ระบบติดตามและประเมินผลโครงการ ( M&E Thailand )

โครงการประเมินผล โครงการเทศกาลอุตรดิตถ์ติดยิ้ม ปี 62 “ลุกขึ้นมา Live in Uttaradit”

ถอดบทเรียนจากการทำกิจกรรมร่วมกับแกนนำ12 มีนาคม 2562
12
มีนาคม 2562รายงานจากพื้นที่ โดย ภาคภูมิ โชคทวีพาณิชย์
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ระดมความคิดกับแกนนำและผู้ที่มีส่วนร่วมหลักในการดำเนินการจัดโครงการฯ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

กระบวนการในการพัฒนาและการติดตั้งพื้นที่กิจกรรมการเรียนรู้สร้างสรรค์ 1. หาเครือข่ายพื้นที่การเรียนรู้สร้างสรรค์  โดยเริ่มจากการหาบุคคล (Key person) ที่จะเข้ามาร่วมกิจกรรมพื้นที่สร้างสรรค์ เช่น คุณเดี่ยว จาก ฅ บ้านนอก คุณอัฑฒพงศ์ จาก บ้านตะวันยิ้ม ครูแจง จาก แมลงปอปีกแก้ว เป็นต้น 2. ร่วมกันพัฒนาศักยภาพ โดย
2.1 เรียนรู้ ความหมายและแนวคิดพื้นที่สร้างสรรค์ 2.2 ศึกษาดูงาน การจัดกิจกรรมของพื้นที่เครือข่ายทั้งในและต่างประเทศ เช่น กรุงเทพฯ  เพชรบุรี เมืองปีนังประเทศมาเลเซีย ญี่ปุ่น เป็นต้น 3. สนับสนุนให้ Key person ทำงานกับเครือข่ายเยาวชน และกลุ่ม/องค์กรต่างๆในพื้นที่/ชุมชน โดยมีงบประมาณสนับสนุนในการดำเนินกิจกรรมจาก สสย. 4. จัดเทศกาลพื้นที่สร้างสรรค์ในพื้นที่รูปธรรมของแต่ละกลุ่ม/องค์กร และจัดเทศกาลพื้นที่สร้างสรรค์ในระดับจังหวัดร่วมกัน

แนวทางในการพัฒนาและขยายพื้นที่กิจกรรมการเรียนรู้สร้างสรรค์ 1. พัฒนาสถานีอุตรดิตถ์ติดยิ้มให้เป็นศูนย์การเรียนรู้สร้างสรรค์ของจังหวัดอุตรดิตถ์ พัฒนาให้เกิดโปรแกรมเรียนรู้ทั้งในระดับย่อย และระดับใหญ่ ระดับย่อยเป็นการจัดกิจกรรมเป็นระยะๆ กับกลุ่มคนที่ไม่ใหญ่ สามารถลงรายละเอียดของกิจกรรมได้มากได้แก่ การจัดกิจกรรมสื่อสารประเด็น งานศิลปะ งานฝีมือ เกษตรกรรมธรรมชาติ เป็นต้น 2. ขยายพื้นที่รูปธรรม/พื้นที่หลัก โดย พยายามหาพื้นที่ใหม่เพื่อทำกิจกรรมสร้างสรรค์ให้มากขึ้น และหาKey person ใหม่ๆ ให้เพิ่มมากขึ้น 3. พัฒนาอาสาสมัคร และขยายเครือข่ายเยาวชนอาสา โดยจัดโปรแกรมพัฒนาศักยภาพอาสาสมัคร เช่น จัดค่ายเยาวชน
4. พัฒนาโปรแกรมติดยิ้มออนทัวร์ โดยจัดโปรแกรมทัวร์พื้นที่รูปธรรม ที่ทางเครือข่ายหนุนเสริม/พัฒนาศักยภาพ