ระบบติดตามและประเมินผลโครงการ ( M&E Thailand )

directions_run

โครงการประเมินผล โครงการเทศกาลอุตรดิตถ์ติดยิ้ม ปี 62 “ลุกขึ้นมา Live in Uttaradit”

แบบการติดตามประเมินผลการดำเนินกิจกรรมของโครงการ (Process Evaluation)

กิจกรรมระยะเวลาเป้าหมาย/วิธีการผลการดำเนินงานปัญหา/อุปสรรค/แนวทางแก้ไข
ตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริง
ชี้แจง ทำความเข้าใจในการติดตาม ประเมินผลโครงการส่งเสริมบริโภคอาหารปลอดภัยและปรับสภาพแวดล้อมในบ้านผู้สูงอายุ หมู่ 2 ต้นขาม อำเภอชัยจุมพล จังหวัดอุตรดิตถ์ 25 ก.พ. 2562 16 พ.ย. 2561

 

มีการชี้แจงทำความเข้าใจถึงกรอบเนื้องานหน้าที่ของนักติดตามและประเมินผลโครงการเพื่อให้เกิดความเข้าใจตรงกัน ร่วมกับแกนนำชุมชน

 

จากการร่วมประชุมกับแกนนำชุมชน จำนวน 7 คน ซึ่งหลังจากการชี้แจงทำความเข้าใจถึงกรอบเนื้องานหน้าที่ของนักติดตามและการประเมินผลโครงการเป็นที่เรียบร้อยแล้วนั้น แกนนำในพื้นที่มีความไม่สะดวกใจในการให้ความร่วมมือ ทำให้ผู้ประเมินผลทำการมองหาโครงการเป้าหมายใหม่

 

ชี้แจง ทำความเข้าใจในการติดตาม ประเมินผลโครงการสร้างสุขภาพดีวิถีชีวิตพอเพียงเพื่อลดเสี่ยงต่อโรคไม่ติดต่อ จังหวัดอุตรดิตถ์ 25 ก.พ. 2562 7 ม.ค. 2562

 

มีการชี้แจงทำความเข้าใจถึงกรอบเนื้องานหน้าที่ของนักติดตามและประเมินผลโครงการเพื่อให้เกิดความเข้าใจตรงกัน ร่วมกับแกนนำผู้รับผิดชอบโครงการฯ

 

จากการประชุมกับผู้รับผิดชอบโครงการจำนวน 5 คน ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี โดยหลังจากที่ได้พูดคุยทำความเข้าใจเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ได้มีการนัดหมายเพื่อวางกรอบการทำงานต่อไป

 

ร่วมออกแบบแนวทางติดตามการประเมินผลกับเครือข่าย 25 ก.พ. 2562 15 ม.ค. 2562

 

ทำความเข้าใจถึงรูปแบบ ขั้นตอนรวมถึงกรอบของการติดตามประเมินผลโครงการในครั้งนี้ ร่วมกับผู้รับผิดชอบโครงการและผู้ประสานงานโครงการ

 

ได้รูปแบบและขั้นตอนในการติดตามประเมินผลโครงการ รวมทั้งกรอบแนวคิดในการติดตามโครงการในครั้งนี้ แต่ด้วยปัญหาของผู้รับผิดชอบโครงการที่มีงานรับผิดชอบในงานหลักประจำ คนรับผิดชอบโครงการจึงได้ทำเรื่องขอขยายเวลา ซึ่งได้รับการอนุมัติในการขยายเวลาดำเนินการโครงการ ทำไมผู้ติดตามและประเมินผลตัดสินใจที่จะขอเปลี่ยนแปลงงานในครั้งนี้เนื่องจากไม่เข้ากรอบเวลาของการทำงานที่ได้ถูกกำหนดไว้

 

ชี้แจง ทำความเข้าใจในการติดตาม ประเมินผลโครงการพื้นที่สร้างสรรค์ จ.อุตรดิตถ์ 25 ก.พ. 2562 25 ม.ค. 2562

 

มีการชี้แจงทำความเข้าใจถึงกรอบเนื้องานหน้าที่ของนักติดตามและประเมินผลโครงการเพื่อให้เกิดความเข้าใจตรงกัน ร่วมกับแกนนำชุมชน

 

จากการประชุมกับผู้รับผิดชอบโครงการจำนวน 15 คน ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี โดยหลังจากที่ได้พูดคุยทำความเข้าใจเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ได้มีการนัดหมายเพื่อวางกรอบการทำงานต่อไป

 

ร่วมออกแบบแนวทางติดตามการประเมินผลกับเครือข่าย 25 ก.พ. 2562 26 ม.ค. 2562

 

ทำความเข้าใจถึงรูปแบบ ขั้นตอนรวมถึงกรอบของการติดตามประเมินผลโครงการในครั้งนี้ ร่วมกับผู้รับผิดชอบโครงการและผู้ประสานงานโครงการ รวมถึงแนวทางในการดำเนินโครงการในครั้งนี้อีกด้วย

 

ได้รูปแบบและขั้นตอนในการติดตามประเมินผลโครงการ รวมทั้งกรอบแนวคิดในการติดตามโครงการในครั้งนี้

 

ร่วมวางแผนกิจกรรมและประเมินผลตนเองจากกิจกรรมที่ผ่านมา 25 ก.พ. 2562 28 ม.ค. 2562

 

ทำความเข้าใจในรูปแบบและรายละเอียดของการดำเนินโครงการ โดยได้ทำการประเมินผลตนเองร่วมกับผู้ประเมินโครงการจัดกิจกรรมที่ผ่านมา อีกทั้งยังมีส่วนร่วมในการวางแผนกิจกรรมที่จะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคต โดยเฉพาะเรื่องของการพัฒนาและติดตั้งพื้นที่กิจกรรมการเรียนรู้สร้างสรรค์ของจังหวัดอุตรดิตถ์ที่ผ่านมาและการขยายพื้นที่ต่อไปในอนาคต

 

  1. ต้องการให้จังหวัดอุตรดิตถ์เป็นเมืองแห่งการสร้างสรรค์ เมืองแห่งการเรียนรู้ มีพื้นที่ให้เด็ก เยาวชน ครอบครัว ชุมชน สามารถเข้าไปทำกิจกรรมได้อย่างอิสระ
  2. เด็ก เยาวชน มีศักยภาพ มีทักษะ มีพื้นที่ในการแสดงออก แสดงความสามารถ เป็น  “พลเมืองนักสร้างสรรค์” มีทักษะผู้นำ ทักษะสร้างสรรค์ การทำงานร่วมกับผู้อื่น
  3. มีนโยบายสาธารณะที่มุ่งเน้นการขับเคลื่อนพื้นที่สร้างสรรค์ การเรียนรู้ในระดับจังหวัด ที่สามารถกระจายลงสู่ระดับอำเภอ และชุมชนอย่างต่อเนื่อง
  4. สถานีอุตรดิตถ์ติดยิ้ม ต้องการให้เป็น Hub การเรียนรู้ เป็นศูนย์รวมกิจกรรมสร้างสรรค์ เป็นที่ศึกษาดูงาน มีการจัดกิจกรรมย่อยๆ จากเครือข่ายต่างๆ อย่างต่อเนื่อง ต้องการให้สถานีอุตรดิตถ์ติดยิ้มเป็นที่พบปะ สังสรรค์ของเยาวชน ครอบครัว และชุมชน มาทำกิจกรรมสร้างสรรค์ร่วมกัน พร้อมทั้งขยายเครือข่ายในการทำกิจกรรมลักษณะนี้ไปยังสถานที่อื่นๆ ให้มากขึ้น

 

การติดตามประเมินผลครั้งที่ 1 ในพื้นที่พร้อมให้ข้อเสนอแนะ 25 ก.พ. 2562 31 ม.ค. 2562

 

ทำการติดตามและประเมินผลในการดำเนินงานครั้งที่ 1 จากการพัฒนาและขยายพื้นที่กิจกรรมการเรียนรู้สร้างสรรค์

 

  1. จัดสร้างพื้นที่ใน จ.อุตรดิตถ์เป็นเมืองแห่งการสร้างสรรค์ เมืองแห่งการเรียนรู้ มีพื้นที่ให้เด็ก เยาวชน ครอบครัว ชุมชน สามารถเข้าไปทำกิจกรรมได้อย่างอิสระ
  2. จัดพื้นที่ให้เด็ก เยาวชน มีศักยภาพ มีทักษะในการแสดงออก แสดงความสามารถ เป็น  “พลเมืองนักสร้างสรรค์” มีทักษะผู้นำ ทักษะสร้างสรรค์ การทำงานร่วมกับผู้อื่น
  3. มีการขับเคลื่อนพื้นที่สร้างสรรค์ การเรียนรู้ในระดับจังหวัด ที่สามารถกระจายลงสู่ระดับอำเภอ และชุมชนได้อย่างต่อเนื่อง
  4. จัดสร้างพื้นที่สถานีอุตรดิตถ์ติดยิ้ม ให้เป็นปหล่งเรียนรู้ เป็นศูนย์รวมกิจกรรมสร้างสรรค์ เป็นที่พบปะ สังสรรค์ของเยาวชน ครอบครัว และชุมชน

มีการจัดกิจกรรมต่างๆ ดังนี้

  1. กิจกรรม “ลุกขึ้นมา Live” เชิญชวนกลุ่มเครือข่ายหรือชมรมที่รวมตัวกันทำกิจกรรมสร้างสรรค์ในพื้นที่จังหวัดอุตรดิตถ์ นำกิจกรรมที่แต่ละกลุ่มได้ดำเนินงานกันอยู่แล้วมาร่วมแสดงพลังในการลุกขึ้นมาทำกิจกรรมสร้างสรรค์ สร้างกระแสให้คนในพื้นที่ตื่นตัวและสนใจในการสร้างเสริมสุขภาพ
  2. เวิร์คช็อป ArtsLive เปิดห้องเรียนรู้ให้เยาวชนและคนที่สนใจได้ร่วมกิจกรรมสร้างสรรค์การเรียนรู้จากวิถีชีวิตและศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น โดยเชิญชวนนักกิจกรรมการเรียนรู้ ศิลปิน และผู้เชี่ยวชาญ ทั้งในและนอกพื้นที่จังหวัดอุตรดิตถ์ เปิดห้องเวิร์คช็อป ArtsLive เน้นการเรียนรู้เพื่อสร้างสรรค์ผลงานศิลปะจากสิ่งที่มีอยู่รอบตัวในวิถีชีวิตและชุมชน
  3. เวทีการแสดงสร้างสรรค์ นำเสนอการแสดงสร้างสรรค์ทั้งในรูปแบบการแสดงศิลปวัฒนธรรม และการแสดงสมัยใหม่ อาทิ การแสดงดนตรี ละครเวที หุ่นนิทาน การแสดงความสามารถพิเศษ ฯลฯ รวมทั้งสื่อมหรสพสร้างสรรค์ต่างๆ จากศิลปินและคณะการแสดงทั้งมืออาชีพและมือสมัครเล่น การแสดงของเยาวชน ฯลฯ โดยมีทั้งคณะการแสดงในพื้นที่ ศิลปินรับเชิญจากทั่วประเทศ การแสดงจากศิลปินต่างประเทศ (ญี่ปุ่น มาเลเซีย) และการแสดงที่สร้างสรรค์ร่วมกันระหว่างศิลปินต่างประเทศและคนไทย ซึ่งจะมีการแสดงวันละ 20 ชุดขึ้นไป เพื่อเป็นพื้นที่ให้คนรุ่นใหม่ได้เห็นรูปแบบการแสดงและการสื่อสารสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างสรรค์ ตลอดจนเปิดโอกาสให้นักแสดงรุ่นใหม่ได้มีพื้นที่ในการนำเสนอผลงาน
  4. ลานกิจกรรมสร้างสรรค์ รวบรวมกิจกรรมการเรียนรู้ วิถีชีวิต ศิลปวัฒนธรรมสร้างสรรค์ในหลากหลายรูปแบบและเนื้อหา ทั้งกิจกรรมจากภาคีพื้นที่สร้างสรรค์ สถานศึกษา ชุมชน หน่วยงานในพื้นที่ และกิจกรรมสร้างสรรค์จากทั่วประเทศมาร่วมสร้างสีสัน โดยมีรูปแบบและเนื้อหาที่หลากหลาย อาทิ สื่อสร้างสรรค์ ลานศิลปะ เกมส์ นิทรรศการ อาหาร งานดีไอวาย ตลาดผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์ ฯลฯ โดยแบ่งเป็นลานกิจกรรมย่อยตามเนื้อหาและรูปแบบกิจกรรม
  5. กิจกรรม ติดยิ้มออนทัวร์ (เยี่ยมห้องเรียนมีชีวิต วิถีชุมชนสร้างสรรค์) เชิญชวนและรับสมัครผู้ที่มีความสนใจลงพื้นที่ร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ในพื้นที่จริง กับภาคีเครือข่ายอุตรดิตถ์ติดยิ้ม ที่กระจายตัวอยู่รอบเมืองอุตรดิตถ์ โดยมีรูปแบบทักษะและประเด็นเนื้อหาที่หลากหลายตามภารกิจของแต่ละพื้นที่เรียนรู้ ซึ่งได้เปิดเป็นพื้นที่การเรียนรู้สาธารณะผ่านกิจกรรมทักษะชีวิตสร้างสรรค์ โดยใช้ต้นทุนทางทรัพยากรและวิถีชุมชน
  6. โปรแกรม เจแปนดีจัง Live in Uttaradit
    ได้รับความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายพื้นที่นี้ดีจัง เชิญคณะอาจารย์จากมหาวิทยาลัยและคณะศิลปินจากประเทศญี่ปุ่นมาร่วมจัดกิจกรรมเรียนรู้สร้างสรรค์ให้กับเด็กและเยาวชนในพื้นที่จังหวัดอุตรดิตถ์ โดยรูปแบบการดำเนินงานเป็นการจัดกิจกรรมพัฒนาทักษะการคิดสร้างสรรค์ เพื่อสร้างผลงานการแสดงสร้างสรรค์ของเด็กและเยาวชนร่วมกับศิลปิน

 

การติดตามประเมินผลครั้งที่ 2 ในพื้นที่ 25 ก.พ. 2562 6 ก.พ. 2562

 

ทำการติดตามและประเมินผลในการดำเนินงานครั้งที่ 2 จากการพัฒนาและขยายพื้นที่กิจกรรมการเรียนรู้สร้างสรรค์

 

ผลผลิต - มีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลาย จากหลายกลุ่ม/องค์กร จากภาครัฐและเอกชน - คนที่เข้าร่วมกิจกรรมทั้งในระดับกลุ่มย่อย (พื้นที่รูปธรรม) และการจัดเทศกาลพื้นที่สร้างสรรค์ในระดับจังหวัดมีความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิดพื้นที่สร้างสรรค์มากขึ้น - การจัดกิจกรรมเป็นความร่วมมือระหว่างภาครัฐ เอกชน และประชาชน - สามารถส่งผลให้เกิดนโยบายในระดับจังหวัด ในการสร้างพื้นที่สร้างสรรค์ให้แก่เยาวชน ครอบครัว และชุมชน (ได้รับงบประมาณสนับสนุนจาก พมจ. อบจ. วัฒนธรรมจังหวัดอุตรดิตถ์
ผลลัพธ์ - เกิดกลุ่มคน เครือข่าย และอาสาสมัคร มาร่วมกันขับเคลื่อนกิจกรรมในพื้นที่ และการจัดเทศกาลพื้นที่สร้างสรรค์ - เยาวชน และคนในชุมชน - เกิดความภาคภูมิใจในการทำงานพื้นที่สร้างสรรค์
        - มีทักษะในการคิด และออกแบบกิจกรรมเรียนรู้สร้างสรรค์         - มีภาวะผู้นำในการทำกิจกรรมสร้างสรรค์

 

ถอดบทเรียนจากการทำกิจกรรมร่วมกับแกนนำ 25 ก.พ. 2562 12 มี.ค. 2562

 

ระดมความคิดกับแกนนำและผู้ที่มีส่วนร่วมหลักในการดำเนินการจัดโครงการฯ

 

กระบวนการในการพัฒนาและการติดตั้งพื้นที่กิจกรรมการเรียนรู้สร้างสรรค์ 1. หาเครือข่ายพื้นที่การเรียนรู้สร้างสรรค์  โดยเริ่มจากการหาบุคคล (Key person) ที่จะเข้ามาร่วมกิจกรรมพื้นที่สร้างสรรค์ เช่น คุณเดี่ยว จาก ฅ บ้านนอก คุณอัฑฒพงศ์ จาก บ้านตะวันยิ้ม ครูแจง จาก แมลงปอปีกแก้ว เป็นต้น 2. ร่วมกันพัฒนาศักยภาพ โดย
2.1 เรียนรู้ ความหมายและแนวคิดพื้นที่สร้างสรรค์ 2.2 ศึกษาดูงาน การจัดกิจกรรมของพื้นที่เครือข่ายทั้งในและต่างประเทศ เช่น กรุงเทพฯ  เพชรบุรี เมืองปีนังประเทศมาเลเซีย ญี่ปุ่น เป็นต้น 3. สนับสนุนให้ Key person ทำงานกับเครือข่ายเยาวชน และกลุ่ม/องค์กรต่างๆในพื้นที่/ชุมชน โดยมีงบประมาณสนับสนุนในการดำเนินกิจกรรมจาก สสย. 4. จัดเทศกาลพื้นที่สร้างสรรค์ในพื้นที่รูปธรรมของแต่ละกลุ่ม/องค์กร และจัดเทศกาลพื้นที่สร้างสรรค์ในระดับจังหวัดร่วมกัน

แนวทางในการพัฒนาและขยายพื้นที่กิจกรรมการเรียนรู้สร้างสรรค์ 1. พัฒนาสถานีอุตรดิตถ์ติดยิ้มให้เป็นศูนย์การเรียนรู้สร้างสรรค์ของจังหวัดอุตรดิตถ์ พัฒนาให้เกิดโปรแกรมเรียนรู้ทั้งในระดับย่อย และระดับใหญ่ ระดับย่อยเป็นการจัดกิจกรรมเป็นระยะๆ กับกลุ่มคนที่ไม่ใหญ่ สามารถลงรายละเอียดของกิจกรรมได้มากได้แก่ การจัดกิจกรรมสื่อสารประเด็น งานศิลปะ งานฝีมือ เกษตรกรรมธรรมชาติ เป็นต้น 2. ขยายพื้นที่รูปธรรม/พื้นที่หลัก โดย พยายามหาพื้นที่ใหม่เพื่อทำกิจกรรมสร้างสรรค์ให้มากขึ้น และหาKey person ใหม่ๆ ให้เพิ่มมากขึ้น 3. พัฒนาอาสาสมัคร และขยายเครือข่ายเยาวชนอาสา โดยจัดโปรแกรมพัฒนาศักยภาพอาสาสมัคร เช่น จัดค่ายเยาวชน
4. พัฒนาโปรแกรมติดยิ้มออนทัวร์ โดยจัดโปรแกรมทัวร์พื้นที่รูปธรรม ที่ทางเครือข่ายหนุนเสริม/พัฒนาศักยภาพ