ระบบติดตามและประเมินผลโครงการ ( M&E Thailand )

directions_run

โครงการบูรณาการกลไกสุขภาพชุมชน เขต 12 อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส

แบบประเมินด้วยขั้นตอน HIA

บทคัดย่อ/บทนำ

บทคัดย่อ

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อเพิ่มการจัดทำแผนสุขภาพของกองทุนสุขภาพ (2) เพื่อเพิ่มคุณภาพโครงการที่ดีได้รับการสนับสนุนจากกองทุนสุขภาพตำบลนำร่องในอำเภอรือเสาะ (3) เพื่อเพิ่มการใช้ระบบติดตามประเมินผลโครงการของกองทุนสุขภาพตำบล (4) เพื่อให้เกิดการบูรณาการแผน 5 ประเด็นสำคัญใน พชอ.

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) การสร้างทีมและพัฒนาศักยภาพพี่เลี้ยงระดับพื้นที่ (2) การพัฒนาและปรับปรุงหลักสูตรพัฒนาทีมพี่เลี้ยง (3) พี่เลี้ยงพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการกองทุน เรื่องการทำแผนสุขภาพและระบบติดตามประเมินผล (4) ทีมประสานงานเขตประชุมร่วมเพื่อทำความเข้าใจกับ พชอ. (5) พี่เลี้ยงลงสนับสนุนและทบทวนการทำแผน และการพัฒนาโครงการ (6) การประเมินผลและติดตามโครงการกองทุนนำร่อง

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

คำสำคัญ

 

บทนำ

ข้อมูลจากสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ระบุสถานะของประเทศไทยในช่วง 5 ทศวรรษที่ผ่านมาว่าการพัฒนาเศรษฐกิจไทยประสบความสำเร็จในระดับที่น่าพอใจ ทั้งในด้านการขยายตัวทางเศรษฐกิจ เสถียรภาพ ทางเศรษฐกิจ และการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างการผลิต อย่างไรก็ตามในช่วง 8 ปีที่ผ่านมา ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฯ 10 และ 3 ปีแรกของแผนฯ 11 เศรษฐกิจชะลอตัวลงและเริ่มแสดงให้เห็นข้อจำกัดของการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ซึ่งทำให้เศรษฐกิจไทยมีความเสี่ยงที่จะตกอยู่ในฐานะประเทศรายได้ปานกลางอย่างถาวรมากขึ้น ด้านสังคมนั้น คนไทยมีความมั่นคงทางสังคมมากขึ้น แต่ยังมีปัญหาทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพของ ประชากรในทุกช่วงวัย โครงสร้างประชากรเปลี่ยนแปลงเข้าสู่การเป็นสังคมสูงวัยครัวเรือนโดยเฉลี่ยมีขนาดลดลงและมีรูปแบบหลากหลายชุมชนมีความเข้มแข็งสามารถแก้ปัญหาและสนองตอบความต้องการของชุมชนด้วยตนเองได้ดีขึ้น แต่สัดส่วนของชุมชนที่เข้มแข็งยังมีอยู่ไม่มากนัก รวมทั้งแนวคิดการพัฒนาจากภาครัฐยังเป็นลักษณะจากบนลงล่าง โดยมองชุมชนเป็นผู้ถูกพัฒนาสถานการณ์ความยากจนมีแนวโน้มลดลงแต่ยังคงมีความเหลื่อมล้ำของการกระจายรายได้ และความเหลื่อมล้ำระหวา่งกลุ่มคน นำไปสู่ความไม่เท่ากันของทุนที่มีในการพัฒนาศักยภาพคนและปัญหาความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพและสาธารณสุข คนไทยจึงยังเกิดปัญหาเชิงคุณภาพทั้งด้านสุขภาพ การเรียนรู้ และคุณธรรมจริยธรรม (ลดาวัลย์ ค้าภา, 2559; แผนปฏิรูปประเทศ, 2561) การพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน เพื่อส่งเสริมให้ชุมชน/ท้องถิ่นมีความเข้มแข็ง สามารถจัดการตนเองได้นั้น มี การดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องภายใต้ความรับผิดชอบและการสนับสนุนของทั้ง สปสช. สธ. และ สสส. มีการดำเนินงานของแผนสุขภาวะชุมชนมาอย่างต่อเนื่อง เกิดเป็นทุนทางสังคมและศักยภาพของภาคีเครือข่ายที่มีขีดความสามารถในการจัดการสุขภาวะทั้ง 4 มิติ: กาย ใจ ปัญญา สังคม ซึ่งเป็นพื้นฐานของการขับเคลื่อนแผนสุขภาวะชุมชน มีผลให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) จำนวน 2,816 แห่ง (ร้อยละ 35.85) เข้าร่วมเป็นภาคีเครือข่ายในการพัฒนารูปแบบการพัฒนาตำบลสุขภาวะ และรูปแบบการเรียนรู้และเกื้อกูลกันในลักษณะ “เครือข่าย” ที่สามารถกระตุ้นและส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาสุขภาวะชุมชนได้ ซึ่งผู้ขับเคลื่อนงานหลักมาจาก 4 ส่วน คือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น/ท้องที่ หน่วยงานรัฐ หน่วยบริการสุขภาพองค์กรชุมชนและภาคประชาชน รวมทั้งองค์กรภาคเอกชน ตลอดจนเครือข่ายกลุ่มองค์กรต่าง ๆ อย่างไรก็ตามผลการดำเนินงานระบบสุขภาพชุมชนในการสร้างความเข้มแข็งของชุมชนที่สะท้อนจากภาพรวมของบทวิเคราะห์สถานการณ์แผนปฏิรูปประเทศ พบว่าสัดส่วนของชุมชนที่เข้มแข็งยังมีอยู่ไม่มาก (แผนปฏิรูปประเทศด้านสังคม, 2561) ทั้งนี้อธิบายได้ว่าอาจมาจากข้อจำกัดของการบูรณาการการทำงานร่วมกันของหน่วยงานที่เป็นระบบและกลไกหลักในระบบสุขภาพชุมชน ทั้งในส่วนของ สสส.สปสช. และ สธ. ดังนั้นจึงมีการขยายความร่วมมือของกลไกที่มีอยู่ในระบบสุขภาพชุมชนเพิ่มขึ้น ทั้งของ สธ. ในส่วนกลไกคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับตำบล กลไกกองทุน หลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ของ สปสช. และกลไกสุขภาพภายใต้การดำเนินงานของ สสส. ในการดำเนินงานในพื้นที่ให้ครอบคลุม 77 จังหวัด รวมทั้งท้องถิ่นที่รับการถ่ายโอน รพ.สต. 51 แห่ง โดยใช้ฐานทุนเดิมของกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ ที่มีอยู่ในทุกตำบล ร่วมกับกลไกต่าง ๆ ในทุกพื้นที่ที่ทำงานใกล้ชิดกับประชาชน เพื่อเพิ่มศักยภาพของการดำเนินงานในระบบสุขภาพชุมชน ส่งผลให้คุณภาพชีวิตของประชาชนดีขึ้นอย่างทั่วถึงและครอบคลุม ภายใต้การใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า โดยในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส อำเภอรือเสาะ เป็นพื้นที่ที่มีผลการดำเนินงานทางด้านสร้างเสริมสุขภาวะที่ค่อนข้างประสบความสำเร็จ จึงทำให้เกิดผลการประเมินติดตามผลการดำเนินกิจกรรมขึ้นเพื่อศึกษาแนวทางการสร้างเสริมสุขภาวะในพื้นที่ดังกล่าวไปถ่ายทอดยังพื้นที่อื่น รวมทั้งให้ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน

หมายเหตุ
  • บทคัดย่อ/บทนำ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

แบบประเมิน HIA

1. การกลั่นกรองโครงการ

check_circle

การกลั่นกรอง (Screening) เป็นขั้นตอนแรกของการคัดเลือก โครงการ ว่าเข้าข่ายต้องทำ HIA หรือไม่ โดยพิจารณาจากความรุนแรงของแนวทางการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ ในระดับท้องถิ่น จำนวนประชากรที่ได้รับผลกระทบ ข้อมูลผลกระทบที่อาจ เกิดขึ้น โดยการทบทวนข้อมูลที่มีอยู่ และเอกสารที่เกี่ยวข้อง เมื่อพิจารณาแล้วว่าโครงการเข้าข่ายต้องทำ HIA จึงดำเนินกิจกรรมที่จำเป็นต่อการทำ HIA ต่อไป ได้แก่ การจัดตั้งทีมงาน HIA ซึ่งควรประกอบด้วยกลุ่มบุคคลที่มีความเชี่ยวชาญในหลากหลายสาขาที่มีความรู้และเกี่ยวข้องกับโครงการหรือกิจกรรมที่จะทำ HIA

1.1 วัตถุประสงค์

1) เพื่อให้ทราบผลและบอกถึงงานที่รับผิดชอบ
2) เพื่อให้เห็นแนวโน้ม เพื่อเตือนภัย
3) เพื่อเปลี่ยนพฤติกรรม และเข้าใจกระบวนการ
4) เพื่อลำดับความสำคัญ แปลง ปรับกลยุทธ์ สู่การปฎิบัติ
5) เพื่อเป็นเครื่องมือในการจัดการ ช่วยการควบคุม
6) เพื่อจัดสรรทรัพยากร
7) เพื่อการเรียนรู้ และรู้ขีดความสามารถ
check_circle
8) เพื่อเปรียบเทียบ ปรับปรุงและพัฒนา
9) เพื่อช่วยเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กร
10) เพื่อให้รางวัล เพื่อจูงใจ
11) อื่นๆ (ระบุรายละเอียด)
check_circle

เพื่อศึกษากลไกการดำเนินงานของคณะทำงานฯ (คณะกรรมการ พชอ., คณะกรรมการกองทุนฯ, พี่เลี้ยงเขต, พี่เลี้ยงพืนที่)

1.2 วิธีการ (ระบุรายละเอียดทำอะไร กับใคร กี่คน ผลสรุป)

1) ประชุมทีมประเมิน
check_circle

ประเด็นในการประชุมทีม 1. พิจารณาโครงสร้างข้อคำถาม ได้แก่ ข้อคำถามเกี่ยวกับกิจกรรมการดำเนินงานสุขภาพภายในพื้นที่ กรอบของการประเมินภายใต้ความคิดเห็นของ Stakeholders 2. พิจารณากลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ คณะกรรมการ พชอ. พี่เลี้ยงระดับจังหวัด คณะกรรมการกองทุนสุขภาพ จำนวน 4 คน ดำเนินการสัมภาษณ์ทีละกลุ่ม ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับโครงการบูรณาการ

2) ประชุมร่วมกับโครงการ

 

3) ประชุมร่วมกับโครงการและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
check_circle

ในการลงพื้นที่เพื่อประชุมร่วมกับโครงการและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ทีมประเมินได้ลงพื้นที่โดยแบ่งช่วงวันเวลาที่ต่างกันระหว่าง การประชุมทีมคณะกรรมการ พชอ. พี่เลี้ยงระดับจังหวัด และคณะกรรมการกองทุนสุขภาพ โดยทีมประเมินได้มีการนำเอกสารโครงการบูรณาการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะและพัฒนากลไกสุขภาวะระดับพื้นที่ ประกอบการสัมภาษณ์ในเบื้องต้น เพื่อนำเรียนหารือสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องตรงกันระหว่างผู้ประเมินและผู้ปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง ในเรื่องของวัตถุประสงค์ของการเข้ามาประเมิน และขั้นตอนการประเมิน คือการกลั่นกรองโครงการที่ต้องทราบถึงผู้ที่เกี่ยวข้องว่าประกอบไปด้วยใครอย่างไรบ้าง โดยผลการประเมินที่ได้จะนำไปสู่กระบวนการปรับปรุงพัฒนาต่อไป เมื่อได้นำเรียนหารือร่วมกันในลักษณะของการสัมภาษณ์ในขั้นต้นแล้วนั้น พบว่า ควรมีการประเมินโครงการบูรณาการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะและพัฒนากลไกสุขภาวะระดับพื้นที่ อำเภอรือเสาะ เพื่อนำผลการประเมินไปพัฒนาและปรับปรุงกลไกการดำเนินงานจัดทำแผนตามแนวทางของโครงการบูรณาการขับเคลื่อนฯ ในครั้งถัดไป และผลการประเมินในครั้งนี้ทำให้ทราบถึงโครงการต่างๆ ที่ดำเนินงานในกองทุนสุขภาพฯ ของพื้นที่อำเภอรือเสาะ โดยผู้ประเมินจะนำความรู้ ความเข้าใจไปช่วยเหลือทีมงานให้ขับเคลื่อนโครงการที่ยังไม่แล้วเสร็จตามกระบวนการ สามารถนำมาปรับปรุงแก้ไขและทำให้แล้วเสร็จ จนกระทั่งสามารถลงข้อมูลในระบบได้อย่างถูกต้องครบถ้วน เนื่องจากการประเมินนั้น สามารถทำได้ทั้ง ก่อนดำเนินโครงการ ระหว่างดำเนินโครงการ และหลังเสร็จสิ้นโครงการ ซึ่งทั้งหมดจากการเข้าทำความเข้าใจร่วมกันในข้างต้น จึงทำให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีความเข้าใจและเต็มใจที่จะรับการประเมิน ซึ่งถือได้ว่า เป็นการ Empowerment ที่เกิดเป็นรูปธรรมได้เป็นอย่างดี ซึ่งในการประชุมนั้นประกอบไปด้วยผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ดังนี้ 1. ทีมคณะกรรมการ พชอ. จำนวน 1 คน 2. พี่เลี้ยงในพื้นที่ จำนวน 2 คน 3. คณะกรรมการกองทุนสุขภาพ จำนวน 1 คน/1 กองทุน 4. คณะกรรมการพี่เลี้ยง

4) อื่นๆ (ระบุรายละเอียด)

 

1.3 เครื่องมือ

1) เครื่องมือที่ใช้ในขั้นตอนการกลั่นกรอง (ระบุรายละเอียดเครื่องมือ เช่น แนวคำถามในการประชุมกลุ่ม)
check_circle

ใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง เช่น ข้อคำถามเกี่ยวกับกิจกรรมการดำเนินงานสุขภาพภายในพื้นที่ กรอบของการประเมินภายใต้ความคิดเห็นของ Stakeholders 1. คณะกรรมการ พชอ. ถามเกี่ยวกับ กิจกรรมการดำเนินงานสุขภาพภายในพื้นที่ ควรจะประเมินประเด็นอะไรบ้าง 2. พี่เลี้ยงในพื้นที่ ถามเกี่ยวกับ การนำความรู้ที่ได้รับการพัฒนาศักยภาพฯในการนำมาประยุกต์ใช้ในบทบาทหน้าที่ของตน 3. คณะกรรมการกองทุน ถามเกี่ยวกับ แผนงานของกองทุนมีอะไรบ้าง การได้รับการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงอย่างไรบ้าง

1.4 ผลที่ได้

1) ผลที่ได้ในขั้นตอนการกลั่นกรอง
check_circle
  1. ได้ข้อมูลในการวางแผนกำหนดขอบเขต
  2. พัฒนาเครื่องมือตามกรอบแนวคิดปัจจัยสุขภาพ
  3. ได้ขอบเขตของการกำหนด Stakeholders

2. การกำหนดขอบเขต

check_circle

การกำหนดขอบเขต (Scoping) เป็นการกำหนดขอบเขตทั้ง ในเชิงพื้นที่ กลุ่มประชากรเป้าหมาย ระยะเวลา และการบ่งชี้ผลกระทบต่อ สุขภาพต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น

1) วิธีการในการกำหนดขอบเขต
check_circle
  1. จัดประชุมทีมเพื่อกำหนดขอบเขต วิเคราะห์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อหาบุคคลที่เป็นผู้ดำเนินงานหลักในการขับเคลื่อนโครงการทั้งระบบ โดยพิจารณาถึงบุคคลที่สามารถเป็นผู้ให้ข้อมูลหลักและผู้ให้ข้อมูลหนุนเสริม
  2. ประเมินคุณภาพแผนงานของชุมชนที่เชื่อมโยงกับแผน และโครงการสร้างเสริมสร้างสุขภาวะในกองทุนหลักประกันสุขภาพ
2) ผู้เข้าร่วมกำหนดขอบเขต
check_circle

ประชุมทีมคณะกรรมการ พชอ. จำนวน 1 คน พี่เลี้ยงระดับจังหวัด จำนวน 2 คน พี่เลี้ยงเขต จำนวน 1 คน คณะกรรมการกองทุนสุขภาพ จำนวน 1 คน/1กองทุน

3) เครื่องมือที่ใช้
check_circle

ในการออกแบบเครื่องมือ ทีมประเมินได้มีการทบทวนเอกสารตามกรอบที่กำหนดร่วมกันตามมติที่ประชุม และได้มีการนำกรอบเครื่องมือนั้นมาทบทวนอีกครั้งในทีมประเมิน เพื่อให้ครอบคลุมตามกรอบแนวคิดปัจจัยกำหนดสุขภาพเพื่อกำหนดออกมาเป็นข้อคำถามให้สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ และเมื่อได้ข้อสรุป ได้นำเครื่องมือนั้นมาทบทวนร่วมกับ คณะกรรมการ พชอ. พี่เลี้ยงระดับเขต พี่เลี้ยงระดับพื้นที่ และคณะกรรมการกองทุน ซึ่งแสดงให้เห็นถึงกระบวนการมีส่วนร่วมในการสร้างเครื่องมือร่วมกันระหว่างทีมประเมินและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จากกระบวนการดังกล่าว ได้บทสรุปของเครื่องมือดังรายละเอียด 1. แบบสัมภาษณ์ประกอบไปด้วย 1.1 พี่เลี้ยงเขต (1) มีวิธีการคัดเลือกทีมงานพี่เลี้ยงระดับพื้นที่อย่างไร (2) มีวิธีการในการดำเนินงานตามกิจกรรมเพื่อพัฒนาพี่เลี้ยงในพื้นที่อย่างไร (3) ท่านมีปัญหาและอุปสรรค ในการดำเนินงานตามกิจกรรมเพื่อพัฒนาพี่เลี้ยงในพื้นที่อย่างไร (4) ท่านมีข้อเสนอแนะ ในการดำเนินงานตามกิจกรรมเพื่อพัฒนาพี่เลี้ยงในพื้นที่หรือไม่อย่างไร (5) พี่เลี้ยงเขตได้รับการสนับสนุนจาก สนส. อย่างไรบ้าง 1.2 พี่เลี้ยงพื้นที่ (1) พี่เลี้ยงมีความเข้าใจเกี่ยวกับโครงการบูรณาการนี้อย่างไรบ้าง (2) พี่เลี้ยงพื้นที่ได้รับการพัฒนาจากพี่เลี้ยงเขต เพื่อเพิ่มศักยภาพในการดำเนินงานในการเป็นพี่เลี้ยงเพื่อขับเคลื่อนการเกิดแผนพัฒนาใน พชอ. (คู่มือ web site หลักสูตรการอบรม) (3) พี่เลี้ยงเขต มีการสนับสนุน ส่งเสริมให้พี่เลี้ยงพื้นที่ ดำเนินงานในการเป็นพี่เลี้ยงเพื่อขับเคลื่อนการเกิดแผนพัฒนาใน พชอ. ให้สำเร็จยิ่งขึ้นอย่างไรบ้าง (4) พี่เลี้ยงพื้นที่มีแนวทางในการนำ พชอ. กับ คณะกรรมการกองทุน ฯ เชื่อมโยงการทำงานอย่างไร 1.3 พชอ. (คณะกรรมการการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ) (1) คณะทำงาน พชอ. ได้รับการส่งเสริมจากพี่เลี้ยงพื้นที่และหรือพี่เลี้ยงเขต ในการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตใน พชอ. อย่างไร (2) พี่เลี้ยงพื้นที่ และพี่เลี้ยงเขต มีบทบาทในการดำเนินการในพัฒนาแผน พชอ. อย่างไรบ้าง /มีการประชุมทำความเข้าใจและความร่วมมือกับ พชอ.อย่างไร (3) คณะทำงาน พชอ. มีแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตในการดำเนินงานที่เชื่อมโยงกับกองทุนสุขภาพอย่างไรบ้าง/พชอ.ได้มีแผนบูรณาการตามประเด็นอย่างไรบ้าง (4) พี่เลี้ยงพื้นที่มีการส่งเสริมการมีส่วนร่วมระหว่าง พชอ. กับ กองทุนฯ อย่างไร (5) คณะทำงาน พชอ. มีแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตคนในพื้นที่อำเภอรือเสาะ อะไรบ้าง (เน้น 5 แผนงาน : เหล้า บุหรี่ ยาเสพติด อาหาร กิจกรรมทางกาย) (6) จากข้อ 5 (ถ้ามี) การดำเนินงานจากแผนพัฒนาคุณภาพชีวิต มีปัญหา อุปสรรค ข้อเด่น อย่างไร (7) คณะทำงาน พชอ. มีการประเมินผลงานตามแผนงานแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างไร (8) คณะกรรมการ พชอ. ใช้ประโยชน์จากฐานข้อมูล (web site คู่มือ web site รายงานผล) หรือไม่อย่างไร/มีฐานข้อมูลสถาการณ์ และแผนงานระดับตำบลและอำเภอหรือไม่ (9) ในภาพรวมสถานการณ์สุขภาพชุมชนดีขึ้นหรือไม่ (10) การดำเนินโครงการระดับอำเภอมีการบูรณาการร่วมกันอย่างไร ถ้าไม่ใช่ในกรณีฉุกเฉิน 1.4 คณะกรรมการกองทุนฯ (1) คณะกรรมการกองทุนฯ ได้รับการส่งเสริมจากพี่เลี้ยงพื้นที่ (ทรัพยากร) ในการจัดทำแผนพัฒนาในกองทุนฯ อย่างไร (2) คณะกรรมการกองทุนฯ นอกเหนือโดยตำแหน่งคัดเลือกได้มาอย่างไร (3) พี่เลี้ยงพื้นที่มีการส่งเสริมการมีส่วนร่วมระหว่าง กองทุนฯ กับ พชอ. อย่างไร (4) คณะทำงานกองทุนฯ. มีแนวทางหรือวิธีการในการพัฒนาโครงการที่เสนอของบประมาณกองทุนอย่างไร (เน้น 5 แผนงาน : เหล้า บุหรี่ ยาเสพติด อาหาร กิจกรรมทางกาย) (5) โครงการที่เสนอของบประมาณกองทุน มีปัญหา อุปสรรค ข้อเด่น (ความเข้มแข็งของคนในชุมชน) งบประมาณเพียงพอหรือไม่อะไรบ้าง (6) คณะกรรมการกองทุนได้ใช้งานฐานข้อมูล (web site คู่มือ web site รายงานผล) หรือไม่อย่างไร (ถ้าใช้ มีปัญหาอุปสรรคอย่างไร)

4) กรอบแนวคิด

1) ใช้กรอบ Ottawa charter
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดเครื่องมือกลุ่มผู้ให้ข้อมูล
2) ใช้กรอบ ปัจจัยกำหนดสุขภาพ
check_circle
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดเครื่องมือกลุ่มผู้ให้ข้อมูล
คน
  1. มีความรู้ ความสามารถในการเขียนแผน
  2. มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิดการสร้างเสริมสุขภาพ
  3. มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการทำงานของคณะทำงาน
  1. แบบสัมภาษณ์
  2. แผนงาน พชอ.
  3. แผนงาน กองทุน
  4. ตัวอย่างโครงการที่ของบจากกองทุน
  1. คณะกรรมการ พชอ
  2. คณะกรรมการกองทุน
  3. พี่เลี้ยงเขต
  4. พี่เลี้ยงพื้นที่
สิ่งแวดล้อม
  1. การใช้งานระบบออนไลน์ และคู่มือการใช้งานระบบรายงานผลโครงการ
  2. การมีส่วนร่วมของคนในชุมชน
  1. การสังเกตการณ์
  2. แบบสัมภาษณ์
  1. คณะกรรมการ พชอ.
  2. คณะกรรมการกองทุน
  3. พี่เลี้ยงเขต
  4. พี่เลี้ยงพื้นที่
ระบบ กลไก
  1. กระบวนการทำงานของคณะกรรมการของ พชอ.
  2. กระบวนการทำงานของคณะกรรมการกองทุน
  3. กระบวนการการทำงานของพี่เลี้ยงในพื้นที่
  4. ช่องทางการสื่อสารและกระบวนการสื่อสารงานระหว่างคณะทำงาน
  5. กระบวนการทำงานของพี่เลี้ยงเขต
  6. กระบวนการเชื่อมโยงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (พชอ. คณะกรรมการกองทุนฯ พี่เลี้ยงเขต พี่เลี้ยงพื้นที่)
  1. การทบทวนเอกสารโครงการสุขภาพในพื้นที่
  2. แผนงาน พชอ. แผนงานกองทุน
  3. แบบสัมภาษณ์
  1. คณะกรรมการ พชอ.
  2. คณะกรรมการกองทุน
  3. พี่เลี้ยงพื้นที่
  4. พี่เลี้ยงเขต
3) ใช้กรอบ Balance Score Card
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดเครื่องมือกลุ่มผู้ให้ข้อมูล
4) ใช้กรอบ CIPP
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดเครื่องมือกลุ่มผู้ให้ข้อมูล
5) อื่นๆ
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดเครื่องมือกลุ่มผู้ให้ข้อมูล

3. ลงมือประเมิน

check_circle

การประเมินผลกระทบ (Appraisal) เป็นการประเมินผล กระทบที่ได้ระบุไว้ในขั้นตอนการกำหนดขอบเขต โดยวิเคราะห์ทั้งในเชิงบวก และเชิงลบ และจัดลำดับความสำคัญของผลกระทบ เพื่อนำมากำหนด มาตรการป้องกันและลดผลกระทบต่อสุขภาพ และมาตรการติดตามตรวจสอบ

1) กระบวนการเก็บข้อมูลโดยการมีส่วนร่วม (ระบุรายละเอียด)
check_circle

ในกระบวนการเก็บข้อมูล ได้มีการโทรประสานงานนัดหมายกับกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อแจ้งกำหนดการวันเวลาในการเข้าสัมภาษณ์และรายละเอียดต่าง ๆ ที่จะสัมภาษณ์ เพื่อให้ผู้ถูกสัมภาษณ์ได้มีการเตรียมการหรือเตรียมข้อมูลต่าง ๆ ที่จะต้องให้คำตอบตามประเด็นต่าง ๆ ที่ได้แจ้งไว้เป็นล่วงหน้าแล้ว นอกจากนี้นั้น กระบวนการในการเก็บข้อมูลเป็นไปในลักษณะของการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง และเป็นไปในลักษณะของการสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการ เพื่อสร้างความผ่อนคลายและเป็นกันเอง ตลอดจนเป็นส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมสร้าง สร้างความเป็นทีมเดียวกัน โดยทีมผู้ประเมินพยายามสร้างบรรยากาศและสร้างความสัมพันธ์ให้เป็นไปในลักษณะของการตอบคำถาม ที่เป็นเป็นเรื่องเล่า โดยให้แต่ละกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้เล่าเรื่องราวสถานการณ์ในพื้นที่ ของแต่ละกลุ่มผู้ส่วนได้ส่วนเสียในการดำเนินงานของตน รวมทั้งทีมประเมินเองได้มีการชี้แจงทำความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาทของผู้ประเมินในการเสริมสร้างพลังทางบวกในการดำเนินงานในพื้นที่ร่วมกันให้สำเร็จ

2) กระบวนการวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูล (ระบุรายละเอียด)
check_circle

เชิงคุณภาพ : ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis)

3) ผู้มีส่วนร่วมในการประเมิน (ระบุรายละเอียด)
check_circle

คณะกรรมการ พชอ. จำนวน 1 คน พี่เลี้ยงในพื้นที่ จำนวน 2 คน พี่เลี้ยงเขต จำนวน 1 คน คณะกรรมการกองทุนสุขภาพ จำนวน 1 คน/1กองทุน

4) ผลการประเมิน (เรียงตามตัวชี้วัดที่กำหนดในขั้นตอน scoping)
check_circle
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดผลการประเมินหมายเหตุ
1. คน (2) ใช้กรอบ ปัจจัยกำหนดสุขภาพ) มีความรู้ ความสามารถในการเขียนแผน

1.คณะกรรมการ พชอ. : คณะกรรมการ พชอ. มีเพียงบางส่วนเท่านั้นที่มีความรู้ความเข้าใจในโครงการบูรณาการฯ
2. พี่เลี้ยงพื้นที่ที่ได้รับการพัฒนาศักยภาพในการเรียนรู้โครงการบูรณาการฯ ขาดความต่อเนื่อง เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงผู้รับผิดชอบตลอดเวลา 3. คณะกรรมการกองทุน: มีความรู้ในการจัดทำแผนงานฯ เพื่อดำเนินโครงการตามประเด็นในพื้นที่ ที่ต้องการเท่านั้น 4. พี่เลี้ยงเขต มีความรู้ในการจัดแผน การออกแบบโครงการ และการถอดบทเรียนในการทำงานโดยจัดทำเป็นหลักสูตรในการพัฒนาศักยภาพให้พี่เลี้ยงจังหวัดและพี่เลี้ยงในพื้นที่ต่อไป

พี่เลี้ยงพื้นที่มีความรู้ ความเข้าใจแต่ไม่มีอำนาจในการสั่งการเพื่อจัดทำแผนฯ

2. คน (2) ใช้กรอบ ปัจจัยกำหนดสุขภาพ) มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิดการสร้างเสริมสุขภาพ

1.คณะกรรมการ พชอ. : มีความรู้เฉพาะบางคน เพราะคณะกรรมการโดยส่วนใหญ่มักอยู่ในตำแหน่งบริหาร 2. พี่เลี้ยงเขต : มีความรู้ โดยมีการผลักดันในกองทุนสุขภาพตำบลจัดทำแผนในด้าน สุขภาพกาย สุขภาพจิต สุขภาวะสังคม และสุขภาวะทางปัญญา

 

3. คน (2) ใช้กรอบ ปัจจัยกำหนดสุขภาพ) มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการทำงานของคณะทำงาน

1.พี่เลี้ยงเขต : มีความรู้ แต่การดำเนินงานที่ผ่านมาไม่มีการประสานงานโดยตรงระหว่างพี่เลี้ยงเขต กับ พชอ. อาศัยการขับเคลื่อนการทำงานของพี่เลี้ยงจังหวัดและพี่เลี้ยงพื้นที่เท่านั้น

 

4. สิ่งแวดล้อม (2) ใช้กรอบ ปัจจัยกำหนดสุขภาพ) การใช้งานระบบออนไลน์ และคู่มือการใช้งานระบบรายงานผลโครงการ
  1. มีการกอกข้อมูลในระบบแต่ไม่ครบถ้วน
  2. คณะกรรมการกองทุน : คู่มือสามารถนำไปใช้ในการจัดทำแผนและเขียนโครงการของกองทุน โดยผู้ที่ใช้คือพี่เลี้ยงพื้นที่กับผู้ที่ขอโครงการ
  3. พี่เลี้ยงเขต : ใช้สำหรับการตรวจสอบและติดตามรายงานของโครงการตามแผนงานของกองทุน ในระบบ เพื่อตรวจสอบการดำเนินงานและนำข้อมูลในการวางแผนต่อไป

 

5. สิ่งแวดล้อม (2) ใช้กรอบ ปัจจัยกำหนดสุขภาพ) การมีส่วนร่วมของคนในชุมชน

1.กระบวนการมีส่วนร่วมในชุมชน ตัวอย่างเช่น การมีโรงเรียนกีฬา โดยที่นักเรียนที่จะสามารถเข้าเรียนในโรงเรียนกีฬาได้ จะต้องผ่านการตรวจสุขภาพจากโรงพยาบาลก่อน ซึ่งถือเป็นการคัดกรองในเรื่องของยาเสพติดได้เป็นอย่างดี สื่อให้เห็นถึงการปลอดยาเสพติดของเยาวชน 2.มีกลุ่มแกนนำโดยมาจากภาคประชาชน ชมรมโต๊ะอีหม่าน เครือข่ายปลัดอำเภอ เครือข่ายบัณฑิตอาสา กองทุนตำบล สำนักงานการศึกษาเอกชน สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ มีกลุ่มชุมชนที่เข้มแข็ง มีกระบวนการเรียนรู้จากการดำเนินกิจกรรมในชุมชน

 

6. ระบบ กลไก (2) ใช้กรอบ ปัจจัยกำหนดสุขภาพ) กระบวนการทำงานของคณะกรรมการของ พชอ.
  1. มีกระบวนการทำงานที่ชัดเจน เฉพาะการดำเนินโครงการระดับอำเภอที่มีการบูรณาการร่วมกัน อย่างเช่น สถานการณ์โควิด โครงการระดับอำเภอ เช่น โครงการวิ่ง ปั่น ซึ่งอำเภอรือเสาะเน้นนโยบายเป็นเมืองแห่งกีฬา จึงเกิดการขับเคลื่อนร่วมกันในระดับอำเภอ และในปี 2564 จะขับเคลื่อนไปสู่เมืองแห่งกีฬา จะเห็นได้การเกิดการขับเคลื่อนร่วมกัน มักเกิดจากสถานการณ์เร่งด่วน หรือเกิดนโยบายเป็นสำคัญ 2.คณะกรรมการของ พชอ. (บางท่าน) มีบทบาทในการขับเคลื่อนเพื่อพัฒนาสุขภาวะคนในพื้นที่อย่างไม่เป็นทางการ โดยมีการเชื่อมโยงการทำงานของทีมพี่เลี้ยงในพื้นที่ นำไปสู่กิจกรรมโครงการที่ได้รับการสนับสนุนจากกองทุนสุขภาพ ยกตัวอย่าง คณะกรรมการ พชอ. เริ่มต้นจากการสร้างสัมพันธภาพกับทีมพี่เลี้ยงในพื้นที่ ในรูปแบบการศึกษาดูงาน จากนั้นพี่เลี้ยงในพื้นที่ ซึ่งมีศักยภาพในการรวมกลุ่มคนให้มีจัดตั้งเป็นชมรม เพื่อขอทุนกองทุนสุขภาพในการทำโครงการในพื้นที่ และคณะกรรมการกองทุนมีทีมพี่เลี้ยงเพื่อดูแลผู้ที่มีหน้าที่เขียนโครงการ เพื่อความถูกต้องสมบูรณ์ของโครงการ

 

7. ระบบ กลไก (2) ใช้กรอบ ปัจจัยกำหนดสุขภาพ) กระบวนการทำงานของคณะกรรมการกองทุน

คณะกรรมการ พชอ. : กองทุนมีแผนตามประเด็นปัญหาครบทั้ง 5 ด้าน แต่เมื่อพิจารณาในแต่ละกองทุน กลับพบว่าจะมีเพียงบางประเด็นปัญหาเท่านั้น เนื่องจากประเด็นปัญหาที่จัดทำไม่ได้เกิดจากประเด็นปัญหาของกองทุน แต่เกิดจากสถานการณ์ของพื้นที่ ที่บังเอิญสอดคล้องกับแผนของกองทุนใน 5 ด้าน เช่น กองทุนของเทศบาลรือเสาะ มีนโยบายให้เป็นเมืองแห้งกีฬา ซึ่งสอดคล้องกับกิจกรรม 1 ใน 5 ด้านของแผนกองทุน (กิจกรรมทางกาย) โครงการกิจกรรมของบางกองทุนขึ้นอยู่กับบริบทของพื้นที่ เช่น การทำเรื่องของอาหารปลอดภัย ขึ้นอยู่ภายใต้กองทุน………กลุ่มลุ่มแม่น้ำสายบุรี

 

8. ระบบ กลไก (2) ใช้กรอบ ปัจจัยกำหนดสุขภาพ) กระบวนการการทำงานของพี่เลี้ยงในพื้นที่
  1. พี่เลี้ยงพื้นที่ได้มีการจัดประชุมพัฒนาศักยภาพกรรมการกองทุนในการเขียนโครงการ และพี่เลี้ยงยังทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาให้กับคณะกรรมการกองทุน แต่ได้เพียงบางกองทุนเท่านั้น (เนื่องจากเหตุผลข้างต้นคือ การเข้าร่วมหลักสูตรของพื้นที่ขาดความต่อเนื่อง)
  2. กระบวนการทำงานของพี่เลี้ยงจังหวัดไม่เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด ด้วยข้อจำกัดหลายประเด็นเช่น พี่เลี้ยงขาดศักยภาพด้านวิชาการ ขาดการบรูณาการการทำงานร่วมกันระหว่างพี่เลี้ยงเขต กองทุน พชอ. และ ขาดการติดตามประเมินผลการดำเนินกิจกรรมของพี่เลี้ยงพื้นที่กับกองทุน

 

9. ระบบ กลไก (2) ใช้กรอบ ปัจจัยกำหนดสุขภาพ) ช่องทางการสื่อสารและกระบวนการสื่อสารงานระหว่างคณะทำงาน

มีการสื่อสารระหว่างคณะกรรมการ พชอ. บางท่านกับพี่เลี้ยงในพื้นที่ ในการดำเนินกิจกรรมตามประเด็นในพื้นที่

 

10. ระบบ กลไก (2) ใช้กรอบ ปัจจัยกำหนดสุขภาพ) กระบวนการทำงานของพี่เลี้ยงเขต
  1. พี่เลี้ยงเขต ได้มีการคัดเลือกพี่เลี้ยงจังหวัด และพี่เลี้ยงพื้นที่ โดยใช้เกณฑ์ความสมัครใจ โดยทุกหน่วยงานสามารถสมัครเป็นพี่เลี้ยงได้ พบว่าพี่เลี้ยงจังหวัดที่เข้าร่วม จะมีหลากหลายหน่วยงาน เช่น ผอ.กองสาธารณสุขอำเภอ เจ้าหน้าที่ใน รพ.สต ภาคประชาชน และภาคท้องถิ่น โดยสัดส่วนพี่เลี้ยงกับจำนวนกองทุนสัดส่วนครบตามเกณฑ์
  2. หลักสูตรการพัฒนาศักยภาพพี่เลี้ยงจังหวัด ประกอบด้วย (1) การทำแผนผ่าน web (2) การออกแบบโครงการ และ (3) การถอดบทเรียนประเมินโครงการ ไม่ครอบคลุมกระบวนการสร้างศักยภาพพี่เลี้ยงจังหวัดในการช่วยเหลือในการจัดทำแผนกองทุนฯ

1.หลักสูตรในการพัฒนาศักยภาพพี่เลี้ยงจังหวัด ควรเพิ่มเนื้อหากระบวนการจัดทำแผน 2.

11. ระบบ กลไก (2) ใช้กรอบ ปัจจัยกำหนดสุขภาพ) กระบวนการเชื่อมโยงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (พชอ. คณะกรรมการกองทุนฯ พี่เลี้ยงเขต พี่เลี้ยงพื้นที่)
  1. ขาดความเชื่อมโยงและการบรูณาการระหว่างพชอ.กับกองทุน

 

5) อื่นๆ

 

4. ทบทวนรายงานการประเมินว่าถูกต้องหรือไม่?

check_circle

การจัดทำรายงานและข้อเสนอแนะ (Reporting and Recommendations) เป็นการสรุปผลและจัดทำข้อเสนอแนะสำหรับการ ปรับปรุงรายละเอียดการดำเนินงานตามโครงการ เพื่อส่งเสริมสุขภาพ และ ลดปัจจัยเสี่ยงที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ และนำเสนอต่อผู้มีอำนาจตัดสินใจ เพื่อพิจารณาดำเนินงานต่อไป เช่น การออกข้อกำหนดท้องถิ่น การขับเคลื่อน นโยบายสาธารณะ เป็นต้น

1) กระบวนการในการทบทวนรายงาน

 

2) ผู้มีส่วนร่วมในการทบทวนรายงาน

 

3) ผลการทบทวนร่างรายงาน

 

4) สรุปผลการประเมินสำคัญที่นำเข้าเวทีการทบทวน
check_circle
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดสรุปผลการประเมินหมายเหตุ
1. คน (2) ใช้กรอบ ปัจจัยกำหนดสุขภาพ) มีความรู้ ความสามารถในการเขียนแผน

พี่เลี้ยงพื้นที่มีความรู้ ความเข้าใจแต่ไม่มีอำนาจในการสั่งการเพื่อจัดทำแผนฯ

 

2. คน (2) ใช้กรอบ ปัจจัยกำหนดสุขภาพ) มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิดการสร้างเสริมสุขภาพ

คณะกรรมพชอ.บางท่านและพี่เลี้ยงจังหวัดมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องแนวคิดในการสร้างเสริมสุขภาพ

 

3. คน (2) ใช้กรอบ ปัจจัยกำหนดสุขภาพ) มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการทำงานของคณะทำงาน

พี่เลี้ยงไม่มีการเชื่องโยงและบรูณาการกระบวนการทำงานร่วมกันระหว่างคณะกรรมการ พชอ.กับกองทุนหลักประกันสุขภาพในพื้นที่

 

4. สิ่งแวดล้อม (2) ใช้กรอบ ปัจจัยกำหนดสุขภาพ) การใช้งานระบบออนไลน์ และคู่มือการใช้งานระบบรายงานผลโครงการ
  1. คู่มือช่วยให้การทำงานของพี่เลี้ยงขับเคลื่อนได้
  2. มีการใช้ระบบออนไลน์กรอกข้อมูลบางส่วน แต่อาจจะต้องมีการติดตามเพื่อให้มีการกรอกข้อมูลที่สมบรูณ์และครบถ้วน

 

5. สิ่งแวดล้อม (2) ใช้กรอบ ปัจจัยกำหนดสุขภาพ) การมีส่วนร่วมของคนในชุมชน

ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชนมีส่วนร่วมในกิจกรรมที่จัดในชุมชน

 

6. ระบบ กลไก (2) ใช้กรอบ ปัจจัยกำหนดสุขภาพ) กระบวนการทำงานของคณะกรรมการของ พชอ.
  1. เมื่อเกิดสถานการณ์วิกฤตในพื้นที่ ก็จะเกิดการบูรณาการและเชื่อมโยงการทำงานในพื้นที่
  2. กิจกรรมที่ดำเนินงานที่เป็นนโยบายระดับอำเภอ
  3. ผู้อำนวยโรงพยาบาลรือเสาะ ซึ่งเป็นการคณะกรรมการ พชอ. โดยตำแหน่ง ได้มีการทำงานร่วมกับพี่เขตพื้นที่ในการขับเคลื่อนโครงการสุขภาพในพื้นที่
  1. ต้องให้หน่วยงานระดับนโยบาย (พชอ.) ได้รับรู้ข้อมูลสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ ถึงภาวะวิกฤตที่เกิดขึ้น ซึ่งจะทำให้เกิดแผนการทำงาน ที่มีความเชื่อมโยงกับหน่วยงานทุกภาคส่วน
  2. ควรมีการกำหนดนโยบายระดับอำเภอ
7. ระบบ กลไก (2) ใช้กรอบ ปัจจัยกำหนดสุขภาพ) กระบวนการทำงานของคณะกรรมการกองทุน
  1. กองทุนสุขภาพตำบลไม่มีแผนงาน แต่มีการดำเนินโครงการ ที่ได้มาจากผู้ที่เขียนโครงการตามปัญหาระดับหน่วยงาน (ผู้ขอทุนสนับสนุนจากกองทุน)
  2. โครงการในกองทุนฯ มีจำนวนน้อย ทำให้เกิดการใช้งบประมาณน้อย
  1. ในปีที่ผ่านมา มีโครงการที่จัดทำ โดยเน้นในด้านกิจกรรมทางกาย (ไม่ใช่โครงการที่ได้มาจากแผนงาน)
  2. ในปีงบประมาณ 2564 ได้มีการประชุมเพื่อกำหนดแผนงานด้านอาหาร โดยคณะกรรมการกองทุน ทุกกองทุนในพื้นที่
8. ระบบ กลไก (2) ใช้กรอบ ปัจจัยกำหนดสุขภาพ) กระบวนการการทำงานของพี่เลี้ยงในพื้นที่
  1. มีกระบวนการถ่ายทอดองค์ความรู้ในการจัดทำโครงการให้กับคณะกรรมการกองทุน (ตามบทบาทของพี่เลี้ยงที่ได้รับการพัฒนาศักยภาพในหลักสูตรฯ) ผลที่ได้คือมีโครงการเกิดขึ้นในบางกองทุนฯ (กองทุนฯ ที่พี่เลี้ยงเป็นคณะกรรมการ)
  2. พี่เลี้ยงระดับจังหวัด มีความชำนาญในด้านการปฏิบัติงานในพื้นที่ ประชาชนในพื้นที่มีความเชื่อมั่น ทำให้เกิดการส่วนร่วมในการดำเนินโครงการในพื้นที่

1.โครงการที่ดำเนินงานในพื้นที่ พบว่าไม่มีแผนงานกองทุน และแผนงาน พชอ. 2. ควรมีระบบทีมพี่เลี้ยงระดับจังหวัด เพื่อให้เกิดความครอบคลุมในการให้คำปรึกษา เพื่อให้โครงการดำเนินกิจกรรมได้มีประสิทธิภาพ

9. ระบบ กลไก (2) ใช้กรอบ ปัจจัยกำหนดสุขภาพ) ช่องทางการสื่อสารและกระบวนการสื่อสารงานระหว่างคณะทำงาน

พี่เลี้ยงจังหวัดได้มีการสื่อสารกับคณะกรรมการกองทุน (บางกองทุนฯ ที่พี่เลี้ยงจังหวัดเป็นคณะกรรมการฯ) แต่ทั้งนี้ เมื่อพี่เลี้ยงเขตตรวจสอบข้อมูลในระบบพบว่า กรอกข้อมูลไม่ครบถ้วน ส่งผลให้พี่เลี้ยงระดับเขต เข้าใจว่าพี่เขตเลี้ยงจังหวัดไม่มีการสื่อสารข้อมูลระหว่างกองทุนฯ

พี่เลี้ยงจังหวัดควรกระตุ้นให้คณะกรรมการกองทุนฯ กรอกข้อมูลในระบบให้ครบถ้วน สมบูรณ์เพื่อให้เห็นการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง

10. ระบบ กลไก (2) ใช้กรอบ ปัจจัยกำหนดสุขภาพ) กระบวนการทำงานของพี่เลี้ยงเขต
  1. กระบวนการคัดเลือกพี่เลี้ยงระดับจังหวัด โดยการสมัครใจเป็นสิ่งที่ดี แต่ควรพัฒนาศักยภาพให้ครอบคลุมทุกด้าน
  2. หลักสูตรในการพัฒนาศักยภาพพี่เลี้ยงระดับจังหวัด ไม่ส่งผลให้พี่เลี้ยงระดับจังหวัดดำเนินการในการจัดทำแผนกองทุน และ แผน พชอ.

ควรจัดทำทีมพี่เลี้ยงจังหวัด โดยกำหนดคุณสมบัติในทีมพี่เลี้ยงจังหวัดให้มีทักษะที่จำเป็น เช่น สารสนเทศ วิชาการ ปฏิบัติการในพื้นที่

11. ระบบ กลไก (2) ใช้กรอบ ปัจจัยกำหนดสุขภาพ) กระบวนการเชื่อมโยงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (พชอ. คณะกรรมการกองทุนฯ พี่เลี้ยงเขต พี่เลี้ยงพื้นที่)

ขาดความเชื่อมโยงและการบรูณาการระหว่างพชอ.กับกองทุน เนื่องด้วยพี่เลี้ยงระดับจังหวัดไม่มีอำนาจสั่งการคณะกรรมการ พชอ.

ควรมีกระบวนในการชี้แจ้ง บทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการ พชอ. คณะกรรมการกองทุนฯ

5) อื่นๆ

 

5. การปรับปรุงทบทวนโครงการ

check_circle

 

1) ข้อเสนอเพื่อการทบทวนโครงการ

 

2) อื่นๆ

 

6. ได้มีการปรับปรุงทบทวนโครงการตามข้อ 5 หรือไม่?

 

1) กลไกในการติดตามการปรับปรุงโครงการตามข้อเสนอแนะ

 

2) วิธีการติดตาม การปรับปรุงโครงการตามข้อเสนอแนะ

 

3) อื่นๆ

 

สรุป

อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ
  1. การเรียนรู้ และรู้ขีดความสามารถของคณะทำงานในโครงการบูรณาการขับเคลื่อนงานเสริมสร้างสุขภาวะ และพัฒนากลไกสุขภาวะระดับพื้นที่อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส พบว่า 1.1 พี่เลี้ยงพื้นที่มีความรู้ ความเข้าใจแต่ไม่มีอำนาจในการสั่งการเพื่อจัดทำแผนฯ 1.2 คณะกรรมพชอ.บางท่านและพี่เลี้ยงจังหวัดมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องแนวคิดในการสร้างเสริมสุขภาพ 1.3 พี่เลี้ยงไม่มีการเชื่องโยงและบรูณาการกระบวนการทำงานร่วมกันระหว่างคณะกรรมการ พชอ.กับกองทุนหลักประกันสุขภาพในพื้นที่
  2. กลไกการดำเนินงานของคณะทำงานในโครงการบูรณาการขับเคลื่อนงานเสริมสร้างสุขภาวะ และพัฒนากลไกสุขภาวะระดับพื้นที่อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส พบว่า 2.1 คู่มือช่วยให้การทำงานของพี่เลี้ยงขับเคลื่อนได้ 2.2 การใช้ระบบออนไลน์กรอกข้อมูลบางส่วน แต่อาจจะต้องมีการติดตามเพื่อให้มีการกรอกข้อมูลที่สมบรูณ์และครบถ้วน 2.3 ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชนมีส่วนร่วมในกิจกรรมที่จัดในชุมชน 2.4 กระบวนการทำงานของคณะกรรมการของ พชอ.
    2.4.1 เมื่อเกิดสถานการณ์วิกฤตในพื้นที่ ก็จะเกิดการบูรณาการและเชื่อมโยงการทำงานในพื้นที่กิจกรรมที่ดำเนินงานที่เป็นนโยบายระดับอำเภอ 2.4.2 ผู้อำนวยโรงพยาบาลรือเสาะ ซึ่งเป็นการคณะกรรมการ พชอ. โดยตำแหน่ง ได้มีการทำงานร่วมกับพี่เขตพื้นที่ในการขับเคลื่อนโครงการสุขภาพในพื้นที่ 2.5 กระบวนการทำงานของคณะกรรมการกองทุน 2.5.1 กองทุนสุขภาพตำบลไม่มีแผนงาน แต่มีการดำเนินโครงการ ที่ได้มาจากผู้ที่เขียนโครงการตามปัญหาระดับหน่วยงาน (ผู้ขอทุนสนับสนุนจากกองทุน) 2.5.2 โครงการในกองทุนฯ มีจำนวนน้อย ทำให้เกิดการใช้งบประมาณน้อย 2.6 กระบวนการการทำงานของพี่เลี้ยงในพื้นที่ 2.6.1 มีกระบวนการถ่ายทอดองค์ความรู้ในการจัดทำโครงการให้กับคณะกรรมการกองทุน (ตามบทบาทของพี่เลี้ยงที่ได้รับการพัฒนาศักยภาพในหลักสูตรฯ) ผลที่ได้คือมีโครงการเกิดขึ้นในบางกองทุนฯ (กองทุนฯ ที่พี่เลี้ยงเป็นคณะกรรมการ) 2.6.2 พี่เลี้ยงระดับจังหวัด มีความชำนาญในด้านการปฏิบัติงานในพื้นที่ ประชาชนในพื้นที่มีความเชื่อมั่น ทำให้เกิดการส่วนร่วมในการดำเนินโครงการในพื้นที่ 2.7 ช่องทางการสื่อสารและกระบวนการสื่อสารงานระหว่างคณะทำงาน พบว่า พี่เลี้ยงจังหวัดได้มีการสื่อสารกับคณะกรรมการกองทุน (บางกองทุนฯ ที่พี่เลี้ยงจังหวัดเป็นคณะกรรมการฯ) แต่ทั้งนี้ เมื่อพี่เลี้ยงเขตตรวจสอบข้อมูลในระบบพบว่า กรอกข้อมูลไม่ครบถ้วน ส่งผลให้พี่เลี้ยงระดับเขต เข้าใจว่าพี่เขตเลี้ยงจังหวัดไม่มีการสื่อสารข้อมูลระหว่างกองทุนฯ 2.8 กระบวนการทำงานของพี่เลี้ยงเขต 2.8.1 กระบวนการคัดเลือกพี่เลี้ยงระดับจังหวัด โดยการสมัครใจเป็นสิ่งที่ดี แต่ควรพัฒนาศักยภาพให้ครอบคลุมทุกด้าน 2.8.2 หลักสูตรในการพัฒนาศักยภาพพี่เลี้ยงระดับจังหวัด ไม่ส่งผลให้พี่เลี้ยงระดับจังหวัดดำเนินการในการจัดทำแผนกองทุน และ แผน พชอ. 2.9 กระบวนการเชื่อมโยงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (พชอ. คณะกรรมการกองทุนฯ พี่เลี้ยงเขต พี่เลี้ยงพื้นที่) พบว่าขาดความเชื่อมโยงและการบรูณาการระหว่างพชอ.กับกองทุน เนื่องด้วยพี่เลี้ยงระดับจังหวัดไม่มีอำนาจสั่งการคณะกรรมการ พชอ.


    ข้อเสนอแนะ
  3. ต้องให้หน่วยงานระดับนโยบาย (พชอ.) ได้รับรู้ข้อมูลสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ ถึงภาวะวิกฤตที่เกิดขึ้น ซึ่งจะทำให้เกิดแผนการทำงาน ที่มีความเชื่อมโยงกับหน่วยงานทุกภาคส่วน
  4. ควรมีการกำหนดนโยบายระดับอำเภอ
  5. ในปีที่ผ่านมา มีโครงการที่จัดทำ โดยเน้นในด้านกิจกรรมทางกาย (ไม่ใช่โครงการที่ได้มาจากแผนงาน)
  6. ในปีงบประมาณ 2564 ได้มีการประชุมเพื่อกำหนดแผนงานด้านอาหาร โดยคณะกรรมการกองทุน ทุกกองทุนในพื้นที่
  7. โครงการที่ดำเนินงานในพื้นที่ พบว่าไม่มีแผนงานกองทุน และแผนงาน พชอ.
  8. ควรมีระบบทีมพี่เลี้ยงระดับจังหวัด เพื่อให้เกิดความครอบคลุมในการให้คำปรึกษา เพื่อให้โครงการดำเนินกิจกรรมได้มีประสิทธิภาพ
  9. พี่เลี้ยงจังหวัดควรกระตุ้นให้คณะกรรมการกองทุนฯ กรอกข้อมูลในระบบให้ครบถ้วน สมบูรณ์เพื่อให้เห็นการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง
  10. ควรจัดทำทีมพี่เลี้ยงจังหวัด โดยกำหนดคุณสมบัติในทีมพี่เลี้ยงจังหวัดให้มีทักษะที่จำเป็น เช่น สารสนเทศ วิชาการ ปฏิบัติการในพื้นที่
  11. ควรมีกระบวนในการชี้แจ้ง บทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการ พชอ. คณะกรรมการกองทุนฯ
เอกสารอ้างอิง

 

เอกสารประกอบโครงการ