ระบบติดตามและประเมินผลโครงการ ( M&E Thailand )

โครงการประเมินผล โครงการการแพทย์พหุวัฒนธรรม รพ.เทพา จ.สงขลา

ประชุมคณะผู้ประเมินโครงการ10 ธันวาคม 2561
10
ธันวาคม 2561รายงานจากพื้นที่ โดย นายอะหมัด หลีขาหรี
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ประชุมคณะผู้ประเมินโครงการเพื่อกำหนดกรอบแนวทางในการดำเนินงาน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

จากการประชุมคณะผู้ประเมินเพื่อดำเนินการประเมินผล โครงการพัฒนาระบบบริการสุขภาพผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคองในพหุวัฒนธรรมของอำเภอเทพา จังหวัดสงขลา

มีการกำหนดวัตถุประสงค์ กรอบการประเมิน ขอบเขตการประเมิน เครื่องมือที่ใช้ และกำหนดการดำเนินงาน ดังนี้

1.วัตถุประสงค์การประเมิน

1.1 เพื่อประเมินสภาพแวดล้อม/บริบทของโครงการพัฒนาระบบบริการสุขภาพผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคองในพหุวัฒนธรรมของอำเภอเทพา จังหวัดสงขลา

1.2 เพื่อประเมินปัจจัยนำเข้า ของโครงการพัฒนาระบบบริการสุขภาพผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคองในพหุวัฒนธรรมของอำเภอเทพา จังหวัดสงขลา

1.3 เพื่อประเมินกระบวนการ ของโครงการพัฒนาระบบบริการสุขภาพผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคองในพหุวัฒนธรรมของอำเภอเทพา จังหวัดสงขลา

1.4 เพื่อประเมินผลผลิต ของโครงการพัฒนาระบบบริการสุขภาพผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคองในพหุวัฒนธรรมของอำเภอเทพา จังหวัดสงขลา

2.กรอบการประเมิน

ใช้กรอบการประเมินเชิงระบบ (CIPP Model)

3.ขอบเขตการประเมิน

3.1 ขอบเขตประชากร

ประชากรที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ ประกอบด้วย

  • คณะกรรมการทีมประคับประคองโรงพยาบาลเทพา จำนวน 25 คน

  • พยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลเทพา จำนวน 50 คน

  • เจ้าหน้าที่ทั่วไปโรงพยาบาลเทพา จำนวน 200 คน

  • ผู้รู้แต่ละพื้นที่ แบ่งเป็น วิถีพุทธ จำนวน 28 คน และวิถีมุสลิม จำนวน 28 คน

  • ผู้ให้การดูแลผู้สูงอายุ (Care Giver) จำนวน 60 คน

3.2 ขอบเขตเนื้อหา

3.2.1 ประเมินสภาพแวดล้อม/บริบท - หลักการ - วัตถุประสงค์ของโครงการ - เป้าหมายของโครงการ - การเตรียมการภายในโครงการ

3.2.2 ประเมินปัจจัยนำเข้า - บุคลากรและผู้เข้าร่วมโครงการ - วัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ - งบประมาณ - การบริหารจัดการ

3.2.3 ประเมินกระบวนการ - กิจกรรมการดำเนินงานตามโครงการ - การนิเทศติดตาม

3.2.4 ประเมินผลผลิต - ผลการดำเนินโครงการ

3.3 ขอบเขตพื้นที่ประเมิน
อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา

3.4 ขอบเขตระยะเวลา เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ.2561

3.5 งบประมาณในการประเมิน 20,000 บาท

4.เครื่องมือที่ใช้

4.1 แบบสอบถาม

4.2 การสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion)