การฝึกปฏิบัติการภาคสนามลงพื้นที่ติดตามและประเมินผลโครงการพัฒนารูปแบบการบูรณาการขับเคลื่อน การป้องกันแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ กับ HIV โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และยาเสพติดในวัยรุ่น โดยองค์กรสาธารณประโยชน์ จังหวัดลำปาง
ชื่อโครงการ | การฝึกปฏิบัติการภาคสนามลงพื้นที่ติดตามและประเมินผลโครงการพัฒนารูปแบบการบูรณาการขับเคลื่อน การป้องกันแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ กับ HIV โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และยาเสพติดในวัยรุ่น โดยองค์กรสาธารณประโยชน์ จังหวัดลำปาง |
ภายใต้โครงการ | แผนงานติดตามและประเมินผลโครงการ ภาคเหนือ ปี62 |
รหัสโครงการ | ข้อตกลง |
วันที่อนุมัติ | 1 พฤศจิกายน 2561 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 15 พฤศจิกายน 2561 - 10 มีนาคม 2562 |
งบประมาณ | 20,000.00 บาท |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | กลุ่มนักวิชาการอิสระจังหวัดลำปาง |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | ดร พัฒนา นาคทอง |
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ | |
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ | |
พี่เลี้ยงโครงการ | ดร.สุรศักดิ์ บุญเทียน .รศดร.ภานุวัฒน์ ภักดีวงค์ |
พื้นที่ดำเนินการ | จังหวัดลำปาง |
ละติจูด-ลองจิจูด | 18.286998467423,99.495832697659place |
งวด | วันที่งวดโครงการ | วันที่งวดรายงาน | งบประมาณ (บาท) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
จากวันที่ | ถึงวันที่ | จากวันที่ | ถึงวันที่ | |||
1 | 15 พ.ย. 2561 | 28 ก.พ. 2562 | 15,000.00 | |||
2 | 1 มี.ค. 2562 | 15 มี.ค. 2562 | 5,000.00 | |||
รวมงบประมาณ | 20,000.00 |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
เหตุผลสำคัญของการประเมินโครงการ โครงการพัฒนารูปแบบบูรณาการการขับเคลื่อนการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์กับเอชไอวี/เอดล์ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และยาเสพติดในวัยรุ่น เนื่องจากโครงการนี้ เป็นโครงการที่เป็นผลของโครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นที่ดำเนินการโดยหน่วยงานภาครัฐที่ สสส.ให้การสนับสนุน ภายใต้ภารกิจ 9 ด้าน แบบบูรณาการทุกภาคส่วน ก่อนจะมีการประกาศใช้พรบ.ป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ.2559 ทำให้สถานการณ์การตั้งครรภ์วัยรุ่นในจังหวัดมีแนวโน้มลดลงกระนั้นก็ตามมีช่องว่างและปัญหาของการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐที่มีภารกิจมากมาย และในระหว่างการดำเนินโครงการดังกล่าวเกิดมีองค์กรสาธารณะประโยชน์เกิดขึ้น คือ กลุ่มเพื่อนเพื่อเด็กและเยาวชนลำปาง เป็นองค์กรนิติบุคคล ได้ช่วยลดช่องว่างที่เกิดขึ้นจากข้อจำกัดของส่วนราชการในพื้นที่ได้ โครงการที่สสส.อนุมัติในครั้งนี้ จึงดำเนินการโดยกลุ่มเพื่อนเพือเด็กและเยาวชนลำปาง ร่วมกับสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดลำปางและหน่วยงานหลักที่เกี่ยวข้อง ที่จะดำเนินงานพัฒนารูปแบบ
บูรณาการโดยองค์กรสาธารณประโยชน์ ใน 2 ส่วนคือ บูรณาการเชิงประเด็น และบูรณาการการทำงานระหว่างหน่วยงาน โครงการดังกล่าวดำเนินการอยู่ในช่วงได้รับอนุมัติให้ดำเนินการ ของสสส. แต่ยังไม่ได้ลงมือทำงานจึงเป็นโอกาสของการฝึกออกแบบการติดตามประเมินผลได้ตั้งแต่เบื้องต้น โดยใช้กระบวนการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ( CHIA) เป็นกรอบของกระบวนการศึกษา ใช้บันไดผลลัพธ์เป็น road map ตัววิเคราะห์และวางแผนรองรับสิ่งที่คาดไม่ถึงให้เป็นสิ่งที่คาดถึงเพื่อ การบรรลุเป้าหมายระหว่างการดำเนินการ อันจะก่อให้เกิดประโยชน์ทั้งกับแหล่งทุนซึ่งมุ่งสร้างการมีส่วนร่วมของภาคี และหนุนเสริมผู้รับทุน และร่วมปรับ/กำกับทิศทางการดำเนินกิจกรรมโครงการให้เป็นไปตามผลลัพธ์ให้บรรลุวัตถุประสงค์และทันตามกำหนด ทั้งนี้โครงการดังกล่าวได้มีเป้าหมายเพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนงานส่งเสริมสุขภาวะโดยมีองค์กรสาธารณประโยชน์มีส่วนร่วมกับหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องโดยการทำงานบูรณาการร่วมขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นอันส่งผลต่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ รวมไปถึงการป้องกันเอชไอวี/เอดส์ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และยาเสพติด
วัตถุประสงค์ของโครงการการฝึกปฏิบัติการภาคสนามลงพื้นที่ติดตามและประเมินผลโครงการนี้คือการประเมินโดยใช้ประยุกต์การใช้รูปแบบขั้นตอนการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพเป็นกรอบของกระบวนการการเรียนรู้ร่วมกันและใช้บันไดผลลัพธ์เป็น road map วิเคราะห์และวางแผนกำกับการบรรลุเป้าหมายความสำเร็จของโครงการ
ใช้กระบวนการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ(CHIA)และบันไดผลลัพธ์ เพื่อประเมินโครงการฯ ซึ่งนำเป้าหมายแผนยุทธศาสตร์ระยะ10ปี(2555-2564) ของสสส.(2555-2557) เพิ่มสัดส่วนของครอบครัวอบอุ่น ชุมชนและท้องถิ่นเข้มแข็ง และอื่น ๆ ลดผลกระทบจากเพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัย(การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น เอสไอวี/เอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | คณะทำงานมีความเชื่อมั่นและต่อยอดต้นทุนเดิม จำนวนองค์กร/คนบทบาทขับเคลื่อนโครงการ บทบาทในกลไกจังหวัด จำนวนภาคีเครือข่าย/คณะทำงานของภาคีเครือข่าย/บทบาท |
0.00 | |
2 | คณะทำงานรู้เข้าใจโครงการและขอบเขตการดำเนินงานที่ชัดเจน ทุกคนรู้และเข้าใจโครงการขอบเขตการดำเนินงาน กระบวนการดำเนินงาน |
0.00 | |
3 | เกิดการทำงานร่วมกันระหว่างภาคีในประเด็นส่งเสริมสุขภาวะกลุ่มวัยรุ่น รายการและจำนวนกิจกรรมที่สะท้อนการบูรณาการเชิงเนื้อหาและผลผลิตของกิจกรรมนั้นๆ หน่วยงาน องค์กร จำนวนผู้มีแนวคิดเชิงบวกด้านสุขภาพทางเพศเพิ่มขึ้นร้อยละ50ภายหลังการดำเนินโครงการ ผลการแก้ไขปัญหาวัยรุ่นของภาคีเครือข่าย |
0.00 | |
4 | หนุนเสริมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น มีแผนปฏิบัติงานรายปีของจังหวัดที่กลุ่มเพื่อนเพื่อเด็กและเยาวชนจังหวัดลำปางได้เข้ามีส่วนร่วม |
0.00 | |
5 | เกิดรูปแบบการบูรณาการโดยองค์กรสาธารณประโยชน์ จำนวน/ขั้นตอน/กลไก องค์ประกอบภาคี/บทบาทภาคี/วิธีดำเนินงาน/ความเหมาะสมแต่ละรูปแบบ ผลที่เกิดขึ้นแต่ละรูปแบบ |
0.00 |
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวนที่วางไว้(คน) | จำนวนที่เข้าร่วม(คน) | |
---|---|---|---|
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด | 13018 | ||
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวนที่วางไว้(คน) | จำนวนที่เข้าร่วม(คน) | |
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | |||
ปฐมวัย (0-5 ปี) | - | ||
วัยเรียน (6-12 ปี) | - | ||
วัยรุ่น (13-15 ปี) | 13,000 | 0 | |
เยาวชน (15-20 ปี) | 0 | ||
วัยทำงาน | - | ||
ผู้สูงอายุ (60 ปีขึ้นไป) | - | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | |||
ผู้พิการ | - | ||
ผู้หญิง | - | ||
มุสลิม | - | ||
พระภิกษุ | - | ||
ชาติพันธุ์ | - | ||
ผู้ต้องขัง | - | ||
หลากหลายทางเพศ (LGBTIQ) | - | ||
กลุ่มด้อยโอกาส (คนไร้บ้าน, เด็กเร่ร่อน, เด็กกำพร้า, เด็กในสถานพินิจ ฯลฯ) | - | ||
แรงงานข้ามชาติ | - | ||
อื่น ๆ | - | ||
คณะทำงานภาคีเครือข่ายองค์กรสาธารณประโยชน์ที่เข้มแข | 5 | 0 | |
เด็กนักเรียนในโรงเรียน/1โรงเรียน/1 อำเภอ ทั้งหมด13 | 13 | 0 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 16,003.00 | 1 | 3,000.00 | |
27 ธ.ค. 61 | ร่วมในการประชุมคณะทำงานชี้แจงแผนงานโครงการพัฒนารูปแบบบูรณาการการขับเคลื่อนการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์กับเอชไอวี/เอดส์ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และยาเสพติดในวัยรุ่นโดยองค์กรสาธารณะประโยชน์ | 0 | 5,000.00 | - | ||
2 ก.พ. 62 | ร่วมประชุมกับคณะทำงานเพื่อติดตามหนุนเสริมภายในของทีมขับเคลื่่อน | 0 | 2,000.00 | - | ||
25 ก.พ. 62 | ชี้แจงวัตถุประสงค์แก่ทีมผู้รับผิดชอบโครงการ | 0 | 3.00 | ✔ | 3,000.00 | |
25 ก.พ. 62 | ตรวจสอบความเชื่อและการประยุกต์ใช้ | 0 | 3,000.00 | - | ||
25 ก.พ. 62 | ออกแบบวางแผนกิจกรรมตามวัตถุประสงค์ของโครงการ | 0 | 0.00 | - | ||
5 มี.ค. 62 | ร่วมประชุม สังเกตการ | 0 | 2,000.00 | - | ||
6 มี.ค. 62 | ร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการวิเคราะห์ภาคีเครือข่ายงานวัยรุ่นจังหวัดและการพัฒนาเครือข่ายเพื่อเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สร้างเป้้าหมายร่วมพร้อมหาแนวทางการบูรณาการงานวัยรุ่นร่วมกัน | 0 | 2,000.00 | - | ||
6 - 7 มี.ค. 62 | สรุปรายงาน | 0 | 2,000.00 | - |
ศึกษาเอกสารโครงการ ออกแบบการประเมินโครงการก่อนดำเนินการ โดยใช้เครื่องมือ CHIA และบันไดผลลัพธ์ ทำความเข้าใจแนวคิดการประเมินเพื่อให้โครงการบรรลุเป้าหมายแก่ผู้มีส่วนร่วมตามลำดับชั้น ติดตามประเมินผลให้ข้อเสนอแนะ ก่อนดำเนินการ และระหว่างดำเนินการตามกรอบข้อจำกัดของเวลา และแผนการทำงานของโครงการ สรุปและรายงานผล
โครงการที่ได้รับการติดตามประเมินผลมีการดำเนินงานบรรลุเป้าหมายตามบันไดผลลัพธ์ ผู้รับผิดชอบโครงการและภาคีเครือข่ายเกิดบูรณาการงานร่วมกันอย่างต่อเนื่องเกิดรูปแบบ การบูรณาการการขับเคลื่อนงานป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น กับ การป้องกันเอชไอวี/เอดส์ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และ ยาเสพติด โดยองค์กรสาธารณประโยชน์
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 16 พ.ย. 2561 21:24 น.