ระบบติดตามและประเมินผลโครงการ ( M&E Thailand )

directions_run

โครงการบูรณาการกลไกสุขภาพชุมชน เขตสุขภาพที่ 7 พื้นที่ อ.โพธิ์ชัย จ.ร้อยเอ็ด

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์


“ โครงการบูรณาการกลไกสุขภาพชุมชน เขตสุขภาพที่ 7 พื้นที่ อ.โพธิ์ชัย จ.ร้อยเอ็ด ”

อำเภอโพธิ์ชัย จังหวัดร้อยเอ็ด

หัวหน้าโครงการ
นายธนาคาร ผินสู่

ชื่อโครงการ โครงการบูรณาการกลไกสุขภาพชุมชน เขตสุขภาพที่ 7 พื้นที่ อ.โพธิ์ชัย จ.ร้อยเอ็ด

ที่อยู่ อำเภอโพธิ์ชัย จังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัด ร้อยเอ็ด

รหัสโครงการ 62-00-14 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2562 ถึง 1 ตุลาคม 2563


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการบูรณาการกลไกสุขภาพชุมชน เขตสุขภาพที่ 7 พื้นที่ อ.โพธิ์ชัย จ.ร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน อำเภอโพธิ์ชัย จังหวัดร้อยเอ็ด

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการบูรณาการกลไกสุขภาพชุมชน เขตสุขภาพที่ 7 พื้นที่ อ.โพธิ์ชัย จ.ร้อยเอ็ด



บทคัดย่อ

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ พัฒนาแนวทางการดำเนินงานกองทุนสุขภาพตำบล และเพื่อให้เกิดแนวทางการบูรณาการการทำงานระหว่าง พชอ. และกองทุนสุขภาพตำบล


ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

 

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. มีการติดตามประเมินผลอย่างเป็นระบบ
  2. พัฒนาแนวทางการดำเนินงานกองทุนสุขภาพตำบลให้มีประสิทธิภาพ
  3. เกิดการบูรณาการการทำงานระหว่าง พชอ. กองทุนสุขภาพตำบล และภาคส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. การหารือคณะกรรมการ พชอ.โพธิ์ชัย จ.ร้อยเอ็ด
  2. การประชุม coaching ทีมระดับเขตสุขภาพที่ 7 เพื่อชี้แจงแผนงานโครงการ
  3. การประสานแผนกับ พชอ. (กลไกติดตาม) พชอ.โพธิ์ชัย จ.ร้อยเอ็ด
  4. เวทีชี้แจงโครงการฯ พชอ.โพธิ์ชัย จ.ร้อยเอ็ด
  5. ประชุมเชิงปฏิบัติการฯ “การทำแผนและโครงการสุขภาพและใช้โปรแกรมบันทึกข้อมูลออนไลน์” พชอ.โพธิ์ชัย จ.ร้อยเอ็ด

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
ปฐมวัย (0-5 ปี)
วัยเรียน (6-12 ปี)
วัยรุ่น (13-15 ปี)
เยาวชน (15-20 ปี)
วัยทำงาน
ผู้สูงอายุ (60 ปีขึ้นไป)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
ผู้พิการ
ผู้หญิง
มุสลิม
พระภิกษุ
ชาติพันธุ์
ผู้ต้องขัง
หลากหลายทางเพศ (LGBTIQ)
กลุ่มด้อยโอกาส (คนไร้บ้าน, เด็กเร่ร่อน, เด็กกำพร้า, เด็กในสถานพินิจ ฯลฯ)
แรงงานข้ามชาติ
อื่น ๆ
กลุ่มเป้าหมายโครงการในพื้นที่ 20
คณะกรรมการ พชอ.โพธิ์ชัย 21
ผู้รับผิดชอบงานกองุทน 30
พี่เลี้ยงระดับพื้นที่ 2
พี่เลี้ยงเขตระดับเขต 4
สปสช.เขต 7 ขอนแก่น 1

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ได้แผนงาน/โครงการสุขภาพที่มีคุณภาพ ครอบคลุมทุกแผนงาน
พี่เลี้ยงและคณะทำงานกองทุนมีศักยภาพ มีความรู้ ความเข้าใจในการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาพในพื้นที่
เกิดการบูรณาการการแก้ไขปัญหาสุขภาพ และการขับเคลื่อนงานด้านสุขภาพในพื้นที่


ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. การประชุม coaching ทีมระดับเขตสุขภาพที่ 7 เพื่อชี้แจงแผนงานโครงการ

วันที่ 20 มกราคม 2563

กิจกรรมที่ทำ

  1. หัวหน้าโครงการชี้แจงวัตถุประสงค์ เป้าหมาย และกระบวนการดำเนินงานโครงการฯ
  2. พี่เลี้ยงแต่ละจังหวัดแลกเปลี่ยนสถานการณ์การขับเคลื่อนงานกองทุนฯ และการขับเคลื่อนงานคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.)
  3. ผู้ประสานงานเขตนำเสนอร่างแผนและวิธีการดำเนินงานโครงการฯ พร้อมให้ผู้เข้าร่วมประชุมแลกเปลี่ยนและให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม
  4. ผู้ประสานงานเขตแนะนำเครื่องมือ/โปรแกรมออนไลน์ต่อผู้เข้าร่วมประชุม
  5. พี่เลี้ยงแต่ละจังหวัดออกแบบแผนงาน วิธีการทำงานของแต่ละพื้นที่

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ได้ทีม/แกนนำทำงานโครงการฯ ของเขต จำนวน 15 คน ที่มาจากหลายภาคส่วน ได้แก่ สปสช.เขต 7, สสจ.และ สสอ. แต่ละจังหวัด, ตัวแทน พชอ., เจ้าหน้าที่ รพ.สต. และผู้รับผิดชอบงานกองทุน, ทีมเข้าใจวัตถุประสงค์ เป้าหมาย และวธีการดำเนินงานของโครงการฯ ร่วมกัน, เกิดการมีส่วนร่วมในการออกแบบแผนงาน กิจกรรม และกระบวนการทำงานร่วมกัน และได้แผนการดำเนินงานของแต่ละพื้นที่ที่สอดคล้องกับบริบทพื้นที่หรือสถานการณ์ปัจจุบันในพื้นที่ จำนวน 4 แผน ที่แตกต่างกัน, ทีมเข้าใจบทบาท หน้าที่ และมีแนวทางในการดำเนินงานของแต่ละพื้นที่อย่างชัดเจน โดยการกำหนดผู้มีส่วนเกี่ยวของในพื้นที่ บทบาทของแต่ละภาคส่วน และรายละเอียดวัน เวลา สถานที่ในการจัดกิจกรรมพัฒนาแผนงานกองทุน, รับรู้และเข้าใจสถานการณ์ปัจจุบันของการขับเคลื่อนงานกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ และการขับเคลื่อนงานคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) ของแต่ละจังหวัด, ที่ประชุมได้ทำความรู้จักกับเครื่องมือ/โปรแกรมบันทึกข้อมูลออนไลน์เบื้องต้น พร้อมแลกเปลี่ยน และแนะนำวิธีการในการใช้งานอย่างง่ายและสะดวกเมื่อนำไปใช้จริง และได้แนวทางในการบูรณาการการขับเคลื่อนงานกองทุนร่วมกับ พชอ. เช่น การจัดเวทีปรึกษาหารือย่อยเพื่อทำความเข้าใจร่วมกัน การจัดเวทีประสานแผนงานโครงการซึ่งแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ คือ 1. แผนงานที่สอดคล้องกับ พชอ. และ 2. การผลักดันแผนงานอื่นๆ ที่ไม่สอดคล้องในปีงบประมาณถัดไป

 

15 0

2. เวทีชี้แจงโครงการฯ พชอ.โพธิ์ชัย จ.ร้อยเอ็ด

วันที่ 17 มีนาคม 2563

กิจกรรมที่ทำ

1.ชี้แจงความสำคัญและเป้าหมายโครงการ โดย ดร.สมพันธ์ เตชะอธิก หัวหน้าโครงการฯ 2.นำเสนอรายละเอียดแผนงานโครงการ โดย นายธนาคาร ผินสู่ ผู้ประสานงานโครงการ พร้อมแลกเปลี่ยนและออกแบบแนวทางการขับเคลื่อนโครงการร่วมกัน 3.แลกเปลี่ยนการขับเคลื่อนการดำเนินงานกองทุนสุขภาพตำบลในพื้นที่อำเภอโพธิ์ชัย โดยตัวแทนกองทุน จำนวนทั้งสิ้น 10 กองทุน และแลกเปลี่ยนบทเรียนการขับเคลื่อนการดำเนินงานของ พชอ.โพธิชัย โดยเลขา พชอ.ฯ 4.แนะนำและสอนการใช้โปรแกรมออนไลน์ฯ โดยนางสาวจุติมาพร พลพงษ์ ผู้ประสานงานโครงการ 5.ทดลองบันทึกข้อมูลการพัฒนาแผนงาน/โครงการกองทุนในโปนแกรมออนไลน์ โดยตัวแทนผู้รับผิดชอบงานแต่ละกองทุน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  • กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม ได้รับทราบและทำความเข้าใจร่วมกันถึงเป้าหมาย รายละเอียด และวิธีการดำเนินงานโครงการร่วมกัน พร้อมทั้งได้มีส่วนร่วมในการออกแบบวิธีการดำเนินงานในระดับพื้นที่ร่วมกัน
  • คณะทำงานโครงการได้ทราบและเข้าใจบทเรียนการขับเคลื่อนงานกองทุนในพื้นที่ และการบูรณาการการดำเนินงานร่วมกับ พชอ. สามารถนำไปออกแบบแนวทางในการดำเนินงานโครงการได้
  • คณะกรรมการ พชอ. ผู้รับผิดชอบงานกองทุน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ รู้จักโปรแกรมออนไลน์ มองเห็นประโยชน์จากการใช้โปรแกรมออนไลน์ แต่ยังมีข้อกังวลว่าโปรแกรมออนไลน์จะเป็นภาระเพิ่มให้กับผู้รับผิดชอบงานกองทุน เนื่องจากยังไม่ได้บูรณาการให้เป็นโปรแกรมเดียวกับของ สปสช. ซึ่งเป็นโปรแกรมหลักที่กองทุนต้องใช้เมื่อมีการขออนุมัติงบประมาณจากกองทุนตำบล "ต้องกรอกซ้ำซ้อน"
  • ผู้รับผิดชอบงานกองทุนสามารถเข้าใจและเข้าใช้โปรแกรมออนไลน์ได้ในเบื้องต้น
  • มีการทดลองพัฒนาแผนงาน/โครงการ และบันทึกข้อมูลเบื้องต้นลงในโปนแกรมออนไลน์จำนวน 6 แผนงาน

 

56 0

3. ประชุมเชิงปฏิบัติการฯ “การทำแผนและโครงการสุขภาพและใช้โปรแกรมบันทึกข้อมูลออนไลน์” พชอ.โพธิ์ชัย จ.ร้อยเอ็ด

วันที่ 1 มิถุนายน 2563

กิจกรรมที่ทำ

การทำแผนและโครงการสุขภาพและใช้โปรแกรมบันทึกข้อมูลออนไลน์” พชอ.โพธิ์ชัย จ.ร้อยเอ็ด แบ่งออกเป็น 2 ครั้ง (2 โซน) ครั้งละ 5 กองทุน โดยในแต่ละครั้งมีกระบวนการ ดังนี้

  1. ผู้ประสานงานโครงการทบทวนรายละเอียดโครงการ
  2. พัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบงานกองทุนเกี่ยวกับการพัฒนาโครงการด้านสุขภาพแต่ละแผนงาน โดยใช้คู่มือจากทีมวิชาการกลาง
  3. การทบทวนการใช้โปรแกรมออนไลน์ และทดลองพัฒนาแผนงาน/โครงการเพื่อเป็นการทำความเข้าใจการใช้โปรแกรมออนไลน์เบื้องต้น โดยเลือกแผนงานป้องกันฯ โควิด มาทดลองร่วมกัน
  4. ผู้รับผิดชอบงานกองทุนบันทึกข้อมูลแผนงาน/โครงการของกองทุนสุขภาพตำบลลงในโปรแกรมออนไลน์

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  • ผู้รับผิดชอบงานกองทุนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโครงการสุขภาพของแต่ละแผนงานมากขึ้น เช่น เข้าใจว่าการมีกิจกรรมทางกายไม่ได้หมายถึงการออกกำลังกายเพียงอย่างเดียว แต่รวมไปถึงการเดิน การเคลื่อนไหวร่างกายขณะเรียนหรือทำงาน เป็นต้น
  • ผู้รับผิดชอบงานกองทุนเข้าใจและสามารถใช้งานโปรแกรมออนไลน์ได้คล่องแคล่วมากขึ้น ความอึดอัดใจในการใช้โปรแกรมออนไลน์ลดลง ยอมรับได้มากขึ้น เห็นประโยชน์จากการใช้งานโปรแกรมออนไลน์มากขึ้น
  • มีการบันทึกข้อมูลแผนงาน โครงการในโปรแกรมออนไลน์ครอบคลุมเกือบทุกแผนงาน จำนวนทั้งสิ้น 55 แผนงาน 61 โครงการ
  • มีข้อเสนอในเวทีให้แก้ไขโปรแกรมออนไลน์ เพื่อให้สามารถใช้งานได้สะดวกมากยิ่งขึ้น ได้แก่ ข้อมูลสถานการณ์ของกองทุนตำบลกับข้อมูลสถานการณ์ของพื้นที่ดำเนินการ (ในแบบฟอร์มกองทุน) ควรลิ้งค์กัน โดยให้แก้เฉพาะขนาดของปัญหาให้สอดคล้องกับขนาดพื้นที่ปฏิบัติการ เพราะกองทุนส่วนใหญ่ดำเนินการโครงการในระดับตำบล, การพัฒนาโปรแกรมออนไลน์ให้สามารถใช้งานได้บนโทรศัพท์มือถือ และพัฒนาเป็น Application เพราะทำให้ใช้งานได้สะดวกกว่า และโปรแกรมออนไลน์ควรวิเคราะห์และประมวลผลให้ได้ในเบื้องต้นว่าควรดำเนินการโครงการอะไร แนวทางแก้ไขปัญหาสุขภาพคืออะไร โดยการพิจารณาจากข้อมูลสถานการณ์ปัญหาของพื้นที่นั้นๆ

 

30 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 มีการติดตามประเมินผลอย่างเป็นระบบ
ตัวชี้วัด : การติดตามอย่างต่อเนื่อง เป็นระบบ ทั้งระบบออนไลน์และออฟไลน์ มีเครื่องมือวิธีการที่เหมาะสม
80.00 90.00

 

2 พัฒนาแนวทางการดำเนินงานกองทุนสุขภาพตำบลให้มีประสิทธิภาพ
ตัวชี้วัด : ข้อมูลครบถ้วน สมบูรณ์, ความครอบคลุมแผนงานสุขภาพ มีคุณภาพ
80.00 95.00

 

3 เกิดการบูรณาการการทำงานระหว่าง พชอ. กองทุนสุขภาพตำบล และภาคส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
ตัวชี้วัด : มีเป้าหมายและประเด็นร่วม ความร่วมมือและมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนแก้ไขปัญหาสุขภาพในพื้นที่ของทุกภาคส่วน
50.00 60.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 78
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
ปฐมวัย (0-5 ปี) -
วัยเรียน (6-12 ปี) -
วัยรุ่น (13-15 ปี) -
เยาวชน (15-20 ปี) -
วัยทำงาน -
ผู้สูงอายุ (60 ปีขึ้นไป) -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
ผู้พิการ -
ผู้หญิง -
มุสลิม -
พระภิกษุ -
ชาติพันธุ์ -
ผู้ต้องขัง -
หลากหลายทางเพศ (LGBTIQ) -
กลุ่มด้อยโอกาส (คนไร้บ้าน, เด็กเร่ร่อน, เด็กกำพร้า, เด็กในสถานพินิจ ฯลฯ) -
แรงงานข้ามชาติ -
อื่น ๆ -
กลุ่มเป้าหมายโครงการในพื้นที่ 20
คณะกรรมการ พชอ.โพธิ์ชัย 21
ผู้รับผิดชอบงานกองุทน 30
พี่เลี้ยงระดับพื้นที่ 2
พี่เลี้ยงเขตระดับเขต 4
สปสช.เขต 7 ขอนแก่น 1

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ พัฒนาแนวทางการดำเนินงานกองทุนสุขภาพตำบล และเพื่อให้เกิดแนวทางการบูรณาการการทำงานระหว่าง พชอ. และกองทุนสุขภาพตำบล


ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

ข้อเสนอแนะด้านกระบวนการพัฒนาโครงการ หรือแผนงานกองทุนที่ให้เกิดประสิทธิภาพ ประสิทธิผล -เพิ่มบทบาทพี่เลี้ยงอำเภอ และ แต่ละกลุ่ม ชมรม ต้องมีตัวแทนประสานกับทีมอำเภอ -ค้นหาแกนนำกลุ่ม ที่มีความสนใจ กระตือรือร้น มาพัฒนาศักยภาพแผนงานและโครงการ วิเคราะห์ปัญหา กิจกรรม ตัวชี้วัด ด้วยการมีส่วนร่วมของตนเอง -การสร้าง/พัฒนาศักยภาพครู ก ครู ข หรือ วิทยากรกระบวนการโครงการ ของภาคประชาชน/หน่วยบริการ เรื่องการเขียนแผนงานโครงการ และ การบริหารโครงการ -ประชาคม ระดมปัญหาสุขภาพ ชี้แจงขอบเขต ชี้แจงงบประมาณ การให้ทุนตามประกาศกองทุน -จัดเวทีแลกเปลี่ยนเพื่อพัฒนาแผนโครงการ -การคลังของ อปท.ต้องทำความเข้าใจหลักเกณฑ์การใช้

ตัวชี้วัด -แผนงานโครงการ มาจากข้อมูล -ภาคประชาชน/หน่วยงานอื่น เข้าใจระบบ ขั้นตอน และสามารถบริหารโครงการได้เอง -โครงการสามารถสร้างผลกระทบที่ดีต่อสุขภาพของกลุ่มเป้าหมายได้

ข้อเสนอแนะด้านการพัฒนาศักยภาพกรรมการ หรือผู้รับผิดชอบ -อบรมเชิงปฏิบัติการ/ติดตามการทำงาน ขาขึ้น ขาเคลื่อน ขาประเมิน ทุกไตรมาส -การพัฒนากลุ่มภาคประชาชนที่ขอทุนให้เข้มแข็ง มารับทุน/บริหารโครงการต่อเนื่องให้สามารถเขียนโครงการ บริหารโครงการได้ ใช้จ่ายเงินอย่างถูกต้อง รายงานผลโครงการได้

ตัวชี้วัด -กรรมการเข้าใจกรอบการดำเนินงาน ตามประกาศปี 61 และ บทบาทหน้าที่ -กรรมการลงติดตามโครงการจริง สามารถแลกเปลี่ยน ชี้แนะกองทุนด้วย กรรมการจะเห็นจุดแข็ง จุดอ่อนการดำเนินงาน และเสนอแนะการพัฒนาในปีต่อไปได้ -การพัฒนากลุ่มภาคประชาชนที่ขอทุนให้เข้มแข็ง มารับทุน/บริหารโครงการต่อเนื่อง -ผู้รับผิดชอบโครงการสามารถบริหารจัดการโครงการได้

ข้อเสนอแนะด้านการติดตามอย่างมีส่วนร่วม (ทั้งโปรแกรมออนไลน์และออฟไลน์) -ผนวกโปรแกรมออนไลน์นี้เข้ากับโปรแกรม สปสช. -ลดความซ้ำซ้อน ให้ใช้งานง่ายทุกระดับ ให้คนทั่วไปสามารถใช้งานได้
-เลือกพื้นที่นำร่อง พัฒนาคนเสนอโครงการให้บันทึกข้อมูลได้

ข้อเสนอแนะด้านการบูรณาการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะระหว่าง พชอ. กับกองทุนสุขภาพตำบล -การใช้ข้อมูลปัญหาสถานการณ์ จากกองทุนสุขภาพฯ ที่บันทึกใน์ปรแกรมออนไลน์ เป็นฐานในแนวทางการแก้ปัญหาร่วมกัน -ธรรมนูญ ในแต่มาตรา จะมีกิจกรรมสำคัญ ควรจะมีจัดระบบ หรือแบ่งบาทบาทหน้าที่ ว่ากิจกรรมในแต่ละขั้นตอน จะประสานให้ใครช่วยขับเคลื่อน เช่น อาหารปลอดภัย กิจกรรมการให้ความรู้ด้านการเกษตรจะเป็นของเกษตรอำเภอ กิจกรรมคัดกรองสารตกค้างในเลือด จะเป็นกองทุนสุขภาพ กิจกรรมปลูกผักปลอดสารพิษ จะเป็นของกลุ่มปลูกผัก และกองทุนสุขภาพ เป็นต้น

ตัวชี้วัด
-ปัญหาลดลง/เครือข่ายเข้มแข็งขึ้น -มีการบูรณาการงบประมาณ จากหลายหน่วยงาน -มีผู้นำใหม่ๆเพิ่มขึ้น

 

 


โครงการบูรณาการกลไกสุขภาพชุมชน เขตสุขภาพที่ 7 พื้นที่ อ.โพธิ์ชัย จ.ร้อยเอ็ด จังหวัด ร้อยเอ็ด

รหัสโครงการ 62-00-14

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นายธนาคาร ผินสู่ )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด