฒนาและยกระดับการจัดการผลิตภัณฑ์ผ้าทอพื้นเมืองย้อมสีธรรมชาติในชุมชนและเครือข่ายให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด รายได้ของเฉลี่ยของกลุ่มผู้ประกอบการในชุมชน (บาท) |
98445.00 | 108289.50 |
3 | ยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชนแบบองค์รวมด้านเศรษฐกิจ สุขภาพ การศึกษา สังคมและสิ่งแวดล้อม ในชุมชนผ้าทอพื้นเมืองย้อมสีธรรมชาติ ค่าเฉลี่ยคุณภาพชีวิตประชาชนในพื้นที่เพิ่มขึ้น |
7.77 | 8.00 |
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวนที่วางไว้(คน) | จำนวนที่เข้าร่วม(คน) | |
---|---|---|---|
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด | 100 | ||
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวนที่วางไว้(คน) | จำนวนที่เข้าร่วม(คน) | |
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | |||
ปฐมวัย (0-5 ปี) | - | ||
วัยเรียน (6-12 ปี) | 0 | ||
วัยรุ่น (13-15 ปี) | - | ||
เยาวชน (15-20 ปี) | - | ||
วัยทำงาน | 100 | 0 | |
ผู้สูงอายุ (60 ปีขึ้นไป) | - | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | |||
ผู้พิการ | - | ||
ผู้หญิง | - | ||
มุสลิม | - | ||
พระภิกษุ | - | ||
ชาติพันธุ์ | - | ||
ผู้ต้องขัง | - | ||
หลากหลายทางเพศ (LGBTIQ) | - | ||
กลุ่มด้อยโอกาส (คนไร้บ้าน, เด็กเร่ร่อน, เด็กกำพร้า, เด็กในสถานพินิจ ฯลฯ) | - | ||
แรงงานข้ามชาติ | - | ||
อื่น ๆ | - |
- ผ้าทอพื้นเมืองย้อมสีธรรมชาติในชุมชนได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์(GI)
- ผลิตภัณฑ์ผ้าทอพื้นเมืองย้อมสีธรรมชาติในชุมชนและเครือข่าย เกิดการพัฒนาและยกระดับการจัดการให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด
- คุณภาพชีวิตประชาชนแบบองค์รวมด้านเศรษฐกิจ สุขภาพ การศึกษา สังคมและสิ่งแวดล้อม ในชุมชนผ้าทอพื้นเมืองย้อมสีธรรมชาติ สูงขึ้น
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 มี.ค. 2563 10:14 น.