ระบบติดตามและประเมินผลโครงการ ( M&E Thailand )

directions_run

โครงการประเมินผล โครงการการแพทย์พหุวัฒนธรรม รพ.เทพา จ.สงขลา

แบบการติดตามประเมินผลการดำเนินกิจกรรมของโครงการ (Process Evaluation)

กิจกรรมระยะเวลาเป้าหมาย/วิธีการผลการดำเนินงานปัญหา/อุปสรรค/แนวทางแก้ไข
ตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริง
ประชุมคณะผู้ประเมินโครงการ 10 ธ.ค. 2561 10 ธ.ค. 2561

 

ประชุมคณะผู้ประเมินโครงการเพื่อกำหนดกรอบแนวทางในการดำเนินงาน

 

จากการประชุมคณะผู้ประเมินเพื่อดำเนินการประเมินผล โครงการพัฒนาระบบบริการสุขภาพผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคองในพหุวัฒนธรรมของอำเภอเทพา จังหวัดสงขลา

มีการกำหนดวัตถุประสงค์ กรอบการประเมิน ขอบเขตการประเมิน เครื่องมือที่ใช้ และกำหนดการดำเนินงาน ดังนี้

1.วัตถุประสงค์การประเมิน

1.1 เพื่อประเมินสภาพแวดล้อม/บริบทของโครงการพัฒนาระบบบริการสุขภาพผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคองในพหุวัฒนธรรมของอำเภอเทพา จังหวัดสงขลา

1.2 เพื่อประเมินปัจจัยนำเข้า ของโครงการพัฒนาระบบบริการสุขภาพผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคองในพหุวัฒนธรรมของอำเภอเทพา จังหวัดสงขลา

1.3 เพื่อประเมินกระบวนการ ของโครงการพัฒนาระบบบริการสุขภาพผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคองในพหุวัฒนธรรมของอำเภอเทพา จังหวัดสงขลา

1.4 เพื่อประเมินผลผลิต ของโครงการพัฒนาระบบบริการสุขภาพผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคองในพหุวัฒนธรรมของอำเภอเทพา จังหวัดสงขลา

2.กรอบการประเมิน

ใช้กรอบการประเมินเชิงระบบ (CIPP Model)

3.ขอบเขตการประเมิน

3.1 ขอบเขตประชากร

ประชากรที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ ประกอบด้วย

  • คณะกรรมการทีมประคับประคองโรงพยาบาลเทพา จำนวน 25 คน

  • พยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลเทพา จำนวน 50 คน

  • เจ้าหน้าที่ทั่วไปโรงพยาบาลเทพา จำนวน 200 คน

  • ผู้รู้แต่ละพื้นที่ แบ่งเป็น วิถีพุทธ จำนวน 28 คน และวิถีมุสลิม จำนวน 28 คน

  • ผู้ให้การดูแลผู้สูงอายุ (Care Giver) จำนวน 60 คน

3.2 ขอบเขตเนื้อหา

3.2.1 ประเมินสภาพแวดล้อม/บริบท - หลักการ - วัตถุประสงค์ของโครงการ - เป้าหมายของโครงการ - การเตรียมการภายในโครงการ

3.2.2 ประเมินปัจจัยนำเข้า - บุคลากรและผู้เข้าร่วมโครงการ - วัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ - งบประมาณ - การบริหารจัดการ

3.2.3 ประเมินกระบวนการ - กิจกรรมการดำเนินงานตามโครงการ - การนิเทศติดตาม

3.2.4 ประเมินผลผลิต - ผลการดำเนินโครงการ

3.3 ขอบเขตพื้นที่ประเมิน
อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา

3.4 ขอบเขตระยะเวลา เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ.2561

3.5 งบประมาณในการประเมิน 20,000 บาท

4.เครื่องมือที่ใช้

4.1 แบบสอบถาม

4.2 การสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion)

 

สร้างและพัฒนาเครื่องมือในการประเมิน 12 ธ.ค. 2561 15 ธ.ค. 2561

 

พัฒนาเครื่องมือการประเมิน

 

มีเครื่องมือการประเมินที่มีคุณภาพ

 

ลงพื้นที่เก็บข้อมูล 20 ธ.ค. 2561 1 ก.พ. 2562

 

นางสาวอารีย์ สุวรรณชาตรี และนายอะหมัด หลีขาหรี ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินการโครงการพัฒนาระบบสุขภาพ​ผู้ป่วยระยะ​สุดท้ายแบบประคับประครองในพื้นที่พหุวัฒนธรรม​ โรงพยาบาลเทพา อำเภอ​เทพา​ จังหวัด​สงขลา โดยมีกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 15 คน ประกอบด้วย
- ตัวแทนผู้นับถือศาสนาพุทธจำนวน 2 คน
- ตัวแทนผู้นับถือศาสนาอิสลามจำนวน 2 คน
- ตัวแทนคณะกรรมการโครงการจำนวน 3 คน
- ตัวแทนพยาบาลวิชาชีพจำนวน 2 คน
- ตัวแทนผู้รู้จำนวน 2 คน
- ตัวแทนเจ้าหน้าที่ที่ผ่านการอบรมจำนวน 2 คน
- ตัวแทน care giver จำนวน 2 คน

 

จากการลงพื้นที่ติดตาม พบว่า การดำเนินงานโครงการพัฒนาระบบสุขภาพ​ผู้ป่วยระยะ​สุดท้ายแบบประคับประครองในพื้นที่พหุวัฒนธรรม​ โรงพยาบาลเทพา อำเภอ​เทพา​ จังหวัด​สงขลา
บรรลุวัตถุประสงค์ที่วางไว้ คือ

  1. เพื่อพัฒนาบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขให้มีองค์ความรู้เรื่องการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายและมีสมรรถนะทางวัฒนธรรม

  2. เพื่อจัดรูปแบบการบริการสุขภาพผู้ป่วยระยะสุดท้ายในพหุวัฒนธรรมอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร

โดยปัจจัยสำคัญที่ทำให้การดำเนินงานโครงการประสบความสำเร็จ ได้แก่

  1. นโยบายของโรงพยาบาลมีความชัดเจน ผู้บริหารโรงพยาบาลมีวิสัยทัศน์ และอำนวยความสะดวกในการดำเนินงานโครงการอย่างเต็มที่

  2. ผู้รับผิดชอบโครงการมีภาวะความเป็นผู้นำสูง มีมนุษยสัมพันธ์ดี และมีการติดตามงานในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง

  3. ทีมงานและผู้เข้าร่วมโครงการมีความพร้อม และให้ความร่วมมือกับโครงการในทุกกิจกรรมเป็นอย่างดี

 

จัดทำรายงานผลการประเมิน 31 ธ.ค. 2561 30 มี.ค. 2562

 

จัดทำรายงานผลการประเมินโครงการในรูปแบบบทความ

 

บทความรายงานผลการติดตามและประเมินผลโครงการ