ระบบติดตามและประเมินผลโครงการ ( M&E Thailand )

directions_run

โครงการบูรณาการกลไกสุขภาพชุมชน เขต 11 อ.คีรีรัฐนิคม จ.สุราษฎร์ธานี

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์


“ โครงการบูรณาการกลไกสุขภาพชุมชน เขต 11 อ.คีรีรัฐนิคม จ.สุราษฎร์ธานี ”

อำเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี

หัวหน้าโครงการ
นายเชาวลิต ลิปน้อย

ชื่อโครงการ โครงการบูรณาการกลไกสุขภาพชุมชน เขต 11 อ.คีรีรัฐนิคม จ.สุราษฎร์ธานี

ที่อยู่ อำเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี จังหวัด สุราษฎร์ธานี

รหัสโครงการ XXX เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 เมษายน 2563 ถึง 31 สิงหาคม 2563


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการบูรณาการกลไกสุขภาพชุมชน เขต 11 อ.คีรีรัฐนิคม จ.สุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน อำเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการบูรณาการกลไกสุขภาพชุมชน เขต 11 อ.คีรีรัฐนิคม จ.สุราษฎร์ธานี



บทคัดย่อ

การศึกษานี้เป็นการวิจัยประเมินผลเพื่อเสริมพลังอำนาจ วัตถุประสงค์เพื่อประเมินสมรรถนะการจัดการผ่านกลไกระบบพี่เลี้ยงและเพื่อประเมินผลการบูรณาการกลไกสุขภาพชุมชน เขต 11 จังหวัดสุราษฎร์ธานี ผู้ศึกษาใช้กรอบแนวคิดปัจจัยกำหนดสุขภาพ (SDH) โดยการประยุกต์เครื่องมือการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ (HIA) เพื่อศึกษา 1) กลไกการดําเนินงานสร้างเสริมสุขภาวะในพื้นที่ในการบูรณาการขับเคลื่อนการสร้างเสริมสุขภาวะในกองทุนหลักประกันสุขภาพ 2) กระบวนการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ ในการประเมินโครงการบูรณาการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะและพัฒนากลไกสุขภาวะระดับพื้นที่ และ 3)ประเมินด้านประสิทธิผลในการพัฒนาโครงการ การรายงานผลเว็ปไซด์และคู่มือการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับพื้นที่ โดยผู้ศึกษาได้เก็บข้อมูล 1) ผู้ประสานงานระดับเขต 2) ผู้ประสานงานจังหวัด 3) พี่เลี้ยงกองทุน 4) พชอ. 5) พชต. 6) ผู้รับผิดชอบกองทุน และ 7) ผู้รับผิดชอบโครงการ การศึกษาครั้งนี้ผู้ศึกษาได้ใช้ การสังเกตแบบมีส่วน ร่วมกับการสนทนากลุ่ม การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง ร่วมกับ การอภิปรายกลุ่ม, การสัมภาษณ์เชิงลึก และเวทีประชุมแลกเปลี่ยน ผลการศึกษาพบว่า 1) กลไกการดําเนินงานสร้างเสริมสุขภาวะในพื้นที่ในการบูรณาการขับเคลื่อนการสร้างเสริมสุขภาวะในกองทุนหลักประกันสุขภาพประสบความสำเร็จ ทั้งนี้ (1) “คน” เป็นผู้ที่มีศักยภาพ ความสามารถ มีทักษะในการประสานงาน และการดำเนินงานโดยเฉพาะพี่เลี้ยงกองทุน (2) “กลไกระบบ” เกิดการบูรณาการทำงานร่วมกัน ทั้ง พชอ. พชต. ผู้รับผิดชอบกองทุน และผู้รับผิดชอบโครงการ รวมถึงกลไกลสนับสนุนจาก สปสช. เป็นต้น (3) “สภาพแวดล้อม” คือ ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ แม้ว่าพื้นที่คีรีรัฐนิคม ยังไม่มีการใช้ประโยชน์จากเว็บไซต์และคู่มือในการดำเนินการขับเคลื่อนกองทุน แต่ผู้ที่เกี่ยวข้องมองเห็นประโยชน์ของข้อมูลในระบบซึ่งคาดว่าจะค้นหาแนวทางในการใช้ประโยชน์ต่อไป 2) กระบวนการประเมินผลกระทบทางสุขภาพเพื่อการประเมินโครงการบูรณาการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะและพัฒนากลไกสุขภาวะระดับพื้นที่ ซึ่งการประยุกต์ใช้การประเมินผลกระทบทางสุขภาพ (HIA) เป็นเครื่องมือมีส่วนสำคัญที่สร้างการเสริมพลังทางอำนาจของการทำงานร่วมกันของทุกๆฝ่าย และมุ่งให้การดำเนินการของกองทุนฯสำเร็จประโยชน์กับชุมชนมากที่สุด โดยเฉพาะขั้นตอน Public Scoping และ Public Review และ 3) ประเมินด้านประสิทธิผลการพัฒนาโครงการและการรายงานผลเว็ปไซต์และคู่มือการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับพื้นที่ จะเห็นได้ว่าการพัฒนาโครงการและรายงานผลเว็บไซต์และเครื่องมือยังไม่มีการใช้ประโยชน์แต่อย่างใด เนื่องจากความซ้ำซ้อนกับเว็บไซต์ของกองทุนสปสช.และการมีจำนวนบุคลากรที่จำกัดส่งผลต่อภาระงานที่มากขึ้น อย่างไรก็ตามควรมีการพัฒนาศักยภาพและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของผู้รับผิดชอบโครงการในการรายงานผลผ่านระบบเว็บไซต์ ควรสร้างความเข้าใจและตระหนักแก่คณะกรรมการกองทุนสุขภาพในการทำโครงการที่ใช้ข้อมูลจากเว็บไซต์และคู่มือเพื่อเปิดโอกาสกับโครงการที่สอดรับกับปัญหาสุขภาพและคุณภาพชีวิต รวมทั้งความต้องการของชุมชนอย่างแท้จริง

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

บรรยาย (หลักการและเหตุผล)

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

 

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. ประชุมทีม
  2. ประเมินติดตามกองทุน

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
ปฐมวัย (0-5 ปี)
วัยเรียน (6-12 ปี)
วัยรุ่น (13-15 ปี)
เยาวชน (15-20 ปี)
วัยทำงาน
ผู้สูงอายุ (60 ปีขึ้นไป)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
ผู้พิการ
ผู้หญิง
มุสลิม
พระภิกษุ
ชาติพันธุ์
ผู้ต้องขัง
หลากหลายทางเพศ (LGBTIQ)
กลุ่มด้อยโอกาส (คนไร้บ้าน, เด็กเร่ร่อน, เด็กกำพร้า, เด็กในสถานพินิจ ฯลฯ)
แรงงานข้ามชาติ
อื่น ๆ

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 


ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. ประชุมทีม

วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2563

กิจกรรมที่ทำ

wwwww

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

dddd

 

50 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 0
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
ปฐมวัย (0-5 ปี) -
วัยเรียน (6-12 ปี) -
วัยรุ่น (13-15 ปี) -
เยาวชน (15-20 ปี) -
วัยทำงาน -
ผู้สูงอายุ (60 ปีขึ้นไป) -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
ผู้พิการ -
ผู้หญิง -
มุสลิม -
พระภิกษุ -
ชาติพันธุ์ -
ผู้ต้องขัง -
หลากหลายทางเพศ (LGBTIQ) -
กลุ่มด้อยโอกาส (คนไร้บ้าน, เด็กเร่ร่อน, เด็กกำพร้า, เด็กในสถานพินิจ ฯลฯ) -
แรงงานข้ามชาติ -
อื่น ๆ -

บทคัดย่อ*

การศึกษานี้เป็นการวิจัยประเมินผลเพื่อเสริมพลังอำนาจ วัตถุประสงค์เพื่อประเมินสมรรถนะการจัดการผ่านกลไกระบบพี่เลี้ยงและเพื่อประเมินผลการบูรณาการกลไกสุขภาพชุมชน เขต 11 จังหวัดสุราษฎร์ธานี ผู้ศึกษาใช้กรอบแนวคิดปัจจัยกำหนดสุขภาพ (SDH) โดยการประยุกต์เครื่องมือการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ (HIA) เพื่อศึกษา 1) กลไกการดําเนินงานสร้างเสริมสุขภาวะในพื้นที่ในการบูรณาการขับเคลื่อนการสร้างเสริมสุขภาวะในกองทุนหลักประกันสุขภาพ 2) กระบวนการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ ในการประเมินโครงการบูรณาการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะและพัฒนากลไกสุขภาวะระดับพื้นที่ และ 3)ประเมินด้านประสิทธิผลในการพัฒนาโครงการ การรายงานผลเว็ปไซด์และคู่มือการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับพื้นที่ โดยผู้ศึกษาได้เก็บข้อมูล 1) ผู้ประสานงานระดับเขต 2) ผู้ประสานงานจังหวัด 3) พี่เลี้ยงกองทุน 4) พชอ. 5) พชต. 6) ผู้รับผิดชอบกองทุน และ 7) ผู้รับผิดชอบโครงการ การศึกษาครั้งนี้ผู้ศึกษาได้ใช้ การสังเกตแบบมีส่วน ร่วมกับการสนทนากลุ่ม การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง ร่วมกับ การอภิปรายกลุ่ม, การสัมภาษณ์เชิงลึก และเวทีประชุมแลกเปลี่ยน ผลการศึกษาพบว่า 1) กลไกการดําเนินงานสร้างเสริมสุขภาวะในพื้นที่ในการบูรณาการขับเคลื่อนการสร้างเสริมสุขภาวะในกองทุนหลักประกันสุขภาพประสบความสำเร็จ ทั้งนี้ (1) “คน” เป็นผู้ที่มีศักยภาพ ความสามารถ มีทักษะในการประสานงาน และการดำเนินงานโดยเฉพาะพี่เลี้ยงกองทุน (2) “กลไกระบบ” เกิดการบูรณาการทำงานร่วมกัน ทั้ง พชอ. พชต. ผู้รับผิดชอบกองทุน และผู้รับผิดชอบโครงการ รวมถึงกลไกลสนับสนุนจาก สปสช. เป็นต้น (3) “สภาพแวดล้อม” คือ ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ แม้ว่าพื้นที่คีรีรัฐนิคม ยังไม่มีการใช้ประโยชน์จากเว็บไซต์และคู่มือในการดำเนินการขับเคลื่อนกองทุน แต่ผู้ที่เกี่ยวข้องมองเห็นประโยชน์ของข้อมูลในระบบซึ่งคาดว่าจะค้นหาแนวทางในการใช้ประโยชน์ต่อไป 2) กระบวนการประเมินผลกระทบทางสุขภาพเพื่อการประเมินโครงการบูรณาการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะและพัฒนากลไกสุขภาวะระดับพื้นที่ ซึ่งการประยุกต์ใช้การประเมินผลกระทบทางสุขภาพ (HIA) เป็นเครื่องมือมีส่วนสำคัญที่สร้างการเสริมพลังทางอำนาจของการทำงานร่วมกันของทุกๆฝ่าย และมุ่งให้การดำเนินการของกองทุนฯสำเร็จประโยชน์กับชุมชนมากที่สุด โดยเฉพาะขั้นตอน Public Scoping และ Public Review และ 3) ประเมินด้านประสิทธิผลการพัฒนาโครงการและการรายงานผลเว็ปไซต์และคู่มือการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับพื้นที่ จะเห็นได้ว่าการพัฒนาโครงการและรายงานผลเว็บไซต์และเครื่องมือยังไม่มีการใช้ประโยชน์แต่อย่างใด เนื่องจากความซ้ำซ้อนกับเว็บไซต์ของกองทุนสปสช.และการมีจำนวนบุคลากรที่จำกัดส่งผลต่อภาระงานที่มากขึ้น อย่างไรก็ตามควรมีการพัฒนาศักยภาพและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของผู้รับผิดชอบโครงการในการรายงานผลผ่านระบบเว็บไซต์ ควรสร้างความเข้าใจและตระหนักแก่คณะกรรมการกองทุนสุขภาพในการทำโครงการที่ใช้ข้อมูลจากเว็บไซต์และคู่มือเพื่อเปิดโอกาสกับโครงการที่สอดรับกับปัญหาสุขภาพและคุณภาพชีวิต รวมทั้งความต้องการของชุมชนอย่างแท้จริง

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

กลไกการดําเนินงานสร้างเสริมสุขภาวะด้วยกระบวนการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ (HIA) ภายใต้กรอบแนวคิดปัจจัยกำหนดสุขภาพ (SDH) มีผลต่อการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะและพัฒนากลไกสุขภาวะระดับพื้นที่ อำเภอคีรีรัฐนิคม ประสบความสำเร็จ ด้วยปัจจัยความสำเร็จ ดังนี้

1) ปัจจัยที่หนึ่ง ปัจจัยของ “คน”
จากการพัฒนาศักยภาพของทีมประสานงานระดับเขตและพี่เลี้ยงกองทุนฯ องค์ประกอบของความสำเร็จของโครงการฯ เนื่องจาก (1) องค์ความรู้และความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ของตนเอง (2) ความสามารถและทักษะในการประสานงาน (3) ศักยภาพในการจัดทำแผนงาน โครงการ และการติดตามประเมินผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการกองทุนเป็นอย่างดี (4) การทราบถึงบทบาทหน้าที่ที่ถูกกำหนดที่มีความชัดเจน ซึ่งเป็นปัจจัยนำเข้าที่สำคัญต่อกลไกบูรณาการโครงการฯ ดังนั้นปัจจัยเรื่องของคนโดยเฉพาะศักยภาพ และทักษะความสามารถ ส่งผลต่อการปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ของบุคคล (Role Performance) เป็นบทบาทของสถานภาพที่แสดงออกจริง (Actual Role) การที่บุคคลใดจะปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ที่ได้ดีเพียงใดนั้น ขึ้นอยู่กับระดับของการยอมรับบทบาทนั้นๆของบุคคลที่ได้ครองตำแหน่งนั้นอยู่ ทั้งนี้เกี่ยวข้องกับหลายปัจจัย ทั้งเรื่องของความเชื่อ ค่านิยม การอบรม กำลังใจ มูลเหตุจูงใจ ข้อผูกพัน ความพอใจในสิทธิหน้าที่ของจิตใจ และร่างกายของแต่ละบุคคล (นิสากร กรุงไกรเพชร และคณะ, 2560) ขณะเดียวกันการดำเนินการเพื่อมุ่งเน้นการขับเคลื่อนการสร้างเสริมสุขภาวะทุกประเด็นเป็นเรื่องที่ท้าทายของพื้นที่อำเภอคีรีรัฐนิคม ซึ่งจะต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วนในพื้นที่เพื่อการขับเคลื่อนประเด็นเฉพาะของแต่ละพื้นที่ เช่น 1) เทศบาลตำบลท่าขนอน มีการขับเคลื่อนประเด็นพืชผักปลอดภัย 2) องค์การบริหารส่วนตำบลท่าขนอน มีการขับเคลื่อนประเด็นผู้สูงอายุ 3) องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านยาง มีการขับเคลื่อนประเด็นการคุ้มครองผู้บริโภค และ 4) องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านทำเนียบ มีการขับเคลื่อนประเด็นผู้ป่วยจิตเวช (การดูแลผู้ป่วยจิตเวช) ให้สามารถขยายประเด็นการทำงานให้ครอบคลุมมากขึ้น (สุริยา น้ำขาว (การสัมภาษณ์),2563)รวมไปถึงผลการดำเนินการกองทุนต่างๆมีการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์และความเป็นผู้นำที่มีจริยธรรมช่วยจัดการกับความกดดันและข้อขัดแย้ง และช่วยปกป้องประโยชน์ของสมาชิกในสิทธิประกันสุขภาพแห่งชาติเป็นอย่างดี ซึ่งทำให้การจัดทำแผนมีความครอบคลุมสามารถแก้ปัญหาตามความต้องการของพื้นที่ได้อย่างเป็นองค์รวมทั้งด้านสุขภาพ ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน โดยกองทุนสุขภาพเป็นแหล่งสนับสนุนทุกกลุ่มวัยได้รับการดูแลทำให้เกิดการมีส่วนร่วมอย่างมีกฎ กติกา ประชาชนถือปฏิบัติเกิดการเรียนรู้รักสามัคคี นำความสุขสงบมาสู่คนในชุมชน เกิดกลไกการคุ้มครองสิทธิของประชาชนในชุมชน และในขณะเดียวกันก็เกิดพลังขับเคลื่อนในพื้นที่ มีกลไกบูรณาการระหว่างรัฐ ท้องถิ่น ประชาชนในระดับท้องถิ่น ประชาชนสามารถพึ่งตนเองได้

2) ปัจจัยที่สอง ปัจจัยของ “กลไก”
กลไกบูรณาการดําเนินงานสร้างเสริมสุขภาวะในพื้นที่อำเภอคีรีรัฐนิคม โครงสร้างกลไกบูรณาการการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาวะอำเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นกลไกที่เกิดจากการบูรณาการขององค์กรที่ทำภารกิจสร้างเสริมสุขภาวะเกิดการพัฒนาศักยภาพทีมระดับพื้นที่ให้สามารถเป็นพี่เลี้ยง coaching การจัดทําแผน พัฒนาข้อเสนอโครงการสร้างเสริมสุขภาวะและติดตามประเมินผลโครงการของกองทุน ฯ ให้มีคุณภาพ เกิดการลดช่องว่างในการประสานงานระหว่างผู้ประสานงานเขตกับพี่เลี้ยงพื้นที่ทำให้เกิดการทำงานบูรณาการได้อย่างเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ส่งผลกระทบต่อการดำเนินการกิจกรรมสำคัญ เช่น เรื่องการใช้ประโยชน์จากคู่มือ การใช้ประโยชน์จากเว็บไซต์ เป็นต้น นอกจากนี้ยังพบว่าในระดับนโยบายของหน่วยงานในระดับเขต 11 ยังไม่ค่อยเข้าใจกระบวนการดำเนินงานของกลไกที่จัดตั้งขึ้น มองว่าเป็นเรื่องซ้ำซ้อนกับระบบเก่าที่ทำอยู่แล้ว ทีมประเมินร่วมกับผู้ประสานงานเขต เห็นพ้องต้องกันว่าควรมีการสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนเห็นประโยชน์และความสำคัญของกลไกดังกล่าว ซึ่งปัจจัยที่นำไปสู่ความสำเร็จที่สำคัญ คือ “กลไกพชต.” ของพื้นที่คีรีรัฐนิคม คือ การที่พชต. มีบทบาทสำคัญในการเชื่อมประสานการทำงานระหว่าง พชอ. กับ กองทุนฯ ได้เป็นอย่างดี เนื่องจากมีผู้นำที่มาจากทั้งท้องที่และท้องถิ่น ได้แก่ ผู้บริหารท้องถิ่น และ กำนัน ซึ่งนับเป็นช่องทางสำคัญที่ทำให้สามารถนำประเด็นที่เป็นประเด็นของ พชอ. ลงมาขับเคลื่อนในระดับท้องถิ่นได้เป็นอย่างดี สอดคล้องกับ วาสนา ลุนสำโรง (2555) บทบาทของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการเข้าร่วมและให้ความเห็นในเวที Public Scoping และ Public Review ให้ข้อมูลสอดคล้องกับข้อเท็จจริง ถึงความพร้อมในการให้บริการ ศักยภาพ และความพร้อมในการรองรับ ของ อปท. หรือการให้ข้อมูลเฉพาะของพื้นที่ เช่น ปัญหาที่มีอยู่เดิม และอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการติดตามเฝ้าระวังผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน ซึ่งแต่ละกองทุนของอำเภอคีรีรัฐนิคม มีรองนายก ปลัดเทศบาล ฯลฯ เป็นผู้ผลักดันการดำเนินโครงการภายใต้กองทุนฯเกือบทั้งสิ้น นอกจากนี้ยังมี “กลไกคณะกรรมการกลั่นกรองโครงการ” ที่ถูกจัดตั้งให้มีในทุกกองทุนฯของอำเภอคีรีรัฐนิคม มีบทบาทในการพิจารณาโครงการก่อนเข้าสู่คณะกรรมการกองทุนฯ และมีบทบาทพัฒนาคุณภาพโครงการให้ถูกต้องตามระเบียบกองทุนฯ ซึ่งถือว่าทำหน้าที่ในการ “เสริมพลังอำนาจ” (Empowerment) ต่อผู้รับผิดชอบโครงการ พร้อมทั้งพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ ซึ่งกลไกนี้สามารถช่วยแก้ไขปัญหาคุณภาพของโครงการก่อนเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการกองทุนฯ เป็นการลดภาระของคณะกรรมการกองทุนฯ และช่วยพัฒนาศักยภาพของผู้รับผิดชอบกองทุนฯ ได้เป็นอย่างดี กลไกสำคัญอีกกลไกที่มีในทุกกองทุน คือ “กลไกคณะกรรมการติดตามประเมินผลโครงการ” มีบทบาทในการพิจารณาติดตามหนุนเสริมโครงการที่ได้รับอนุมัติแล้ว เพื่อให้สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับ จักรวาล สุขไมตรี (2561) พบว่า การวางวัตถุประสงค์โครงการ และคอยสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับโครงการ เพื่อให้สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ กลไกดังกล่าวถูกจัดตั้งขึ้นเพื่อแก้ปัญหาประสิทธิภาพในการขับเคลื่อนโครงการเพื่อการบรรลุผลลัพธ์ของโครงการ เมื่อการประสานงาน เป็นการสร้างความร่วมมือกันในการปฏิบัติหน้าที่ของบุคลากรในองค์การ บุคลากรระหว่างหน่วยงาน โดยมีสัมพันธภาพที่ดีต่อกันในการทำงานร่วมกันมีการสื่อสาร ตระหนักในบทบาทหน้าที่ ความรับผิดชอบ สัมพันธภาพที่ดีต่อกัน เพื่อให้เป้าหมายขององค์การบรรลุตามที่กำหนดไว้สำเร็จได้

3) ปัจจัยที่ 3 ปัจจัย “สภาพแวดล้อม”
เมื่อการดำเนินโครงการกลไกบูรณาฯสามารถสำเร็จและนำไปสู่การขับเคลื่อนเชิงนโยบาย สิ่งสำคัญที่โครงการนำมาใช้ คือ 1) เว็บไซต์การบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับพื้นที่ เว็บไซต์การบริการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ( https://localfund.happynetwork.org) 2) คู่มือกองทุนตำบล 3) โปรแกรมเอื้อต่อการเขียนโครงการเพื่อขอสนับสนุนทุน และ 4) โปรแกรมเอื้อต่อการติดตามและประเมินผล อย่างไรก็ตามจากรายงานโปรแกรมแสดงให้เห็นว่ามีการใช้มากในเขตสุขภาพที่ 12 ในขณะที่เขตสุขภาพอื่นๆมีการลงรายละเอียดข้อมูลโครงการน้อย และบางโครงการเป็นเพียงการกรอกข้อมูลเพื่อทดสอบระบบ สอดคล้องกับการใช้งานของผู้รับผิดชอบโครงการกองทุนในอำเภอคีรีรัฐ ซึ่งไม่มีการกรอกข้อมูลการดำเนินโครงการลงในระบบเนื่องจากโดยให้ข้อคิดเห็นว่าการใช้งานโปรแกรมมีความซับซ้อน โปรแกรมนี้ยังทำให้ภาระงานที่เพิ่มขึ้นเพราะต้องกรอกข้อมูลอย่างละเอียด และยังคงต้องกรอกข้อมูลลงโปรแกรมของ สปสช. มีผลต่อการได้รับเงินสนับสนุนโครงการ ซึ่งขัดแย้งกับ กรมอนามัย (2554) การขับเคลื่อนเชิงนโยบายที่สำคัญอย่างหนึ่ง คือ การจัดเก็บ รวบรวม จัดหมวดหมู่ และวิเคราะห์ข้อมูลโรคที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม (Environmental related disease) สิ่งคุกคามด้านสิ่งแวดล้อม(Environmental Hazards) และการสัมผัสด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Exposures) และกระจายข้อมูลให้ผู้เกี่ยวข้องในการดำเนินการอย่างทันท่วงที สิ่งที่สามารถผลักดันให้การนำเว็บไซต์และคู่มือมาใช้ในการขับเคลื่อนและผลักดันเรื่องสุขภาวะของคนไทย โดยเฉพาะพื้นที่อำเภอคีรีรัฐนิคมต้องดำเนินการโดย

4) คุณค่าประโยชน์ของการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ (HIA) ต่อการประยุกต์ภายใต้โครงการบูรณาการกลไกฯ การประยุกต์ใช้การประเมินผลกระทบทางสุขภาพ (HIA) ในพื้นที่อำเภอคีรีรัฐนิคม จะเห็นได้ว่า HIA เป็นเสมือนเครื่องมือคุ้มครองสุขภาพของประชาชน โดยมีความเชื่อมโยงสิ่งแวดล้อมและสุขภาพเฉพาะพื้นที่ เกิดการคาดการณ์ผลกระทบต่อสมาชิกในชุมชนทุกคน หรือเฉพาะกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เน้นการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสียโดยเฉพาะภาคประชาชนเพื่อสร้างความตระหนักรู้ต่อสุขภาพ ก่อให้เกิดการขับเคลื่อนเชิงกลยุทธ์ในการดำเนินงานโดยอาศัยการกระจายอำนาจลงสู่ท้องถิ่นและเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน เอนก เหล่าธรรมทัศน์ (2557) ซึ่งการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน ด้วยการมองว่ารัฐต้องทำงานร่วมกับประชาชน (Work with) ซึ่งท้าทายกรอบเดิมที่รัฐมักจะอ้างว่าทำงานเพื่อประชาชน (Work for) รวมไปถึงตอบสนองความต้องการของพื้นที่ได้เร็วกว่าและมากกว่า จากที่ไม่ต้องผ่านหลายขั้นตอน และผู้ตัดสินใจกับผู้รับผลจากการตัดสินใจมีลักษณะร่วมกัน นับเป็นคุณค่าแท้ (Real Value) ประโยชน์ที่สำคัญมากต่อสถานการณ์ปัญหาของสุขภาพของคนไทยในปัจจุบัน ในขณะเดียวกันยังสามารถต่อยอดทางความคิดหรือขยายผลทางความรู้ที่เป็นคุณค่าแฝง (Hidden Value) ได้แก่ 1) เกิดการถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่นักศึกษาที่กำลังศึกษาการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนเพื่อส่งผลต่อการขยายความคิดเรื่องการประเมินผลกระทบทางสุขภาพมาเชื่อมโยงกับการประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม (EIA) 2) การขยายผลในการนำเครื่องมือ (HIA) และการนำเอากรอบแนวคิดปัจจัยกำหนดทางสุขภาพไปปรับใช้กับการประเมินผลโครงการอื่นๆทั้งที่เกี่ยวข้องกับประเด็นสุขภาพ หรือ โครงการอื่นๆโดยทั่วๆไป 3) การนำผลการประเมินในเรื่องของกลไกของกรอบแนวคิดปัจจัยกำหนดสุขภาพ กระบวนการประเมินผลของเครื่องมือ HIA การนำการใช้ประโยชน์ของเว็บไซต์ หรือ คู่มือของกองทุนฯก่อให้เกิดการเสริมศักยภาพของโครงการบูรณาการกลไกครอบคลุมทุกมิติโดยเฉพาะประสิทธิผลของกลไกเหล่านี้ และ 4) ความต่อเนื่องของการประยุกต์ใช้เครื่องมือ HIA ต่อยอดในโครงการที่สำคัญที่เกี่ยวข้องกับประเด็นสุขภาวะของประชาชนทั้งนี้เพราะเครื่องมือ HIA สร้างมูลค่าของการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียอย่างแท้จริง ซึ่งคุณค่าเหล่านี้สามารถแสดงได้จากการสดงความสัมพันธ์ของกลไกการบูรณาการโครงการภายใต้เครื่องมือ HIA ดังรูปภาพที่ 7


รูปที่ 7 : การประยุกต์ใช้ HIA และ SDH ภายใต้โครงการบูรณาการกลไกฯ

5) บทบาทของนักประเมินต่อการส่งเสริมกลไกบูรณาการโครงการฯด้วยรูปแบบ “การเสริมพลังอำนาจ”
บทบาทของการเป็นนักประเมินจะมุ่งเน้นการพิจารณาและวัดคุณค่าของกิจการใดๆตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ซึ่งค้นพบว่า การประเมิโดยการใช้กลไกบูรณาการขับเคลื่อนการทำงานของกองทุนสุขภาพ เพื่อกำหนดคุณค่าและความสำเร็จของโครงการด้วยการอาศัยกรอบแนวคิดของปัจจัยกำหนดสุขภาพ (SDH) และนำเอา HIA มาใช้สำหรับการประเมิน พบว่า การประเมินนั้นต้องอยู่บนพื้นฐานของหลักการและเหตุผล และนำข้อมูลที่ได้มานั้นทำการสรุปผลโครงการอันจะเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินโครงการนั้น ๆ ซึ่งการประเมินผลอาจจะดำเนินการในช่วงระหว่างดำเนินการ หรือเมื่อโครงการเสร็จสิ้นแล้วก็ได้ เพื่อตัดสินคุณค่าหรือคุณภาพของโครงการ หรือการพิจรณาและลงความเห็นว่ากิจกรรม กระบวนการต่าง ๆ ในโครงการโดยรวมดีหรือไม่ มีคุณภาพเพียงพอหรือไม่และจะนำไปใช้กับโครงการอื่น ๆ อย่างไร (พิกุล ทิตยกุล, 2552) ซึ่งการดำเนินการของทีมประเมินประกอบขึ้นจากประสบการณ์ของผู้ประเมินที่เน้นการพัฒนาศักยภาพ พัฒนาขีดความสามารถ (Empower) ของคนที่รับผิดชอบโครงการ และเน้นการพัฒนากระบวนการพัฒนาสังคม รวมไปถึงคุณค่าที่เกิดขึ้นทั้งภายในและภายนอกที่ส่งผลต่อความสำเร็จของโครงการ ซึ่ง คือ การประเมินแบบเสริมพลังอำนาจ เป็นสิ่งสำคัญมากต่อการส่งเสริมศักยภาพของผู้ถูกประเมิน สภาพแวดล้อม กลไกระบบ ผู้มีส่วนได้เสียต่างๆ สอดคล้องกับ อมาวสี อัมพันธ์ศิริรัตน์ (2560) พบว่า การประเมินแบบเสริมพลังอำนาจ มีเป้าหมายเพื่อช่วยให้โครงการ/แผนงาน มีโอกาสบรรลุผลสำเร็จ โดยการพัฒนาศักยภาพของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ให้สามารถวางแผนการลงมือปฏิบัติ และประเมินโครงการด้วยตัวเขาเอง ทั้งนี้เพื่อให้เกิดการปรับปรุงและพัฒนางานให้มีคุณภาพอย่างต่อเนื่อง เรียกว่าเป็นการประเมินตนเอง และการสะท้อนกลับอยู่ตลอดเวลา และพัฒนาไปสู่การตัดสินใจด้วยตนเอง และเกิดความรู้สึกเป็นเจ้าของโครงการ อีกทั้งผู้ประเมินเปลี่ยนบทบาทจากการประเมินแบบเดิมเป็นผู้เชี่ยวชาญมาเป็นผู้เอื้ออำนวยความสะดวก เป็นที่ปรึกษา ชี้แนะ และเป็นเพื่อนที่สำคัญไปพร้อมกันด้วย ดังนั้นเป้าหมายของการประเมินแบบเสริมพลังอำนาจ คือ การพัฒนาความสำเร็จของโครงการ ไปพร้อมกับ “การประเมินตนเอง และการสะท้อนกลับ” (Self Evaluation and Reflection) อยู่ตลอดเวลา ซึ่งผู้มีส่วนร่วมทั้งหมดหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่ายรวมทั้งลูกค้า ผู้รับบริการหรืผู้รับประโยชน์ จะต้องทำการประมินด้วยตนเอง หรือประมินงานโครงการ แผนงานของตัวเอง โดยที่ผู้ประเมินเป็นผู้อำนวยความสะดวก ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับศักยภาพ สมรรถนะ ทักษะ หรือความสามารถภายในของทีมงานในระดับต่าง ๆ ของแผนงานเองว่าเป็นอย่างไร ด้วยเหตุนี้การประเมินแนวใหม่ในรูปแบบการประเมิน “แบบเสริมพลังอำนาจ” นี้จึงเป็น “กิจกรรมแห่งความร่วมมือร่วมใจของหลาย ๆ ฝ่าย" (Collaborative Activity) ไม่ใช่เป็นเรื่องของใครเพียงคนใดคนหนึ่ง หรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเท่านั้น” (Fetterman, 2001) จากความสำคัญของการประเมินแบบเสริมพลังอำนาจส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพอย่างมีระบบ และต่อเนื่องและสามาถนำไปประยุกต์ใช้กับการดำเนินโครงการและวิจัยในประเด็นต่าง ๆ ทั้งด้านสาธารณสุขและการศึกษ เพื่อให้เกิดความยั่งยืนของกระบวนการแก้ปัญหาในทุกๆด้าน เห็นได้จากการดําเนินงานสร้างเสริมสุขภาวะด้วยการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ (HIA) ภายใต้กรอบแนวคิดปัจจัยกำหนดสุขภาพ (SDH) มีผลต่อการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะและพัฒนากลไกสุขภาวะระดับพื้นที่ อำเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี ดังกล่าวนี้ ข้อเสนอแนะต่อการนำไปใช้ต่อไป การประเมินแบบเสริมพลังโดยเฉพาะผู้ประเมินกับผู้รับผิดชอบโครงการระดับกองทุนเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเกิดการพัฒนางานของตนเองอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นหากผู้บริหารองค์กรนำแนวคิดการประมินแบบเสริมพลังอำนาจมาใช้ในโครงการต่าง ๆให้กลายเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมและวิถีชีวิตในโครงการ จะส่งผลให้เกิดวงจรพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่องในองค์กร อย่างไรก็ตามการนำแนวคิดการประเมินแบบเสริมพลังมาประยุกต์ใช้กรอบแนวคิดปัจจัยกำหนดสุขภาพภายใต้การประยุกต์เครื่องมือ HIA ในงานสาธารณสุข หากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในชุมชนรู้สึกเป็นเจ้าของชุมชนแล้ว จะทำให้เขาอยากพัฒนาตนเอง พัฒนางาน และแสวงหาวิธีการเพื่อบรรลุความสำเร็จของโครงการต่าง ๆ ดังนั้นสิ่งที่สามารถดำเนินการส่งผลสำเร็จต่อโครงการกลไกบูรณาการต่อไปในอนาคต ควรดำเนินการต่อไปนี้ 1) การประเมินกลไกบูรณาการในปีนี้เป็นพื้นที่ต้นแบบซึ่งทำให้เห็นผลของการประเมินเพียงองค์กร ในรูปแบบเดียวเท่านั้น แต่การดำเนินการโครงการต่อเนื่องในปีหน่้าควรมีพื้นที่เปรียบเทียบเพียงเห็นความแตกต่างของการนำกลไกบูรณาการไปใช้ในโครงการ
2) การมีเครื่องมือ HIA เพื่อช่วยในการประเมินผลกระทบยังมีข้อจำกัด ดังนั้นควรมีการพัฒนาเครื่องมือการประเมินคุณภาพโครงการในรูปแบบอื่นๆด้วย 3) องค์ประกอบของผู้มีส่วนได้เสียในการมีส่วนร่วมในการ training ของโครงการ ควรมีความครอบคุลมและมีความหลากหลาย
4) การให้ความสำคัญกับการเสริมสร้างศักยภาพกองทุน ในประเด็นของการประสานการทำงานระหว่างคณะกรรมการต่างๆ และการเชืื่อมโยงกับ พชอ. เป็นต้น 5) การเพิ่มช่องทางการสื่อสารระหว่างผู้รับผิดชอบแต่ละระดับ และผู้รับผิดชอบโครงการในระดับต่างๆ เช่น เวทีการอบรม เวทีการแลกเปลี่ยน เวทีการเรียนรู้ เป็นต้น 6) การจัดการความรู้ (Knowledge Management) โดยการมีพื้นที่หรือกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ปัญหาและรูปแบบการจัดการปัญหา ระหว่างทีมที่ประสบความสำเร็จ ในด้านการดำเนินการกลไกบูรณาการ ต่างๆ 7) การให้การปลุกฝังการทำงานเชิงการทำงานกลไกลบูรณาการด้วยการขับเคลื่อนเชิงระบบ แทนการผลักดันการทำงานที่ผู้รับผิดชอบรายโครงการ หรือ รายกองทุน เช่น keys man เนื่องจากบุคลากรเหล่านี้มีการเปลี่ยนแปลง โยกย้ายการทำงานบ่อยครั้ง ส่งผลต่อความต่อเนื่องของการทำงาน
8) ควรมีการประมวลและรวบรวมปัจจัยความสำเร็จของโครงการ และจุดอ่อนจุดแข็งของโครงการเพื่อเป็นแนวทางการทำงานในครั้งต่อๆไป 9) การเพิ่มศักยภาพของกลุ่มภาคีเครือข่ายในการเขียนโครงการและการใช้ website ของโครงการเพื่อให้ครอบคลุมและนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างแท้จริง

 

 


โครงการบูรณาการกลไกสุขภาพชุมชน เขต 11 อ.คีรีรัฐนิคม จ.สุราษฎร์ธานี จังหวัด สุราษฎร์ธานี

รหัสโครงการ XXX

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นายเชาวลิต ลิปน้อย )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด